วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

05 เหลือแต่ตัวรู้สังขารขันธ์ : แอนิเมชัน ทำสมาธิร่วมกัน ท่าที่ ๒ ปรับการวาดแขน

ดังตฤณ : ถึงตอนนี้ จิตของเรา จะเริ่มปรุงแต่งด้วยสิ่งที่เรียกว่า วิตักกะ กับ วิจาระ

 

วิตักกะ ก็คือ นึกถึงลมหายใจ ส่วนวิจาระ ก็คือใจไม่ไปไหน อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว

 

ซึ่งถ้าหากว่าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็โอเค จะได้สมาธิระดับหนึ่ง

 

แต่ถ้าหากหายใจได้ไม่ลึกพอ ก็เกิดปีติ และสุขได้ยาก หรือจะมีพัฒนาการปรุงแต่งจิตไปสู่ทิศทางของความสว่างได้ไม่ง่ายนักนะครับ

 

เพราะฉะนั้น ก็เลยต้องมีท่าที่สองมา ทีนี้ท่าที่สองสำหรับคืนนี้ จะทำแบบง่าๆย นะ

 

อันดับแรกเลย ฝึกอย่างนี้ก่อน



แค่เอามือทั้งสองมาชนกัน ใช้นิ้วกลางของฝ่ามือทั้งสองมาชนกัน แล้วก็ยกขึ้นจากระดับท้องถึงแนวอก โดยเริ่มต้นจากหงายมือขึ้น แล้วก็รูดฝ่ามือทั้งสอง จากระดับหน้าท้อง มาถึงระดับอกนะครับ

 

ฝึกขั้นต่อมาก็คือ คือพอเรายกมือขึ้นมา ระหว่างนั้น ก็ให้นึกเหมือนกับว่า เรากอบลมเข้า สูบลมเข้า ให้ท้องป่อง ให้ฝ่ามือกับท้องมีความสัมพันธ์กัน

 

พอป่องท้องออกมา จนสุด ก็คือฝ่ามือเลื่อนขึ้นไปถึงระดับแนวอกพอดี

 

ไม่ต้องตามแอนิเมชันเป๊ะนะ เราแค่จะฝึกให้เกิดความคุ้นชินขึ้นมาแบบนี้

 

ทีนี้ .. สำคัญ มาถึงจังหวะนี้นะครับ สำหรับคนที่วาดแขนแล้วทำได้โดยดี รู้สึกสบาย รู้สึกว่ามีปีติ รู้สึกว่าชัดเจนแล้วนี่ ก็วาดแขนต่อไป

 

แต่สำหรับท่านที่ยังทำไม่ได้ เราจะมาทำท่าใหม่กัน


ผมจะให้ดูภาพที่เป็นเป้าหมาย ที่จะให้อยู่ในใจของเรา อย่างที่ผมเคยเอาให้ดู เราจะให้เห็นว่า ท้องป่องขึ้นมา หน้าอกกระเพื่อมขึ้นมา เพื่อที่จะลากลมเข้า แล้วก็ระบายลมออก


หรือจะคิดให้ง่ายกว่านั้น เหมือนกับถุงลมสักถุงหนึ่ง ที่สูบลมเข้า แล้วก็พองออก


 พอพ่นลมออก ก็แฟบลง แฟบเข้ามากลับเข้าที่ .. ตรงนี้ คือสิ่งที่เราต้องการ

 

การยกมือ การที่ทำท่าอะไรต่างๆ ถ้าหากไปถึงภาพในใจแบบนี้ได้ เห็นแบบง่ายๆ เห็นเหมือนกับร่างกายของเราเป็นถุงลมที่โป่งพองขึ้นมา แล้วก็แฟบยุบลงไป เอาแค่ได้แบบนี้ ถือว่าใช้ได้ 


ทีนี้ ท่าที่สองทำอย่างไร .. ท่าที่สองแบบง่ายนะครับ เราจะยกมือขึ้นมา แล้วก็รูดขึ้นมาให้ท้องป่องขึ้นมา แต่แทนที่จะวาดแขนออกไป เรายกมือขึ้นตรงๆ

 

แบบนี้ จะสอดคล้องกับธรรมชาติ ของการหายใจคือเราจะรู้สึกหายใจอย่างต่อเนื่อง

 

บางคนไปรู้สึกติดขัดก็เพราะว่าท่าที่สองดั้งเดิม มีการวาดแขนออก ก็ไม่รู้จะหายใจอย่างไร

 

จริงๆ แล้ว ท่าที่สองดั้งเดิม ก็ตั้งใจอยู่ว่าจะให้มีการหยุดหายใจนิดหนึ่ง ก่อนที่จะหายใจสุด แล้วก็เก็บลมหายใจไว้ในปอด ซึ่งหลายท่านก็จะรู้สึกสับสน

 

แต่ท่านี้ คิดว่าน่าจะคลายความสับสนลงไปได้ เรายกมือขึ้นตรงๆ เลย .. รูดมือขึ้นมา ป่องท้อง เสร็จแล้วมาถึงระดับอก ก็ยกมือชูจนสุดนะครับ คุณจะรู้สึกถึงความสบาย แล้วก็ต่อเนื่องของลม ถึงแม้ว่า อันนี้เราจะยังไม่ได้แผ่จิตแผ่ใจออกเหมือนท่าที่สองดั้งเดิม

 

แต่อย่างน้อยที่สุดคุณจะรู้สึกว่า หายใจยาว หายใจได้ลึก หายใจได้สุด หายใจได้อิ่ม ซึ่งนั่นเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับสมาธิในขั้นที่จะช่วยให้เกิดความอิ่มเอิบ แล้วก็เอิบอาบซาบซ่าน เป็นสมาธิที่ยกระดับ ประณีตขึ้นมากว่าตอนที่มีแต่ วิตักกะ และวิจาระ

 

ถ้าเข้าใจท่านี้ ก็หลับตาลงได้ แล้วก็ลองดูนะครับ ห้านาที ว่าจะออกมาแบบที่เราตั้งเป้าไว้ไหม

 

ตั้งเป้าไว้นะ ให้เห็นแค่ว่ามีถุงลม ตัวของเรา ส่วนตัวของเราเป็นถุงลม ที่พองออก แล้วก็ยุบเข้า

 

การทำมือแค่ ทำมือไปแบบที่ให้รู้ท่าทาง จำท่าทางได้เป็นอัตโนมัติแล้วนี่ แต่สิ่งที่เราจะเอาจริงๆ ทางใจก็คือ เหมือนกับเห็นกายเป็นถุงลมนะ โป่งออก แล้วก็ยุบเข้า

 

ที่ตรงนี้ ถ้าคุณแยกออกนะครับว่า กายนั่งก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจก็ส่วนหนึ่ง ถ้าจับจุดถูกที่ตรงนี้ได้ ก็จะเริ่มเห็นลมหายใจเป็นสายขึ้นมาทันที

 

ตัวที่นั่ง นั่งเป็นส่วนที่ยกตั้งด้วยกระดูกสันหลัง คุณสามารถรู้สึกได้

ตัวที่เป็นลมหายใจ อยู่อีกชั้นหนึ่ง ที่ถูกสูบเข้า แล้วก็ถูกพ่นออก

 

ถ้าหากว่าเริ่มแยกออก กายส่วนหนึ่ง ลมหายใจส่วนหนึ่ง แค่นี้ จิตของคุณก็จะเกิดความรู้สึกว่าลมหายใจเป็นสายแล้ว เกิดความสบาย เกิดความผ่อนคลายขึ้นมาทั้งตัว และเกิดความรู้สึกชอบใจที่จะเห็นลมหายใจเข้า เห็นลมหายใจออก ในกายที่พองออก แล้วก็ยุบเข้านี้ในเวลาไม่เนิ่นช้าเลย ลองดูนะ ห้านาทีนะครับ ว่าจะทำกันได้ไหม

 

(ทำสมาธิร่วมกัน โดยใช้ฝ่ามือไกด์ท่าที่สอง แบบใหม่ ห้านาที)

____________________

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน เหลือแต่ตัวรู้สังขารขันธ์

- ช่วงแอนิเมชัน ทำสมาธิร่วมกัน ท่าที่ ๒ ปรับใหม่

วันที่ 25 กันยายน 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=RcUlkB4nkiA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น