วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วิปัสสนานุบาล EP 26 : 13 ธันวาคม 2564

หมายเหตุผู้ถอดคำ : เป็นการถอดเสียงขณะไลฟ์สด ฉะนั้นอาจไม่ครบทุกคำพูด นะคะ


น้องแพร

 

พี่ตุลย์ : รู้สม่ำเสมอดีนะ ระหว่างวัน

คุยให้ฟังหน่อยรู้สึกคล้ายแบบนี้ระหว่างวันเรื่อยๆ ไหม

 

น้องแพร : ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงคือ เวลาใจมั่นคง จิตตั้งมั่น

จะไปเห็นจิตที่เห็นจิตซ้อนไปอีก จะมีตัวรู้

อย่างจิตที่อยากปฏิบัติ ตัวจะเกร็ง คือยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาเกิดขึ้น

เมื่ออัตตาเกิด ตัวจะหนัก พอเห็น ตัวที่หนัก จิตก็เบา

ก็จะไปรู้ว่า พอไม่ยึดตัวก็เบา แล้วก็กลับมาหนักใหม่

เห็นว่ามันมาแล้วไป เห็นว่าบังคับไม่ได้

จิตจะสุขก็สุขเอง มาแล้วไป เห็นสลับไปมา

 

พี่ตุลย์ : ตอนอยู่ในสมาธิ มโนภาพตัวตนจะไม่ค่อยเกิด

แต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วรู้ ก็จะเป็นแบบที่แพรเล่า

คือน้ำหนักตัวตน เพิ่มขึ้นมานิดหนึ่ง แล้วพอเรารู้ก็หายไป

 

ทีนี้ ระหว่างวัน เอาตามที่แพรรู้สึกจริง เทียบเขาเทียบเราน้อยลงไหม

ถ้ายังเทียบ จะเทียบเป็นว่า เขาก็เหมือนเรา มีกายเป็นธาตุดิน

 

แพร : สมมติขับรถไปซื้อของในห้าง ก็เดิน แล้วก็แบบว่า

กายเดินไป แล้วเห็นทุกคนมีหัว ตัว แขนขา

เหมือนเป็นธาตุดินที่รายล้อมเรา

พอซื้อของ มีพนักงานคุยกับเรา ก็ไม่ได้เทียบว่าเขาเป็นหญิงหรือชาย

แต่เทียบว่าเขามีหัว ตัว แขน ขา

เรามีลมหายใจแบบไหน เขาก็มีลมหายใจแบบนั้น

พอเขาถอนหายใจ เราไปเห็นลมหายใจเขา

แล้วก็กลับมาเห็นลมหายใจเราว่า เราก็หายใจออกเหมือนกัน

เห็นว่า เขาก็มีหัว ตัว แขน ขา มีลมเหมือนเรา จะไปยึดทำไมว่าเขาเป็นใคร

ก็กลับมาดูตัวเองว่าเป็นธาตุดิน

 

พี่ตุลย์ : อยากให้แพรอ่านประกอบด้วยว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัส

เมื่อเราเห็นตัวเองเป็นอย่างไร

ไม่ว่าเห็นเป็นลมหายใจ อิริยาบถ เวทนา หรืออะไรก็แล้วแต่

ให้พิจารณาว่า นั่นคือกายในกายภายใน เวทนาในเวทนาภายใน

แล้วก็พิจารณากายในกายภายนอก เวทนาภายนอก

 

หลายๆ คนอาจคุ้นกับคำสอนว่า อย่าส่งจิตออกนอก

แต่อันนี้ไม่ใช่การส่งจิตออกนอกนะ เป็นการเห็น แบบที่พระพุทธเจ้าให้เห็น

กายในกายก็คือ กายที่เห็น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกายหลายๆ ส่วน

อย่างลมหายใจก็เป็นกายในกาย เพราะเข้าออกอยู่ในภาวะกายนั่ง

เข้าออกอยู่ในภาวะธาตุดิน เข้าออกอยู่ในภาวะรูปขันธ์ ถึงเรียกกายในกาย

กายในกายภายใน หมายถึงเรานี่แหละ สภาวะทางกายทางใจของเรา

 

ส่วนกายในกายภายนอก ก็อย่างที่สอนไป เรื่องเห็นตัวเองเป็นธาตุดิน

เห็นตัวพี่ และคนอื่นในชีวิตเป็นธาตุดินเหมือนกัน

พูดง่ายๆ เป็นธาตุดินที่เราเห็นภายใน และ เป็นธาตุดินที่เราเห็นภายนอก

 

ทีนี้ ตอนที่เราเห็นกายเป็นธาตุดินจริง ขอให้สังเกตว่า

จะไม่เห็นด้วยตากระทบรูป แล้วมีความหมายว่าเขาเป็นใคร

แต่สัมผัสด้วยใจว่า เรามีตัวนี้ อิริยาบถปัจจุบันเป็นตัวตั้ง

แล้วอย่างแพรว่า พอเรารู้สึกถึงลมหายใจเขาได้

ก็เอากลับมาเทียบของเราไปพร้อมกันเพื่อเห็นว่า เป็นธาตุลมเหมือนกัน

 

เห็นแบบนี้ไปทำไม?

 

เพื่อที่จะมองให้ออก อ่านเกมให้ขาดว่า

ไม่มีของเขา ของเรา มีแต่ความเป็นธาตุเสมอกัน

 

อย่างตอนแรกถ้าเราเห็นรูปด้วยตา แล้วเกิดสัญญากระทบใจ

ว่านี่เป็นหญิง เป็นชาย ชื่อนั้นชื่อนี้ สูง ต่ำ ดูดี หรือแย่กว่าเรา

แบบนี้เกิดอัตตามานะ มีตัวที่เรียกว่า อัตตสัญญาครอบงำใจ

ให้เทียบเขาเรา

 

แต่พอฝึกถึงจุดที่เห็นว่า กายนั่งนี้สักแต่เป็นธาตุดินได้

ลมหายใจที่เข้าออก สักแต่เป็นธาตุลม แล้วมีอากาศว่างล้อมรอบอยู่

ไม่มีทางที่ธาตุดิน และธาตุลม จะปรากฏโดยปราศจากอากาศธาตุรองรับ

ก็เห็นว่า ธาตุดินกับธาตุลมนี้ กินพื้นที่อยู่ในอากาศว่าง

 

ตรงนี้ที่สำคัญ .. พอจิตสามารถกำหนดตำแหน่งว่า

ธาตุดินอยู่ตำแหน่งนี้ ลมหายใจล้ำไปอีกตำแหน่ง

และสัมผัสถึงอากาศธาตุได้

 

สมองจะทำงานอีกแบบหนึ่ง จะไม่เชื่อตามตา

ไม่เชื่อความรู้สึกจากตาเห็น แต่จะมีสัมผัสทางใจรับรู้

 

อย่างแพรเล่าให้ฟัง อย่างเห็นฝั่งโน้น จะมีระยะห่างในใจว่า

นี่อยู่ฝั่งนี้ตำแหน่งนี้ แล้วอีกคนอยู่อีกฝั่ง ห่างออกไปอีกตำแหน่งหนึ่ง

ตัวที่สัมผัสว่า ธาตุลมเหมือนกัน ธาตุดินเหมือนกัน

จะทำให้อัตตสัญญาหายไปชั่วขณะหนึ่ง

แล้วเกิดความรู้สึกมั่นหมายขึ้นมาอีกแบบว่า ไม่มีใคร เสมอกันโดยธาตุ

ความแบ่งเขาแบ่งเรา เส้นแบ่งถูกทำลายไป

 

ถึงจุดนี้ จิตจะเริ่มประมวลใหม่ ประมวลรายละเอียดว่า

ทั้งสองฝ่าย ต่างเป็นสภาวะธรรมชาติ

ที่มีความเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ในอากาศว่าง

เหมือนธาตุต่างๆ มารวมกันชั่วคราว

มาจากจักรวาลเดียวกัน จักรวาลของธาตุหก

ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครออกแบบ มีแต่กรรมมาคุมรูป

 

เหมือนไปยืมด้ายหลากสีมาถักทอเป็นรูปร่างชั่วคราว

แต่ในที่สุด ก็ต้องคลายตัวออกไปเป็นด้ายสีๆ ที่ไม่มีลวดลาย

ต่างคนต่างอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ

 

แต่พอทำไปๆ จิตที่ขยาย มีความรู้ ชัด ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ

จะเห็นรายละเอียดอย่างพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

 ธาตุดินประกอบด้วย หัว ตัว แขน ขา

และพอจิตใส ลงในรายละเอียด

จะเห็นเป็นกระโหลก กระดูกสันหลัง ซี่โครงซี่ๆ เป็นแขนขา

เริ่มต้นส่วนใหญ่จะเห็นกระดูกขาว เสร็จแล้วจะเห็นช่องว่างภายใน

เป็นรูๆ มีความลดเลี้ยว เห็นจากข้างในก่อน

 

จะเห็นว่ากระดูกขยับเคลื่อนไหว ฉาบทาด้วยเลือดเนื้อ

แล้วพอเห็นใสๆ ก็จะเหมือนกายนี้เป็นแก้ว

ในแก้วบรรจุด้วยตับไตไส้พุง มีน้ำเลือดน้ำเหลืองบรรจุอยู่

 

ถ้าพลิกจิตพิจารณาเป็นของโสโครก จะเห็นว่า มีทั้งอึทั้งฉี่

สกปรกยิ่งกว่าส้วม ไม่ได้มีแค่อึฉี่ มีอะไรที่คาวๆ คละคลุ้ง อยู่ด้วย

 

ถ้าสัมผัสด้วยจิตที่ว่าง สะอาด จิตใหญ่เกินกาย จะไม่กลัว

จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่สว่าง

จะรู้โดยความเป็นของที่ตั้งของมันอยู่อย่างนั้น

เห็นเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ อากาศธาตุที่มีในเราจริงๆ

เวลาหายใจเข้าออกก็จะรู้สึกถึงไออุ่น ที่ออกมาพร้อมลมหายใจขาออก

 

แล้วพอเห็นไปเรื่อยๆ จะมีความรู้สึกขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า

สิ่งเหล่านี้ที่มาประชุมกัน ไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ

แต่เพราะมีเหตุปัจจัย และเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นทางทุกข์

 

เวลาคนนึกถึงชีวิต จะมองว่า ชีวิตคือการเรียนรู้ คือแบบฝึกหัด คือนั่นคือนี่

ถ้าแปรไปตามความคิดนึก มีปรัชญาได้หลากหลาย

แต่ถ้ามาถึงจุดที่เห็นกายใจโดยความเป็นธาตุได้จริง ชีวิตคือทุกข์

เห็นชัดๆ ออกมาจากมุมมองภายใน

จิตที่มีพุทธิปัญญาอยู่ด้วยนี่ ไม่มีทางเห็นเป็นอื่นเลย

อยู่ๆ มาประกอบประชุมกัน เพื่อจะแตกสลายไป

 

ธาตุมาประกอบกันเพื่อรอวันแตกสลายไปเปล่าๆ

ส่วนภาวะทางใจ มีความจำได้หมายรู้อะไร

พอถึงวันหนึ่ง สมองเสื่อมก็จำไม่ได้

หรือภาวะทางกายถึงคราวแยกย้าย ความรู้ความจำก็ต้องสลายไปด้วย

 

ความรู้ความเข้าใจ อันเกิดจากจิตที่รู้เข้ามาในกายใจนี้

จะต่างจากนักปรัชญาคนละเรื่อง

 

พอถึงจุดหนึ่ง เราจะรู้สึกว่า พอเป็นสมาธิ ใจจะใส

ตั้งอยู่ในฐานกายใจนี้ มีความรับรู้อย่างนี้ แล้วจะไม่อยากออกไปไหน

 

พอเห็นธาตุหกอย่างแจ่มชัด ก็ดูส่วนของวิญญาณธาตุที่สว่างเรืองๆ อยู่

บางทีกว้าง บางทีแคบ เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง

และเห็นว่ากระจุกความฟุ้ง ความคิดที่จรมากระทบ กระทบให้เกิดความไหวตัว ไปจำหรือคิดเรื่องอะไร นั่นคือส่วนของสัญญาขันธ์

 

พอมีความปรุงแต่งขึ้นมา เวลาที่จะพุ่งไปจับของ วัตถุ หรือบุคคลภายนอก

โดยความรู้สึกว่า มีความเกี่ยวข้องพัวพัน มี relationship

ตัว relationship จะทำให้รู้สึกปรุงแต่งขึ้นมาว่า มีฝั่งนี้ มีฝั่งโน้น

นี้คือเรา นั่นคือเขา เห็นโดยละเอียดเป็นขณะ ทั้งสัญญา ทั้งสังขารขันธ์

รู้ไปเรื่อยๆ จนเกิดความเข้าใจที่จิตว่า จิตที่ตั้งมั่นรับรู้ว่า

 

สัญญาขันธ์ คือตัว ทำให้เกิดความจำได้หมายรู้

ปรุงแต่งจิต หลอกให้จิตเข้าใจว่าเราจำได้ ว่าใครเป็นใคร อะไรเป็นอะไร

 

สังขารขันธ์ ปรุงแต่งว่า เราจะคิดดี หรือคิดลบกับสิ่งนั้น

 

ความรู้สึกนึกคิดที่ปรากฏต่อจิตที่นิ่ง ตั้งมั่น สว่าง ใส

จะปรากฏเหมือนของหลอกชั่วคราว

เหมือนพยับแดด เหมือนอะไรที่ปรากฏลวงๆ ขึ้นมา

ขณะหนึ่งที่จิตมีความรู้ชัด จะเห็นว่าสิ่งปรุงแต่งนั้น

เกิดชั่วขณะ แป๊บหนึ่งก็หายไป สลายไป

 

เมื่อเห็นสลายตัวไปบ่อยๆ ทั้งสัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ก็ดี

เกิดขึ้นแล้วต้องสลายตัวเป็นธรรมดา

จะกลับมารับรู้ที่จิตใสสว่างๆ นั้นว่า อะไรๆ ทั้งหลาย

ของหลอกชั่วคราวหมดเลย ซึ่งจะไม่ใช่แค่คำพูดเฉยๆ

แต่จะเป็นความเห็น เหมือนเมฆหมอก พยับแดดที่ปรากฏแป๊บหนึ่งจริงๆ

 

แล้วพอเรารู้ไปได้อย่างนั้นเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องไปรู้อะไรอย่างอื่นแล้ว รู้แค่นี้เลย

 

สรุปก็คือว่า ขึ้นต้นมา เราใช้ท่าหนึ่งท่าสอง

จะใช้เวลาสั้น หรือยาวแค่ไหนก็ตาม

มาถึงจุดที่จิตมีความใสแล้ว เราก็พิจารณาโดยความเป็นธาตุหก

 

พอพิจารณาโดยความเป็นธาตุหก ไปสุดที่วิญญาณธาตุ

เห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นการปรุงแต่งด้วยสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

ตัวนี้ก็คือเห็นกายใจ โดยความเป็นธาตุหก ไล่ไปถึงขันธ์ห้า

 

จากนั้น ในระหว่างวัน พอเราลืมตาขึ้นมาอยู่กับใครต่อใคร

ก็ดูโดยความเป็นธาตุดินบ้าง ธาตุลมบ้าง

แล้วแต่ว่าจังหวะไหนเราเห็นที่ตัวตั้งภายในก่อน

แล้วก็ไปสัมผัสที่ภายนอก โดยความเป็นอย่างนั้น

เทียบเคียง เพื่อให้เห็นความต่าง ว่ามีคุณภาพอย่างเช่น

ลมหายใจยาวไม่เท่ากัน ละเอียดไม่เท่ากัน

แต่ได้ข้อสรุปรวมว่า ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกันโดยความเป็นธาตุ

 

ถึงแม้จะต่างโดยรูปลักษณะ

แต่ความเป็นธาตุพื้นฐานนั้น ไม่มีอะไรต่างไปเลย

ไม่มีบุคคล ไม่มีเราเขา ไม่มีใครได้เปรียบกว่า เสียเปรียบกว่า

ไม่มีใครด้อยกว่า เหนือกว่า

ตัวนี้แหละ จิตจะถูกตะล่อมเข้าสู่ความเป็นกลางจริงๆ

 

คำว่าอุเบกขา เกิดจากการเห็น

เกิดจากการรู้รายละเอียดทั้งหมด มีความเข้าใจ มีความกระจ่าง

แล้วก็มีความไม่เอียงข้าง แม้แต่เอาเข้าตัวเอง หรือเข้าข้างตัวเอง

แต่จะมีแต่ความ balance รู้สึกว่า อะไรๆ เสมอกันไปหมด

 

ด้วยความรับรู้ตรงนั้น จิตจะเข้าสมาธิอีกแบบ

แบบที่รู้ตัวเองว่าไม่มีใครอยู่ในนี้

 

น้องแพร : ที่พี่ตุลย์พูดทั้งหมด ไม่แน่ใจว่า

สิ่งที่เกิดขึ้น เวลาที่เกิด ไม่แน่ใจว่า นี่รู้จริง หรือคิดไปเอง

อย่างเวลาเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิพอเบา ไปสังเกตว่าโล่งเบา ไม่มีตัวเรา

พอเห็นปุ๊บเกิดความยึด ร่างก็เกร็ง เกิดหนัก

พอเห็นความเกร็งหนัก มันก็เบา โล่งใหม่

พอเห็นความเบา เราอยากให้มันดี ก็กลับมาหนักใหม่

นี่คือเห็นจริงไหม

 

พี่ตุลย์ : เห็นจริง จริงๆ เราไม่น่าสงสัยแล้วนะ

ตัวที่เราจะมั่นใจว่า เราเห็นได้จริงๆ คือตัวที่เห็นเป็นปกติ เห็นเรื่อยๆ

เห็นด้วยความรับรู้ว่า จิตของเราไม่ได้ปรุงแต่งไป มีความนิ่งเป็นฐานก่อน

นี่คือความสำคัญของอานาปานสติ

 

พอเรามีความรู้ มีความเห็นว่าลมหายใจปรากฏอยู่อย่างนั้นโดยบริสุทธิ์

แล้วจิตมีความเสมอกันกับลมหายใจที่บริสุทธิ์นั้น

 

นี่คือ ตัวอย่างเบื้องต้น ที่เป็นเบสิคที่สุด ในสมาธิแบบพุทธ

บอกว่า จิตผู้รู้ จิตผู้ดู ผู้เห็นจริงๆ เริ่มต้นจากจุดนี้แหละ

จุดที่จิตไม่ได้ถูกปรุงแต่งไปเกินลมหายใจ

 

ลมหายใจปรากฏแค่ไหน จิตถูกปรุงแต่งให้เห็นไปแค่นั้น

ไม่มีการคิด ไม่มีการนึกอะไรเพิ่มอย่างอื่น

 

ทีนี้ พอได้ตัวอย่างของจิต ต้นแบบของจิตผู้รู้ ผู้ดูโดยบริสุทธิ์อย่างนั้นแล้ว

ที่จะคลี่คลาย พัฒนาตามหลังมา ก็คือ ความรู้ ความดูว่าอะไรๆ ที่ปรากฏ

ก็เหมือนกับลมหายใจนั่นแหละ มีความรู้ มีความบริสุทธิ์อยู่นั้น

ไม่มีการปรุงแต่งเกิดขึ้นในหัว หรือจากตัวเราผู้นึกคิด

ว่าควรเป็นอย่างนั้น ฉันควรได้ญาณขั้นนั้น หรือได้อะไร

จะไม่มีอะไรเจือปน มีแต่จิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ รับรู้อยู่

 

อย่างเวลาที่เรารู้สึกว่า กายเกร็งขึ้นมา มีอัตตาขึ้นมาอีกแล้ว

อัตตาตัวนั้น บางทีจะมาครอบงำ หลอกเราว่า

ทั้งหมดอุปาทานไปเองหรือเปล่า

จะมีชั่วขณะที่มีความสงสัยแบบนั้นขึ้นมาได้

 

ทีนี้ ถ้าหากจิตเรายังคงตั้งอยู่ในฐานะผู้รู้ ผู้สังเกตการณ์

แม้กระทั่งความเกร็ง แล้วก็อัตตาที่โผล่ขึ้นมาชั่วขณะนั้น

ก็จะกลายเป็นสังขารขันธ์ ที่ปรุงแต่งให้จิตเกิดความสำคัญมั่นหมาย

มีสัญญาขันธ์ขึ้นมาอย่างไร

 

เอาง่ายๆ ถ้าไม่ใช้ศัพท์เลยก็คือว่า มีตัวตนขึ้นมา

แล้วตัวตนนั้น ถูกรับรู้ด้วยจิต ที่เสมอกับลมหายใจได้

ว่าความปรุงแต่งชั่วคราว ชั่วขณะนั้น

เกิดขึ้นมาเพื่อครอบงำจิตเรา ให้กลับไปหลงใหม่ ให้กลับไปมีโมหะใหม่

 

แต่ถ้าหากว่าเรารู้ทัน ด้วยจิตที่มีความเสมอกับลมหายใจอยู่

พูดง่ายๆ ยังมีลมหายใจหล่อเลี้ยงสติอยู่ ก็จะมองว่า

ที่โผล่มาชั่วขณะนั้น อาการเกร็งกายชั่วขณะ

หรืออาการรู้สึกว่า เอ๊ะนี่อะไร อุปาทานไปเองหรือเปล่า

เป็นแค่สังขารขันธ์

 

นี่เป็นประโยชน์ที่เราเอาชื่อว่า มันเป็นสังขารขันธ์ไปแปะกับภาวะนั้น

เพราะเมื่อเกิดอีก จิตจะได้มีทิศทางบอกตัวเองว่า

นั่นเป็นสังขารขันธ์ ที่ปรากฏชั่วขณะหนึ่ง แป๊บหนึ่ง

แล้วเดี๋ยวก็จางไป หายไป ไม่ต่างจากพยับแดด

 

เห็นแบบนั้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกว่า

ความปรุงแต่งของจิตที่เรียกว่า สังขารขันธ์ เกิดขึ้นหลากหลาย

แล้วเรายิ่งเห็นมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งเหมือนกับปอกกาบกล้วย

ปอกออกมาทีละชั้นๆ จนกระทั่งเจอความว่าง ไม่มีแก่นกล้วย ไม่มีตัวตน

 

พูดง่ายๆ ว่า ยิ่งเห็นตัวสังขารขันธ์หลากชนิดขึ้นเท่าไหร่

จะยิ่งมีความรู้สึกปอกกาบกล้วย

เอาความลวงตาว่ามีต้นกล้วยอยู่ ออกมาให้หมด

แล้วก็เหลือแต่แก่นคือความว่าง

 

ว่างจากต้นกล้วย ว่างจากความมีอะไรเป็นตัวเป็นตนนะ

 

น้องแพร : ระหว่างวัน ทำงาน แล้วก่อนนี้ด้วยพื้นฐาน

เป็นคนที่เป๊ะเรื่องงาน เทียบว่าเวลาสั่งงานกับใคร

จะมีมาตรฐานว่า คนอื่นต้องเป็นเหมือนเรา

แต่พอฝึก จะกลายเป็นว่า อย่างเรื่องที่ควรเป็นมาตรฐานของทุกคน

แต่เขาทำไม่ได้เท่ามาตรฐาน ก็จะเห็นจิตที่ไม่พอใจแป๊บหนึ่ง

เวทนาที่เป็นทุกข์ขึ้นมาแวบหนึ่ง แล้วสลายหายไป

แต่หน้าก็จะยังนิ่งอยู่ แล้วก็พูดเฉยๆ ไม่ได้พูดไม่ดีกับเขา

 

แล้วการเห็นไม่ได้เห็นว่าเป็นตัวเรา แต่เห็นว่า มันเกิดเอง แล้วหายได้เอง

แต่ไม่เห็นว่าเป็นอัตตาตัวเรา แล้วจิตก็ยิ้ม ว่า สนุก

เห็นต่างไปจากเมื่อก่อนจากที่ว่าอัตตาเป็นผู้เห็น มันเกิดเองดับเอง

 

พี่ตุลย์ : นั่นแหละที่บอกว่า ขันธ์ห้ารู้ตัวเองว่าเป็นขันธ์ห้า

สภาวะดูสภาวะ ไม่มีใครดูสภาวะ ไม่มีใครเป็นผู้เห็นขันธ์ห้า

มีแต่จิตมีความรู้ว่า ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า ของสภาวะที่ถูกรู้

 

พอเห็นไปเรื่อยๆ ในที่สุด

สิ่งที่เราจะสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลง ในแบบที่เป็นพัฒนาการ

ก็คือว่า ใจที่เป็นผู้รู้ผู้ดู จะมีความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองว่า

ตัวเองเป็นภาวะอะไรแป๊บหนึ่ง แล้วความมีตัวนั้น

ที่รู้แป๊บหนึ่ง รู้อะไรชั่วขณะหนึ่ง มีอายุสั้น

 

พอเปลี่ยนไปรู้อย่างอื่น ตัวนั้นหายไปแล้ว

ไม่เคยมีตัวเรา หรือตัวใครอยู่ในจิตนั้นมาก่อนเลย

พอจิตนั้น เกิดขึ้นทำหน้าที่รับรู้ แล้วมันก็แตกสลายไป

ไม่มีใครตามไปด้วย ตัวนี้ที่จะเป็นพัฒนาการเป็นทิศทาง

 

ตอนนี้อยู่ในขั้นระแคะระคายว่าไม่มีใครเป็นผู้ดู

มีแต่จิตผู้รู้ผู้เห็นแป๊บหนึ่งแล้วหายไป

แต่พอเห็นไป มีความคมชัด จิตเห็นไป

จะรู้สึกเป็นขณะๆ เลยราวกับว่าทุกอย่างราวถูกจัดฉากไว้ล่วงหน้า

เดี๋ยวมีกายแบบนี้ เดี๋ยวจะมีกระทบแบบนี้

พอมีกระทบ จิตก็รู้กระทบนั้น

พอกระทบหายไป จิตที่รู้ก็หายไปด้วย

นี่คือที่เรียกกันว่า สันตติขาด

 

เดิมสันตติ คือความสืบเนื่อง เหมือนสายน้ำที่ไหลมา

แล้วเราจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน นึกว่ามีตัวเราอยู่แน่ๆ ในสายน้ำนั้น

 

ทีนี้พอสายน้ำถูกฟรีซ ให้กลายเป็นก้อนน้ำแข็ง มาเรียงต่อกันเป็นก้อนๆ

คราวนี้เราจับได้แล้วว่า ก้อนน้ำแข็งก้อนหนึ่ง

วางอยู่ตำแหน่งหนึ่งของเวลา ของ timeline

พอพ้น timeline นั้นไป ไม่ใช่ก้อนน้ำแข็งเดิมแล้ว

จะแตกไป กลายเป็นก้อนน้ำแข็งอื่น

 

จะเห็นเป็นขณะๆ ซึ่งเดี๋ยวจะเกิดเอง ไม่ต้องตั้งใจให้เกิด

แต่ตอนนี้เริ่มกระบวนการแล้ว

ขันธ์ห้า เริ่มรู้ตัวว่าเป็นขันธ์ห้า

ตัววิญญาณขันธ์เริ่มรู้ตัวว่า ตัวเอง เดิมไม่ได้มีอยู่ก่อน

แล้วเดี๋ยวพอสติ มีความคม จิตใหญ่

 

จะเริ่มจากจิตใหญ่ก่อน แล้วจิตที่ใหญ่นั้น มีความคงที่คงเส้นคงวา

แล้วเห็นอะไร แยกเป็นขณะๆ

ราวกับทุกอย่างเป็นเครื่องประกอบถูกจัดฉากไว้ ลวงตาเป็นจุดๆ

ตัวนี้แหละที่พี่พูดถึงว่า สันตติขาด

 

-------------------------------

Nui Nantaporn (นุ้ย)

 

พี่ตุลย์ : มีความคงเส้นคงวากว่าเดิม

มีจุดสะดุดอะไรบ้าง ก็กลับเข้าที่ได้เร็ว

 

ทีนี้ลองดูด้วยว่า เวลาที่บางจุดมีจุดสะดุด

หรือมีอะไรขึ้นมา ที่แตกต่างไปจากลมหายใจ

เวลาที่เห็น ลมผ่านออกมีความสบาย แล้วใจที่ว่างๆ เป็นผู้เห็นลมหายใจ

แต่บางจุดเรารู้สึกสะดุด อาการทางใจมีจุดบอด

ลมหายใจไม่ปรากฏ ให้ดู .. ตรงนั้นเป็นประโยชน์

 

ตอนที่ใจเราราบรื่น สว่าง เบาๆ รู้สึกลมปรากฏชัด

ตอนนั้นเป็นเหมือนกับอาการที่ วิตักกะ วิจาระ เกิดขึ้น

แล้วพอมาจุดสะดุด แล้วสามารถกลับไปรู้สึกถึงลมหายใจได้อย่างรวดเร็ว

จังหวะนั้น มีตัวที่เหมือนกับเรียกว่า

อาการที่จิตเข้าภวังค์ไปแวบหนึ่ง มีความคิดอะไรโผล่ขึ้นมา

มีจุดสะดุด เหมือนเราวิ่งรถแล้วมีหลังเต่า

พอเรากลับมาบนทางเรียบใหม่ ความรู้สึกก็ราบรื่นใหม่

 

ตอนขึ้นหลังเต่า ตอนมีจุดสะดุดบนถนน

ถ้ามองว่าเป็นจังหวะของสติ ที่ขาดไป

เป็นจังหวะการปรุงแต่ง ที่จะเอาตัวเรา

กลับเข้าโหมดมีตัวตน มีหน้าตาแบบเดิมๆ

 

จะเริ่มเห็นแบบระแคะระคายขึ้นมาว่า

ตอนอยู่โหมดคิด เราจะไม่เคยเอะใจ

รู้สึกแต่ว่าเป็นเราๆ เหมือนคงเส้นคงวาเหมือนเดิมอยู่อย่างนั้น

ไม่เคยสงสัยเลยว่า จะไม่มีตัวตนได้อย่างไร

 

การมีตัวตนที่ตั้งมั่น เกิดจาการที่

เราไปยึดความคิด ความนึกไว้เป็นพวกเดียวกันตลอด

แต่พอจิตมี วิตักกะ วิจาระ กับลมหายใจ

ราบรื่นอยู่กับการรู้ลมหายใจ แล้วเกิดจุดสะดุดขึ้นมา

เราได้ข้อเปรียบเทียบใหม่ว่า

ตอนที่เรารู้สึกถึงลมอยู่เรื่อยๆ จะเหมือนเปลี่ยนตัวตนมาอีกแบบ

จากตัวตนผู้คิดนึกแบบสุ่ม เป็นตัวตน ผู้รู้ลมเรื่อยๆสบายๆ

 

แต่พอเกิดจุดสะดุด ที่ทำให้ลมขาดจากการรับรู้

จะเกิดก้อนตัวตนขึ้นมา

ความรู้สึกในตัวตน ที่เป็นคนธรรมดา มีชื่อ นามสกุล เริ่มจากตรงนี้

ความคิดที่โผล่ในหัวนี่แหละ

 

แต่พอเราแปรรูป ปฏิรูปให้จิตรับรู้แค่ลมหายใจ และความสบายอยู่

จะกลายเป็นอีกอย่าง เป็นอีกตัวที่แปลกไป ประณีตขึ้น

จากตัวตนเดิมที่คิดนึกอยู่เรื่อยๆ มารู้ลมหายใจ มีความประณีตขึ้น

 

ก็จะสังเกตได้ว่า ในความประณีตนั้น ก็มีตัวรู้สึกว่า เป็นเราอยู่นี่แหละ

พอเราจับได้ไล่ทันว่า แปรจากตัวหยาบๆ ที่เป็นความคิดปรุงแต่งในหัว

กลายเป็นลมหายใจที่ละเอียดประณีต

จะรู้สึกว่า ตัวตนเปลี่ยนได้ .. คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้

 

ตัวตนเปลี่ยนได้ แปรตามสิ่งที่จิตรับรู้ โฟกัสอยู่

จะรู้ว่า จิตไปรับรู้อะไรก็ตาม แม้อาการสะดุดเล็กๆ

จิตจะไปยึดเอาสิ่งที่รับรู้ จรเข้ามา ว่าเป็นตัวมันทันที

นี่คือสภาพอาการของจิต

 

ทุกท่านเลยนะ ลองสังเกตด้วยตัวเอง

เดิมเหมือนไม่มีอไรอยู่ จิตจะไม่ยึดอะไรขึ้นมาได้

แต่ถ้ามีอะไรขึ้นมา เช่น ก้อนความคิดที่ปรากฏขึ้นมาในใจ

จะรู้สึกทันทีว่า ก้อนความคิดนั้นคือตัวมัน

 

จิตสำคัญมั่นหมายว่า ภาวะที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนั้น เกี่ยวกับมัน มีตัวมัน

 

พอเห็นลมหายใจได้เรื่อยๆ มีวิตักกะ วิจาระ

รู้สึกถึงลมหายใจ ความสบาย

จิตก็ไปยึดว่า ความมีลมนั้น ความสบายเป็นตัวมัน

 

พอมีจุดสะดุด มีความคิดแทรก

แล้วเราเห็นทันว่า จิตเคลื่อนจากอาการเคลื่อนลมหายใจ

ไปยึดความคิดแทน

นี่คือหลักฐานเลยว่า จิตรู้อะไรก็ตาม

มันจะยึดว่าสิ่งนั้นเกี่ยวข้อง หรือเป็นของตน

 

นี่เป็นเรื่องสำคัญ อย่างเราเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ

จิตจะตั้งเด่นดวง หรืออิสระ

ตัวปัญญาแบบพุทธจะไปปรุงแต่งให้จิตเกิดความกว้างขวาง เด่นดวง

รู้ตัวเองว่า เป็นอิสระ ไม่ต้องถูกหลอกด้วยความคิดก็ได้

 

แต่เพื่อเข้าถึงภาวะอิสระดังกล่าว

ก็จำเป็นต้องมีข้อเปรียบเทียบให้เห็นชัด

 

พระพุทธเจ้าขึ้นต้นมาเบสิคให้เทียบ กายในกาย

ลมหายใจ อิริยาบถ ตับไตไส้พุง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

น้ำเลือดน้ำหนอง จะเจิ่งนองแค่ไหนก็เป็นส่วนของกาย

 

เราเริ่มเป็นส่วนๆ พอจับลมหายใจได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

แม้กระทั่งเวทนา ความรู้สึกสบาย มีความสุขตอนหายใจ

ก็เป็นเวทนาในเวทนา เป็นเวทนาส่วนหนึ่งในหลายเวทนา

 

สุขเวทนา มีอามิส มีเหยื่อล่อ หรือไม่มีอามิส ไม่มีเหยื่อล่อ

อย่างเวทนาในสมาธิเรียก เวทนาไม่มีอามิส

 

พอใจเราไปถึงจุดที่ว่า แม้กระทั่งความนึกคิดที่โผล่มาแทรก

ก็เป็นแค่ความคิด ในอีกไม่รู้กี่ล้านความคิดในแต่ละวัน

เห็นไปเรื่อยๆ อย่างนี้ ว่า เบสิคมีอย่างนี้

แล้วตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะใดปรากฏเด่น ภาวะใดโผล่ให้จิตรู้

จิตจะไปยึดทันทีว่านั่นเกี่ยวข้องหรือเป็นตัวมัน

 

พอเราเท่าทันไปเรื่อยๆ ว่า จิตไปยึดอะไรมาเป็นตัวตนขณะๆ นี่แหละ

ที่จะทำให้จิตเกิดพุทธิปัญญา

จะมีจุดหนึ่ง ที่รู้สึกขึ้นมาเองว่าเป็นการหลง หลงเข้าไปยึด

 

แท้จริงแล้ว ภาวะทั้งหลายผ่านมาผ่านไป ไม่ซ้ำตัวเดิม

แต่จิตไปยึดว่าเป็นตัวเดิมมันตลอด

 

ตอนพี่บอกว่า มีจุดสะดุด เห็นตามนั้นไหม

ว่าใจไปเห็นทันทีว่า มีตัวเรากลับมา

 

คุณนุ้ย : ปกติจะเป็นคนต้องอยู่เฉยๆ ถึงจะมีสมาธิที่จะฟัง

เป็นคนฟุ้งซ่าน ดูโน่นดูนี่ ดู social บ่อย

เวลาทำสมาธิ ถ้านั่งเฉยๆ (ความฟุ้ง)จะเข้ามารัวๆ

ตอนหลังก็ปล่อยมันคิดไป

ตอนพี่ตุลย์แนะนำ ก็มีคอแห้ง กลืนน้ำลาย

เดี๋ยวที่คาดผมจะหลุด เราก็เอ๊ะ แล้วกลับมา

 

สองวันก่อน จะรู้สึกเหมือนหายใจออกแล้วสะดุด แบบเป็นขั้นๆ

หายใจออกแล้วอึดอัด ก็พยายามมองว่า คือความเหนื่อย แล้วทำต่อ

พอเราไม่ไปยึดมัน มันก็ดีขึ้นไปเอง

มีปัญหาเรื่องปวดไหล่ค่ะ พอทำไปมากๆ จะต้องพัก

 

พี่ตุลย์ : ผมเองก็มีปัญหาเรื่องกระดูกนะ เข้าใจดี

ถ้าแหงนคอแล้วเมื่อย หรือปวด จะพักเป็นระยะ ก็เป็นนโยบายที่ดี

หรือบางท่านยกไม่ไหวจริงๆ เพราะไหล่ติด จะเอาแค่ท่าหนึ่งก็ยังได้

 

ขอให้เข้าใจว่า ฝ่ามือไกด์ เป็นแค่เครื่องทุ่นแรง

ให้สติของเรา ตามลมหายใจได้ดีขึ้น

แต่ไม่ถึงกับถ้าทำไม่ต่อเนื่อง จะมีอะไรไม่ดี

 

ถ้าร่างกายไม่เอื้อ จะทำบ้างหยุดบ้าง ผ่อนหนักผ่อนเบา

ก็เป็นนโยบายที่ถูกอยู่แล้ว

ถ้าสติดีขึ้น เห็นลมหายใจเป็นสมาธิ นั่นคือเป้าหมาย

แต่เราไม่ได้มีเป้าหมายทารุณร่างกายให้แย่ลง

 

อะไรที่จะทำให้เกิดทุกขเวทนาทางกาย อย่าไปเล่นกับมัน

อย่าไปท้าทายว่า ทำไปแล้วจะหายไปเอง

หลายๆ ท่านฟังผู้อื่นเล่าเรื่องการปฏิบัติ

บอกว่าเห็นทุกขเวทนาไปเรื่อยๆ แล้วจะหายไปเอง

แบบนั้นไม่เสมอไปนะ

 

คุณนุ้ย : เวลาขับรถ จะคิดลบประจำ เวลาเจอคนขับไม่ถูกใจ

บางทีก็สบถคำไม่เพราะ ควรทำอย่างไรคะ

ปล่อยให้จิตคิดไปเลย หรือไม่พูดดีกว่า ควรทำจิตอย่างไร

 

พี่ตุลย์ : เวลาจิตเคยชินที่จะคิดนึกในทางอกุศล

เข้าฝักเข้าฝ่ายตัวตนในทางหยาบๆ

นโยบายที่ดีคือ ถ้าหยาบไป หรือทำร้ายจิตใจคน ให้ห้ามใจ

แต่ถ้าหากกรณีขับรถ ไม่ได้มีใครได้ยิน

ถ้าเผลอพูดออกไป ก็ไม่ต้องเกร็ง

เพราะถ้าเกร็งกับความคิดหยาบตลอดเวลา บางทีอึดอัด

ปฏิบัติไปแล้วเป็นทุกข์ ไม่สบายตัว ตัวจะเกร็งบ่อยๆ

 

ฉะนั้น ถ้าจะพูด จะด่าแรง ถ้าเราอยู่คนเดียว ก็ให้มันออกไป

เพื่อเป็นการ release แล้วดู ว่าหลังจากปลดปล่อยไปแล้ว

จะมีอะไรขึ้นมาเต็มหัวเลย จะมีกระจุกของความมืด หรือหลุมดำก่อตัว

จะไม่จบแค่ release ออกไปแล้วสบายใจ

แต่จะมีความพัวพันตามหลัง .. ตัวนี้ ที่จะใช้ดูได้

 

ตอนที่อยู่กับผู้คน ที่เห็นว่าจะทำร้ายจิตใจกัน ให้เกิดเวรภัย เราห้ามใจ

เพื่อจะมาดูว่า อาการอึดอัดอันเกิดจากการห้ามใจเป็นอย่างไร

แต่ถ้าอยู่ในรถ ก็ปล่อยคำสบถไป แล้วดูว่า หลังจาก release ออกไปแล้ว

เกิดอกุศล เกิดความรู้สึกพัวพันขึ้นมา หน้าตาเป็นอย่างไร

ก่อนสติจะเข้ามาแทนที่ แล้วอกุศลนั้นหายไป

 

อาจจะนาน แต่เราเริ่มคุ้นกับลมหายใจ

ก็จะได้เปรียบชาวบ้าน ที่เขาดูแต่อาการอกุศลอย่างเดียว

บางทีใช้เวลานาน เกือบครึ่งชั่วโมงก็ดี

อาจอยากย้อนรถกลับไปทำให้เขาสำนึกบ้าง เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่กลับมาๆ

แต่ถ้าเราเจริญอานาปานสติเป็น พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ใครก็ตามถ้าเจริญอานาปานสติได้ดี จะไม่มีช่องให้มารแทรก

 

อย่างพอสบถไปปุ๊บ เห็นมีอะไรตามหลังมา อิรุงตุงนังขึ้นมา

เราแค่หายใจ ครั้งสองครั้งให้เกิด วิตักกะ วิจาระ

เห็นสภาพอกุศลที่ยุ่งๆ อยู่สลายหายไปอย่างเร็ว

เพราะวิตักกะ และวิจาระ ที่เราฝึกไว้ดีแล้ว

 

แล้วเห็นว่า อกุศลธรรม ความดำมืดที่ก่อตัวมาหลังที่เราสบถ

แปรรูปจากมืดเป็นสว่างสว่าง ด้วยวิตักกะ วิจาระอย่างไร

เห็นบ่อยๆ เห็นซ้ำๆ ไม่ต้องหลับตา

จะเห็นว่า ท่าขับรถเหมือนเดิม กายอยู่ท่าขับรถ

แต่ใจเห็นอะไรไปไหนต่อไหน เห็นเมื่อกี้มืด เมื่อกี้จุกอก

เมื่อกี้ release ออกไป เห็นความคิดอยากด่าเข้ามาเป็นลูกโซ่

 

แล้วเห็นลมหายใจเข้ามาเป็นกุศลธรรม เป็นหลุมขาว แทนที่หลุมดำ

ก็จะเกิดความเข้าใจว่าเมื่อกี้เกิดอกุศลขึ้น เพราะใจมองไม่เห็นลมหายใจ

หรือมีสติยังอ่อนกว่าแรงกระทบที่เข้ามา

หรือสติมีกำลังน้อยกว่าความอยากด่า อะไรแบบนี้

 

จะเห็นเป็นครั้งๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

เห็นบ่อยเท่าไหร่ ใจจะยิ่งเข้าใจแบบพุทธว่า คำว่าสติเป็นแบบนี้

วิหารธรรม หรืออานาปานสติที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ มีประโยชน์แบบนี้

 

เห็นทะลุปรุโปร่งมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อะไรๆ ที่ปรุงแต่งขึ้นมา

ใจนี้เดิมอยู่เฉยๆ แต่ถูกปรุงแต่งด้วยการกระทบ เริ่มจากโลกภายนอกทั้งนั้น แล้วมาปรุงต่อด้วยโลกภายใน ให้เป็นทิศทางไหนขึ้นมา

ตัวนี้แหละ ที่เราน่าจะได้แนวทางนะ

 

คุณนุ้ย : มีลูก ซึ่งเคยมานั่งด้วย แต่ตอนนี้ติดเล่น

ลูกเรียนโรงเรียนวิถีพุทธ ก็นั่งสมาธิที่โรงเรียน สวดมนต์ที่ โรงเรียน

แต่เพราะเขาเป็นเด็ก และเพื่อนรอบข้างไม่ค่อยนิ่ง

ก็รู้สึกเหนื่อย บางทีก็หงุดหงิดลูก เหมือนเขาไม่ได้ดังใจ

 

พี่ตุลย์ : หงุดหงิดได้ หลายๆ คนก็จะมองว่า

พี่มีลูก น่าจะเลี้ยงให้ลูกเจริญสติ มีสมาธิอะไรดีๆ ได้

หลายๆ คนไม่รู้ความลับ เวลาจะให้นั่งสมาธิแต่ละที บางทีต้องจ้าง

แต่ไม่ใช่ด้วยเงิน พี่จะมี good-boy point คือเป็นแอพ

มีคะแนน บวกลบ ถ้าถึงระดับหนึ่งจะซื้อเกมให้

 

เขาก็ชอบเล่นเกม เหมือนเด็กสมัยนี้ไม่แตกต่าง

เขาเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ ยังชอบเกม พี่

ก็เอาอันนั้นเป็นเครื่องล่อ ได้สิบคะแนนจะซื้อเกมให้เพิ่ม

 

แต่ถ้าครั้งไหน ทำไม่ถูกใจพี่

คือพี่จะบอกว่า คะแนนเขาขึ้นกับ mood ขึ้นกับความพอใจของพี่เท่านั้น

แล้วพี่ก็กดลบให้ดูเลย ให้เห็นว่ามีแต้มบวกลบ

 

เด็กโดยธรรมชาติ จะเหมือนกับพยายามออกนอกลู่นอกทาง

ออกไปเล่นซน เกเร ดื้อ เป็นธรรมดา

อย่าไปมองว่าลูกเราไม่มีบุญ หรือไม่เป็นอย่างใจ

ให้มองว่านั่นคือเปลือกนอก ที่ถ้าเราผ่านไปได้

ถ้าเรากระเทาะเปลือกไปได้ แก่นข้างในเขามาเป็นลูกเรา ต้องมีบุญแน่

ไม่อย่างนั้นเราถึงไม่ส่งเสริมให้เข้า โรงเรียนวิถีพุทธ ให้ภาวนา

แต่เปลือกเขายังหนา เราต้องค่อยๆ กระเทาะออกทีละนิด โดยอาศัยอุบาย

 

แต่ประเด็นคืออย่างลูกพี่ พี่จ้างให้ทำสมาธิก็จริง

แต่พอเขาถึงสมาธิแล้ว เขาคิดเองได้

ซึ่งพี่ก็บอกกุ๊กไก่ (ภรรยา) เพราะบางทีเขาก็โมโหลูกว่าเกเร

บอกว่าพอลูกจิตเป็นสมาธิ จะคิดได้เอง ซึ่งก็จริงๆ

พอเขามีสมาธิ มีความสว่าง จิตตั้งมั่น

ก็จะไปชวนแม่ ชวนน้ามานั่งสมาธิด้วยกัน ไม่ได้หวังคะแนน

 

จากเดิมหวังคะแนน แต่เสร็จแล้วคิดเอง

คิดดีขึ้นมาเอง เห็นค่าของจิตที่ดีได้

 

ฉะนั้น ให้มองอย่างนี้ว่า เรากำลังอยู่กับเปลือกที่กระเทาะยาก

แต่ถ้าไปถึงแก่น ตัวเดิม ที่เป็นฐานของเขาจะมาเอง

แต่เรื่อง point นี่สำคัญนะ

เรื่องที่ว่าเราทำให้เห็นว่า นี่เป็นลบหรือบวก

เราทำให้เขารู้สึกว่า เขาจะทำดีไปเพื่ออะไร มีเป้าหมาย

เขาควรหลีกเลี่ยงสิ่งไม่ดีเพื่ออะไร

โดยเอาสิ่งที่เขาอยากได้เป็นตัวล่อ

 

พระพุทธเจ้าก็เคยฉุดพระนันทะ ที่อยากมีผู้หญิงสวย แบบโลกๆ

ให้ขึ้นไปดูนางฟ้า บอกว่าถ้าบวชจะได้แบบนี้

แต่พอท่านบวช ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ท่านก็บรรลุ

และขอคืนความปรารถนาว่า อยากได้นางฟ้า

เพราะเห็นแล้วว่า สิ่งล้ำค่าสุดคืออะไร

 

ฉะนั้น แสดงว่า มนุษย์ เราต้องปอกเปลือกก่อน

แล้วจะเห็นเองว่า แก่นที่อยู่ข้างในเกินกว่าที่เราคิดนะ

 

คุณนุ้ย : ลูกเคยสงสัยถามว่า ทำไมพี่ตุลย์ไม่เป็นพระ

 

พี่ตุลย์ : ผู้ใหญ่ก็ถามหมดนะ ไม่ใช่แค่เด็ก

แต่เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างมากๆ

และอีกอย่าง พี่เคยบวช ตอนอายุ 20

แต่ก็มีเหตุติดขัดอะไรบางอย่าง ที่ทำให้บวชไม่ได้ตลอด

 

หลังจากนั้น เคยจะบวชอีกที แต่เป็นโรคหัวใจ ขึ้นเขาทีเดียวเกือบแย่

เลยไม่ได้อธิบายใคร ใครสงสัยก็เงียบๆ ไม่ได้ตอบ

ก็อยู่ของเราไปตามเหตุปัจจัย ตามสภาพ

บอกลูกก็ได้ว่า สุขภาพคุณลุงไม่ดี

 

อย่างพระบางรูปบวชมาตลอดชีวิต แต่มาสึกตอนแก่

เพราะสุขภาพท่านไม่เอื้อให้รักษาพระวินัย อย่างนี้ก็มี

-------------------------------

คุณหนึ่ง

 

พี่ตุลย์ : ใช้ได้นะ จังหวะเท้ากระทบช้าเร็วอยู่ในใจเราจริงๆ

ตอนแรกเปิดกล้องยังมีความคิดแทรก แต่ตอนนี้ ดีขึ้นเยอะ

จังหวะกระทบช้าเร็วอยู่ในใจได้ ตอนนั้นเรียกว่ามี วิตักกะ

 

พอถึงจังหวะกลับตัว ให้หยุดเท้าเสมอกันก่อน

เมื่อกี้มีจังหวะเท้าล้ำ เท้าไม่เสมอกัน

จังหวะในใจจะเสียไปนิดหนึ่ง แต่นิดหนึ่งนี้จะทำให้ใจเบลอไปชั่วขณะสั้นๆ

 

ที่ถูกคือ ถึงจังหวะที่กลับตัว หยุดเท้าเสมอกัน

พอกลับด้านขวาก็ใช้ส้นเท้าขวาเป็นจุดหมุน

ตรงหยุดครึ่งรอบน่ะถูกแล้ว

แต่ตอนหมุน เท้าไม่เสมอ จะมีความต่างนะ 

 

เห็นไหม จังหวะกระทบในใจต่างไปเลยนะ แค่นิดเดียว

แต่นิดเดียวนั้นตัดสินเลยว่า จิตจะเต็มหรือไม่เต็ม

 

ตัววิตักกะ ราบรื่นขึ้นเยอะ อย่างเมื่อกี้ ก่อนหยุด

มีจังหวะที่ รอบเมื่อกี้ที่เดินใกล้ประตู

จะมีจังหวะใจเบลอ เท้าหายไปจากใจ ตรงนี้พี่อยากชี้

มีจุดที่หนึ่ง มีความรู้สึกว่าเท้ากระทบในใจต่อเนื่อง

แต่ตอนที่จะไปถึงประตู ทบทวนดู มีอาการเบลอๆ เท้าหายไปจากใจ

ตรงนั้นมีประโยชน์

 

เพราะเวลาเดินจงกรม ทุกท่านเลยนะ

ขอให้มองเป็นทางแยกสองแพร่งนะ จิตแบบนั้น

 

แพร่งแรก ที่คนจะไปมากสุดคือ กลับไปเบลอ ลืมเท้ากระทบ

แล้วคิดฟุ้งซ่านต่อเนื่อง เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่เลย

กว่าจะนึกได้อีกทีว่า เราเดินจงกรมอยู่

 

อีกแพร่งหนึ่งคือ เรามองเห็น มีอาการทันว่าจิตเบลอไป จิตเริ่มแส่ส่าย

พูดง่ายๆ ว่า จังหวะเท้ากระทบหายไปจากใจ วิตักกะเสื่อมลง

พอเห็นมันเสื่อม มีอาการฟุ้งซ่าน อยากกระโจนไปข้างนอกเข้ามาแทน

ตัวสติ จะดึงให้ใจเราไปรู้สึกถึงเท้ากระทบได้ใหม่

 

พี่ตามไปเตือนไม่ได้ ต้องสังเกตเอง

เมื่อไหร่ที่ เท้าเริ่มหายไปจากใจ

ถ้าเรารู้ เท้าจะกลับมา ถ้าไม่รู้ ใจจะเตลิดไป

 

ไม่ได้ให้เกร็ง ไม่ใช่ให้จดจ้องนะ นี่จดจ้องมากไป

กลายเป็นเราระวังไม่ให้เกิดความฟุ้ง ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

ให้สังเกตเฉยๆ วางใจว่า อยู่กับจังหวะเท้ากระทบช้าเร็วไป

เสร็จแล้วเท้ากระทบหายไปจากใจ ค่อยไปรู้

 

เมื่อกี้ไปคุมว่า อย่าเผลออีก .. ไม่ใช่นะ จะเผลอให้เผลอไป

แต่รู้สึกได้ว่า เท้าหายไปจากใจเรา

พูดง่ายๆ ปล่อยให้หายไป อย่ารั้งไว้ เพื่อสังเกตว่า

ตอนเท้าหายไปจากใจ เรามีสติรู้ทัน มันกลับมาเท้าเองได้อย่างไร

เดินไปด้วยใจผ่อนคลาย

เพราะถ้าเดินด้วยอาการเกร็งๆ คุมๆ อยู่ จะไปไม่ถึงไหน

 

ถ้าเดินรู้เท้ากระทบแปะๆๆ ไปในใจ

ให้มั่นใจว่าเรามาถูกทาง มีวิตักกะ แน่

แต่มันจะเสื่อมไปเมื่อไหร่ ค่อยไปรู้เอาตามจริง

 

เห็นไหม ใจสบายขึ้น ถ้าข้างบนว่าง ข้างล่างชัด

ใจจะเหมือนไม่ฟุ้ง ปล่อยสบาย รู้เท้าชัด

กระทบๆๆ ไปเป็นจังหวะแบบนี้อยู่ในใจ

จะเริ่มเกิดวิจาระอ่อนๆ ใจจะว่างๆ

รู้สึกถึงจังหวะเท้ากระทบอย่างเดียว ด้วยความชัดเจน

 

เห็นตรงตามนั้นไหม เข้าใจตามนั้นไหม

เห็นแล้วใช่ไหมว่า ใจตอนแรก พอเริ่มเดินใหม่

จะกังวล ว่าจะเผลอเมื่อไหร่ ก็ไปจ้อง

แต่พอพี่บอกว่าไม่ใช่จ้อง ให้รู้เท้ากระทบเฉยๆ จำได้ใช่ไหม

ก็จะดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาด้วย

 

เพราะพอหนึ่งรู้เท้ากระทบได้อย่างเดียว ด้วยใจที่สบาย

จะรู้สึกว่า ข้างบนว่างๆ แล้วเท้ากระทบชัดขึ้น ตัวนี้ที่มี วิจาระ

 

พี่ใช้คำว่า วิจาระ ใจเบาๆ ว่างๆ รู้เท้ากระทบอย่างเดียว

มองเห็นไหม คิดว่าเข้าใจนะ (คุณหนึ่งพยักหน้า)

ให้ไปทำตามนั้นเลย แล้วจะมีผลให้การนั่งสมาธิ

มีสติ รู้ตัว มีความตื่นพร้อมมากกว่านี้

 

ของหนึ่งถ้านั่งสมาธิอย่างเดียวจะติดสุข

 

ทุกท่านที่เกี่ยงอยู่ว่าทางเดินจงกรมไม่มี อยู่ในที่คับแคบ

ให้ดูคุณหนึ่งเป็นตัวอย่างเลยนะ ได้น้ำได้เนื้อ

(หมายเหตุ: เป็นการเดินจงกรมในที่แคบ ระทางสั้นๆ)

 

บางคนไปเดินนอกสถานที่มาเป็นวรรคเป็นเวร แต่ก็ลืม ไม่รู้ได้อะไรมา

แต่ถ้าเราเดินในห้อง เดินถูกเดินตรง มีทิศทาง เข้าใจ

จะรู้ว่าสติเจริญขึ้น เห็นน้ำเห็นเนื้อนะ

 

-------------------------

คุณ เอ๋ (สายลมที่หวังดี)

 

พี่ตุลย์ : จะเห็นว่าจิตเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน

บางวันนิ่งใสเสมอลมหายใจได้ แต่บางวันก็ดรอปลง

ทุกคนที่เจริญสติ ที่ภาวนา ต้องอยู่บนเส้นทางแบบนี้

ประเด็นคือเราสามารถเห็นได้เป็นเรื่องปกติไหม

ถ้าเราเห็นได้เป็นปกติ และไม่คาดหวังว่าต้องให้ดีกับดี

สติจะเข้าสู่ภาวะความเป็นปกติอย่างหนึ่ง

คือเห็นว่าแม้การปฏิบัติ แม้สติก็ไม่เที่ยง

ไม่ใช่มีแค่สภาวะทางกายทางใจเผินๆ ที่แสดงความไม่เที่ยงอยู่

 

ไม่ใช่มีแค่ความสว่างบ้าง เงียบบ้าง ที่แสดงสภาวะไม่เหมือนเดิม

จากเงียบเป็นโฉ่งฉ่าง จากสว่างเป็นมืด ไม่ใช่แค่นั้น

แม้กระทั่งสติ สมาธิแต่ละวัน ไม่เหมือนกัน

 

ทีนี้พอเราเห็นว่า มีจังหวะที่ใจเราเสมอกันกับลมหายใจ

อย่างตอนพี่ไม่พูด จะมีความราบเรียบกว่านี้ จิตจะสะอาดใสกว่านี้

พอพี่พูดจิตเปลี่ยนไปนิดหนึ่ง

 

ตรงนี้ ถ้าเรามองเห็นถึงความเป็นเครื่องกระทบ ที่ทำให้จิตปรุงแต่งไป

เราก็จะย้อนกลับมาเห็นว่า

ณ ตอนที่ใจว่าง สบายๆ มีความเสมอกันกับลมหายใจ หน้าตาเป็นอีกแบบ

 

ใจที่แห้ง สะอาด สบาย

รู้ลมหายใจอย่างเดียว มีจิตเสมอกับลมหายใจได้ .. เป็นจิตตัวอย่าง

แต่จิตตัวอย่างนั้น เกิดขึ้นแป๊บหนึ่ง เดี๋ยวก็หายไปตามเหตุปัจจัย

 

เมื่อได้จิตตัวอย่างมา ว่ามีความรู้เสมอกันกับลมหายใจจริงๆ

จิตมีความสะอาด สว่าง ตรงนั้นเราตัดสินทันทีว่า

จิตแบบนี้ คือสิ่งที่เอาไปใช้งานได้

 

เสร็จแล้วเราได้แค่ สร้างเหตุปัจจัยเท่าที่จะเกิดได้นะ

อย่างมารู้ลมหายใจ ใช้ท่าหนึ่ง ท่าสองแต่ละครั้ง

เพื่อสะสมกำลังความรู้ที่มีความแห้งสะอาด

ปราศจากความอยากโน่นนี่ คาดหวังให้ได้อย่างนู้นอย่างนี้

เรียกว่า เป็นการบ่มกำลังของสมถะ

ทำให้จิตมีกำลังที่จะพร้อมรู้อะไรๆ ตามจริง หน้าตาจะเป็นแบบนี้

 

จากนั้น อะไรจะปรากฏก็ตาม

ความชอบใจของเราก็ตาม ความไม่ชอบใจของเราก็ตาม

เรารู้เสมอกับความมีลมหายใจนั่นแหละ

ลมหายใจผ่านเข้าผ่านออก ดูง่าย เพราะไม่ได้มารบกวนจิตใจอะไรเรา

แต่พอมีความชอบใจ หรือความไม่ชอบใจปรากฏขึ้นมา

จะดูยากกว่านั้น เพราะมากระทบให้ใจเรามีความหวั่นไหว

มีความคาดหวัง มีความอยากโน่นอยากนี่ ไม่อยากโน่น ไม่อยากนี่

 

ถ้าเราหัดดูราวกับว่า

ความชอบใจ และ ความไม่ชอบใจ เป็นลมหายใจชนิดหนึ่ง

ลมหายใจ มีทั้งสั้น ทั้งยาว ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด

ทีนี้ พอมีจิตรู้

ก็เอาจิตตัวอย่างจากอานาปานสติ ไปดูความชอบกับความชัง

พอเห็นอย่างนี้ได้ ชีวิตเปลี่ยนเลยนะ

เพราะเราเป็นคนที่เวลาชอบอะไร จะชอบมาก

พอไม่ชอบ จะไม่ชอบแรง

จิตกระเพื่อมแรง หวั่นไหวแรง สะเทือนแรง

 

พอเราเริ่มอ่านเกมออกว่า

ปฏิกิริยาทางใจของเรายึดแรง ทั้งชอบทั้งชัง

แล้วเราเอาจิตที่มีความเสมอกับลมหายใจนี้

ไปรู้ความชอบความชัง เหล่านั้น

 

กระทั่งความชอบความชัง ปรากฏราวกับเป็นลมหายใจ คือมีความเสมอกัน

จิตมีความเสมอกัน เวลาปฏิกิริยาทางใจออกมา

แม้แต่ตอนไม่ชอบ ตอนรังเกียจ มีการกระเพื่อมหนัก

เราก็รู้สึกอาการกระเพื่อมหนักนั้น ปฏิกิริยาทางใจที่เป็นลบนั้น

โดยสักแต่ว่า มันปรากฏให้รู้

ให้รู้สึกเหมือนลมหายใจที่สั้นๆ ลมหายใจที่หยาบๆ

ที่ไม่ได้นำความสดชื่นมา หรือกระทั่งนำความอึดอัดมาให้เรา

 

เวลาที่จิตเสมอกับปฏิกิริยา จะรู้สึกว่า ปฏิกิริยาทางใจมาสิดี

จะได้ฝึกดูซ้ำๆ จนกระทั่งเคยชิน และคุ้น กลายนิสัยทางจิตแบบใหม่

 

คำว่านิสัย คือพฤติกรรมที่เกิดซ้ำๆ โดยอัตโนมัติ

ไม่ได้วางแผน แต่เกิดเองด้วยความเคยชินที่อยู่ในกมลนิสัย

 

ทีนี้ พอเห็น .. เนี่ย เราดูลมไปเพื่ออะไร

ตอบตัวเองถูกว่า ดูไปเพื่อบ่มเพาะกำลังความรู้ตามจริง

 

กำลังที่จะรู้อะไรๆ ตามจริง นี่สำคัญมาก

สำคัญเกินกว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจ

 

ถ้าจิตมีความแห้ง สะอาด ใส ไม่ชุ่มด้วยกิเลส

มีความเบา สบาย มีความเปิดกว้าง

ตอนรู้ลมหายใจ จะเป็นตอนที่ได้ฝึก

ได้บ่มเพาะกำลังของความว่างนี้

 

แล้วพอเอาความตื่นรู้ตรงนี้ ไปใช้รู้ปฏิกิริยาอื่นๆ ของใจ

จะรู้สึกว่า ตัวเองมีต้นทุนที่จะดู

มีสติ มีกำลัง มีฐานของสติที่ จะจุดประกายการรับรู้สิ่งอื่นๆ

ให้เสมอกับ ลมหายใจ

 

พอรู้แม้กระทั่งปฏิกิริยา ที่ไม่ชอบได้ ไม่ต่างจากตอนรู้ลมหายใจ

เราจะมั่นใจในตัวเองอย่างหนึ่ง จะรู้ขึ้นมาเองกับใจ

จะรู้สึกว่า เรารู้เป็น มีสติอยู่กับภาวะทางกายทางใจเป็น

 

และความเห็นนั้น สติแบบนั้น จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

คืออะไรๆ มา จะไม่ใช่แบบเฉยเป็นพระอิฐพระปูน

แต่จะค่อยๆ มีพัฒนาการ จะค่อยๆเห็นว่า

จิตเราคล้าย มีสุญญากาศทางตัวตน

 

บางทีถ้ามีสติ ก็รู้สึกว่า ปฏิกิริยาทางใจถูกรู้ถูกดูได้ง่ายๆ

แต่ถ้าสติขาดระหว่างวัน ซึ่งแน่นอน

ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของฆราวาส จะขาด

แต่เราไม่ได้ไปคาดคั้นตัวเองว่า ต้องมีสติตลอดเวลา

 

เอาแค่ว่าวันหนึ่งมีสติรู้ เหมือนตอนที่จิตเสมอกันกับลมหายใจ

ได้สักสิบ ยี่สิบครั้งได้ ก็น่าพอใจใหญ่หลวงแล้ว

ที่ขาดสติไปเป็นพันครั้ง ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็จะค่อยคืบหน้าไป

และความคืบหน้าจะมาเอง มาอัตโนมัติ

ไม่ใช่ด้วยการลากจูง หรือออกแรง

 

พอเราได้การบ่มเพาะสมถะ

เหมือนอย่างตอนนี้ที่ใจเรารู้สึกเสมอกับลมหายใจได้

แล้วระหว่างวัน เรารู้สึกว่ารับกระทบด้วยความเข้าใจมากขึ้นๆ  

เข้าใจมาที่จิต เข้าใจมาที่ประสบการณ์ตรง จะชัวร์

จะเชื่อมั่นขึ้นมาในแบบหนึ่งว่า สติหน้าตาเป็นแบบนี้

จิตมีความพร้อมจะรู้

 

บางที เราไปถกเถียงมากมายเรื่องของสติ

ก็จะขาดสติไปหมดตอนที่คุยกัน

แต่เมื่อมันปรากฏเองในระหว่างวัน

อย่างเราจะเห็นได้ว่า มันมาได้เอง แต่จะครี่งๆ กึ่งๆ ไม่ชัวร์

 

เวลาที่ใจเราเกิดสติ รับรู้เสมอกันกับลมหายใจ

เหมือนตอนเรามีจิตเสมอลมหายใจ ตอนฝึกอานาปานสติ

ถ้าเรารู้ไปเรื่อยๆ จะชัวร์ขึ้นเรื่อยๆ

 

แต่ถ้ารู้จึ๊กหนึ่ง แล้วสงสัยตามหลังว่า

เมื่อกี้รู้จริงเปล่า หรือ ที่รู้ ใช่หรือยัง

ความสงสัย นั่นแหละเอาไปกิน

 

แต่ถ้ารู้จึ๊กหนึ่งขึ้นมา อย่างที่เรารู้สึกในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา

รู้จึ๊กหนึ่ง แล้วหายไป มีใจว่างๆ ขึ้นมาแทน

ถ้าใจว่าง เงียบ มาอยู่ที่ฐานคือลมหายใจ

หรือ อิริยาบถปัจจุบันก็ตาม .. นั่นถูกแล้ว

 

แต่ถ้าจึ๊กขึ้นมา แล้วสงสัยว่า

เมื่อกี้เห็นแล้วใช่หรือเปล่า ดีพอหรือยัง 100% หรือยัง

ตัวที่คาดหวังให้ 100% นั้นแหละวิจิกิจฉา

ถ้าเราหลงกับมันแค่แป๊บเดียว ความสงสัยเอาไปกินแล้ว

 

นิวรณ์ คือเครื่องถ่วงความเจริญของสติ

มีวิธีง่ายๆ .. ถ้ามีวิจิกิจฉา ขึ้นมาเราก็ดูว่า

วิจิกิจฉา เกิดหลังจากเรารู้ว่า เกิดอาการจึ๊กขึ้นมา

พอเกิดอาการจึ๊กขึ้นมา แล้วเราเห็น แล้วจิตเงียบๆ

อย่างนั้นเรียกรู้ วิจิกิจฉา รู้นิวรณ์โดยเห็นความไม่เที่ยง

 

หายไปแล้วจิตเงียบๆ กลับมาอยู่กับลมหายใจ และอิริยาบถปัจจุบัน

ตัดสินได้ว่า มันหายไปจากใจเราแล้ว

 

แต่ถ้าสงสัยว่า เมื่อกี้เรารู้จริงเปล่า รู้ชัดเปล่า คลุมเครือๆ

นั่นคือภาวะที่เราโดนหลอกแล้ว

 

มนุษย์เป็นอะไรที่โดนหลอกง่าย

ถ้าเราอยู่กับอะไรนานๆ ก็จะเชื่อว่าสิ่งนั้นอยู่ข้างเรา เป็นตัวของเรา

แม้ความสงสัย แม้ความคิดที่โผล่มา

ก็จะนึกว่า ความสงสัยถูกต้อง เราต้องสงสัย จิตไปยึดอัตโนมัติ

 

แต่ถ้าเราเห็น วิจิกิจฉาเป็นเครื่องถ่วงสติ

มาบล็อคไม่ให้จิตเงียบ ไม่ให้จิตตื่นรู้เต็มร้อย

เห็น วิจิกิจฉา โผล่มาแล้วก็หายไป

ตัวนี้แหละที่จะเห็นจริง และเห็นว่ามันไม่ใช่เพื่อนเราอีกต่อไป

แต่เห็นว่ามันเป็นของแปลกปลอม

สภาวะแปลกหน้าที่ไม่ใช่เรา มาหลอกให้ยึดว่าเป็นเรา

 

ระหว่างวัน ตอนนี้เราเห็นเองบ่อยขึ้นแล้ว

จะมีความรู้สึกเหมือนกับมีความขัดใจขึ้นมา

แต่เห็นแบบครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้เห็นเงียบๆ

เห็นแล้วยังสงสัยภาวะนั้นอยู่

 

พอเรารู้สึกถึงภาวะ ปฏิกิริยาทางใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่ชอบที่มาบ่อยๆ

แล้วยอมรับเงียบๆ ว่ามันเกิดขึ้น

แล้วยอมรับเงียบๆ ว่ามันหายไป

การยอมรับเงียบๆนั่นแหละ ที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้า ของเอ๋นะ

-----------------------

คุณวิรัตน์

 

พี่ตุลย์ : ใช้ได้เลยนะ มีตัววิตักกะเกิดขึ้นจริง

ตัวที่เราจะรู้สึกว่าจังหวะเท้ากระทบแปะๆๆ อยู่ในใจจริง

 

ทีนี้ อย่างเมื่อกี้ดูไปหลายรอบ ตัววิจาระยังไม่เกิด

คำว่าวิจาระ คุณวิรัตน์น่าจะเข้าใจ

เวลาเดินเอง จะมีความรู้สึกว่างๆ ใจเงียบกริบขึ้นมา

แต่เกิดชั่วขณะ แล้วคลายออกมาเป็นความคลุมเครือ

 

อย่างเมื่อกี้เท้ากระทบอยู่ในใจก็จริง

แต่มีความคิดคลุมเครือ .. ยังไม่ฟุ้งนะ แต่พร้อมจะฟุ้ง

 

ของคุณวิรัตน์ต้องเดินเป็นชั่วโมง วิจาระถึงจะเกิด

เพราะพื้นจิตเดิมฟุ้งง่าย มีอาการเหม่อ

ของเดิมเหม่อเยอะ แล้วเวลาเหม่อจะดึงกลับยาก

เพราะฟุ้งแบบ 360 องศา เอาทุกเรื่อง

ไม่ว่ากิเลสชนิดไหนก็ตามมาหมด

แล้วเราก็ยอมตามมันหมด ที่ผ่านมานะ

 

ทีนี้พอมาเจริญสติ เดินจงกรม จะรู้สึกว่ายาก

เพราะฝืนธรรมชาติจิตเดิมของเรา

แต่หนึ่งเดือนที่ผ่านมา เห็นถึงความต่างเลย

 

อย่างตอนนั่งสมาธิจะมีช่วงใจโล่งสบาย

รู้สึกถึงลมหายใจจริงๆ ได้เป็นพักๆ

 

อย่างเดินจงกรม มีจังหวะเท้ากระทบในใจจริง ไม่ปล่อยใจคิดฟุ้งซ่าน

แต่ตัวความสบาย เบา ที่เป็นวิจาระ จะยังไม่เกิด ถ้าเดินไม่นานพอ

แต่เชื่อว่า คุณวิรัตน์เคยเกิดวิจาระแล้ว

ข้างบนว่าง ข้างล่างชัดเคยเกิดแน่

 

แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจภาพรวม

ของเดิมเอาชนะยาก แต่เราชนะมาเป็นขั้นๆ ได้แล้ว

และเห็นว่าเราเป็นคนหนึ่งที่เดินจงกรม จนเกิดวิตักกะ วิจาระได้จริง

ก็ขอให้เอาตรงนี้เป็นกำลังใจว่าเราเดินได้

 

ความคลุมเครือ จะเหมือนม่านหมอก

ที่ถูกเป่าให้สลายตัวไป แต่เดี๋ยวก็กลับมาใหม่

แต่ถ้าทำไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะเหมือนมีแดดมาสลายเมฆหมอก

แต่ต้องใช้เวลาหน่อย

 

สุดท้าย จะเห็นว่าถ้าเราเพียรนานพอ จะมีผลให้ชีวิตต่างไปได้

 

คุณวิรัตน์ : จิตจะพยายามไปรู้ลม คู่กับเท้า ต้องทำอย่างไรครับ

 

พี่ตุลย์ : หลายคนสงสัยเรื่องนี้

คือเนื่องจากเราปฏิบัติอานาปานสติ มา

ทำให้เกิดความเคยชินแบบหนึ่งว่า

เราจะรู้ลมหายใจ ถึงจะนิ่ง จะเคยชินแบบนี้ในใจ

 

พอเดินจงกรม ความเคยชินแบบนั่งสมาธิ ก็กลับมา

จะเหมือนกับเราเคยถูกทำให้เชื่อแล้วว่า ถ้าไม่รู้ลมหายใจ จะไม่นิ่ง

เพราะประสบการณ์ตรงเรา จะเริ่มโล่งนิ่ง

โดยเฉพาะตอนหายใจออก

 

พอมาเดิน ก็เลยจะรู้สึกว่า จะเอาให้ได้ทั้งสองอย่าง

เพราะอย่างที่บอก คนเราชินกับอะไร จิตจะยึดกับสิ่งนั้น

 

พอมามีความแทรกซ้อนเกิดขึ้น ระหว่างเดินจงกรม

ถามตัวเองง่ายๆ คำเดียว

ณ ขณะนั้น ยังรู้จังหวะเท้ากระทบในใจชัดไหม

 

ถ้าจังหวะกระทบของเท้า อยู่ในใจชัด

จะรู้อะไรเพิ่ม ไม่เป็นไร .. ดี อย่าไปขวาง อย่าไปสงสัย

 

แต่ถ้า จังหวะเท้ากระทบหายไปจากใจเรา

ไม่ว่าเราจะไปรู้อะไร อวัยวะส่วนไหน หรืออะไรข้างนอก

ให้บอกตัวเองว่า นั่นยังไม่ดีพอ ไม่มีศูนย์รวมสติ

ให้กลับมารู้เท้ากระทบให้ได้ก่อน

 

ถ้ารู้เท้ากระทบ จะรู้อะไรเพิ่มเป็นของแถม อนุญาตหมด

แต่ถ้าไม่รู้เท้ากระทบ อย่าไปรู้อย่างอื่น

 

ทีนี้จะบอกล่วงหน้าเป็น roadmap ด้วย

เดี๋ยวคนจะไปนึกว่าต้องรู้เท้ากระทบอย่างเดียว ไม่รู้ไม่ได้

 

คือ เท้ากระทบ เป็นเบสิคของการเดินจงกรม

เมื่อรู้เท้ากระทบไปเรื่อยๆ เกิดศูนย์กลางสติชัดเจนแล้ว

เท้าแปะๆ ไป ชัดเจน ขอบเขตการรู้จะขยายออกไป

รู้ลมหายใจ รู้ความคิด รู้พร้อมทั่วไปหมด ที่เรียก รู้ทั่วพร้อม

 

ถึงจุดหนึ่ง จะเหมือนตัวเราเป็นปีติก้อนใหญ่

ที่เคลื่อนไป เบา สบาย เหมือนเดินในวิมานเมฆ

นี่เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น เราไปตั้งใจไม่ได้

แต่จะเกิดขึ้นตามลำดับหลังที่เราทำไปนานพอ

 

พอมีปีติ กายใจสงบระงับไม่กวัดแกว่ง มีแต่ท่าเดิน ไม่มีคนเดิน

มีแต่จังหวะกระทบ ไม่มีใครเป็นผู้รู้จังหวะกระทบ

มีแต่จิตรู้อยู่เฉยๆ บางทีจังหวะกระทบ จะเป็นอะไรแผ่วมากๆ

เป็น background หรือหายไปเลย

เหมือนร่างกายลอยไปลอยมา ลอยไปลอยกลับ

เราก็แค่รู้ไปว่า เหลืออะไรให้รู้ค่อยรู้ตรงนั้น

จะชัดเจนจะแจ่มใส กระจ่างกว้างขวางอยู่

 

แต่ตอนแรก ต้องท่องไว้เป็นสรณะเลยว่า เท้ากระทบต้องมาก่อน

จังหวะเท้ากระทบในใจต้องมาก่อนอันดับแรก ไม่มีไม่ได้

ถ้ามีอะไรมาแทรกแซง ให้กลับไปเท้ากระทบให้หมด

เพื่อเกิดฐานสติตั้งมั่น

 

พอมีฐานสติตั้งมั่น จะรู้อะไรเข้ามา .. รับหมด

เดินต่อไปเรื่อยๆ นะ เป็นชั่วโมงๆ เลย

---------------------

น้องหลิว

 

พี่ตุลย์ : แบบนี้เรียกว่า จิตของเรารู้ลมหายใจ

และ สุขที่ประกอบอยู่กับลมหายใจด้วย

 

การที่จิตของเราแห้งจากการปรุงแต่ง

สะอาดจากการปรุงแต่งที่เป็นส่วนเกินของ ลมหายใจ

ทำให้จิตเห็น ลมหายใจ ก็ส่วนหนึ่ง

สุขเวทนา อันเนื่องจากลมหายใจ ก็อีกส่วนหนึ่ง

เป็นธรรมชาติคนละภาวะ

 

ลมหายใจ มีธรรมชาติพัดเข้าพัดออก

ส่วน สุขเวทนา คือผ่อนคลาย

อย่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของจิตตวิเวก ไม่ดิ้นรน

รู้สึกความเงียบเชียบที่อยู่ในกายใจ

เอื้อให้เรารับรู้ว่า กายปรากฏอย่างไร เรื่องของกาย

ลมหายใจ เรื่องของลมหายใจ

แม้จิตปรากฎ อย่างไรก็เรื่องของจิต

 

สติ จะเต็มขึ้นมาอีกแบบหนึ่งว่า

สภาวะต่างๆ มาประกอบประชุมกัน ไม่ใช่เรา

พอรู้สึกถึงลมหายใจ รู้สึกถึงความสุขที่วิเวก

เราจะเห็นเลยว่าใจต่างไปจากแต่ก่อน

 

เมื่อก่อนพอใจที่จะคิด แต่ตอนนี้พอใจจะรู้ความคิด

ความคิดที่ปรากฏอยู่บ้าง จะคล้ายอะไรที่เป็นสายบางๆ

กระทบใจแล้วไม่เกิดความกระเพื่อม

กระทบแล้วเกิดความรู้ว่ าความคิดบางๆ ลอยมาแล้วผ่านไป

 

ตอนนี้ระหว่างวันคิดฟุ้งน้อยลงใช่ไหม

 

น้องหลิว : เหมือนกับว่าเคยมีครั้งหนึ่งตอนทำมือขึ้นลง

แล้วไปเห็นว่า .. สมมติว่าเราสัมผัสมือได้ ก็จะเรียบ

แต่พอมีความคิดกระทบก็จะจึ๊กๆ เหมือนเป็นเส้นยึกยัก

เสร็จแล้วก็กลับมาเรียบ

 

พี่ตลุย์ : ตอนเรียบ ที่รู้สึกว่าเรียบ

นั่นคือที่พี่เรียกว่า จิตมีความเสมอกับลมหายใจ

สังเกตเห็นความต่างตรงนี้ได้นี่ ดีมาก

 

สำหรับทุกท่านเลยนะ

ตอนจิตมีความเสมอลมหายใจ จะรู้สึกราบรื่น

จะรู้สึกเหมือน ลมหายใจ ปรากฏอยู่อย่างเดียวเลย

ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการคาดหวังอะไรเกินไปกว่าลมหายใจนั้น

 

จากประสบการณ์ของหลิวบอกว่า รู้สึกมีอะไรกระเพื่อมเป็นคลื่น

เป็นระลอก ตอนที่จิตไม่เสมอกับลมหายใจ

 

ตรงนี้ก็จะเป็นจุดเปรียบเทียบได้ว่า

ตอนที่เกินๆ มีการปรุงแต่งเกินๆ จากลมหายใจ จิตเป็นแบบหนึ่ง

แต่ตอนจิตมีความเสมอกับลมหายใจเป๊ะ

จะไม่มีการปรุงแต่งส่วนเกินตรงนั้น ไม่มีคลื่น ไม่มีอะไร

 

เราจะสังเกตได้ว่า ในระหว่างวัน จิตจะเลียนแบบ ต้นแบบนั้น

คือมีความรู้สึกว่า ไม่รู้จะปรุงแต่ง ไม่รู้จะเรื่อยเปื่อยไปทำไม

เวลาความคิดมา ทั้งวัน .. คนทั่วไป จะออกแนวคิดเรื่อยเปื่อย

ความคิดสุ่มอะไรมาให้เราไปตรึกนึก ก็จะตรึกนึกถึงเรื่องนั้น

 

แต่พอใจเราได้ต้นแบบของจิต ที่มีความราบเรียบสม่ำเสมอ

มีความเสมอกันกับลมหายใจ

ในที่สุด พออยู่ในระหว่างวัน จะมีสติขึ้นมาเรื่อยๆ ว่า

พอความคิดจะมาจูงจมูกให้ไปทางนั้นนี้ จะไหวตัว จะเท่าทัน

ว่าไม่รู้จะคล้อยตามไปทำไม ไม่รู้จะถูกจูงไปทำไม

แล้วก็มารู้มาดูอยู่กับลมหายใจดีกว่า มีประโยชน์มากกว่า

และจะมีฐานของสติ ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมา

 

คำว่าฐานของสติ ก็คือความหมายของสติปัฏฐาน 4

สติปัฏฐาน 4 ผมแปลง่ายๆ เลยคือ ฐานทั้งสี่ของสติ

 

ถ้าเรามีฐานของสติ มีวิหารธรรมเป็นลมหายใจ

เป็นอิริยาบถที่เคลื่อนไหวไป เราจะเห็นใจของตัวเองว่า

กำลังตั้งอยู่ที่ไหน และใจนั้น มีความเสมออยู่กับฐานนั้นหรือเปล่า

 

ถ้าเห็นลมหายใจขึ้นมา จิตมีความเสมอกับลมหายใจได้ไหม

เห็นกายเคลื่อนไหวขึ้นมา มีความรู้สึกว่า

จิตเสมอกับกาย กับธาตุดินได้ไหม

ถ้าเสมอกันจริงๆ ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกเลยว่า

กาย ที่เคลื่อนไหวไป จะใสๆ เหมือนเป็นอะไรที่ปรากฏอยู่

เคลื่อนไหวไป โดยไม่มีตัวใครอยู่ที่นั่น

 

ถ้ารู้สึกอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จะเข้าจุด

จิตจะเป็นสมาธิแบบหนึ่ง อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพาหิยะว่า

เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน

คิดสักแต่ว่าคิด ไม่มีใครเป็นผู้คิด อย่ายึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน

 

ตัวนี้แหละ จิตแบบนี้ สมาธิแบบนี้ถ้าเจริญขึ้นเรื่อยๆ

จะเชื่อแล้วว่า เราจะรู้สึกว่า เชื่อแล้ว .. ไม่มีตัวใครอยู่ในนี้จริงๆ

พอจิตเชื่อ จิตฉลาดแบบพุทธ ตัวนี้แหละที่จะเกิดเป็นปัญญาขึ้นมา

แล้วก็สามารถที่จะตัดได้ขาด

 

น้องหลิว : เพิ่งรู้สึกแค่ว่าในสมาธิรู้สึกอย่างไร ในชีวิตประจำวันก็ก๊อปปี้สมาธิมาเหมือนกัน เพิ่งเข้าใจค่ะ

-------------------------

พี่ตุ้ย (Siwaporn)

 

พี่ตุลย์ : จะรู้ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ต่างไปจากที่ปฏัติมาทั้งชีวิต

เดิมสว่างแล้วจะล่มง่าย แต่ตอนนี้ สว่างแล้วตื่นแล้ว ล่มยากขึ้น

นี่คือสิ่งที่เรียกว่า อานาปานสติ

ถ้ารู้ถึงลมหายใจได้จริง จะไม่ล่มง่ายนะ

 

ตอนจังหวะวางมือลง ถ้าสังเกต

อย่างฝ่ามืออยู่ในใจเราตอนนี้

เหมือนฝ่ามือเป็นนผู้ประคองลมหายใจ ออกมา

ตอนวางบนหน้าตัก ถ้าฝ่ามืออยู่ในใจเหมือนเดิม

จะเหมือนวางวัตถุอะไรลงบนหน้าตัก จะเต็มรอบมากขึ้น

 

แบบเมื่อกี้พยายามคิดตามพี่พูด ไม่ใช่ใจเราเท่ากันกับฝ่ามือ

ถ้าเท่าจริง มือรู้สึกสบายอยู่ พอวางไป มือก็ยังสบาย

แบบนี้ถึงจะไม่คิด

ความรู้สึกจะเต็มรอบ จิตเต็มดวงมากขึ้น

 

ทุกท่านเลยนะ ถ้า break down แล้ว 4 จังหวะ

หายใจเข้า.. หยุด.. ชูมือสุด.. ลดมือวางมือลง

ฝ่ามือเท่ากันในใจเรา แบบนี้เรียกครบรอบ

แต่ถ้าหลุดไปตอนวางมือ จิตจะแหว่งไป

 

จะเห็นได้จากประสบการณ์ภายในเลยว่า

จิตเต็มดวงเกิดจากการรับรู้สม่ำเสมอ วิตักกะ วิจาระเกิดขึ้นเต็ม

 

นี่แหละ ต้องอย่างนี้จะเห็นชัดเลยนะ

ความรู้สึกพอหลายรอบผ่านไป จิตจะเต็มขึ้น

 

ตอนมีความตั้งมั่นพร้อมรู้ จะรู้สึกว่าสิ่งถูกรู้ทั้งหมด

ปรากฏเป็นอะไรใสๆ เหมือนภาวะทางกาย ใสๆ แล้วถูกรู้อยู่

 

ลมหายใจ ก็เหมือนอะไรใสๆ ที่เข้าออกในกายนี้

แล้วพอเหมือนกับเรารู้ได้ว่า ภาวะทางกาย กับภาวะของลมหายใจ

ปรากฏอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ มีวิตักกะ วิจาระ

ตัวที่รู้ก็ใสเหมือนกัน ใสด้วยสว่างด้วย สว่างเรืองๆ

จิตยิ่งเต็มเท่าไหร่ ยิ่งใสมากเท่านั้น

 

พอถึงจุดที่ใสจริงๆ ไม่มีความคิดปรุงแต่งเข้ามา

ก็จะสว่าง บางทีเราจะรู้สึกจ้าๆ ขึ้นมา

หรือรู้สึกว่า ใจส่วนหนึ่ง กายส่วนหนึ่ง

 

ของตุ้ย บางทีจะรู้สึกขึ้นมาเอง ตอนเป็นสมาธิ

ใจเป็นผู้ดูแยกต่างหากจากกาย

แต่จะคอยถูกดึงกลับมาเป็นตัวเดียวกันใหม่

เพราะความรู้สึกที่เหมือนกาว ยางเหนียวคอยดึงมารวมกัน

 

ตอนที่มารวมกัน แค่สังเกตเฉยๆ ว่ามีตัวตุ้ย

แต่พอเหมือนแยกจากกันห่างๆ ตัวจะหายไป

เหมือนมีจิตดูเป็น background มีกายเป็น foreground

เห็น background/foreground ห่างกันเมื่อไหร่ ตัวตนจะหายไป

 

แต่เมื่อไหร่ที่ยางเหนียวรวมจิตกับกายเข้าด้วยกัน

ทำให้มาแปะติดกันใหม่ เราดูอยู่แค่นั้น

ไม่ต้องไปพยายามเอาชนะยางเหนียว เอาแค่ความรู้สึก

ตอนแยก ไม่มีความรู้สึกในตัวตน

แต่พอดึงกลับมาติดกัน มีความรู้สึกตัวตนเป็นก้อนขึ้นมา

 

สังเกตอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ไปกะเกณฑ์ ให้มันแยกหรือรวม

ในที่สุดจิตจะฉลาดขึ้นเองว่า ความหลงหน้าตาเป็นอย่างไร

 

หน้าตาคือจิตกับกาย มารวมกัน

ปัญญาคืออย่างไร คือจิตกับกายแยกกัน

 

ถ้าไม่ไปกะเกณฑ์จะเอาแต่ปัญญา

จะเห็นว่าทั้งความหลงและปัญญา จริงๆ ก็คือสภาวะหนึ่ง

ไม่ได้มีตัวใครในนั้นทั้งตัวปัญญา และตัวความหลง

 

ความหลงเป็นแค่ภาวะทางธรรมชาติ

ที่ดึงกายและจิตมารวมกัน ก่อให้เป็นอัตตา

ปัญญา คือไม่เห็นมีใคร ทั้งในฝั่งจิตและฝั่งกาย

 

แต่เบื้องต้น ต้องเห็นลมหายใจให้ชัดก่อน

ลมหายใจชัด จะเป็นตัวกลางเชื่อมให้สติ

อยู่กับภาวะทางกาย และลมหายใจ

พอตั้งมั่น จิตจะแยกไปเอง โดยเราไม่ต้องไปพยายามแยก

 

อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส

ลมหายใจออก รู้สิ่งนี้ ลมหายใจเข้า รู้สิ่งนี้

สิ่งนี้คือภาวะที่ปรากฏเด่น

ไม่ว่าจะคอตั้งหลังตรง ผ่อนคลาย สบาย หรือว่างสว่างอยู่

ถ้ารู้ลมหายใจควบคู่ไปด้วย แม้จะไม่พยายามแยก มันแยกเอง

 

การแยกรูปนาม ตั้งใจไม่ได้

แต่ถ้าทำตามที่ พระพุทธเจ้าตรัสสอน

จะแยกเองโดยไม่ต้องพยายามใดๆ ทั้งสิ้น

 

เห็นตามที่พี่พูดไหม

 

พี่ตุ้ย : เห็นมือที่วาดขึ้นลง เห็นลมหายใจ รู้สึกอยู่

แต่พอคิดแทรก ก็จะเหมือนมีตัวตนขึ้นมา

 

พี่ตุลย์ : ตอนพี่ใช้คำว่ายางเหนียว เห็นไหม

เหมือนมีอะไรมาดึงดูด ให้ใจกลับมารวมภาวะทางกาย

เป็นตัวตน เห็นตรงนั้นไหม

 

พี่ตุ้ย : ไม่เห็นค่ะ แต่มีบางช่วงที่ปกติ

จะเหมือนมีอะไรแปะๆ ติดๆ เหนียวๆ

 

พี่ตุลย์ : ถ้าเห็นแบบนั้นได้ แค่สังเกต

ตอนใจแยกไปเองจะเหมือนไม่มีตัวตน

แต่พอมียางเหนียวดึงให้กลับมาติดกัน จะกลับมีตัวตน

เห็นไปอย่างนี้ จะระหว่างวัน หรือนั่งสมาธิ ก็ตาม

ให้เห็นว่า ยางเหนียวนี้ทำให้เกิดตัวตนขึ้นมา

 

ตอนที่แยกวูบๆเป็นพักๆ ให้สังเกตว่า

เพราะเรารับรู้ ลมหายใจ ได้ชัด และรู้สึกถึงกายนั่ง คอตั้งหลังตรงได้

ถ้ารับรู้ฝ่ามือเต็มรอบ จะรู้สึกจิตมั่นคงมากขึ้น

------------------

น้องบอย

 

พี่ตุลย์ : จังหวะมีความปรุงแต่งเกินลมหายใจมา

ก็แค่รับรู้ว่ามีอะไรเกินมา พอมีอะไรเกินมาแล้วเรารับรู้ทันที

จะมีประโยชน์มาก จะเห็นว่า ที่เรียกว่าส่วนเกินหน้าตาเป็นแบบนี้

 

พอจิตแห้งสะอาด ไม่ปรุงแต่งเกินลมหายใจ

แล้วสามารถเห็นได้ว่า แปรจากสภาพที่แห้งสะอาดนี้

ไปเป็นเปียก ชุ่มกิเลส หรือมีน้ำหนักส่วนเกินจากลมหายใจมาได้

เห็นเป็นพักๆ ต่างไปได้จริงๆ เรื่อยๆ

จิตจะไปเป็นอิสระ ในฐานะผู้รู้ ผู้ดู มีสมาธิ ตั้งมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ

 

บอย : เหมือนลึกๆ ใจกังวลเรื่องที่คุยกับพี่ตุลย์ แล้วก็กังวลมาเรื่อยๆ

 

พี่ตุลย์ : เรื่องในโลกมีเยอะ เป็นเปลือก

ถ้ามารบกวนใจก็ใช้เป็นเครื่องภาวนา

ถ้ากลัวจริงๆ ว่าจะเป็นภัยเวร ยืดเยื้ออะไรทั้งหลาย

นั่นเป็นเครื่องฝึกที่ดี เพราะมีค่า มีความหมายกับใจเราจริงๆ

 

แต่ถ้าเรามองว่า แม้แต่ผู้ทำกรรมขั้นสูงสุด อย่างท่านองคุลีมาล

ถ้าเรามองย้อนไปว่า ท่านทำกรรมหนักขนาดนั้น

เวลาภาวนาในใจท่านจะเป็นอย่างไร

คงไม่ใช่ง่ายอย่างในพระไตรปิฎก ที่เราเห็นว่า

ท่านเจริญสติไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์

 

คือท่านพลาด แล้วก็ต้องมีแน่ๆ ฆ่าคนมา 999 คน

คงไม่ใช่กระโดดจากกลับตัวกลับใจ ตอนพระพุทธองค์ไปโปรด

แล้วเป็นพระอรหันต์ได้เลย แต่น่าจะต้องมีอะไร

 

นี่คือเดานะ จากที่เห็นคนทั่วไป

 

แต่ท่านคงอาศัยทุกขเวทนาทางใจ อาศัยว่าเราทำผิดบาปอะไรไป

มาดูเป็นส่วนหนึ่ง ของภาวะที่ท่านจะดู เพื่อบรรลุอรหัตผล

ไม่ใช่ท่านไม่รู้สึกอะไรเลย ฆ่าคนไป 999 คนแล้วมามีแต่อะไรดีกับดี

 

แต่อย่างที่พี่บอกไปแล้ว บอยไม่ได้พูดผิด

แต่พูดไปแล้วรู้สึกว่าจะเป็นการอะไรนี่นะ

ตรงนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราจะเหมือนกับ.. เอา ลืมๆ มันไป

แต่เอามาเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนาได้

 

ถ้ามีความกังวล แล้วเอามาทบทวนระหว่างพี่บอกว่า

พูดถูกแล้ว เข้าใจถูกแล้ว แล้ววนไปกลัวว่าเป็นบาปเป็นกรรม

เราก็ดูไปว่า จังหวะไหนสบายใจ จังหวะไหนกังวลใจ

ความฟุ้งซ่านไม่ได้บอกว่าจะมาเมื่อไหร่ มันสุ่มมา

 

ตัวนี้แหละ ทุกครั้งที่มากระทบแล้วรู้สึกอึ้งๆ ขุ่นๆ กลัวๆ ก็ให้เห็น

พอเห็นแล้วอยู่ยืดเยื้อ ก็ยอมรับไป

 

ทุกคนต้องมีจุดที่รู้สึกเสียท่า พลาดท่า

แต่ถ้าไม่ยอมนอนนิ่ง แต่ลุกขึ้นมา

แล้วทบทวนว่าจะลุกอย่างไร ให้สติทำให้ใจเสมอกับลมหายใจได้

ตัวนี้แหละที่จะทำให้เราไปสุดทางได้

เป็นอิสระจากการปรุงแต่งทั้งปวง ทั้งกุศล และอกุศล

 

ที่ พระพุทธเจ้า เรียก ลอยบุญลอยบาป

ถ้าลอยบาป แต่จะเอาบุญ ตัวบุญจะลากบาปกลับมาใหม่

แต่ถ้าไม่ยึดเลย ตัวนี้แหละ ที่จะรอดจริงแบบพระอรหันต์ท่านนะ

--------------------

น้องจิ๋ว

 

พี่ตุลย์ : พอเราเริ่มเห็นกายใจแบบชินนะ ว่า

นี่สักแต่เป็นกาย นี่สักแต่ลมหายใจ

แล้วรู้สึกชินที่จะเห็น เป็นอะไรที่ปรากฏอยู่โดยความเป็นอย่างนั้น

จะยิ่งตอกย้ำว่า ภาวะทางกาย ทางลมหายใจ เป็นธรรมชาติของมัน

แล้วใจที่ชินจะเห็น ก็จะมีความรู้

เกี่ยวกับธาตุเหล่านั้น ขันธ์เหล่านั้นกระจ่างขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกเฉยๆ

แต่การรับรู้ที่เป็นปกติ จะติดตัวไประหว่างวัน

 

เหมือนภาวะทางกายก็เคลื่อนไปแบบนั้น

การปรุงแต่งดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็เห็นชัดขึ้น

ในที่สุดจะตัดสินว่า ภาวะที่เห็นอยู่ห่างจากจิต

ไม่ใช่ผูกติดกับจิต เหมือนที่คิดว่า เป็นแบบที่ผ่านมาชั่วกัปชั่วกัลป์

 

น้องจิ๋ว : วันก่อนพี่ตุลย์สอนเรื่องงาน จิ๋วก็ทำเลย

คืบนิดเดียว แต่ทำทุกวัน และไม่ guilty แล้ว

และการทำแบบนี้ทำให้มั่นใจว่า ใส่ input นิดเดียว

แต่ได้ output ทุกวัน เหมือนภาวนา

 

จิ๋วเห็นตัวอย่างทางโลกคือ บอส

จะพูดก็ได้ว่า เขาเป็นอันดับหนึ่งของโลกในงาน

แต่พอจิ๋วใจสบาย ไปคุยด้วยหน้าตายิ้มแย้ม

เขาก็จะชอบทำงานกับเรา

 

เลยอยากแชร์ให้เพื่อนๆ ฟัง เพราะจิ๋วหาจุดสมดุลอยู่

ระหว่างการภาวนากับการทำงาน

สิบปีที่ผ่านมาเพิ่งเป็นจุดเปลี่ยน ขอบพระคุณพี่ตุลย์ค่ะ

 

พี่ตุลย์ : การที่เรามาปฏิบัติธรรมที่บ้าน

เหมือนมาคุยเรื่องงาน เรื่องปัญหาชีวิตส่วนตัวบ้าง ก็เป็นการปลดล็อค

 

อย่างพี่รู้สึกได้ตั้งแต่ดูจิ๋วหายใจ จะรู้สึกโล่ง ไม่ต้องปรุงแต่ง

ไม่ติดกับกรงขัง ใจสบาย เห็นเป็นธรรมดามากขึ้น

แม้ความคาดหวังทางธรรม เราก็จะไม่ตั้งไว้สูงเกินกว่าที่กำลังทำได้

ก็เป็นเหตุเป็นผลอย่างที่จิ๋วว่า

 

ถ้าเราปลดล็อคทางธรรมได้ แต่ติดข้องกับทางโลก ก็จะไปไม่สุดจริง

แต่ถ้าเราประยุกต์ จิตภาวนาเจริญสติ กับจิตที่ยังติดอยู่ในทางโลก

ถ้าเราปลดล็อคได้ ทั้งทางโลกและธรรม

ใจจะอิสระจริง และเห็นตามจริง ไม่ใช่ตามใจอยาก

 

พอเห็นตามจริง สิ่งที่ปรากฏ จะปรากฏตามเดิม แต่การเห็นจะต่างไป

สิ่งปรากฏโลกทั้งใบ ไม่มีอะไรเปลี่ยนหรอก ชั่วกัปชั่วกัลป์

เรานึกว่ามีวิวัฒนาการ มีการเจริญของ สปีชีส์(Species)

แต่จริงๆ แล้วเหมือนเดิม คือเป็นไปตามแรงซัดของกรรมที่ทำมา

 

แล้วพอเราเข้าใจว่าอะไรๆ เป็นไปตามกรรม

และปรากฏในขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์อยู่อย่างนี้

กรรมซัดเกือบถึงฝั่งแล้ว แต่จะถึงหรือไม่

อยู่ที่เราแหวกว่ายเอา .. คือการทวนกระแส

 

คลื่นลมในทะเลแรง พร้อมซัด พร้อมดูด กลืนเข้าทะเล

แตถ้ากรรมซัดเข้าใกลัฝั่ง แล้วเราตะเกียกตะกาย

ว่าย ตรงทิศตรงทางเข้าฝั่ง

 

นี่จะกลายเป็นสิ่งที่เราเห็นอย่างที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป๊ะเลยคือ

ผู้ทวนกระแสคือผู้ไม่เอา มีแต่ความรู้ความดูว่า

กำลังมีอะไรปรากฏให้ดูอยู่นะ

---------------

คุณพงศ์

 

พี่ตุลย์ : วันนี้จิตใสเต็มดวงดี แต่ในความใสเต็มดวง

ดูว่าเสมอกันกับภาวะที่กำลังปรากฏไหม

ถ้าเต็มดวงและเสมอกันกับตัวเองได้

จะรู้สึกว่า ใจที่กำลังปรากฏเต็ม เป็นภาวะอะไรอย่างหนึ่ง

 

แต่ถ้าหาก จิตไม่เสมอกับความเต็ม

จะรู้สึกว่า มีเราอยู่ในจิต มีจิตอยู่ในเรา

สังเกตง่ายๆ แค่นี้

 

พอถึงจิตที่เต็มได้ ใสได้ เบาได้ รู้ไปตรงๆ เลย

เหมือนตอนจิตเสมอลมหายใจ

จะรู้สึกว่า ลมหายใจไม่ใช่ตัวเรา จะมาเป็นวูบๆ นะ

 

ของคุณพงศ์ถ้าจิตใส สว่างเต็ม

แล้วเสมอกับตัวเอง เสมอกับจิต เห็นจิตโดยความเป็นจิต

จะรู้สึกว่าไม่มีตัวในจิต มีแต่จิตอยู่เฉยๆ ของมัน

 

จะสว่างมากน้อย จะสว่างน้อย จะแคบลงมา จะเสมอกันเป๊ะเลย

ไม่มีอาการมากไปกว่าจิตที่ปรากฏอยู่

เห็นไหมต่างไปเรื่อยๆ นะ ประณีต ผ่องใส ปลอดโปร่งขึ้นมา

ความกว้าง ว่าง คาแรคเตอร์จิตแต่ละขณะ จะต่างไปเรื่อยๆ

 

ประเด็นคือถ้าสติเราเห็นภาวะปรากฏชัด

จิตเห็นตัวเองเป็น วิญญาณธาตุ ที่แปรปรวน ปรุงแต่งแตกต่างไปเรื่อยๆ

จะปล่อยจิตที่รู้สึกว่า จิตเป็นเรา เราเป็นจิต

 

ที่ผ่านมาพอเรานิ่งอยู่ จะเหมือนกับจิต

นิ่งอยู่กับความรู้สึกครึ่งๆ กลางๆ

จะปล่อยแล้ว แต่ไม่ปล่อย เพราะรู้สึกในตัวว่า

มีเราอยู่ในจิต มีจิตอยู่ในเรา

 

แต่พอเห็นจิตเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จริงๆ

มีสติเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง มีจิตเสมอจิต

เห็นตัวเองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตัวนี้ ปัญญา จะเกิดขึ้นมา

 

ตัวปัญญาที่ประกอบกับจิต

จะเหมือนกับเป็นอีกบุคคล ที่แยกออกไปสู่ความไม่มีบุคคล

จะเหมือนความนิ่งที่เป็นอุเบกขา จิตรู้จิตอยู่

ไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรทั้งสิ้น มีแต่ความเสมอกันในตัวเอง

 

ตอนมีจิตเสมอจิต คือตอนที่จิตต่างไปอย่างไร

เห็นตัวเองต่างไปอย่างนั้น

 

เห็นไหมว่าจิตต่างไปเรื่อยๆ บางทีประณีตขึ้น กว้าง ใสมากขึ้น

 

คุณพงศ์ : หลังๆ เริ่มปฏิบัติได้นานมากขึ้น

เริ่มแรกที่ดูคือนั่งได้ 12 นาที ตอนนี้ 48 นาที

มีความสุขกับ ลมหายใจ จิตเห็นความสว่าง

แต่ไม่ได้เคล้าเคลียความสว่าง แต่ไปอยู่กับ ลมหายใจ

อย่างตอนนี้ลืมตา ก็ยังเห็นจิตสว่างเท่าบ้าน

อาจติดเคลิ้ม แต่ไม่ได้อยากหลับ แต่มีนิวรณ์ ลังเลสงสัย

ว่า เมื่อไหร่เราจะไปถึงปีติเสียที

พอไปถึง จะรู้สึกใจเต้นแรง มือสั่นนิดๆ

จิตจะไปอยู่ลมหายใจ อย่างเดียว ไม่รู้มือ

 

พี่ตุลย์ : ถ้ารู้ลมหายใจได้นาน จิตจะแผ่ ใส ตื่น

พอรู้ ลมหายใจ จะรู้ความต่างของจิตไปด้วย

เพราะถ้า รู้ ลมหายใจ อย่างเดียว จะไปติดกับจิตอย่างหนึ่ง

ที่จะปล่อยแล้ว แต่ปล่อยไม่จริง

 

แต่ถ้าเรารู้ไปด้วยว่า สภาพของจิต บางทีก็ใส กว้าง สว่าง

บางทีก็หรี่แคบ จะเป็นวิปัสสนา ที่ยกระดับมากขึ้นเรื่อยๆ นะ

 

คุณพงศ์ : หลังจากทำอานาปานสติ จะรู้สึกตัวเอง อยากรักษาศีลแปด

อะไรก็ตามที่อยู่ในโลก ทำให้จิตในกระเพื่อม ก่อให้เกิดกิเลส จะหนีหมด

ทีวีไม่ดู เล่นโซเชียลน้อยลง ดำริออกจากกาม

และปกติเป็นคนพูดตรงพูดแรง แต่ตอนนี้ก็ระวังมากขึ้น

 

พี่ตุลย์ : อานุภาพของอานาปานสติ

จะเป็นต้นแบบของจิตที่ปรับชีวิตประจำวันเราได้จริง อนุโมทนาด้วยนะ

---------------

ยายเพ็ญ

 

พี่ตุลย์ : พอมีความรู้สึกที่สดชื่น

รู้สึกว่ากายนี้เป็นที่ตั้งของการรู้การดู เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส

เวลาที่เราทำได้ จะเหมือนกับมีชีวิตอีกแบบหนึ่ง

 

กาย จะปรากฏเหมือนกับเครื่องระลึกเฉยๆ ว่า เป็นของมันอย่างนี้

จะไม่ใช่กายที่น่าห่วง กายนี้เป็นตัวของเรา

หรือจะเป็นเครื่องหมายแทนเรา อะไรต่างๆ จะเปลี่ยนไปเลย พลิกไปอีกมุม

เป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง ที่เราเอาไว้สักว่า เป็นเครื่องระลึกว่าไม่เที่ยง

เป็นไปตาเหตุปัจจัย

 

พอหายใจเป็น จะชุ่มชื่นขึ้นมา

ภาวะทางกาย จะเหมือนมีความสดใหม่ขึ้นมาอีก

ทีนี้ ถ้าเราไปหลง จะไปรู้สึกว่ากายนี้ดี มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้ดีขึ้น

 

แต่ถ้าเรามองอย่าง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นเครื่องระลึก

มันไม่เที่ยง เอาไว้ดูเหตุปัจจัย มุมมองเราจะต่างไปเลย

 

อย่างของพี่เพ็ญ จะรู้สึกอยู่แล้วว่า กายเป็นของน้อย เป็นของที่เปลี่ยนไป

พี่จะได้เปรียบคนอื่น เพราะภาวะทางกาย อยู่ในจุดที่

แสดงตัวชัดเจนอยู่ตลอด ถึงความพร้อมจะเสื่อม ไม่เที่ยงไม่เหมือนเดิม

 

พอทำสมาธิเป็น รู้สึกถึงลมหายใจ

ความสดชื่น ที่เข้ามาในภาวะทางกายได้

จะชุ่มชื่น ปลอดโปร่งเห็นกายใสเหมือนแก้ว

ก็จะเห็นความต่างไปอีกชั้น แม้ความเสื่อมก็กลับมาเจริญ สดใสขึ้นได้

 

พอเห็นถึงภาวะเหล่านี้ และรู้ว่าภาวะสดใสชุ่มชื่น เอื้อให้สติตั้งอยู่

ก็แค่เข้าใจว่า ภาวะที่มีปีติสุข จำเป็นกับการเป็นที่ตั้งของสติ

แต่จะไม่ไปหลงยึดว่า ภาวะชีวิตเราดีขึ้น มีความน่าติดใจ

 

ตัวนี้สำคัญเลย คือ เราอาศัยปีติสุข เป็นเครื่องยืนของสติชั่วคราว

ไม่ได้จะเอามาเป็นเครื่องล่อใจ หรือเหยื่อล่อให้รู้สึกดี

หรือติดใจกับภาวะเป็นกาย

 

การเห็นความต่างว่า ภาวะทางกายเป็นไปตามเหตุปัจจัย

จิตไม่ไปยึด ทั้งปัจจัยดี และไม่ดี

แล้วก็ไม่เอาผลที่ไม่ดี และที่ดีด้วย

พูดง่ายๆ เราจะไม่ติดสักอย่าง ผ่านฉลุยทุกอย่าง

มีปีติมีสุข เพื่อหล่อเลี้ยงสติ

 

จิตที่สว่าง ผ่องแผ้วอยู่ ก็เป็นแค่หนทาง หรือเป็นมรรค

ที่เราจะเดินออกจากความเป็นอย่างนี้

ไม่มาเกิดโดยความเป็นอย่างนี้อีก

ไม่มีภาวะปรุงแต่งให้เป็นทุกข์อย่างนี้อีก

 

ตอนที่เห็นว่าจิตเป็นมรรค

คือ ตอนที่จิตไม่เอาอะไรเลย

แค่รู้แค่ดูอยู่จริงๆ

 

พี่เพ็ญจะได้เปรียบคนอื่น เพราะความรู้สึกเรามาถึงจุดนี้นานแล้ว

 

แต่ที่จะไม่เอาจริงๆ ต้องอาศัยสติประกอบพร้อม

เห็นภาวะทางกายใจ เป็นไปตามเหตุปัจจัย

จริงๆ ไม่มีใครเลยทั้งเราและเขา

มีแต่ภาวะของธาตุ เป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่

 

ความไม่เอาอะไรเลย ก็จะไม่เอาถึงที่สุด ไม่เอาทั้งผลทั้งเหตุ

 

ของคนอื่นปฏิบัติไป ถ้ายังหนุ่มสาวอยู่ จะไปเผลอ อยากได้อะไรบางอย่าง

แต่ถ้าอยู่ในภาวะของพี่เพ็ญ จะรู้สึกขึ้นมาเต็มๆ เลยว่า

เวลาไม่เอา ไม่เอาแบบเด็ดขาด

 

พอตั้งอยู่ในสมาธิ สักแต่รู้แต่ดูไปเรื่อยๆ

ก็จะหมือนที่พระพุทธเจ้า ตรัสกับท่าน พาหิยะ

เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน

คิดสักแต่คิด อย่ายึดมั่นว่าเป็นตัวตน

จะปรากฏต่อจิตชัดขึ้นๆ จนจิตปรากฏโดยความเป็นมรรค

จะสว่างใส แบบไม่มีใครอยู่ในนั้น

 

เรารู้เองเห็นเอง ด้วยความตื่นเต็มว่า ให้มันอยู่แบบนั้นไป

ให้อยู่ในฐานที่ตั้งของการสักแต่รู้ ไม่มีใครแม้แต่ผู้รู้ก็ตาม

 

อนุโมทนาอย่างยิ่งครับพี่ วันนี้รู้สึกใช่ไหมว่าใจไม่เอาอะไรจริงๆ

 

คุณยายเพ็ญ : เห็นแล้วค่ะว่าใสๆ ว่างๆ เป็นอย่างไร

และเข้าใจขึ้นอย่างที่ อาจารย์ แนะนำ

--------------------------

มะยม

 

พี่ตุลย์ : พอเข้าใจแล้วว่า จิตที่จะใช้รู้ใช้ดูโดยไม่ปรุงแต่ง เป็นอย่างไร

ก็จะก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ

 

ความรู้สึกใสๆ ตอนลมหายใจผ่านเข้าออก

หรือภาวะทางกายอะไรที่จะปรากฏ

ถ้าเราเห็นสักแต่ที่มันเป็น  

ก็จะไม่ได้เป็นที่ตั้งของความรู้สึกในตัวตนขึ้นมา

ต้องค่อยเป็นค่อยไปนะ

 

มะยม : ยิ่งค่อยๆ ทำ ก็เข้าใจขึ้นค่ะ

 

พี่ตุลย์ : หยอดกระปุกไปนะ พอจิตเข้าที่เข้าทาง

อยู่ในจุดที่สักแต่รู้สักแต่ดู จะดีขึ้นเรื่อยๆ

สมาธิวันนี้อาจไม่เต็มร้อย วอกแวกบ้าง ไม่เป็นไร

แต่ขอจุดยืนของจิตไม่คาดหวังอะไรเกิน ตรงนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ นะ

 

---------------------

คำถามจากบอย

 

ถาม : วันก่อนขาอ่อนแรง ได้กลิ่นเหม็นศพออกจากร่างตัวเองหมายถึงอะไร

 

พี่ตุลย์ : จริงๆ แล้ว อยากให้มองอย่างนี้

ภาวะทางกาย ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี

จะมีอาการทางใจที่ไปยึด ไปโยง ไปถือมั่น

 

ตอนที่ดี ก็รู้สึกว่าเป็นร่างกายเรา

ตอนที่แสดงอาการไม่ดี ก็รู้สึกว่าอยากให้มันกลับมาดี

 

ภาวะทางกาย จะปรุงแต่งจิตไปอยู่แค่นี้

แล้วพอจิตเข้าไป อย่างที่บอยบอกว่า

อยู่ในอาการปลง เหมือนปลงทางกาย

จิตที่เข้าไปสัมพันธ์กับภาวะทางกาย เชิงที่ปล่อย ที่ปลง

ก็อาจไปขุดเอาศักยภาพอะไรบางอย่าง

ที่เคยสะสมแล้วในอดีตกลับมา เช่นรู้สึกกายเป็นอสุภะ

เป็นการปรุงแต่งทางจิต

 

ขอแค่มองในแง่ดีว่า เห็นกายเป็นอสุภะ ก็ดี

ใจจะได้ปล่อยง่ายขึ้น จะปลงไปเลยว่า กายไม่ดีแล้ว

มีอสุภะ มากระหน่ำซ้ำ ทำให้จิตเกือบๆ ปลง เกือบๆ ปล่อย

ปล่อยพรวดไปเลย

 

แล้วอย่างที่จะบอกบอย และทุกคนที่มีปัญหาทางขา

อย่านั่งสมาธิแบบขัดสมาธิกับพื้น ไม่ได้ช่วยให้สมาธิดีขึ้น

นั่งเก้าอี้ก็ได้ฌานได้ อยู่ที่จิตว่าจะกำหนดถูกหรือผิด

 

รักษาธาตุขันธ์ไว้ก่อนด้วยการนั่งสบายๆ นะ

 

สำหรับวันนี้นะครับ ก็ได้อนุโมทนาเพิ่มกับอีกหลายๆ ท่าน

และคงได้อนุโมทนาเพิ่มไปอีกหลายๆ ครั้ง หลายๆ วันข้างหน้ากับทุกท่าน

ถ้าเข้าใจพอยต์ว่า ดูเพื่อไม่ได้ให้เกิดอะไรขึ้นมา

แต่เพื่อทิ้ง ความเป็นตัวเป็นตน ที่หลงมาช้านาน

ทิ้งไปจากใจได้ นั่นแหละ

จะเกิดอะไรขึ้นก็ให้เกิด เพราะอย่างน้อยดีแน่ๆ

 

อย่างน้อย ความทุกข์ในชีวิตน้อยลง สุขในชีวิตมากขึ้น

 

สุขในชีวิต ไม่ได้มาจากข้าวของเงินทอง แต่มาจากการทิ้งเป็น

ทิ้งวันละชิ้นสองชิ้น มองย้อนกลับมา คือทิ้งไปไม่รู้กี่พันชิ้น

แล้วจะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าท่านอยากให้ทิ้งอะไร

_______________

 

วิปัสสนานุบาล EP 26

วันที่ 13 ธันวาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น