ดังตฤณ : ให้มองว่าเป็นสภาวะปรุงแต่งทางใจ ตรงนี้จะกินความครอบคลุมกว่า เหมือนกับในอายตนบรรพ ที่พระพุทธเจ้าให้พิจารณาว่า มีธรรมารมณ์มากระทบใจ นี่ .. ธรรมารมณ์จะครอบคลุมหมดเลย ธรรมารมณ์ เหมารวมทั้งสิ่งที่ปรุงแต่ง ไม่ว่าจะความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรืออะไรยิบๆ ยับๆ ที่เรียกชื่อไม่ถูก ตลอดไปจนกระทั่งถึงนิพพาน ที่จิตมีอารมณ์ ณ ขณะที่บรรลุมรรคผล จับเอานิพพานเป็นอารมณ์ ก็เหมารวมอยู่ในธรรมารมณ์ด้วย
ธรรมารมณ์ทั้งปวง เป็นอนัตตา .. ตรงนี้
คุณแปะชื่อให้มันนิดหนึ่ง เพื่อที่คุณจะได้มีทิศทางว่าอะไรก็แล้วแต่ที่กระทบใจได้
เป็นความรู้สึกทางใจ ไม่ได้ต้องผ่านหูตา เหมาเรียกเป็นธรรมารมณ์ให้หมด
เขาเรียก ธรรมารมณ์ ที่ยิบๆ ยับๆ นี่
คุณจะได้ไม่ต้องไปกังวลว่านี่เขาเรียกว่า ความคิดหรือเปล่า
ความคิด จะมาหลายรูปแบบ
ความคิดแบบหยาบที่รู้เป็นคำๆ กับความคิดแบบละเอียด อย่างพวกที่ขั้นทรงฌาน
แล้วสามารถพิจารณาธรรม พิจารณาขันธ์ 5 ได้ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
จะมีความคิดในลักษณะของการติดตั้งเจตนาไว้ล่วงหน้า
ว่าจะดูสิ่งเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
พอถึงปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ครบแล้ว ก็จะเห็นเป็นอารมณ์เดียวว่า เห็นกายนี้ใจนี้ โดยความเป็นขันธ์ 5
และมีการปรุงแต่งในแต่ละขันธ์ ชั่วคราว
คือยกตัวอย่างเช่นลมหายใจ
จะเห็นชัดเลยว่าเป็นรูปที่ผ่านเข้าผ่านออก ไม่ใช่ตัวตน เป็นธาตุลม อย่างนี้
หรือว่าที่ละเอียดขึ้นมา
อย่างเช่นที่คุณบอกว่าอะไรที่เป็นยิบๆ คุณจะมองออกเลยว่า นั่นมีสัญญานำขึ้นมา
สัญญาขันธ์ นี่จะละเอียดขึ้น คุณจะมีความรู้สึกว่า เราจำได้ว่าเป็นอะไรยิบๆ
รู้สึกได้ว่าเป็นอะไรที่ยิบๆ
อย่างนี้ สัญญาขันธ์
แต่คุณไม่จำเป็นต้องไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก
ไม่จำเป็นต้องไประบุชื่อแบบละเอียดว่านี่เขาเรียกสัญญาขันธ์
เหมารวมเรียกไปเลยว่าเป็นธรรมารมณ์ก็ได้
จะได้รู้สึกว่า relax ในการมอง
ขอให้ได้ทิศทางในการมองเถอะว่า เรามองมาถูกแล้ว จะได้เกิดความมั่นใจ
เกิดความรู้สึกสบายว่า เรากำลังเห็นสิ่งที่น่าจะเห็นอยู่แบบพุทธนะ
ตาที่ยิบๆ ข้างใน
ถ้าอธิบายแบบที่เขาเรียกกันในปัจจุบัน ก็คือตาที่สามอะไรแบบนี้
ผมขอว่าอย่าเพิ่งไปสนใจ
เข้าใจว่าคุณพูดถึงอะไรนะ แล้วถ้าต่อยอดอีกนิดหนึ่ง จะเห็นโน่นเห็นนี่
แต่อย่าเพิ่งสนใจ เพราะตอนนี้
หนึ่ง คือถึงแม้คุณจะพยายามฝึกไป
ก็ไม่แน่ว่าจะได้เห็นอะไรถูกต้องหรือเปล่า เพราะจิตยังไม่ได้เป็นตามจริง
ยังไม่ได้เสถียรจริงนะ อาจจะเห็นอะไรผิดพลาด แล้วหลงกระโจนเข้าป่าไปก็ได้
สองคือ ถ้าหากว่าคุณพิจารณา อย่างนี่นะ ตายิบๆ
ข้างในเหมือนเป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง เป็นการปรุงแต่งจิตชนิดหนึ่ง ถ้าคุณเห็นในทิศทางนี้อย่างแจ่มแจ้งต่อเนื่อง
ไม่สนใจที่จะเอาไปใช้อย่างอื่น สนใจแค่เห็นความไม่เที่ยงของมัน
ยิบๆ นี่ มียิบๆ มาก ยิบๆ น้อย
ไม่สนใจอะไรมากไปกว่านั้น ที่ยิบๆ จะมีสว่างแลบๆ ด้วยใช่ไหม
คือสนใจแค่ว่ามันไม่เที่ยง
ยิบมากบ้าง ยิบน้อยบ้าง หรือบางทีก็ไม่ยิบๆ
ดูแค่ตรงนี้ อะไรที่กำลังปรากฏเด่นให้ดูภาวะนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงไป
แล้วเมื่อเห็นอย่างแจ่มชัดว่ามันไม่เที่ยง ตัวนี้
ที่จะดีกว่าได้ตาที่สามอะไรแบบนี้
จะได้ตาในขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง
เห็นความไม่เที่ยงข้างใน ซึ่งตาในแบบนี้ เมื่อมีความเสถียรแล้ว มีความมั่นคงแล้ว
จะเห็นอะไรได้ยิ่งกว่าตาที่สาม ที่คนในโลกพยายามฝึกกัน
โดยนิยามของตาที่สาม จริงๆ แล้วพิสดารนะ
แต่ผมจะเอาแบบง่ายๆ ที่คนนิยามกันก็คือว่า ไปเห็นอะไรข้างนอก แต่เราได้ตาใน
เพื่อเห็นข้างใน แล้วถ้าได้ตาใน จบเลยนะ ทุกศาสตร์ ที่เขาพยายามฝึกๆ กัน
จะได้มาเป็นของแถมครบหมดเลย
คุณจะอยากรู้ศาสตร์ไหน
คุณจะอยากไปศึกษาต่อยอดอะไรอย่างไร จะออกมาจากตาในนี่แหละ ตาในที่รู้ถูกรู้ชอบแล้วว่าอะไรๆ
ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน มีค่าสูงสุด แต่ขณะเดียวกันก็ทำใจฝึกยากที่สุดด้วย
คนนี่ ถ้าเอาอะไรที่เป็นขนมมาล่อ จะง่าย บอกว่า
เดี๋ยวเล่นไสยศาสตร์ผูกใจคนอื่นได้ หว่านเสน่ห์ให้คนอื่นได้
หรือว่าไปเข้าฝันคนอื่นได้ หรือว่าเหาะเหินเดินอากาศได้ อย่างนี้คนจะชอบ
แล้วก็ไปฝึกตรงนี้ก่อน พอได้สมาธิ จะมีใจไปติดบ่วงแร้วได้ง่าย
แต่ที่จะมาพิจารณาว่ามันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใช่ของเรานี่ ยาก
ทีนี้ถ้าเรามาทำด้วยกันแบบนี้
เกิดผลเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างนี้ แล้วชวนกันไปในทางที่เราจะพิจารณาว่า
มันไม่เที่ยง มันเป็นแค่ภาวะชั่วคราว ไม่ใช่ของเรา
เกิดกำลังใจจนมีกระแสแบบกัลยาณมิตรไปด้วยกัน
ตรงนี้
จะเกิดทิศทางแบบที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจริงๆ ขึ้นมา
แล้วคุณจะรู้สึกว่าตัวเองไม่โดดเดี่ยว แล้วก็รู้สึกมีกำลังหนุนหลัง มี
backup เหมือนมากับพวก มากับเพื่อน
ฉะนั้น ก็เชิญชวนนะครับ คนที่มีสมาธิ
มาด้วยกันถึงขนาดนี้แล้ว ก็ไปด้วยกันต่อ แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
ยังทำได้อยู่ในยุคปัจจุบัน และทำได้เป็นกลุ่มก้อนด้วย
ตอนที่อาจารย์บอกว่าเริ่มนั่ง
สักพักรู้สึกแยกออกภายในกายระยิบระยับ มีสิ่งที่ผุดขึ้น หายไป ผุดเคลื่อน หนักคลาย
แล้วเมื่อคลาย สักพัก กว้าง ขยาย เข้าสู่ข้างหน้าแล้วรู้สึกตาถี่ยิบๆภายใน
ตานอกไม่ได้ขยิบค่ะ คำถามคือ
๑)
สิ่งที่ผุดและหายไปใช่ความคิดหรือไม่
หากใช่ทำไมเราไม่เห็นว่าเรากำลังมีความคิดอยู่คะ
๒)
ตาที่ระยิบภายในคือภาวะอะไรคะ บางครั้งมีมาช่วงๆ
ส่วนใหญ่เป็นรู้สึกเหมือนเข้าสู่ภาวะที่กว้างขึ้น แต่รู้สึกเฉยค่ะในขณะนั้น
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน ชนวนสมาธิ
ช่วง
คำถาม - คำตอบ
วันที่
4 กันยายน 2564
ถอดคำ
: เอ้
รับชมคลิป
: https://www.youtube.com/watch?v=fgvbMTPQJQI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น