วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วิปัสสนานุบาล EP 34 (ยังไม่ครบ) : 22 ธันวาคม 2564

จิ๋ว

 

พี่ตุลย์ : พอสุขอยู่ รู้ว่าสุข ก็หายใจออก

เห็นว่า ความสุขก็อย่างหนึ่ง ลมหายใจ ก็อย่างหนึ่ง

 

สุขอยู่รู้ว่าหายใจเข้า ว่างอยู่ เบาอยู่ รู้ว่าหายใจออก

 

ตรงนี้ขอให้จิ๋วสังเกตดูด้วย เพราะว่าบางทีบางช่วง

น้ำหนักความโฟกัส ก็มาอยู่กับความรู้สึกเฉยๆ

แต่บางครั้ง เราก็จะรู้ได้ว่า ตอนว่าง มีความสุข มีความเบา มีความว่าง

และในขณะที่เบาว่าง มีลมหายใจออกอยู่ ประกอบกันไปด้วย

ความปรุงแต่งจิต จะต่างไปเรื่อยๆ

 

และวิธีดูการปรุงแต่งจิตที่ง่ายที่สุด ดีที่สุด

ก็คือตอนที่ ตั้งต้นจากความรู้สึกว่าว่าง รู้สึกว่าเบา แล้วหายใจออก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่าสอง .. ในความเบา ในความว่าง

เรารู้ว่า หายใจเข้าประกอบไปพร้อมกัน

 

ตรงนี้ จุดนี้สำคัญนะ

จิ๋วลองสังเกตดู ถึงความต่างในแต่ระรอบ

วิตักกะ จะชัดขึ้น

 

จิ๋วดูแค่ความต่างของวิตักกะก็ได้

ถ้ารอบไหน วิตักกะ มีความแจ่มชัด และมีความรู้สึกนิ่มนวล

มีความรู้สึกว่า ว่างอยู่เบื้องหลัง นั่นคือลมหายใจ

แตกต่างจากความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลัง ที่เป็นความสุข ที่เป็นอะไรว่างๆ

 

แต่ถ้าบางรอบ เหมือนกับมีน้ำหนัก

เอียงข้างไปทางความรู้สึกว่า เรียบเฉย อุเบกขา มีความสุขแบบเรียบๆ

ตรงนี้เราแค่สังเกตว่า วิตักกะ จะไม่มีความคมชัดเท่าบางรอบ

 

ถ้าวิตักกะมีความคมชัด แยกออกมาข้างหน้าจะจะเลยว่า

ลมหายใจ ยาวอยู่เบื้องหน้าความว่าง แบบนี้จะมีความรู้สึกตื่น

 

ดูตรงลมหายใจที่ขาออกนะ

ที่ปรากฏพร้อมกันไป กับความรู้สึกว่าง ที่เบื้องหลัง

 

จิตจะใหญ่ขึ้น เห็นรายละเอียดมากขึ้น

ด้วยจิตที่เห็นรายละเอียดชัดเจน จะรู้ว่า

ที่ตั้งอยู่เป็นท่านั่ง คอตั้งหลังตรง เป็นส่วนของธาตุดิน

ลมหายใจนี้ เป็นส่วนของ ธาตุลม

 

เห็นไหม จะมีความรู้สึกสดชื่นขึ้น จะรู้สึกว่าตื่นเต็มมากขึ้น

ตอนที่ตื่นขึ้น จิตจะขยายออก

และรับรู้อย่างนิ่งๆ ว่างๆ นั่นแหละ แต่มีความตื่นขึ้น

 

มีความสุข หายใจออก และถ้าใจใส ใจเบา ใจตื่นจริง

รู้สึกถึงความว่างรอบด้านได้ ตัวนี้ที่ความสว่างจะเปิดออกไป

ตอนที่รู้สึกถึงความว่างรอบด้านได้ คือตอนที่ใจใสด้วย และตื่นด้วย

 

ความวางเฉยมีหลายแบบจริงๆ นะ ขอให้สังเกตทุกท่าน

บางแบบจะรู้สึกเฉยจริงๆ คือว่า แค่นี้พอแล้ว

แต่ความวางเฉยอีกแบบหนึ่ง

จะมีความรู้สึกเป็นสุข สดชื่น ประกอบอยู่ด้วย

ความวางเฉยอีกแบบหนึ่ง จะมีความรู้สึกเฉื่อยๆ

เป็นความวางเฉยแบบเนือยๆ

หรือความวางเฉย บางแบบ มีความตื่นพร้อม

จิตมีความขยายออก รับรู้ และดูได้ง่ายๆ เลย

สามารถรู้สึกว่า จิตมีความใส เสมอกันกับอากาศรอบด้านได้

 

ถ้ารู้สึกถึงความว่างรอบด้าน จิตต้องมีความใส เสมอกับอากาศ

คือว่า ไม่มีความฟุ้งด้วย และไม่มีความเฉยๆ

แต่จะมีความตื่น รู้สึกสดใส ที่ออกไปรอบด้าน

 

ตัวนี้คือลักษณะของจิตที่แผ่ออกไป

 

ตัวที่รู้สึกถึงลมชัดด้วย มีความตื่นเต็มด้วย

และรู้ว่าสุขอยู่ หายใจเข้า รู้ว่าสุขอยู่ หายใจออก

ถ้ามีความคงเส้นคงวาในแบบที่ รู้สึกใส

เหมือนจะสามารถรู้สึกถึงความไม่มีมโนภาพ ไม่มีตัวใครอยู่ในนี้

 

ก็จะย้อนกลับมาตรงที่ กายอยู่ส่วนกาย

เป็นธาตุดิน มีหัว มีตัวมีแขนมีขา

และมีธาตุลมไหลเข้าไหลออกอยู่ ท่ามกลางอากาศว่างรอบด้าน

โดยมีจิตเป็นตัวรู้ตัวดูอยู่ ซึ่งจิตนี้แหละ ถูกปรุงแต่งไปเรื่อยๆ

บางทีสว่าง .. สว่างมากบ้าง สว่างน้อยบ้าง

มีความเบามากบ้าง มีความเบาน้อยบ้าง

แต่ละรอบจะต่างไปเรื่อยๆ

 

ลองแชร์ซิ เมื่อกี้เห็นอะไร รู้อะไรบ้าง

 

จิ๋ว : ก็ฝึกดูรายละเอียดตามที่พี่ตุลย์บอกตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว

แต่ยังไม่ชัดค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ต้องอาศัยเดินจงกรมด้วยนะ

แล้วอย่างวันนี้ ที่พี่บอก ความเฉยนี่ มีหลายแบบ

ของเราเอาความเฉยมาเป็นตัวตั้ง

ความเฉยมีหลายแบบ แบบเนือยๆ เอื่อยๆ

กับแบบที่มีความรู้สึกว่า ตื่นขึ้นมา สดใส สดชื่น

 

สังเกตแค่ตรงนี้ให้ออก รายละเอียดตรงนี้สำคัญ

ถ้าแต่ละรอบ .. อย่างบางคนไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจมากไป

ก็จะมี น้ำหนักของความตื่นมากไป ความมีอะไรคมๆ เกิดมามากไป

 

แต่ของจิ๋ว ยิ่งวันยิ่งไปเทน้ำหนัก ให้ความรู้สึกเฉย

ความรู้สึกเหมือนกับ สงบ ไม่มีอะไร ตรงนั้นเป็นส่วนของความสุข

ส่วนของสุขเวทนา ที่พอสะสมมากไปแล้ว

มีความเคยชินกับตรงนั้นแล้ว จะลืมลมหายใจ

 

ลมหายใจจะเหมือนปรากฏอยู่อย่างนั้นๆ

 

ทีนี้ ตรงนี้ที่พอเรารู้ว่า น้ำหนักเทไปข้างเฉยมากไป

เมื่อกี้อย่างที่กระตุ้นว่า ให้มารู้ว่า

สุขอยู่ แล้วหายใจออก สุขอยู่ หายใจเข้า

ให้มีน้ำหนักของโฟกัส มาอยู่กับลมหายใจมากขึ้น

 

แล้วจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา

อย่างเมื่อกี้อาจไม่ชัดเจนมาก แต่รู้สึกขึ้นมาแผ่วๆ ว่า

ลมหายใจ เป็นส่วนหนึ่ง และความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังเป็นอีกส่วน

แยกออกจากกันเป็นต่างหาก

 

ตรงที่ตั้งข้อสังเกตไว้นิดเดียวว่า

ยิ่งชัดเจนว่า มันแยกจากกันมากเท่าไหร่

ยิ่งชัดเจนว่าสติเรายิ่งตื่นขึ้นเท่านั้น

 

จิ๋ว : จะไปทำต่อค่ะ แล้วก็ยังเดินจงกรมอยู่ แต่ต้องทำไปเรื่อย

 

พี่ตุลย์ : ตอนจงกรม พี่ว่าของจิ๋วกลับกันกับนั่งสมาธิ

จิ๋วไปโฟกัสกับเท้ามากไป เหมือนกับเท้ากระทบของเรา

เรารู้ไป แล้วรู้ไปงั้นๆ

 

ทีนี้ ถ้าจะให้ดี เพิ่มสปีดให้เร็วขึ้นนิดหนึ่ง แล้วรู้สึกขึ้นมา

ถามตัวเองแต่ละรอบ ว่าใจขุ่นหรือว่าใส ใจเบาหรือหนัก

ให้สังเกตไปด้วย เพราะช่วงนี้พี่ว่า จิ๋วจะโฟกัสที่เท้ากระทบอย่างเดียว

และไม่ขึ้นมาดู ไม่เกิดความทั่วพร้อมนะ

 

จิ๋ว : เกือบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่จากครั้งล่าสุดที่ได้คุยกับพี่ตุลย์

อารมณ์มันสวิง มีลง แล้วก็ขึ้น

ซึ่งพอได้มาคุยวันนี้ อารมณ์พวกนั้นก็ไม่เที่ยงไปหมดแล้วค่ะ

 

ก่อนหน้านี้ ยอมรับตามตรงว่า

มีช่วงสองสามวัน ที่ depress เหมือนกับคนที่ไม่ได้ภาวนาเลย

แต่ตอนนี้ กลับมาเป็นปกติแล้วค่ะ

 

สาเหตุเกิดจากที่จิ๋วรู้สึกผิดอยู่ในใจ

ว่าจิ๋วยังหลงเหลือเรื่องเทียบเขาเทียบเรา

อยากเหนือกว่าอะไรแบบนี้ แต่ตอนนี้ก็เบาบางลงเยอะแล้ว

 

จำได้ว่า เมื่อสักสิบปีก่อนที่พี่ตุลย์ทำหนังสือ คำตอบในเฟสบุ๊ค

จิ๋วก็เคยถามคำถามแบบนี้กับพี่ตุลย์มาแล้ว

เหมือนกับเป็นเรื่องที่จิ๋วรู้สึกว่า ทำไมมันไม่หมดไปจากใจเสียที

แล้วพอมีช่วงที่ลงไป depress มากๆ

ก็จะรู้สึกว่า นี่เราเอาอานาปานสติไปใช้ระหว่างวัน บ้างหรือเปล่า

เหมือนคนไม่ภาวนาเลย

 

พี่ตุลย์ : เรื่องเทียบเขาเทียบเรา ก่อนอื่นทำความเข้าใจกันทุกท่านนะ

แม้แต่พระอนาคามี ยังละไม่ได้เลย เทียบเขาเทียบเรา ยังมีตัวตน

 

อย่างที่ พระพุทธเจ้าตรัส

ถ้ายังมีตัวตน ก็มีการเทียบเขาเทียบเราทั้งนั้นแหละ

และถ้ายังมีตัวตนอยู่ นั่นก็คือ ผู้ที่ยังต้องศึกษาต่อ

ยังต้องมีการรู้การเห็นว่า สักแต่เป็นขันธ์ห้า สักแต่เป็นธาตุหก

อย่างที่เราทำๆ กันอยู่นี่แหละ

 

นี่สักแต่ลมหายใจเข้า นี่ลมหายใจออก มีจิตเสมอกับลมหายใจ

เพื่อที่จะได้รู้ว่า จิตก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจ ก็ส่วนหนึ่ง

ดูแบบที่เรากำลังดู

เพียงแต่ระดับของพวกท่าน จะทะลุฟ้าไปแล้ว

แต่แนวทาง ทิศทางในการดู ก็ดูเหมือนกันแบบนี้

 

การเทียบเขาเทียบเรา การมีอัตตามานะ

การมีความรู้สึกในตัวในตนนี่.. จำไว้

ไม่ใช่สิ่งที่เราจะไปตั้งใจบอกว่า จงหายไปจากใจ

แล้วมันจะหายไปได้

 

หรือไปได้แบบฝึกหัด หรือไปได้วิธีที่ทำแล้วรู้สึกว่า

เออ ผ่านไปครั้งหนึ่ง .. จะไม่ใช่ผ่านตลอดไป

ตายไป เกิดใหม่ ก็มาท่วมหัวท่วมหูอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

สังสารวัฏน่าเบื่อก็ตรงนี้แหละ พอตายไปแล้ว ต้องตั้งต้นใหม่

มามีการรบรากันกับเรื่องนอกตัว

แล้วก็กิเลสภายในของตัวเอง ไม่รู้จบ

 

ก็ให้คิดเสียว่า เราตายไปแล้วเกิดใหม่ ก็แบบนี้แหละ

วันหนึ่ง ดูเหมือนเอาชนะได้แล้ว

อีกวันต่อมาเหมือน เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้สู้อะไรเลย

 

แต่จริงๆ ไม่มีหรอกที่แบบว่า สูญเปล่า

คำว่าสูญเปล่าไม่มี

มีแต่ว่าเราสะสมไป จนกระทั่งมันเข้าถึงจิต

ที่มีความเป็นผู้รู้ผู้ดูว่ าสักว่าเป็นขันธ์ห้า สักว่าเป็นธาตุหกหรือยัง

 

ถ้าหากเข้าถึงจิตที่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่นะ

จะไม่ค่อยแคร์ว่า อารมณ์จะเหวี่ยงขึ้นหรือเหวี่ยงลง

จะไม่ค่อยแคร์ว่า วันหนึ่งทำไมดีได้ วันหนึ่งทำไมร้ายจัง

จะไม่แคร์แบบนั้น

 

จะมีความรู้สึกว่า ทั้งดีทั้งร้าย ทั้งที่เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลง

เป็นลักษณะของความปรุงแต่งทางใจที่เอาแน่นอนไม่ได้

ขึ้นกับเหตุปัจจัย

 

ต้องมาให้ถึงตรงนี้..

 

คือเราได้ยินได้ฟังทฤษฎีตามปริยัติมา มากมายไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้ง

แต่โอกาสที่จะเข้าให้ถึงด้วยประสบการณ์ตรง อันนี้แต่ละคนมีไม่เท่ากัน

 

เรามีโอกาสนี้อยู่แล้ว อย่างการทำสมาธิ

เป็นไปเพื่อตั้งหลัก ไม่ใช่เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลส

 

ที่จะกำจัดกิเลส อย่างที่เมื่อกี้พี่ไกด์ไปว่า

ตอนนี้จิตตื่นขึ้นกว่าเดิม เห็นไหมสังเกตไหม

ลักษณะของจิตที่ตื่น ที่เต็ม ที่ไม่เฉื่อยน่ะ

จะมีความพร้อมที่จะรู้สภาพกายสภาพใจนี้ตามจริง

เห็นว่าเป็นรูปนาม

 

นี่คือยังเห็นแค่แผ่วๆ ยังไม่เห็นกระจ่างชัด

พอเห็นกระจ่างชัดและต่อเนื่องแล้ว แม้อยู่ระหว่างวัน ก็ยังเห็นอยู่

 

และการเห็นทั้งในขณะทำสมาธิ เดินจงกรม

และในระหว่างวัน ใกล้เคียงกันไล่เลี่ยกัน

ในที่สุด จะมีการค้นพบว่า จิตที่มีความปรุงแต่งไปเรื่อยๆ

โอกาสที่วันหนึ่งจะเป็นกุศล แล้วอีกวันเป็นอกุศล จะเกิดได้เสมอ

ต่อเนื่องไปทั้งชีวิต ตราบเท่าที่เรายังไม่ถึงอรหัตผล

 

ตรงนี้ แค่ทำความเข้าใจไว้อย่างนี้ จะเกิดความรู้สึกว่า

ได้แค่ไหนเอาแค่นั้นในวันนั้น

ไม่ใช่ไปดิ้นรน ทุรนทุรายว่า ทำไมฉันยังมีอาการแบบนี้อยู่อีก

ตรงนี้นี่ อาการที่แบบ .. ทำไมฉันยังมีอาการอย่างนี้อยู่อีก

จะเกิดขึ้นชั่วชีวิตนะ

ตราบเท่าที่เรายังไม่เข้าถึงพระอรหัตผลนะ

 

จิ๋ว : จิ๋วมีปัญหาเรื่องการนอนมาหลายปี

ตอนนี้ก็ใช้มือยกขึ้นลงตามที่พี่ตุลย์สอน

ถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะดีขึ้นใช่ไหมคะ

จะชอบฝันเลอะเทอะค่ะ ไม่ชอบเวลาตื่นขึ้นมาค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ของจิ๋วเป็นแบบนี้นะ อย่างเวลานอน เอาง่ายๆ เลย

สำหรับจิ๋ว พอนอนลงไปปุ๊บ จะเริ่มเข้าสู่ภาวะคลุมเครือ

แม้กระทั่งว่าจิ๋วยกมือในระหว่างนอน จิ๋วก็จะรู้สึกคลุมเครืออยู่

จะครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้มีสติเต็ม

 

ฉะนั้น ทางที่ดี พี่แนะนำว่า ก่อนนอน เดินจงกรมดีกว่า

เดินจงกรมก่อนให้เกิดเท้ากระทบ อย่างน้อยสักสิบนาที

แล้วพอมานอน จิ๋วสังเกตดูว่า เท้ากระทบยังอยู่ในใจของเราไหม

ยังมีเหมือนกับ ตึ๊กๆๆ อยู่ในใจไหม

ถ้ายังมีอยู่ นั่นแสดงว่า

มีวิตักกะจากการเดินจงกรมเข้ามาอยู่ในใจเรา

 

ทีนี้ ถ้ามีอย่างนั้นแล้ว ค่อยมาใช้มือ จะ work ขึ้น

จะรู้สึกว่า เรามีหลัก มีต้นทุน มีที่ตั้งของสติ

แล้วพอตอนยกมือต้องไม่ลืม

ส่วนใหญ่เลย พวกที่นอนลงไปพร้อมความรู้สึกคลุมเครือ

จะลืมหมด จะลืมออกมาจากกำลังของจิต แบบที่ไปไม่ถึง

 

วิธีที่เราจะต้องไม่ลืมก็คือ

ตอนยกฝ่ามือขึ้น รู้สึกถึงมือที่ดันลมเข้า

พอหยุดลม กลั้นไว้แป๊บหนึ่ง

เหมือนเอาอะไรไปกั้นลมไว้ ไม่ให้รั่วไหลออกมา

 

จากนั้น พอถึงเวลาคายลมออก

ก็ดึงมือราวกับว่า มือนี้เป็นตัวลากลมออก

 

ถ้าหากว่าเราทำได้ไปสักสิบครั้ง จะรู้สึกใสขึ้นมาเอง

และความรู้สึกใสนั้น จะทำให้เราสัมผัสอากาศว่างรอบตัวได้

 

แต่ตรงนี้ที่พี่ดู พอจิ๋วแค่ยกมือ แล้วด้วยความรู้สึกคลุมเครือ

จะเหมือนกับเราจับ ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับลมไม่ได้ชัด ตั้งแต่ครั้งแรกๆ

 

และพอยิ่งยก จะเหมือนมีแต่ท่ายกเฉยๆ

ไม่ได้รู้ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับลม

โอกาสที่มันจะใส เลยต่ำมาก

 

เพราะฉะนั้น ถ้าจะคิดเคลียร์หัว ด้วยท่ามือไกด์

ก่อนอื่นต้องแม่นนิดหนึ่งว่า

เดินจงกรมก่อน เอาให้ใจมีหลัก มีที่ตั้งก่อน

อันดับสอง อย่าลืม .. ว่าฝ่ามือเป็นผู้ดันลมเข้า

ฝ่ามือเป็นผู้ลากลมออก

ทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้ สักสิบครั้ง จะรู้สึกถึงใจที่ใสขึ้น

 

ตอนที่ใจใสนั่นแหละ ถึงจะสัมผัสอากาศว่างรอบด้านได้

 

ตรงนี้ถึงจะหลับไปแบบเคลียร์ๆ

 

ที่ผ่านมา ที่เราทำไม่ได้ เพราะว่าอาจเรื่องขั้นตอน ว่า

ทำอย่างไร เราจะมีใจที่มีความพร้อมที่จะไปรู้

 

จิ๋ว : เวลาที่ทำงาน พี่ตุลย์บอกว่า

เวลาที่ใจเปิด จะทำให้เราเข้าใจงาน ใช่ไหมคะ

แล้วเวลาที่จิ๋วฟังงาน จิ๋วสังเกตว่า

จิ๋วจะเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ถ่องแท้ไปเลย

เป็นเพราะใจยังไม่เปิดพอ หรือติดที่ระดับเพดานไอคิวเราคะ

 

พี่ตุลย์ : ที่ดู คือว่า อันดับแรกเลย .. อันนี้พูดเผื่อทุกท่านด้วยนะ

บางที ถ้าตัวเรากับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานเรา จิตต่างกันมาก

บางที จูนกันไม่ติด

 

เรารู้เลยว่า ถ้าจิตเราเล็กกว่าเขา จิตเขาใหญ่กว่า

เป้าหมายจะไม่เท่ากัน จะเห็นชัดเลยนะ

 

ถ้าจิตที่ใหญ่กว่า เป้าหมายชัดเจน รายละเอียดครบ ความรู้เขาครบ

จิตเขาตื่นขึ้นด้วยข้อมูลในหัว และเป้าประสงค์ในใจว่าจะเอาอะไร

มีความจะเจน มีความชัดแจ่มแจ๋ว

 

ในขณะที่เรา ถ้าจิตเล็กว่า passion เราน้อยกว่า

ความรู้สึกจะเหมือนว่าตามเป้าเขาไม่ทัน

ทั้งๆ ที่ฟังแล้วว่า เป้าหมายอย่างนี้นะ

แต่ใจเราไม่เท่าเขา เล็งไปที่เป้าไม่ตรงกับเขา ไม่แรงเท่าเขา อันนี้ข้อหนึ่ง

 

และความรู้ที่สะสมมา คนมี passion นี่

แม้แต่ไปนอนเล่นชายหาด ก็ยังอุตส่าห์กดดูข้อมูลว่า

มีอะไรใหม่ไหม มีความก้าวหน้าไหม

 

แต่ของเรา อย่าว่าไปนอนชายหาดเลย

แค่นั่งที่โต๊ะทำงาน บางทียังอยากเอาอะไรมาแชท อย่างนี้นะ

 

มันต่างกัน วิธีเก็บข้อมูล และช่องเก็บข้อมูลในสมอง

ในความเคยชิน ในความชำนาญอะไรต่างๆ จะต่างกันเยอะ

 

ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจถึงภาพรวมตรงนี้ เห็นว่า

จิตใหญ่กว่า จิตเล็กกว่า

เวลามาเจอหน้ากัน ประจัญหน้ากัน จะจูนกันไม่ติด

เป้าหมายเราจะเล็กกว่าเขา

รายละเอียดข้อมูลในหัวเราจะน้อยกว่าเขา

 

ฉะนั้นพอจิตใหญ่ยิ่งมา กระทบมา แล้วจิตเล็กๆ ไปรับแรงกระทบ

จะมีความรู้สึกว่า ไม่เข้าใจ

จะมีความรู้สึกขึ้นมาเป็นห้วงๆ ว่า มีความคลุมเครือ

หรือโฟกัสจะหลุดๆ

 

เพราะโฟกัสนี่ พอเหมือนเราพยายามปรับโฟกัสให้เท่าเขา

แล้วมันเท่าไม่ได้ ก็จะรู้สึกเหมือนกับลืมๆ เลือนๆ พร่าๆ ไป

 

ตรงนี้ พอเราเริ่มอ่านเกมออก เราก็จะมีวิธีปรับตัวคือ

อย่าฟังเฉยๆ เวลาฟัง โน้ต.. หัดโน้ตไปด้วย

หัดโน้ตว่า ที่เราจับจุดได้ว่า เขาพูดกับเราอย่างนี้

พูดถึงเรื่องอะไร แล้วข้อมูลที่เราไม่มีอยู่ในหัว

ตอนที่เริ่มฟังแล้ว blank ฟังแล้วเหมือนพร่าไป

รีบเตือนตัวเองให้จด ว่าที่พร่าเลือนไป

เพราะเราฟังอะไรเขาแล้ว รู้สึกว่า เราตามเขาไม่ทัน

มีชุดข้อมูลอะไรที่เราต้องไปเก็บมาเพิ่ม เก็บเล็กผสมน้อยอะไรแบบนี้

 

ใช้วิธีจดๆ ไปอย่างนี้ ในที่สุด

จะเป็นเหมือนกับคล้ายๆ มือไกด์ ช่วยให้รู้ลมหายใจ

 

นี่ก็คือเหมือนกับมีการ short note guide

ว่าเรายังรู้อะไรไม่เท่าเขา หรือรู้อะไรที่ตามเขาไม่ทัน

ก็จะได้เหมือนกับมา re-check ได้

 

ไม่อย่างนั้นฟังเฉยๆ จะลืมหมด แล้วก็มา frustrate ทีหลัง

ว่า ฟังแล้วเหมือนเก็บข้อมูลไม่ครบ

มาได้ 50% บ้าง 70% บ้าง แล้วก็ต้องไปถามเขาใหม่

 

ตรงนี้ก็จะไปตอกย้ำว่า ภาพรวมเราจูนกับเขาไม่ติดนะ

______________

วิปัสสนานุบาล EP 34

วันที่ 22 ธันวาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

วิปัสสนานุบาล EP 29 : 16 ธันวาคม 2564

หงส์

 

พี่ตุลย์ : เมื่อทำๆ ไป สิ่งที่จะเห็นต่างไปเรื่อยๆ จะมีอยู่เยอะ

อย่างของคุณหงส์ ถ้าเรามีความรู้สึกว่า ใจใสขึ้น สว่างขึ้น

มีความสามารถรับรู้สภาวะที่ปรากฏในปัจจุบัน มากขึ้นเรื่อยๆ

 

ตั้งต้นมา ดูก่อนเลย

วันนี้จิตเรา แตกต่างไปจากเมื่อวานอย่างไร

หรือกระทั่ง แตกต่างไปจากรอบการปฏิบัติที่แล้ว

เพราะบางคน วันหนึ่งปฏิบัติหลายรอบ

 

จะเห็นเลย ยิ่งปฏิบัติบ่อย ถี่ขึ้นเท่าไหร่

จะยิ่งเห็นว่าใจเราต่างไปเรื่อยๆ ชัดขึ้นเท่านั้น

 

บางคน เห็นเลย อย่างปฏิบัติสามรอบ

รอบแรกยังมัวๆ หม่นๆ ด้วยความรู้สึกว่าเพิ่งตื่น

แต่รอบสอง สว่างขึ้น กระจ่างขึ้น ใสขึ้น

แค่นี้ก็จะเกิดความรู้สึกว่า ที่เคยคิดๆ นึกๆ ยึดๆ ว่า

ปฏิบัติวันไหน รุ่งหรือไม่รุ่ง

ไปตัดสินตัวเองทันทีว่า วันนี้ไม่เข้าท่า หรือวันนี้ดีจัง จะไม่เสมอไป

 

วันเดียวกัน แต่ปฏิบัติหลายรอบก็มีผลต่างกัน

 

และยิ่งถ้าปฏิบัติรอบสาม เกิดความรู้สึกว่า สองครั้งแรก

ช่วงเช้า ช่วงสาย หรือบ่าย ไม่เท่านี้ ไม่มีความตั้งมั่น

ไม่มีอะไรที่เหมือนกับ เป็นเครื่องยืนยันความก้าวหน้าได้ขนาดนี้

จะต่างไปได้เรื่อยๆ

 

ถ้าเราไม่หลงกล ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นว่า วันนี้ดี วันนี้ไม่ดี

จะเห็นว่า แต่ละครั้ง เริ่มต้นขึ้นมาแต่แรก

ใจจะมีความใส หรือสว่างพร้อมรู้เพียงใด

แล้วพอเห็นว่าใจสว่าง พร้อมรู้ประมาณไหน

ก็จะมีการตีค่าแค่ว่า จิต ณ ขณะนั้น สามารถรู้อะไรเพิ่มได้บ้าง

 

คือจะไม่ไปตัดสินตั้งแต่ไก่โห่ว่า วันนี้ทำได้ดีจัง หรือวันนี้ทำได้แย่จัง

จะไม่มีการตัดสินแบบนั้น

จะมีแต่สติรู้ ณ ขณะหนึ่งๆ ว่า

มีความพร้อมรู้ภาวะนั่ง โดยความเป็นธาตุดินไหม

มีความพร้อมรู้ว่า ลมหายใจผ่านเข้าผ่านออกในธาตุดินนี้

มีความเป็นธาตุลมไหม

 

อย่างของคุณหงส์ ตอนนี้ถ้าเรามีสติเข้ามาที่จุดเริ่มต้นของการรับรู้

คือความใส เบา สว่าง ที่ปรากฏอยู่

แล้วเราเห็นว่าความใสเบา แบบนี้ เสมอกันกับอะไรได้บ้าง

 

ถ้าหากว่าเรารู้สึกถึงจิตที่ใสที่เบา เสมอกันกับท่านั่งคอตั้งหลังตรง

เรียกว่าเห็นว่า จิตมีความเสมอกับธาตุดิน

 

ถ้าหากว่า ลมหายใจ ปรากฏอย่างไร แล้วจิตรู้อย่างนั้น ไม่ปรุงแต่งเพิ่มเติม

ลมหายใจ ที่ผ่านเข้าผ่านออก อยู่ใน ธาตุดินนี้ เป็นอย่างไร จิตรู้อย่างนั้น

นี่เรียกว่า จิตมีความเสมอกับธาตุลม

 

แล้วถ้าหากจังหวะไหน จิตมีความใส แล้วรู้สึกเหมือนแผ่ออกไปได้เอง

เหมือนกับเราเปิดตา ดูของรอบด้านได้เอง

ตัวนี้คือจิตมีความใส เสมอกับอากาศ

 

ตอนที่จิตไม่มีความฟุ้งซ่านมาห่อหุ้มนานๆ

และจิตมี วิตักกะ วิจาระอยู่กับลมหายใจ นานๆ ในที่สุดจะใสเอง

ไม่ใช่เป็นเรื่องสูงส่ง ไม่ใช่เรื่องลึกลับ ไม่ใช่เรื่องพิเศษ อภิสิทธิ์ของใคร

 

เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติของจิต

เมื่อมีเหตุปัจจัย คือ ความฟุ้งซ่าน ห่อหุ้มไม่ได้

และ มี วิตักกะ วิจาระ

 

ในที่สุดจะแจ่มใสขึ้นเอง จะผ่องใส ชื่นบาน มีความรู้สึกเหมือนกับ

อะไรๆ ที่ปรากฏอยูรอบๆ ธาตุดินนี้ ก็คืออากาศธาตุ

คือช่องว่าง ที่จิตมีความเสมอกันกับมัน

 

เรียกว่า มีจิตเสมอกันกับอากาศธาตุ

 

ประโยชน์ของการรับรู้ว่า จิตมีความเสมอกันกับอากาศธาตุก็คือว่า

จิตจะขยาย จะแผ่ออก จะอยู่ในสภาวะที่เหมือนไม่มีอะไรห่อหุ้ม

ซึ่งในระยะยาว จะเห็นเลยว่ามีประโยชน์ขนาดไหน

จะรู้สึกว่า ธาตุดิน เป็นอะไรที่ปรากฏโด่เด่ อยู่ท่ามกลางอากาศว่าง

ไม่มีค่า ไม่มีราคา

 

และในขั้นแอดวานซ์ต่อไป พอใจเห็นกายใจโดยสักแต่ว่าเป็นธาตุหก

แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นว่า ใจว่างๆ

ไม่เอาแล้ว กายใจนี้ .. จิตไม่เอากายใจนี้แล้ว

ณ จุดนั้น ถ้าหากว่า จิตมีความแผ่ออกเหมือนไม่มีอะไรห่อหุ้ม

เหมือนใสๆ ตั้งอยู่ได้มั่นคง จะเห็นประโยชน์ๆ มากๆ

จะไม่มีความปรุงแต่งไปในทางรอ

ไม่มีความปรุงแต่งในเชิงอยากได้มรรคผล

แต่จะมีอุเบกขาแบบพร้อมทิ้งจริงๆ

 

รู้สึกไม่อยากเอาอะไรจริงๆ ไม่อยากเอาอะไรให้ใครทั้งสิ้น

มีแต่ สภาวะรู้สภาวะ

ไม่รู้จะเอาสภาวะอื่น ภาวะแปลกปลอม ภาวะใหม่ๆ

มาให้กับุคคลเป็นธาตุหกนี้

มองไม่เห็นจริงๆ ว่าจะเอาอะไรให้ใคร

 

ตรงนี้สำคัญ ถ้าลักษณะจิตมีความตั้งมั่น มีความพร้อมรู้

มีความแผ่ออก มีใจเปิดโล่ง เหมือนไม่มีอะไรห่อหุ้ม

อย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านตรัส

 

ลักษณะจิตแบบนี้ จะเป็นจิตแบบที่เข้าข่ายโพชฌงค์ 7 จริงๆ

มีความพร้อมรู้ พร้อมทิ้ง

 

ถ้าหากว่าใจแคบๆ อยู่

และไม่รู้จะตั้งจิตเป็นอุเบกขาอย่างไร ไม่รู้วางใจกลางๆ อย่างไร

มีแต่ความอยากได้ฌาน อยากได้ญาณ อยากได้มรรคผล

 

ลองดู เปรียบเทียบจะเห็นเลยว่า

เวลาที่จิตใส แล้วสามารถรู้ได้ว่า มันเสมอกันกับอากาศธาตุ

แบบที่ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ ลองไปหาดูในพระไตรปิฎกนะ

 

มีจิตเสมอกันกับอากาศ มีประโยชน์จริงๆ

ทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่ได้เป็นใคร

ตัวเรา มีธาตุมาประชุมประกอบกัน แล้วเกิดการปรุงแต่งวิญญาณธาตุ

ให้หลงไปยึดว่า ธาตุต่างๆ ที่มาประชุมกันชั่วคราว เป็นตัวเป็นตนถาวร

มีอัตตาของตัวเองจริงๆ ไม่อยู่นี่ก็นอกโลก อยู่ที่ไหนสักแห่งในจักรวาล

 

แต่ถ้าใจใส ก็เห็นสักว่า นี่อากาศธาตุ ตั้งอยู่

เรารู้ได้ด้วยลมหายใจ รู้สึกได้ด้วยการที่ หายใจผ่านเข้าผ่านออกๆ

แล้วเกิด วิตักกะ วิจาระ รู้ลมหายใจ อยู่

 

ก็จะเห็นเลยว่า ในอากาศว่างนี้ มีกายนั่ง คอตั้งหลังตรงตั้งอยู่

มีลมหายใจ ผ่านเข้าผ่านออกอยู่

ยิ่งวัน ยิ่งทำไปๆ ความรับรู้ตรงนี้ก็ชัดขึ้นๆ

บางที ไม่ใช่จะต้องเห็นชัดเป๊ะ ตั้งแต่เริ่มนะ

ถ้าจิตใสๆ เคลียร์ๆ จะเหมือนเกลี่ยเอาอะไรหยาบๆ ออกไป

 

ตอนแรกๆ อาจรับรู้แค่ประมาณระยะห่าง ระหว่างตัวเราถึงผนังห้องรอบด้าน

แต่พอทำไปๆ จิตยิ่งใสขึ้นๆ อย่างคุณหงส์วันนี้

ถ้าไม่คิดอะไรมาก ไม่เอาความคิดมาเป็นที่ตั้ง

เอาแค่ใจที่รู้สึกว่า รู้สึกถึงลมหายใจออก อย่างตอนนี้ที่ใส เบา

จะรู้สึกได้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องคิด ไม่ต้องตั้งใจอะไรทั้งสิ้น

 

ภาวะทางกายที่ตั้ง ตั้งอยู่เฉยๆ โด่เด่เหมือนเสากลางน้ำ

และที่เป็นธาตุดิน มีลมหายใจผ่านเข้าผ่านออกอยู่

รับรู้โดยจิตที่นิ่งๆ ว่างๆ ใสๆ

ยิ่งใสมากเท่าไร ยิ่งสัมผัสรอบตัวมีอากาศว่างอยู่อย่างไร

ตรงนั้นแหละที่จิตยิ่งแผ่ออก ยิ่งผายออก

 

หลายคน นั่งสมาธิแล้วรู้สึกถึงลมหายใจได้

แต่ติดเพดานตรงนี้ ไม่รู้จะไปไหนต่อ

ก็ไปโทษว่า อานาปานสติเป็นแค่สมถะ

 

จริงๆ แล้วอาศัยกำลังของอานาปานสติ ถ้าเรารู้และตั้งมุมมองไว้ถูก

ซึ่ง ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครไปขุดค้นเอามาจาระไนเท่าไหร่

.. พระพุทธพจน์

 

พอเรารู้สึกถึงความเป็นลมหายใจได้ แล้วมอง

แค่ตั้งมุมมองออกจากสมาธินั้นว่า กายนี้ใจนี้เป็นธาตุหก

เราจะได้ที่ตั้งของอนัตตสัญญาเลย ชั่วชีวิตที่เหลือ

 

อย่างตอนนี้จิตคุณหงส์รู้สึกถึงลมหายใจ และความใสของจิต

ความใสของจิต ก็แผ่ออกไปเอง

ไม่ต้องอาศัยความตั้งใจ ความคิดอะไรทั้งสิ้น

 

อาศัยความรู้ที่ปรากฏพร้อมอยู่ ณ ขณะจิตนี้แหละ

ความสงสัยหรือความติดขัดว่า ต้องทำอะไรต่อจะไม่เกิด

เพราะถ้ารู้ ดูอยู่จนรู้สึกว่า นี่สักแต่เป็นธาตุ

ไม่มีตัวเราอยู่ในธาตุ .. แค่นี้ อนัตตสัญญาก็เจริญขึ้น

 

พออนัตตสัญญาเจริญขึ้น สิ่งที่เราต้องทำแทบไม่มีเลย

แค่ทำให้มันเจริญขึ้นเรื่อยๆ

ยิ่งจิตเจริญขึ้นเท่าไหร่ อนัตตสัญญา ยิ่งเจริญขึ้นเท่านั้น

 

ดูไปเฉยๆ นะ ฟังผมพูดไป

 

เวลาที่จิตเรามีความใส เบา

อย่างตอนนี้จะมีความรู้สึกเหมือนกับ หน้าตาหายไป

 

ตอนที่ใจมีความใส เบา มีความละเอียด

ถ้าเรากำหนดทิศทางเฉพาะ เราจะรู้สึกเหมือนกับ

ใจที่ใสเบา คล้ายกับดวงอะไรดวงหนึ่ง

 

เปรียบเทียบกับสปอตไลท์ ถ้าเราเล็งไปข้างหน้า

เราจะรู้สึกว่า มีอะไรว่างๆ อยู่ข้างหน้า

มีอะไรที่ว่างๆ กลวงๆ ที่อยู่ข้างหน้านี้

เราเรียกว่าช่องว่าง เรียกว่า อากาศธาตุ

 

เห็นไหมว่า เวลาที่ใจเราเล็งไปที่ไหน ในขณะที่มีความรับรู้อยู่อย่างนี้

โดยมีจุดเริ่มต้นเป็นกายนั่ง คอตั้งหลังตรงนี้

เป็นตัวเปรียบเทียบว่า มีธาตุดินปรากฏอยู่อย่างนี้

 

สิ่งที่เป็นวัตถุปรากฏอยู่ข้างหน้า ที่เรารับรู้ได้รางๆ

จะผ่านตัวความทรงจำเก่าๆ ว่า ข้างหน้าเรามีอะไร

 

ก็จะรู้สึกสัมผัสขึ้นมารางๆ หรือบางทีใสๆ ชัดๆ ขึ้นมา

ราวกับว่า วัตถุที่อยู่หน้าเรา มีความเสมอกันกับท่านั่ง คอตั้งหลังตรง

ที่กำลังปรากฏเป็นตัวเรา ที่สมมติว่าเป็นตัวเรา

จริงๆ แล้วมีความเสมอกัน คือคงรูปคงร่างอยู่ได้

 

กายนี้มีตัว หัว แขน ขา

วัตถุตรงหน้า มีลักษณะเหลี่ยม รูปทรงอย่างไร

อย่างเช่น โทรศัพท์ที่กำลังตั้งเป็นกล้องจ้องเราอยู่

จริงๆ แล้วมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความเป็นรูปพรรณสัณฐาน ที่คงรูปคงร่าง

ต่างจากลมหายใจ ที่มีลักษณะผ่านเข้าผ่านออก ไม่มีรูปทรงตายตัว

 

มีลักษณะไหล แล้วก็เลื่อน ปรวนแปร เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

นี่คือลักษณะธาตุลม พัดเข้าพัดออก พัดไหว

 

เราเห็นอย่างนี้ได้

อากาศว่าง ที่เป็นระยะห่างระหว่างธาตุดินฝั่งของเรา

กับธาตุดินที่อยู่ตรงหน้า ก็ปรากฏโดยความเป็นรูปทรงอยู่ในใจ

ถ้ารู้รางๆ ก็รู้รางๆ ไป ไม่ต้องตั้งใจดูให้ชัด

 

เอาแค่เท่าที่จิตใสๆ จะรับรู้ได้ .. รับรู้ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น

 

ประเด็นสำคัญคือ แม้เพียงเกิดสัมผัส

รู้สึกว่า กายนั่งคอตั้งหลังตรงนี้ คือธาตุดิน

แล้ววัตถุที่อยู่ตรงหน้าเรา ก็เป็นธาตุดินเหมือนกัน

ความรู้สึกว่า เป็นบุคคล จะหายไปทันที

จะเหลือแต่ความรู้สึกว่า

มีรูปพรรณสัณฐานอะไรอย่างหนึ่ง ปรากฏตั้งอยู่ตรงนี้

แล้วมีรูปพรรณสัณฐานอะไรอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า

อยู่รอบๆ มีความเสมอกัน

 

ตัวนี้ ที่จะทำให้อัตตามานะ ลดลงฮวบฮาบ

หรือเหมือนกับสูญสลาย หายไปเป็นศูนย์ชั่วขณะ

 

นี่เป็นอุบายที่ พระพุทธเจ้าให้ทำจิตเสมอกับธาตุทั้งห้า

ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ

 

พอจิตมีความเสมอกับธาตุทั้งหลายทั้งปวง

อย่างเริ่มต้น เราเริ่มจากธาตุดินก่อน เพราะเห็นได้ง่าย

เป็นกายเราที่ตั้งอยู่ และธาตุดินอื่นๆ ที่อยู่ในห้อง

ที่เราจำได้อยู่แล้วว่า อะไรตั้งอยู่ตรงไหน ชั้

นวางของ กล้อง ผนังห้องที่กั้นอยู่สี่ด้าน

 

วัตถุที่อยู่ในความทรงจำเรา พอถูกรับรู้ จากจิตที่อยู่ตรงกลางจริงๆ

จิตที่พร้อมรู้สามร้อยหกสิบองศา โดยไม่มีการกลอกตา

จิตที่ว่าง ใส เสมอกันกับอากาศอยู่

จะเกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากความเป็นตัวตนในปัจจุบัน

 

ตัวตนที่เรารับรู้อยู่ คือมีรูปร่างหน้าตาเรา คิดได้

ไม่รู้ละว่าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง รู้แต่ว่ามีตัวตนก้อนหนึ่งแน่ๆ

 

แต่พอมี วิตักกะ วิจาระ เรารับรู้ลมหายใจ ได้อย่างแจ่มชัด

แล้วเห็นถึงธาตุ ธาตุดิน ธาตุลม อากาศธาตุ ผสมอยู่ด้วยกัน

ความรับรู้จะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง

 

และยิ่งพอสัมผัสรับรู้วัตถุภายนอก เสมอกัน ไม่ต่างกัน

มีความเป็นเหมือนกับเราเป็นต้นไม้ในป่าต้นหนึ่ง

ต้นไม้ต้นอื่นในป่า มีความเสมอกัน โดยการรับรู้ทางใจว่า

คงรูปคงร่าง มีธาตุลมมาหล่อเลี้ยง ตั้งอยู่ในที่ว่าง ไม่ต่างกันเลย

นี่คือการแผ่จิตออกไป ให้มีความเสมอกับธาตุทั้งหลาย

 

เวลาที่พระพุทธเจ้า ตรัสถึงการแผ่จิตออกไป  

เวลาเราอ่าน แล้วอ่านแบบคิดๆ นึกๆ แล้วนึกไม่ออกว่าท่านพูดถึงอะไร

เราก็จะเก็บไว้ก่อน แล้วบางทีไปเรียนรู้ ไปท่องศัพท์ที่ยุ่งยาก

แล้วรู้สึกว่าแบบนี้เข้าใจง่ายกว่า กลายเป็นแบบนั้น

 

แต่ถ้าเราแผ่จิตเป็น จิตเรามีความใส เบา สามารถสัมผัสรู้ได้ว่า

ตั้งอยู่ตรงนี้คือธาตุดิน ที่ตั้งอยู่ที่อื่น ก็ธาตุดินเหมือนกัน

ธาตุดินภายใน กับธาตุดินภายนอก ถูกรับรู้เสมอกัน

คือการแผ่จิตออกไป เห็นความเป็นธาตุดินเสมอกัน

 

เมื่อรับรู้ได้ คงความรับรู้อยู่อย่างนี้ แล้วอนัตตสัญญาเจริญขึ้น

เราจะรู้สึกว่า การปฏิบัติ มาถึงจุดที่ไม่ต้องสงสัย

มันชัดเจนในจิตเราที่มีความนิ่ง ตั้งมั่น มีสติรับรู้อยู่อย่างนี้

 

พอเราไม่มีใครอยู่ในท่าปฏิบัติ ไม่มีใครอยู่ในธาตุดิน ธาตุลม ธาตุอากาศ

ที่เหลือก็คือ จิตจะเห็นตัวเองแสดงความผ่องใสอยู่

 

ลองเล่าให้ฟังที เอาความรับรู้คุณหงส์ในการนั่งสมาธิครั้งนี้

 

หงส์ : เมื่อก่อน ตอนที่เอามือลงจะรู้สึกว่า

จิตไป concentrate แค่ลมหายใจ

แต่พอฝึกไปเรื่อยๆ จะเหมือนทะลุลมหายใจออกไป

เห็นข้างหน้ามากขึ้น

 

และพอระหว่างที่พี่ตุลย์ไกด์ ก็จะรู้สึกว่า

แผ่ออกไปด้านข้างได้ด้วย ช่วงหลังๆ

และรู้สึกว่า จิตอยู่ข้างหน้า แต่กายจะทำอะไรก็ทำตามกันไป

แต่จิตเรา รับรู้อยู่ข้างหน้า

 

พี่ตุลย์ : เมื่อกี้รู้สึกไหมว่า กายเราเหมือนรูปพรรณสัณฐานอะไรอย่างหนึ่ง

ไม่มีตัวเราอยู่ในกายนี้ แล้วพออย่างที่คุณหงส์บอก

พอรู้สึกแผ่ไปข้างหน้า รู้สึกถึงวัตถุโดยรอบ จะเหมือนไม้ในป่า

ที่อยู่ในป่าเดียวกัน มีความเป็นวัตถุเสมอกัน

 

อาจเห็นแค่รางๆ แต่รู้สึกสัมผัสไหมว่า ตัวเราเป็นวัตถุ

และวัตถุรอบกาย ก็เหมือนเป็นธาตุดินเสมอกัน เอาตรงนี้ก่อน

 

หงส์ : จะได้เป็นแค่ช่วงเล็กๆ สั้นๆ แล้วก็เหมือนกับมารับรู้อีกที

มาเป็นช่วงสั้นๆ สลับกันไป

 

พี่ตุลย์ : ขอให้จำไว้นะ แม้ว่า จะเป็นแวบสั้นๆ

แต่ตรงนี้ ขึ้นบทใหม่แล้ว สำหรับคุณหงส์นะ

ไม่ใช่แค่เรารับรู้ลมหายใจ อย่างเดียว

แต่เราสามารถรู้ความเป็นธาตุได้

 

อันนี้จริงๆ อาจเป็น intensive course เร่งรัดนิดหนึ่ง

เพราะเราต้องทำมาหากิน ไม่ได้มีเวลาคุยเยอะ

 

คำว่าเร่งรัดในที่นี้ ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้น

แต่ถ้าพอทำได้ ผมอยากให้มีทิศทางแบบนี้เลย คือ

พออานาปานสติเจริญไปได้ถึงจุดหนึ่ง คนจะมีความรู้สึก นิ่งๆ ว่างๆ

แล้วอย่างไร? จะดูความเป็นอนัตตาอย่างไร

 

นี่ที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ ให้เห็นกายใจโดยความเป็นธาตุหก

และเราจะรู้ว่า กายนี้ ไม่ได้มีอยู่กายเดียว

วัตถุนี้ ไม่ได้มีอยู่ชิ้นเดียวในจักรวาล แต่มีอยู่รอบตัว

 

และถ้าหากเราสามารถสังเกต สัมผัส รู้

สึกด้วยความสามารถทางใจอย่างเมื่อกี้

 

ถ้าจำได้ตรงจุดที่ผมเริ่มบอกว่า ใจมีความว่าง

เวลาที่เล็งไปข้างหน้าจะเห็นทะลุไปข้างหน้า

หรือจำได้ว่า มีชั้นวางอยู่ด้านซ้ายเรา

พอเราจำอะไรได้ ตัวสัญญาที่จำได้ จะปรุงแต่ง

ให้เกิดการรับรู้ถึงวัตถุที่ตั้งอยู่ในทิศนั้นๆ

 

และทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่เรากลอกตาไปทางซ้าย หรือมองไปข้างหน้า

โฟกัสสายตาเรายังคงนิ่งว่าง อยู่กับบุคคล

รับรู้ถึงลมหายใจ เข้าออกตามเดิม

 

แต่จิตที่รู้สึกว่า สามารถสัมผัสพื้นที่ว่างรอบตัวได้

จิตนั้นแหละที่เป็นผู้รู้ ว่า วัตถุอยู่หน้าเราเป็นอย่างไร

ชั้นวางที่อยู่ทางซ้าย มีลักษณะประมาณไหน

 

วันนี้ เช้านี้เอาแค่ขึ้นบทเรียนใหม่

เอาแค่เราสามารถรู้สึกได้ถึงความเป็นธาตุดินนี้ ฝั่งนี้

เหมือนวัตถุชิ้นหนึ่ง เหมือนไม้ต้นหนึ่งในป่า

ที่อยู่ข้างซ้าย หรือข้างหน้า หรือผนังรอบห้อง ก็เป็นอีกต้นไม้ต้นนี้ๆๆ

แล้วก็มาเห็นว่า กายนี้ก็เป็นต้นไม้ ที่รวมปะปนอยู่กับต้นอื่นๆ

เป็นวัตถุเสมอกัน

 

ประเด็นคือ เมื่อเราฝึกรู้ไปเรื่อยๆ ด้วยจิตที่..

ขึ้นต้นมา ท่าหนึ่งท่าสองเหมือนเดิมทุกประการ

ไม่ได้รีบร้อนกระโดดข้ามขั้น เราฝึกรู้ลมหายใจ ที่ไหลเข้าออกในกายนี้

 

กระทั่งมาถึงจุดที่คุณหงส์จะจำได้ว่า ใจใสๆ เหมือนเปิดตาออก

มองดูอะไรรอบตัวได้

 

ตรงนั้น แค่กำหนดนึกนิดเดียวว่า กายนี้เหมือนต้นไม้ในป่า

วัตถุอื่นๆ ก็เหมือนต้นไม้อื่นในป่าเดียวกัน คั่นอยู่ด้วยช่องว่าง

ระยะห่าง ระหว่างกายนี้ กับวัตถุอื่นๆ

 

จะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ แทนที่ .. ปกติคนทำสมาธิ

พอจิตใสใจเบา เริ่มเห็นอะไรข้างนอกได้บ้าง จะอุปาทานไป

จะยึดเอาว่า จะไปเห็นอะไรที่วิเศษ

หรือเราอยากใช้จิตไปรู้อะไรที่เหนือมนุษย์

หรือเห็นอะไรที่คนอื่นต้องทึ่งในตัวเราแบบนี้

นี่เป็นธรรมชาติของนักทำสมาธิทั่วไป

 

แต่ถ้าเราทำสมาธิแบบพุทธ แล้วถึงจุด ที่จิตเริ่มมีสัมผัสถึงอะไรรอบตัวได้

เรารีบดู ชิงตัดหน้าความอยาก

ก่อนที่จะอยากได้อยากดี อยากมีอยากเป็นเหนือมนุษย์

 

ตัดหน้ามัน แล้วมองว่านี่เป็นภาวะชนิดหนึ่ง วัตถุชิ้นหนึ่ง

 และวัตถุโดยรอบมีความเสมอกัน

 

แค่นี้นะ จิตจะอยู่ในทิศที่เลิกอยากที่จะได้อยากจะดี อยากจะมีอยากจะเป็น

 

จะมีความพอใจ มีฉันทะอีกแบบ ที่จะรับรู้ว่าอะไรๆ ที่เป็นฝั่งนี้

และอะไรๆ ที่เป็นฝั่งโน้นที่ถูกแยก แบ่งออกด้วยช่องว่างในอากาศ

มีความเสมอกัน มีรูปพรรณสัณฐาน คงรูปคงร่างอยู่อย่างหนึ่ง

แต่โดยเนื้อแท้ที่จิตสัมผัสไป จะรู้สึกว่า ก็ธาตุดินเสมอกัน

ไม่เห็นมีอะไรที่แตกต่างจากกันเลย

โดยเนื้อหา โดยธาตุแท้ โดยแก่นสารภายใน

 

แล้วพอเริ่มสัมผัสธาตุดินได้ เดี๋ยวจะรู้สึกว่า

ธาตุลมที่ผ่านเข้าผ่านออก เวลาเรามองต้นไม้ใบหญ้า

หรือเห็นลมหายใจคนอื่น ก็จะรู้สึกสัมผัสจากใจเต็มๆ

ว่าเป็นธรรมชาติพัดไหว ผ่านมาผ่านไปเหมือนๆ กัน

อาศัยกินที่ช่องว่างเหมือนกัน

ถ้าไม่มีช่องว่าง จะไม่มีการปรากฏของธาตุดิน ธาตุลมเหมือนกัน

 

จะเห็นชัดขึ้นๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง

ตัวอนัตตสัญญา หรือ ความรู้สึกว่าไม่ใชเรา จะมาปรากฏเป็นปกติ

 

แล้วเราจะทราบได้ว่า ที่อนัตตสัญญาเกิดได้ก็คือ

เราเห็นการประชุมรวมของสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย มาหลอกให้จิตยึด

หรือว่ามาปรุงแต่งให้จิต มองเห็นตามจริงว่า

การประชุมกันทั้งหลายเหล่านี้ ที่แยกจากกันเป็นชั้นๆ

เป็นธาตุหกบ้าง ขันธ์ห้าบ้าง ตามแต่เราจะกำหนดมอง

 

แป๊บหนึ่ง .. จะรู้สึกว่า แป๊บหนึ่ง

 

อย่างพอเรารู้สึกถึง ความเป็นธาตุหก ในฝั่งนี้ได้

แล้วเห็นความเป็นธาตุหกในฝั่งอื่น ณ ขณะที่เห็นเลยจะรู้สึกว่า

เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่ใช่อยู่ๆ มีก้อนอะไรลอยขึ้นมา

 

ยิ่งเห็นเป็นปกติมากเท่าไหร่ จะยิ่งรู้สึกแป๊บหนึ่งมากเท่านั้น

 

แป๊บหนึ่งนี่แหละ .. อนิจจสัญญา ทำให้เรารู้ชัดว่า

อะไรๆ ไม่ได้คงรูปคงร่างอยู่เท่าเดิม

ไม่ได้มีลักษณะภาวะแบบที่กำลังปรากฏหลอกใจเราอยู่

 

ขึ้นกับเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่ง ว่าจะอยู่ได้นานหรือแป๊บหนึ่ง

 

ช่วงนี้อยูระหว่างวัน ถ้าหากเรารู้สึกว่าใจใสขึ้นมาได้เอง

แล้วก็มีความรับรู้ถึงลมหายใจมาได้ ก็จะเป็นชั่ววูบแป๊บหนึ่ง

ที่เกิดสติเห็นความเป็นธาตุ แบบที่เราฝึกกันแบบนี้

 

อย่างสักครึ่งนาที หรือหนึ่งนาทีก็ยังดี

จะเป็นชนวน เป็นทิศทางให้ใจเราตั้งอยู่ในการเห็นแบบนั้น

บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ถี่ขึ้นเรื่อยๆ

 

หงส์ : จะนำไปฝึกต่อเนื่องไปค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ตอนนี้ระหว่างวันใจใสขึ้นเรื่อยๆ นะ ใช้ได้ (รู้ตัวบ่อยขึ้นค่ะ)

ตรงนั้นคือจุดศูนย์กลาง เป็นวิหารธรรมของสตินะ

-------------------------

บัว

 

พี่ตุลย์ : ลองค่อยๆ เลื่อนสายตา เหมือนเรามองท้องฟ้า มองขอบฟ้าอยู่

แล้วขอบฟ้ายกขึ้น ต้องใช้จินตนาการนิดหนึ่ง

 

ถ้าโฟกัสสายตาคงที่ จะอยู่ที่มือหรือ เส้นขอบฟ้าก็ได้

ขอให้เลื่อนขึ้น อย่างแทนที่ .. ถ้าจะใช้ลืมตานะ เอาอย่างนี้

ตอนที่ยกมือขึ้น เรายกขึ้นตรงๆ เหมือนให้ฝ่ามือเป็นตัวไกด์

 

คือท่าหนึ่งท่าสอง ขออย่างเดียวว่า

เราสามารถรู้สึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือกับลมหายใจได้

ตัวนี้ไม่ว่าเราจะเคลื่อนอย่างไร

 

ทีนี้ถ้าจะใช้ลืมตา แทนที่เราจะแยกมือออกในขาขึ้น ลองยกตรงๆ

แล้วรู้สึกว่า ฝ่ามือไกด์ทั้งลมหายใจ และพร้อมกันไป

ไกด์โฟกัสสายตาด้วย ฝ่ามือไปถึงไหน สายตาไปถึงนั่น

รู้พร้อมกันไปดีกว่า รู้พร้อมไปเลยทั้งลมหายใจ ฝ่ามือ และสายตา

 

อย่างนี้ดีขึ้น ดีกว่านะ เสร็จแล้ว พอทำไปๆ

ต้องได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่เราได้คืออะไร

 

คือ ลมหายใจอยู่ในใจด้วย

ลมหายใจ มีความสัมพันธ์อยู่กับมือเป็นหลักเลย เป็น center เลย

ส่วนสายตา เหมือนของแถม ประกอบพร้อมไปด้วยกัน

 

พอเรารู้อย่างนี้ได้ ก็จะรู้สึกว่า ระหว่างวัน

มีการรับรู้ถึงลมหายใจได้เอง

โดยที่อาศัยความเคยชินจากการฝึกแบบนี้เป็นต้นแบบ

 

พอถึงจุดที่เราแน่ใจว่า ลมหายใจไม่ไปไหน

เรารู้สึกว่ามีลมหายใจอยู่ในใจ ก็บอกตัวเองว่า

อย่างนี้คือการลืมตา โดยมีวิตักกะ วิจาระปรากฏอยู่

 

พอเราได้ วิตักกะ วิจาระขณะลืมตา สิ่งที่สมควรทำในขั้นถัดไปคือ ..

เอ้า.. เดินจงกรมให้พี่ดูหน่อย

 

สายตามองตรง อย่าให้สายตาไปข้องพะวงกับพื้น

มองไปตรงๆ รับรู้จังหวะกระทบ ไม่ใช่รับรู้กระทบอย่างเดียว

 

ที่ผ่านไปไปรับรู้กระทบ เป็นขณะๆ

ที่ถูกคือว่าเท้ากระทบต้องอยู่ในใจ

เหมือนมีจังหวะแน่นอนอย่างหนึ่ง เหมือนมีเสียง แปะๆๆ อยู่ในหัว

ไม่ใช่เราไปจี้ทีละแปะๆ .. ให้สปีดเร็วขึ้นนิดหนึ่ง

 

ใช่.. แบบนี้ มีจังหวะกระทบอยู่ในใจ

เทียบกับเมื่อกี้ ที่จ้องทีละจุดๆ แล้วจิตจะโฟกัสที่ละบล็อคๆ นะ

แต่ตอนนี้จะเหมือนกับ เรามีการรับรุ้ที่ว่า เวลาเล่นดนตรีอย่างนี้

จะมีต๊องต่องๆๆ เราจะไม่เอาใจไปอยู่กับ .. ทีละต๊อง ทีละต๊อง

แต่จะมีการรับรู้เป็นชุด เป็นเซ็ตที่ปรากฏอยู่ในใจ

 

อย่างนี้ เรียกว่า สปีดเท้ากระทบอยู่ในใจ

 

แล้วถ้าเรายังลืมตา ยังรับรู้อยู่ได้ ก็หมายความว่าในชีวิตประจำวัน

เราก็สามารถที่จะรับรู้อะไรอย่างอื่น

โดยมีพื้นฐานของเครื่องรองรับสติประมาณนี้

 

ถ้ามีเท้ากระทบในใจแล้ว ส่วนใหญ่ถ้าอะไรๆ ผ่านเข้ามา

ก็จะผ่านเข้ามาโดยความรู้เนื้อรู้ตัวว่า

กำลังมีอะไรกระทบเรา ในอิริยาบถนั้นๆ

 

อย่างเช่น กำลังนั่งอยู่ เวลาเจอเรื่องกระทบ

ก็จะกระทบเข้ามาในอิริยาบถนั่ง ใจเราจะรู้สึกถึงอิริยาบถนั่ง

หรือถ้าเราเดินอยู่หรือเดินอยู่ ถ้ามีเรื่องอะไรเข้ามา

ก็จะเข้ามากระทบในอิริยาบถนั้นๆ จะคล้ายๆ กับ ตัวหุ่น

ที่เป็นเหมือนกับกำแพง ที่กั้นขวางอยู่ระหว่างธนูของศัตรู

ที่จะยิงเข้ามาถึงตัวเมือง

 

จะรู้สึกคล้าย อิริยาบถเป็นกำแพงขวางอยู่ ไม่ทำให้ธนูยิงเข้ามากระทบ แล้วเกิดความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทันที เหมือนจะมีอะไรขวางๆ อยู่

 

มองเห็นใช่ไหมว่า เวลาที่เราเริ่มมีวิตักกะ วิจาระ อยู่กับลมหายใจแล้ว

พอไปเดินจงกรม ความรู้สึกในตัวจะชัดขึ้น จะเหมือนชัดอยู่เอง

เวลาเรามีศูนย์กลางรับรู้ เช่น ผัสสะ เท้ากระทบ

 

อย่างตอนแรกที่บัวทำ จะย่ำไปทีละก้าวๆ

จังหวะของใจจะไม่เกิด ตัววิตักกะ จะไม่เกิดจริง

เพราะใจมัวแต่คิดทีละต๊อกๆ

 

แต่พอสังเกตออกตอนเพิ่มสปีด ว่า จังหวะเท้ากระทบเป็นแบบนี้ในใจเรา

ตัวนี้ วิตักกะจะเกิด แล้วสมาธิที่ได้จากการใช้ท่าสอง

ถึงจะไปบวกกันกับตรงนั้นว่า มีความรู้สึกนิ่งๆ อยู่ในการรู้กระทบ

ไม่ใช่ว่ากระจัดกระจาย

 

อย่างตอนแรกที่เราไปรู้ทีละก้าวๆ อย่างนั้น ใจจะยังกระจัดกระจายอยู่

จะยังไม่รวมลง จะมีความรู้สึกในตัวเรา คอยมากำหนดทีละต๊อกๆ

นี่เป็นความเข้าใจพื้นฐาน เป็นเบสิคที่สำคัญ

 

สายตาอย่ามองพื้น ไม่อย่างนั้นกี่คนๆ ก็เหมือนกัน ใจจะคิดๆ ไม่หยุด

แต่ถ้ามองขนานกับพื้นได้ และตาไม่ได้โฟกัสที่จุดใดจุดหนึ่งคับแคบ

แต่มองสบายๆ เหมือนมองขอบฟ้า

ใจเราจะมีโฟกัสอยู่กับเท้ากระทบได้เร็วขึ้น

 

บัว : ขอแชร์ค่ะ วันนี้นั่งสมาธิ ตอนฝึกแรกๆ ท่าใช้มือ

จะเห็นมือชัดพร้อมลมหายใจ แต่ตอนนี้ไม่รู้เป็นอะไร

เห็นลมหายใจแค่ 20-30% แล้วหายไปเลย

และรู้สึกถึงความตั้งของกาย กายเนื้อชัดขึ้น รู้การขยับ

รู้การปวดเมื่อย รู้ทั่วร่างกายชัดแต่ไม่ไปยึดติดกับมัน

บางที่กลัวลมหายใจหาย รู้สึกความคิดปล่อยเร็วกว่าทุกครั้ง ประมาณนี้ค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ตอนเดินรู้สึกอย่างไร

 

บัว : เวลาไปปฏิบัติธรรม จะเดินตามจังหวะที่เขาเดินกันประมาณนี้

เห็นคนเดินช้า กับ เดินเร็ว ก็คิดว่า เราคิดเยอะ เลยเข้าใจเองว่า

ถ้าเดินช้าๆ จะได้ตั้งสติมากขึ้น เลยเป็นคนชอบก้าวช้า

คิดมาตลอดว่า เวลายกขาขึ้นก็สังเกตขณะยก จะได้ตามจิตทัน

 

พี่ตุลย์ : จริงๆ ก้าวช้าก็มีประโยชน์ ทำให้เรามาเห็นกายเป็นหุ่นได้ง่าย

ทีนี้ถ้าเราคุยกันตรงนี้ ในเรื่องของวิตักกะ วิจาระ

เพื่อที่จะต่อยอดจากอานาปานสติ

เราก็ต้องทำความเข้าใจอีก concept ให้เห็นอีกภาพ คือ

 

เมื่อเรามีอะไรอยู่ในใจ แบบคงเส้นคงวา มีความสม่ำเสมอ

ตัวนี้เป็น วิตักกะ เป็นตัวตั้งสมาธิ เป็นขาตั้งแรก

เพื่อให้แน่ใจว่า วิตักกะ เมื่อเกิดขึ้นต่อเนื่องแล้ว

จะมีการปฏิรูปตัวเอง ยกระดับขึ้นเป็น วิจาระ

 

เมื่อกี้ยังไม่ถึงวิจาระ แต่มีวิตักกะ และไปเปรียบเทียบกับตอนนั่งสมาธิ

 

ตอนนั่งสมาธิ เรารู้สึกถึงลมหายใจ ชัดอยู่ในใจ นี่คือวิตักกะแน่ๆ

แล้วพอมาเปรียบเทียบกับการเดินจงกรม วิตักกะอยู่ตรงไหน

อยู่ตรงที่เท้ากระทบ มีสปีดเร็วแค่ไหนในใจเรา

ก็จะรู้สึกเหมือนกันเลย กับตอนที่มาทำสมาธิรู้ลมหายใจ

 

หมายความว่า เมื่อเราได้ต้นแบบจากการนั่งสมาธิรู้ลม

จนเกิดวิจาระ ปีติ สุข แล้ว

ก็สามารถที่จะ เอาไปเทียบเคียบกับตอนเดินจงกรมได้เช่นกัน

 

พอมีเท้ากระทบในใจ เป็นจังหวะช้าหรือเร็วในใจ

มีวิตักกะแล้ว นานๆ ไปใจจะว่าง ใจจะเบา

รู้สึก ข้างบนว่าง ข้างล่างชัด รู้เท้ากระทบ โดยใจไม่คิดฟุ้งซ่านอะไรเลย

ตัวนี้ และ วิจาระเกิดขึ้น พอเอาไปทำต่อจะเห็นเอง

 

เสร็จแล้วพอตัววิตักกะ วิจาระ มีความต่อเนื่องนานพอ

ก็จะเกิดอาการว่า กายระงับไม่กวัดแกว่ง นั่นคือไม่เกร็ง

เหมือนกายเดินไปเอง ลอยไปเอง ไปข้างหน้า กลับตัว แล้วไปอีกที่หนึ่ง

เดินจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่ง ราวกับไม่มีใครเป็นผู้เดิน

 

ตัวนี้ ความเบา ความมีปีติ ความสุข จะค่อยๆ เอ่อขึ้นมา

อย่างตอนนี้สังเกตไหม ใจเหมือนอยู่ๆ ผ่องแผ้วเอง เบ่งบานเอง มีปีติเอง

 

พอเราจับจุดถูกว่า จริงๆ แล้วถ้าจะมีปีติ สุข

ตัวคีย์จริงๆ คือความเป็นไปเอง

 

อะไรก็แล้วแต่ จะนั่งสมาธิแบบไหน เดินจงกรมแบบใด

ถ้ามีความเป็นไปเองเกิดขึ้นได้ มีวิตักกะ วิจาระ จนเกิดความเป็นไปเองได้

ปีติ และสุขจะเอ่อตามมา

 

แล้วเราจะมองเห็นว่า กายนี้ใจนี้ แสดงภาวะของมันอยู่

มีความเป็นอย่างไร เราไม่ต้องไปปรับ

ไม่ต้องเปลี่ยนให้ต่างไปจากความเป็นเช่นนั้น

 

แต่ใจเราแค่รู้แค่ดู สักว่าเป็นสภาวะ

สักว่าเป็นธาตุดิน สักว่าเป็นธาตุลม

พอเราเห็นชัดขึ้นๆ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิ เดินจงกรม

หรือกระทั่งอยู่ระหว่างวันก็ตาม

ตัวกายใจนี้ ก็จะปรากฏแบบเดิม

คือเป็นรูปเป็นนามไม่มีตัวเราจริงๆ

ไม่มีความสงสัย ไม่มีอะไรแทรกซ้อนอีก

 

แต่ช่วงนี้ ระหว่างวัน ของบัว

ก็จะรับรู้ลมหายใจไปด้วยบ้าง อะไรบ้าง ที่เห็น

 

และจะไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องภายนอก

แต่ทีนี้ ที่เราจะรู้สึกถึงอาการกั้นกาง ใจไม่อยากสนเรื่องภายนอก

แล้วมารู้สึกถึงลมหายใจ อยากให้ดูว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่โอเค

 เรามาสนใจโลกภายในมากกว่าโลกภายนอก

 

เวลารับกระทบอะไร เรามักดึงเข้ามาสู่ลมหายใจ

ซึ่งโอเคเป็นที่สบาย แต่ว่ามันยังครึ่งๆ กลางๆ อยู่

 

ทีนี้ ฝึกอย่างที่บัวฝึกไป คือลืมตา อยู่กับท่าสอง

หรือวันนี้มาฝึกเดินจงกรมกันใหม่ ล้าง concept ใหม่

ให้รู้ให้ดูจนเกิด วิตักกะ วิจาระ

เราจะสังเกตได้ว่า อาการกั้นกาง เป็นของไม่จำเป็น เข้าใจคำนี้ไหม

 

เหมือนกับอยู่ระหว่างวัน ใจเราพยายามกั้น

ไม่ให้อะไรภายนอกเข้ามากระทบถนัด

พูดง่ายๆ รักษาใจอยู่กับความรู้สึกในลมหายใจ ไม่สนใจเรื่องภายนอก

เอาใจมาสนใจอยู่กับเรื่องภายใน จนบางที..

คือนี่พูดถึงเฉพาะจังหวะที่เรารู้สึกถึงลมหายใจได้นะ

ไม่พูดถึงตอนปล่อยใจในระหว่างวัน

 

เวลาที่เรารู้สึกถึงลมหายใจเวลาอยู่กับใคร

ลมหายใจ จะปรากฏอยู่ในใจเราอย่างเดียว

แล้วเราก็จะไม่สนใจผุ้คนที่อยู่รอบข้าง

 

ทีนี้ถ้า upgrade ขึ้นไปอีกระดับ

คือเราจะรู้สึกถึงลมหายใจเป็น background อยู่

ณ ขณะที่เราอยู่ท่ามกลางผู้คน หรือมีอะไรมากระทบ

 

ตรงนั้นจะเป็นจุดที่ พูดง่ายๆ ว่า เป็นอานาปานสติเต็มรูปแบบ

คือเรารู้สึกถึงลมหายใจไปด้วย

และรับรู้การกระทบกระทั่งจากโลกภายนอกเป็นปกติ

 

แค่ให้สังเกต ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราอยู่ท่ามกลางผู้คน

และลมหายใจเรามากำกับจิตใจเรา สัก 70-80% หรือบางที 100%

 

แต่ถ้าหากว่าต่อไปเรารู้สึกถึงลมหายใจเป็น background 50 หรือ 40%

จากนั้น จะพูดคุย รับรู้ว่าเรานั่งอยู่กับใคร หรือใครคุยกับเรา 50-60%

แบบนี้เรียกว่า อาศัยลมหายใจเป็น background

และรับรู้ว่าเกิดการกระทบอะไร ระหว่างโลกภายนอกกับใจเรา

 

บัว : สมมติเรานั่งคุยกับคนๆ หนึ่ง

สภาวะจิตเราตอนนี้ไม่ได้ฟังเขาเต็มร้อย แต่อยู่กับลมหายใจตัวเอง

อาจได้ยินเข้าพูด แต่เข้าใจไม่ลึกซึ้ง เพราะอยู่กับตัวเองมากไป

แบบนี้ถูกไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : ตอนนี้เวลาเราฟังใครก็เข้าใจอยู่ ไม่ใช่ไม่เข้าใจนะ

แต่มีอาการกั้นกาง แต่มีอาการเหมือนยื้อไว้

ดึงไว้ให้อยู่ตรงนี้มากกว่าปล่อยไปทั้งหมด

 

เมื่อก่อน 100% ปล่อยออกไป รับรู้ว่าเข้าพูดอะไร มีเจตนาอะไร

ใจเราบางทีรู้เต็มร้อย หรือบางทีรู้ครึ่งๆ กลางๆ ตามแต่มีสติเต็มหรือไม่เต็ม

 

แต่ตอนนี้เหมือนกับ ในจังหวะที่จะรู้ลมหายใจ ใจจะยื้อว่า

เราจะรู้ลมหายใจ เหมือนเอาลมหายใจก่อน

 

ทีนี้ ถ้าหากจะให้อานาปานสติ อยู่ในระหว่างวันจริงๆ

อย่างเราคุยเต็มที่ก่อน เปิดใจรับรู้เต็มที่ก่อนว่า เขาพูดอะไร

จากนั้น ค่อยมีลมหายใจ ผ่านเข้าผ่านออกเป็น background อยู่ข้างหลัง

 

แบบนี้จะอยู่ในทิศทางพัฒนา upgrade ขึ้น

คือเราอยู่ในโลกตามที่เป็นด้วย

และขณะเดียวกัน เราไม่เสียสติที่รู้กายรู้ใจอยู่

 

บัว : ยื้อนื่คือการปรุงแต่งหรือเปล่าคะ

 

พี่ตุลย์ : เมื่อกี้ที่บัวบอกน่ะถูกแล้ว

คือเราเริ่มจากความสนใจลมหายใจก่อน ไม่ได้สนใจภาวะตรงหน้าเต็มที่

 

ในทิศทางนี้ เราจะรู้สึกว่าพอทำไปๆ จะอึดอัด

จะรู้สึกว่า ครึ่งๆ กลางๆ โลกภายนอกก็รู้ไม่ชัด

โลกภายในก็เหมือนมีความพะวงว่า เดี๋ยวจะเสียงานหรือเปล่า

นี่คือทิศทางที่เรากำลังทำ

 

แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่ คือเราแน่ใจแล้วว่า

การเจริญอานาปานสติ หรือเดินจงกรมที่เรากำลังจะฝึก

เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดต้นทุนภายในอยู่แล้ว

มีลมหายใจ ปรากฏอยู่กับใจเราไม่ยากอยู่แล้ว

 

ทำไว้ในใจอย่างนี้ เสร็จแล้วพอไปคุยกับใครๆ

เราเปิดใจคุยกับเขาเต็มที่เหมือนแต่ก่อน 100% กับข้างนอกก่อน

 

จากนั้นพอเริ่มรู้สึกว่า พูดไปๆ ชักไม่รู้เรื่อง

หรือรู้สึกว่า เขาพูดแล้วแบบว่า จุดนั้นจุดนี้เราเข้าใจอยู่แล้ว และขี้เกียจฟัง

พูดง่ายๆ มีปฏิกิริยาทางใจเกิดขึ้น แล้วเราถือโอกาสตรงนั้นมารู้ลมหายใจ

 

เพราะว่า .. จำคีย์เวิร์ดไว้นะ เราเห็นอยู่แล้ว

ว่าเขาพูดอะไร เราเต็มที่กับเขาแล้ว

แต่มันเกิดปฏิกิริยาทางใจ เกิดเว้นวรรคทางสติว่า ตรงนี้ไม่ต้องฟังก็ได้

 

หรือแม้กระทั่งเขาพูดแบบนี้เราไม่พอใจ

พูดแบบนี้ตั้งใจเสียดแทงกัน หรือพูดแบบนี้ดูถูกกัน

 

ของเราจะชอบอารมณ์แบบว่า ถ้าใครพูดไม่เข้าหู

จะมีปฏิกิริยาทางใจขึ้นมา

ซึ่งจังหวะแบบนี้แหละ แทนที่เราจะมาดูปฏิกิริยาอย่างเดียว ซึ่งมันยาก

ให้ถือโอกาสนั้นบอกตัวเองว่า

นั่นแหละ โอกาสที่เราควรจะมารู้สึกถึงลมหายใจ

แบบที่เคยฝึกในอานาปานสติ

 

เมื่อรู้สึกถึงลมหายใจ ณ ขณะที่เกิดปฏิกิริยาทางใจ

จะทำให้เกิดการเห็นที่ต่างไปคนละมุมเลยนะ

 

จะมีความรู้สึกว่าที่รู้ลมหายใจอยู่นี่ ปฏิกิริยายังอยู่หรือเปล่า

ถ้าอยู่รู้ว่ายังอยู่ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเรารู้ได้ครึ่งๆ

แบบที่เราฝึกแล้วในอานาปานสติ

เราจะรู้สึกว่า ที่เป็นการหายใจครั้งนี้

ปฏิกิริยาทางใจเป็นบวกลบนั้นอยู่ได้นานแค่ไหน

จะหายไปกลายเป็นใจที่ว่างๆ

 

และใจที่ว่างๆ นั้นแหละ ที่เราจะไปบวกกับโลกภายนอก

ด้วยความรู้สึกที่ว่ากลมกลืน

คือรู้ลมหายใจ ด้วยและฟังเขาต่อด้วย

 

แต่ถ้าเริ่มต้นมาด้วยลมหายใจ แล้วไปฟังเขา

จะยักแย่ยักยันแล้ว เพราะจะฟังไม่รู้เรื่อง หรือไม่ปะติดปะต่อ

 

ที่ผ่านมา เราจะเอาแค่จุดสรุปนิดเดียวช่วงท้ายที่เขาพูด

แล้วเราถึงโต้ตอบ .. นอกนั้นเราจะยื้อมาอยู่ที่ลมหายใจ

 

สรุปเลย กับทุกท่านเลยนะ

อยู่กับโลกภายนอก ร้อยเปอร์เซ็นต์ก่อน

จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่โลกภายนอก

ทำให้เรารู้สึกถึงปฏิกิริยาทางใจอะไรที่ชัดๆ

เป็นชอบ เป็นชัง หรือรู้สึกว่า จังหวะนี้ สติเราเริ่มหลุด เริ่มหาย

ก็ค่อยดึงลมหายใจเข้า ลากลมหายใจออก

จนกระทั่งมามีลักษณะของสติ

คล้ายๆ กับตอนที่เรากำลังฝึกอานาปานสติอยู่นี่แหละ

 

ตรงนี้ สติในลมหายใจ จะกลายเป็นแค่ BACKGROUND

จะไม่ล้ำเส้น ไปกินพื้นที่ความเข้าใจการรับรู้ภายนอก

ที่เรากำลัง connect อยู่

 

บัว : ทีแรกเข้าใจว่าให้ลมหายใจเป็นเพื่อนกับเราตลอดเวลา

เลยไปเพ่ง เห็นลมหายใจ ชัดมาก

ทีนี้ พยายามหาจุดสมดุล ที่ฟังพี่ตุลย์คือเข้าใจว่าให้มันเกิดก่อน

กระทบก่อน แล้วค่อยมาอยู่กับลมหายใจ ใช่มั้ยคะ

 

แล้วถ้าเดินจงกรม คือ ดูลมหายใจไปด้วย รู้เท้าไปด้วย

 หรือ รู้เท้าให้ชัดก่อน

 

พี่ตุลย์ : รู้เท้าให้ชัดก่อน แล้วเท้า อย่างบัวจำตอนแรกเลย

รอบแรกเราจะคิดในใจว่า กระทบๆๆ ไปทีละจังหวะ

จะเหมือนกับต้องมีความคิดมากำกับสติ

 

แต่พอพี่ให้เดินเร็วขึ้น แล้วเรารู้สึกถึงจังหวะเท้ากระทบในใจต่อเนื่อง

โดยไม่เพ่งเล็งทีละก้าว

ถ้าจับจุดถูกแค่นี้ ถือว่ามีศูนย์กลางสติอยู่ในใจแล้ว

 

ถ้าหากศูนย์กลางของสติ มีในใจแล้ว

มีวิตักกะ เป็นจังหวะเท้ากระทบแน่นอนแล้ว

จากนั้นลมหายใจ จะมาไม่มา จะรู้ส่วนอื่นเพิ่มเข้ามาแค่ไหน ไม่ว่าเลย

ไม่ว่าจะรู้อะไรเพิ่มจากจุดนั้น โอเคหมด

 

แต่ถ้าหากรู้อะไรไป จุดใดจุดหนึ่ง

เสร็จแล้วจังหวะเท้ากระทบหายไปจากใจ แบบนี้ไม่ได้

 

ในช่วงเริ่มต้น ขอให้มีศูนย์กลางรับรู้ที่ชัดเจน

ต้องตกลงกับตัวเองว่าจะรู้ตรงนี้ให้ได้

แล้วจะรู้ ลมหายใจ หรืออะไรตามมาโอเคหมด

 

แต่ทั้งนี้ จะถึงจุดหนึ่งที่เราสมมติเดินได้เป็น ชั่วโมง

แล้วรู้สึกราวกับว่า กำลังเดินไปในรางเมฆที่เบา นุ่ม

ราวกับไม่มีสัมผัสเท้ากระทบ

 

ตรงนั้นก็ไม่ว่า เพราะเรามีวิตักกะ วิจาระ ในจังหวะเท้ากระทบไป

จนเกิดปีติสุข ราวกับไม่มีผัสสะเท้ากระทบในใจเราแล้ว

แบบนี้ถือว่าได้ ถือว่าดี

 

แต่ขึ้นต้น เอาง่ายๆ กำหนดเลย บอกว่าในสิบนาทีแรก

ต้องรู้จังหวะเท้ากระทบให้ได้ก่อน อย่างอื่นไม่ต้องสน

และถ้าหาก จังหวะเท้ากระทบหายไปจากใจเราในสิบนาที

ให้สันนิษฐานว่า เกิดความเหม่อ หรือฟุ้งซ่านไปแล้ว

เพราะวิตักกะ วิจาระ ยังไม่เกิดชัวร์ๆ

 

ตรงนี้ จะต้องบอกกันเป็นล็อคๆ

ล็อคแรก สมาธิยังไม่เกิด วิตักกะ วิจาระต้องมาก่อน

ใจเราต้องมีเท้ากระทบก่อน ชัดๆ

และจากนั้นพอมีวิตักกะ วิจาระเกิดขึ้นแน่นอน มีปีติสุขเอ่อขึ้นมา

เรารู้สึกเหมือนเดินไปวิมานเมฆ แบบนี้ เท้ากระทบจะหายก็ไม่ว่า

 

ต้องทำความเข้าใจ เพราะบางคนมาถาม

เดินไปเดินมาเบามาก เหมือนวิญญาณล่องลอยไป

แต่มีแค่รู้สึกอยู่ในใจว่ากระทบๆ แต่ผัสสะเหมือนหายไป

แบบนี้ผิดหรือเปล่า

 

ไม่ผิด แต่ตรงนั้น วิตักกะ วิจาระ เกิดเต็มแล้ว

ตรงนี้ที่ต้องทำความเข้าใจกับทุกท่าน

 

เดินจงกรม ถ้าถูกต้อง จะก้าวกระโดดแบบพรวดพราดนะ

อย่างบางคนต้องเดินกันสองชั่วโมง หรือ ห้าชั่วโมง สิบชั่วโมง

กว่าจะรู้สึกว่า ไม่มีตัวคนเดิน มีแต่ วิญญาณล่องลอยไป

 

แต่ถ้าเดินถูก แค่สิบยี่สิบนาที จะรู้สึกเลยว่า

เราเหมือนลอยไปในอากาศว่าง ด้วยความสุข รอบด้านกว้างขวาง

บรรยากาศเหมือนสวรรค์ มีความวิเวกที่เรียกว่า ปีติ อันเกิดแต่วิเวก

ปรุงแต่งจิตให้รู้สึกว่า รอบด้านกว้างเหมือนสวรรค์

และมีแต่เราที่เดิน

 

จะเหมือนโลกถูกสร้างขึ้นใหม่ มี universe เราเองที่สุขมาก

ถ้าเดินถูก 10-20 นาที ไปถึงตรงนั้นแล้ว

 

และถ้าเราไม่ลืมหลักการว่า วิมานอะไรที่ปรากฏขึ้นมา

เกิดจากการที่จิตมีปีติ มีสุขเอ่อล้น แล้วก็เลยเกิด.. illusion

คือจิตรู้สึกไปว่าที่กำลังสุขมากมาอยู่นี่ คือได้ขึ้นสวรรค์แล้ว

 

เราเพียงแม่นย้ำว่า สุขนั้น ปีตินั้น เกิดขึ้น

ปรุงแต่งจิตให้หลงยึด หลงนึกไปว่า มีสวรรค์เกิดขึ้น

เสร็จแล้วก็จะไม่ติดสุข

 

คือ พอออกจากความสุขตรงนั้น อย่างที่ทักก็เพราะ..

เห็นไหม ให้เดินจงกรมแป๊บเดียว รู้สึกใช่ไหม มีความสุขขึ้นมา

ตรงนี้แสดงว่าถ้าเดินจงกรมเป็น แป๊บเดียวจะรู้สึกอย่างพี่ว่า

รู้สึกราวกับเราเดินในสวรรค์

 

ตรงนี้ก็ให้เหมือนที่พี่ชี้ให้ดู แล้วรู้ว่า ความสุขแบบนี้เกิดจากเหตุปัจจัย

ไม่ใช่อะไรที่จะตั้งอยู่เป็นสมบัติเราถาวร

 

การปฏิบัติก็จะอยู่ในทิศทางที่เรารู้ว่า

อะไรๆ เกิดจากเหตุปัจจัย แล้วก็ต้องหายไป

--------------------

เก่ง (Sam)

 

พี่ตุลย์ : พอลมหายใจชัดจังหวะวางมือ

ให้รู้สึกถึงกายนั่ง คอตั้งหลังตรงที่เกิดเองด้วย

พอเรารู้สึกถึงฝ่ามือที่วางราบกับหน้าตักได้

รู้สึกว่า ฝ่ามือเหมือนกับวัตถุอะไรสองชิ้น ที่วางแปะลง

 

ตอนนี้อยู่ฝ่ามืออยู่ในใจเราเท่านี้ พอวางก็อยู่ในใจเราเท่าเดิม

จะรู้สึกถึงกายนั่ง ไม่อย่างนั้นจะลืม

 

พอรู้สึกถึงกายนั่งคอตั้งหลังตรง มากรอบขึ้นเรื่อยๆ

จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า กายนี้ เป็นผู้หายใจ ไม่ใช่ตัวเราเป็นผู้หายใจ

 

พอทำๆ ไปคนส่วนใหญ่มักลืม จังหวะวางมือเป็นจังหวะสำคัญ

ขอให้วางนิ่งๆ สักแป๊บหนึ่ง มีความหมายมาก

พอเรารู้สึกถึงอาการสงบนิ่งของฝ่ามือที่สงบอยู่บนหน้าตักได้

เราจะรับรู้ถึงใจที่สงบตาม

 

และฝ่ามือนั้นเองจะเตือน ให้เรารับรู้ถึงความเป็นกายนั่งคอตั้งหลังตรง

ไม่ใช่ไปอยู่กับลมหายใจ อย่างเดียว

จะมีความเป็นกายนั่งปรากฏขึ้นในใจเรา พร้อมกันกับลมหายใจไปด้วย

 

รู้สึกเฉยๆ ว่ามือวางอยู่ โดยไม่ต้องตั้งใจอะไรทั้งสิ้น

แล้วสังเกตความต่างระหว่างจิต ที่รับรู้ถึงกายไปด้วย

และตอนที่ไม่ได้รับรู้กาย จะต่างคนละเรื่องเลยนะ

 

แค่สองวินาที ที่เรารับรู้ถึงกายนั่งคอตั้งหลังตรง ขณะวางมือบนหน้าตัก

จะเห็นเลย สมาธินี่ จิตมีความเต็มดวงขึ้น สมาธิราบรื่นขึ้น

 

ต่อให้ทำนานแค่ไหน บางทีเราเข้าใจ concept แล้ว เคยทำได้แล้ว

แต่พอผ่านไปๆ แล้วเราลืมสังเกต แค่จุดเล็กจุดน้อยตรงนี้

ก็กลายเป็นเหมือนกับ ช่องโหว่ให้ความฟุ้งซ่าน หรืออาการใจลอย

หรือมีอาการเร่งที่จะหายใจครั้งต่อไป ก่อตัวขึ้นมา

 

เห็นไป ลักษณะของจิตจะตั้งอยู่แบบยั่งยืนขึ้น

จะรู้สึกถึง ความราบรื่นที่เกิดขึ้นครบสี่ขั้น ไม่ใช่ขั้นใดขั้นหนึ่งแหว่งไป

 

อย่างนี้ เห็นไหม พอจิตเข้าที่ จะไม่ใช่เข้าที่มาจาก การรู้ลมอย่างเดียว

แต่เข้าที่จากจุดที่เราตั้งหลัก ที่จะมีสติรอบต่อๆ ไป

 

เออ อย่างนี้ .. จะรู้สึกขึ้นมาเลยว่า ความคิดความฟุ้งซ่านเว้นวรรค

อาการเหม่อหรือช่องโหว่ที่ให้มีอะไรเข้าแทรก จะถูกปิด

 

พอมีสติ และจิตเต็มดวงมีสมาธิเต็มรอบต่อเนื่องนานพอ

จะค่อยๆ พัฒนาขึ้น แต่เดี๋ยวก็เสื่อมลง

 

อย่างตอนนี้จะเหมือนมีความคิดรั่ว ทั้งที่เราก็รู้สึกว่า

เราวางมืออย่างน่าจะมีความรับรู้ดีแล้ว แต่จริงๆ มันดรอปได้เสื่อมได้เสมอ

 

พอเราเห็นทั้งความเจริญขึ้น เสื่อมลง ก็เรียกว่ามีสติยกระดับอีกขั้น

ไม่ใช่สติรู้ลมหายใจอย่างเดียว แต่มีสติเห็นความเปลี่ยนแปลง

แม้อาการของจิต และคุณภาพของสติ

ก็สามารถเจริญขึ้นได้ เสื่อมลงได้

 

อย่างพอเราคุยกันเมื่อวาน มีการตกลงกับตัวเองชัดเจนขึ้นว่า

เราจะไม่มีคำเสียดแทง เห็นไหม จะเหมือนปลดล็อค

เหมือนใจ มีความใส เบามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

อันนี้จริงๆ แล้วทุกท่านเลยนะ

สามารถสำรวจตัวเองได้อยู่แล้ว มีอะไรที่เป็นมลทินต่อสติอยู่บ้าง

 

และถ้าเราตกลงกับตัวเองว่าจะเอามลทินออกจากใจ

จะเห็นได้ชัดเลยว่า ใจสบาย เหมือนเปิดโล่งขึ้น

และจะมีผลกับการทำสมาธิด้วย จะรู้สึกมีความบริสุทธิ์ขึ้น

 

แต่เมื่อกี้จังหวะวางมือ แม้เราจะผ่านความเข้าใจมาแล้ว

แต่ในที่สุดเราก็ลืม

 

ถ้าเรากลับมาทบทวนใหม่ว่า คือการทำให้ครบทั้งสี่ขั้น

ทั้งหายใจเข้า ทั้งหยุด ทั้งเอาลง และทั้งวางมือ

ไม่ลืมทั้งสี่ขั้น ที่จะสำรวจดูไปเรื่อยๆ

โดยเฉพาะช่วงนาทีแรก ซึ่งสำคัญมาก

ถ้าเราสร้างความเคยชินไว้อย่างไร

นาทีต่อๆ ไปก็จะมาเสริมต่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

 

แล้วพออยู่ระหว่างวัน เรารู้สึกว่า โล่งสบายใจมากขึ้น

และในขณะทำสมาธิมีความครบ เต็มมากขึ้น

เราจะรู้สึกเลยว่า จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิจะเป็นอีกแบบ

คือมีความรู้สึกว่า แข็งแรง มีความตั้งมั่น มีความเบา

 โปร่งมากขึ้น มีความพร้อมรู้มากขึ้น

 

ตรงพร้อมรู้นี่แหละ คือคีย์สำคัญที่สุด

 

เก่ง : ทำตามที่พี่ตุลย์บอก วันนี้ก็โล่ง ไม่ค่อยคิดถึงอะไร

พอคิดถึงเรื่องจะเหม่อเลย ก็วนกลับมาที่เหมือนโล่งๆ ว่างๆ สบาย

ไม่โดนดูดเข้าไป

 

พี่ตุลย์ : นี่แหละ บางทีเหมือนผงแค่บางๆ แล้วถ้าเราเขี่ยออกได้

การเห็นของเรา ทัศนวิสัยของเราที่ปรากฏอยู่ในกายใจนี้

ก็จะแจ่มชัดแจ่มใสตามไปด้วย อนุโมทนา

 

เพราะของคุณเก่ง ตัดสินใจเร็วอยู่แล้ว เป็นคนที่จะทำอะไรก็ลงมือ

เป็นข้อดี เป็นต้นทุน ที่จะมาส่งเสริมให้ก้าวหน้าในเส้นทางภาวนาไม่ยาก

 

ทุกท่านเลย ย้ำอีกที ถ้าเรารู้ในใจอยู่แล้วว่า มีมลทินอะไรอยู่ในใจเรา

แล้วเราตกลงกับตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ผมบอก เพราะบางจุด sensitive

 

แต่ของคุณเก่งไม่ได้ sensitive พอชี้ก็ทำได้ทันที

แต่บางท่านอาจ sensitive แล้วเรารู้อยู่ รู้ทั้งรู้ว่านี่รบกวนจิตใจ

เหมือน noise ที่ตอนเรากำลังจะทำสมาธิ แล้วมันโผล่มา

แค่เรามองเห็นแล้วตัดสินใจที่จะทิ้งไป ทางก็โล่งขึ้น

 

แต่มนุษย์ยากตรงที่จะบอกตัวเองให้ทิ้ง

เพราะทุกความเป็นเรา เราจะหวงไว้โดยความไม่รู้ตัว

 

เก่ง : อย่างการฝึก เราก็ดำเนินชีวิตตามปกติได้ใช่ไหมครับ

 

พี่ตุลย์ : ที่พี่ดู ของคุณเก่ง ไม่ได้มีอุปสรรคอะไร ใช้ชีวิตตามปกติ

เข้าใจความหมายก็คือ มีเรื่องกิเลสๆ อะไรบ้าง นี่คือความเป็นฆราวาส

 

ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ เราก็ใช้คำว่า ปฏิบัติธรรมที่บ้าน

หรือวิปัสสนานุบาล ยังไม่ใช่พระ

หลายคนในห้องนี้ ลืมนะ บางทีรู้สึกราวกับตัวเอง

ต้องรับผิดชอบเป็นพระเป็นชี ไม่ใช่นะ เอาที่เราทำได้

 

ที่แนะนำให้ทิ้งมลทิน คือเอาพอที่แบบว่า

ไม่ได้แตกต่างไปจากชีวิตฆราวาสเดิม

 

อะไรที่เป็นกิเลส หรือ หน้าที่การงานที่เราต้องรักษาไว้ ..

คือถ้าทำมาได้ขนาดนี้ แสดงว่า ชีวิตที่กำลังเกิดขึ้น ที่กำลังเป็นอยู่

ไม่ได้ขวางทางแน่ๆ

 

ขอให้ทำไว้ในใจอย่างนี้เลยว่า

ตรงนี้ ได้หรือไม่ได้ ดีพอ หรือไม่ดีพอ

ดูว่าเวลาเรามาเจริญ อานาปานสติ เดินจงกรม

มารู้กายใจตัวเองในระหว่างวัน .. ก้าวหน้าขึ้นไหม พัฒนาขึ้นไหม

 

ถ้าก้าวหน้าขึ้น บอกได้เลยว่า ชีวิตคุณโอเค

 

บางคน ต่อให้เลยนะ .. ชอบมีคนมาคร่ำครวญบอกว่า

ต้องโกหกนิด โกหกหน่อย เพราะถูกสั่ง

ไม่ได้หมายถึงคุณเก่งนะ พูดถึงคนอื่น

 

เก่ง : ครับ แต่อย่างที่พี่ตุลย์บอกว่า ไม่ต้องโกหกนี่

ถ้าเราจิตตั้งมั่นแล้ว เราจะมีวิธีจัดการกับมันได้

 

พี่ตุลย์ : คือบางคน พี่พูดถึง คนที่โดนเจ้านายสั่ง

หรือลักษณะงานที่ทำอาจต้องมีนิดหน่อย

บางคนมาคร่ำครวญ .. ใช้วิธีตัดสินได้ง่ายๆ คือ

ถ้าเรายังทำสมาธิได้ เดินจงกรม ได้

นั่นคือยังไม่ได้ผิด ถึงขนาดห้ามมรรคห้ามผล

 

ยังพอเป็นไปได้ ยังปฏิบัติได้อยู่

แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าหากเราอธิษฐานไว้ในใจ ว่า

ไม่อยากทำงานประเภทที่ต้องโกหก หรือยั่วยุให้คนอื่นมีกิเลสแรง

 

ถ้าเราปฏิบัติจริงไปด้วย ธรรมะจะจัดสรรให้

 

นี่เป็นปาฏิหาริย์ของธรรมะนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ธรรมะในขั้นของการปฏิบัติ มารู้กายใจโดยความเป็นรูปนาม

และมีสิทธิ์ที่จะเห็นจริง

 

ถ้าหากบุญเก่าของเรา ได้ตามมาทันและส่งเสริม

เขาจะจัดให้เลย แล้วคุณต้องสังเกตเอาเอง

ในชีวิตคุณจะมีโอกาสใหม่ๆ หยิบยื่นมาให้ ว่า

เอางานแบบนี้ไหม ไม่ต้องโกหก ไม่ต้องยั่วกิเลสคนอื่น

แต่อาจได้เงินน้อยลง จะเอาไหม

 

คือจะมีเข้ามา โดยเราไม่ต้องกระเสือกกระสนแสวงหา

 

ตรงนี้ จะพิสูจน์ใจว่า ใจจริงเราอยากยกระดับทางธรรม

หรืออยากเอาดีทางโลกไว้

 

ถ้าคนที่พูดง่ายๆ ไม่มีความมั่นคงในชีวิต ก็เห็นใจนะ

ถ้าต้องทำงานหาเงิน

แต่ถ้าเรารู้สึกอยู่ข้างในว่า นี่ไม่จำเป็นแล้ว แล้วมีโอกาสใหม่ให้เราเลือก

เราจะเลือกอะไร ระหว่าง upgrade ทางธรรม กับ maintain ทางโลกไว้

 

นี่พูดเสริมต่อไป ไม่เกี่ยวกับคุณเก่งนะ เพราะเข้าใจว่า ทุกอย่างเราตัดสินใจได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว

 

เก่ง : แล้วเรื่องราคะ?

 

พี่ตุลย์ : นี่แหละ ที่พี่พูดถึง คือเรายังเป็นฆราวาสอยู่

อะไรๆ ที่ยังดำเนินไปแบบฆราวาสนี่ ก็ไม่ว่าหรอก

ขอให้อยู่ในขอบเขตศีลห้า

 

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า จะเอามรรคเอาผล เอาแค่ศีลห้าพอแล้ว

 

ศีลห้ามีอะไร ไม่ใช่ห้ามไม่ให้เสพ

แต่ว่าศีลห้า แค่อย่าไปเสพกับวัตถุต้องห้าม

เช่น คนมีเจ้าของแล้ว แบบนี้ แค่นั้นเอง

 

ศีลห้า เอาเราไปถึงโสดาปัตติผลได้ พูดให้ชัดๆ เลย

 

เก่ง : เมื่อวานพี่ตุลย์เหมือนเจาะกระโหลก

เพราะพอดีตื่นมาก็นึกขึ้นได้ว่า เวลาสวดมนต์

เหมือนเราชอบมีคำไม่ดี เช่นไปว่าพระพุทธเจ้าอะไรแบบนี้

ก็รู้สึกกลัวว่าจะตกนรก

 

พี่ตุลย์ : ถ้าเกิดเอง ไม่ต้องกังวล .. บอกทุกท่านเลยนะ

โดยเฉพาะช่วงนี้ พวกเราหลายๆ คน พอจะเริ่ม upgrade

ไปในทิศทางที่จะปล่อยวาง

จะมีถ้อยคำ หรือแรงกดดันอะไรบางอย่าง ที่

ทำให้คิดไม่ดี ทำให้ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

 

ถ้าหากเรารู้อยู่แก่ใจว่าไม่ได้เต็มใจคิด

นี่ไม่ใช่ใจจริงของเรา ใจจริงเราคือไหว้

เหมือนพร้อมที่จะนบนอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์

สำรวจดูใจจริงเราเป็นแบบนี้

 

อะไรที่เข้ามาจากภายนอก อย่าไปถือว่าเป็นมโนกรรมของเรา

นั่นเป็น force อะไรบางอย่างซึ่งเกิดขึ้นกับทุกคน

ทุกยุค ทุกสมัย เวลาจะ upgrade

 

บอกทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้องวิปัสสนานุบาล

เริ่มเป็นที่จับตาของอะไรบางอย่าง ที่ไม่ได้อยู่ในโลกนี้

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า ช่วงนี้มีอะไรเป็นอกุศลธรรม

จรมาแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้ และเราไม่ได้ตั้งใจเองแน่

อย่าไปถือว่านั่นเป็นมโนกรรมเรา

 

ให้ถือว่านั่นเป็นแรงกดดันจากภายนอก

เป็นธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง เป็นอกุศลธรรมชนิดหนึ่ง

 

ซึ่งถ้าเราไม่รับ ทำเฉยๆ เหมือนได้ยินเสียงคนอื่นพูด

ฟังคนอื่นด่ากัน แต่เราไม่ได้ไปร่วมด่ากับเขาด้วย

สำรวจใจตัวเอง และช่วงนี้

โดยเฉพาะคนที่รู้ตัวว่ากำลังก้าวหน้า

อย่าเอาใจไปข้องกับเรื่องอกุศลของชาวโลกเขา

 

ใครจะด่ากัน จะฆ่ากัน จะขุดคุ้ยอะไรกันมา ที่เป็นหยุมหยิม

อย่าไปยุ่งกับเขา

เสร็จแล้วใจจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา เหมือนมีเครื่องกั้น

กรอบคือ ศีล จะปรากฏต่อใจชัดขึ้น

 

เวลาเกิดอกุศลธรรม ลอยมากระทบใจ ให้เกิดความคิดชั่วร้ายหรือดำมืด

ให้สบายใจได้ว่า ไม่เกี่ยวกับเรา

 

บอกทุกท่านเลย เพราะมีถามมาหลายคน ว่า

ช่วงนี้เป็นอย่างไรไม่รู้ ทั้งที่ก้าวหน้าอยู่ชัดๆ

ทำไมมีอะไรชั่วร้ายเกิดในหัว

ขอให้สังเกต ถ้ามันลอยมาจากภายนอก ไม่ใช่เรื่องของเรา

---------------------

ปอย

 

พี่ตุลย์ : ในแง่ของการทำสมาธิ ทำได้โอเคแล้ว

 

ในช่วงนี้ ปอยจะรู้สึกว่า ชีวิตประจำวัน มีความสุขมากขึ้น ร่าเริงมากขึ้น

enjoy ที่จะพูดคุยกับใคร แล้วรู้สึกว่า เราคุยแล้วเขาสนุกมากขึ้น

เราเองก็เพลิดเพลินมากขึ้น มีตัวปรุงแต่งทางคำพูด

ที่ออกไปในทางดี ร่าเริงสดใสมากขึ้น

 

ตรงนี้ คือจะชี้ให้สังเกต

 

เวลาที่เราเพลิดเพลินไปกับการพูดคุย

แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมา ถึงความรู้สึกดีที่เกิดขึ้น

เราคล้ายๆ กับเป็นคนที่ทำให้คนอื่นรู้สึกดี หรือเข้าใจอะไรได้มากขึ้น

แล้วเราเกิดความรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย

แล้วจะมีผลมา ให้เวลาทำสมาธิ จะติดอยู่แค่ตรงนี้

เราทำสมาธิแล้วรู้สึกดี

 

บอกทุกท่านเลยนะ ถ้าระหว่างวัน

เราคุยเยอะ แล้วรู้สึกว่าเราทำให้คนอื่น happy ได้

และตัวเราก็ happy กับการคุย

 

เวลามาทำสมาธิ จะได้แค่ว่า รู้สึกถึงลมหายใจแล้วดีจัง

แล้วจะอยู่กับแค่ความสุข

 

จะมองว่า ความสุข สักแต่เป็นสภาวะ

ความคิด สักแต่เป็นสภาวะ .. แบบนี้จะมองไม่ได้

 

แค่ใหเกิดความเข้าใจในภาพรวม ถ้าเรามีความข้องเกี่ยว ผูกพัน

แม้ในทางดีมากๆ กับคนในโลก เราพูดดีให้คนคิดได้ ทำให้เขาสนุกได้

และตัวเราเองมีความร่าเริง enjoy talking

 

เวลากลับมาทำสมาธิ จะได้แค่รู้สึก ดีจัง..

ทำสมาธิได้ วันนี้นิ่ง สบาย ปลอดโปร่ง

 

แต่ตัว motor ที่อยู่ในหัว จะพร้อมปั่นคำพูดอะไรที่มีความสุข ความร่าเริง

มาแชร์กับคนอื่น มากกว่ามาดูโดยความเป็นภาวะ

 

สำหรับทุกท่านนะ ไม่ใช่ว่ามาติ หรือมาให้คะแนนลบ

แต่เพื่อจะให้เห็นภาพรวม

 

เวลาที่เราแจ่มใสร่าเริงแม้ในทางธรรม

ที่เราเข้าใจมากขึ้น กระจ่างมากขึ้น ไปแลกเปลี่ยนกับผู้คน

ทำให้เขา enjoy หรือคิดอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นได้

 

เสร็จแล้ว ตรงนั้นเวลาพูดเสร็จ คำพูดจะยังอยู่ในใจเรา

ยังมีความปรุงแต่งแบบ enjoy talking อยู่

 

เวลากลับมาทำสมาธิเดินจงกรม จะไปถึงแค่จุดที่ว่า

เราเดินจงกรมดี สงบ เรานั่งสมาธิได้แค่เห็นลมหายใจ แล้วสงบ สดชื่นจัง

 

แต่ถ้าในระหว่างวันเลย เราพูดเหมือนเดิมเป๊ะ

แต่เสร็จแล้วเห็นว่ามีอาการ enjoy talking อยู่ในใจเรา

 

จากนั้น พอคุยเสร็จ เห็นว่า มีความปรุงแต่งแบบไหนตกค้างอยู่

มีความติดใจในการพูดคุยอยู่ในระดับไหน

ในระดับที่อยากคุยอีก เดี๋ยวถึงเวลาจะไปซ้ำ ไปต่อยอด

เพราะคนเราเป็นสัตว์สังคม

และมีความพอใจ ที่จะทำให้ตัวเองและคนอื่นมีความสุข

 

พอเราทำได้ และคนอื่นมีความสุขตาม

ก็แน่นอน ยิ่งพอกพูนยิ่งทำให้เรารู้สึกดี

 

ซึ่งอันนี้ถามว่าเป็นฝักฝ่ายของตัวตน หรือเป็นฝ่ายทิ้งตัวตน

ก็ต้องบอกว่า รวมอยู่กับฝ่ายของตัวตน

 

ซึ่งถ้าหากมาทำสมาธิ เห็นลมหายใจชัด

รู้สึกถึงปีติ รู้สึกถึงความสุขได้มาก

ปีติและสุขนั้นจะเหมือนกับเพดานว่า เรามาได้ถึงตรงนี้

 

แต่ถ้าหาก ใจเราพอ enjoy talking เรียบร้อย คุยเสร็จ

แล้วเห็นว่าใจปรุงแต่งต่อในทางจิตใจ มากหรือน้อยแค่ไหน

เสร็จแล้วก็เห็นว่าอาการติดใจนั้น หนักขึ้นหรือเบาลงๆ

เห็นความไม่เที่ยง แล้วใจเรา เหมือนสลัดหลุด

ออกจากอาการ enjoy talking

 

จะรู้สึกว่า เวลามานั่งสมาธิ มาเจริญสติ จะเห็นต่อได้

ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ความรู้สึกว่า มีความสุข

 

อย่างเมื่อกี้ มีความสุข และปอยจะรู้สึกว่าเพดานเราอยู่แค่ตรงนั้น

เรารู้สึกถึงลมหายใจ เรารู้สึกถึงความสุข แต่จะไม่เห็นมันเป็นภาวะ

จะรู้สึกว่ามีเราเป็นผู้มีความสุขอยู่

 

ต่อเมื่อปอยรู้สึกว่า เราคุยกับใครเสร็จ

แล้วเห็นเป็นภาวะติดใจมาก ติดใจน้อยได้

เห็นเรื่อยสักสองสามวัน กระทั่งใจเรา

ไม่คงค้างอาการ enjoy talking อยู่ในใจ

 

พอมาทำสมาธิอีกที จะเห็นว่า

พอมีความสุขแล้ว จะรู้สึกว่า ความสุขนั้น

เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยคือรู้สึกถึงลมได้ชัด

รู้สึกถึงสปีดของมือที่ช้า มีสติที่ชัด และเห็นว่าภาวะนั้นไม่เที่ยง

 

พอมีความปรุงแต่งทางความคิดเกิดในหัว

ก็จะเห็นว่านี่ส่วนเกิน เป็นส่วนเกินของความสุข

เป็นส่วนเกินของลมหายใจ นะ

 

ตัวนี้ ถ้าเราเห็นภาพรวม คือ ไม่ได้ว่าอะไรทั้งสิ้น

ทุกคนในที่นี้ เวลาที่มีความสุขในชีวิตมากขึ้น พี่ดีใจด้วย

แต่พอเรามาพูดถึงว่า เราจะสามารถต่อยอดอะไรไปได้มากกว่านี้อีก

ตรงนี้แหละที่ถ้ามองเห็นภาพรวม จะเห็น roadmap

 

ปอย : มีคำถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันค่ะ

ด้วยหน้าที่การงาน ทำงานร้านอาหาร ขายของ ทำเกษตรพอเพียงไปด้วย

 

คือเราเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ค้าขาย ผิดศีลไหมคะ

คือพยายามถือศีลห้าบางวันก็ได้ บางวันไม่ได้

จิตบางวันปลอดโปร่ง บางวันก็ขุ่นมัวโดยไม่มีสาเหตุค่ะ

แต่ติดที่หน้าที่การงาน การที่เราขายเป็นขายปลา

เอาปลามาประกอบอาหารเพื่อทาน แต่ไม่ได้ขายนะคะ

 

พี่ตุลย์ : มีอยู่ในพระไตรปิฎกข้อหนึ่ง ว่า มิจฉาวาณิชชา

อย่าค้ามนุษย์ อย่าค้าเนื้อ

ซึ่งตรงนี้ อรรถกถาจารย์ก็ไปต่อยอดอีกทีหนึ่ง

อย่าค้ามนุษย์ อย่าค้าเนื้อ มีความหมายอย่างไร

 

คือเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ถกกันด้วยโลจิค ด้วยคำพูด

ตีความและ มีความแตกแยกทางความเห็นไปได้สารพัด

 

แต่ถ้าเอาที่จิตของเรา อย่างที่ปอยบอก

เราขายสัตว์จริงแต่ไม่ได้ลงมือฆ่าด้วยตัวเอง

แต่ก็รู้อยู่ว่ามันจะอยู่ในวงจรเหล่านี้ ก็เลยรู้สึกมีมลทิน ไม่สบายใจบ้าง

หรือบางวันรู้สึกราวกับมีอะไรมากั้น มาบัง

 

ตรงนี้ พี่อยากให้ปอยมองว่า

อย่างตอนที่ปอยมาทำสมาธิมาเจริญสติได้ เราก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ไหม

 

ถ้าก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แปลว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตรงนั้นเป๊ะ

ยังไม่ได้เป็นตัวห้ามที่จะขัดขวางการภาวนาของเรา

เราพิสูจน์โดยการที่เราทำทุกวัน แล้วเห็นว่า โอเคมีขึ้นๆ ลงๆ บ้าง

ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทุกคน ไม่ว่าจะถือศีลสะอาดบริสุทธิ์แค่ไหน

หรือไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเลยก็ตาม ก็ขึ้นๆ ลงๆ กันทั้งนั้น

 

บางทีอาจไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลว่าเราทำอาชีพนี้

เลยบางวันถึงขุ่นๆ ขึ้นมาเอง

 

ขอให้มองว่า ถ้าเรายังก้าวหน้าได้ ถ้าเรายังมีความคืบหน้าขึ้นได้

แสดงว่าสิ่งที่เราทำอยู่ไม่ขวางเสียทีเดียว

ไม่ขวางแบบที่ พิสูจน์ได้ด้วยชีวิตของเราเองว่า

ข้างในสามารถเจริญขึ้น และไม่เสื่อมลงจนถึงจุดดำ ถู

กดูดด้วยหลุมดำอะไรแบบนั้น

 

ทีนี้ อย่างที่พี่ให้ข้อสังเกตไป ไม่ใช่ว่า เราจะทำอะไรแล้วผิดหรือไม่ผิดแน่ๆ

แต่เราเจริญสติแล้ว ถามตัวเองง่ายๆ ว่า

มีอะไรบ้าง ที่กั้นไว้ไม่ให้เราเห็นกายใจโดยความเป็นภาวะ

 

อย่างเรื่องคุย ไม่ได้ผิดอะไรเลยนะ ที่พูดไปเมื่อกี้ทั้งหมด

แล้วก็ดีที่เรา enjoy talking ได้ทำให้คนอื่นมีความสุขได้ ไม่ใช่เรื่องไม่ดี  เพียงแต่คุย แล้วเราแค่มาสังเกตว่าหลังจากคุยเสร็จ

ใจมีอาการติดใจ มีอาการติดค้างอยู่มากน้อยแค่ไหน

 

ปอยก็จะเห็นได้ว่า บางทีที่ขุ่นขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องอาชีพเสมอไป

บางทีมาจากการที่ เรายังติดอยู่ในเรื่องที่สนทนา

 หรือเรื่องที่ happy กับคนอื่นอะไรแบบนี้นะ

 

รู้สึกใช่ไหมว่า เหมือนกับเราพูดคุย มีความสดใสมากขึ้นกับคนอื่น

และเขาก็ happy จะคุยกับเรามากขึ้น

 

ปอย : โดยส่วนตัวใหม่มาก เพิ่งเข้าวงการการภาวนา ไม่ถึงหกเดือนค่ะ

ก็รู้สึกว่าตัวเองก้าวหน้าขึ้น อยู่กับปัจจุบัน

เมื่อก่อนเป็นคนคิดมาก เครียดเกี่ยวกับอนาคต ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร

หรือกังวลกับอดีต ทิ้งไม่ได้สักที

 

แต่ทุกวันนี้ ไม่ใช่จะพลิกหน้ามือหลังมือไปเลย

แต่จะค่อยๆ ทิ้งไปทีละเรื่อง ค่อยๆ ลอกเปลือกออกทีละนิด

ค่อยเป็นค่อยไป แต่ว่ารู้สึกว่า

การที่ได้พยายามพาตัวเอง เข้ามาในกลุ่มคนที่อยู่ในทางสว่าง..

ก็คือชอบอยู่แล้วทางด้านนี้ แต่ไม่มีแนวทางว่าต้องฝึกอย่างไร

 

แล้วก็อยากไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ แต่ไม่มีโอกาส

เพราะต้องทำงาน เลยพยายาม มีโอกาสได้เข้าเฟสบุ๊ค

เลยพยายามเอาตัวเองมาเรียนรู้ เพื่อต่อยอดให้ตัวเอง

 

พี่ตุลย์ : ประเภทที่เพิ่งเริ่มต้น แล้วคิดว่า

ต้องเอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ปฏิบัตินี่

คนที่เริ่มต้นหลายๆ คนจะอกหัก ผิดหวัง

เพราะสถานที่ปฏิบัติ มักเป็นสถานที่ๆ

พูดง่ายๆ ว่าการแบ่งก๊กแบ่งเหล่า

 

ปอย : แสวงหาผลประโยชน์ใช่ไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : สารพัดรูปแบบแหละ เราคงไม่เจาะจงว่า มีอะไรที่ไม่ดีไม่งามบ้าง

แต่พี่พูดถึงคนที่ตั้งใจแสวงหาสถานที่ปฏิบัติ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มต้น

ไม่รู้อะไรเลย มีแต่ความคาดหวังว่าจะมีอะไรดีกับดี มักอกหัก

 

เพราะว่าถ้ามีเป็นสถานที่ ก็มักต้องมีค่าใช้จ่าย

มีกลุ่มคนผู้ดูแลรักษาสถานที่ ดูแลความเรียบร้อย จัดระเบียบ มีชุด

มีแบบฟอร์ม กลายเป็นเรื่องว่า ที่ปฏิบัติหลีกเลี่ยง

ไม่พ้นที่จะต้องไปผูกพันกับเรื่องเงิน เรื่องอำนาจ

 

ทีนี้ พอเราทำความเข้าใจใหม่ว่า แท้จริงแล้ว

การปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า อยู่ที่ว่าเราเข้าใจไหมว่า

ปฏิบัติเพื่อเห็นอะไร ไมใช่ปฏิบัติที่ไหน

 

ปฏิบัติเพื่อเห็นกายใจ และกายใจมีความเป็นอย่างไร

เราสามารถเห็นได้แบบนั้น

 

หรือถ้ายังไม่พร้อมจะเห็นว่า สภาวะตามจริงปรากฏอยู่อย่างไร

เราก็ไปทำให้ใจเราเกิดสมาธิขึ้น อย่างนี้มีความเข้าใจอย่างนี้แบบบริบูรณ์

 

จะทำให้เราสามารถ เปลี่ยนบ้านตัวเองให้กลายเป็นวัด

เปลี่ยนห้องนอนเรา ให้กลายเป็นสถานปฏิบัติธรรมได้

 

ถ้าความเข้าใจนี้แผ่กว้างออกไป เป็นที่รับรู้ของชาวไทยทั่วไป

ปัญหาเรื่องการปฏิบัติ ปัญหาเรื่องการหาสถานที่

หรือ ปัญหาเรื่องการเสาะแสวงหา พระอรหันต์

จะลดลงทันทีแบบฮวบฮาบ

 

ทุกวันนี้ เราแสวงหากันในแบบที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเจอ

ยกตัวอย่าง สถานที่ปฏิบัติธรรม ที่มีครูบาอาจารย์สอนให้อย่างดี

ไม่มีปัญหาเรื่องก๊กเรื่องเหล่า ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทอง

ไม่มีปัญหาเรื่องสถานที่อะไรเลย

 

พอมีความคาดหวังที่ผิด แล้วหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ แค่นี้ท้อแล้ว

ไม่ได้ปฏิบัติเสียที เพราะหาไม่เจอที่ปฏิบัติธรรม

 

หรือบางคนบอกว่า ชาตินี้ไม่อยากปฏิบัติธรรม

แต่ขอหาพระอรหันต์ที่ perfect

พูดดีด้วย เป็นพระอรหันต์ด้วย สอนดีด้วย เอาใจใส่ลูกศิษย์ด้วย

ขอเจอสักองค์

 

วิ่งไปทั่วโลก วิ่งเป็นร้อยปี ไม่เจอ เจอแต่อะไรอย่างอื่นที่ ..

ก็แล้วแต่ว่า ใครจะจับพลัดจับผลูไปเจอกับอะไรบ้าง

 

ทีนี้ประเด็นคือเวลาที่เราเข้าใจหลักการปฏิบัติ

และแต่ละคนมี background เห็นไหม มีห้อง มีสถานที่

ที่แสดงชัดเจนว่า ไม่ได้ไปไหน อยู่ที่บ้าน บางคนอยู่ในห้องนอน

 

พอเห็นแบบนี้ซ้ำๆ เจนตามากขึ้น จะเปลี่ยนความรู้สึกของเราได้

เปลี่ยนความคาดหวังของเราได้ว่า อย่าหาใครได้ไหม

เอาที่ตัวเอง ใจของตัวเอง

 

มาถึงตรงจุดที่เราสามารถที่จะทำสมาธิ ได้แบบไม่เกี่ยงสถานที่

เราสามารถที่จะเห็นว่า แท้จริงแล้วทั้งหมดทั้งปวงที่เราต้องดู

คือสิ่งที่ปรากฏในกายในใจนี้

 

มาถึงจุดสรุป คือจุดที่เป็นสุดยอดของชีวิตเราที่กำลังเป็นอยู่แล้ว

ที่กำลังจะเป็นไปได้แล้ว

 

ปอย : แค่อยากแชร์เพื่อนๆ ว่า การเข้ามาปฏิบัติธรรม

ปอยมีเป้าหมาย คืออยากเข้ามาเรียนรู้ ปฏิบัติธรรม

 

พอเข้ามาเรียนรู้แล้ว เรารู้สึกว่า ดีขึ้น จิตใสขึ้น กายเบา

และเราไม่ได้กังวลกับอดีต กับอนาคตมากไป ก็เลยอยากปฏิบัติ

และอยากช่วยอาจารย์ ช่วยพี่ตุลย์

คือพยายามจะเผยแพร่ชักชวนคนให้เข้ามา

เพื่อที่เขาจะได้เจอเรื่องดีๆ แบบที่เราเจอค่ะ

อยากเผยแพร่ศาสนาเพื่อให้สืบเนื่องต่อไปค่ะ

 

พี่ตุลย์ : พอเราถึงจุดไหน เราก็จะ เป็นตัวหลัก

เป็นเครื่องช่วยพระศาสดา พระศาสนาอยู่แล้ว

ไม่ว่าเราจะมาถึงไหน ความมีดีที่เราไปถึงตรงนั้น

ก็จะเป็นที่กระจาย เป็นที่ซึมซับให้คนใกล้ตัวเราได้รับรู้

หรือพลอยได้อานิสงส์ไปด้วย ขออนุโมทนานะ

-----------------------------

เจมี่

 

พี่ตุลย์ : ดีแล้วเจมี่ ก็เหมือนกับขึ้นบันไดเลื่อนมาตามลำดับนะ

 

อย่างตอนนี้ พอเราเข้าใจเพิ่มเติมจากครั้งหลังสุดที่คุยกัน

เราเหมือนกับไม่ปล่อยให้ใจแห้งแล้ง

 

อันนี้ คือการสังเกตของเจมี่เลย ที่คอยสำรวจ

พอใจเริ่มห่อเหี่ยว เรามีเครื่องมือที่จะทำความชุ่มชื่นให้เกิดขึ้น

แล้วก็ดีขึ้นทันที

 

แต่เดิม ไล่มาก่อนตอนแรก ใจเราแห้งเหี่ยว

และไม่มีวิธีที่จะเติม ความสดชื่นความสุข

แล้วพอมาเจริญสติ เรามีความชุ่มชื่นมากขึ้น

เสร็จแล้วเราฟังเรื่องอุเบกขา ก็ไปรู้อย่างเป็นกลาง

รู้โดยมีจิตเสมอกันกับลมหายใจ

แล้วก็ไปต่อยอดกับชีวิตประจำวันภายนอก

จนบางที เราไปคิดว่าเราจะมองอย่างเป็นอุเบกขา

 

แต่ทีนี้ มองอย่างเป็นอุเบกขา มองอย่างเฉย ไม่รู้สึกรู้สา

จะไปเข้าพวกกับความห่อเหี่ยวโดยเราไม่รู้ตัว

 

แต่ตอนนี้ มาอีกขั้นหนึ่ง เหมือนขึ้นบันไดเลื่อนมาถึงจุดที่เรารับรู้ว่า

เราไม่ได้ไปพยายามที่จะให้ อยากโน่นอยากนี่

หรือให้อะไรเปลี่ยนแปลงเป็นอะไร

 

โลกภายนอกเป็นอย่างไร โลกภายในอยากได้นั่นนี่ เราจะไม่อยากได้

แต่ขณะเดียวกัน จิตเราที่มีความไม่อยากไม่ดิ้นรน มีความเป็นอุเบกขา

ก็มีความชุ่มชื่นอยู่ด้วย เราสังเกตตรงนี้ออก

 

อย่างในโพชฌงค์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ก่อนสมาธิจะถึงอุเบกขา

ต้องมีปีติ ไม่ใช่ปีติแบบดีใจ ได้ของขวัญ

แต่เป็นปีติที่มีความชุ่มชื่น อิ่มใจ มีความรู้สึกสบาย โล่งอก

รู้สึกว่าเรายังมีกำลังวังชา มีกำลังของสติ

มีกำลังของกาย ที่จะต่อไปได้ในเส้นทางของการเห็นกายใจ

 

ตรงนี้ ถือว่าเลื่อนขั้นมาอีกขั้น ซึ่งโอเค

พอเราจับจุดตรงนี้ถูกก็มีอะไรให้ดูต่อ

ว่าที่จะเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆ ส่วนเป็นตัวเป็นตน

เป็นของๆ เราเป็นที่ยึดมั่นถือมั่น

 

หรือจะมองเห็นว่า ที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้

จะเป็นกายนั่งคอตั้งหลังตรงก็ดี ลมหายใจก็ดี

จะเป็นความรู้สึกชุ่มชื่นขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ดี

ตรงนี้เราสามารถเห็นได้ไหมว่า มันประกอบพร้อมกัน โดยความเป็นธาตุหก

แล้วรับรู้ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ค่อยๆสังเกตไปเรื่อยๆ

 

เจมี : ตอนนั่งทำอยู่ก็เห็นว่า มีตัวตนตัวหนึ่งที่เกิดขึ้น

เห็นว่าในสมาธิที่ดีๆ ก็มีตัวเราอยู่ในนั้นค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ขอให้แต่ละท่านดูด้วยว่า สำหรับตัวเองเหมาะกับอะไรก่อน

 

เริ่มต้นถ้าหากไม่มีความสุข แล้วเกิดอะไรขึ้นแทน

ถ้าเป็นความแห้งเหี่ยว หม่นหมอง เกิดความรู้สึกว่าใจไม่มีกำลัง

อย่าไปสนเรื่องว่าจะต้องมาอุเบกขา อย่าไปสนเรื่องต้องทำใจเป็นกลาง

เอาให้สุขให้ได้ก่อน ให้มีสมาธิให้ได้ มีกำลังให้ได้ก่อน

 

อย่ายึดตายตัวว่า ต้องรู้เป็นกลาง

ต้องไม่สนใจความสุข ไม่สนใจสมาธิ

แบบนี้จะไปไม่ถึงไหน ถ้าหากเหมาตายตัว

 

แต่ถ้าหากเราเข้าใจ ภาพรวมจริงๆ ว่า

อะไรควรเกิดก่อน อะไรที่ควรตามมาทีหลัง เราจะเห็นเลย

 

อย่างเจมีบอก บางทีพอมาสนใจความสุขใหม่

เหมือนมีตัวตน เหมือนมีสมาธิแบบที่เอาความสุขขึ้นมา

แต่ถามว่า ถ้าไม่มีความสุขแบบนี้ แล้วไปที่ไหน

จะกลับไปหาความแห้งเหี่ยวอย่างนี้ ไม่เอา

 

ความแห้งเหี่ยว ถ้าคุณมาเจริญสติ ทำสมาธิ

แล้วมีความแห้งเหี่ยวเป็นพื้น ไปไม่ถึงไหนแน่นอน

 

อย่าไปเชื่อว่าความแห้งเหี่ยวเป็นของดี หรือท่องไว้ว่า ต้องเป็นกลาง

 

เป็นกลางแล้วแห้งเหี่ยวนี่ ตกเหวได้ ไม่รอดได้

 

เจมี : ประมาณนั้นค่ะ คือแค่ดูว่า เดี๋ยวมันก็หาย เดี๋ยวมันก็เกิด

 

พี่ตุลย์ : เอาเป็นว่าวันนี้ มันเลื่อนระดับขึ้นมา

มีความเข้าใจมากขึ้น และทำได้จริงมากขึ้น

 

ส่วนตรงที่ว่า สุขไปแบบนี้มากๆ จะไปติดหรือเปล่า

อย่าเพิ่งสนใจ สนใจแค่ว่าให้มีกำลังก่อน

 

แล้วพอมีกำลัง ค่อยมาดูอะไรโดยความเป็นกลางอีกที ทีหลังนะ

----------------------

น้ำอบ

 

พี่ตุลย์ : วันนี้กลับมาผ่องแผ้วได้เกือบๆ top form แล้ว

ตอนเรามีความผ่องแผ้วได้ สังเกตง่ายๆ เลย

ความวกวน ความคิดในหัว จะไม่ค่อยมารบกวนเท่าไหร่

 

แล้วพอจิตมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ จะพร้อมแยกอยู่แล้ว

จิตของเรา กายของเราเป็นคนละส่วนกัน

 

ทุนเดิมเราดีใช้ได้ ขอแค่ว่า ทำอย่างไรให้เข้าจุดเป็นสมาธิ

มีความผ่องแผ้ว จิตมีความเสมอกับลมหายใจ จิตมีความผ่องใส

รู้สึกว่าตัวเองเป็นธรรมชาติ เป็นภาวะอย่างหนึ่ง

และภาวะทางกายเป็นอีกภาวะ เป็นธรรมชาติอีกแบบอยู่ต่างหากจากกัน

จะรู้ได้เอง ต้นทุนเก่าเรามีอยู่แล้ว

 

พอมีขอบเขตการรับรู้ที่สบาย ใส สว่าง เราก็รู้ว่านั่นแหละ

ตัวนี้ที่เป็นอาการปรุงแต่งทางจิต

 

เราเห็นความปรุงแต่งทางจิตได้ ที่เหลือนี่ง่ายเลยนะ

เพราะว่า หลังจากที่จิตมีความว่าง มีความเบา มีความสว่าง ขยายออกไป

สติ จะรับรู้ได้ง่ายๆ ว่าเ มื่อไหร่จิตจะมีความแตกต่างไปทั้งขาขึ้นและขาลง

 

มีความแตกต่างขาขึ้น คือสว่างขึ้น จ้าขึ้น มีความว่าง

ขยายขอบเขตไปกว้างขึ้น อย่างนี้เรียกขาขึ้น

 

ขาลงคือ บางที บางจังหวะ ความสว่างดรอปลง

ความรับรู้แคบลง คือจะมีอะไรปรากฏอยู่ให้รับรู้ได้

ว่าจิตเรากำลังเป็นอย่างไร ในแต่ละลมหายใจ

แค่นี้ จะง่ายแล้ว

 

ขั้นแรกขอให้มาถึงตรงนี้ รู้สึกว่า กายกับใจเป็นคนละส่วน คนละภาวะ

จากนั้น เห็นภาวะของผู้รู้ผู้ดู ต่างไปเรื่อยๆ ง่ายๆ แค่นี้เองสำหรับน้ำอบ

 

แล้วจะรู้ชัดลงไปเป็นขณะๆ เลยว่า ภาวะทางกายกำลังเป็นอย่างไร

ภาวะทางจิต กำลังสว่างไสว หรือว่ากำลังดรอปลง

กำลังใสแบบไม่มีอะไรกั้นขวาง หรือกำลังขุ่นแบบที่เหมือนมีกำแพงภายใน

 

น้ำอบ : ช่วงก่อนเข้าวุ่นมากค่ะ ทั้งงานทั้งโทรศัพท์

แต่พอนั่งปุ๊บ แล้วไกด์มือ จะเหมือนเห็นวิตักกะ ตั้งแต่ทำท่าแรกเลยค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ถ้ามีงาน มีอะไรต้องคุย เสร็จแล้วเราอาศัยตรงนั้น

เป็นเครื่องดู เครื่องฝึก เป็นจุดอ้างอิงว่า

ณ เวลาที่เราจะต้องมีความขุ่น

ณ เวลาที่เราจะต้องคิดตามคำพูดของคนอื่น

หรือคิดคำพูดเราเองเพื่อสื่อสาร

เห็นความขุ่นเป็นขณะๆ ได้

แต่เราไม่เอาความขุ่นต้องนั้น

 

ใจเราไม่ไปข้อง ไม่ไปติด ไม่ไปพะวง

ก็จะเห็นเลยว่า กลับมาใช้มือไกด์ปุ๊บ มีวิตักกะ วิจาระ

จิตจะไม่ไปไหน กลับมาอยู่กับ วิตักกะวิจาระ รู้อยู่กับลมหายใจ

 

พอไปเรื่อยๆ ของน้ำอบก็อย่างที่เห็น

พอจิตเราตั้งมั่นเป็นสมาธิ จะเหมือนไม่ต้องตั้งใจ

จะแยกเอง กายอยู่ส่วนกายข้างหน้า และใจอยู่ข้างหลัง

 

ยิ่งเราเห็นแบบนั้นชัดขึ้นเท่าไหร่ เราจะยิ่งมีความสามารถเห็นว่า

จิตเราใจเรา ต่างไปอย่างไร

 

ถ้าขาขึ้นคือขยาย ขาลงคือแคบลง เห็นแค่นี้

เอาแค่นี้เลยก็สามารถที่จะตัดสินได้

ไปถึงจุดที่มีกำลังมากพอจะบอกได้ว่า

นี่ไม่ใช่กายของเรา นี่ไม่ใช่ใจของเรา

เป็นแค่ภาวะของธรรมชาติ ที่มาประกอบกันชั่วคราว

 

น้ำอบ : จากรายการกรรมพยากรณ์ มีน้องมาปรึกษาขอให้ช่วย

เขาเป็นร่างทรง แล้วเขาไม่อยากรับ

ก็อยากจะเดินในทางที่ถูกต้องเราจะแนะนำเขาอย่างไร

 

พี่ตุลย์ : เรื่องร่างทรงนี่ ถ้าใครไม่เข้าใจก็จะมองว่า

อย่าไปยุ่งสิ เดี๋ยวมันก็ออกมาเอง

 

บางคนไม่ใช่แบบนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเคยเป็นบริวารเทพมาก่อน

แล้วลงมาด้วยการตกลงกัน ให้สัญญากัน ซึ่งในไทยเยอะมาก เป็น target

เพราะเทพผู้ใหญ่บางที ไม่อยากลงมาเอง แต่อยากให้บริวารลงมา

แล้วท่านมาช่วยชาวบ้าน ก็เป็นการช่วยชนิดหนึ่ง

แต่ครึ่งเดียวคือให้คนอื่นมา แล้วก็เอาความดีของตัวเองมาเผยแพร่

 

ซึ่งก็ไม่ได้ว่ากันนะ ไม่ได้ว่าอะไร แต่มีอย่างนี้จริงๆ

แล้วพี่ก็เคยประสบพบเห็นคนประเภทนี้ที่ว่า ไม่ยอมไม่ได้

ตอนแรกไม่เชื่อ และไม่มีอะไรที่จะมีวี่แววเลยว่า ตัวเองต้องเป็นร่างทรง

แต่พอถึงเวลาเขามาทวงสัญญา ปฏิเสธนี่ถึงขั้นแบบว่าโดนบีบคอ

 

น้ำอบ : น้องเขาป่วยเลยค่ะ

 

พี่ตุลย์ : พี่เคยเจอขนาดที่ว่า อยู่ในลิฟต์ ถึงกับหายใจไม่ออก

เหมือนมีมือมาบีบคอชัดๆ .. ตรงนี้ที่เกิดได้เพราะก่อนเกิด

ไปตกลงกันไว้ เพราะฉะนั้นเขามีกรรมสิทธิ์ในบริวารเขา

 

ถึงได้บอกนะ ที่บางทีไปขอเจ้าที่เจ้าทาง หรือไปขอตามอะไรใหญ่ๆ

ที่เป็นเจ้าใหญ่ๆ ขอโน่นขอนี่ แล้วได้ทันใจ ได้ผลจริง

แล้วประสามนุษย์ธรรมดาก็นึกว่าดีจัง มีเทพมาโปรด มาช่วย

แต่หารู้ไม่ ทุกครั้งที่ไปบนบานศาลกล่าว

ทุกครั้งที่ไปขอความช่วยเหลือจากใคร เราไม่รู้เลยนะว่า

คนที่ช่วย ขบวนการที่มาอยู่ตรงนั้น ต้องการอะไรตอบแทนจากเรา

เป็นมนุษย์ตาดำๆ ไม่มีสิทธิ์รู้เลย

 

แล้วอย่างประเภทที่ เคยเป็นบริวารเทพมาก่อน

แล้วมาเกิดโดยการถูกสั่งให้มาเกิดเพื่อเป็นร่างทรง

พูดจริงๆนะ คือไม่ใช่ง่ายๆ ที่เราจะไปแก้ตรงนั้น

 

แต่ก็มีวิธีอยู่ ขึ้นกับว่า เราสามารถแลกเปลี่ยน

หรือจะไปทำให้ท่านมีความพอใจพอ ที่จะให้เราเป็นอิสระหรือเปล่า

 

เหมือนการเลิกทาส ถามว่าคนเป็นเจ้านาย ปลดปล่อยได้ไหม .. ได้

แล้วสมัยก่อนพูดแค่คำเดียวว่า ต่อไปนี้ไม่ต้องเป็นทาสแล้ว

ใจก็หลุดเลย แล้วรู้สึกว่าตัวเองสามารถไปไหนมาไหนได้

 

แต่ถ้าหากว่าคนเป็นเจ้านาย ไม่ยอมบอกด้วยคำพูด

สมัยก่อนจะรู้สึกราวกับเป็นเจ้าชีวิต บอกว่าหนีไม่ได้ หลบหนีไปนี่ถึงตาย

หรือแม้กระทั่งต่อให้เจ้านายไม่ตามล่า ก็รู้สึกว่าตัวเองไปไหนไม่รอด

 

แต่บริวารเทพยิ่งกว่านั้น คือถ้าจะดื้อดึงหรือไม่เป็นที่พอใจก็มีสิทธิ์ที่จะ .. อย่างที่น้ำอบว่า ถึงขั้นป่วย

 

ทีนี้ ถ้าหากเราต่อรอง อาจแนะนำเขาว่า ท่านอยากให้ทำอะไรก็ทำ

แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เหมือนกับทาส ที่อยากจะอยากได้เงินมาไถ่ตัวเอง  

คือไม่ใช่ทำตามท่านใช้อย่างเดียว รับใช้อย่างเดียว

แต่ไปทำบุญของตัวเอง ในแบบที่ตัวเองริเริ่มเองด้วย

ทั้งในขั้นของทาน ศีล และการภาวนา

 

ถ้าทำบุญในขั้นของการภาวนาได้ ทำเรื่อยๆ ค่อยๆ เห็น ค่อยๆ ดู

ลมหายใจ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา กายสักแต่เป็นธาตุดิน

อย่างที่เราทำๆ กันอยู่

 

เอาแบบทีละนิดทีละหน่อย ค่อยๆ หยอดกระปุกไปเรื่อยๆ

จนถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกถึงความสว่าง จิตสามารถแยกรูปแยกนามได้

 

และมองว่านั่นถือบุญขั้นสูงสุดในจักรวาล

 

ในอนันตจักรวาล ไม่มีบุญขั้นไหนที่สูงไปกว่านี้อีกแล้ว

เราก็บอกว่า ขอให้การเห็นกายใจเป็นรูปนามนี้

จงเป็นบุญถวายแด่องค์ท่าน ทุกวัน

 

หรือถ้าทำได้ทั้งวัน แบบนึกขึ้นได้เมื่อไหร่ว่า

กายใจเป็นรูปนามไม่ใช่ตัวไมใช่ตน ก็ถวายทุกครั้ง

 

คือให้นึกว่าความสว่างที่เกิดขึ้นจากการรู้กายใจเป็นรูปนาม

เป็นก้อนอะไรก้อนหนึ่ง ที่ยกให้องค์ท่านได้

พอทำอย่างนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นครั้ง

ในที่สุดจะถึงจุดหนึ่งที่รู้สึกว่าจิตเป็นอิสระ เหมือนท่านพอใจแล้ว

 

หรือไม่ก็รู้สึกว่าเราไปเกินท่านแล้ว

 จะรู้สึกว่าท่านไม่มีอำนาจเกินเราได้

และตรงนั้นที่จะรู้สึกว่าเป็นอิสระเป็นไทขึ้นมา

เหมือนทาสที่ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นไท

 

เรื่องเข้าเจ้าเข้าทรงมีสองประเภทในไทย

หนึ่งคือสมัครใจ แล้วก็พุ่งตัวเข้าหา

 

กับอีกประเภทคือไม่เชื่อไม่เคยอยู่ในใจเลย

แต่โดนบังคับเพราะเคยตกลงกันไว้

 

ทั้งสองพวกก็คือจะรู้สึกว่า ตัวเองต้องเป็นเบี้ยล่างของใครสักคน

และเวลาที่เราจะปลดปล่อยตัวเอง จากความเป็นเบี้ยล่าง

เอาง่ายๆ เลย ทำบุญขั้นสูงสุด ซึ่งไม่ใช่การให้ทาน การถือศีล

แต่เป็นการภาวนา

 

เมื่อภาวนาจนเห็นกายใจเป็นรูปนามได้

ตรงนั้นจะไม่มีใครมาเป็นเจ้าชีวิตเราได้อีก

 

อาจมีนับถือ หรือต้องยอมตามถ้าเคยเป็นนายบ่าวกันมาก่อน

แต่ไม่ถึงขั้นที่เราเลือกไม่ได้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร

หรือจะให้ไปนิพพานหรือเปล่า

 

เพราะบางเจ้าบางสาย มีนะ ที่พอรู้ว่าไปเจอพระดี ครูบาอาจารย์ดี

ที่จะพาไปนิพพาน มาล็อคตัวไว้ก็มี คือให้เห็นว่ามาล็อคตัวไว้

 

ถ้าไม่เจอด้วยตัวเองจะไม่เข้าใจ แต่นี่เคยเห็นกับตามาเลย

เลยเข้าใจว่ามีเรื่องพวกนี้อยู่

 

ฉะนั้น สำหรับท่านที่จะไปบนบานขอโน่นขอนี่ คิดซ้ำนะว่า

จะมีไหมในจักรวาลนี้ ที่จะได้อะไรมาโดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน

ต้องมีการแลกเปลี่ยนบางอย่างเสมอ

 

ถ้าไม่ตัวเราลงแรง ก็เขาหรือท่านให้มาแล้วเราต้องไปชดใช้

 

น้ำอบ : อย่างกรณีที่พวกชอบไปบน แล้วบอกจะแก้บนด้วยโน่นนี่

อันนั้นล้างกับการแก้บนได้ไหมคะ แต่ส่วนตัวไม่เคยบน

 

พี่ตุลย์ : ก็ได้นะ แต่ต้องตอบแทน เอาอะไรไปให้ตามสัญญา

และให้ในแบบที่ว่า ให้เกินกว่าที่ตกลงไว้

เสร็จแล้วก็ตั้งใจว่า ต่อไปนี้จะ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ

พึ่งพาตัวเองด้วยความตั้งใจที่เด็ดเดี่ยว

 

คุณพงศ์บอกว่า เทวปุตตมาร.. ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นมารนะ

เป็นเทพดีๆ แล้วเทพนี่มีหลายแบบ

ไม่ใช่เทพสัมมาทิฏฐิแบบพุทธอย่างเดียว

สัมมาทิฏฐิแบบโลกียะ ในศาสนาอื่นลัทธิอื่นก็มี

ไม่ใช่เทวปุตตมาร เป็นพวกมารอย่างเดียว

 

มารคือพวกตั้งใจขวาง และพวกนี้มีหลายแบบ

คำว่าขวางนี่ ก็ขวางตามความเชื่อนั่นแหละ

โดยมีความเห็นแก่ตัวทางความเชื่อมาก่อน

แต่อาจเป็นคนดี ให้ทานไว้เยอะ ช่วยคนไว้เยอะ

พวกนี้ไปเป็นเทวปุตตมาร หรือไปเป็นธิดาพญามาร

 

แต่พวกเข้าร่างทรง ไม่จำเป็นต้องเป็นมารเสมอไป

บางทีเป็นเทพอีกเหล่าอีกนิกาย ไม่เกี่ยวกับพุทธเลย

แต่มาอยู่ร่วมสมัยกับพุทธก็พยายามกลืนกิน

เอาโลโก้พุทธมา บอกเป็นพระพุทธเจ้าบ้างอะไรบ้าง

แอบอ้างเยอะ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นมารเสมอไป เทพดีๆ ก็มี

 

ก็แจกแจงไว้เพราะเรื่องพวกนี้บางที sensitive นะ

แต่ก่อนก็มองไม่เห็น ถ้าไปพูดถึงหรือไปอะไรด้วยใจที่แรงๆ

บางทีก็มีการเชื่อมต่อโดยเราไม่รู้ตัว

 

ทุกคนนะ บอกไว้ ต้องระวังนิดหนึ่ง

 

น้ำอบ : โดยส่วนตัวมีช่วงหนึ่งที่ชีวิตเจอวิกฤต

ก็มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับเรื่องพวกนี้ คือเห็นร่างที่ผ่านมาหาเรา

ช่วงนั้นคือนั่งสมาธิก่อน พอจิตรวม ก็เหมือนมีเข้ามาสั่งให้เราทำโน่นทำนี่

ที่จำได้คือสิ่งที่ผ่านตัวเอง เป็นเหมือน เจ้าแม่กวนอิมปางพันมือ

แล้วมือก็ร่ายรำ คือเราเห็นหมด แล้วสภาวะตอนนั้นเราก็รู้

เห็นว่าเราทำอะไร แต่หยุดไม่ได้

ก็ดูไปเรื่อยๆ มีทั้งงู พญานาคมาผ่านร่าง ตอนที่เราเข้าไปตรงนั้น

 

แต่ถึงจุดหนึ่ง ใจรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่ทาง ไม่ได้ทำให้เราพ้นทุกข์

ไม่ได้ทำให้เรารับมือกับปัญหาได้ ก็เลยถอยตัวเองออกมา

 

พี่ตุลย์ : พี่ก็จะบอกน้ำอบเหมือนกันว่า ทางนี้เราก็มีเชื้ออยู่

และในอดีตเราเคยใช้ร่างทรงคนอื่นด้วย คือเราเคยมีบารมีขนาดนั้น

พูดง่ายๆ เป็นเจ้าแม่มาก่อน จะรู้สึกว่าเราเป็นคนพวกมีบริวาร

 

แต่ตรงนี้ ท่านเหนือกว่าเรา แล้วเหมือนกับ

เนื่องจากเราเคยใช้ channel เคยอยู่ในวงจรพวกนี้มา

ท่านก็อยากเข้ามาบ้าง

 

แต่ของเราเป็นพวกมีสิทธิ์ตัดสินใจว่า จะเอาไม่เอา

พูดง่ายๆ ก็คือว่า ถ้าน้ำอบสามารถ.. ใจของเรานิ่ง

และช่วงนี้เป็นช่วงดีที่สุดอยู่แล้ว พยายามอย่าไปข้องเกี่ยวอะไรกับโลกๆ มาก

ให้มาข้องเกี่ยวกับกายใจเรา แล้วก็ให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้

แค่ไม่นานหรอก ให้มีสมาธิอยู่กับกายใจตัวเอง

และอยู่กับอาการที่เราจำได้อยู่แล้วว่า พอมีสมาธิ

จะเหมือนกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจอยู่ส่วนหนึ่ง

 

ดูอย่างนี้ ไปมากๆ แล้วก็สนุกอยู่กับตรงนี้ มีฉันทะ พอใจอยู่กับตรงนี้

จะเลือกได้หมด เราเป็นประเภทเลือกได้

 

ของบางคนน่าเห็นใจ อินทรีย์ บารมีอ่อน เลือกไม่ได้ โดนฉุดไปตามแรง

ของเราเลือกได้ เพราะฉะนั้นเลือกเสียว่า

ต่อไปเราจะไม่ไปข้องเกี่ยวอะไรกับ channel พวกนี้

แล้วก็ให้จิตเรา มาอยู่กับการรู้รูปนามอย่างเดียวไปเรื่อยๆ

ในที่สุดจะขาดจากความเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้

ถ้าจะมาก็มาแบบดีๆ แบบคุยกัน ไม่ใช่มาอาศัยร่างกัน

-------------------

วรรณ

 

พี่ตุลย์ : ตรงที่ทำได้อยู่นี่บางที บางวันจะเบา

แต่บางวันจะมีอะไรหนักๆ ขึ้นมาในหัว

แล้วบางทีอยู่ในชีวิตประจำวัน ช่วงนี้บางทีจะรู้สึกงงๆ

เช่น อยู่ในระหว่างวันจะทำอย่างไรให้ก้าวหน้า

หรือบางทีเราเจอเรื่องราวอะไร ตัดสินใจไม่ถูก

คล้ายๆ อึ้งๆ งงๆ อยู่ว่า จะให้โลกไม่ให้ช้ำ ธรรมไม่ให้เสียได้อย่างไร

 

ความรู้สึก เหมือนกับครึ่งๆ กลางๆ ค้างๆ งงๆ ในหัว ..

เอาแบบนี้ดีกว่า ถ้าเราจะให้รู้สึกเคลียร์ โล่งจริงๆ

ควรจะเดินจงกรมด้วย เดินจงกรมแบบครึ่งๆ กับการนั่งสมาธิ

ไม่ควรนั่งสมาธิอย่างเดียว

 

 

และระหว่างวันเวลาเกิดอะไรที่เหมือนงงๆ ทึบๆ ในหัว

ให้ฝึกที่จะหายใจช่วยว่า หายใจครั้งนี้ทึบๆ

และหายใจครั้งต่อไป ค่อยยังชั่วขึ้นไหม โล่งขึ้นไหม

 

หรือเดินไปรอบๆ ไม่ต้องเดินจริงจังเป็นจงกรม

แต่เดินไป เดิ่นเล่นๆ รู้เท่ากระทบ จะรู้สึกเคลียร์ขึ้น

ใจจะกลับมาโล่ง มาเบา

 

เพราะที่ผ่านมาเหมือนกับครึ่งๆ กลางๆ อยู่กับโลกอยู่กับธรรม

จะเหมือนกับ ระหว่างวัน จะงง บ่อยๆ ใช่ไหม (ใช่ค่ะ)

เหมือนจะมีอะไรทึบๆ ขึ้นมา ไม่โปร่ง ไม่โล่งเหมือนบางช่วงที่ผ่านมา

 

เพราะฉะนั้นเ ราอาศัยการเดินจงกรม หรือการใช้มือไกด์ระหว่างวัน

ตอนที่ไม่ต้องคุยกับใคร อยู่คนเดียว ทำขึ้นมาเป็นพักๆ ก็เป็นนโยบายที่ดี

-------------------

แพร

 

พี่ตุลย์ : ที่รู้สึกคือว่าตอนนี้ เรานอนดีขึ้น แล้วก็อย่างเมื่อคืน

ถ้าดูไม่ผิด น่าจะใสขึ้น เวลาที่เราเห็นถึงอากาศรอบเตียง

ลองเล่าหน่อยเป็นอย่างไร

 

แพร : ต้องบอกว่า miracle มากๆ พูดจากใจจริงๆ เลยค่ะ

แค่สองวันนี้เห็นความแตกต่างจากทุกอย่างเลยค่ะว่า

เวลานอน แพรไม่ได้ทานยา และทำตาม (ขยับมือตาม) ที่พี่ตุลย์บอกเลย

แล้วร่างกายก็เหมือนมีสภาพเป็นอากาศอยู่แล้วค่ะ

 

คือเวลาหายใจเข้าออก ก็รับรู้ได้ว่า มันเบาแล้วนะ

และความรู้สึกก็เสมอกับอากาศธาตุ

แล้วก็รับรู้ว่าเดี๋ยวจิตจะเข้าภวังค์นะ แล้วแพรก็หลับไป เหมือนจิตสวิทช์ไป

และพอตื่น สติก็เหมือน ปึ้งขึ้นมาเลย หัวโล่ง

เหมือนแค่ลืมตาขึ้นมาก็หัวใสมาก แล้วแพรไปดู ร่างกายก็อยู่ที่เดิม

นอนอยู่ แพรก็เข้ามาดูลมหายใจ หายใจเข้า หายใจออก

แต่ยังนอนอยู่อย่างนั้นนะคะ แล้วก็เห็นร่างที่เป็นอากาศธาตุ

อยู่กับอากาศที่เสมอกัน ก็ยังไม่ได้ลุก ดูต่อ

เห็นจิตที่ว่าง โปร่ง โล่ง  จากนั้นบอกตัวเองว่า จะลุกแล้วนะ ก็ลุก

แล้วรู้สึกโล่งมาก

 

คือตั้งแต่ทำมาก็โปร่งโล่งนะคะ

แต่อันนี้เป็นแบบที่พี่ตุลย์พูดคือ เต็มรอบมากขึ้น

คือพอมาทำสมาธิในช่วงเช้า ฟังพี่ตุลย์ไลฟ์ ก็เดินจงกรม ..

ยานอนหลับไปกดประสาท แต่จิตไม่หลับ

ไม่เคยรู้สึกได้หลับจริงเลยในช่วงปีที่ผ่านมา

 

แต่ครั้งนี้ รู้สึกว่า ถึงนอนน้อย แต่จิตหลับจริง หัวโล่ง

แล้วพอมาทำสมาธิ จะมีความรู้สึกที่ต่างไปเช่น

สว่างขึ้นได้อีก โล่งขึ้นได้อีก ใสได้อีก เลย amazing มากๆ ว่า

แค่นอนให้ถูกต้อง ดูลมหายใจ ใช้มือไกด์ ..

ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดในองค์รวมระหว่างวัน

 

หัวโล่งจนไม่รู้จะโล่งอย่างไรค่ะ พอทำสมาธิก็รู้สึกสดใสกว่าเดิม

 

พี่ตุลย์ : เส้นทางกรรม ความเป็นตัวตนของแพร ซับซ้อน

แล้วก็เหมือนเวลาเราทำสมาธิได้ เห็นกายใจโดยความเป็นธาตุ

เริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่เรา แต่ตัวตนข้างในยังอยู่

แล้วก็การทำงานของสมอง ที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงหลับ

จะรับใช้ตัวตนที่ยังมีอยู่ เอาเป็นว่า เป็นตัวตนที่ค่อนข้างใหญ่

 

ทีนี้พอเรามาเอาสิ่งที่ทำได้แล้ว ระหว่างนั่งสมาธิ และเดินจงกรม

ไปใช้กับการนอนด้วย ฟังก์ชันการทำงานของสมองก็ต่างไป

จากที่ไปรับใช้ .. ข้างในของเราพูดง่ายๆ คือ อัตตาใหญ่มาก

ไม่ใช่อัตตาเล็กๆ ไม่ใช่คนธรรมดา

เราจะรู้ว่า มันซับซ้อนอยู่ตรงนี้

ระหว่างคนที่อัตตาใหญ่ กับอัตตาเบาบาง อัตตาหนา กับอัตตาที่ใส

 

ทีนี้ พอมีความขัดแย้งกันมาก ระหว่างวัน กับตอนนอน

ก็จะปรากฏในรูปที่เราเจอ คือสมองทำงานสับสน ระหว่างเบากับหนัก

จะเอาอย่างไรแน่ หรือยุ่งเหยิงกับเรียบใส

มีความว่าง หรือวุ่นต่างๆ จะสุดขั้วมากๆ

 

โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมา

เราอาศัยมือไกด์ จนรู้สึกถึงความเป็นธาตุได้

ตัวข้างในยังไม่รับ แต่ตัวข้างนอกรับแล้ว

เห็นแล้ว ทำได้เกือบปกติแล้วว่า

จิตใสใจเบาเป็นอย่างไร ธาตุหกเป็นอย่างไร

 

แต่ตัวตนแท้จริงไปปรากฏตอนนอน วุ่นวายมาก

ฝันเราเป็นฝันแบบสับสนสุดขั้ว ซับซ้อน

 

ทีนี้พอเราเอาธาตุหกไปรู้ได้ ณ ขณะที่กำลังจะนอน

ทำให้การทำงานของสมองราบรื่น ต่อเนื่อง

สมูทกับสิ่งที่เราทำได้ระหว่างวัน

ก็เหมือนกับจุดอุดตันที่ค้างอยู่ถูกทะลวงออก

 

ที่รู้สึกโล่งเบา เหมือนไม่มีตัว

ถ้ามองเป็นวิญญาณของเรา เหมือนคนหลายบุคลิก

แล้วก็ถ้าหากว่า เราเจริญสติจนถึงจุดที่ บุคลิกไหนจะถูกกำจัดไป

บุคลิกนั้นจะซ้อน แล้วก็ซ่อนกลอยู่

 

ทีนี้ ถ้าเราทำให้อิริยาบถทั้งสี่มีความเสมอกัน

แล้วสติเราเจริญรุ่งเรืองได้จริงตลอดเวลา

ตรงนี้ ทุกมิติ ทุกตัวตน ทุกบุคลิกจะหายไป

จะค่อยๆ ถูกเจือจาง แล้วถูกมองว่าเป็น สัญญา สังขาร

เป็นการปรุงแต่งจิตชั่วคราว แล้วที่หายไปมันจะหายจริง

 

ในขั้นต่อไป พอเราเริ่มนอนได้เสมอกัน กับนั่งและเดินในระหว่างวันแล้ว

จะมีเรื่องของการมองเห็นจิตตัวเอง

 

การมองเห็นจิตตัวเองที่แท้จริง ไม่ได้เริ่มจาก..

นี่คือ start แล้ว ด้วยการเห็นว่าเป็น วิญญาณธาตุ

เป็นธาตุหนึ่งจากหลายๆ ธาตุประกอบกัน

 

ทีนี้ จะต่อยอดไปได้จริง และเห็นจิตตัวเองชัดขึ้นเรื่อยๆ

ต้องเห็นการปรุงแต่ง ณ ขณะที่ใจว่างจากที่รู้สึกว่ามีตัวใคร

และในขณะที่เราคุยกับคนอื่น จะมีข้างใน ที่เป็นมโนภาพแตกต่างกันไป

 

อยู่กับคนหนึ่งมีมโนภาพหนึ่ง อยู่กับอีกคนมีอีกมโนภาพขึ้นมา

หรืออย่างคุยไลฟ์กันแบบนี้ ก็อีกมโนภาพ จะแตกต่างกันไป

ซึ่งจิตของแพร ไปอยู่กับตรงนั้นจริงๆ และมีมโนภาพแบบนั้นๆ ขึ้นมาจริง

 

พอเรามองเห็นได้ เริ่มนับหนึ่งจากการที่รู้สึกว่า จิตเป็นวิญญาณธาตุ

จิตเป็นแค่ธาตุหนึ่งที่รวมอยู่กับธาตุอื่นๆ ทั้งห้า

แล้วรู้ว่า ตอนไม่มีมโนภาพอะไรเลย ตอนอยู่กับธาตุทั้งห้า

จะเป็นอะไรนิ่งๆ สว่างๆ เฉยๆ อยู่ ใสๆ อยู่

พอเรารู้อย่างนี้ แล้วมีสติรู้เท่าทัน

ตั้งในใจเลยว่า เจอใคร เราคุยกับใคร เห็นใครพูดกับเราอย่างไร

มีมโนภาพอย่างไรก่อตัวขึ้นมา

 

ตรงนี้จะยากนิดหนึ่ง แต่ถ้าแพรคุ้นแล้ว

และรู้สึกหัวโล่งหัวเบาแล้ว แพรจะรู้สึกว่าทำได้

 

แต่ก่อนตอนอยู่ในชีวิตประจำวันอาจยาก

อย่างที่เราเคยคุยกัน ว่าพออยู่ในระหว่างวัน

แพรยังสับสน ยังงงๆ ว่าจะให้ดูอย่างไร รู้อย่างไร

 

แต่ตอนนี้จะงงน้อยลง พอตื่นมาด้วยความที่มีหัวโล่ง ใจเบา สบาย

จะเจอใครก็ตาม จะมีมโนภาพปรากฏในใจเราแบบหนึ่ง ในแต่ละคน

ร้อยคนจะแทบต่างไปหลากหลายแบบ

ซึ่งถ้าเราค่อยๆ ดูไปว่ามโนภาพในใจเราเป็นอย่างไร

แล้วเห็นว่านั่นเป็นแค่ ปฏิกิริยาทางใจ

ที่เกิดจากการปรุงแต่งจากการเจอคนแต่ละแบบ แต่ละชั้นวรรณะ

ตัวนี้ ก็จะค่อยๆ เห็นว่า นั่นสักแต่เป็นการปรุงแต่ง

มโนภาพในใจ ตัวตนเรา เกิดขึ้นทีละขณะ ตามแต่เราจะไปอยู่กับใครที่ไหน

 

ตัวนี้ ที่จะมีพัฒนาการขั้นต่อไป ลองไปดูแล้วมาคุยกัน

 

แพร : หมายถึงที่พี่ตุลย์บอก ถ้าแพรเจอใคร ให้ดูมโนภาพในใจตัวเองเวลาคุยกับเขาใช่ไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : เพื่อให้เริ่มต้นง่าย เพื่อให้ชัดเจน ว่าพี่พูดถึงอะไร

พอเราเจอใคร เราถามความรู้สึกตัวเองก่อน

เราต่ำกว่าเขา หรือสูงกว่าเขา เราเหนือกว่าหรือด้อยกว่าเขา

จะไม่ค่อยมีหรอก ที่พอดีกับเขา

 

เพราะข้างในแพรจะเหมือนคนที่มี signature ของตัวเอง

รู้สึกว่าเราไม่เหมือนใคร เราหาใครที่เหมือนเราไม่เจอ

แล้วก็ตัวนี้จะทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่เคยเสมอกับใคร

ถ้าไม่ด้อยกว่า ก็เหนือกว่า หรือแตกต่าง

 

ตัวนี้ พออยู่ในใจเราปุ๊บ เทียบกับใครปุ๊บ

แล้วเราด้อยกว่า หรือเหนือกว่า เอาตามจริง

ไม่เอาตามที่แบบว่าเราคิดว่าตามอุดมคติ

เราควรคิดว่าเสมอกันอะไรแบบนี้

แล้วจะเริ่มเห็นว่า มโนภาพในใจเราต่างไปเรื่อยๆ ในแต่ละคน

 

ทีนี้ ที่พี่ให้ฝึกคือ ถ้าไม่ต้องคุยกับใคร แล้วเรารู้สึกว่า

นี่ธาตุดิน ส่วนตรงนั้นก็ธาตุดินเหมือนกัน

นี่ก็จะฝึกอีกแบบหนึ่ง ไม่มีการเทียบเขาเทียบเรา

แต่จะมีการเทียบเคียงว่า นี่ธาตุดินนั่นก็ธาตุดินเหมือนกัน

 

แล้วอัตตามานะ จะถูกปรับให้ลดลงมาเสมอกันกับธาตุดิน

 

พูดง่ายๆ มีสองโหมด

โหมดที่เราพร้อมจะดูตัวเอง และคนอื่นโดยความเป็นธาตุดิน

หรือโหมดที่เราต้องคุยกับเขา ต้องมีแน่ๆ ไม่เหนือกว่าก็ด้อยกว่า

และตรงนั้น พอเรารู้สึกอย่างไรขึ้นมา นั่นแหละมโนภาพ

 

มโนภาพอาจไม่ใช่ว่าเราเห็นชัดๆ ว่ามีหน้าตาตัวตนอย่างไร

แต่เรารู้สึกอย่างไร เมื่อเทียบกับเขา ชัดนะ

 

แพร : ชัดมากค่ะ ขอบพระคุณพี่ตุลย์ ที่พูด Amazing มากเลยค่ะ

แพรพูดไม่ถูกว่า ทำไมเราถึงคิดแบบนี้

หรือตั้งแต่เกิดมา แพรรู้สึกสับสนว่า ทำไมเราอยู่เหนือกว่าเขา

แล้วก็ทำไมไม่มีใครเข้าใจแพรเลย

 

ก็เลยคิดอยู่ในใจว่าทำไมเราเป็นคนแบบนี้ ..

คือพูดกับตัวเองในใจนะคะว่า

เอ๊ะ ใจเราใหญ่กว่าเขา แล้วทำไมเขาใจเล็กจัง

หรือทำไมเราอยู่เหนือกว่าเขา ทั้งๆ ที่เขาก็เป็นเหมือนเรา

รู้สึกเหมือนกับว่า ทำไมเรารู้สึกใจเราใหญ่กว่าเขา เสียสละกว่าเขา

แล้วทำไมคนอื่นไม่เหมือนเราอะไรแบบนี้ค่ะ

แล้วแพรก็พูดกับใครไม่ได้ แล้วก็สงสัยว่า ทำไมตัวเองสับสนขนาดนี้

 

พี่ตุลย์ : จะมาถึงที่สิ้นสุดก็ตรงนี้แหละ ความขัดแย้งทั้งปวงนี่นะ

เมื่อเราสามารถที่ จะเห็นตัวเราไม่แตกต่างจากคนอื่น

เป็นธาตุดิน เหมือนกัน

 

แล้วเราก็จะสามารถเข้าใจได้ด้วยว่า

เวลาเราเจอใคร แล้วมีการปรุงแต่งอะไรขึ้นมาในใจเรา

ตรงนี้แหละที่จะกลายเป็นความเข้าใจนะ ว่า

 

ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ความผิดของใครเลย

แต่เป็นการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่รู้ หรืออวิชชา

 

วิชชา ของพระพุทธเจ้านี่แหละ

ที่จะปลดล็อค และปลดปล่อยได้จริงนะ

----------------------

อุบล

 

พี่ตุลย์ : พอมีจังหวะเท้ากระทบอยู่ในใจ เกิดวิตักกะได้หลายๆรอบ

อย่างตอนนี้ คือจะเข้าใจแล้ว

จะไม่เหมือนกับคุณอุบลเดินอยู่ด้วยตัวเองตามลำพัง

 

ทีนี้ให้ข้อสังเกต ตอนที่เราเดินด้วยตัวเองตามลำพัง

แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เหมือนมีอะไรที่เคลื่อนไปเอง

เดินไปอยู่รอบๆ โดยที่ไม่มีใครอยู่ในท่าเดิน

จังหวะนั้นคือวิจาระ

 

แต่ตอนนี้ได้แค่วิตักกะ คือมีตัวเท้ากระทบ

จังหวะเท้ากระทบช้าเร็ว หรือจังหวะเท้ากระทบที่หยุดลง

ตัวนี้เรียกวิตักกะ พอเกิดขึ้นบ่อย เกิดซ้ำมากพอ

ถึงแม้ตอนนี้ จะยังไม่เป็นวิจาระเหมือนที่เราเดินคนเดียว

แต่ก็จะได้สิ่งที่แตกต่างไปจากเดินเล่น

เพราะถ้าเดินเล่น เวลามีความคิดฟุ้งซ่านเข้ามา

เราจะเห็นว่าความคิดนั้นเอาไปกิน

ความคิดฟุ้งซ่านนั้น จะเหมือนกับเขมือบจิตเขมือบใจไปหมด

 

แต่ตอนนี้ ที่มีวิตักกะ จังหวะเท้ากระทบปรากฏในใจเราจริงๆ

เวลามีความคิดขึ้นมา เราจะรู้สึกได้ว่า มันครึ่งๆ

ยังสามารถรู้สึกถึงเท้ากระทบได้ แต่ในใจก็รู้ว่ากำลังคิดอะไร

มีความคิดอะไรโผล่ขึ้นมา

 

ซึ่งถ้าหากเราได้มุมมอง ได้จุดสังเกตว่า ความคิดอยู่บนหัว

ส่วนเท้ากระทบอยู่ข้างล่าง อยู่กับพื้น

แป๊บหนึ่ง จะเห็นว่า .. นี่ อย่างนี้แหละ จังหวะเท้ากระทบ ปรากฏอยู่ในใจ

โดยที่ความคิด กินจิตเราไปเต็มดวงไม่ได้

 

จะมีความรู้สึกว่า เท้าอยู่ส่วนเท้า ความคิดอยู่ส่วนความคิด

และความคิดจะหายไปก่อนเท้า เพราะวิตักกะเรายังทรงตัวดีอยู่

 

พอเราเห็นไปเรื่อยๆ ว่าความคิดโผล่มาตอนไหน

และหายไปตอนไหน ในระหว่างแห่งการมีวิตักกะนี้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาคือ เราจะรู้สึกว่าความคิดไม่ใช่เรา

 

เดิม เวลาที่เราเดินเล่น แล้วมีความคิดโผล่มาครอบงำจิตใจเราได้

โดยไมมีอะไรมาเป็นตัวหาร

เราจะรู้สึกว่าเรากำลังเป็นผู้คิด และความคิดเป็นตัวเราแท้จริง

 

แต่ ณ ขณะที่มีวิตักกะอยู่แจ่มชัด ..

นี่! (การเดินจงกรมของคุณอุบล) มีความคงเส้นคงวาใช้ได้เลยนะ

แล้วความคิดโผล่มา ก็จะหายไป

ใจยังมีจังหวะเท้ากระทบแปะๆ อยู่ไม่ขาด

 

จะทำให้ความคิดกลายเป็นของแปลกปลอม

เป็นของอื่นที่จรเข้ามาแป๊บหนึ่งแล้วหายไป

 

อย่างบางทีจะเกิดความรู้สึกว่า ใจว่างๆ ขึ้นมาใกล้เคียงกับวิจาระ

แต่รู้แหละ ว่าเวลาที่เดินคนเดียว จะมีวิจาระมาเรื่อยๆ

 

อันนี้อยู่หน้ากล้อง เลยมีความคิดโผล่มาเยอะหน่อย

แต่แทนที่จะให้เสียเที่ยวนะ ทุกครั้งที่ความคิดโผล่มา

ใช้ให้เกิดประโยชน์ เราจะเห็นเทียบเคียงว่า

เท้ากระทบก็อย่างหนึ่ง ความคิดก็อย่างหนึ่ง คนละส่วนกัน

และเห็นว่าความคิดอยู่ไม่นาน แต่เท้ากระทบที่อยู่ในใจเรา

เราตั้งใจที่จะรู้มัน อันนี้จะอยู่นาน

 

ฉะนั้น สิ่งที่อยู่ได้ไม่นาน อยู่ได้แป๊บเดียว

จะแสดงความไม่เที่ยง แสดงความไม่ใช่ตัวเราได้ง่ายกว่า

 

รู้สึกตามไหม เมื่อกี้ตอนที่เห็นว่าความคิดหายไป

จะรู้สึกเหมือนใจว่างๆ ข้างบนว่าง ข้างล่างชัด

 

อุบล : เห็นแค่นิดเดียวเองค่ะ แล้วไม่ชัดเจน

แต่เห็นลักษณะของการที่ว่า เท้ากระทบใจ

แล้วความคิดอยู่ข้างบน แล้วก็หายไป เห็นชัด

 

พี่ตุลย์ : ตรงนี้แหละ ขอแค่ตรงนี้

 

จริงๆ แล้วพี่รู้ว่าเวลาที่เดินตามลำพัง จะมีความรู้สึกนิ่งว่าง

และรู้ถึงเท้ากระทบได้ต่อเนื่องกว่านี้

 

แต่มีประโยชน์ทั้งสองอย่าง

ตอนที่เรารู้สึกถึงเท้ากระทบได้ชัดเป็นเวลานานๆ

ก็จะเป็นการบ่มกำลังของสมถะให้มีความพร้อมรู้

 

แต่อย่างเมื่อกี้ตอนชี้ให้ดูว่า ความคิดโผล่มาอยู่ส่วนหัว

แล้วแตกต่างจากเท้ากระทบ ที่เกิดขึ้นอยู่เบื้องล่าง

 

ตรงนี้พอเกิดความชินเกิดความชำนาญที่จะเห็นไป

ก็เกิดความรู้สึกว่า ความคิดไม่ใช่ตัวเราขึ้นมา

 

อย่างเมื่อกี้คุณอุบลบอกว่านิดเดียว แต่นิดเดียวนั้นมีความหมายมาก

ถ้าเกิดขึ้นทุกวัน จะเปลี่ยนเป็นถี่ขึ้นๆ จนกระทั่งเป็นจริงเป็นจังว่า

ณ ขณะเดิน ไม่มีตัวใครเดิน

 

และ ณ ขณะเดิน เวลามีความคิดโผล่มา

จะมาในฐานะสิ่งแปลกปลอม ที่จรมาแป๊บเดียว

ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่งที่ จะมายึดจิตยึดใจเรา

ให้รู้สึกคล้อยตามว่า จิตใจนี้เป็นมัน

 

ตัวนี้ สรุปว่า ถูกทิศถูกทาง ดีทุกอย่าง

จะค่อยเป็นค่อยไป จะไปบวกกันกับตอนที่คุณอุบล

นั่งรู้ลมหายใจ เจริญอานาปานสติ จะมาบวกกันพอดี

และเราจะรู้สึกได้ว่า ตอนได้สมาธิ

จากการเจริญอานาปานสติ ในขณะนั่งหลับตา

แล้วมาเดินจงกรม รู้ว่าความคิดก็ส่วนหนึ่ง จังหวะเท้ากระทบก็ส่วนหนึ่ง

จะมาบวกกันพอดีตรงนี้ รู้สึกว่าใจว่าง จากความยึดว่าความคิดเป็นตัวเรา

 

แล้วพอว่างอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พอความคิดจรมา

จะเห็นเองเป็นอัตโนมัติว่า ความคิดเหมือนเศษฝุ่นเศษทราย

ซากภาวะที่ลอยมากระทบแล้วหายไป โดยไม่มีอะไรติดค้างอยู่

 

คือจะดีตรงที่ คุณอุบลสังเกตในระหว่างวันอยู่แล้ว

ว่ามีอะไรมาค้างคาในใจเราบ้าง

และจะรู้เป็นธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า

อิริยาบถก็อย่างหนึ่ง ลมหายใจ ก็อย่างหนึ่ง ความคิดก็อย่างหนึ่ง

 

อันนี้ พูดไว้ให้ครอบคลุมว่า การปฏิบัติ ณ ขณะปัจจุบันเรา อยู่ประมาณนี้

เราเอาอยู่ในขอบเขตแค่นี้ก็ใช้ได้

 

อนุโมทนานะ ถือว่าเจริญรุ่งเรืองขึ้นทุกวันๆ

----------------------

น้าธิดา

 

พี่ตุลย์ : รู้สึกถึงความเป็นกาย ลมหายใจ ได้ต่อเนื่อง

ที่ทำมาคงเส้นคงวาดีนะครับ

ทีนี้ถ้าเรารู้สึกว่า กายก็อย่างหนึ่ง ลมหายใจ ก็อย่างหนึ่ง

และความนุ่มนวล ความสุขที่เกิดขึ้นก็อีกอย่าง

 

ที่ผ่านมา ผมไม่ได้พยายามให้พี่ออกมาจากตรงนี้นะ

คือเข้าใจดีว่า ของพี่อาจต้องการกำลังนิดหนึ่ง

เพราะฉะนั้น อยู่กับความสุขในการหายใจไปได้นี่ดีแล้ว

และเห็นว่า ถ้าเราหายใจได้นิ่มนวล หายใจได้ช้า มีสติที่รู้ชัด

เกิดความรู้สึกเบา เกิดความรู้สึกโล่ง

เกิดความรู้สึกว่า ข้างในมีกำลังมากขึ้น ดีขึ้น เอาแค่นี้ผมพอใจแล้ว

 

ธิดา : รู้สึกใจนิ่งๆ เฉยๆ แต่อีกใจก็มีเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง

แต่ก็ไม่แรงทั้งสองอย่าง เรื่อยๆ เฉื่อยๆ เหมือนคนไม่มีความรู้สึก

อยากทราบว่า ที่นิ่งๆ อยู่คือการทำสมาธิหรือเปล่าคะ

 

พี่ตุลย์ : อย่างเมื่อกี้ที่บอก พอพี่มาถึงตรงที่ รู้สึกลมหายใจได้ มีความสุข

แค่นี้ในมุมมองผม ที่เห็นพี่มา แค่นี้ผมพอใจแล้ว

 

เพราะเดิมใจพี่แกว่ง แกว่งขึ้นลง และเอาแน่นอนไม่ได้มากกว่านี้เยอะ

ถ้าพี่มาอยู่กับท่าสองนี้ได้เรื่อยๆ แค่นี้ดีแล้ว โอเคแล้ว

 

ตอนนี้ยังขอต้องสะสมกำลังมากกว่านี้อีกระยะหนึ่ง

ถึงจะเห็นโดยความเป็นภาวะได้

 

ตอนนี้ ใจพี่มีสองแบบนะ สองโหมด

พอคิดขึ้นมา ตัวตนเอาไปกินทันที

ยึดมั่นถือมั่นในความคิดรุนแรง เกินกว่าที่

กำลังสติจะไปรับรู้ได้ว่า ความคิดอยู่ส่วน ความคิด

ความสุข อยู่ส่วนความสุข ลมหายใจ อยู่ส่วนลมหายใจ

 

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ พี่อย่าเพิ่งไปคาดหวังอะไรที่เป็นวิปัสสนา

อย่าไปพยายามหาทางว่า ทำอย่างไรจะมองให้เห็นเป็นสภาวะให้ได้

เพราะที่ผ่านมา ตลอดมา พี่เป็นคนที่ยึดมั่นถือมั่นความคิดแรง

เกินกว่าที่กำลังตอนนี้จะไปแยกออกว่า

นี่ความคิดกุศลมา นี่ความคิดอกุศลมา ไม่ใช่ตัวเรา

 

พอมาปุ๊บ มันเป็นเราเสมอ

 

แต่ถ้าหากพี่สะสมกำลังในแบบที่กำลังทำอยู่นี่เลย

มีความเห็นว่า ลมหายใจยาว มีความสุขเกิดขึ้น

เนื้อตัวสบาย ใจไม่วอกแวกไปไหน

อยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ สักพัก

 

เอาเป็นว่า อาทิตย์สองอาทิตย์ถัดจากนี้

แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ความสุขเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ถ้าหายใจยาว หายใจดี จะมีความสุขมาก อย่างที่พี่จะรู้สึกเป็นระยะ

 

แต่ถ้าหาก หายใจสั้น หรือเกิดความเมื่อยขบในร่างกาย

จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาแทน

 

พอเรามีสติอยู่กับการรับรู้เหตุปัจจัยตามนี้ ไปเรื่อยๆ สักพัก

ถึงจะเริ่มมีกำลัง และใจเราจะเริ่มยอมรับว่า

สุข เกิดจากเหตุปัจจัยหนึ่ง

และ ทุกข์เกิดจากเหตุปัจจัยอีกแบบหนึ่ง

 

ตรงนั้น ถึงจะเริ่มไปเห็นว่า ความคิดที่จรเข้ามา เป็นกุศล

ความคิดที่จรเข้ามาเป็นอกุศล

แยกต่างหากจากลมหายใจ และความสุข เข้าใจไหมครับ

 

ธิดา : นึกขึ้นมาได้อย่างหนึ่งว่า เหมือนแบกอะไรบนบ่า

บนหลัง บนไหล่ เต็มไปหมดที่หนักๆ

 

พี่ตุลย์ : ที่พี่ทำ ผมดูตลอดหลายครั้ง

คือยังมีความรู้สึกว่า พี่มีความสุขกับการทำได้อยู่

ซึ่งตรงนี้เพียงพอ ที่จะสะสมกำลังให้สติ มาอยู่กับตัวมากขึ้น

และที่พี่รู้สึกว่า ที่แบกอะไรมา อย่าเพิ่งไปสนใจ

อย่าเพิ่งไปดูโดยความเป็นสภาวะ อนัตตา

 

เอาสะสมกำลังตรงนี้ก่อน ทั้งในแง่ของสุขภาพของพี่

ที่อาจไม่พร้อมตั้งสติที่เห็นอะไรละเอียด

และในแง่ของการยึดมั่นถือมั่นที่ผ่านมา ค่อนข้างจะเยอะ

 

ถ้าช่วงนี้ เอาสักสองอาทิตย์ พี่รู้แบบนี้ไปอย่างเดียว

ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น เอาแค่ลมหายใจ ที่สบาย มีความสุข นิ่มนวล

ทำให้เกิดกำลัง แล้วถึงจุดที่มีสติพอจะรู้สึกได้ว่า

ลมหายใจ ที่เป็นสุข ทำให้มีความสุข

ลมหายใจ ที่เป็นทุกข์ ทำให้ทุกข์ เป็นแค่สภาวะหนึ่ง

 

เอาแบบนี้ แล้วอีกสักสองอาทิตย์เรามาดูกันว่า

พอไปถึงจุดนั้นแล้ว จะค่อยเห็นอะไรยกระดับขึ้นไปได้มากกว่านี้แค่ไหน

 

แต่ตอนนี้สองสามอาทิตย์นี้ ขอว่า พี่ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเลย

ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ยิ่งบ่อยเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น กำลังจะได้มากขึ้นๆ

 

ถ้าตอนนี้พี่ไปพิจารณาสภาวะ โดยความเป็นกุศล หรืออกุศลก็ดี

โดยความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันจะไม่เชื่อ สติจะไม่ทัน

แล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับ ที่ผ่านๆ มา คือ

รู้ไปแล้วสูญเปล่า รู้ไปแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น

 

แต่ถ้าหากว่าช่วงสองสามสัปดาห์ ไม่ทำอย่างอื่น

ไม่พิจารณาอะไรทั้งสิ้น รู้แค่ลมหายใจ เข้าออกอันเป็นที่สบาย

แล้วเกิดความสุข ปีติอะไรขึ้นมา ไม่คิดไม่พิจารณาอะไรทั้งสิ้น

สองสามอาทิตย์ค่อยมาดูกันว่าจะยกระดับต่อไปอย่างไร

 

ธิดา : มีโอกาสหรือเปล่าที่จะทำได้อย่างที่คุณตุลย์สอนวันนี้

 

พี่ตุลย์ : อย่างที่ผ่านมา อาจปลอบใจบ้างให้กำลังใจบ้าง

แต่คราวนี้พูดจริงๆ ถ้าพี่ทำแบบที่ผมว่า ทำท่าสองนี้ไปเรื่อยๆ

ทำได้ทั้งวันยิ่งดี แต่แล้วแต่กำลัง อย่าไปฝืน

ถ้าจะต้องนอนก็แค่ยกมือ (ท่าฝ่ามือไกด์ตอนนอน)

ทุกอิริยาบถ เอาแบบนี้เลย เท่าที่เห็นจะมีกำลังมากขึ้น

 

และถ้ามีกำลังมากขึ้นถึงจุดหนึ่ง จนเห็นจริงๆ ว่า

สภาวะทั้งกุศลและอกุศลที่เข้ามา ไม่ใช่ตัวเรา อย่างนี้มีสิทธิ์

แต่ตอนนี้ยังไม่มีสิทธิ์ ณ วันนี้เลย

 

ถ้าพี่ไปมองว่า ความคิดกุศล ความคิดอกุศลไม่ใช่ตัวเรา

ใจจะยังไม่รับ ยังยึดอยู่ ยังเป็นตีนตุ๊กแกที่เหนียวแน่นอยู่

ว่าความคิดนี่ ถึงแม้เราจะแกล้งคิด ว่าไม่ใช่ความคิดของเรา

ก็จะกลายเป็นคิดซ็อนคิด ไม่ใช่รู้ กำลังยังไม่พอ

 

ทำอย่างที่ผมว่า อัดกำลังไปสักสองสัปดาห์

ทำสมถะอย่างเดียวเลย แล้วมาดูอีกทีว่ามีสิทธิ์ไหม เอาอย่างนี้แล้วกัน

------------------

พี่ตุลย์ : วันนี้ก็ถือว่าเป็นอีกวันหนึ่ง ทุกวันเป็นความก้าวหน้าได้ทุกคน และถ้าหากว่าแต่ละวันเรามีความรู้สึกถึงความสว่างร่วมกันอย่างนี้ ก็แน่นอนครับ ไม่ต้องถามเลยว่า เราอยู่บนเส้นทางของความเจริญขึ้น หรือเสื่อมลง หรือเท่าเดิม

 

ขอบคุณที่ร่วมเป็นแสงสว่าง ไม่ว่าจะคนละนิดละหน่อย จะมากหรือน้อย ทุกท่านมีส่วนช่วยในการทำให้พวกเราได้ดิบได้ดี ได้เจริญเพิ่มขึ้นทุกวันๆ

_______________

วิปัสสนานุบาล EP 29

วันที่ 16 ธันวาคม 2564

ถอดคำ : เอ้