ดังตฤณ : เอาตามจังหวะที่คุณรู้สึกพอใจ พูดอย่างนี้เลยนะ เพราะว่าท่าที่ 1 เกิดปีติได้แล้วนี่ จริงๆ ไม่จำเป็นต้องมีท่าที่สองยังได้เลย
แต่ท่าที่สองนี่ point ของมันคือจะช่วยให้คุณหายใจได้ลึกจริงนะครับ
คือผมไม่รู้ว่า ท่าที่หนึ่งของคุณ
หายใจได้ถูกต้องหรือว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน ถ้าเอาจากความรู้สึกตรงนี้นะ
คือคุณยังหายใจไม่เต็มในท่าที่หนึ่ง แต่ที่มีปีติ มีสุขขึ้นมา เพราะใจไม่ไปไหน
ใจไม่กระสับกระส่าย เลยมีวิเวก และเกิดปีติ สุข ขึ้นมาได้
ทีนี้ ขึ้นอยู่กับความพอใจ ถ้า ณ เวลานั้น คุณมีความรู้สึกว่า
ท่าที่หนึ่ง ยังหล่อเลี้ยงให้เกิดความสบาย เกิดปีติ เกิดสุข
และมีความสามารถที่จะเห็นภาวะภายในได้ชัด ก็ทำท่าที่หนึ่งไปเรื่อยๆ ก่อนก็ได้
แต่ถ้าหากว่ามีความรู้สึกว่า ลมหายใจน่าจะลึกขึ้นกว่านี้
ก็ทำท่าที่สองไป ขึ้นอยู่กับการเห็น ณ ขณะนั้นๆ ของคุณนะครับ
อย่างท่าที่สามนี่ จริงๆ แล้ว ท่าที่สามนี่นะ
ผมย้ำหลายครั้งว่าเป็นการกระตุ้นให้เข้ามารู้ว่า จิตที่ตั้งมั่น ตั้งนิ่ง
หน้าตาเป็นอย่างไรเท่านั้น
ถ้าหากว่านิ่งอยู่แล้ว และมีความคุ้นเคย
มีความชินกับภาวะอย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องทำท่าที่สาม ยังได้เลย
ท่าที่สามนี่เหมือนกับเพื่อให้แน่ใจว่าเรารู้สึกเข้ามาที่จิตด้วยในแต่ละครั้ง
ไม่อย่างนั้น เราจะสังเกตแต่ลมหายใจ
แล้วก็ไม่รู้จะจับจุดที่จะสังเกตจิตอย่างไรนะครับ
อันนี้อยู่ในอานาปานสติสูตร ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
เราจะทำจิตให้ตั้งมั่น ก็เหมือนกับให้เป็นเครื่องหมายนิดหนึ่งว่า
เราจะเทียบความรับรู้ระหว่างฝ่ามือที่ซ้อนกัน
กับจิตที่ตั้งนิ่งอยู่กับที่ได้อย่างไร
__________________________
ถามเรื่องความสัมพันธ์ของท่าทางเพื่อเวลาไปปฏิบัติเองค่ะ
พอเราทำท่าที่ ๑ แล้วเกิดปิติ เราควรปรับเป็นท่าที่ ๒ ๓
เลยใช่ไหมคะ และหากสมาธิถอย เราจึงเริ่มทำท่าที่ ๑ ใหม่หรือเปล่าคะ?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน ก้าวไกลไม่ลืมก้าวแรก
ช่วงถาม-ตอบ
วันที่
29 สิงหาคม 2564
ถอดคำ
: เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=gD6CbWLIHoI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น