ดังตฤณ : หนึ่งคือ การหายใจหนักเกินไป แรงเกินไป ตรงนี้คุณสังเกตแล้วนะ
สอง ผมอยากให้สังเกตว่า ณ จังหวะหยุด ไม่ว่าจะเป็นตอนที่วางมือ หรือตอนที่เอามือมาประสานกันที่เหนือศีรษะนี่นะ
คุณหยุดนานพอหรือเปล่า แล้วหยุดแบบเป็นที่รู้ มากน้อยแค่ไหน
จะสำคัญที่ตรงนี้ ถ้าคุณหยุดอย่างรู้ว่า คุณหยุดได้สบายๆ
มีความย้อนกลับมารู้ท่านั่งคอตั้งหลังตรงได้สบาย
คุณจะรู้จังหวะอันควรที่จะดึงลมหายใจเข้าใหม่ แล้วระบายลมหายใจออกมา
อย่างถูกต้องด้วย
แต่ถ้านิ่งไม่พอ จะมีความเร่งร้อนทางใจ อยากดึงเข้าเร็วๆขึ้นมา
โดยที่คุณสังเกตดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนใจร้อน จะไม่ค่อยทนอยู่กับท่านิ่ง
จะรีบร้อนดึงลมเข้าใหม่ และเร่งระบายลมออก
ตัวนี้ ตัวเร่งร้อนนี่นะ ตัวไม่ถูกจังหวะตามธรรมชาติทางกายนี่นะ
จะมีส่วนให้เกิดความเกร็ง ให้เกิดความมึน
หรืออัดลมเข้ามากเกินไปได้แบบที่คุณไม่รู้เนื้อรู้ตัวนะครับ
อาการมึน อาการงง ก็เป็นตัวสะท้อน เป็นสัญญาณบอกได้ว่า
คุณควรจะปรับในเรื่องของน้ำหนัก ของลมที่ไม่แรงเกินไป ดึงเข้าไม่กระชากเกินไป
ไม่อัดมากเกินไป แล้วก็ในจังหวะหยุด ขอให้หยุดจริงๆ เพื่อที่จะเกิดสติ
เห็นว่าร่างกายถึงจังหวะที่ต้องการลมเข้าแล้วจริงๆ หรือเปล่า
หรือเป็นเพียงข้อเรียกร้องทางใจที่เร่งร้อน
__________________________
ช่วงท้าย ก่อนจบเกิดอาการมึนหัวเล็กน้อย เป็นไปได้ไหมครับว่า
อัดลมหายใจลึกไปในช่วงต้นๆ ปรกติจะไม่ลึกขนาดนี้ อีกทั้งจังหวะที่หยุดลม
เพิ่มเริ่มลมหายใจชุดใหม่
เห็นลมหายใจเป็นสายครับแต่ไม่ชัดเท่าลมเย็นที่กระทบหลอดลมแล้วลงไปที่ท้องจนป่อง?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน ก้าวไกลไม่ลืมก้าวแรก
ช่วงถาม-ตอบ
วันที่
29 สิงหาคม 2564
ถอดคำ
: เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=bIzMcPTuUaE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น