วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ดาวน์โหลดฟรีละครเสียง ‘จิตจักรพรรดิ’ บทประพันธ์ของคุณดังตฤณ


ขอเชิญดาวน์โหลดฟรีละครเสียง ‘จิตจักรพรรดิ’ 
รูปแบบไฟล์ mp3 ผ่าน One Drive
 ดาวน์โหลด คลิก>> http://1drv.ms/1QKfL76

เหมาะสำหรับท่านที่ไม่สะดวกฟังผ่านซีดี
หรือท่านที่สะดวกฟังผ่านสมาร์ทโฟน ไอโฟน ไอแพด

หรืออ่านอีบุ๊คฟรี >> http://dungtrin.com/resources/EmperorMind.pdf
ซื้อหนังสือ >> 
http://bit.ly/1LJv6kE

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พลิกความพยาบาทให้เป็นมหากุศลจิต (การเจริญสติในชีวิตประจำวัน)

ถาม :  หนูพยาบาทค่ะ แล้วไม่เชื่อเรื่องอโหสิกรรม  ก็คือเลิกกับสามี แล้วเห็นตัวเองฟุ้งซ่าน ก็เดินจงกรมไป ช่วงหลังเห็นว่าตนเองฟุ้งซ่าน แต่มีความสบายในการเห็นว่าความพยาบาท

รับฟังทางยูทูป
: http://
(ที่มา : ดังตฤณวิสัชนา บริษัทเชฟรอน, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓)


ดังตฤณ: 
จริงๆแล้ว  ไม่ใช่ว่าเราไม่เชื่อเรื่องการอภัยนะ
เพียงแต่เชื่อผ่านรูปแบบของการเห็นจิต
คือที่ผ่านมา มันดูว่าอาการพยาบาทเป็นอย่างไร
แล้วใจมันก็สบายขึ้น
นี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้อภัยนะ
เห็นความพยาบาท จะไม่พยาบาท!

ยิ่งเห็นความพยาบาทมากขึ้นเท่าไหร่ 
ใจมันจะยิ่งถอน
ยิ่งห่างจากความพยาบาทมากขึ้นเท่านั้น

นี่ก็คือรูปแบบหนึ่งของการให้อภัยนั่นเอง 
ขอให้มองอย่างนี้ 
ก็ดีแล้วนี่ ทำไม

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ถาม :  มันจะผ่านไปได้ใช่ไหมคะ?
ดังตฤณ: 
ได้ซิ  เพราะมันห่างออกมาเรื่อยๆ
เพราะที่พี่เห็นเลยนะ
จิตของเราแต่ก่อน มันเศร้า 
มันเหมือนจะร้องไห้อยู่ตลอด อยู่กับอาการผูกใจ  
แต่ตอนนี้ใจมันห่างออกมาจากอาการผูก 
เพราะเราดูมาเรื่อยๆ


แต่เราคิดไม่เลิก 
เราก็คิดว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ 
แต่ที่แท้ไม่ใช่นะ 
อย่าไปดูที่ตัวความคิดอย่างเดียว  

นี่อาการของใจมันถอนออกมา 
มันห่างออกมาเรื่อยๆโดยที่เราไม่รู้สึกตัว 
เรายังนึกว่า ถ้าเรายังคิดอยู่
แปลว่า เรายังไม่ประสบความสำเร็จ
จริงๆไม่ใช่  ใจมันสว่างขึ้น

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม :  อย่างเมื่อเช้า เดินจงกรมเป็นชั่วโมง แต่ก็เห็นใจเข้าไปแนบกับการคิดเรื่องไม่ดีของเขา

ดังตฤณ: 
อันนั้นเพราะคิด ไม่ใช่แนบจริง 
ถ้าแนบจริงมันต้องคิดไม่เลิก 
อันนี้มันเข้าไปดึงดูดชั่วคราว
ต้องแยกให้ออก 

ถ้าเป็นแต่ก่อนจะคิดตลอดเวลาไม่เลิก 
อย่างนั้นเรียกว่าดูดติดอยู่กับความพยาบาท
และก็ร้อนอยู่ตลอดเวลา
จิตเป็นอกุศลอยู่ตลอดเวลา 
แต่นี่จิตมีกุศลในทุกขณะที่เรามีสติ  เจริญสติ

อย่าไปมองว่า ถ้าเกิดความพยาบาทมาปุ๊บ 
ตรงนั้นจะเป็นอกุศลเสมอ
ขอให้มองว่า เมื่อเกิดความพยาบาท
จิตมันจะทำอย่างไรกับความพยาบาท
ถ้าหากว่ามันเข้าไปล็อกอยู่กับความพยาบาท
เหมือนเมื่อเช้า อย่างนั้นเรียกว่า อกุศล

แต่ถ้าหากว่า มีความพยาบาท
และแม้แต่วินาทีเดียวเรารู้สึกว่า
ความพยาบาทสักแต่เป็นภาวะอะไรเข้ามา
แล้วเรารู้ เราเห็น
นี่เรียกว่าเจริญสติแล้ว
นี่เรียกว่าเป็น
มหากุศลจิต’ แล้ว
ในคัมภีร์มีบอกอยู่นะ


ถ้าหากว่าเกิดอกุศลจิต 
แล้วมีความรู้ทัน มีสติระลึกได้
มหากุศลจิต’ จะเกิดขึ้นแทนทันที 
สติที่รู้อกุศล คือมหากุศลจิต
จำไว้นะ

และถ้ายิ่งพยาบาทเข้ามามากๆ
เป็นเครื่องฝึกเครื่องกระตุ้นให้เราเกิดสติมากๆ
นั่นยิ่งแสดงให้เราเห็นการสะสมของมหากุศลจิตมากขึ้นทุกที
ตอนนี้ มันสว่างกว่าเดิมเยอะนะ

ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๓ (การเจริญสติในชีวิตประจำวัน บริษัทเชฟรอน)

ดังตฤณวิสัชนา CHEVRON
หัวข้อ
ฟัง
อ่าน
วิธีเจริญสติ ถอนอาการยึดที่ไม่เป็นสาระ
ฝึกสังเกตอาการยึด VS รู้อย่างไม่ยึด
พลิกความพยาบาทให้เป็นมหากุศลจิต
























































































ฝึกสังเกตอาการยึด VS รู้อย่างไม่ยึด (การเจริญสติในชีวิตประจำวัน)

ถาม :  จะถามว่าพี่มีอะไรแนะนำผมครับ (เสียงหัวเราะจากคนในห้อง)

(ที่มา : ดังตฤณวิสัชนา บริษัทเชฟรอน, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓)
รับฟังทางยูทูป
: http://bit.ly/1JYXInY

ดังตฤณ: 
คือตอนนี้พี่จะเห็นได้ง่ายๆนะ
บางทีใจเหมือนกับอิสระ 
แต่บางทีใจก็เหมือนเคลื่อนเข้าไปยึด
ยึดกับอะไร เกาะกับ อะไรอยู่อย่างหนึ่ง
เข้าใจคำว่าเกาะไหม
?
คือ ไปเกาะไปยึดอยู่กับตรงนั้น
แต่บางที่มันก็เป็นอิสระขึ้นมาวูบๆ 
คือ ตอนที่มันเป็นอิสระนี่
มันจะไม่ยึด  คือ
รู้แบบไม่ยึด’ 
กับตอนที่เราคิดแบบโลกๆแล้วมันจะ ยึด
ดูความต่างระหว่างสองอย่างนี้
มันกำลังเป็นภาวะที่เห็นได้ง่าย
มันเกิดขึ้นเองอยู่แล้วช่วงหลังๆ


.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..


อย่างตอนที่ใจมันสบาย  
ใจมันเหมือนไม่รู้สึกว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเป็นตน 
มันเหมือนว่างๆอยู่ สบายๆอยู่ นั่นเรียกว่าไม่ยึด
คือต้องนิยามนิดนึงว่า
--> อย่างนี้เรียกว่า รู้อย่างไม่ยึด
แต่ถ้าเมื่อไหร่เราคิด
คิดแบบคนโลกๆธรรมดา
มันจะรู้สึกว่าใจมันหนาๆขึ้นมา 
หนักๆขึ้นมา ยึดๆขึ้นมา

เราก็นิยามไปว่าตรงนั้น
--> เรียกว่า อาการยึด’ 

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

พอเรา
เห็นความต่างไปเรื่อยๆ 
ว่า อย่างนี้ไม่ยึด  อย่างนี้กลับมายึด
อย่างนี้จะเกิดความชัดเจนว่า
เรารู้จักจริงๆว่า

หน้าตาอาการยึดเป็นอย่างนี้ 
หน้าตาไม่ยึด หน้าตาที่จิตเป็นอิสระเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ตรงนี้ที่มันจะได้ประโยชน์ในช่วงนี้

วิธีเจริญสติ ถอนอาการยึดที่ไม่เป็นสาระ (การเจริญสติในชีวิตประจำวัน)

ถาม :  รู้สึกจิตแป้ก จากปีที่แล้วที่จิตเคยดิ้นรนอยากภาวนา ปีนี้ จิตมันเหมือนยอมจำนนค่ะ ว่ามันเป็นแบบนี้ ทำให้ขี้เกียจ อยากเลิกภาวนาไปเลย ...

(ที่มา : ดังตฤณวิสัชนา บริษัทเชฟรอน, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓)
รับฟังทางยูทูป
: https://youtu.be/qaDI1OkuR0E


ดังตฤณ: 
ไม่ๆ มันอย่างนี้มากกว่า
คือ น้องมีเรื่องคิดเยอะนะ มันหลายเรื่อง
แล้วเราจะเอาจริงเอาจังกับทุกเรื่องเลย
ทีนี้ถ้าเราพิจารณาว่า โอเค
โดยหลักการ เรารู้ทฤษฎีหมดละ เรื่องทางจิต เรื่องทางอะไร
แต่เรื่องของเราเองมันเป็นเรื่องเฉพาะตัว 


ถ้าเราตั้งไว้เป็น จุดสังเกตเฉพาะตัว ของเราว่า
ทุกเรื่องที่เราคิด มันจริงจังเท่าๆกันหมดเลย
ทั้งๆที่ความสำคัญมันไม่เท่ากัน

แค่นี้ มันจะได้หลักในการภาวนาแล้ว
มันจะได้หลักในการเจริญสติ!


.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..


คือ เราจะเห็นเข้ามาว่า
อาการ
ยึด’  ของเรานี่ มันยึดมั่วไปหมดเลย
แล้วอาการยึดนี่มันมีความเหนียวแน่นเท่ากัน
มีความยึดอย่างไม่ควรยึดเท่ากัน

ทีนี้ พอเราเริ่มเห็นอย่างนี้
เราจะไม่คิดมากไปในเรื่องที่มันอยู่ข้างนอก
ว่าเป็นเรื่องโลก
เรื่องธรรมะ
เรื่องของเรา
เรื่องของคนอื่น
เรื่องที่เรากำลังผูกใจกับใคร หรือว่า
เรากำลังไม่พอใจอะไรอยู่
..มันจะไม่มีรายละเอียดที่อยู่รอบนอก
แต่มันจะมีแค่ตัวเดียวที่เหมือนเดิม
คือ  อาการยึดอย่างไม่เป็นสาระ


เรื่องไม่เป็นเรื่องเราก็ยึด
ตัวความยึดที่มันปรากฏกับใจเราเนี่ย
มันจะทำให้เราเป็นแบบนี้

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

..เห็นไหม ที่มันคลายลงไป มันง่ายนิดเดียว

ขอให้เรามองเห็นเถอะว่า
พ้อยต์ (point) ที่เป็นตัวทำให้เราย่ำอยู่กับที่เนี่ย
มันอยู่ที่ตรงไหน
มันอยู่ตรงที่เราให้ความสำคัญกับทุกอย่าง
เท่ากันหมดทั้งๆที่มันไม่เท่า

แล้วพอเราได้คิดอย่างนี้ปุ๊บ
มันก็ย้อนกลับเข้ามาดู
อ้อ
! หน้าตาอาการยึดนี่มันเหมือนกันหมดเลย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน
ก็แสดงว่า อะไร ....

เวลาเกิดเรื่องกระตุ้นหรือว่าเรื่องกระทบ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
เราสามารถมาดูใจได้อาการเดียว คือ อาการยึด
แค่นี่มันก็จะคลายออกมา


.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

..เห็นไหม มันคลายแล้วมันจะกลับมาใหม่ได้
ลักษณะที่อาการยึด กลับมาใหม่ได้ เพราะ..
. เราปล่อยให้เกิดความเคยชินในการยึดมั่วไปหมด
. ยึดแบบเรื่องไม่เป็นเรื่องก็ยึด

พอท่องคีย์เวิร์ด (keyword) ตรงนี้ได้
จับจุดสังเกตตรงนี้ได้ มันไม่ต้องคิดมาก

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ของเราบางทีอ่ะนะ
เราเอาทฤษฎีเข้ามาประยุกต์ เข้ากับชีวิตตนเอง

คิดกับตัวเอง สอนกับตนเอง
แต่จริงๆแล้ว ที่คิดนี่มันสูญเปล่า

ที่พี่พูดอย่างนี้เพราะอะไร
เพราะคิดแล้วลืมได้ ความคิดนี่มันยาวเกินไป


แต่การสังเกตจุดใดจุดหนึ่ง (อาการยึด )
ที่มันจะเห็นได้ชัดทุกครั้งอย่างนี้
มันเป็นแก่นสาร เพราะเราเอามาใช้ได้เสมอ
ไม่ว่าสถานการณ์ไหนๆ
แต่ความคิดนี่ มันไม่แน่
ว่าเราจะคิดได้หรือเปล่าในสถานการณ์หนึ่งๆ


ยกตัวอย่าง อย่างเช่น
เราสอนตัวเองเป็นเรื่องของจิตวิทยา หรือเรื่องของธรรมะ

ในสถานการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกแย่
เราจะคิดว่า เออ มันจะคลี่คลายออกไปได้อย่างไร

จะคิดเป็นขั้นเป็นตอนว่า
เออ จะต้องทำอย่างงี้ อย่างงี้นะ

อันนี้สมมุติว่าเราเกิดความรู้สึกแย่ขึ้นมา
พอคิดได้แล้วมันสามารถคลายความรู้สึกแย่ลงไปได้จริงๆ

เราก็ดีใจ
แต่พอมันรู้สึกแย่กลับมาอีกแล้วคิดแบบเดิม
เราจะไม่สามารถแอพพลาย (apply) ได้แล้ว

นี่แสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่า
ความคิดมันช่วยไม่ได้เสมอไป


แต่อย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าเราดูว่า
มันมีหน้าตาการยึดแบบเดียวกันตลอด

ไม่ว่าจะเรื่องไหนๆ เคสไหนๆ
มันก็จะใช้ได้เสมอ
ไม่ว่าจะเกิดเรื่องทางโลกหรือเรื่องทางธรรม

เราจะพอใจหรือไม่พอใจอะไรก็แล้วแต่

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม (ต่อ) :  ตอนนี้ที่สังเกตตนเอง  ก็คือว่าตัวความยึดมันจะเป็นแบบบีบจนถึงสุดๆ แล้วเราก็จะ..โอเค ไม่เอาแล้ว แล้วพออยากกลับมาภาวนาอีกทีหนึ่งก็จะรู้สึกแบบสว่างโล่งขึ้นมาทีหนึ่ง จากนั้น น้องก็จะหยุด คือ หยุดเหมือนกับรู้สึกว่าเบื่อ มันไม่มีแรง

ดังตฤณ: 
นี่แหละ ตรงที่เบื่อนี่แหละ
มันก็เป็นรูปแบบของอาการยึดโดยไม่รู้ตัว
ไปยึดอาการยึด


น้องลองกลับไปสังเกตดูดีๆ

พอเบื่อ มันจะยึดด้วยความไม่พอใจ
ไม่พอใจตนเอง ไม่พอใจอาการเบื่อ

ตรงนั้นมันเหนียวแน่นเหมือนกัน 

มีอาการเข้าไปคว้ามา
แล้วก็ไปอุ้มไว้ไปกอดไว้

ไม่ต่างกับที่เราไม่พอใจคน
แล้วรู้สึกว่าเบื่อหน้าหมอนี่จริง

ไม่ต่างกันเลย
พ้อยต์คือถ้าเราเห็นหน้าตาอาการยึดของเราได้ตัวเดียว
มันแอ๊พพลายได้หมดแม้กระทั่งอาการเบื่อ
แม้กระทั่งอาการไม่พอใจตนเองที่ไม่ไปถึงไหนซักที


.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม (ต่อ) : มันเห็นความไม่กล้าปล่อยของตนเอง..

ดังตฤณ: 
จำคีย์เวิร์ดเอาไว้นะ
ไม่กล้าคือ ยึดความไม่กล้า
เห็นอาการยึดไหม


ไม่ว่าจะเกิดภาวะอะไรขึ้นมา
มันเป็นความยึดตัวเดียวกันหมด
และน้ำหนักเท่ากันหมด
ยึดความเบื่อ
ยึดความไม่กล้า
ยึดความรู้สึกว่าตนเองไม่เอาไหน
ยึดความรู้สึกว่าตนเองไม่ไปถึงไหน

ไม่ว่าเราจะคิดอะไรขึ้นมา
จิตปรุงแต่งเป็นภาวะไหนๆขึ้นมา
มันยึดเท่ากันหมดเลย

ตรงนี้แหละที่เป็นแก่นสารที่พี่พูดถึง
และให้เราไปสังเกตว่า

ถ้าเราเห็นอาการยึด
มัน
ก็จะคลายเองนะ..ทุกเรื่อง


วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ไถ่ชีวิตสัตว์ช่วยทุเลาอาการป่วยได้จริงหรือ

ถาม :  ไถ่ชีวิตสัตว์ช่วยทุเลาอาการป่วยได้จริงหรือ

รับฟังทางยูทูป
: https://youtu.be/SPbP-QTifFU

ดังตฤณ: 
เรื่องการไถ่ชีวิตไม่ใช่เรื่องเหลวไหลนะครับ
แต่ขอบอกว่า
การไถ่ชีวิตโค กระบือ
หรือว่านก ปลาอะไรก็แล้วแต่

ถ้าจะได้ผล
มันจะได้ผลกับโรคที่เป็นกรรมวิบากเท่านั้น
มันไม่ได้ผลกับโรคที่เป็นทางอุตุ
ไม่ได้ผลกับโรคที่เกี่ยวกับเส้นสายกระดูกกระเดี้ยว
ไม่ได้ผลกับโรคอะไรที่เราไปทำงานหนักมากเกินไป
ต้องให้ตรงกับโรคด้วย

ทีนี้ถามว่า
มันมีโรคแบบไหนที่เรียกว่าโรควิบากกรรม?
ก็คือโรคที่หมอวินิจฉัยไม่ถูกว่า
มันเกิดจากอะไรกันแน่
หรือว่าเป็นเรื้อรังในแบบที่แก้ยังไงก็ไม่หายขาด

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
คนที่มีอายุสั้น
คือคนที่เคยฆ่าสัตว์มาเยอะ

คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บบ่อยๆ ออดๆแอดๆเป็นประจำ
พวกนี้เคยทุบตีสัตว์ เคยใช้อาวุธกับสัตว์ 
เคยทุบตีคน เคยทำร้ายคน
ทำร้ายร่างกายให้เค้าเกิดความเจ็บปวด

หรือในกรณีบางคนที่เจ็บป่วยปางตาย
เป็นเพราะไปแกล้งทรมานเขา
ไปแกล้งทรมานให้เค้าจะอยู่ก็ไม่ได้ จะตายก็ไม่เชิง


แบบนี้เนี่ย พอไถ่วัว ไถ่ควาย มันเกิดอะไรขึ้น
?
มันเป็นการซื้อชีวิต
เป็นการไถ่ชีวิตที่มันกำลังจะดับไป มันได้อยู่ต่อ
แล้วพลังชีวิตที่มันได้อยู่ต่อตรงนี้
มันก็ย้อนกลับเข้ามากับคนทำ
ทำ ต้องทำด้วยใจจริงๆนะ
แล้วมันจะมีส่วนมาช่วยทำให้อายุมันเป็นไปได้ยาวขึ้น
และอาการเจ็บป่วยมันทุเลาลง

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถ้าคุณไม่มีตาทิพย์มองเห็นว่า
เกิดอะไรขึ้นในขณะที่ไถ่วัว คุณจะไม่มีทางเชื่อ
!
แต่ถ้าเมื่อไหร่คุณเห็นว่าชีวิตเนี่ย มันไม่ใช่ของเล่นนะ
ถ้ามันจะขาดลงในเดี๋ยวนั้นด้วยโทษประหาร
แล้วคุณไปต่อมันออกไปเนี่ย

มันเป็นพลังงานอะไรอย่างหนึ่งที่ใหญ่นะ
ยิ่งสัตว์ใหญ่  ยิ่งมีวิญญาณใหญ่ มีความเจ็บปวดมาก
ถ้ามันต่อออกไป แล้วไม่ต้องรับโทษประหารเนี่ย
มันสะท้อนเข้ามาหาคุณได้เร็ว
แล้วก็ค่อนข้างจะเห็นผลได้ทันตา

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..


แต่หมายเหตุย้ำอีกทีหนึ่งว่า
มันต้องเป็นโรควิบากกรรมถึงจะเห็นผลนะ
โรคอื่นไม่เข้าข่าย

ต้องทำด้วยความเข้าใจ
มันถึงจะไม่ทำด้วยความงมงาย

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีนั่งสมาธิแบบพระพุทธเจ้า (คุณดังตฤณบรรยายที่มูลนิธิบ้านอารีย์)


วิธีนั่งสมาธิแบบพระพุทธเจ้า

รับฟังวิธีการทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า   http://bit.ly/1MfXHSV

การนั่งสมาธิแบบนี้นะ ถ้าไม่มีใจคิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้
ไม่ไปเปรียบเทียบว่าเคยทำมาอย่างไร
รับประกันว่าได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์

เริ่มต้นอย่าไปจับที่ลมหายใจอย่าไปจับที่อะไรทั้งสิ้น
หลับตาลงไป ให้เกิดความรู้สึกว่า
ตัวกำลังนั่งอยู่ นั่งอยู่สบายๆ
ใจไม่ต้องเพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่ง มันจะได้ไม่ไปโฟกัสแคบๆ

เสร็จแล้วเริ่มต้นขึ้นมา
ก็รู้สึกที่
ขาของตัวเองว่า
ขาของเรามันงออยู่ มันงุ้มอยู่
หรือว่ามันเกร็งอยู่ไหม
ที่
ฝ่าเท้านี่ หากมันผ่อนคลายออกไปได้นะ
จะรู้สึกสบายขึ้นมาทันทีเลย

มันรองรับความเป็นจริงอย่างยิ่งเลย
เราไม่ต้องไปจินตนาการหรืออะไร
แค่ถามตัวเองเฉยๆว่า
ฝ่าเท้าเรานี่มันเกร็งอยู่ หรือว่ามันแบสบายอยู่
ถ้าแบสบายอยู่
ใจมันจะรู้สึกทันทีเลยว่ามันสบายตามไปด้วย

จากนั้น
มือให้วางอยู่บนหน้าตักนะ
ถ้ามันมีความรู้สึกว่ามือยังกำ
หรือว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของมือยังเกร็งอยู่
ก็ให้ผ่อนคลายซะ เหมือนกับฝ่าเท้า

พอฝ่าเท้ากับฝ่ามือมันมีอาการผ่อนคลายเหมือนกัน
ตรงนี้จะรู้สึกรู้สึกสบายขึ้นมาครึ่งตัวแล้ว

ในอาการสบายครึ่งตัวนี้ เราก็สำรวจต่อมา
จุดสุดท้าย
ใบหน้าของเราทั่วทั้งใบหน้า
มันยังมีส่วนใดส่วนหนึ่งขมวดอยู่ไหม
มันยังมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่มันตึงๆขมับอยู่ ไหม
ถ้ามันมีอาการตึงอยู่ มีอาการขมวดอยู่
เราแค่รับรู้ รับรู้ตามจริง
แล้วมันจะค่อยๆ ผ่อนคลาย ค่อยคลาย ออกไปเอง

ในอาการที่ร่างกายผ่อนคลาย
ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ แล้วก็ทั่วทั้งใบหน้า
ตรงนี้กล้ามเนื้อทั้งหมดที่โยง
ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ แล้วก็ใบหน้า มันจะคลายออกไปด้วย
แล้วก็รู้สึกสบายทั้งตัวขึ้นมา

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ในความรู้สึกสบายทั้งตัวขึ้นมานี้ เราดูต่อมา
จิตใจเปิดมันสบาย มันไม่ได้เพ่ง ไม่ได้เคร่ง
มันไม่ได้บริกรรมอะไรเลย มันไม่ได้เป็นอะไรทั้งสิ้น
มันก็ เหมือนมีสมาธิอ่อนๆ ขึ้นมาแล้ว

ในอาการที่มันชุ่มชื่น เหมือนมีสมาธิอ่อนๆนี้
เราก็ดูต่อไป ดูด้วยอาการสำรวจแบบไม่ตั้งใจ
ดูด้วยอาการสำรวจเหมือนถามตัวเองว่า
ตอนนี้ร่างกาย มันต้องการลมเข้า
มันต้องการลมออก หรือต้องการหยุดลม

ถ้าต้องการลมเข้ามันจะรู้สึกขาด
 มันจะรู้สึกร่างกายมันขาดลม
มันถึงขั้นว่าร่างกายมันอยากจะลากลมเข้ามา

พอลากลมเข้ามันเกิดความรู้สึกอึดอัด
มันถึงเวลาที่จะต้องระบายออกไป
แล้วถ้าระบาย ออกไปหมดแล้ว
ลมหมดแล้วเราสังเกตดู
ร่างกายมันไม่ได้ต้องการลมเข้าทันทีนะ
มันจะหยุดอยู่พักนึง นิ่งอยู่ พักนึง
เราปล่อยให้มันอยู่นิ่งๆ สบายๆ
ไม่ต้องมีลมเข้าไม่ต้องมีลมออก

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ในอาการเห็นว่า
ร่างกายมันต้องการลมเข้า
มันต้องการลมออก
เดี๋ยวมันก็ต้องการหยุดลม
ตรงนี้แหละจิตมันจะเริ่มเปลี่ยน
มันจะเริ่มเป็นผู้สังเกตเฉยๆ
ไม่ใช่เอาแต่อยาก
อยากจะได้ลมเข้า อยากจะได้ลมออก
เพราะไอ้อาการอยากตรงนี้
มันก็จะไปเร่ง เร่ง เร่ง
ทำ ให้เกิดอาการอยากหายใจผิดๆ
แล้วก็ตั้งจิตไว้ผิดๆ

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ทีนี้ถ้าหากว่าเราเอาแต่ดูอย่างเดียว
เราก็จะเห็น ถ้าความ ฟุ้งซ่านกลับมา
หลายคนมีความฟุ้งซ่านกลับมา
เราก็ไปดูใหม่ ดูว่าฝ่าเท้านี่มันงองุ้มไหม

ถ้าฟุ้งซ่านปกติมันจะมี อาการงองุ้ม
มันจะมีอาการเกร็งๆ เคร่งๆ ขึ้นมาที่ฝ่าเท้า
เราผ่อนคลายไป
ไอ้อาการเกร็งๆ เคร่งๆ ฟุ้งซ่านก็จะหายไปด้วย
เราก็ดูต่อมา ฝ่ามือสบายอยู่ไหม
ทั่วทั้งใบหน้าสบายอยู่ไหม
มันก็กลับมาสู่สภาพจิตใจที่มันสบายได้

เมื่อมีความชุ่มชื่น สามารถที่จะกลับมาเริ่มต้นดูใหม่
ว่า เออ ตอนนี้ร่างกายมันต้องการลมเข้าหรือว่าลมออก
หรือว่าต้องการที่จะหยุดลม
เห็นตามจริงนะไม่ใช่เห็นตามอยาก
พอเห็นตามจริงไปเรื่อยๆ
ใจมันก็จะไม่หยุดนิ่ง ไม่เกิดความทื่อๆ
ไม่เกิดความรู้สึกว่า
ไอ้ความสุขที่เกิดขึ้นนี้มันถูกหล่อเลี้ยงไว้

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

บางคนตั้งใจมากเกินไปนะ
พอรู้ว่าความตั้งใจมันเกินไปแล้ว
มันล้ำหน้าไป ก็ไปนั่งดูใหม่ว่า
มือยังผ่อนอยู่ไหม
เท้ายังผ่อนอยู่ไหม
ใบหน้ายังผ่อนอยู่ไหม
แล้วค่อยๆ มาถามตัวเองว่า
ร่างกายมันต้องการลมแบบไหน
ลมเข้า หรือว่าลมออก หรือว่าหยุดลม
มันมีอยู่แค่นี้เอง

จากนั้นที่เหลือ จิตเค้าก็จะเห็นว่า
ลมหายใจมันผ่านเข้า ผ่านออก ผ่านเข้า ผ่านออก
มันไม่ใช่บุคคล
มันไม่ได้เห็นอะไรที่เราตั้งความหวังไว้
ว่าไอ้นี่เราจะไปยึดครองไว้
มันเข้ามาแป๊ปนึง แล้วมันก็ออกไป
เดี๋ยวมันยาวบ้าง มันสั้นบ้าง
ขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอยากของเรา
ลองกลับไปฝึกๆ ดู

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

บางคนลืมตาขึ้นมาช่วยบอกหน่อยว่า
งวดหน้าออกเลขอะไร มันหลับไปแล้ว
นั่งสมาธินะ เราก็นั่งดูไป ดูมันง่ายมากเลย
แต่ถ้าเรายังไม่เข้าใจพ้อยท์
(point)
มันไปนั่งด้วยความอยาก
อยากได้นั่น อยากได้นี่
อยากให้มันสงบ
อยากให้มันมีความก้าวหน้าทางสมาธิ
ความอยากนั่นแหละ จะทำให้ถอยหลัง 

แต่ถ้าเรานั่งไป นั่งโดยไม่มีอาการอยากจริงๆ
มันก็จะนิ่งขึ้น นิ่งขึ้น
เหมือนใจมีความ ชุ่มชื่น มีความใสมีความสว่างอยู่อย่างนั้น
แล้วถึงจุดหนึ่งที่เป็นภาวะตั้งมั่น
เป็นภาวะที่ความสว่าง ความใส ความชุ่มชื่น
มันคงเส้นคงวา เนียน
ตรงนั้นจะเริ่มอุปจาระสมาธิ

พอจิตมันมีกำลังมากจริง
มันก็จะเป็นอุปจาระสมาธิอย่างแข็งกล้า
มีความชุ่มชื่นอย่างใหญ่
จิตเหมือนมันแผ่กว้างออกไปไม่มีขอบเขต

พอจิตมันระงับ
จิตมัน จะเหมือนมีอาการผนึกตัว จิตมันจะตั้งมั่น
เป็นความขาวอย่างใหญ่
ปิติที่มันฉีดออกมา จิตมันเหมือนเป็นดวงอาทิตย์น่ะ
แผ่กว้างออกไป เหมือนไม่มีประมาณ

แต่ส่วนใหญ่ไปแค่การล็อกตัวเองไว้
แช่ตัวเองไว้ เหมือนกับ มัมมี่ แข็งๆ ทื่อๆ
แล้วก็จะไม่รู้สึก เหมือนกับจะไม่รู้สึก
แต่คิดว่าได้ฌานล่ะ
หลายคนเข้าใจผิด แช่อยู่ เฉยๆ
จิตมันยังแคบอยู่เลย จะเป็นฌานได้อย่างไร
….

________________
ดังตฤณ
บรรยาย ณ ศาลาปันมี มูลนิธิบ้านอารีย์
: วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒