รายการธรรมะวันอาทิตย์
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
ทางคลื่นความคิด FM 96.5
ดำเนินรายการโดย คุณชาญเดช บัวหันต์
ดำเนินรายการโดย คุณชาญเดช บัวหันต์
ผู้ดำเนินรายการ
:
กลับเข้ามาในชั่วโมงที่
๒ ของรายการธรรมะวันอาทิตย์นะครับ ในชั่วโมงนี้ผมมีแขกรับเชิญพิเศษ
ก็คืออาจารย์ศรันย์ ไมตรีเวช หรือว่าดังตฤณ เจ้าของผลงานหนังสือธรรมะมากมาย อาทิ
เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน จิตจักรพรรดิ
หรือแม้แต่คิดจากความว่าง ล้วนแต่เป็นหนังสือที่ผ่านสายตาคุณผู้ฟังมาแล้วมากมาย
แล้วก็เป็นหนังสือที่เรียกว่าเป็นเบสท์เซลเลอร์ (best seller) ด้วย แต่วันนี้อาจารย์จะมาให้ความรู้กับเรา เกี่ยวกับเรื่องของกับดักของชาวพุทธ ซึ่งตอนนี้อาจารย์อยู่ในสายแล้ว
สวัสดีครับอาจารย์ครับ
ดังตฤณ:
สวัสดีครับคุณชาญเดช
สวัสดีครับทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการ
:
ขอบพระคุณอาจารย์มากนะครับ
วันนี้ที่อาจารย์สละเวลามาออกอากาศในธรรมะวันอาทิตย์ครับ
ดังตฤณ:
ด้วยความยินดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ
:
ก่อนที่จะไปคุยเรื่องของกับดักของชาวพุทธ
เมื่อสักครู่ผมนั่งคิดและนั่งร่างคำถาม และก็มีชื่อหนังสือของอาจารย์ที่เมื่อก่อน
ขายได้แบบถล่มทลาย เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
คุณผู้ฟังที่เขายืนอยู่ข้างๆผม เขาก็อยากรู้เหมือนกันว่าหนังสือเล่มนี้ตอบโจทย์ของคนในช่วงนั้น
ในยุคนั้นอย่างไรครับ ทำไมถึงทำยอดขายได้มากมายขนาดนั้น
ดังตฤณ:
ประการแรกเลยคือผมคุยกับคนเยอะ
ช่วงนั้นน่ะนะ มีอยู่ช่วงหนึ่งสองปีไม่ทำอะไรอย่างอื่นเลย
คุยทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ถามตอบๆจนกระทั่งได้ข้อสรุปว่า ใจคนเนี่ย
คือมันไม่มีหรอก ใจคนพุทธหรือว่าใจชาวโลก มีแต่ใจคนธรรมดาคนหนึ่ง
มันมีความสงสัยเหมือนๆกันหมด ก็คือว่า ชาติก่อนชาติหน้ามีจริงไหม ถ้าจะพิสูจน์
จะพิสูจน์ได้อย่างไร เป็นคล้ายๆกับว่าถ้าตอบโจทย์ตรงนี้ไม่ได้เนี่ย
เขาก็จะไม่ยอมทำดีกัน จะไม่ยอมนับถือศาสนา จะไม่ยอมที่จะเชื่อ อย่างชาวพุทธทุกวันนี้เนี่ยที่บอกว่าเป็นชาวพุทธ
บอกว่าเชื่อ มันเป็นการเชื่อตามๆกัน
คือไม่ได้เชื่อเข้าไปที่เนื้อหาแก่นสารที่พระพุทธเจ้าสอนไว้นะ
แต่เป็นการเชื่อตามๆกันว่า ทำบุญหมายถึงไปทำที่วัด หรือว่านรก สวรรค์
อะไรแบบนี้เนี่ย ถ้าเราแค่ทำบุญบ่อยๆก็ไปสวรรค์ได้ไม่ต้องไปนรกอะไรทำนองนี้
คือมันเป็นความเชื่อแบบผิวเผินไม่ได้ลงรายละเอียด แล้วก็ไม่ได้มีการพิสูจน์
เพราะไม่รู้ว่าจะพิสูจน์อย่างไร
ตอนที่ผมจะเขียนเสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
มีคนขอให้เขียนหนังสือสั้นๆเกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมตัวเตรียมใจที่จะตาย
ญาติของเขาเนี่ยใกล้จะไปแล้ว เขาก็อยากได้อะไรที่มันสามารถนำทาง สามารถไกด์
สามารถให้แสงสว่างกับญาติเขาได้ ทีนี้ผมมานึกๆดู
จะเขียนยังไงดีเพราะว่าไม่เคยเขียนหนังสือสำหรับคนตายโดยเฉพาะ แต่พอถูกขอเนี่ย
ก็รู้สึกอยากเขียนเหมือนกันนะ เพราะที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นเนี่ยจะเขียนให้คนเป็น
คือเขียนโดยทำไว้ในใจว่าคนยังอยู่อีกนานแล้วได้อ่านธรรมะ
แต่ประเภทที่ว่ามาตั้งโจทย์ ญาติกำลังจะตาย
และขออะไรที่เป็นเนื้อหาแบบว่ากระชับๆแล้วก็ทำให้เขาไปดีได้ อันนี้ไม่เคย
มันก็เป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร ทีนี้พอนึกไม่ออกว่าจะเขียนเนื้อหาประมาณไหนเนี่ย
ปรากฎว่าสองเดือนต่อมาก็นึกถึงคนนี้ คนไข้คนป่วยที่กำลังจะไป
แล้วก็นึกว่าลืมไปแล้วเนี่ยป่านนี้เขาจะไปแล้วหรือยัง
นี่ยังคิดไม่ออกเลยว่าจะเขียนยังไง ตอนช่วงนั้นเนี่ยก็บอกตรงๆว่า
ไม่ได้มีประสบการณ์การเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมตัวตายเท่าไหร่
ก็เกิดแวบในหัวขึ้นมาบอกว่า เสียดายนะถ้าเขาไปเสียก่อนจะได้อ่าน มันก็เลยเป็นที่มา
มันปิ๊งขึ้นมาในหัว หนังสือชื่อนี้แหละ “เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน” ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้ชื่อหนังสือที่ดึงดูดความสนใจ
มันเป็นสิ่งที่แวบขึ้นมาในหัวจริงๆแล้วพอแวบขึ้นมาในหัวแบบนี้เป็นไตเติล (title) แบบนี้ เลยได้แนวทางโครงสร้างของหนังสือว่า สิ่งที่คนเสียดายมากที่สุดตอนใกล้จะตายก็คือว่า
ไม่ได้คำตอบของชีวิต เพราะคนใกล้ตายเนี่ยนะ อันนี้เล่าให้ฟังตรงๆ คือเห็นมา
มันมีความรู้สึกเหมือนชีวิตที่ผ่านมาทั้งหมดมันเป็นความฝันน่ะ
คือคนที่กำลังจะหมดเรี่ยวหมดแรง
และกำลังจะขาดใจเนี่ยนะ
เขามีความรู้สึกเหมือนกับว่า
ที่ผ่านมาทั้งหมดมันคือของหลอก
จะมีภาพขึ้นมาในหัวสองสามวันก่อนตาย
มันจะมีความจำผุดขึ้นมาตรงนู้นบ้าง ตรงนี้บ้าง
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง
แล้วตอนใกล้นาทีสุดท้ายเลยเนี่ย
จะมีความจำมาจากไหนก็ไม่รู้คือ
เหมือนหนังเลยนะ ต่อเนื่องกันเป็นชุดเลย
เพื่อที่จะปรุงแต่งจิตให้เกิดการรับรู้ว่า
ที่ผ่านมาทั้งชีวิตเนี่ย
ตกลงแล้วสะสมความสว่างหรือความมืดไว้มากกว่ากัน
ตรงนั้น นาทีนั้น มันทำอะไรไม่ได้แล้ว
คือได้แต่ตระหนักแล้วว่า
ตัวเองควรกับการไปมืดหรือว่าไปสว่าง
ทีนี้ถ้าช่วงที่มันเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าชีวิตทั้งชีวิตที่ผ่านมาเป็นของหลอกเป็นแค่ความฝันเอาอะไรไปไม่ได้เนี่ยนะ
ช่วงนั้นถ้าหากว่ามันมีความรู้ไว้ก่อน มันมีการเตรียมใจไว้ก่อน
ว่าสิ่งที่เอาไปได้จริงๆคือความสว่าง เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้
ลูกเมีย ทรัพย์สิน สมบัติอะไรทั้งหลาย เราต้องทิ้งไว้ในโลกนี้กันทั้งนั้น
แต่สิ่งที่ติดตัวไปได้อย่างเดียวคือกรรม จะเป็นบุญก็ดี จะเป็นบาปก็ดี
มันติดตัวเราไป
ผมก็นึกถึงนี่แหละว่า
คนตอนกำลังมีชีวิตอยู่ มักสงสัยกันเล่นๆเกิดมาเป็นอย่างนี้ได้ยังไง ตายแล้วไปไหน
แล้วถ้ายังอยู่เนี่ย สิ่งที่ควรทำที่สุดคืออะไร
ผมก็เอาตรงนี้มาเป็นโครงสร้างของหนังสือ ก็เลยอยู่ในใจคนอยู่แล้วมั้ง
พอเห็นชื่อหนังสือด้วย แล้วก็พออ่านไปตามโครงสร้างเนื้อหาตามนี้
โดยมีพระพุทธพจน์ยกมาเป็นตัวตั้งเสมอ จะได้แสดงว่านี่ไม่ได้คิดเองเออเองนะ
พระพุทธเจ้าตรัสคำไว้แล้ว แล้วเรามาอาศัยประสบการณ์จากคนยุคนี้ ยุคไอทีเนี่ย
มาถ่ายทอดให้ดูว่ายังเป็นจริงเป็นจังอยู่ ไม่ใช่ว่าผ่านมา ๒,๕๐๐ปีแล้ว จบ ล้าสมัยแล้ว
ถ้าเราเอาคำพูดแบบที่คนนึกๆคิดๆอยู่ในหัวอยู่แล้ว เอามาตีแผ่ แล้วก็เอาพระพุทธพจน์
มาเป็นตัวให้คำตอบให้ความกระจ่าง ก็เกิดความรู้สึกว่านี่ของจริง
คือไม่ใช่ว่าคุณดังตฤณเป็นคนคิดเองเออเองนะ แต่ว่าคุณดังตฤณก็เอาพระพุทธเจ้า
คำพูดของพระพุทธเจ้า มาให้คำตอบ ด้วยบรรยากาศร่วมสมัย ใช้คำพูดของคนปัจจุบัน
ใช้ภาษาของคนปัจจุบัน มันก็เลยอาจจะเป็นจุดที่ว่าย้อนหลังไปในยุคนั้น
อาจจะยังไม่เคยมีคนทำไว้มากนัก ก็เคยมีไตเติล (title) อยู่แล้วล่ะอย่างเช่น
ตายแล้วไปไหนอะไรอย่างนี้ หรือว่าเกิดตามกรรมอะไรทำนองนี้มันมีอยู่ คือผมเอามารวม
แล้วก็เอามาทำให้อ่านแล้วรู้สึกว่ารับได้
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
อาจารย์ครับสิ่งเหล่านี้เนี่ย
เหมือนกับที่อาจารย์เล่ามาด้วยความไม่รู้ของคนเกี่ยวกับเรื่องชีวิตแล้วความตาย
หรือแม้แต่ข้อสงสัยต่างๆที่มีการถกเถียงกันในโลกไอที แล้วอาจารย์ก็นำมาขยาย
นำมาสร้างความกระจ่างในรูปแบบหนังสือ สิ่งเหล่านี้เนี่ยในความไม่รู้
ความสงสัยต่างๆเรียกว่าเป็นกับดักได้ไหมครับ
ดังตฤณ:
ความไม่รู้มันเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งปวงเลยทีเดียว อย่างเช่นเวลาคนถามพระพุทธเจ้าว่า
สังสารวัฏมันมีการเวียนว่ายตายเกิดใช่ไหม เกิดมาแล้วพอตายไปก็ต้องไปเกิดใหม่
แล้วชาติแรกมาจากไหน คนถามอย่างนี้นะ ทูลถามแบบนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า อย่าไปคิดถึงเรื่องชาติแรก มันคิดไม่ได้
พอตายไปก็ต้องไปเกิดใหม่นะ แล้วถ้าชาติแรกมาจากไหน นี่คนถามอย่างนี้นะ
ทูลถามแบบนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า อย่าไปคิดถึงเรื่องชาติแรก มันคิดไม่ได้
แม้แต่พระพุทธเจ้านะ มีสัพพัญญุตญาณ (หมายเหตุ: ความเป็นพระสัพพัญญู หมายถึงพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง
ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต – ผู้ถอดเสียง) นะ
ท่านก็มองไปไม่เห็นนะว่าสังสารวัฏนี่ เริ่มต้นจากเมื่อไหร่ นะ
พระพุทธเจ้าตัดบทมาตรงที่สิ่งที่สามารถเห็นได้ด้วยตัวเองว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี่ที่มันเป็นชีวิตเรา
แล้วก็เป็นโลก เป็นจักรวาลนี่นะ มันเริ่มต้นมาจากความไม่รู้ของเราเอง คือ พอมีความไม่รู้
มีอวิชชาแล้วนี่ มันก็ก่อให้เกิดการสั่งสมบุญ สั่งสมบาป แล้วก็ไปเกิดเป็นนั่น
เป็นนี่
คือถ้าพูดง่ายๆนะ
มีชาติแรกนี่ มันไม่รู้จะเอาอะไรมาเกิด คือมันไม่รู้จะเอาตรงไหนมาตัดสินว่าควรไปเกิดเป็นมด
ควรไปเกิดเป็นเปรต ควรไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาอะไรอย่างนี้ มันต้องมีที่มา
ทีนี้ ที่มาตรงนี้นี่ นี่แหละที่เรียกว่า สังสารวัฏนี่ คือมันเป็น
อจินไตย มันคาดคะเน มันจินตนาการไม่ได้ แต่เราพอจะนึกออกนะว่า อย่างวงกลมนี่
ถ้าเราลากเส้นวงกลมไป มันไม่มีน่ะ จุดเริ่มต้นน่ะ มันไม่มีจุดสุดท้าย
มันมีแต่เส้นวงกลมที่มันจะต้องวนเวียน ไม่ขึ้นก็ลง คำว่าเวียนว่ายตายเกิดมันคือวงกลมแบบนี้
คือมันไม่มีจุดเริ่มต้น มันไม่มีจุดอันเป็นที่สุด
ถ้าหากเราไม่รู้วิธีที่จะออกจากเขตวงกลมนี้นะ
แต่ถ้าใครรู้วิธีที่จะออกจากเขตวงกลมนี้
มันก็จะเห็นน่ะว่าวงกลมนี่
จริงๆแล้วมันอยู่ของมันอย่างนั้น
มันวนเวียนของมันอย่างนั้นแหละ
ไม่ขึ้นก็ลง ไม่ลงก็ขึ้น
พอขึ้นแล้วมันมีเหตุดึงดูด
มีแรงดึงดูดให้ตกหล่นลงไปอีกนะ
แล้วพอตกหล่นลงไปถึงที่สุดนะ
ต่ำที่สุด เตี้ยที่สุดแล้ว มันก็เชิดขึ้นมาอีก
มันก็จะเห็นน่ะว่าวงกลมนี่
จริงๆแล้วมันอยู่ของมันอย่างนั้น
มันวนเวียนของมันอย่างนั้นแหละ
ไม่ขึ้นก็ลง ไม่ลงก็ขึ้น
พอขึ้นแล้วมันมีเหตุดึงดูด
มีแรงดึงดูดให้ตกหล่นลงไปอีกนะ
แล้วพอตกหล่นลงไปถึงที่สุดนะ
ต่ำที่สุด เตี้ยที่สุดแล้ว มันก็เชิดขึ้นมาอีก
อันนี้เป็นกฎ เป็นธรรมดาของสังสารวัฏ
ทีนี้คนไม่เข้าใจ ก็นึกว่าถ้ามีการเวียนว่ายตายเกิดนี่นะ ก็ต้องมีชาติแรกสิ แต่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่อตรัสว่า ไม่มี มีแต่ อวิชชา หรือความไม่รู้นะ ที่เป็นต้นเหตุของการสั่งสมบุญ สั่งสมบาป แล้วพอสั่งสม เอียงไปข้างบุญ ก็ไปเกิดดี เอียงไปข้างร้าย เอียงไปข้างบาป ก็ไปเกิดในอบายภูมิ ภพภูมิที่ชั่วช้า ภพภูมิที่มันเป็นทุกข์ นี่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นข้อสรุปทางธรรมะ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ ถ้าคาดคะเนแล้ว หัวแตก แต่ถ้าหากว่า เราปฏิบัติ เราเจริญสติ จนกระทั่งเกิดสมาธิ แล้วก็สามารถที่จะทะลุออกไปจากขอบเขตจำกัดของประสาทกายเนื้อแบบนี้ได้ เราจะเห็นนะว่า เออ มันมีอยู่จริงๆทุกสิ่งพระพุทธเจ้าตรัส ไม่ว่าจะเป็นการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วก็การลอยบุญลอยบาป ไปให้พ้น เหนือดี เหนือชั่ว พ้น คือพ้นจากวังวนทุกข์ที่เรียกว่า สังสารวัฏนี่เอง
ผู้ดำเนินรายการ
:
ครับ
จากการเวียนว่ายตายเกิดอยู่แบบนี้ เพราะว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นก็คือ ความไม่รู้
ดังตฤณ:
มันเป็นตัวตั้งต้น
ท่านให้มองว่าเป็นตัวตั้งต้น จริงๆมันก็ไม่ใช่จุดตั้งต้นแบบ แอบโซลูต (Absolute) นะ อวิชชานี่
เพราะว่าถ้าไม่มีภพชาติ มันก็ไม่มีอวิชชาเหมือนกัน อวิชชานี่ ห่อหุ้มจิต
ปิดบังไม่ให้เราเห็นความจริงนะครับ
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
ครับ
ทีนี้ จากอวิชชาตัวนั้น เป็นตัวตั้งต้น มาจนกระทั่งถึง กับดัก ละครับ อาจารย์
กับดักในพุทธศาสนานี่ นิยามของคำว่ากับดักนี่ อาจารย์จะให้ความหมายว่าอย่างไรดีครับ
ดังตฤณ:
ถ้าอยากจะพูดถึงกับดัก
ก็น่าจะมองว่า เปรียบเทียบเทียบเคียงได้ใกล้เคียงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
เกี่ยวกับเรื่องของเหยื่อล่อ ถ้าเราตกหลุมพราง หรือติดกับ หรือว่าติดเหยื่อ
ก็เท่ากับเราจะต้องวนเวียนอยู่กับสังสารวัฏนี้ไปไม่เลิก
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสชี้แจงไว้ชัดเจน แจกแจงไว้ชัดเจนนะครับว่า เหยื่อล่อ
มันมีเหยื่อล่อทางตา ถ้าเห็นอะไรแล้วติดใจอยากเห็นอีก นั่นนะ
เรียกว่าเรางับเหยื่อแล้ว หรือว่าแม้กระทั่ง
ถ้าคิดถึงเรื่องไหนแล้วเกิดความรู้สึกติดใจ อยากคิดถึงเรื่องนั้นอีก
นี่ก็เรียกว่างับเหยื่อเหมือนกัน ซึ่งถ้ามองแบบโลกๆว่า เอา ถ้าไม่มีเหยื่อนะ
แล้วไม่มีการงับเหยื่อนี่ มันก็ไม่มีการทำงานสิ นี่ แล้วถ้าไม่มีการทำงาน
ก็ไม่มีการได้เงินมากิน มาใช้ มาอยู่นะ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องจริง
เป็นเรื่องธรรมดาโลก คือถ้าหากว่าเราอยู่ในโลกแล้วไม่งับเหยื่อนี่ เราก็อยู่ไม่ได้
ทีนี้มันมีทางเลือกไง
ถ้าเราไม่อยากงับเหยื่ออีก เราก็ปล่อยคืนเหยื่อไป หรือว่าห้ามใจไม่งับเหยื่อ
โดยไปอยู่ในที่ๆเขาจัดไว้ให้โดยเฉพาะ นั่นคือเพศบรรพชิต ไปถือครองเพศบรรพชิตนะ
ไปอยู่ในเขตที่เรียกว่า ปลอดจากกาม ปลอดจากการงับเหยื่อนะ
แล้วก็ถือบวชนั้นเองในพุทธศาสนานะครับ
ซึ่งอันนี้พอเราคุยกันเรื่องเกี่ยวกับประเด็นการงับเหยื่อนี่
เราคุยกันแบบโลกๆไม่ได้ พูดกันตรงไปตรงมานะ เพราะถ้าคุยกันแบบโลกๆนี่
มันจะเหมือนกับว่า พระพุทธศาสนาไม่แพรคติคอล (Practical) แล้ว
คือมันเอาไปปฏิบัติจริงไม่ได้ ขืนปฏิบัติไป ก็ไม่ต้องทำงานกัน
ไม่ต้องทำมาหากินกันนะ ก็ขอให้มองว่าการงับเหยื่อที่แท้จริง
หรือว่าการพูดเรื่องเกี่ยวกับกับดัก ซึ่งเราจาระไนไว้ในพุทธศาสนานี่นะครับ
เป็นเรื่องเฉพาะของพระนะ
แต่จริงๆแล้ว
ถ้าคิดย่อยๆลงมา ให้ใกล้ตัวกับพวกเรา ก็ยังพูดถึง เหยื่อ หรือว่า กับดัก
ที่จะล่อใจหรือยั่วยุให้ผิดศีลได้ ผิดศีลผิดธรรม
เหยื่อล่อนั้นก็คือเหยื่อล่อทางกาม เหยื่อล่อทางความอาฆาตแค้นนะ อย่างเรื่องของ
ปาณาติบาต นี่ ที่มันเกิดขึ้นก็เกิดจากความโลภ กับความโกรธนี่แหละ
โลภที่จะชิงทรัพย์ โลภที่จะเอาชีวิตเขามาขาย หรือว่าโกรธที่เขามาทำให้เราอาฆาตแค้น
แล้วจะต้องทำลายล้าง จะต้องไม่อยู่ร่วมโลกกันอีก อะไรแบบนี้นะ
หรืออย่างเรื่องของการผิดประเวณี ผิดลูกเขาเมียใคร มันก็มาจากความโลภนั่นแหละ
อยากได้ มองว่าร่างกายของฝ่ายตรงข้ามนี่เป็น วัตถุกาม เป็น พูดง่ายๆว่า
สิ่งที่จะสนองให้ตัวเองนี่ เกิดความพึงพอใจขั้นสูงสุดได้ แล้วก็อดไม่ได้อดไม่ไหว
นี่ ตรงนี้ก็คือการงับเหยื่อ เหยื่อทางพุทธศาสนา พูดง่ายๆว่า วัตถุกาม
หรือไม่ก็วัตถุที่จะเป็นที่ตั้งของความอาฆาตแค้น ถ้าหากว่าเราไม่สามารถที่จะระงับอกระงับใจกับวัตถุเหล่านี้
ในที่สุดมันก็เกิด ‘การงับเหยื่อ’ ซึ่งผลมันเห็นชัดๆนะครับว่า เป็นความทุกข์ แต่ตอนจะงับนี่
มันไม่เห็นว่าเป็นทุกข์นะ
อย่างตอนจะแก้แค้น
เราจะรู้สึกว่ามันต้องทำ ถ้าไม่ทำมันก็ อกแตกนะ พอทำสำเร็จ รู้สึกสะใจ นี่ตรงนี้
พอตอนที่งับเหยื่อมันอร่อยแบบนี้ หรืออย่างตอนที่จะผิดประเวณี มีความรู้สึกว่า โอย
ทนไม่ไหวแล้ว ถ้าใครไม่มาเป็น ไม่รู้หรอก อะไรทำนองนี้ ก็จะมีอ้างกันนะ เป็นคำสำเร็จรูปที่ปั้นแต่งกันขึ้นมาในยุคเรานี่นะ
ใครไม่ลองมาเป็นไม่รู้หรอก ที่บอกว่าไม่รู้ๆนี่ จริงๆทุกคนรู้หมดนั่นแหละ
แต่ใครจะทำหรือไม่ทำ เท่านั้นเอง ใครจะงับเหยื่อ หรือไม่งับเหยื่อเท่านั้นเอง นะ
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
ทีนี้
ถ้าเราอยากจะหลุดออกมาจากกับดักตรงนั้นล่ะครับอาจารย์
รบกวนอาจารย์ให้แนวทางสักหน่อยได้ไหมครับ
ดังตฤณ:
คือ
ถ้าพูดในแง่ของการที่เราจะออกจากกับดัก หลุดจากกับดักที่ทำให้ผิดศีลผิดธรรมนี่นะ ก่อนอื่นเราต้องเห็นว่า
การออกจากกับดักเป็นสุข คือคนส่วนใหญ่นี่ จะปักใจเชื่อไปแล้วว่า
ถ้าไม่ยอมถลำตัวเข้าสู่กับดักนี่ มันจะเป็นทุกข์ พูดง่ายๆนะ นึกว่า
การผิดศีลผิดธรรมนี่ มันเป็นความสุข ไปมองเป็นแบบนั้น
ไปมองเป็นเรื่องการตอบสนองความพึงพอใจ หรือว่าไปมองว่า ได้มา
แล้วมันถึงจะมีความสุข พอมองอย่างนี้ เชื่ออย่างนี้ มันเรียกว่าสายตาสั้น สายตาที่มันจะมองไปบนเส้นทางของกรรมวิบากมันสั้น
มันจะเอาแค่ของเฉพาะหน้า
ทีนี้เราเป็นมนุษย์นี่
คือมีความสามารถคิดไปได้ไกลกว่าสัตว์เดรัจฉานนะ คือเราสามารถมองเห็นว่า
คนที่เขาผิดศีลผิดธรรมกันนี่ มันมีความทุกข์กันทั้งนั้นเลย มันไม่มีใครเป็นสุข
ถ้ามองได้ตั้งแต่เด็กๆจะดีมาก แต่เด็กๆที่ยุคใหม่น่ะนะ
ส่วนใหญ่ก็จะมองตามๆเพื่อนนั่นแหละว่า ทำๆไปเถอะ เดี๋ยวถ้าไม่เอาตอนนี้
เดี๋ยวแก่จ่ายแพงนะ อะไรแบบนี้นี่ ก็จะยุยงกัน ส่งเสริมกัน พอไปมองกันอย่างนั้น
ตัดสินกันอย่างนั้น มันก็จะเริ่ม เค้าเรียกว่าจุดชนวนความคิดแบบมักง่าย เวลาที่เราผิดศีลข้อหนึ่งเนี่ย
มันมีอาถรรพ์นะเรื่องศีลเนี่ย
คือมันจะไปลากจูงเอาความอยากจะผิดศีลข้ออื่นๆ ให้ตามมา คือพูดง่ายๆว่าพอผิดศีลไปข้อหนึ่งเนี่ย
จะมีเรื่องยั่วยุให้ผิดศีลข้ออื่นๆตามมา จะเรียกว่าการลองใจหรือว่าจะเรียกว่าเป็นผีซ้ำด้ามพลอยหรืออะไรก็ตามนะ
ลองสังเกตตัวเองดู ถ้าเกิดเราไปพลาด หรือว่าคิดง่ายๆว่า เฮ้ย! ไม่เป็นไรนะ
ผิดนิดผิดหน่อยอะไรอย่างเนี่ย เดี๋ยวมันจะมีเรื่องยั่วยุ ประเภทยิบๆย่อยๆนะ
มากระทุ้ง กระแทก หรือว่ามาดึงดูดให้เราเนี่ยอยากจะผิดศีลข้ออื่นๆอีก
หรือไม่ก็ผิดศีลข้อเดิมซ้ำๆๆนะ ตรงนี้เนี่ยมันไม่ใช่อาถรรพ์อะไร แต่มันเป็นธรรมชาติ
มันเป็นกลไกของสังสารวัฏ
คือถ้าเราตัดสินใจมุ่งหน้าลงต่ำเนี่ยนะ
มันก็จะต่ำลงไปเรื่อยๆมันเหมือนทางลาด
ตอนแรกๆลาดแค่น้อยๆนะ
แต่พอทำๆไปเนี่ยมันลาดมากขึ้นๆทุกที
มันสโลปมากขึ้นทุกที มันชันมากขึ้นทุกที
คือจนกระทั่งว่าเราไม่มีแรงเบรค
ไม่มีแรงที่จะไปห้ามอะไรอีก!
แต่พอทำๆไปเนี่ยมันลาดมากขึ้นๆทุกที
มันสโลปมากขึ้นทุกที มันชันมากขึ้นทุกที
คือจนกระทั่งว่าเราไม่มีแรงเบรค
ไม่มีแรงที่จะไปห้ามอะไรอีก!
ตอนแรกๆเนี่ย
ก่อนจะถลำลงมาเนี่ยยังห้ามได้นะ ยังตัดสินใจได้ แต่พอทำๆไป ทำๆไปเนี่ย
มันกลายเป็นทางลาดที่ชันขึ้นเรื่อยๆแล้วก็เราไม่รู้จะไปเอากำลังขา
ไม่รู้จะเอากำลังแขนอะไรไปนะ เหนี่ยวรั้งตัวเองไม่ให้ถลำตกลงไปลึกขึ้นๆ
ทีนี้ถ้าฟังธรรมะแต่เนิ่นๆก่อนที่จะถลำลึกลงไปเนี่ย
แล้วก็ปักใจเชื่อจากหลักฐานนะ ไม่ใช่ปักใจเชื่อจากการคิดเองเออเองนะว่า
คนที่เค้าผิดศีลผิดธรรมกันเนี่ย ไม่มีใครหรอก ที่มันหน้าตาดี หน้าตาผ่องใสนะ
มันมีแต่หน้าคล้ำดำหมองกันทั้งนั้นแหละ ที่ประเภทชั่วๆแล้วบอกว่ายังดูดีอยู่ได้เนี่ย
บางทีราศีเงินมันจับนะ ราศีของความเป็นมีอำนาจมันดูจับตา
แต่ถ้าได้ใกล้ชิดจริงๆเนี่ย จะเห็นความคล้ำหมอง อันเกิดจากการสั่งสมบาปอกุศล ตอนนี้ถ้ามีประสบการณ์ตรงเนี่ย
ทุกคนจะรู้นะ คือคนถ้ามันอยู่บนเส้นทางของความชั่วร้ายเนี่ย ต่อให้ดูดีขนาดไหน
ต่อให้มีคาริสม่า (Charisma) อะไรยังไงนะ ถ้าได้ใกล้ชิดจะเห็นเลย
มันจะรู้สึกถึงกระแสนรก หรือว่ารังสีอะไรที่มัน มันแผ่ออกมาเป็นความทุกข์
ทุกข์อันเกิดจากความรู้ตัว ว่าอยู่ในกองบาปนะ เป็นคนบาป เป็นความทุกข์ที่
คือถามว่าฝันดีได้ไหม มันไม่ได้ มันต้องฝันร้ายนะ
เป็นความทุกข์ชนิดที่ว่าอยู่ดีๆเนี่ย มีความรู้สึกไหมว่าถ้าตายไป จะไปดี มันไม่ได้
มันมีแต่ความรู้สึกหวาดระแวงหรือว่านะ มันมีความรู้สึกกลัวอยู่ลึกๆตลอดเวลา
ว่านาทีนี้ถ้าสมมุติจะต้องด่วนจากโลกไปเนี่ย มันจะไปไหน
จะมีความคิดอย่างนี้จริงๆถึงแม้ว่าจะปากแข็งนะ
อย่างฝรั่งนะ
ตอนนี้มีเยอะเลย บอกว่าไม่นับถือศาสนา ไม่สนใจ ไม่เชื่อ
ไม่เชื่อนิทานหลอกเด็กหรอกเรื่องนรก สวรรค์อะไรอย่างเนี่ย แต่เอาเข้าจริงๆนะ
มันมีความฟุ้งซ่านชนิดหนึ่งก่อกวนอารมณ์ของตัวเองเนี่ย อยู่ตลอดเวลา
คือมีแต่ความรู้สึกว่าใจเนี่ยมันไม่สงบ มันไม่สามารถที่จะรู้สึกเป็นสุขได้
ไม่ว่าจะมีเงินกี่ร้อย กี่ล้านนะ ไม่ว่าจะมีบ้าน
ไม่ว่าจะมีรถยิ่งใหญ่อลังการขนาดไหนเนี่ย มันมีความไม่สงบรบกวน
ให้รู้สึกว่าของที่มีอยู่เนี่ย มันหมดค่าไปได้เร็วมาก พอได้มาแค่ไม่กี่วันเนี่ย
รู้สึกว่าไม่มีค่าแล้วนะ ตัวนี้เนี่ย ตัวความทุกข์ที่อยู่ในใจจริงๆ
ฝังแน่นอยู่ในใจจริงๆ เป็นเครื่องพิสูจน์ ยังไม่ต้องตาย
มันพิสูจน์เลยว่าบาปกรรมเนี่ย สั่งสมแล้วทำให้เกิดทุกข์
ส่วนบุญเนี่ย
ยิ่งสั่งสมยิ่งเบา ยิ่งเกิดความรู้สึกเป็นสุข นี่ถ้าตายไปตอนนี้ได้ขอบพระคุณเลยนะ
รู้สึกเลยว่าเดี๋ยวได้ไปดีกว่านี้ เดี๋ยวได้มีความสุขมากกว่านี้
จะเห็นเลยว่าอะไรที่มันเป็นไปในโลกนี้เป็นของหยาบ เป็นของหนัก
ถ้าใจเบาแล้วก็หลุดจากความหนัก ความหยาบอะไรตรงนี้ไปได้ โอ้ย มันแสนสุข แสนสบายนะ
ตรงนี้เป็นหน้าที่ของบุญที่จะตกแต่งจิตใจของเราเนี่ย ให้เกิดความรู้สึกไปว่าตัวเองเข้าเขตปลอดภัยแล้ว
คนที่สั่งสมบุญไว้มากๆเนี่ยนะ
มันเกิดความรู้สึกจริงๆว่ายังไม่ต้องสร้างบ้านในอนาคต
ยังไม่ต้องสร้างวิมานในอากาศที่ไหนหรอก เอาแค่ความรู้สึกในตอนนี้ก็สวรรค์แล้วนะ
แล้วก็จะไม่เชื่อเลย ถ้าใครบอกว่า เฮ้ย ถ้ายูไม่มานับถือไอ ยูไม่มาเคารพอะไรโน้นนี่นั่นแล้วยูจะต้องไปนรก
อะไรเนี่ยมันจะรู้สึกเป็นเรื่องขำนะ เป็นเรื่องขำขัน เพราะว่า
คือจะเห็นเป็นเหตุเป็นผลนะ ในเรื่องเกี่ยวกับภพภูมิ
หรือว่าในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตนี้ ชีวิตหน้านะ ถ้าชีวิตนี้มันสว่าง แล้วเป็นสุข
มันไม่มีทางนะ ใจมันจะไม่เชื่อเลย ใจที่ถูกปรุงแต่งด้วยความสว่าง
ใจที่ถูกปรุงแต่งด้วยความสุขอย่างมหาศาล มันจะไม่มีทางเชื่อว่าตัวเองจะต้องไปนรก
เพียงเพราะไม่เชื่อ ไม่นับถือใคร
แต่ตรงกันข้าม
ใจที่มันมีแต่หมกมุ่นไปในกามคุณนะ ใจที่มันมีแต่ความจมปลักอยู่กับกองบาปเนี่ย
ตรงนี้ต่อให้ไปทำบุญที่วัดไหน วัดดัง วัดใหญ่ที่เค้าโฆษณาเนี่ย
ไปทำบุญแล้วจะถึงนิพพาน ถึงสวรรค์ชั้นไหนๆอะไรเนี่ย
คือมันก็รู้สึกค้านอยู่ลึกๆในใจ มันมีอารมณ์ไม่สบายใจ คือบางทีเนี่ยชาวพุทธเรานะทำบุญด้วยเครื่องล่อ
อันนี้ก็เป็นกับดักอีกชนิดหนึ่ง คือพอเค้าล่อมา ล่อใจว่ามาทำบุญที่วัดนี้แล้ว
เดี๋ยวจะได้ไปสวรรค์ชั้นสูงอะไรต่างๆนะ คือก็จะทำบุญด้วยความโลภ
ทำบุญด้วยอาการว่าอยากได้ ความอยากได้เนี่ย มันเป็นพวกเดียวกันกับความคิดทุจริต
นึกออกไหม
คือเวลาถ้าสมมติว่าเราโกงกินนะ เรารู้ เราเห็นว่าตัวเองเนี่ยทำงานแบบที่ว่าไปฉกฉวย
ไปหลอกลวง ไปเอารัด เอาเปรียบคนอื่นเค้าไว้เนี่ย มันเป็นการใช้หน้าที่การงาน
อำนาจหน้าที่การงานเนี่ยเอาเข้าตัวนะ ทีนี้พอเวลาไปทำบุญที่วัด
ไปตามเครื่องล่อว่าเค้าชักชวนให้ทำเท่านั้นเท่านี้ แล้วมันถึงจะได้บุญนะ อย่างโน้น
อย่างนี้เนี่ย นี่ก็คือตั้งต้นขึ้นมาเนี่ยอยากได้
อยากได้ของตอบแทน มันเป็นอันเดียวกันกับตอนที่เราคิดจะไปโกงคนอื่น
หรือว่าเอาเปรียบคนอื่นนั่นแหละนะ ทำบุญแค่ ๑๐ บาทนะ หวังว่าจะได้กลับมาล้านหนึ่งนะ
อันเนี่ยความคิดแบบโจรนะ
ผู้ดำเนินรายการ :
คือมันเป็นอารมณ์ความรู้สึกเดียวกันใช่ไหมครับอาจารย์
ดังตฤณ :
ใช่ๆ
คือทีนี้ถ้ากลับกันนะ ทำบุญแบบพุทธจริงๆ ทำแบบไม่เลือกหน้านะ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์
ไม่ว่าจะเป็นคนจน ไม่ว่าขอทาน ไม่ว่าจะเป็นคนระดับเดียวกัน หรือว่าไปทำบุญที่วัด
ด้วยใจที่ปรารถนาว่าอยากให้พุทธศาสนาสืบทอดต่อไปได้ ก็จะไม่เกี่ยงวัด
ไปทำได้ทุกวัด วัดใกล้บ้านก็ได้ วัดไกลบ้านก็ได้
ไม่ได้หวังว่าจะได้บุญมากหรือบุญน้อย
แต่หวังว่าใจของเราจะเต็ม
ใจของเราจะมีความคิดอยากให้
อยากสละออกจริงๆ
ตรงนี้เป็นเป้าหมายที่แท้จริง
ตรงนี้เป็นเป้าหมายที่แท้จริง
ของการทำทานในพุทธศาสนา
การทำทานในพุทธศาสนานะ
คือการที่เราตั้งใจสละออก
เพื่อทำลายความตระหนี่ถี่เหนียว
การสามารถทำลายความตระหนี่ถี่เหนียวได้ ก็คือ
การทำทานในพุทธศาสนานะ
คือการที่เราตั้งใจสละออก
เพื่อทำลายความตระหนี่ถี่เหนียว
การสามารถทำลายความตระหนี่ถี่เหนียวได้ ก็คือ
การหลุดออกจากกับดักทางความโลภ
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่ถ้าเราทำบุญด้วยอาการที่อยากได้ อยากเอา
อันนี้มันติดกับ มันเข้าไปติดกับอีกแบบหนึ่ง
สังเกตอาการทางใจเวลาทำบุญ
ว่าเราติดกับดักอะไรหรือเปล่า?
ถ้าติดกับความโลภ
พยากรณ์ตัวเองไว้ได้เลย
ณ เวลาที่บุญจะเผล็ดผล มันไม่มีความสุขแน่ๆ
ต่อให้เรารู้สึกดีใจ เรารู้สึกว่าปลื้มใจที่ได้ร่ำรวย
หรือว่าได้อะไรดีๆจากผลบุญมา
แค่วันเดียว สองวัน ใจไม่เป็นสุขแล้ว
มันจะดิ้นรนต่อ มันจะอยากได้อีก!
เพราะว่าต้นกำเนิดของผลบุญมันมาจากอาการทางใจที่มีความโลภ
มันไม่ได้มีความสละออก ใจที่สละออกนั่นแหละต้นเหตุแห่งความสุข ลองสังเกตนะ
ถ้ามันสละออกอย่างเดียวจริงนี่มันโล่ง มันเกิดความสบาย มันเกิดอารมณ์ผ่องใส
ซึ่งหมายความว่าถ้าบุญที่เราทำด้วยอาการทางใจแบบนั้นมันถึงเวลาเผล็ดผล
จะเป็นความร่ำรวย จะเป็นความมั่งคั่ง
จะเป็นความรู้สึกว่าเราได้เกิดในตระกูลดีอะไรก็ตามมันจะเต็มไปด้วยความสบายใจ
มันจะงอกเงยออกมาเป็นผลภายนอกที่ดีที่เจริญตาเจริญใจ แล้วก็เกิดความรู้สึกทางใจว่า
เออ แค่นี้พอแล้ว มันมีความพอใจ มันมีความสบายใจที่ได้อยู่กับความสุขตรงนั้น
เพราะฉะนั้นการไปทำบุญ อย่าทำบุญแบบติดกับ
อย่าทำบุญแบบที่ว่าหลงไปสู่กับดักของความโลภ
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
แล้วเหมือนกับว่าเราไปที่สำนักหนึ่ง
ไปวัดหนึ่งแล้วไปติดกับหลักคำสอนของครูอาจารย์ท่านนั้นว่า
เค้าสอนแล้วคุณจะได้อานิสงส์ ได้ลาภยศอย่างโน้นอย่างนี้อย่างนั้นกลับมา
นี่ก็เป็นกับดักเหมือนกันใช่ไหมครับอาจารย์
ดังตฤณ:
อันนี้เค้าเรียกว่าเป็นกับดักทางบุคคล สถานการณ์ทางพุทธในปัจจุบันของไทยก็ติดกับดักนี้กันมาก
คือไปมองว่าพุทธคือพระ ถ้าเห็นพระหมายถึงว่าเป็นตัวแทนของพุทธ พระพูดอะไรเชื่อหมด
มันไม่มีภูมิคุ้มกันไง คือเหมือนกับเด็กไม่รู้ ผู้ใหญ่พูดมาอะไรก็เชื่อหมด
เราต้องมองว่าถ้าจะเป็นพุทธกันจริงๆต้องศึกษาเอาแก่นธรรม
เอาของจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาเป็นภูมิคุ้มกันตัวเองก่อนที่จะไปนับถือใคร
ก่อนที่จะไปฟัง ก่อนที่จะไปเชื่อใคร แม้จะไม่ว่าใส่เสื้อเชิ้ตหรือว่าใส่จีวรก็ตาม
คือถ้ามีภูมิคุ้มกันแล้วใครพูดอะไรมาเรารู้ว่านี่พูดแบบคิดเองเออเองหรือเปล่า
ประเภทว่า
มาตั้งกฎกติกาผลตอบแทนทางการทำบุญขึ้นมาเอง มันฟังง่าย คือถ้าเอาเข้าตัวนะ
แบบว่าต้องมาทางฉันเท่านั้น มาทางฉันแล้วได้ใหญ่ได้โตกว่า
ได้ดิบได้ดีกว่าที่จะไปทำทางอื่น นั่นสันนิษฐานเลยว่ามั่วแล้ว เอาเข้าตัวแล้ว
เห็นแก่ตัวแล้ว คนเรานี่ถ้าเห็นแก่ตัว มีแต่ความคิดเอาเข้าตัวอย่าไปเชื่อว่าเค้าจะเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้
เพราะแม้กระทั่งธรรมะพื้นฐานง่ายๆเรื่องการให้ทานยังพูดไม่ถูกเลย
แล้วจะไปพูดอะไรที่มันสูงกว่านั้นเหนือกว่านั้นได้
ฉะนั้นคำตอบก็คือว่า
ปัจจุบันเรามีบุคคลที่เป็นกับดักอยู่จริงๆแล้วก็สมควรที่จะระมัดระวัง และวิธีระวังตัว
ไม่ใช่เกร็งเนื้อเกร็งตัวแล้วไปตั้งท่าปฏิเสธท่าเดียว ตั้งการ์ดท่าเดียว
ไม่ใช่อย่างนั้น คือคนยุคใหม่ เค้าบอกว่า คนไม่เชื่ออะไรเลยคือคนฉลาด
ความฉลาดคือการไม่เชื่อใครทั้งสิ้น นี่ก็เป็นความเข้าใจผิดอีกแบบหนึ่ง
มันสวิงไปอีกข้างหนึ่ง
ผู้ดำเนินรายการ
:
อันนี้ก็เป็นกับดักอย่างหนึ่งเหมือนกันใช่ไหมครับ
ดังตฤณ:
อันนี้ก็เป็นกับดัก
ทุกอย่างที่มันเกิดจากความคิดเราเป็นกับดักได้ทั้งนั้น
ถ้าเอาความหมายของบัณฑิตทางพุทธจริงๆที่ไม่ใช่คนพาล บัณฑิต คือคนที่ไถ่ถามผู้รู้
อย่างผู้รู้ในปัจจุบันที่น่าเชื่อถือที่สุดคือพระไตรปิฎก ถ้าอ่านพระไตรปิฎกไม่ไหวก็ให้ศึกษาจากคนที่มีความรู้พระไตรปิฎกแล้วจริงๆ
ซึ่งมันยากที่จะชี้ตัวว่ามีใครบ้าง แต่คิดง่ายๆอย่างนี้ ถ้าตรงกับพระไตรปิฎก
กิเลสเราจะลดลง คือธรรมะใดๆก็ตาม ถ้าหากว่าทำให้กิเลสเราลดลงได้ ความอยากได้ อยากดี
อยากมี อยากเป็นลดลงได้ สบายใจขึ้นได้
ตรงนั้นมีความโน้มเอียงที่จะเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมะของพระองค์ที่สำคัญที่สุดคือ สามารถลดกิเลสคนได้
ไม่ใช่ไปเพิ่มกิเลส ถ้าบอกว่าถือคัมภีร์ของพระองค์อยู่ ถือคำสอนของพระองค์อยู่
แล้วมีกิเลสเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น นี่ไม่ถูกแล้ว มันไม่ใช่แล้ว
แต่ถ้าหากว่ายังรู้สึกว่า
ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอให้ทำใจไว้อย่างนี้ คือค่อยๆดู ค่อยๆฟัง ว่าคนพูด พูดโดยมีการอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้าบ้างไหม เพราะธรรมชาติของคนที่นับถือพระพุทธเจ้าจริงจะต้องมีการให้เครดิตพระองค์บ้าง
จะต้องมีการอ้างอิงบ้าง ว่าไปหาดูตรงนี้ พระพุทธเจ้าพูดไว้ตรงนี้ พระสูตรนี้
หรือว่าอยู่ตรงส่วนไหน มันจะบอกถูก ผมเจอมาเยอะมากนะ บอกว่า โอ๊ย
เแบบนี้ไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้าหรอก พระพุทธเจ้าไม่เคยพูดอย่างนี้แน่ๆแต่ปรากฎว่าตัวเองไม่เคยอ่าน
ไม่เคยฟังอะไรเลยว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไร สรุปแล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยพูด
แล้วก็เอาคำพูดของตัวเอง เอาความคิดของตัวเองไปใส่พระโอษฐ์ บอกว่าเนี่ย
พระพุทธเจ้าจริงต้องพูดอย่างนี้ โดยที่พอไปค้นคว้าจริงๆพอไปหาจริงๆไม่มีพูดไว้ที่ไหนเลย
พระองค์ไม่เคยตรัสไว้ที่ไหนเลย อันนี้พูดง่ายๆเริ่มต้นต้องทำใจไว้เป็นกลางนิดนึง
ดูว่าการอ้างอิงของแต่ละคนมีความน่าเชื่อถือแค่ไหนด้วย ไม่งั้นเราก็ติดกับไปกับเขา
โดนกับดักเดียวกับเขา คือกับดักทางความคิด จะคิดเอง เออเอง แล้วก็ทึกทักเองว่าอย่างนี้แหละถูก
อย่างนี้แหละผิด
ผู้ดำเนินรายการ
:
และกลายเป็นเหยื่อเขาด้วย
ดังตฤณ:
กลายเป็นเหยื่อ
ใช่ และมันจะเกิดการเรียนรู้ไง คือคนที่ใส่ยูนิฟอร์มแบบหนึ่งมันจะมีเครดิต
และพอพูดแล้ว อ้าว คนนี้เชื่อนี่ เสร็จแล้วพูดอีก พูดซ้ำอีก มีคนเชื่อเพิ่ม
มันกลายเป็นความรู้สึกว่า เอาหลักกูเป็นที่ตั้ง หลักการทิ้งไปคนพวกนี้พอทำไป ทำไป
จะไม่สนว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไร จะไม่อ้างอิง จะไม่อะไร
แต่จะเอาคำพูดของตัวเองยกขึ้นมาตั้ง เสร็จแล้ว วันดีคืนดีก็บอกด้วย
นี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ คือมันเป็นความเห็นที่บิดเบี้ยว หรือความเชื่อที่ผิดเพี้ยนของตัวเองไปแล้ว
แล้วก็แพร่ลามต่อไปถึงคนอื่น
ผู้ดำเนินรายการ
:
ปัจจุบัน
อาจารย์ครับ คนไทยเขาถนัดเรื่องการตีความว่าวิพากษ์วิจารณ์ความคิดความเห็น
จนกระทั่งทำให้พุทธวจนะที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าถูกคลาดเคลื่อนไป
ดังตฤณ:
ก็คงยากที่จะไปว่าใครว่ามันเริ่มต้นผิดๆแบบนี้กันมาตั้งแต่เมื่อไหร่
เพราะว่า ตั้งแต่สมัย.. ผมจะไม่ระบุก็แล้วกัน
คือเดิมทีคำพูด คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันคือเริ่มตั้งแต่ ๕๐๐
ปีหลังพุทธปรินิพพาน ที่เริ่มมีการบันทึกลงใบลาน ตอนนั้นเริ่มมีพวกหัวหมอ
คือธรรมชาติของคนอยากเป็นคนสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนาเป็นศาสนาใหญ่ของโลก
ถ้าได้เอาคำพูดของตัวเองใส่เข้าไปด้วยมันมีความรู้สึกภาคภูมิใจ รุ่นลูก รุ่นหลาน
มา repeat กันตามคำพูดของตนเอง
และเกิดเป็นการแบ่งแยกแตกแขนงกันไปว่าเป็นอีกลัทธิหนึ่ง เป็นอีกพวกหนึ่ง
เป็นอีกความเชื่อหนึ่ง
ถ้าเป็นเถรวาท
ก็จะหมายถึงเอาคำสอนของพระเถระที่ได้คำสอนมาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
เถรวาทนี่ก็มีการใส่ความเห็นเข้าไปจับได้ชัดๆเลย ปลอมปนเข้าไป
ซึ่งตรงนี้อย่าลงรายละเอียดเลย แต่จะสรุปว่า
อัตตาของคนเรามันมีแต่ไหนแต่ไรตั้งแต่บรรพกาล ตั้งแต่เป็นพันๆปีมาแล้ว มีคนอยากพูดว่าความคิดของฉันถูกต้องที่สุดในโลก
แล้วถ้าใครไม่ฟังก็เอาความคิดของตนเองไปปลอมปนไว้ในคัมภีร์ จะได้มีคนสืบทอด
เพราะมีโลโก้แล้วไง เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาใหญ่ มีคนเชื่ออยู่แล้ว
พร้อมจะเชื่ออยู่แล้ว พร้อมจะฟังอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเอาไปใส่ไว้ในที่สำคัญๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีส่วนอยู่ในพุทธศาสนา
มันก็จะรู้สึกว่าตัวเองเนี่ยมันไปสนองอัตตา
ซึ่งถ้าหากว่าเรารับรู้ว่ามันมีอะไรอย่างนี้อยู่
ช่องรับรู้ของเรามันจะไม่ฟังแล้วเชื่อทันที
แต่ฟังแล้วมีการพิจารณาว่าแนวทางยังตรงอยู่กับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไหม
คือว่าศาสนาของพระองค์ ธรรมะของพระองค์ ถ้าฟังแล้วเอาไปทำตามแล้วเนี่ย กิเลสจะลดลง
อัตตาจะลดลง กิเลสจะเบาบางลง
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
อันนี้คือพุทธแท้?
ดังตฤณ:
พุทธแท้คือคนที่ไม่เป็นทุกข์
พูดง่ายๆว่า คือคนที่หมดทุกข์แล้ว คือหมดทุกข์โดยการลดละกิเลส
ไม่ใช่โดยการเพิ่มพูนกิเลส
ผู้ดำเนินรายการ
:
ถ้าเพิ่มพูนกิเลสคือพุทธเทียมแล้ว
เต็มไปด้วยอัตตา
ดังตฤณ:
คือจริงๆถ้าพูดถึงฆราวาสเรา
ตรงนี้เส้นแบ่งบางๆมันอยู่ตรงไหน บางทีจะหาไม่เจอ
ถ้าชีวิตแบบฆราวาสนี่มันไม่ไหลตามกิเลสไม่ได้ นี่พูดกันตรงๆ
ถ้าไม่ไหลตามกิลสนี่มันไม่รู้จะทำมาหากินยังไง การทำมาหากินของฆราวาสนี้ พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า “เป็นทางมาของธุลี” คือถ้ายังเป็นฆราวาสอยู่แล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกเข้ามาเกาะจิตนี้
มันยาก หรือเป็นไปไม่ได้
ทีนี้เส้นแบ่งของฆราวาสก็อยู่ตรงที่ว่า
ถ้าจะเอาเรื่องของการลดละ เอาเรื่องการปล่อยวาง
ดูตรงมาตรวัดตรงนี้ก่อนคือเรื่องศีล ถ้าศีลของเราไม่พร่อง แสดงว่าเราลดละไปแล้ว คือการถือศีลไม่ใช่ทำได้ง่ายๆแค่ปากพูดตามพระพูด
ว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ จะไม่ลักทรัพย์ มันจะมีเครื่องพิสูจน์จิตใจว่าเอาจริงรึเปล่า
อันนี้เป็นเรื่องอาถรรพ์อีกเรื่องหนึ่งซึ่งชาวพุทธตั้งใจจะเป็นชาวพุทธจริงๆได้เจอกันทุกคน
คือพอตั้งใจจริงๆนะไม่ใช่แค่พูดตามพระนะ ตั้งใจว่าวันนี้ อาทิตย์นี้ เดือนนี้
จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ฉ้อฉล ไม่ผิดลูกผิดเมีย ไม่โกหกแม้แต่คำเดียว ไม่พูดหยาบ
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดอะไรที่มันส่อเสียดคนอื่นอย่างนี้นะ
พอตั้งใจจริงๆพอจะเอาจริงๆเนี่ย มันมีเครื่องวัดใจมาทันที
ผู้ดำเนินรายการ
:
เหมือนเป็นบททดสอบ
ดังตฤณ:
คือถ้าจะเข้าใจเรื่องนี้ต้องเข้าใจเรื่องสังสารวัฏให้ลึก
ดึงดูดให้ติดกับสังสารวัฏ และวิธีที่จะติดอยู่กับสังสารวัฏคือ จะต้องไหลลงต่ำ
มีแนวโน้มที่จะไหลลงต่ำ
อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าธรรมชาติของจิตไหลลงต่ำเหมือนน้ำ
คือถ้าเราเข้าใจเรื่องแรงดึงดูดของสังสารวัฏได้
เราจะไม่แปลกใจว่าทำไมถึงมีบททดสอบ
คือการตั้งใจรักษาศีล
มันเป็นการเอาตัวออก
เขยิบออกห่างจากสังสารวัฏ
มันเป็นการที่จะพ้นแรงดึงดูดจากสังสารวัฏไปนิดนึง
คือยังไม่ต้องถึงขั้นสูง
เอาแค่ขั้นระดับพื้นๆทีนี้พอมันจะเริ่มขยับตัว
บอกว่าฉันอยากจะถือศีลเพื่อที่จะมุ่งสู่ทางนิพพาน ทางสวรรค์ ทางนิพพานเนี่ย
แรงดึงดูดมาทันที ข้อพิสูจน์ว่าสังสารวัฏมีจริงมาจากตรงนี้เนี่ย
มันส่งเหตุการณ์มาทันที มาล่อมาลวง มาดูจะเอาเรากลับลงต่ำ และคนส่วนใหญ่เกิน ๕๐% ผมไม่รู้
ไม่เคยมีใครทำวิจัยไว้ แต่ผมว่ามันเกิน ๕๐% แน่ๆ
เพราะคนส่วนใหญ่ต้านทานไม่อยู่
ผู้ดำเนินรายการ
:
(หัวเราะ)
ผมเชื่ออาจารย์ครับ
ดังตฤณ:
พอตั้งใจว่าจะไม่ทำผิดไม่ทำบาปอะไรแล้วเกิดเรื่องยั่วยุ
ไปตามเลย เตลิดไปเลย ตรงนี้มันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสังสารวัฏมีจริง
ผู้ดำเนินรายการ
:
คือแม้แต่เรื่องที่อาจารย์ได้พูดไว้เมื่อสักครูเรื่องของศีล
ว่าถ้าผิดแล้วข้อหนึ่ง ก็มีแนวโน้มความเป็นไปได้ว่าข้ออื่นๆจะผิดตามมา
ดังตฤณ:
ใช่
อันนั้นก็เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งว่าสังสารวัฏมีจริง
ผู้ดำเนินรายการ
:
อาทิที่เราเห็นและเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้เรื่องของปัญหาจากการที่สามีภรรรยาทะเลาะกัน
ผิดลูกผิดเมีย
ดังตฤณ:
แล้วฆ่ากันเลย
เดี๋ยวนี้เอะอะนิดเดียวก็ฆ่ากันเลย ไม่สน
ผู้ดำเนินรายการ
:
ใช่
ถ้าผิดลูกผิดเมียแล้ว พูดเท็จ พูดโกหก พูดปด ก็ตามมา แล้วเรื่องของการฆ่าก็ตามมา
ฆ่าสัตว์
ดังตฤณ:
คือเรื่องการฆ่าแกงเนี่ย
ที่คนยุคเราเห็นเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย
สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าเราใช้ชีวิตกันฉาบฉวย มันเหมือนกับว่าจิตใจของเราฝักใฝ่อยู่กับสิ่งที่มันผิวเผิน
สิ่งที่มันไม่มีอะไรลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิต ทีนี้ถ้าคนจะรักชีวิตในทางที่ถูกต้อง
มันต้องเห็นค่าของชีวิต และวิธีที่จะเห็นค่าของชีวิตมีวิธีเดียว
คือต้องเข้าใจว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตได้มายังไง และชีวิตจะไปไหน ถ้าหากว่ามันหลงทาง
ชีวิตจะไปไหนถ้าหากว่าชีวิตจับทางถูก ตรงนี้มันเป็นแก่น
มันเป็นอะไรที่แบบว่าคนศึกษาศาสนาพุทธจะได้คำตอบตรงนี้ชัดเจน แต่ก็มีเหมือนกันนะ
มันมีเรื่องน่ากลัวตรงที่ว่า
ขนาดคนปฏิบัติธรรม ขนาดคนที่ชอบทำบุญเนี่ยบางทีพอมีเรื่องผิดหวังอะไรแรงๆเนี่ย
ฆ่าตัวตายเลย สาเหตุผมจะโทษว่าเป็นเรื่องที่เราใช้ชีวิตแบบถูกโลกปัจจุบันมันมีกำลังแรงที่จะดัดจิต
ดัดวิญญาณของเราให้อ่อนแอลง
ผู้ดำเนินรายการ
:
อันนี้ก็ติดกับดักเหมือนกันนะอาจารย์
ดังตฤณ:
กับดักใช่
เพราะว่าผัสสะมันแรง พอผัสสะแรง มันก็ปรุงแต่งแรง พออยากได้อะไร
คือถึงแม้ว่าจะเคยถือศีลปฏิบัติมาแล้ว กินเจมาแล้วอะไรก็แล้วมันต้านไม่อยู่
เพราะพื้นฐานจิตใจของคนมันเหมือนกับว่าถูกปูพื้นไม่หนาแน่นแข็งแรงเพียงพอ
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
ผู้ดำเนินรายการ
:
หรือถ้าเป็นพระเนี่ย
ก็ปฏิบัติไม่พอสม่ำเสมอ
ดังตฤณ:
คือปฏิบัติแบบเป็นพระเนี่ย
จริงๆผมได้คำตอบอีกอย่างว่า ถ้าอยากเป็นพระนานๆแบบบวชแล้วไม่ต้องสึก
มันต้องบวชแล้วมีความสุข คือความสม่ำเสมอเนี่ย มันไม่ได้เกิดจากการฝืนใจ
ความสม่ำเสมอมาจากฉันทะ คือความพึงพอใจ ฉันทะนี้จริงๆแล้วคือความสุขความพอใจนั่นแหละ
ถ้าหากว่าเราไปอยู่วัดที่วิเวกมากพอ
แล้วได้ครูบาอาจารย์ที่ดีมากพอที่จะให้แนวทางให้เราทำกิจของสงฆ์ที่ทำให้เราเกิดสมาธิได้ตลอดเวลา
สงฆ์ที่ครองสมณสารูปอยู่นี่แหละที่จะมีโอกาสบวชไปเรื่อยๆตลอดรอดฝั่ง
เพราะจะมีความสุขไปเรื่อยๆ ความสุขทางใจ ความสุขอันเกิดจากวิเวกมันเป็นความสุขที่จิตไม่ต้องเลือกมาก
มันจะรู้สึกเลยว่าไม่อยากออกจากความสุขแบบนี้
เอาเหยื่อล่อทางโลกมาแค่ไหนก็จะไม่ไปจับ ไม่ไปงับ
ผู้ดำเนินรายการ
:
ครับ
ได้ความรู้มากเลยครับอาจารย์ เกี่ยวกับเรื่องกับดักของชาวพุทธนี่
สิ่งสำคัญเลยคือเราต้องรู้ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสังสารวัฏให้ชัดเจน
และเราก็สามารถที่จะหาทางออกและรู้เท่าทันกับสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น
เพื่อไม่ให้ติดกับดักของสิ่งเหล่านั้น วันนี้ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยครับ
ดังตฤณ:
ครับ
ขอบคุณครับคุณชาญเดช สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ
:
ครับ
อาจารย์ศรันย์ ไมตรีเวช หรือว่าคุณดังตฤณนะครับ เจ้าของผลงาน
เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน จิตจักรพรรดิ หรือแม้แต่ทางนฤพาน
เรียกว่าวันนี้คุยกันออกรส
แล้วก็อาจารย์พยายามเปรียบเทียบและยกตัวอย่างให้เห็นกับดักที่เข้ามากระทบกับชีวิตของชาวพุทธเรา
ว่าแม้แต่เรื่องของการทำบุญนี่
ดูซิว่าอารมณ์ของการทำบุญของเราเป็นอย่างเดียวกับอารมณ์ของความรู้สึกอยากได้
อยากมี อยากเป็น ในความรู้สึกทางแบบโลกๆของเราหรือเปล่า
ถ้าหากว่าเป็นแบบเทียบเคียงเดียวกันนี่ครับ สันนิษฐานได้เลยว่ากิเลสของเราไม่ได้ลด
และคุณธรรมของเราก็ไม่ได้เพิ่มนะครับ ตรงนี้เราติดอยู่กับกับดักแล้วครับ