ดังตฤณ : ตอนที่จิตเบา มีความนิ่ง มีความว่าง ตรงนั้น วัดได้อย่างหนึ่งว่าจิตของเราดีขึ้น เป็นกุศล แล้วเป็นมหากุศลเลยล่ะ เพราะว่าอยู่ในสมาธิ มีความพร้อมที่จะเจริญสติ เห็นกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน และบรรลุมรรคผลนิพพานได้
นั่นคือ
ลักษณะที่เป็นข้อดี ของจิตที่เบา
แต่การจะตัดสินว่า
จิตถึงฌานแล้วหรือยัง เราไม่ได้ตัดสินที่ความเบา
เราตัดสินตรงที่ว่า
.. ถ้าหากทำสมาธิแบบที่พระพุทธเจ้าสอน อานาปานสติ .. ตัดสินตรงที่ว่า จิตมีอาการโฟกัสอยู่กับลมหายใจหรือเปล่า
โฟกัส
คือนึกถึงลมหายใจ .. นึกถึงลมหายใจ จิตไม่ได้ล่องลอยไปไหน
ไม่ได้มาเอาแต่ความเบาอย่างเดียว ตรงนั้นเรียกว่ามี วิตกเจตสิก
ถ้าหากว่าลมหายใจปรากฏ
ราวกับมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต จิตแนบเข้ากับลมหายใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ไม่มีการวอกแวกไปหาสิ่งอื่น อย่างนั้น เรียกว่ามี วิจารเจตสิก
หรือเรียกง่ายๆ ว่าวิจารก็ได้
วิจาร
ในที่นี้ไม่มี ณ.เณร การันต์นะครับ
ถ้าหากว่า
วิตก กับวิจารเกิดเต็ม หายใจเข้าออกชัดเจน จิตว่าง สบาย โล่ง แล้วเกิดปีติ
เกิดความชุ่มชื่นขึ้นมา เป็นความชุ่มฉ่ำทั้งตัว เป็นความชุ่มฉ่ำเบิกบาน
เป็นความชุ่มฉ่ำเยือกเย็น ราวกับว่าน้ำพุผุดพลุ่งขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ
ตรงนี้จะเกิดสุขตามมาด้วยเป็นธรรมดา เป็นของคู่กันมาเป็นแพคเกจเดียวกันนะครับ ปีติ
เยือกเย็น และสุขที่มีความเสถียร
ความสุขจะเหมือนพานทองรองรับสมาธิ
ตรงนี้เรียกว่า อุปจารสมาธิ
อุปจารสมาธิ
มีทั้งอุปจาระแบบอ่อนๆ และอุปจาระแบบแข็งแรง รู้สึกราวกับว่าทั้งตัว ลอยอยู่บนเมฆ
บางคนรู้สึกมีลมผ่านตัว เป็นธาตุลมชนิดหนึ่ง เป็นลมละเอียด
ทีนี้
ที่พูดบรรยายมาทั้งหมด ไม่ได้จะบอกว่าให้ตัดสินว่า ที่เราเข้าถึงแล้ว ใช่หรือไม่ใช่สมาธิขั้นไหน
ควรจะเรียกว่าเป็นสมาธิขั้นใด
แต่จะบอกว่า
การที่เราได้สมาธิ หรือยังไม่ถึงสมาธิขั้นไหน ไม่สำคัญกว่าที่ว่า
เรามีความเข้าใจหรือเปล่า ว่าจะเอาสมาธิตรงนั้น หรือสภาวะของจิตแบบดีๆ นั้น
มาใช้งานแบบไหน
ถ้าหากว่า
.. อย่างเปลี่ยนโจทย์ใหม่ แทนที่คุณจะถามว่าจิตเราเข้าฌานหรือยัง
มาสนใจตั้งโจทย์ว่า จิตของเรา พอไปถึงตรงนั้นแล้ว มีการรู้
มีการเห็นในแบบที่จะเกิดปัญญาแบบพุทธหรือเปล่า
ถ้าหากว่าจิตเบา
ถ้าหากว่าจิตนิ่งแล้ว ต่อให้ไม่ถึงฌาน ไม่ถึงอุปจารสมาธิ แต่มีการทำงานในแบบรู้เข้ามา
.. เออ นี่ ภาวะทางกายนี้นิ่งอยู่แบบนี้ ทรงอยู่แบบนี้ หายใจเข้าออกแบบนี้
กำลังหายใจเข้าออก เอาสติ รู้ว่าไม่เที่ยง ลมหายใจก็ไม่เที่ยง เข้าแล้วก็ต้องออก
ออกแล้วก็ต้องเข้า แป๊บหนึ่งก็หยุดพักไป เดี๋ยวก็กลับเข้ามาใหม่ แล้วก็ให้ความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ไม่เหมือนเดิม
ต่างไปเรื่อยๆ
บางคน
ตอนแรกๆ สุขอ่อนๆ แล้วสุขมากขึ้นทุกทีในแต่ละลมหายใจ ท่าทีที่เราเอาจิตดีๆ
ไปใช้งาน สำคัญกว่าการได้รู้ว่าจิตของเราเข้าถึงภาวะไหนแล้วหรือยัง
ถ้าถึงฌาน
จะไม่ใช่แค่เบา แต่จะมีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีสุข แล้วก็มีจิตอย่างใหญ่
ลุกเป็นลูกไฟดวงเบ้อเริ่มเลยนะ แล้วมีความเสถียร รู้อารมณ์เดียว ที่เรียกว่า
เอกัคคตา คือมี เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เดียว
เอกัค
มาจาก เอกา .. หนึ่งเดียว
หนึ่งเดียวนี่ไม่ใช่ว่า
ต้องเห็นลมหายใจอย่างเดียวเท่านั้น แต่บางทีเห็นเครื่องประกอบด้วยว่า อิริยาบถนั่ง
คอตั้งหลังตรง หยัดตั้งด้วยกระดูกสันหลัง มีลักษณะอย่างไร
มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรอยู่ แล้วหายใจเข้าออก มีความสดชื่นแค่ไหน
อย่างนี้ก็เป็นฌานได้
มีเอกัคคตารมณ์ คือรู้แค่นี้ ว่าท่านั่งนี้หายใจเข้าออก เอาลมหายใจเข้าออกอยู่
ไม่วอกแวกไปไหนเลย ไม่ได้ยินแม้กระทั่งเสียง มีอารมณ์เดียว ยกตั้งขึ้น
เหมือนยกขึ้นไปอยู่อีกมิติหนึ่งที่ไร้เวลา เวลาไม่เดิน
เวลาหยุดให้กับการเห็นเท่านั้นว่า ลมหายใจเข้าออก
เวลาไม่ได้หยุดจริงหรอก
เพราะลมหายใจยังเข้าออกอยู่ ถ้าเวลาหยุดลมหายใจต้องหยุด
ทีนี้
ที่ถามมา สรุปคำตอบชัดๆ อีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นปัญหาสำหรับคนจำนวนมากเลย ก็คือว่า
จะได้สมาธิเป็นอย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งไปพะวงเรื่องชื่อเรียก
ว่าเราเข้าถึงสมาธิระดับไหน แต่ให้ตั้งโจทย์ไว้ว่า จิตดีๆ ของเรานั้น
เราเอาไปใช้ทำอะไรนะครับ
___________________
ตอนนั่งสมาธิ บางวันนิ่งมากจนไม่ปวดขาหรือใดๆ
เลย เหมือนมีแต่ดวงจิตเท่านั้น ไร้ร่างกาย แต่ยังคงรู้สึกตัวได้ทุกอย่าง
แปลว่าจิตเข้าฌานระดับต้นหรือยังคะ?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน คลายเครียดใน ๓ นาที
วันที่
24 กรกฎาคม 2564
ถอดคำ
: เอ้
รับชมคลิป:
https://www.youtube.com/watch?v=CzwyEJStP7o
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น