คุณ หงส์
พี่ตุลย์ : พอจิตเริ่มใสๆ
แบบครึ่งๆ กลางๆ
เราจะรู้สึกว่าบางทีใจข้างใน ก็ใสโปร่ง
แต่บางทีก็มีฝุ่นมีละออง มีความคิดฟุ้งๆ จรกลับมา
ตรงนี้จะมีประโยชน์ เพราะว่าภาวะครึ่งดิบครึ่งสุก
มีประโยชน์นะ
ตอนที่มันใส จะสามารถรู้สึกถึงภาวะของความเป็นตัวเองได้ว่า
มีลักษณะใสๆ มีลักษณะที่ไม่มีความขุ่น
ทีนี้พอความคิดจรเข้ามา เกิดความรู้สึกว่า เปลี่ยนจากใสเป็นขุ่นๆ
ขึ้นมา
ก็เรียกว่าเห็นความไม่เที่ยงของภาวะทางใจ
ภาวะของจิตแล้ว
เวลาเราดูอยู่ รู้อยู่ว่า ภาวะทางใจที่ใสบ้าง
กลับเปลี่ยนเป็นขุ่นบ้าง
ขุ่นในที่นี้ อาจไม่ใช่ขุ่นคลั่ก แต่ว่าเหมือนกับขาวๆ
ขุ่นๆ ขึ้นมาแทนที่จะใส
เห็นความไม่เที่ยงแบบนี้ไปเรื่อยๆ
แล้วจะมีความรู้สึกขึ้นมาระหว่างนั่งสมาธิว่า
จิตเป็นอะไรที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
การที่เรามีความรับรู้ว่าจิตเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
มีประโยชน์
เพราะว่าปกติเราจะรู้สึกอยู่แค่ว่า เราต้องการอะไร
หรือพอนั่งสมาธิไปแล้วเรากำลังสงสัยอะไร
อยากรู้อะไร
ความคิดปรุงแต่ง จะบีบให้จิตอยู่ในทิศทางที่คิดปรุงแต่งไปเช่นนั้น
แต่พอทำสมาธิได้จนกระทั่งรู้สึกถึง วิตักกะ
วิตักกะ นี่นะทำให้รู้สึกถึงจิตมีความใส เบา ว่าง
เสร็จแล้วยังมีเศษความคิด ที่ตกค้างจรเข้ามาในจิตใสๆแบบนี้
ทิศทางความรับรู้ หรือการปรุงแต่งของจิต จะแตกต่างไปเป็นคนละขั้วเลย
จากที่มีศูนย์กลางความรู้สึกในตัวตนแน่ๆ
เป็นผู้คิด
กลายเป็นจิต ที่ทำตัวเป็นศูนย์กลางรับรู้ ว่าภาวะของตัวเองใสๆ
อยู่
แล้วภาวะนั้น เวลาถูกความคิดที่จรเข้ามา
เหมือนมีการแทรกซึมเข้ามา
มีอะไรอย่างหนึ่งที่แปลกปลอมเข้ามา
จะรู้สึกว่า จิตขุ่นไปชั่วขณะ หรือชั่วคราว
จากเดิมมีตัวเราเป็นผู้คิดแน่ๆ .. ความคิดมาปุ๊บนี่
ยึดเลยว่าตัวเรา
ตอนนี้เปลี่ยนไปนะ ความคิดพอจรเข้ามา
รู้สึกว่ามันทำให้จิตใสๆ กลายเป็นจิตขุ่น
จังหวะนี้ของคุณหงส์นะ สังเกตอย่างนี้
แค่สังเกตเฉยๆ
จังหวะที่เรารู้สึกว่าง ใจเหมือนว่าง พอลดมือลงไปจนสุด
จะมีตัวเรากลับมา
แค่สังเกตเฉยๆ ไม่เอาถูกเอาผิด แล้วไม่ต้องพยายามอะไรทั้งสิ้นนะ
พอตอนวางมือ จะเหมือนกับมีความรู้สึกเป็นเรากลับมา
แค่รับรู้ไปเฉยๆ แล้วพอผมพูดไป ให้สังเกตนี่นะ
จะมีน้ำหนัก
ความเป็นตัวเรา บางทีจะเหมือนเบาลง บางทีเหมือนจะเข้มข้นขึ้นมา
การที่เราได้รับรู้ว่า ตอนแหงนหน้าสุด ใจว่างๆ
วางๆ เหมือนไม่มีใคร
ก็เพราะการแหงนหน้าสุด เป็นการทำให้โหมดการทำงานของสมองต่างไป
เดิมเวลาที่เราตั้งหน้า พร้อมส่งสายตาออกไปดูสิ่งต่างๆ
ในโลก
จะรู้สึกว่านี่คือศูนย์กลางความเป็นตัวตน
การทำงานของความคิดจะทำเต็มที่
แต่พอแหงนหน้า ประสาทตาจะถูก.. เหมือนกับ
ตัดการทำงานออก หรือเปลี่ยนโหมดไป
สมองที่รับรู้ตำแหน่งที่ตั้งของศีรษะที่แหงนขึ้นไป
จะไปรับรู้ทิศทางที่ไม่เคยชิน ไม่เคยชินกับที่ตั้งของการเป็นตัวตน
ศูนย์กลางความคิดที่เป็นตัวตนในหัวจะต่างไป
จะเหมือนถูกล้างไปชั่วขณะ รู้สึกว่างขึ้นมา
พอเราลดใบหน้าลงมา พร้อมลดฝ่ามือลง
แล้วรู้ลมหายใจตามไปด้วย
ก็เกิดความรู้สึกถึงลมหายใจที่แจ่มชัด
เทียบเคียงได้กับฝ่ามือ
พอเราวางมือลงหน้าตัก หลายๆ คน
ความรู้สึกในตัวตนกลับมา
เพราะเวลาเราตั้งหน้าอยู่ในทางตรง สายตาเล็งตรงขนานกับพื้น
จะเป็นความชินแบบเก่าๆ ที่สมองส่งความคิด ส่งความนึก
จิตจะเคยชินเป็นธรรมดาว่า
ประมาณความรู้สึกอย่างนี้
จะยึดความคิดกลับมาเป็นตัว กลับมาเป็นตน
นึกๆ คิดๆ อยู่ในระหว่างวันว่าเป็นตัวเรา มีตัวเรา
ตำแหน่งต่างๆ ในแต่ละท่า จะเห็นเลยว่า
สามารถเห็นความปรุงแต่งของจิตที่แปรไปเป็นต่างๆ
ได้สารพัด
ถ้าเห็นได้ว่า จังหวะที่วางมือลง ความรู้สึกในตัวตนกลับมา
มีประโยชน์อย่างไร?
ก็คือจะได้เทียบเคียงว่า เมื่อกี้ ที่รู้สึกว่างๆ
จากความรู้สึกในตัวตนไป
จริงๆ แล้ว ตัวตนไม่ได้หายไป แต่ความรู้สึกในตัวตนแตกต่างไป
ไม่คุ้นกับความรู้สึกว่างๆ และเห็นลมหายใจชัด
แต่พอวางมือลง ลมหายใจหมดไปจากจิต
หายไปจากจิตแล้ว
ก็กลับมาอยู่กับความคิดนึก
ตอนที่นั่งคอตั้งหลังตรง เล็งหน้าไปปกติ
จะมีความรู้สึกเป็นเราแบบเดิมๆ
ที่นั่งคอตั้งหลังตรงแบบนี้เป็นประจำกลับมา
พอเราเทียบเคียงได้ว่า ตอนแหงนหน้าสุด อัตตาตัวตนเบาบางลง
แต่พอตั้งหน้าตั้งตาปุ๊บ อัตตาตัวตนทวีตัวขึ้นมา
เข้มข้นขึ้นมา มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา
อย่างนี้เราจะเก็บตก
รู้รายละเอียดการปรุงแต่งของจิต เพิ่มขึ้นทีละนิดว่า
มโนภาพในตัวตน หน้าตาตัวตน ก่อตัวขึ้นได้จากความเคยชิน
ที่เราอาศัย ภาวะทางกายทางใจ มารับใช้ความรู้สึก
อยากโน่น อยากนี่ ปฏิเสธโน่น ปฏิเสธนี่ หรือว่ายึดโน่น
ยึดนี่
นี่เป็นสิ่งที่ถ้าเราสังเกต จะค่อยๆ
ได้รายละเอียดมาจากท่าที่สอง
อย่างตอนนี้ ถ้าเรารับรู้ไปเรื่อยๆ ว่า
แหงนหน้าสุด รู้สึกว่าง ลดมือลง จิตมีลมหายใจปรากฏ
เห็นไหม พอมาสังเกตว่าพอวางมือลง
แล้วความรู้สึกในตัวตนกลับมา
ตัวตนมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ตอนนี้จะรู้สึกเหมือนกับว่า พอวางมือลง ความรู้สึกตัวตนประณีตขึ้น
แปลว่า ตัวตนจริงๆ ไม่มี มีแต่ว่าจิตถูกปรุงแต่ง
ด้วยภาวะทางกาย ภาวะทางใจ ให้มีตัวตนให้มีมโนภาพ
หยาบๆ บ้าง หนักๆ บ้าง
หรือพอมีจิตผู้รู้ไปเห็นภาวะปรุงแต่ง
มโนภาพในตัวตน ก็เบาบางลงได้ ประณีตขึ้นได้
ทีนี้ดูนะ พอรู้สึกถึงลมหายใจ
จิตจะเสมอกับลมหายใจ
เหมือนกับไม่มีอาการปรุงแต่งอะไรขึ้นมาเลย
เพราะมีความเข้าใจขึ้นมาว่า
มโนภาพในตัวตนเป็นของหลอก .. ตัวตนจริงๆไม่มี
ความสนใจของมัน ก็จะไม่ไปรับใช้ตัวตนอีกต่อไป
อย่างน้อยก็ชั่วขณะหนึ่ง ที่เราอยู่ในสมาธิ
เวลารู้ลมหายใจ จะรู้ละเอียด
รู้เหมือนลมหายใจปรากฏเป็นภาวะอะไรแบบหนึ่ง
ที่มีสภาพพัดไหวอยู่อย่างนั้น
และใจเรารู้สภาพพัดไหวนั้น
โดยไม่ไปเสริมเติมแต่ง
ไม่มีมโนภาพในตัวตนผู้หายใจ
ไม่มีตัวอยากให้ลมหายใจเป็นอะไรที่ดีขึ้น
ไม่มีความหวังว่าจะให้จิตได้โน่นได้นี่ ได้ฌาน
ได้ญาณ ได้มรรคผล
มีแต่ความเสมอกันกับลมหายใจ
นี่ .. ตอนที่ปรากฏชัดขาออกนี่
จิตจะมีความรู้สึกว่า
ลมหายใจมีให้รู้แค่ไหน จิตก็รู้ไปแค่นั้น
ลมหายใจปรากฏอยู่แค่ไหน
จิตก็ปรากฏตามลมหายใจอยู่แค่นั้น
มีความเด่นดวง มีความสว่าง มีความนิ่ง
มีความตั้งมั่นอยู่ในความตั้งมั่น ความเบา
ตอนที่จิตเด่นดวงอยู่ในความรู้สึกว่าง เบา
เห็นลมหายใจปรากฏชัดอยู่อย่างเดียว
นั่นคือวิจาระ
วิจาระ เมื่อเกิดขึ้นมีประโยชน์อย่างไร?
ถ้าวิจาระอ่อนๆ ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่
พอเกิดขึ้นแป๊บหนึ่งหายไป แบบนั้นเรียกเป็นขณิกสมาธิ
ใช้อะไรไม่ค่อยได้ นอกจากแค่รู้สึกว่า สุข หรือดีจัง
แต่ถ้าวิจาระเกิดขึ้นเรื่อยๆ เป็นปกติ
เราจะเลิกติดใจว่า เลิกรู้สึกแค่ว่า รู้สึกดีจัง
แต่จะเอามาใช้งานได้
อย่างตอนนี้ พอวางมือลง
จะเริ่มมีความคุ้นที่จะตั้งจิตไปอีกอย่างหนึ่ง
มีความรู้สึกว่า มีอาการสังเกตว่าขณะนี้
น้ำหนักความรู้สึกในตัวตนของเรา ตอนวางมือลง
มากหรือน้อย
ถ้าหากว่าฝ่ามือยังปรากฏอยู่ในจิตเท่าเดิมเป๊ะ
เท่ากับตอนที่ลดฝ่ามือลง แล้วใจมีความว่างเบา
ไม่มีน้ำหนักความรู้สึกในตัวตนปรากฏขึ้นเป็นมโนภาพเลย
..
จิตจะมีความสม่ำเสมอ
เห็นไหม เหมือนกับว่า จิตมีความเสมอกับลมหายใจอยู่
กล่าวคือ ตอนวางมือนิ่งลง ลมหายใจหยุด
จิตก็เสมอกับลมหายใจหยุดนั้น
คือมีจังหวะจะโคนที่จิตรับรู้เต็มรอบ
ตอนนี้รับรู้เต็มรอบแล้วนะ คือรู้สึกว่า
ลมหายใจหยุด สะดุด เว้นวรรคลง
นี่นะ .. ที่เบา ที่ใส ที่เหมือนไม่มีอะไรอยู่เลย
มีแต่ความรับรู้ที่สว่างใส แล้วก็ไม่ทำอะไรเลย
จิตที่ไม่ทำอะไรเลย สักแต่รู้อย่างเดียวนั่นแหละ
ที่เราต้องการจากอานาปานสติ
อานาปานสติที่ถูกต้อง จะใช้อุบายมือหรือไม่ใช้ก็แล้วแต่
จะทำอย่างไรก็ตาม แต่ขอให้มาถึงจุดนี้
จุดที่รู้สึกว่า ใจของเรา จิตของเราทั้งดวง
มีความเสมอกันกับลมหายใจ ผ่านเข้าผ่านออก
พอมาถึงความเสมอกันอย่างนี้ จิตจะใส
แล้วจิตที่ใส เอาไปใช้สังเกตอะไรก็ได้?
เปรียบเหมือนอากาศว่าง ที่ไม่มีฝุ่น ไม่มีผง ไม่มีพายุซัด
ไม่มีฝ้าหมอก
ไม่มีเมฆอะไรมาบดบังทัศนวิสัยทั้งสิ้น
เปรียบเหมือนจิต เวลาที่เสมอกับอากาศ
เสมออย่างไร
เสมอตรงที่จิตไม่มีความฟุ้งซ่าน จิตไม่มีฝุ่นผงของความคิด
ก็รู้สึกว่า ตัวเองไม่ต่างจากอากาศว่างที่อยู่รอบตัว
แล้วจำไว้นะว่า พอจิตใสเสมอกับอากาศว่างได้
แล้วมีความรับรู้ภาวะทางกายที่นั่งคอตั้งหลังตรง
หายใจเข้าออกอยู่ พร้อมกันไปด้วยกับอากาศว่างนั้น
ก็จะเห็นขึ้นมาว่า นี่คือ ธาตุดิน ที่ปรากฏโด่เด่เหมือนเสาที่ปักกลางน้ำ
ไม่มีค่าราคาอะไรเลย
ปกติ เวลาคนจะฝึกเห็นธาตุดิน มักจะจ้องเข้ามาที่ร่างกายตัวเองตรงๆ
หรือไม่ก็ไปวาดวงกลม เอาดินไปแปะ แล้วก็บริกรรมว่า
นั่นคือธาตุดิน
แต่ที่พระพุทธเจ้าสอนจริงๆ ท่านให้ดูดิน น้ำ ไฟ ลม
ออกมาภาวะทางกาย
ที่ปรากฏออกมาจากท่านั่งคอตั้งหลังตรง
หรือในอิริยาบถไหนๆ ก็ตาม
นี่แหละ ธาตุดินของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้
ถ้าอยู่ๆ เรามาจ้องธาตุดินเฉยๆ ดื้อๆ
คุณจะไม่รู้สึกเป็นธาตุดิน แต่รู้สึกเป็นกายของเรา
ความรู้สึกตัวตนจะมาครอบงำ ให้จิตไม่เห็นว่านั่นเป็นธาตุดิน
ต่อเมื่อใจเราใส นิ่งพอ
มีใจเสมอกับอากาศธาตุ มีจิตเสมอกับอากาศธาตุได้
แล้วเห็นประกอบพร้อมกันว่า
อากาศธาตุก็อย่างหนึ่ง
เป็นที่ตั้งของกายนั่งคอตั้งหลังตรงนี้
คุณจะรู้สึกไปอีกอย่างหนึ่งเลย
จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า
กายนี้เป็นธาตุดินจริง ที่ตั้งอยู่ในอากาศว่าง
และถ้าหล่อเลี้ยงความรับรู้นั้น ไว้ด้วยลมหายใจเข้าออก
รับรู้ด้วยว่า นั่นคือธาตุลม
ตัวนี้ จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า
ภาวะทางกายใจ
เป็นแค่การประกอบประชุมพร้อมกัน ของภาวะต่างๆ
ทางธรรมชาติ
ไม่มีตัวใครอยู่ตรงนี้มาแต่แรก
จิตเท่านั้นที่ถูกหลอก หรือมีสติรู้
ถ้าถูกหลอก จิตจะถูกห่อหุ้ม เป็นอันหนึ่งเดียวกับโมหะ
มีความหลงตัวหลงตนว่ากายนี้ของเรา ความคิดนี้คือฉัน
แต่พอเราแยกเห็นว่า
กายอย่างหนึ่ง ลมหายใจอย่างหนึ่ง อากาศว่างรอบด้านอีกอย่างหนึ่ง
โดยมีจิตเป็น background
เป็นผู้ดูอยู่
ความสำคัญมั่นหมายเดิม จะทลายลงหมด
กลายเป็นความรู้สึกว่า ที่จิตดูอยู่ ก็เป็นแค่ธาตุๆ
หนึ่ง
เป็นวิญญาณธาตุ เป็นธาตุวิญญาณ
ที่มาอิงอาศัยธาตุอื่นๆ
ประกอบประชุมกับธาตุอื่นๆ
ที่เคยนึกมาตลอดทั้งชีวิต ว่ามีตัวเราอยู่ในธาตุทั้งหกนี้
เป็นแค่การขาดสติ ถูกหลอก ถูกโมหะห่อหุ้ม
แต่พอจิตเป็นอิสระจากโมหะชั่วคราว
เห็นกายใจปรากฏเป็นธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ
และตัวเองเป็นวิญญาณธาตุ
ก็เหมือนกับโผล่พ้นจากกะลาครอบของโมหะออกมา
จะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เวลาที่จิตเป็นอิสระ
มองย้อนกลับมา
เหมือนถูกโมหะครอบอยู่ ไม่ให้เห็นแสงเดือนแสงตะวัน
ทีนี้ พอกะลาเปิดออก เห็นธาตุทั้งหกแสดงตัว
ต่างคนต่างอยู่
ไม่ได้มีตัวใครเป็นก้อนๆ อย่างทีคิด
จะเหมือนกะลาเปิดออก
และเราเห็นอะไรแจ่มแจ้ง ด้วยจิตที่เปิดกว้างเป็นอิสระ
มาคุยกันครับ ช่วยคุยให้ฟังหน่อยว่าที่ผ่านมา
เห็นหรือไม่เห็นอะไรอย่างไร
คุณหงส์ : ตั้งแต่ครั้งก่อนที่คุณตุลย์บอกให้วางมือที่ตักนานหน่อย
ความรู้สึกมีตัวตนก็เกิดขึ้นตอนนั้น และเกิดขึ้นมาตลอด
แต่ตอนที่คุณตุลย์ชี้ถึงภาวะว่า ตอนที่ลดมือลง
กายจะใสจริงๆ
แล้วก็พอทำไปนานเข้า จะเหมือนกับพอวางมือ
ความมีตัวตนจะลดลง
พี่ตุลย์ : จะเห็นไงว่า
น้ำหนักตัวตน มโนภาพตัวตนเป็นอย่างไร
แล้วพอสังเกตไปเรื่อยๆ ตัวตนนั้นจะใสขึ้นๆ เมื่อกี้เห็นแบบนั้นไหม
เหมือนกับ เดิม ตัวตนเป็นคุณหงส์แบบหยาบๆ
แต่พอดูไปหลายๆ รอบเข้า จะมีความประณีตมากขึ้น
เหมือนจิตวิญญาณแตกต่างไป คล้ายกับมีความใส
มีความเบามากขึ้นตอนวางมือ
พอเห็นชัดอย่างนั้น จุดหนึ่ง ที่เมื่อกี้ผมบอกว่า
ใจเรามีความเสมอกับลมหายใจก่อน
ตรงนั้นจะเหมือนกับใจเบา ว่างหายไป
เหลือแต่การรับรู้ถึงลมหายใจ
เสมอกันกับลมหายใจเป๊ะ
แล้วพอวางมือลงมา ลมหายใจหยุดชั่วขณะ
ใจเราก็ไม่ไปไหน คงค้างอยู่ในความรู้สึกว่า
มีจิตเสมอกับลมหายใจเหมือนเดิม
ตรงนั้นจิตใสถึงที่สุด
พอใสถึงที่สุด เราจะรู้สึกถึงอากาศว่างได้
เห็นมาตามลำดับแบบนี้ไหม
คุณหงส์: จะเห็นว่า
ใสมากๆ คือช่วงตอนลดมือลงจนเกือบแตะหน้าตัก
แล้วช่วงวาดมือขึ้น บางช่วงขณะ
ก็จะรู้สึกแบบนั้น
เสมอกันกับตัวอากาศ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
พี่ตุลย์ : ตัวนี้แหละ
.. บางคนมีความสงสัยว่า
ถ้าเจริญอานาปานสติไปแล้ว ต้องต่อยอดเป็นการเดินจงกรม
หรือทำระหว่างวันอย่างไร
จริงๆ แล้วถ้าเราเข้าใจที่พระพุทธเจ้า ท่านชี้ให้ดูกายใจ
โดยความเป็นธาตุหก ขันธ์ห้า อายตนะหก อะไรต่างๆ
นี่
จะสามารถที่จะพิจารณา ณ ขณะอยู่ในสมาธิได้เลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องขันธ์ห้า
สำหรับคุณหงส์นะ
แต่ตอนนี้ อยากจะให้เห็นกายใจโดยความเป็นธาตุหกให้ชัดๆก่อน
อย่างวันนี้ สิ่งที่ก้าวหน้าขึ้นมา
คือคุณหงส์จะเห็นว่า
จิตมีความเสมอกับลมหายใจ หน้าตาเป็นอย่างไร
จิตมีความเสมอกับอากาศว่าง หน้าตาเป็นอย่างไร
พอจุดชนวนติดแล้ว เวลาที่เราทำสมาธิตามปกติ
ขึ้นต้นด้วยท่าหนึ่ง ต่อยอดด้วยท่าสอง
พอไปถึงจุดที่จิตใส มีความนิ่ง เราก็จะจำได้ว่า
ต้องดูอย่างไร
ดูว่า มีอากาศว่างโดยรอบ จะมีประมาณไหน
ก็เอาแค่เท่าที่สามารถรับรู้ได้นั่นแหละ
รับรู้ถึงอานาบริเวณว่างได้แค่ไหน นั่นก็คือ
จิตขยายออกไปประมาณนั้น
เรารับรู้อย่างนี้ แล้วย้อนกลับมามอง
ย้อนกลับมาดูก็จะเห็นว่า
ภาวะทางกายที่นั่งคอตั้งหลังตรงอยู่
อย่างเมื่อกี้ คุณหงส์รู้สึกไหมว่า
กายเหมือนเป็นอะไรอย่างหนึ่ง ที่คล้ายๆ หุ่น
เอาตามจริงที่คุณหงส์รู้สึก ลองบรรยายหน่อยว่า
พอรู้สึกถึงอากาศว่างแล้ว มารู้สึกถึงกายนั่ง
จะรู้สึกอย่างไร
ว่ากายนี้เป็นอย่างไร
คุณหงส์ : ก็ยังไม่ชัดทีเดียว
แต่เหมือนกายเรานั่งอยู่
แต่ช่วงหลังๆ พอคุณตุลย์บอกว่า
จะรู้สึกเหมือนกายเบา
ความรู้สึกมีตัวตนของกาย จะน้อยลง
พี่ตุลย์ : นั่นแหละ ตรงนั้นแหละที่ผมบอกนะ
จุดนั้น .. คือแต่ละคน พอมีประสบการณ์ทางจิตภายใน
เห็นอะไรใหม่ๆ
บางทีจะแยกไม่ถูกว่าเรียกอะไร หรือ คืออะไร
แต่ที่คุณหงส์พูดเมื่อกี้เลย คีย์เวิร์ดเมื่อกี้คือ
กายเบาๆ
เหมือนกับความเป็นตัวตนในกายลดลง
เหมือนเห็นเป็นกายนั่งเฉยๆ
อันนั้นแหละที่เรียกว่า ธาตุดิน ในความหมายของการภาวนา
หรือใครจะไปเรียกว่า เห็นกายนั่งสักแต่เป็นรูปขันธ์ก็ไม่ผิด
ที่เรามาปฏิบัติ เจริญอานาปานสติไป ก็เพื่อที่จะมีจุดมุ่งหมายนี้
คือเห็นกายใจเป็นรูปนาม
แต่ตอนแรกๆ พอจิตเพิ่งไปสัมผัสเพิ่งไปรู้เห็นอะไร
อาจอธิบายเป็นคำไม่ถูกว่า ตอนเห็นรูป เห็นตรงไหน
ตอนไหน
นี่ที่ชี้ให้ดูนะ ว่า พอคุณหงส์ รู้สึกปริมาณอากาศรอบด้านได้
แล้วย้อนกลับมารู้สึกถึงกาย ที่คุณหงส์ใช้คำว่า
กายใสๆ เบาๆ
เหมือนตัวตนในกายลดลง นั่นแหละคือรูปขันธ์
จะเรียกว่าเป็นธาตุดินก็ได้ หรือจะเรียกว่าเป็นกายนั่ง
คือคำว่ากายนั่ง ไม่ใช่ว่ามีตัวใครเป็นผู้นั่ง
แต่เป็นกายนั่งปรากฏอยู่ ให้จิตรับรู้อย่างแจ่มชัด
คือความแจ่มชัดของจิตอย่างที่คุณหงส์บอก
ตอนหายใจออก จะรู้สึกใส รู้สึกจิตเสมอกับอากาศ
ตอนที่จิตใสเสมอกับอากาศ
ถ้าหากมีความรู้ทั่วพร้อม คือรู้ไปพร้อมกันทั้งหมดเลย
ทั้งภาวะกายนั่ง ภาวะลมหายใจเข้าออก
และภาวะอากาศว่างรอบด้าน
ตรงนั้นจิตจะเริ่มรู้ตัว
วันนี้ อาจไม่ชัดนะ แต่คุณหงส์สังเกตว่า
พอเรารู้สึกว่างด้วย
รู้สึกมีกาย มีลมหายใจด้วย จิตจะปรากฏเป็นดวง
ชัดขึ้นๆ
คือจิตจะมีความเด่น สว่าง ว่าง ขยายออกมาเรื่อยๆ
ตรงที่ยังไม่ชัด เพราะยังไม่ได้ขยาย แยกออกมาต่างหากอย่างแจ่มชัด
แต่พอทำไปเรื่อยๆ มีกำลังสะสมไปเรื่อยๆ
ความว่าง ความวาง ความสว่าง และการรับรู้คงเส้นคงวาของจิต
จะปรากฏตัวเอง ชัดเจนเป็นต่างหาก
ออกมาจากธาตุดิน ธาตุลม และอากาศธาตุ
ตรงนี้ พูดเหมือนกับล่วงหน้านิดหนึ่ง ว่าเดี๋ยวจะได้เห็นอย่างนี้
พอยต์คือคุณหงส์อยู่ในทิศทางจะเห็นแล้ว
พอเราเข้าใจทั้งการใช้ท่าหนึ่ง ท่าสอง อย่างชัดเจน
ทำได้แม่นยำทุกครั้ง ก็จะไปถึงจุดที่ รู้สึกว่าง
รู้สึกวาง
จิตมีความเสมอกับลมหายใจ
ไม่ว่าจะทำครั้งไหนก็จะได้ทุกครั้ง
ต่อให้ฟุ้งมาจากข้างนอกแค่ไหนก็ตาม
พอเราทำตามลำดับอย่างนี้
จะเข้าทางได้ทุกครั้ง จะมากหรือน้อย
มีคุณภาพดีหรือหยาบ
แต่ในที่สุด ทุกครั้งจะต้องมาถึงจุดที่
จิตรู้สึกถึงความเสมอกันกับอากาศธาตุได้
และเห็นว่า กายนี้ตั้งอยู่
มีลมหายใจผ่านเข้าผ่านออก
ตรงนี้ พอเราทำได้ทุกวัน
จิตจะมีความตั้งมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ
มีความสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ และเห็นได้ มีมาตรวัด
คือ เรารู้สึกว่าจิตขยาย เด่นดวงชัดเจนยิ่งขึ้น
ตรงนี้ชัดเจนเท่าไหร่ จะยิ่งทำตัวเป็นผู้รู้
ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์มากขึ้นเท่านั้น
เชื่อมโยงกับประสบการณ์คุณหงส์เองได้นะ
คุณหงส์ :
ระหว่างวัน จะทำอย่างไรเพื่อจะให้พัฒนาจิตมากขึ้น
พี่ตุลย์ :
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำถามในใจของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
ว่าเราเห็นแล้วถึงความคืบหน้าที่อยู่ในการนั่งสมาธิ
หรือเดินจงกรม
แต่ในระหว่างวันจะยังหลงๆ
งงๆ
ขอให้สังเกตแล้วกัน
ของคุณหงส์
อย่างเวลาที่เราอยู่ว่างๆ
ไม่ได้ต้องพูดจากับใครเป็นพิเศษ
กำลังทำงานทำการ
อยู่ในชีวิตประจำวัน
จะเหมือนคุณหงส์มีความพยายามระลึกเข้ามา
จะลมหายใจก็ตาม
หรือภาวะทางกายก็ตาม
แต่ความรู้สึกจะยังงงๆ
ไม่เหมือนตอนที่นั่งสมาธิใช้มือแบบนี้
พอตอนที่เราระลึกอยู่ในระหว่างวัน
จะไม่เข้าที่เข้าทาง
เราจะรู้สึกงงๆ
จะเหมือนรู้อะไรแป๊บหนึ่ง สิ่งนั้นก็จะหายไป
ณ จุดนั้นให้มองว่า
ความพยายามในการเจริญสติของเราระหว่างวัน
มีอุปสรรคคือ
ความรู้สึกงงๆ ความรู้สึกเหมือนไปไม่ถูก
เปรียบเหมือนคนหันรีหันขวาง
หันไปแล้วไม่เจอทิศทาง
เหมือนเรากำลังลอยเรือกลางทะเล
ไม่รู้ทิศเหนือ
ใต้ ตะวันออก ตะวันตกอยู่ทางไหน
เพราะไม่มีพระอาทิตย์ให้สังเกต
ไม่มีพระจันทร์ให้สังเกต
มีแต่ความมืด
ก็เหมือนกับหันรีหันขวางอยู่
ให้ดูว่าจิตของเราระหว่างวัน
ขึ้นต้นมาจะประมาณนี้
เอาตามจริงทุกท่านเลยนะ
ไม่ว่าจะใครก็ตาม
เวลาที่อยู่ระหว่างวัน
แล้วตั้งใจว่าจะเจริญสติ จะพยายามมีสติ
เห็นให้ถูกตามจริง
อ่านให้ออก บอกให้ถูกว่า
ณ
ขณะนั้นเรารู้สึกอย่างไรอยู่ มีความสามารถรับรู้อะไรบ้าง
อย่างการใช้มือช่วยไกด์
พาให้เราเข้ามารู้กายใจได้
เริ่มต้นจากลมหายใจที่ปรากฏชัดตามฝ่ามือที่ไกด์อยู่
แต่ระหว่างวันใช้มือไกด์ไม่ได้
อยู่ท่ามกลางผู้คน
จะมีความรู้สึกงงๆ
รู้ลมหายใจไม่ชัดเท่ากับมือไกด์
ประเด็นอยู่ตรงนี้นะ
ถ้าคุณสามารถสังเกตออกว่า
ณ
ขณะนั้นจิตเป็นอย่างไรอยู่
เช่นของคุณหงส์
จะรู้สึกงงๆ ว่าจะจับ จะคว้าอะไรมาเป็นจุดเริ่มต้นดี
ก็เอาตัวนั้นแหละ
จิตที่รู้สึกงง รู้สึกจับต้องอะไรไม่ถูกนั่นแหละ
มาเป็นตัวตั้งว่านี่เป็นจิตชนิดหนึ่ง
เป็นการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง
ว่ามันอยากเจริญสติ
อยากจะทำให้เกิดผลอะไรขึ้นมา
อย่างเวลาที่เราเดินๆ
ไปแล้วรู้ เท้ากระทบ
รู้ได้สองสามกระทบ
ก็ลืม แล้วไปคิดถึงสิ่งอื่น
หรือถูกภาพทางตาดึงไป
ให้สนใจโลกภายนอก
คุณหงส์จะรู้สึกว่า
ตอนปฏิบัติ
แล้วเกิดความรู้สึกไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนขึ้นมา
จะกลายเป็นคล้ายๆ
กับความฝันที่เราลืม
เวลาที่เราจะนึกถึง
จะมาทบทวน
จะแตกต่างสิ้นเชิงกับความรู้สึกมีตัวตนชัดๆ
แล้วมีโลกภายนอกที่ทำให้รู้สึกเป็นตัวเป็นตน
เป็นปกติอยู่ชัดๆ อย่างนี้
จะเหมือนเราอยู่อีกโลกหนึ่ง
แปลกแยกแตกต่าง
จากโลกของการปฏิบัติ
โลกของการภาวนา เจริญสติ
ช่วงที่ยังครึ่งๆ
กลางๆ เป็นลูกผสมอยู่ จะรู้สึกแบบนี้
เหมือนกับ..
นี่แหละ ปกติ ที่เราอยู่ในชีวิตประจำวันแบบนี้
แล้วถูกโลกปรุงแต่งให้รู้สึกว่า
เป็นเราอยู่อย่างนี้ นี่แหละ ของจริง
แต่ตอนปฏิบัติน่ะเหมือนฝัน
จำไม่ได้แล้วว่ารู้สึกอย่างไร ทำไมรู้สึกอย่างนั้น
แล้วบางที
ตามประสามนุษย์ทั่วไป ก็จะรู้สึกว่า
เอ๊ะ ที่ปฏิบัติไปนี่
หลอกหรือเปล่า ที่อยู่ในโลกนี่แหละของจริง
รู้สึกว่าปฏิบัติไปแล้วจะได้อะไรจริงไหม
ที่สุดของการปฏิบัติคืออะไร
จะสงสัยไปได้สารพัด
เพราะว่า จิตที่ถูกปรุงแต่งด้วยโลก
เป็นจิตที่มีโมหะเต็มขั้น
เอาแค่นี้
พอเราอยู่ระหว่างวัน แล้วงงๆ ว่า จะหันซ้ายหันขวาไปทางไหนดี
มองไป
ณ ขณะนั้นว่า นั่นคือจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยโมหะ
ท่องไว้เลย
เป็นคาถาเลย
เสร็จแล้วไปต่ออย่างไร?
รู้ในสิ่งที่มีให้รู้
อย่าไปรู้ในสิ่งที่ยังไม่พร้อมจะปรากฏให้รู้
สิ่งที่ไม่พร้อมให้รู้
เช่น การใช้มือไกด์ ตอนนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมกัน
นี่ยังไม่พร้อมปรากฏในชีวิตประจำวัน
ก็ไม่ต้องไปรู้แบบนั้น
แต่ให้รู้ว่า
พอเรางงๆ แล้ว DEFINE ได้แล้วว่า
จิตมีโมหะห่อหุ้ม
ณ ขณะนั้น ถึงทำให้งง
ถึงทำให้ตั้งคำถามสารพัด
ในแบบที่จะทำให้จิตยิ่งเตลิด เข้าป่ารกไป
มองเห็นว่า
ณ ขณะที่จิตมีความงุนงง และหลงไป
เหมือนหลงเข้าป่า
จะสามารถกลับมาหาลมหายใจได้ไหม
ถ้าสามารถกลับมาหาลมหายใจได้
คือไม่ใช่ยาวเหมือนตอนที่เราฝึกกันแบบนี้
แต่มีความลึก
สบาย ทำให้เกิดความผ่อนคลายได้ไหม
ถ้าทำให้รู้สึกถึงลมหายใจที่ผ่อนคลาย
สบายขึ้นมาได้
จะเห็นว่า
โมหะนั้น ที่กำลังห่อหุ้มหน้าเตอะ
จะเบาบางลง
มีความรู้สึกแจ่มใสขึ้น
แต่ถ้าหากว่าลมหายใจครั้งนั้น
สั้นห้วน
ไม่สามารถนำความรู้สึกสบายมาได้
โมหะ
จะยังเป็นก้อนเท่าเดิม กระจุกเท่าเดิม
เทียบเคียงแค่นี้ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ชีวิตประจำวันได้แล้ว
สติแปลว่าระลึกได้ตามจริง ถูกต้องตรงตามจริง
และสติที่อยู่กับปัจจุบันก็คือ สติที่รู้ว่า
ภาวะทางกาย ภาวะทางใจ กำลังปรากฏอยู่อย่างไร
ถ้าหากว่า ปรากฏอยู่แบบนั้น
แล้วเราไปทำให้เป็นแบบอื่น
นั่นไม่ใช่สติ นั่นเป็นความอยาก
แต่ถ้ามันงงอยู่ เสร็จแล้วหายใจทีหนึ่ง ..หายงง
มีความปลอดโปร่งขึ้น มีความสุขมากขึ้น
และเราก็รับรู้ว่า จิตแตกต่างไปแล้ว
นี่เรียกว่าเป็นสติรู้ตรงตามจริง
เท่าที่มีให้รู้
เท่าที่กำลังมีเหตุปัจจัย พอที่จะให้เห็นนะ
แล้วพอเห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ภาวะปรุงแต่งในระหว่างวัน
จะมี .. เรียกว่า ความเป็นไปเอง มากขึ้น
สติของเราจะปรับเท่ากับภาวะนั้นๆ
เห็นเหมือนกับตอนที่เรามีจิตเสมอกับลมหายใจ
มีจิตเสมอกัน เห็นตรงตามจริงว่า
ภาวะที่กำลังปรากฏในระหว่างวัน
หน้าตาเป็นอย่างไร ไปเรื่อยๆ
เราก็จะจับจุดถูก เหมือนกับ.. เออ เข้าใจแล้ว
จริงๆ แล้ว ถ้าหากเรานั่งสมาธิได้ดี เดินจงกรมได้ดี
จะเหมือนมีต้นทุน
ที่จะเอาไปต่อยอดในชีวิตประจำวัน
แต่ถ้าในชีวิตประจำวัน เราจับจุดไม่ถูก
เราไม่ได้มีสติรู้ตามจริง
ตรงตามภาวะที่กำลังปรากฏ แบบนี้ ก็หลงได้
ก็ไปอยากโน่น อยากนี่ได้ แล้วก็ไปหลงกลความคิด
ว่าโลกที่ปรุงแต่งเราให้รู้สึกอย่างนี้
ถึงจะเป็นของจริง
ตอนที่ภาวนา ตอนที่เจริญสติ อันนั้นเหมือนฝัน ..
นี่แหละ โมหะแบบนี้ จะค่อยๆ ถูกชำแรก
ถูกทำให้มันสลายตัวไป ทีละครั้ง ทีละหน
ทุกครั้งที่เราสามารถเปรียบเทียบได้ว่า
ลมหายใจ ณ ปัจจุบันนี้
มาพร้อมกับภาวะแบบไหนทางใจ
นี่แหละ คือจะช่วยให้ก้าวไปทีละขั้น ทีละครั้ง
ทีละหน
-------------------------
น้องจิ๋ว
พี่ตุลย์ : ใจที่มีความนิ่งอยู่ในการรู้ว่า
ที่สักแต่เป็นลมหายใจเข้าออกอยู่ในกาย
ตั้งอยู่ในอากาศว่าง
เราสามารถรับรู้ได้ว่า ตั้งอยู่ได้นานแค่ไหน
ก่อนที่จะดรอป
พอดรอปลง จะมีความรู้สึกว่า ความเห็น
มันเห็นไม่ชัด
ความนิ่ง มันแปรปรวนไป ตรงนี้หัดดูไว้ว่า
สัญญาแตกต่างไป
ตอนเห็นชัด แยกเป็นส่วนๆ ได้ เรียกว่า มีอนัตตสัญญาขึ้นมา
ตัวสัญญานั้น ตัวความหมายรู้นั้น ทำให้รู้สึกว่า
นี่ไม่ใช่ตัวเรา
แต่พอจิตมีความแปรปรวน จิตล้มลุก
ความรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนก็หายไป
กลายมาเป็นความคิด นี่คือตัวเรา มีอัตตสัญญาขึ้นมาแทน
สังเกตถึงความต่าง ของสัญญาทั้งสองประเภทนี้ได้จนแม่นยำแล้ว
ก็จะรู้สึกว่า สัญญาไม่เที่ยง แปรปรวนไป
มีเหตุปัจจัยคือสภาพของจิต ไม่เสถียร
ไม่สามารถคงเส้นคงวาได้ตลอดไป
ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ได้นานตลอดกาล มีล้ม
มีลุก
ตรงที่เราเห็นซ้ำๆ ว่าสัญญาไม่เที่ยง
เดี๋ยวก็เป็นอนัตตสัญญา เดี๋ยวก็เป็นอัตตสัญญา
จะทำให้เรารู้สึกว่า สัญญา ไม่ใช่ตัวตน
วันนี้ เห็นชัดขึ้นไหม เปรียบเทียบได้บ้างไหมว่า
ตอนที่รู้สึกไม่ใช่ตัวตน เป็นสัญญาชนิดหนึ่ง
ตอนกลับมามีความรู้สึกในตัวตนเป็นสัญญาอีกแบบหนึ่ง
พอรู้สึกได้ไหม
น้องจิ๋ว : ตอบตามตรงคือยังยากอยู่
ที่จะให้ดูว่าเป็นอนัตตสัญญา หรือ อัตตสัญญา
เพราะรู้สึกว่า บางทีถ้าจะดูอย่างนั้น ต้องอาศัยความคิดนิดๆ
ซึ่งจิ๋วไม่อยากคิดค่ะ ก็เลยดูเท่าที่ดูได้ไปก่อน
อาจต้องฝึกไปเรื่อยๆ แล้วเห็นเป็นองค์รวมมากขึ้นหรือเปล่า
ถ้าจิตแผ่มากขึ้นหรือเปล่าคะ
พี่ตุลย์ : เมื่อกี้มีจังหวะที่เรารู้สึกได้ว่า
มันนิ่งๆ ไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่คิดอะไร
เห็นภาวะทางกาย เห็นภาวะของจิตที่ใสๆ อยู่
ที่เป็นภาวะคนละอย่างกัน
แล้วเราก็รู้สึกขึ้นมาว่า ภาวะอย่างนี้ ไม่เหมือนตัวเรา
ไม่เหมือนตัวเดิม
เสร็จแล้วพอเราเริ่มมี.. ตรงที่พี่บอกว่า
จิตเริ่มแปรปรวน แสดงความไม่เสถียร ตรงนั้น มีตัวเราขึ้นมาทันที
นี่ ตรงนี้ พี่ชี้ให้สังเกตเฉยๆ ต้องสังเกตกันหลายๆ
ครั้งว่า
อย่างนี้เขาเรียกความรู้สึกในตัวตน
พออาศัยคำศัพท์มากำกับ บางทีอาจรู้สึกว่ายังเห็นไม่ชัด
แต่แค่รู้สึกต่างไป จากความรู้สึกไม่มีตัวตน
หรือตัวตนแตกต่างไปจากเดิม มันเบาลงมาก
กลายเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่รู้สึกว่าไม่ใช่ตัวจิ๋ว
แล้วกลับมามีความฟุ้งซ่าน รู้สึกว่ามีตัวจิ๋วกลับมาอีกครั้ง
นั่นแหละ คือความต่างระหว่า งอนัตตสัญญา และ
อัตตสัญญา
อันนี้จะเริ่มเหมือนกับ
เข้าเขตพิจารณากายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า
โดยเอาสัญญาที่ง่ายที่สุด ซึ่งก็คือ
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นประจำ
ในทุกครั้งที่เราทำสมาธิ หรือเดินจงกรม
น้องจิ๋ว : งานที่จิ๋วทำ
เป็นนักวิจัย มีเพื่อนรอบด้านที่เก่งๆ เยอะหลากหลายเชื้อชาติ
แล้ววันก่อนที่พี่ตุลย์พูดว่า อะไรที่
discourage เราทางโลกให้มองว่าดี
ก็เข้าใจที่พี่ตุลย์บอก ใจจิ๋วก็ให้การภาวนาเป็นอันดับหนึ่ง
และทำงานเพียงเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ
และทำงานตามความรับผิดชอบ
แต่ต่อให้ไม่อยากเอาดีทางโลก แต่เนื้องาน เราต้องฉลาด
ต้องเก่ง
สิ่งที่ทำเกี่ยวข้องกับคนไข้ต้องดีที่สุด
ก็จะเหมือนย้อนแย้งในใจ
คือติดตรงที่จิ๋วไม่มีความมั่นใจตัวเองเลย
พี่ตุลย์ : พี่มีภาพในใจอยู่ภาพหนึ่งคือตอนเริ่มต้นขึ้นมา
จิ๋วรู้สึกว่า นึกสนุก และท้าทาย ระคนกับความรู้สึกไม่มั่นใจ
แต่ตัดสินใจว่ามัน challenge และจะลองสู้ดู แล้วเดี๋ยวคงเก่งได้เอง
แต่เอาเข้าจริง เรามาเจอคนที่มีไอเดียด้วย
มีจินตนาการด้วย
และมีความสามารถที่จะใช้โลจิคมาต่อยอดไอเดีย ต่อยอดจินตนาการ
ซึ่งเรารู้สึกว่าเราทำแบบเขาไม่ได้
เพราะตั้งแต่เด็ก เราเป็นพวกที่ต้องคิดตามคนอื่น
แล้วเหมือนกับไม่กล้าตัดสินใจ
เพราะตัดสินใจอะไรผิดไป ผู้ใหญ่จะต่อว่า
หรือจะมาทำให้เกิดความรู้สึกเสียใจ
ก็เลยไม่มั่นใจในตัวเองอยู่ลึกๆ
เลยไม่กล้าลองผิดลองถูก ลองอะไรใหม่ๆ เลยเป็นปม
พอมาถึงจุดเราที่นึกสนุก อยากจะท้าทาย บอกว่า
เดี๋ยวก็เก่งเอง เสร็จแล้วพอมาเจอของจริง ไม่เก่งอย่างทิ่คิด
เพราะเบสิคเราเป็นพวกไม่กล้าใช้ไอเดียตัวเอง
แล้วเวลาจะเปลี่ยนมาใช้โลจิค
โลจิคของเราจะเป็นแบบบ้านๆ ไม่ใช่คนสมองใหญ่
พวกนักวิจัยจริงๆ ที่โลจิคแข็งแรงจริงๆ
จะมีโครงสร้างความคิดอีกแบบหนึ่ง ที่ชัดเจน
หนึ่ง สอง สาม
มีธง มีจุดมุ่งหมายในชีวิตแบบที่เป็นของใหญ่ ว่า
ข้านี่เป็นคนเปลี่ยนโลก
เป็นคนทำให้เกิด effect
กับคนไข้มหาศาล ทำนองนี้ ต้องมีอัตตาแบบนั้น
แต่ของเรา passion
ไม่ใช่แบบนั้น
เราแค่ต้องการท้าทายเฉยๆ
สมองเราแค่พอไปได้ ไม่ถึงขนาดสู้เขาไม่ได้
ทีนี้ passion กับ
challenge ต่างกันมาก
Passion คืออะไรที่เรารู้สึกว่า
ใหญ่กว่าชีวิตเรา
เราทุ่มชีวิตให้ passion
ได้ จะดึกดื่นค่อนคืนแค่ไหน
จะต้องแลกกับครอบครัว แลกกับสิ่ง
entertain อื่นๆ
ก็ยอมแลกได้หมด นั่นคือ passion
แต่ของจิ๋ว ทางโลกอยู่แค่ challenge
คือตัดสินใจไม่ถูกว่า จะเอาดีหรือไม่เอาดี
จะแลกหรือไม่แลก
มีความกลับไปกลับมาอยู่
ถ้าเรามองภาพตัวเองออก เหมือนกับที่พี่มองเรา
หรือเหมือนที่เรามองคนอื่น ก็จะได้ cool
down ลง
ว่าความคาดหวังไม่ต้องสูงแบบคนที่มีฐานชีวิตอีกแบบก็ได้
พวกนั้น ถ้าให้มาปฏิบัติ รู้กายใจโดยความเป็นธาตุ
เค้าจะเอ๋อเลยนะ ว่า นี่พูดอะไร .. คืออีกหลายชาติ
พูดง่ายๆ กว่าเขาจะมาอยู่ตรงจุดที่เราอยู่ได้
เอาแค่ว่า จิ๋วสามารถเห็นภาพรวมตรงนี้ที่พี่บอกได้
จะรู้สึกเบาใจลงแล้วว่า ถ้าเขาไม่ไล่เราออก
แสดงว่าเขาเห็นอะไรดีในเราอยู่ มีความตั้งใจ
มีความพยายาม
แล้วอยู่ในงาน ก็ไม่ต้องจริงจัง ซีเรียส ทำหน้าตาเหมือนกับ
ฉัน fight นะ
ไม่จำเป็น .. สบายๆ ชิวๆ ก็ได้ เพราะจิตของเรา
เวลาที่เหมือนกับทำหน้าทำตาเหมือนจะ
fight
จะเป็นการบีบจิตให้แคบลง
คุณภาพน้อยลงโดยไม่รู้ตัว
เพราะตอนเราตั้งหน้าตั้งตาอยู่
จิตจะไม่เปิด ไม่สบาย ไม่เกิดความรู้สึกว่า
เราสามารถคิดอะไรออกได้เดี๋ยวนี้
จิ๋วลองดู ใจเราจะประมาณผลัดว่า
เดี๋ยวค่อยไปคิดตอนอยู่คนเดียว หรืออะไรอย่างนี้
เดี๋ยวคงคิดออก
คงคิดไม่ได้ตอนนี้หรอก
แต่คนอื่น ถ้าใจเขาอยู่ตรงนั้นจริง มี
passion จริงๆ
จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาตลอดเวลาว่า แบบนี้ก็คิดได้
ผิดก็ได้ ไม่เป็นไร
ลองผิดลองถูก เพราะคนที่มี passion จริงจะรู้สึกว่า
ตัวเองมีเวลาในชีวิตมากพอที่จะลองผิดลองถูก
แต่ของเรามีแค่ challenge
จะมีความรู้สึกว่า ถ้าผิดไปเดี๋ยวใครจะว่าเอา
แล้วผิด เหมือนคนล้มลงไป ยากที่จะลุกใหม่ขึ้นมา
มีเวลาน้อยที่จะมาลองผิดลองถูก
เราต้องคิดอะไร เค้นอะไรให้ได้ดีเดี๋ยวนี้
ถูกเดี๋ยวนี้
ต่อไปเอาใหม่ ในระหว่างงานก็ดี หรือ อยู่ระหว่างนั่งสมาธิก็ดี
ถ้าสมมติมีไอเดียผุดขึ้นมาเอง ให้จำว่า
ใจที่สบาย ใจที่เปิด ใจที่ไม่เคร่งเครียด
ใจที่ไม่เอาถูกเอาผิด
จะสามารถมีอะไรลอยขึ้นมาเองได้เฉยๆ
ตรงนี้ ส่วนใหญ่ อย่างวงการเภสัช
จะไม่ใช่ไอเดียแบบศิลปิน
แต่เป็นไอเดียที่เกิดจากการเห็นข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
แล้วสามารถเชื่อมโยงแบบที่คนอื่นคิดยังไม่ถึง
เราก็มองแบบง่ายๆ แทนที่จะตั้งธงว่า
ไอเดียเราต้องเลิศเลอเพอร์เฟค
เหมือนคนมี big idea
ก็เปลี่ยนใหม่ บอกตัวเองตกลงกับตัวเองว่า
เราจะเอา small idea
ที่จับต้องได้สำหรับเรา ที่ทำได้จริงๆ สำหรับเรา
เชื่อมโยงสิ่งที่ง่ายๆ ให้ได้ก่อน ด้วยใจที่เบา
ด้วยใจที่สบาย
อย่างนี้ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเรา happy กับการทำงานมากขึ้น
เราจะย้อนกลับไปสมัยที่เรารู้สึก
challenge
อยากลองวัดกันสักตั้งว่าเราจะทำได้ไหม
จุดนั้น ให้กลับมามีประกายขึ้นอีกครั้ง
แล้วเกิดความรู้สึกว่าความหวังของเราคือ ไม่ใช่เราจะเปลี่ยนโลกเภสัช
แต่เป็นการที่มีส่วนร่วมเป็นกลไกเล็กๆ
ในโลกเภสัช
ใน universe ของเภสัช
แค่นี้นะ
น้องจิ๋ว : จริงๆ
ไม่ได้หวังจะเก่งกาจมากมาย
หวังแค่ว่า จะฉลาดในระดับที่จะใช้ชีวิต
ใช้อาชีพเพื่อทำมาหากินทางโลกได้
จริงๆ คือ จิ๋วก็มีศักยภาพแค่ระดับนั้นใช่มั้ยคะ
ถ้าจิ๋วมองตามที่พี่ตุลย์สอนมา
พี่ตุลย์ : พอเราเปลี่ยนการเห็นตัวเอง
เปลี่ยนมุมมองว่า
เรามีความเป็นจริงอย่างไรในขั้นมูลฐาน
แล้วเราคาดหวังที่จะอยู่ตรงนั้น
แล้วก็เขยิบขึ้นนิดหนึ่ง ทีละนิด วันละนิด
วันละหน่อย
แล้วเรารู้สึกว่า มันคืบหน้าไปได้จริง
ทีละนิดทีละหน่อย
นั่นแหละที่จะทำให้เรารู้สึกสบายใจว่า
เราขวนขวายแล้ว
แต่ถ้าจิ๋วบอกว่า เอาแค่นี้ได้ไหม..
อาการทางใจแบบนี้ เมื่อกี้ตอนที่พูดก็คือ
แป้กอยู่กับที่ก็ได้
ความหมายของพี่คือ เอาดีขึ้นวันละนิดละหน่อย
แล้วพอสะสมไปเป็นปีๆ จะดีขึ้นมากมายมหาศาลเอง โดยไม่ต้องร้องขอ
แต่ที่ผ่านมาเหมือนเราวนลูปอยู่กับรู้สึกท้อแท้
ไม่แน่ใจ ไปต่อไม่ได้
ตรงนี้ก็ไม่คืบหน้าสักที .. คือคืบหน้า แต่แบบแกนๆ
แบบที่เรารู้สึกไม่ได้รับผิดชอบมากพอ
เรายังไม่ได้ invest
ศักยภาพเราลงไปเต็มที่ ก็เลย guilty ขึ้นมา
ถ้าเอาใหม่ บอกตัวเองว่าจะคืบหน้าทีละนิด ด้วยใจที่สบายๆ
ด้วยใจที่ .. เวลาคิดถึงสิ่งใหม่ๆ
ไม่คิดแบบ .. จะสร้างยาพิชิตโรคเอดส์
ไม่ขนาดนั้น
แต่แค่ทำอย่างไรให้กระบวนการผลิตยาดีขึ้นนิดหนึ่ง
นิดเดียว
แต่เป็นไปได้จริง เอาไอเดียบ้านๆ ไอเดียที่คนระดับ
expert คิดไม่ถึงขึ้นมา
พอเห็นตัวเองนะ ว่าเราจะเอาตัวตนของเราไปใส่ไว้ตรงนั้น
ได้อย่างไร
เสียบเข้า slot
ตรงนั้นได้อย่างไร หา slot ให้เจอ
ที่ยังไม่มีใคร occupied ตัวนี้
เราก็จะรู้สึกว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วมีความคืบหน้าขึ้นทีละนิดนะ
-------------------------
น้องแพร
พี่ตุลย์ : ให้ทำความรู้สึกว่า
เรานั่งอยู่
เรารู้สึกถึงตัวนั่งที่นั่งอยู่ แล้วตอนนี้
เหมือนมีพี่นั่งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับเรา
เหมือนกับให้เห็นว่า จอคอมพิวเตอร์ คล้ายกับกระจก
แล้วมีพี่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามจริงๆ อยู่หลังกระจก
ทีนี้ แพรหลับตา แล้วดูนะว่าท่านั่งคอตั้งหลังตรงนี้
อย่างที่เรารู้สึกอยู่ว่า เป็นธาตุดิน เราเริ่มคุ้นแล้ว
มันเป็นกายเปล่า ว่างๆ ที่ไม่มีตัวใครอยู่ในนี้
เห็นว่าใจใสเสมอกับอากาศว่างรอบด้านได้
และในอากาศว่าง เราสามารถรู้สึกได้ว่า ธาตุดิน
กินพื้นที่ในอากาศว่างนี้อยู่
พอเรารู้สึกว่ามีพี่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม
เหมือนถูกกั้นด้วยกระจกบางๆ แต่เราสามารถรับรู้ถึงมีความมีตัวพี่
ที่
มีท่านั่งคอตั้งหลังตรงนี้ได้ ก็จะปรากฏในใจของเรา
เหมือนกับธาตุดินอีกฝั่งหนึ่ง เสมอกันกับธาตุดินในฝั่งของเรา
ฝั่งของเราเป็นธาตุดินที่รู้สึกว่าไม่มีตัวใคร
ไม่มีเครื่องหมายว่าชื่ออะไร ไม่มีการแปะป้าย
ไม่มี tag ว่าชื่อนี้นามสกุลนี้
มีแต่ความเป็นหัว เป็นตัว เป็นแขน เป็นขา
เหมือนกัน ถ้าเราแค่รู้สึกว่า
พี่กำลังนั่งอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ฝั่งตรงข้าม
จะรู้สึกเหมือนกับว่า มีธาตุดินอีกธาตุหนึ่ง
ไม่แปะป้ายเหมือนกันว่าเป็นใคร
มีแต่ท่านั่ง คอตั้งหลังตรงเหมือนกับเรา
ไม่มีชื่อ ไม่มีนามสกุล
มีแต่ความเป็นธาตุดิน ที่เราสัมผัสได้
ผ่านอากาศว่าง
พอเรารู้สึกถึงกายนั่ง โดยความเป็นธาตุดิน ที่กินพื้นที่ในอากาศว่าง
มีความหมายว่า เวลาที่เรารู้ชัดด้วยใจที่นิ่งพอ
จะเกิดสัมผัสว่า ในอากาศว่างนี้ จริงๆ แล้ว
มีธาตุดินอื่นๆ ตั้งได้อยู่
ไม่ใช่เฉพาะธาตุดินของเรา
นี่ก็จะเป็นไปตามแบบที่ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
เห็นฝั่งเราเป็นอย่างไร อันนี้เรียกว่า
เป็นภายใน
แล้วถ้าสัมผัสถึงอีกฝั่งหนึ่งภายนอกอย่างไร
อันนั้นเรียกว่า เป็นภายนอก
อย่างยกตัวอย่างเช่น เห็นลมหายใจของเราเป็นฝั่งนี้
แล้วถ้าเห็นลมหายใจของคนอื่นไปพร้อมกัน เรียกว่า
เป็นภายนอก
เป็นลมหายใจภายนอก
ทีนี้เหมือนกัน ถ้าเรารู้สึกถึงธาตุดินได้
แล้วทำความรู้สึกว่า ในอากาศว่างรอบตัว
ซึ่งอากาศว่างในจิตของเราจะเป็นอีก
universe หนึ่ง
ไม่ใช่โลก earth แบบนี้
เป็นอากาศว่าง เป็นช่องว่างที่มีอยู่จริง
แล้วพอเราสัมผัส รู้สึกได้ว่า
มีพี่นั่งอยู่ตรงข้าม
ก็จะเห็นไปในท่ามกลางอากาศว่างนี้ว่า
เหมือนกับเราเลย
มีหัว มีตัว มีแขน มีขา
เราไม่ได้ไปสำคัญมั่นหมายว่า มีหน้าตาเป็นอย่างไร
มีชื่อ มีนามสกุลแตกต่างจากเราอย่างไร
แต่เป็นธาตุดินเสมอกัน
ธาตุดินฝั่งของเรา เรียกว่า
ธาตุดิน ที่รู้อยู่ด้วยใจของเรา
ใจของเราครองอยู่
แต่ธาตุดินในอีกฝั่ง จะเหมือนกับเป็นธาตุดิน ที่มีอีกใจหนึ่งครองอยู่
แต่สาระสำคัญคือ ขึ้นต้นมานี่
เราสัมผัสได้ด้วยใจ ว่า
ธาตุดินฝั่งนี้ กับธาตุดินอีกฝั่งหนึ่ง
มันเสมอกัน
มีความเป็นธาตุดินเหมือนกัน มีหัว มีตัว มีแขน
มีขา
มีรูปพรรณสัณฐาน คงอยู่กับที่
ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
เหมือนกับภาวะของธาตุอื่นๆ
ทีนี้ พอเรารู้ว่า สิ่งที่ไปรู้ธาตุดิน
ก็คือวิญญาณธาตุ
ที่อาศัยอยู่ในธาตุดินฝั่งนี้แหละ ฝั่งนี้ของเรา
เราก็ดูว่า วิญญาณธาตุนี้ มีความยึด หรือ
มีความปล่อย
ถ้ารู้อย่างยึด ก็คือว่า ธาตุดินนี้ของเรา ธาตุดินนั้นของพี่
แต่ถ้าหากว่า วิญญาณธาตุรู้อยู่ โดยอาการไม่ยึด
จะเหมือนตั้งระยะอยู่ห่างๆ เหมือนกับเห็นว่า
ธาตุดินฝั่งนี้ ก็เสมอกับธาตุดินของอีกฝั่งหนึ่ง
แล้วไม่มีอาการยึด มีแต่อาการว่า แยกกันอยู่นะ
ธาตุดินฝั่งนี้ กับธาตุดินอีกฝั่ง ก็เป็นคนละฝั่งอยู่แล้ว
และวิญญาณธาตุของเรา
ก็แยกเป็นคนละฝั่งกับธาตุดินของเราด้วยเช่นกัน
คำว่าของเรา เป็นคำสมมติ
เพื่อให้เกิดทิศทางดูว่า
นี่เป็นฝั่งที่จิตวิญญาณ ของเรา หรือวิญญาณธาตุของเราครองอยู่
แต่เอาจริงๆ ความรู้สึกว่าเป็นของเรา จะไม่มี
ถ้าหากว่าเราเห็นวิญญาณธาตุของเรา มีอาการยึด
หรือไม่ยึดอยู่
จะมีความเข้าใจอย่างหนึ่ง
ถ้าวิญญาณธาตุมีอาการยึด จะรู้สึกตันๆ
จะรู้สึกเหมือนซ้อนอยู่ด้วยกันกับธาตุดิน
แต่ถ้าหากว่าวิญญาณธาตุไม่มีอาการยึด
จะรู้สึกเหมือนกับถอยออกไป ..ตัวจิตนี่ ถอยออกไป
ตั้งระยะห่างระหว่างวิญญาณธาตุ
กับธาตุดินในฝั่งของเรา
ทีนี้ เพื่อทำความเข้าใจสำหรับทุกท่านนะ
เวลาเราจะเห็นธาตุดิน
จะเห็นออกมาจากอาการที่จิตสัมผัส
สัมผัสรู้ก่อน อันดับแรกคือ รู้ว่า ฝั่งนี้ กายนี้
ท่านี้ คือธาตุดิน
สัมผัสออกมาจากใจที่นิ่งพอ
อย่างน้อย ใจต้องมีความใสเสมอกับอากาศ
ถึงจะรับรู้ได้ว่า
ธาตุดินฝั่งนี้หน้าตาเป็นอย่างนี้
มีรูปพรรณสัณฐานประมาณนี้
และเมื่อสัมผัสกับอากาศว่าง
จะมีความรู้สึกถึงตำแหน่งที่ตั้งของธาตุดินอื่น
อย่างถ้าอยู่ใกล้ๆ ตัวจริงๆ
เราจะรู้สึกถึงระยะชัดเจนเลยว่า
ธาตุดินฝั่งนี้ของเรา
ห่างจากธาตุดินอีกฝั่งอย่างไร
ทั้งหลับตานี่ จะสัมผัสได้ชัดเลย แล้วก็เห็นว่า
ธาตุดินมีความเสมอกัน
จะไม่มี tag
ไม่มีการแปะป้ายว่า ธาตุดินนี้ชื่ออะไรฝั่งนี้
แล้วธาตุดินอีกฝั่งหนึ่งชื่ออะไร นามสกุลอะไร
จะเห็นชัดเลยว่าเป็นธาตุดินเสมอกัน
ไม่ใช่การลืมตาขึ้นมาเห็นรูปร่างหน้าตาใครนะ
ถ้าลืมตาขึ้นมาเห็นรูปร่างหน้าตาใคร
อันนั้นอยู่ใน อายตนบรรพ
คือเราเห็นโดยความเป็นอายตนะว่า
อายตนะภายในคือดวงตา
ไปประจวบกับอายตนะภายนอกคือรูป
แล้วเกิดความรู้สึกอย่างไรขึ้นมา รู้สึกดี
หรือรู้สึกไม่ดี
แต่ถ้าหากว่าใจของเราสัมผัส
รับรู้ถึงความเป็นธาตุดินของตัวเอง
คือมีความรู้สึกว่า
ธาตุดินนี้ตั้งอยู่ในอากาศว่าง
แล้วเห็นผ่านอากาศว่างนั้นเลยว่า
มีระยะห่างจากธาตุดินอื่นๆ แค่ไหน
อย่างนี้ถึงเรียกว่าเป็นสัมผัสทางใจ
สัมผัสที่รับรู้ขึ้นมาจริงๆ ว่า
ธาตุดินหน้าตาเป็นอย่างไร และมีความเสมอกับธาตุดินอื่นๆ
อย่างไร
คือจะมีแต่รูปร่าง ไม่มีหน้าตา ไม่มีตัวใคร
มีแต่ความรู้สึกว่า ที่เรารับรู้อยู่นี่
เป็นวิญญาณธาตุ
ไปรู้ไปเห็นธาตุดินทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น
พอเห็นไปเรื่อยๆ จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตามบุคคล ตามเหตุปัจจัยในแต่ละวัน
วันนี้เอาแค่ start
คือเห็นว่าถ้าใครทำได้
เดี๋ยวผมก็จะมา startให้นะ
ไหนลองเล่าตามที่เรารู้สึกเกิดขึ้นจริงๆ นะ
น้องแพร : ตอนพี่ตุลย์บอกให้หลับตา
แล้วก็ให้คิดว่า มีกระจกกั้น
ตอนนั้นแพรก็มานึกถึงกายก่อนว่า กายแพรนั่งอยู่
มีธาตุดินนั่งอยู่
แล้วตอนที่นั่งก็ฟังเสียงพี่ตุลย์ไป
เสียงพี่ตุลย์เข้ามากระทบ
แต่ไม่รู้ว่าเป็นมโนภาพหรือคิดไปเอง แต่รู้แค่ว่า
โอเคมีเสียง
แล้วก็นึกคิดว่าพี่ตุลย์อยู่หน้าแพร
จากนั้นก็มาดูกายตัวเอง นั่งอยู่ เกิดความว่าง
โล่ง เบา แบบไม่มีประมาณ
รู้แค่ว่ามีสิ่งหนึ่งนั่งอยู่ ทับอากาศจริงๆ
รู้แค่ว่ามีเสียงพูดกับแพรอยู่
แล้วก็เหมือนพี่ตุลย์นั่งอยู่ตรงหน้า เพราะเหมือนมีความจำได้หมายรู้ว่า
พี่ตุลย์นั่งตรงเก้าอี้ตรงนั้น
แต่ในมโนภาพแพรคือ เหมือนมีเสียง
แล้วพี่ตุลย์นั่งอยู่หน้าแพร
พูดกับแพรจริงๆ
แล้วก็ไปเห็นพี่ตุลย์นั่งตรงนี้ๆๆ
ซึ่งอาจเป็นภาพจำติดตา ในทุกวัน
แต่มโนภาพวันนี้ที่นั่งคือ
ได้ยินเสียงพี่ตุลย์พูด แล้วก็มีเสียง
เหมือนวิญญาณธาตุ คือ
มีคนพูดกับเราอยู่ตรงหน้าเราจริงๆ
และรับรู้เหมือนมีธาตุดินนั่งอยู่ มีความเบา
ไม่มีใคร
แต่มีเสียงที่พูดให้แพรฟัง
รู้สึกว่า ตัวแพรโล่ง เป็นความว่างบางอย่าง
ความรู้สึกทางใจ ไปรับรู้ความรู้สึกทางกายพี่ตุลย์นั่งคู่กับแพร
ที่ไม่รู้สึกว่ามีแพรนั่งอยู่ เพราะว่างไปแล้ว
เลยมีแค่เสียง
พี่ตุลย์ : ความรู้สึกที่ว่า
มีรูปมีร่าง มีหัว มีตัว มีแขนขาเสมอกับเรา
มีความรู้สึกแบบนั้นบ้างไหม
อย่างฝั่งนี้ มีตัว หัว แขน ขา
แล้วอีกฝั่งหนึ่ง ก็มีแบบเดียวกับเราอย่างนี้ ความรู้สึกแบบนี้มีในใจไหม
ประเด็นคือว่า เมื่อเราสามารถสัมผัสได้ตรงนี้ ก็ลองฝึกดู
อย่างถ้าสมมติไปนั่งโต๊ะกินข้าวกับใคร
แล้วยังไม่ถึงจังหวะที่ต้องเจรจาพูดคุยอะไรกับใคร
ลองหลับตาดูสั้นๆ
ถ้าสำรวจใจตัวเองแล้วว่า ณ ขณะนั้น ใสพอที่จะเสมอกับอากาศธาตุได้
สามารถรับรู้ที่ว่างรอบตัวได้
ตอนนั้นลองหลับตาดูสั้นๆ
เช็คดูว่าเราสามารถรู้ได้ไหมว่า ในอากาศว่างรอบตัวที่กำลังปรากฏอยู่ตอนนั้น
มีกายนั่งของเราประทับอยู่ เป็นจุดศูนย์กลางรับรู้
และก็มีกายนั่งอื่น
ถ้าหากว่ามันปรากฏชัด สัมผัสได้ราวกับว่าเราลืมตาขึ้นมาเห็น
ตัวนี้นี่คือตัวอย่างของการเห็นธาตุดิน
เป็นแค่ตัวอย่างเฉยๆ
จุดเริ่มต้นจะเห็นออกมาแบบนี้ว่า
เออ ธาตุดินฝั่งนี้ กับธาตุดินของอีกฝั่ง
มีค่าเสมอกันเลย
คือ มีหัว มีตัว มีแขน มีขา และคงรูปอยู่
แต่ไม่รู้สึกว่า
มีค่าอะไรมากไปกว่าการทรงรูปอยู่อย่างนั้น
ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่า
มันไม่มีชื่ออยู่อย่างนั้น
ตรงที่จิตสามารถสัมผัสได้ว่า ธาตุอากาศ
มีธาตุดินกินพื้นที่อยู่ตรงนี้
แล้วกินพื้นที่อยู่ตรงโน้น จะมีค่าเสมอกัน
แล้วทำให้จิตเกิดความสำคัญมั่นหมายใหม่ขึ้นมาว่า
ธาตุดิน สักแต่เป็นธาตุดิน อากาศว่าง สักแต่เป็นธาตุอากาศ
และแม้จิตผู้รู้ ก็สักแต่เป็นวิญญาณธาตุ
พอเห็นอย่างนี้ เท่ากับได้ขยายขอบเขตของจิต
ในการรับรู้
เวลาพระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐานสี่
ทุกคนคงเคยอ่านมา
แต่อาจงงๆ ว่าท่านหมายถึงอย่างไร
เวลาที่เราเห็นลมหายใจ อย่างพิจารณาอานาปานสติ
เห็นว่าลมหายใจของเราอย่างไร ก็คือ ลมหายใจภายใน
เห็นลมหายใจภายนอก ก็คือเห็นลมหายใจของคนอื่น
ที่ท่านต้องใช้คำว่าภายในภายนอก ก็เพราะ
จิตจะได้มีความสามารถ มีทิศทางจะแยกแยะว่า
ภายในหมายถึงฝั่งนี้ ภายนอก หมายถึงฝั่งอื่น
คือคนอื่นนั่นเอง
ท่านไม่ใช่ว่า ของเรา หรือคนอื่น แต่ใช้ว่า
ภายใน กับ ภายนอก
จะตรงกับประสบการณ์ภาวะของความรู้สึกทางใจจริงๆ
ว่า
ฝั่งนี้หมายถึงว่า ภาวะลมหายใจก็ตาม
ภาวะของธาตุดินก็ตาม
ที่กำลังปรากฏอยู่ให้รู้สึกได้ ณ จุดนี้
ส่วนภายนอก ก็คือภาวะแบบเดียวกัน
เป็นอนัตตาเหมือนกัน
ปรากฏอยู่ที่ฝั่งอื่น ที่ไม่ใช่ฝั่งนี้
ซึ่งตรงนี้ ไม่มีใครสอนกันนะ
ทีนี้ ประเด็นคือถ้าหากว่าเราทำได้ สามารถรู้ได้
จะเกิดอนัตตสัญญากว้างขวางขึ้น
แล้วก็มีความรู้สึกว่าเรารู้อะไรเขยิบขึ้นมา
upgrade ขึ้นมาลึกขึ้น
อย่างคนเวลาที่จิตมีความนิ่ง มีความเป็นสมาธิ
ถึงจุดหนึ่ง จะขยายออกไปรับรู้เรื่องราวภายนอก
ราวกับว่า หลับตาอยู่ แต่ตาเห็นโน่น นี่ นั่น
แล้วก็สำคัญไปว่า เราเป็นผู้เห็น
เราเป็นผู้ไปสัมผัสโลกภายนอก โลกทางวิญญาณ
เสร็จแล้ว ชั่วกัปชั่วกัลป์
ไม่ว่าฤาษีชีไพร นักพรตแบบไหน สำนักไหนก็ตาม
ก็จะออกแนวเดียวกันหมด คือกลายไปเป็นคนสองโลก
โลกที่ลืมตาดู มีมนุษย์ มีหมู หมา กา ไก่
กับโลกวิญญาณที่เราไปสัมผัสว่ามีวิญญาณโน้น
มีวิญญาณนี้
แล้วก็ติดอยู่อย่างนั้น พอตายก็ไปเกิดใหม่
แล้วก็กลายเป็นคนไม่รู้อะไรเหมือนเดิมอีก
แต่ถ้าแบบพุทธ พอมีใจที่ใส ที่เปิดกว้าง โล่ง
สามารถเห็นอะไรภายนอกได้
แล้วมากำหนดรู้เลยด้วยสัมมาทิฏฐิ ด้วยทิศทางของการเข้าใจว่า
ที่เราเห็นออกไปกว้างๆ โล่งๆ เป็นอากาศธาตุ
และไม่ลืมภาวะภาวะทางกายที่นั่งอยู่ ตั้งอยู่ตรงนี้
เห็นว่า นี่ ที่เป็นกายนั่งนี่ เขาเรียกธาตุดิน
มีการจัดจำพวกอย่างแจ่มชัด ตั้งแต่เริ่มต้นเลย
นี่ธาตุดิน นี่อากาศธาตุ แล้วพอจะรู้จะเห็นอะไร
เรารู้เห็นว่า มันธาตุดินเหมือนกัน
นี่เป็นการเทรนให้จิตอยู่ในทิศทางเห็นว่า มันไม่มีค่าพอๆ
กัน
เวลาเราเห็นอะไรเป็นธาตุดิน
ก็มาเปรียบกับกายนั่งนี้ว่า เป็นธาตุดินเหมือนกัน
เสมอกัน
ไม่ได้เห็นอะไรพิเศษ
แต่เห็นอะไรที่มีความเสมอกันโดยธาตุ
คือจะมีรูปร่างหน้าตาอะไรปรากฏขึ้นมาก็แล้วแต่
แต่จิตที่สัมผัสไป จะรู้ว่า
มันก็คงรูปคงร่างเหมือนอย่างนี้แหละ
มีตัว หัว แขน ขา
ของคนอื่นจะมีรายละเอียดรูปร่างหน้าตา
มีเพศแตกต่างจากเราอย่างไรก็ตาม
โดยสาระ โดยเนื้อหา ก็คือมี ตัว หัว แขน ขา
เหมือนกัน
คงรูปเหมือนกัน มีความเป็นธาตุดินเหมือนกัน
นี่คือลักษณะของจิตแบบพุทธ ที่เมื่อมีความใสแล้ว
ขยายขอบเขตการรับรู้ออกไป พูดง่ายๆ มี six sense ได้แล้ว
จะเห็นไปเพื่อวาง ไม่ใช่เห็นไปเพื่อยึด
มีตัวตนใหม่มาในโลกวิญญาณ หรือกลายเป็นคนสองโลก
แต่กลายเป็นมีตัวที่ไม่มีตน มีธาตุดินปรากฏแบบไม่มีอัตตาตั้งอยู่
และสัมผัสรับรู้ถึงธาตุดินอื่นๆ
โดยความเป็นของไม่มีอัตตาเช่นกัน
พอจุดเริ่มต้นเป็นแบบนี้ นี่แค่ตั้งต้น ที่แพรสามารถสัมผัสรับรู้ได้
ทีนี้ พอไปฝึกอยู่ระหว่างวัน อย่างเริ่มต้นขึ้นมา
แน่นอนต้องหลับตาก่อน ถึงจะชัวร์ว่า เราสัมผัสได้จริงๆ
รู้สึกถึงอากาศว่างรอบตัวจริงๆ มีฝั่งนี้
มีฝั่งโน้นจริงๆ
แต่ต่อไป ถึงลืมตาก็จะสัมผัสแบบเดียวกัน
จะเห็นสักแต่เป็นภาวะทางกาย
และไม่รู้สึกว่ามีใคร อยู่ในภาวะทางกาย ทั้งฝั่งเราและฝั่งเขา
อันนี้ค่อยเป็นค่อยไปนะ แต่วันนี้ เอาตรงที่ว่า
เราสามารถรับรู้ฝั่งของเราได้
ตอนที่รู้สึกเหมือนไม่มี tag ไม่มีแปะป้ายว่าเราคือใคร
และสามารถสัมผัสภาวะนั่งของพี่ได้ และรู้สึกโอเค
มีเสียงพูด
ตอนนี้จะเหมือนกับมีการรับรู้ทางอายตนะควบคู่ไปด้วย
แต่ถ้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเราจริงๆ
ไปนั่งที่ห้างอะไรแบบนี้
หลับตาสักห้าวินาที และสามารถสัมผัสได้ว่า
มีผู้คนอยู่รอบด้าน และผู้คนหายไป
กลายเป็นธาตุดิน
กลายเป็นภาวะเคลื่อนไหว มีหัว มีตัว มีแขน
มีขาเหมือนฝั่งนี้
แล้วเรา จิตเลิกนิยามว่า มีตัวใคร มีตัวตน
มีชื่ออะไร
ตรงนั้น จะเปลี่ยนจากอัตตสัญญา เป็นอนัตตสัญญา
โดยเห็นความเป็นธาตุดิน
คือตรงนี้ หลายๆ คนปฏิบัติไป บางทีเกิดขึ้นมาเอง
แต่ไม่รู้ว่านั่นเขาเรียกอะไร
หรือจะไปพัฒนาต่ออย่างไร
รู้แต่ว่าเหมือนเห็นโลกทั้งใบ โลกตัวตนแบบเดิมๆ
หายไป
กลายเป็นโลกอีกแบบหนึ่ง
คือ สัญญาเปลี่ยนไป เกิดการ shift
จากเดิมที่มีความรู้สึกในตัวตน
เป็นความรู้สึกเหมือนกับว่า
มาอยู่ในอะไรก็ไม่รู้ที่มีสีสัน มีรูปทรง
มีภาวะอะไรบางอย่าง
ปรากฏให้รับรู้กระทบใจ แต่ไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย
ไม่มีใครอยู่ตรงนี้ ไม่มีใครอยู่ตรงโน้น
เสร็จแล้วพอเกิดภาวะอะไรแบบนึ้ขึ้นมาแบบฟลุคๆ
ก็ไม่รู้จะไปต่อยอดอย่างไร
เพราะฐานที่ตั้งทิศทางของการเล็งไปรู้ ไม่มี
มีแต่เกิดขึ้นฟลุคๆ แล้วก็สงสัยว่า
เมื่อกี้เห็นอะไรก็ไม่รู้
ทำไมโลกทั้งใบหายไป ทั้งๆ ที่มีฉากแบบเดิม
สีสันรูปทรงแบบเดิม
แต่ความรู้สึกจะต่างไปคนละเรื่องเลยนะ
ตรงนี้ ถ้าเรามาฝึกแบบเอาเบสิคให้ได้
ใจใสเสมอกับอากาศว่างแล้ว
เห็นว่า กายนั่งคอตั้งหลังตรงเป็นธาตุดิน
อากาศว่างเรียกว่าอากาศธาตุ จิตผู้รู้ผู้ดู
เรียกว่า วิญญาณธาตุ
พอมีการสำคัญมั่นหมาย ในทิศทางที่จะเป็นสัมมาทิฏฐิ
ในทิศทางที่จะเห็นว่า กายนี้ใจนี้สักแต่เป็นรูปนาม
แบบเบสิคขึ้นไป
พอเวลาแอดวานซ์ขึ้นไป จะไม่งง จะมี
roadmap มีความชัดเจนว่า
ที่เราเห็น เราเห็นอะไรเราเรียกอะไร
แล้วไม่ใช่จะต้องไปท่องเป็นคาถาว่า
นี่เป็นธาตุดินๆๆ
แต่แค่รู้ในใจ ในจุดเริ่มต้นแค่นิดเดียวว่า
นี่เรียกธาตุดิน
แล้วก็ไม่สงสัย ให้รู้ต่อในทิศทางที่จะรู้จักรวาลของธาตุหก
เริ่มต้นจากธาตุหกฝั่งนี้ และธาตุหกของฝั่งอื่น
แพร : ตอนที่เห็นธาตุดินตัวเอง รับรู้ชัด ไม่รู้สึกอะไรในตัวตนของตัวเอง
แต่พอได้ยินเสียงพี่ตุลย์ที่เป็นวิญญาณธาตุมากระทบที่หูแพร
แล้วคิดว่าพี่ตุลย์นั่งอยู่ อันนั้นเป็นมโนภาพของแพร
หรือแพรรับรู้ได้จริงๆ
ว่าพี่ตุลย์นั่งอยู่ตรงนั้น
พี่ตุลย์ : จักรวาลนี้
ที่เรียก universe มีดวงดาว แกแลคซี่
มีโลกปรากฏอยู่ เป็นจักรวาลที่รับรู้ด้วยตา หู
เราจะมีความเคยชินที่จะไปสำคัญมั่นหมายว่า
ถ้าตัวเราตั้งอยู่ที่หนึ่ง แล้วมีคนอื่นตั้งอยู่อีกที่หนึ่ง
จะต้องมีระยะห่างที่แน่นอน มี distance
เช่น หนึ่งเซ็นติเมตร ร้อยเซ็นติเมตร นั่นสิบเมตร
นี่คือจักรวาลที่เรารับรู้ด้วยตาด้วยหู
ทีนี้ จักรวาลของธาตุหก เหมือนกับเรื่องลึกลับ
แต่จริงๆ เรารับรู้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
ตั้งแต่เกิด
อย่างเวลาเราคิดถึงใครสักคน
จะไม่ใช้ระยะทางว่าเขาอยู่ห่างแค่ไหน
เวลามีใครสักคนปรากฏอยู่ในใจของเราแจ่มชัด
จะเหมือนเขาอยู่ตรงนั้นแหละ
นี่เป็นประสบการณ์ของชาวโลกทั่วไป ไม่มี
distance
ไม่มีระยะห่าง ว่าเขาอยู่อีกมุมโลก
อยู่ข้ามประเทศ
จะมีแต่การรู้สึกว่า ถ้าเราคิดถึงใครอย่างแจ่มชัดได้
นั่นคือเขาอยู่ตรงนั้นในใจแล้วเรียบร้อย
หรือเทียบกับในฝัน ในฝันนี่ไม่กินพื้นที่
แต่เราบางทีจะรู้สึกราวกับว่า เราไปออกทุ่งโล่ง ออกที่กว้างขวาง
ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วตัวตน หรือภาพนิมิตในฝันนั้น
เป็นจริงจัง จับต้องได้
ทั้งๆ ที่ไม่ได้กินพื้นที่ในอากาศ ทั้งๆ
ที่ไม่ได้มีธาตุดินแบบนี้
นี่เรียกว่าจักรวาลในฝัน
ทีนี้พอเรามาเจริญสติ มีสมาธิ มีความนิ่งพร้อมรู้ถึงจุดหนึ่ง
แล้วศึกษาธาตุเรื่องธาตุหกอย่างง่ายๆ อย่างที่เรากำลังทำๆ
กันอยู่นี้นะ
เห็นว่า กายนั่งคอตั้งหลังตรงเป็นธาตุดิน
มีธาตุลม ผ่านเข้าผ่านออกอยู่ เป็นคนละตำแหน่งกัน
จะเริ่มรับรู้ถึงพื้นที่
รับรู้ถึงระยะห่างระหว่างธาตุดิน กับธาตุลม
แล้วพอใจเราใส สะอาดว่าง ใจแผ่ออกไปขยายออกไปรับรู้ว่า
อากาศว่างมีอยู่รอบตัว อันนี้ยังอิงความจริงอยู่
อิงความจริงตรงที่ มันอยู่รอบตัวนี้
ทีนี้พอใจของเราแจ่มชัด แล้วพี่ให้แพรกำหนดดู
เหมือนพี่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม
พอเรารับรู้ ใจเราสัมผัสได้ถึงความเป็นธาตุดินอีกฝั่งหนึ่ง
ตรงนั้น จักรวาลเดิมจะหายไปแล้ว
พื้นที่รอบห้องที่เราอิงความจริง
ที่เราสัมผัสอากาศว่างตอนแรก จะหายไปแล้ว
จะเป็นการปรุงแต่งทางใจว่าเรากำลังสัมผัสถึงอะไร
distance ตรงนี้จะบิดเบี้ยว จะ distort
จะไม่ใช่ระยะห่างตามจักรวาลเดิม หรือโลก
earth ที่มีอยู่กี่เซ็นต์ กี่เมตร
แต่จะเป็นระยะห่างทางใจว่ามีช่องว่าง
ระหว่างธาตุดินนี้ กับธาตุดินของอีกฝั่ง
ซึ่งตอนแรกเรารับรู้ด้วยตา ว่าเหมือนอยู่ในกระจก
ในจอ
เสร็จแล้วพอมาบวกกับสัมผัสทางใจว่า
ธาตุดินฝั่งนี้ กับธาตุดินของอีกฝั่ง
ก็เลยเกิดการปรุงแต่งทางใจขึ้นมา เป็น universe ทางใจ
ด้วยจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา ณ ขณะนั้นว่า
เหมือนอยู่ตรงหน้า
เพราะว่าเราได้ยินเสียงด้วย
ความปรุงแต่งทางจิตที่เกิดจากเสียง ราวกับว่า
พูดอยู่ตรงหน้านี่
พาให้เกิดความรับรู้ไปด้วยว่า เหมือนเราอยู่ ..
นี่ แค่นี้จริงๆ ตอนหลับตา
ประเด็นคือ เมื่อเราคุ้นเคยกับความเป็นธาตุหก
ฝั่งนี้และฝั่งนู้นได้
เวลาที่เราฝึกอยู่ในชีวิตประจำวัน
เราจะมีพื้นที่ฝึกเพิ่มขึ้น
มีอะไรเล่นมากขึ้น พูดง่ายๆ คือ ทำให้เรามีฉันทะ
ว่าเราสัมผัสได้ว่า นี่ธาตุดินฝั่งนี้
และสามารถสัมผัสได้ว่า มีพื้นที่ว่างระหว่างเรา
แค่หลับตานิดเดียว มีพื้นที่ว่าง
เห็นเลยว่าใจที่ใสจริงๆ จะเห็นราวกับว่า
มีธาตุดินปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งนี้ๆ ชัดเจนเลยนะ จะเป๊ะยิ่งกว่าตาเห็นอีก
อย่างตาเห็น บางทีจะพร่าเลือนไปตามจุดโฟกัส
แต่ด้วยจิตที่สามารถถึงธาตุดินนี้
แล้วก็ธาตุดินอื่นๆ ได้จะเป๊ะกว่านั้น
จะเป๊ะขนาดกำหนดได้เลยว่า ตอนนี้เขาอยู่ข้างหลัง
มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือคนที่อยู่ตึกโน้น
มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร
จะสัมผัสได้ขนาดนั้นเลย
แต่อย่างวันนี้เอาเบสิคก่อน แบบค่อยเป็นค่อยไป
และต้องแม่น ว่า ที่เรารู้ไปเพื่อให้เห็นว่า
อะไรๆ สักแต่เป็นธาตุดินเสมอกัน
ไม่ว่ากายของเรา หรือกายของเขา
สักแต่เป็นธาตุดิน
พอเห็นไปซ้ำๆ บ่อยๆ ความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นเขาจะหายไป
เหลือแต่ความเป็นธาตุดินเสมอกัน
การเห็นว่ามีแต่ธาตุดินเสมอกัน จะไม่มีการแบ่งเพศ
แบ่งชื่อ นามสกุล
ไม่มีการแบ่งอะไรทั้งสิ้น มีแต่จิตที่รู้สึกว่า
เสมอกันกับธาตุดิน
ลองไปหาในพระไตรปิฎก มีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นะ
ทำจิตให้เสมอกับธาตุดิน
ตรงนี้ คนทั่วไปอ่านแล้วก็..อ้อ ให้จินตนาการว่า
ตัวเราไม่ต่างจากก้อนดิน
แต่จริงๆ ไม่ใช่
พอมีจิตเสมอกับธาตุดิน เราจะรู้สึกว่า กายนี้
หรือใครๆ ทั่วทั้งจักรวาล ทั่วทั้งโลก
จะเสมอกันโดยความเป็นธาตุดิน
ไม่มีอะไรน่ายึดถือ หรือน่าไปให้ค่า ให้ราคา ให้ชื่อให้เสียง
ว่าธาตุดินไหน ชืออะไร คุณภาพแค่ไหน
ตรงจุดนี้ ใจจะมีความขยายกว้าง
มีขอบเขตการรับรู้ที่ใหญ่ขึ้นด้วย
และรู้สึกว่า แต่ละครั้งแต่ละหนที่เราไปเจอใคร ต่อใคร
ถ้าถามตัวเองว่า จะเริ่มฝึกอย่างไร จะดูอย่างไร ให้เห็นว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เอาตัวนี้เป็นตัวตั้งก่อนตัวแรก
แล้วเดี๋ยวจะมีเรื่องอายตนะ มีเรื่องขันธ์ห้า
มีเรื่องอะไรอื่นๆ เข้ามาทีหลังได้
แต่ถ้าเราได้เบสิคตรงนี้
ด้วยความเข้าใจที่แม่นยำ
ว่าเกิดอะไรขึ้นกับประสบการณ์ทางใจของเรา
และเราจะกำหนดรู้อย่างไร
นี่แหละที่จะต่อยอดไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด
น้องแพร : เข้าใจค่ะ
อาจแค่ว่า วันนี้เป็นความใหม่
เลยสงสัยเล็กน้อยว่า คิดไปเองหรือเปล่า
แค่นั้นเอง
แต่ก็พยายามไปรู้ความสงสัย
พี่ตุลย์ : บางอย่าง
บางทีก็ไม่หายสงสัยด้วยการรู้อย่างเดียว
แต่ต้องทำความเข้าใจ โดยมีข้อมูลประกอบ
มีโยนิโสมนสิการด้วย
อย่างเรื่องธาตุ ถ้าพูดให้ครบละเอียด
จะพิสดารมากนะ
มีธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุอากาศ
อย่างเมื่อกี้ที่พูดว่า พอมาผสมกันกับอายตนะนี่
ตัวอากาศธาตุบิดเบี้ยวได้
ใน universe ของธาตุหก
พอเราได้ยินเสียงใคร
จะมีความรู้สึกราวกับว่า
เจ้าของเสียงมาตั้งอยู่ตรงนี้ใกล้ๆ เราได้
นี่คือความบิดเบี้ยวชนิดหนึ่งของอากาศธาตุ
ซึ่งเป็นไปตามการปรุงแต่งทางจิต
การปรุงแต่งทางจิต เกิดจากการกระทบอายตนะ ทางหูทางตา
ซึ่งพอเรามีความเข้าใจ มีความรู้สึกว่า
เอามารวมกันได้
เอาความรู้เรื่องธาตุหก กับอายตนะหกมารวมกันได้
จะไม่สงสัย
เรื่องว่า เอ๊ะ ทำไมเวลาพระพุทธเจ้าตรัส เกี่ยวกับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
ทำไมทำได้ ทำไมทำให้โลกจินตนาการ มาปรากฏในโลกความจริงได้
เช่น เนรมิตไฟขึ้นมา เนรมิตน้ำขึ้นมา อะไรแบบนี้
เป็นเพราะ distort แบบนี้
ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในจิต
จิตที่มีความรู้เชื่อมโยงธาตุทั้งหก
อายตนะทั้งหก
มีความเข้าใจจริงๆ ไล่มาจากเบสิค
และมีความแจ่มแจ้งตอนเป็นสมาธิดีๆ แล้ว
จะทำอะไรได้ทุกอย่าง
แต่แบบพุทธ เราจะเลือกทำอะไร
ตรงนี้ที่สำคัญที่สุด เพราะที่มาพูดนี่นะ
หลายคน จิตเริ่มเข้าที่เข้าทาง
แล้วในโลกของผู้ปฏิบัติ
พอจิตเริ่มเข้าที่เข้าทาง มักจะตระเวน
เตลิดไปตามใจชอบ
ก็เลย .. ก่อนที่จะไปตามความชอบใจ ..
ไม่ได้พูดถึงแพรนะ
แต่หมายถึงทุกคน ก็เลยมาไกด์ว่า
ถึงจุดที่เข้าที่เข้าทางเป็นสมาธิแล้ว
ดูเหมือนเรารู้เห็นอะไรด้วย six sense แล้ว
ตรงนั้น จะรักษาให้เข้าที่เข้าทาง
อยู่ในทิศในทางที่จะตรงไปหาความพ้นทุกข์ได้อย่างไร
เพราะพอถึงจุดหนึ่ง คนพอได้สมาธิ
หรือรู้สึกราวกับว่าตัวเองจะมีฤทธิ์เดชอะไรขึ้นมา
จะรู้สึกว่า การพ้นทุกข์ การไปนิพพาน
เป็นเรื่องน่าเบื่อ หรือไม่สนุก
ไม่เหมือนการมีฤทธิ์มีเดช หรือมีตัวตนในสองโลก
คือโลกฝั่ง earth หรือโลกวิญญาณอะไรแบบนี้
แต่ถ้าหากว่าเราแม่นยำ เราจะรู้นะว่า
ทิศทางของการพ้นทุกข์เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่เกินนั้น
โลกวิญญาณ หรืออิทธิฤทธิ ฤทธิ์เดชต่างหาก ที่เป็นของเล็กจ้อย
ของใหญ่คือการพ้นไปจาก universe ทั้งปวง
การพ้นไปจากการปรุงแต่งทางจิตทั้งปวง
ถ้าเราใช้ความสามารถทางจิต
มาสัมผัสแล้วรับรู้จริงๆ ว่า
จักรวาลของธาตุหกเป็นอย่างไร
มีเบสิคที่แน่นอน จากง่ายไปหายาก
แล้วก็มีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
มุมมองจะเป็นมุมมองแบบที่ พระพุทธเจ้าอยากให้มองจริงๆ
คืออะไรทั้งหลาย เราจะทำได้แค่ไหน
ไม่มีความหมายเลย ถ้ายังต้องเวียนกลับมาเกิด
กลับมาทุกข์แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่อีก
แต่ถ้าเราพ้นไปได้จากการเกาะกุมของธาตุหกนี้
จากการเกาะกุมของขันธ์ห้านี้
ตัวนี้แหละที่เรียกว่า มีจุดจบของความทุกข์
ไปถึงเป้าหมายปลายทางที่น่าจะไปให้ถึงจริงๆ
หลังจากที่ตะเกียกตะกายมาอนันตชาติ
เคยเป็นผู้วิเศษ เป็นเศรษฐี
เป็นราชามหากษัตริย์อะไรมา แล้วจำไม่ได้
ลืมไปหมด หายไปหมด
แต่ในครั้งนี้ ถ้าหากว่า
เราเริ่มมีความสามารถทางจิต เริ่มมีพลัง ในชีวิต
ในแบบที่เลือกได้ ว่าจะเอาทางไหน วนต่อ
หรือว่า ตรงไปสู่ความจบความสิ้น
ตรงนี้แหละที่จะตัดสินว่า ชาตินี้คุ้มหรือไม่คุ้ม
แล้วเดี๋ยวจะดูว่าเราเห็นไปได้อีกแค่ไหน
ไว้มาดูกัน
-------------------------
คุณมานะชัย
พี่ตุลย์ : พอหายใจออกครั้งนี้
ดูว่า
ลมหายใจที่มาพร้อมกับฝ่ามือที่ลดลง
ราวกับว่าฝ่ามือเป็นผู้ประคองลมออก
จะปรากฏชัดอยู่กับจิต
และขอให้ดูนะว่า มันมาพร้อมกับความรู้สึกว่าสบาย
มาพร้อมกับความรู้สึกว่าเป็นสุข มาพร้อมกับความรู้สึกว่า
ใจเปิดกว้าง
ลมหายใจส่วนหนึ่ง ความสุขอีกส่วนหนึ่ง มาคู่กัน
แต่ว่าเป็นภาวะคนละอย่างกัน
เห็นไหม มีสติเกิดขึ้น เมื่อกี้ เทน้ำหนักไปที่ความสุข
คือรู้สึกถึงลมหายใจจริง แต่ว่าเทน้ำหนักไปที่ความสุข
ทีนี้ถ้าหากว่า เรารู้พร้อมประกอบกันไปว่า
ลมหายใจส่วนหนึ่ง ความสุขอีกส่วนหนึ่ง
ก็จะมีสติ ไม่หลงติด เทน้ำหนักไปกับความสุข
ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญมากนะ
หลายๆ คนพอมาเจอความสุขในสมาธิก็มีอาการที่
สติจะเทน้ำหนักไปให้ความสุข
พอเทน้ำหนักไปให้ความสุข มานั่งสมาธิทีไร
ก็เทไปที่ความสุข
เหมือนมากินน้ำ มากินแบบมูมมาม
ความสุขเป็นบ่อน้ำใหญ่ หรือกระทั่งเป็นทะเล
แล้วเรามาดื่ม กิน อิ่มหนำ
ทีนี้ถ้าเราจะไม่ลืม มีวิธีมองควบคู่ไปว่า
ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง ความสุขก็อย่างหนึ่ง
ประกอบมาพร้อมกันก็จริง แต่เป็นคนละอันกัน
เป็นภาวะธรรมชาติคนละแบบ
เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอานาปานสติสูตร
หายใจออกให้รู้ว่ามีความสุข กำหนดรู้ว่ามีความสุข
หายใจเข้า กำหนดรู้ว่า มีความสุขหายใจเข้า
พูดง่ายๆ พอเราเห็นทั้งลมหายใจทั้งความสุขควบคู่ไป
ไม่ได้ไปพยายามลดสุข หรือพยายามเพิ่มสุข
แต่เห็นควบคู่ไปตามจริงว่า
ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง ความสุขก็อย่างหนึ่ง
ความติดสุขจะไม่เกิด
จะมีแต่ว่า เห็นว่า ความสุขเกิดจากเหตุปัจจัย
แล้วเดี๋ยวก็ต้องหายไปในที่สุด
เห็นไหม จะมีภาพของผู้รู้
รู้ว่าลมหายใจก็อย่างหนึ่ง ความสุขก็อย่างหนึ่ง
เห็นตามที่พูดไหม (เห็นครับ) รู้สึกใช่ไหม ว่า
ตอนที่เราเทน้ำหนักไปที่ความสุข จะเหมือนใจจะอยู่ในอาการเสวยสุข
แต่เมื่อกี้พอรับรู้ว่า ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง ความสุขอีกอย่างหนึ่ง
จะเหมือนมีตัวรู้แยกออกไปเป็นต่างหาก
ภายในไม่กี่รอบลมหายใจ
จะรู้สึกราวกับว่า จิตของเราเป็นผู้รู้ผู้ดูความสุขอยู่
และในความสุขนั้น มีลมหายใจเป็นเครื่องประกอบ
และเป็นคนละภาวะธรรมชาติกัน
ลองพูดด้วยคำพูดตัวเองดูว่ามีประสบการณ์อย่างไร
คุณมานะชัย : ตอนแรกตื่นเต้น
เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้มา
สักพักก็เริ่มเหมือนกับ .. ทุกครั้งที่หายใจ
เรามีความสุขเกิดขึ้น
โดยเฉพาะตอนที่วาดมือลงมา
แต่เราก็ไม่เคยดึงตัวเองออกมาว่า
กำลังสุขหนออยู่
พอ อ.ตุลย์ทักมา ก็เหมือนดึงตัวเองออกมาว่า
ระหว่างที่ลมหายใจออก เหมือนกับเรามโนภาพว่า
มือกำลังประคองลมหายใจออก
ความสุขเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ดึงตัวเองออกมา
พี่ตุลย์ : นี่แหละ ตัวนี้
ขอให้จำไว้นะ
ถ้าเริ่มต้นทำสมาธิทุกครั้ง เรามีความสุข
และจิตอยู่ในอาการเสวยสุข
ก็ให้เสวยไป
ไม่ต้องไปรังเกียจความสุขที่เกิดขึ้น
ไม่ต้องไประแวง ไม่ต้องตั้งป้อม ไม่ต้องพยายามยับยั้งทั้งสิ้น
ประเด็นคือ
เมื่อเสวยสุขไปจนกระทั่งเกิดสติขึ้นมาว่า
ตอนนี้ จิตของเราเน้นเสวยสุข
คือมีการเทน้ำหนักเอียงข้างไปในความรู้สึกว่า
มีความสุขจังนี่
ตรงนั้นให้เหมือนกับเป็นตัวลั่นไกว่า
เราจะมามีสติรู้พร้อมไปด้วยว่า กำลังหายใจออก
แล้วลมหายใจออกที่มีความรู้ชัดอยู่ในจิต
จะมาแบ่งพื้นที่
คือเราจะรู้สึกเหมือนกับว่า อาการหลงไปเสวยสุขเต็มที่แบบเดิม
ถูกลดส่วนลง มามีสติ รู้สึกถึงความเป็นลมหายใจ
พอเรารู้สึกถึงลมหายใจไปด้วย
แล้วมีความสุขเท่าเดิมเลย
ประกอบควบคู่กันไป ก็จะรู้สึกว่า
ความสุขที่กำลังปรากฏอยู่ ณ ขณะนั้น ถูกรู้ถูกดู
โดยความมีสติของเรา นั่นแหละ ตัวนั้นที่ตั้งของจิต
พอเราเห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดประสบการณ์
เห็นความสุขไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัย บ่อยขึ้นๆ
ตรงที่เราเห็นว่า ความสุขก็อย่างหนึ่ง ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง
ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของๆ เรา จะทำให้ใจถอนออกมาจากอาการติด
และเห็นว่า สมาธิของเราจะพัฒนาในขั้นต่อไป
ที่จะเป็นสมาธิแบบพุทธได้อย่างไร
อย่างที่พระพุทธเจ้าสอน .. ในสมาธิ สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
อย่างเมื่อกี้นี้ เราได้เบสิคในการเห็นว่าลมหายใจคือรูป
ลมหายใจที่ปรากฏชัดต่อใจ เป็นส่วนของรูป
และความรู้สึกเป็นสุขที่กว้าง ใหญ่ นั่นคือส่วนของเวทนาขันธ์
เมื่อกี้เราเห็น รูปกับเวทนา ชัดแล้ว
เมื่อเห็นรูปและเวทนาชัด เราตั้งโจทย์
ตั้งข้อสังเกตกับตัวเองว่า
จะอยู่ไปอย่างนั้นได้นานแค่ไหน
สมมติว่าจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง ก็ปล่อยให้นานเป็นชั่วโมงไปเลย
ไม่ต้องไปยับยั้งอะไรทั้งสิ้น
แต่มีความรับรู้หลังหนึ่งชั่วโมงผ่านไปว่า
ความสุขค่อยๆ จางลง ลมหายใจค่อยๆ เสื่อม
ไม่ชัดอยู่ในใจของเราแบบช่วงแรกๆ
การเห็นโดยเหตุปัจจัยแบบนี้
จะทำให้เรารู้กายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า แบบเบื้องต้นที่ชัดเจน
ไม่ใช่แบบพร่าเลือน
มีเบสิคที่จะเห็นกายใจนี้ โดยความเป็นขันธ์ห้า
เบื้องต้น
ซึ่งพอทำไปๆ ต่อยอดจะมีเรื่องสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์
แต่ของคุณมานะชัยคือ ที่ผ่านมา ไปแสวงหาตรงนี้แหละ
คือความรู้สึกว่าเรานั่งสมาธิอย่างเป็นสุข แล้วมีความพอใจ
อิ่มเอม
ก็จะไปติดอยู่ตรงภาวะที่น่าอิ่มเอมนี้
ทีนี้ ถ้าภาวะน่าอิ่มเอมนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือพิจารณา
ว่ากายนี้ใจนี้คือขันธ์ห้า ไล่มาตั้งแต่
ลมหายใจที่ปรากฏชัดในใจ เป็นรูปขันธ์
ความสุขที่เอ่อล้น เป็นเวทนาขันธ์
เราจับสองขันธ์นี้ให้ได้ก่อน แล้วเดี๋ยวจะค่อยๆ ต่อยอด
มีสติรู้กายใจโดยความเป็นขันธ์ห้าลึกซึ้งขึ้นไปเอง
คุณมานะชัย : ที่ผ่านมา
ปฏิบัติเอง และมีคนไกด์ว่าให้ดูที่รูปขันธ์ก่อน
ให้เริ่มจากขันธ์กายก่อน เลยเป็นภาวะที่ผมอาจติดอยู่
และไม่เคยสังเกตว่าต้องมาแยกจากเวทนาด้วย
อาจติดกับรูปขันธ์มากเกินไปแบบนี้ ใช่ไหมครับ
พี่ตุลย์ : เราจะได้รับการแนะนำมาอย่างไรก็แล้วแต่
แต่ถ้าหากมาลงตรงที่เราสามารถอ่านพระสูตรเกี่ยวกับสมาธิ
ที่พระพุทธเจ้าสอนได้ ถือว่าโอเคหมด ถือว่าลงเอยดีหมด
ลองไปหาคำว่า สัมมาสมาธิ ในเว็บ 84000.org
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจน ว่า เมื่อมีสมาธิ เมื่อจิตมีความตั้งมั่นแล้ว
ท่านให้ดูโดยความเป็นขันธ์ห้า
คือเราจะสามารถเห็นขันธ์แต่ละขันธ์ ปรากฏชัดอยู่ในสมาธินั่นแหละ
และสมาธิที่พระพุทธองค์สอน มีอย่างเดียว
ลองไปไล่หาดูทั้งพระไตรปิฎกเลยนะ
ที่พระองค์สอนทำสมาธิละเอียดที่สุดเลยคือ
อานาปานสติ
และแก่นของอานาปานสติก็คือว่า
ณ จุดที่กำลังหายใจออก ณ จุดที่กำลังหายใจเข้า
กำลังมีอะไรปรากฏให้รู้ ก็รู้สิ่งนั้น
อย่างเมื่อกี้นี้ สิ่งที่ปรากฏชัดเป็นขันธ์หนึ่ง
ก็คือความสุข ที่เรารู้สึกว่า อิ่มเอม
ในความอิ่มเอมนั้น
มีลมหายใจเข้าออกปรากฏพร้อมอยู่ด้วยไหม
คือมีนะ ไม่ใช่ไม่มี แต่อ่อนไป
เราเทน้ำหนักไปให้ความรู้สึกอิ่มเอม
จำได้ใช่ไหม ตอนแรกเริ่มต้นมา ก่อนผมจะทักนี่
มีความรู้สึก .. สบาย ดีจัง ประมาณอย่างนั้น
ทีนี้
พอเราเริ่มรับรู้ถึงลมหายใจผ่านเข้าผ่านออก
อย่างที่พอเราลดฝ่ามือลง
รู้สึกถึงลมหายใจอยู่ข้างหน้าชัด
ประกอบพร้อมไปด้วยกับความสุขเท่าเดิมแบบเดิม
ตรงนี้ จะเริ่มเห็นกายใจโดยตามอานาปานสติสูตรแล้ว
คือ มีความสุข รู้ว่ามีความสุข หายใจออก
มีความสุข รู้ว่ามีความสุข
หายใจเข้าพร้อมกันไป ควบคู่กันไป อย่างนี้
เป็นการแบ่ง เป็นการหาร
เป็นการลดพื้นที่ความติดใจในความสุขที่อิ่มเอมนั้น
แล้วมีสติมากขึ้น
อย่างเมื่อกี้จะรู้สึกเหมือนกับว่า มีตัวอะไรตัวหนึ่งดูอยู่
ไม่ใช่ว่ามีความหลงเข้าไปในความสุขอย่างเดียวนะ
ตัวนี้แหละที่จะเป็นตัวตั้งของสมาธิแบบพุทธต่อไปนะ
คุณมานะชัย:
ติดกับเรื่องการเปรียบเทียบ การแข่งขัน
พอมาปฏิบัติก็เบาบางลง ความอิจฉาที่เคยมีกับคนอื่นก็เบาลง
มุทิตาจิตก็มีมากขึ้น แต่ก็ยังต้องพยายามอยู่
ยังทำแบบไม่เป็นธรรมชาติ
พี่ตุลย์ : ความรู้สึกเทียบเขาเทียบเรา พร้อมจะอิจฉา
หรือพร้อมเชียร์คนอยู่ข้างเรา พร้อมที่จะอิจฉาข้างอื่น
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ
แต่ตรงข้ามเป็นเรื่องปกติมากสำหรับคนมีกิเลส
ประเด็นคือ เมื่อเราฝึกปฏิบัติ อย่างเช่น พอเห็นสุขเวทนาในตัวเรา
มีความอิ่มเอม มีความรู้สึกสุขจัง
แล้วไปเห็นเวลาเรามองคนอื่นมาเป็นตุ๊กตาบ้าง
เราก็สัมผัสว่า ความสุขแบบนั้น บางครั้งรู้สึกว่าก็มีพอๆ
กับเรา
หรือรู้สึกว่า ความสุขที่ด้วยตา น้อยกว่าเรา
บางคนริบหรี่ๆ พอตั้งความสุขขึ้นมาแป๊บหนึ่ง
มีความสดชื่นแป๊บหนึ่งก็หายไป ไม่เหมือนของเราที่เราตั้งได้นานกว่า
หรือบางคนเราสัมผัสได้ว่าเป็นความสุขอีกแบบ
ที่ไม่ใช่แค่หายใจเข้ามาแล้วมีควมมอิ่มเอม
แต่เป็นสุขอันเกิดจากการปล่อยวาง
อันเกิดจากความว่าง
พอเห็นไปหลากหลาย จนกระทั่ง
การเทียบเขาเทียบเรา จะสะดุดหยุดลงตรงที่เกิดสติว่า
เหล่านั้นเป็นธรรมชาติเดียวกัน คือ เป็นสุขเวทนา
เกิดขึ้นแป๊บหนึ่ง จะตั้งอยู่นานแค่ไหน เป็นชั่วโมงก็ตาม
เรียกว่าแป๊บหนึ่งทั้งหมดนะ แล้วก็ต้องหายไปตามเหตุปัจจัย
พอเห็นแบบนี้ การเทียบเขาเทียบเราเรื่องความสุข
จะลดฮวบลงหรือกระทั่งหายไปเลย
จะมีความสุขมากกว่าเรา หรือน้อยกว่าเรา
ก็เหมือนกับของเราแหละ ที่ในที่สุดก็ต้องหายไป
พอเห็นอยู่อย่างนี้ มีความเคยชินอย่างนี้มากขึ้นๆ
จะพลอยรู้สึกว่า ในระหว่างวัน
อาการเทียบเขาเทียบเรา จะไม่ใช่แค่ลดลง
แต่จะเหมือนกับ
กลายเป็นเทียบเขาเทียบเราเพื่อให้รู้ว่า
ทั้งเขาทั้งเราแตกต่างไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย
และจะต้องหายไปเหมือนๆ กันหมด
ตรงนี้จะเป็นการเทียบเคียง เหมือนเมื่อกี้ที่สอนแพร
เวลาเราสามารถรู้สึกทางใจ มีสัมผัสทางใจได้แล้ว
มีการเทียบเคียงในอีกทิศทางหนึ่งคือ
ไม่ใช่ฝั่งนี้คือเรา ฝั่งนั้นคือเขา
แต่เป็นฝั่งนี้ธาตุดิน อีกฝั่งก็คือธาตุดินเหมือนกัน
เหมือนกัน ถ้าของเราอยู่ในจังหวะที่เวทนา
สุขเวทนาปรากฏชัด
เราก็เอาตัวนี้แหละ
เป็นตัวเทียบเขาเทียบเราในอีกทิศทางหนึ่ง
เวลาเราเห็นคนอื่นทำสมาธิ
แล้วเห็นว่าเขามีความสุขเท่าเรา
น้อยกว่าเรา หรือเหนือกว่าเรา
เราเห็นเป็นสุขเวทนาฝั่งนี้ เห็นเป็นสุขเวทนาฝั่งโน้น
เห็นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่า มีความเสมอกัน
คือไม่เที่ยง
แล้วก็ต้องหายไปเป็นธรรมดานะ
-------------------------
น้องขวัญ
พี่ตุลย์ : จิตต่างไปเยอะแล้ว จากเดิมเอาแต่นิ่ง
แต่ตอนนี้ นิ่งด้วยรู้ด้วย แล้วพอรู้สึกถึงความเป็นกายความเป็นใจ
จะโดยความเป็นธาตุ หรือโดยความเป็นเวทนา
หรือจะโดยความเป็นลมหายใจอะไรก็แล้วแต่
ณ เวลาที่จิตสามารถรู้ได้ เวลาเราทรงรู้อยู่อย่างนั้น
ในที่สุดแล้ว จะมาได้ข้อสรุปที่เดียวกันคือว่า
จิตเรากำลังยึดหรือไม่ยึด
การภาวนาแบบพุทธ ไปลงที่จิตตัวเดียวเลย
จิตนี้ ยึดหรือไม่ยึด ถ้าไม่ยึด
จะทำตัวเป็นผู้รู้อยู่เฉยๆ ดูอยู่เฉยๆ สังเกตการณ์อยู่เฉยๆ
แต่ถ้ายึด จะมีความรู้สึกว่าเป็นเรา จิตเป็นเรา ความคิดเป็นเรา
เราคือผู้คิด ผู้คิดคือเรา
บางทีจิตของเราก็อยู่ในฐานะผู้รู้ผู้สังเกตการณ์
บางทีก็ยังเคลื่อนกลับมายึด
สังเกตอยู่แค่นี้ ว่ายึดหรือปล่อย ถ้าปล่อยคือรู้
ถ้ายึดคือตัวเรา
น้องขวัญ : ในระหว่างวัน
เริ่มเห็น อย่างวันนี้รีบขับรถเข้ามา
เพราะอยากรอส่งการบ้าน
ก็จะเห็นเหมือนมีอะไรวิ่งๆ อยู่
แล้วกลับมารู้ลม แล้วก็ขับรถไปต่อ
แล้วก็ที่วิ่งๆ อยู่นี่คือการดูใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : ถามอย่างนี้ก่อน เมื่อกี้ที่พี่บอกว่า จิตของเราสลับไปสลับมา
บางทีเหมือนกับรู้อยู่เฉยๆ นั่นคืออาการไม่ยึด
แล้วบางที กลับมายึด ตรงนั้น มีตัวเรา
มีความรู้สึกในตัวเราขึ้นมา
สลับไปสลับมาอย่างนี้ ตรงนี้ ขวัญรู้ใช่ไหม
พูดตรงนี้ก่อน ก่อนไปถึงคำถามของเรา เห็นอย่างนี้ใช่ไหม
ที่พี่ว่า (ใช่ค่ะ)
อาการวิ่งๆ เป็นอาการหนึ่งของการอยู่ในระหว่างนั้น
ระหว่างยึด กับปล่อย ระหว่างความรู้สึกว่า
มีเรากับไม่มีเรา
ตรงนั้นเป็นภวังค์ชนิดหนึ่ง ยังไม่ตัดสิน
ตัวการปรุงแต่งของจิต ณ ขณะนั้นไม่ตัดสินว่า จะยึดหรือปล่อย
จะรู้ หรือยึด ..คือถ้ายึด จะรู้สึกเลยว่า
อย่างตอนนี้ มีขวัญอยู่ กำลังฟังพี่พูดอยู่
อย่างนี้เรียกว่ายึด
แต่อย่างตอนเมื่อกี้ มีจังหวะที่ใจเราว่าง
เหมือนกับเป็นดวงอะไรดวงหนึ่ง ที่รู้อยู่เฉยๆ
และไม่มีอาการมาสำคัญมั่นหมายว่า นี่กายเรา
นี่ลมหายใจเรา
มีความตื่นอยู่ อย่างนั้น คือชัดเจนว่า
เป็นฝั่งที่ไม่ยึด
เป็นฝั่งที่สังเกตการณ์ ที่รู้อยู่อย่างเดียว
อย่างตอนนี้ มีตัวเราอยู่ ยึดอยู่ชัวร์ๆ
แต่อาการที่วนๆๆ ยังก้ำกึ่ง ไม่รู้ว่าจะยึดหรือปล่อย
พูดอย่างนี้เข้าใจไหม ลองทบทวนดูนะ
ตอนที่เรารู้สึกเหมือนมีอาการวนๆ
ตอนนั้นจะว่ามีตัวเราก็ไม่ใช่ จะปล่อยก็ไม่เชิง
จะรู้สึกเหมือนไม่รู้อะไร
ถ้าพูดแบบนี้ ย้อนกลับไปแล้วรู้สึกแบบนั้นไหม
ว่าเหมือนไม่มีการตัดสินว่าจิตจะเอาอย่างไร
เรียกภวังค์ชนิดหนึ่ง
ภวังค์มีหลายแบบ ภวังค์แบบไม่รู้อะไรเลย
เป็นความหมายที่แท้จริงของภวังค์ คือไม่รู้อะไรเลย
ไม่มีวิถีจิตยกขึ้นมารับรู้อะไรทั้งสิ้น
มีแต่ความเป็นจิตที่ไม่รู้อะไรเลยเหมือนคนสลบเหมือด
เรียกภวังค์ของแท้
แต่ภวังค์แบบเมื่อกี้ เป็นภวังค์ในแบบที่
ยังมีสติก็ไม่ใช่ จะไม่รู้อะไรเลยก็ไม่เชิง
เหมือนงงๆ อยู่ วนๆ อยู่ ว่าจะยึดหรือจะปล่อย
นี่คือภาวะธรรมชาติปรุงแต่งชนิดหนึ่งของจิต ที่ยังไม่มีโฟกัสแน่นอน
เราแค่รู้อย่างนี้
แล้วอาการมีภวังค์อ่อนๆ แบบนี้ อาการที่ธรรมชาติของจิต
มาแสดงอาการวนเวียน หรือมีอาการแบบรู้บ้างไม่รู้บ้างนี่
เป็นภาวะที่พิสดาร มีความหลากหลายไปได้เรื่อยๆ
ยกตัวอย่างเช่น อีกวันหนึ่ง ขวัญอาจรู้สึกไม่วนแล้ว
อาจมีความรู้สึกแกว่งๆ ในหัว ไม่ใช่ความฟุ้งซ่าน
แต่เป็นอะไรไม่รู้ เหมือนกับว่าเราก็มีสติ
แต่ก็แกว่งๆ เหวี่ยงๆ
ราวกับว่าจะเกิดปรากฏการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง
แต่บางทีก็กลับมาวนๆ
ตรงที่วนๆ ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่แปะป้ายให้มัน
ว่า
เป็นอาการหนึ่งของจิต ที่แสดงตัวมา
เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ขึ้นมา
เราแค่รับรู้ว่า มีอาการวนๆ เป็นสภาพหนึ่งของจิต
พอเราเห็นว่าเป็นสภาพหนึ่งของจิต จะรู้สึกว่า
ณ ขณะนั้น จิต จะมีสติ แล้วก็รู้ว่า
นั่นเป็นสภาพแป๊บหนึ่ง
เป็นของชั่วคราวแป๊บหนึ่งแล้วก็หายไป นี่ตัวนี้คือสาระ
พูดง่ายๆ เรารู้ว่ามันเป็นภาวะหนึ่งของจิต
แล้วไม่สนใจ
ไม่ไปขุดคุ้ยว่ามันพิเศษอย่างไร
สนใจแค่ว่า เดี๋ยวมันก็ต้องหายไป นั่นคือสาระนะ
น้องขวัญ : ในระหว่างวัน
ถ้าเจอกิเลสเข้ามา แล้วพยายามจะดูให้หายไป แต่ไม่แน่ใจว่า ดูจริงหรือเปล่า เพราะมันไม่หายไปค่ะ
พี่ตุลย์ : กิเลสประเภทไหน
น้องขวัญ : คิดวนเรื่องเดิมๆ
มีปัญหาเรื่องของคู่ครอง เข้ามาวนในหัว เราพยายามสลัดออก บางวันทำได้
แต่บางวันแน่นมาก
พี่ตุลย์ : ที่ทำระหว่างวัน เหมือนกับว่ายังงงๆ ครึ่งๆ
กลางๆ
ว่าจะจัดการกับกิเลสแต่ละประเภทอย่างไร
ถ้าหากนิยามตัวเองว่า เราเป็นฆราวาส
มีสิทธิ์ที่จะมีกิเลสแบบฆราวาสทั่วไป
ไม่จำเป็นต้องเป็นแม่ชี หรือทำแบบพระเสมอไป
เราจะมีนิยาม มีคำจำกัดความว่า นี่ทำได้
อยู่ในขอบเขตของศีล
นี่ทำไม่ได้ เพราะเกินขอบเขตศีลออกไป
จะมีความชัดเจนขึ้นมาที่ว่า เราจะวางตัวไว้ตรงไหน
ในกรอบตรงไหน
จากนั้น เมื่อมีกิเลสอะไรแบบหนึ่งขึ้นมา
ไมใช่เราต้องไปจัดการกับมันเสมอไป
ตกลงกับตัวเองให้ได้ แค่นี้โอเค แค่นี้ไม่โอเค
ตรงนี้ เราแยกออกมาปฏิบัติจริงๆ ตรงนี้เรายังอยู่ในโลก
ก็จะได้อยู่ทั้งสองโลกโดยไม่ขัดกัน
ไม่ต้องทะเลาะกัน
ไม่มีตัวตนทั้งสองโลกมาทะเลาะกัน
อย่างตอนนี้ขวัญบอกตัวเองว่า ที่ทำๆ มาอย่างน้อย
มีความคืบหน้า
สติตื่นขึ้นมาจากอาการว่าเราเก็บตัว จากนิ่งๆ
อย่างเดียว เงียบอย่างเดียว
เราไม่เอาตรงนั้นแล้ว มีสติตื่นขึ้นมา
ก็บอกตัวเองว่า นี่คือความคืบหน้า
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องคืบหน้าจนกระทั่งจะเอาที่สุดเดี๋ยวนี้
จะเอาอรหัตผลในสัปดาห์หน้าอะไรแบบนั้น
แม้แต่พระโสดาบัน ท่านก็ยังมีราคะ โทสะ โมหะ
แม้แต่พระสกทาคามี ท่านก็เพิ่งทำได้ในระดับที่
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง
ลองไปดูเทียบเคียงในแต่ละชั้น หมายความว่าอย่างไร
หมายความว่า พระโสดาบันกิเลสทั่วๆ ไปยังเท่าเดิม
ก่อนบรรลุโสดาปัตติผลด้วยซ้ำ
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะปฏิบัติอยู่ที่บ้าน
ปฏิบัติธรรมในแบบที่ยังเป็นฆราวาส
เราต้องตกลงกับตัวเองให้ได้ ว่าขอบเขตอยู่ที่ตรงไหน
ที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนในโลก
ไม่ใช่แบบ ไปทิ้งเขา
เหมือนกับเขาเป็นหมูหมากาไก่
ที่ไม่มีความหมายอะไรแล้ว ไม่มีค่าอะไรแล้ว อะไรแบบนี้
เรายังต้องเห็นหัวคน ยังต้องเป็นฆราวาส ที่มีความเสมอกับฆราวาสด้วยกัน
ในขณะเดียวกัน ในเรื่องความคืบหน้าทางจิตวิญญาณ
ความคืบหน้าทางธรรม เราก็ถามตัวเอง
ตั้งโจทย์กับตัวเองว่า ในแต่ละวันมีความคืบหน้าอะไรบ้าง
อย่างเมื่อกี้ที่พี่บอกว่า
ขวัญจากเดิมที่นิ่งเงียบอยู่เฉยๆ
ตอนนี้ ตื่นรู้แล้ว ทีนี้รู้อะไรบ้าง?
รู้ลมหายใจ รู้อิริยาบถนั่ง รู้อากาศว่างได้
รู้ได้กระทั่งว่าจิตผู้รู้หน้าตาเป็นอย่างไร ถึ
งแม้จะไม่เสถียร ถึงแม้จะไม่อยู่ตลอดเวลา
แต่ก็รู้ได้เรื่อยๆ นี่คือความคืบหน้า
พอเราเห็นว่า ยังสามารถรักษาสถานภาพฆราวาสไว้ได้
แล้วก็มีคืบหน้าทางธรรมด้วย
เราจะไม่ต้องมาเถียงกับตัวเอง
หรือมางงกับตัวเองว่า
เราจะจัดการกับกิเลสแต่ละแบบอย่างไร
อย่างถ้าเกิดโทสะ ก็รู้ว่ามีโทสะเกิดขึ้นมา
แล้วเดี๋ยวก็หายไป
เวลามีเรื่องวนเวียน วนลูปในหัว
แกะออกจากหัวไม่ได้ ก็ไม่ต้องแกะ
แต่ดูไปว่า นั่นคือภาวะของจิตแบบหนึ่ง
ที่มีเหตุปัจจัยคือ เรื่องนั้น รบกวนจิตใจเราได้
เรื่องอะไรรบกวนจิตใจเราได้ เรื่องนั้นจะวนเวียนอยู่ในหัวเสมอ
ทีนี้พอเรามาดูว่า ถ้าหากมีเหตุปัจจัยอื่นตามมา
เช่น รู้ลมหายใจ
จะยาวจะสั้นก็ตาม จิตจะแปรไป มีวิตักกะ เกิดขึ้น
มีวิจาระเกิดขึ้น
แล้วเรื่องวนเวียนในหัวนั้น เบาบางลงไหม
ถ้าหากว่า มีลมหายใจประกอบอยู่ในการรับรู้ ณ
ขณะนั้น
แล้วความวนเวียนในหัวเกิดขึ้น จะเห็นว่า
ลมหายใจก็ส่วนหนึ่ง ความวนเวียนในหัวก็ส่วนหนึ่ง
เห็นไหม ก็มาจากตอนที่เราปฏิบัติกันนี่แหละ
แต่ถ้าเรื่องวนเวียนในหัว วนเวียนเฉยๆ
โดยไม่มีฐาน
ไม่มีวิตักกะ ไม่มีวิจาระในลมหายใจ แบบนี้ก็วนเวียนจริงๆ
วนเวียนแบบแน่นหนา เห็นเหตุปัจจัย
เห็นความแตกต่างอย่างนี้
น้องขวัญ : จะไปปฏิบัติตามที่พี่ตุลย์บอกค่ะ
รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เพราะเมื่อก่อนเหมือนจิตไปแช่อยู่กับข้างใน
แต่ตอนนี้เหมือนเห็นได้เร็วขึ้น
พี่ตุลย์ : ใช่ จะ connect
กับโลกภายนอกได้
แต่พอมาถึงตรงนี้ จะยังงงกับการใช้ชีวิตอย่างไร
แค่ไหน
พี่ถึงบอกว่า ไม่ใช่เรื่องว่าเราจะปฏิบัติให้ถูกให้ตรงอะไรอย่างเดียว
เป็นเรื่องการตกลงกับตัวเองด้วยว่า
เราจะอยู่ในกรอบไหน เขตไหนนะ
-------------------------
คุณบอยชะอำ
พี่ตุลย์ : พอวางมือลง บอยสังเกตนะ ความรู้สึกในตัวตน
จะกลับมา
อย่างตอนที่เรานิ่ง เราว่าง
ตอนชูมือสุดจะอย่างหนึ่ง
แต่ตอนวางมือลง หน้าเราขนานกับพื้น จะรู้สึกอีกอย่าง
พอเราเห็น เรารู้ว่า .. อย่างตอนนี้ ว่างรู้สึกอย่างหนึ่ง
พอลมหายใจปรากฏชัด พร้อมกับฝ่ามือที่ลดลง ..
นี่ อย่างนี้เริ่มต่างไป เห็นไหม
พอพี่ให้สังเกตการรับรู้ที่วางฝ่ามือลงบนหน้าตัก
จะค่อยๆ ต่างไปเรื่อยๆ ตามการสังเกตของเรานี่แหละ
ยิ่งมีสติสังเกตมากขึ้นเท่าไหร่
ความรู้สึกในตัวตนตอนวางมือ จะยิ่งต่างไปเท่านั้น
ตอนวางมือ ที่หลายๆ คนไม่ค่อยให้ค่า
ไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นี่ จริงๆ แล้วมีอะไรอยู่ในนั้นเยอะเลย
คือพอวางมือปุ๊บ ความรู้สึกว่าเรารู้ลมหมดไป
ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนกลับมา
เพราะว่าจะอยู่ในท่าทางที่เสมอกันกับชีวิตประจำวัน
มีคอตั้งหลังตรง ตั้งหน้าอยู่
แล้วมือก็ไม่ต้องทำอะไร วางอยู่เฉยๆ
ความรู้สึกในอัตตา ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนก็กลับมาเท่าเดิม
ทีนี้ เมื่อเราสังเกตเห็นว่า ในใจของเราแตกต่างไปจากตอนที่ใจว่างๆ
อยู่
มีน้ำหนักในตัวตนขึ้นมา มีความรู้สึกว่า
ไม่เบาเหมือนตอนแรก
แค่เห็นไปเรื่อยๆ สังเกตถึงความแตกต่างไปเรื่อยๆ
เห็นไหมใจจะเบาลงๆ การปรุงแต่งทางใจ
จะไม่มีความโน้มเอียง ไปทางความรู้สึกว่า มีตัวเราเหมือนเดิมเกิดขึ้น
จะมีแต่ความรู้สึกว่า สติของเรารู้อยู่ เห็นอยู่
ในอาการที่วางมือลงนี้
ยังมีมือเสมอกันกับตอนที่ลดลง ค่อยๆ ลดลงไหม
ถ้ามีมือเสมอกันกับตอนที่ลดลง หายใจออก
ตอนนั้นก็คือสติมีความตั้ง สมาธิมีความเต็มรอบ
แต่การที่เราวางมือลงเฉยๆ
แล้วปล่อยให้ความรู้สึกเคยชินแบบเดิมๆ กลับมา
จะมีมโนภาพในตัวตน จะมีความรู้สึกในตัวเราเกิดขึ้นเต็ม
พอเห็นมโนภาพตัวตน หรือน้ำหนักความรู้สึกในตัวตนเกิดขึ้นเต็มนั้น
บ่อยครั้งเข้า จะกลายเป็นเบาบางลง เพราะว่าสติมาแทนที่
เห็นไหม เรากำลังมองเข้าไป เห็นถึงความปรุงแต่งของจิต
ในแต่ละขณะ ในแต่ละช่วงจังหวะ
เห็นอย่างที่พี่บอกใช่ไหม ตอนแรกมีตัวตน
มีตัวบอยตัวหนึ่งแบบเดิมเลย
ตอนที่วางมือครั้งแรกที่บอก
เสร็จแล้ว พอตั้งสติสังเกตตรงนั้นหลายรอบเข้า
ตัวตนจะเบาบางลง จะกลายเป็นมีแต่ฝ่ามือ
และมีแต่ใจที่เหมือนกับวางราบตามฝ่ามือไปเฉยๆ
ใจเบาลงๆ มีน้ำหนักในตัวตนน้อยลงๆ
คุณบอยชะอำ :
จากที่ทำทุกวันนี้ ใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดินจงกรม ซ้ายก้าว
ขวาก้าว ตอนนี้เข้าระดับว่าเหมือนเคยชิน ไม่ทราบว่าดีขึ้นไหมครับ
ใจไม่วอกแวกไปไหนมากมาย
พี่ตุลย์ : ที่พี่เห็น ตอนที่เดินจงกรม
บอยยังเดินก้มหน้า
และเดินในระนาบเดียวกับความคิด
พูดง่ายๆ มีความคิดอยู่กับการย่างซ้ายย่างขวา
ทีนี้ อย่างบอยจะเริ่มทำสมาธิแบบดูลมหายใจเป็น และเริ่มเข้าใจว่า
ถ้าเกิดวิตักกะ หมายถึงใจมีลมหายใจอยู่กับใจ
และถ้าใจของเรามีลมหายใจต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
มีความว่าง เบาขึ้นมา
มีความนิ่มนวลขึ้นมา เหมือนกับใจของเรา
จากเดิมที่ ไปซ้ายที ขวาที ตามความฟุ้งซ่าน
จะกลายเป็นรวมอยู่ดวงเดียว ตั้งอยู่กับที่
อย่างนี้ ประสบการณ์ที่บอยได้แล้ว เรียกว่า
วิจาระ
ทีนี้ เวลาที่เราจะเดินจงกรม เริ่มต้นขึ้นมา
เราตั้งหลักจากตรงนี้ก่อนว่า มีวิตักกะ วิจาระ
เกิดขึ้นแล้วหรือยัง
ถ้าหากว่า วิตักกะ เกิดขึ้น
คือมีจังหวะเท้ากระทบ ที่อยู่ในใจของเรา
แต่อันนี้ เหมือนกับว่า บอยไม่วอกแวกก็จริงเวลาเดินจงกรม
แต่บอยเดินก้มหน้าใช่ไหม (ครับ)
พอเดินก้มหน้าไป ลักษณะการเดินก้มหน้า
จะสอดคล้อง ไปทิศทางเดียวกับวิธีที่บอยจะคิดเยอะ
ฟังดีๆ นะ ไม่ใช่ว่า ณ ขณะนั้นบอยคิดเยอะนะ
แต่สอดคล้องกันกับความพร้อมที่จะกลับมาคิดเยอะ
ทีนี้ วิธีที่บอยกำหนดอยู่ ย่างไปทีละก้าวๆ
และมีความรู้แต่ละย่าง แต่ละก้าว
ขอให้สังเกตว่า บอยยังรู้สึกว่าต้องออกแรง
ยังรู้สึกเดินแล้วเหนื่อย ไม่ใช่เดินแล้วเกิดความรู้สึกชุ่มชื่น
ตรงนี้เพราะว่า ตัววิตักกะของเรา เป็นวิตักกะ แบบหนักเกินไป
ออกแรงเยอะเกินไป
ลองเอาใหม่ เวลาที่เดิน เดินเงยหน้า
เอามือไพล่หลังก็ได้
แล้วเหมือนมองไปข้างหน้ากว้างๆ เหมือนมองขอบฟ้า
แล้วเวลาเดินไป ไม่สนใจว่าจะเอาความชัดเจนทีละก้าว
เราเอาความรับรู้ว่า มีการก้าวกระทบ แปะๆๆ ไป
มีจังหวะในใจของเรา เป็นสปีดช้า หรือสปีดเร็ว
พี่ขอแนะนำให้สปีดเร็วขึ้นกว่านี้ ไปทดลองเปรียบเทียบดู
ถ้าหากว่าจังหวะเท้ากระทบของเรา ที่แปะๆๆ
อยู่ในใจของเรา
มีความสม่ำเสมอมากพอ จิตแบบนี้ จะมีวิตักกะ
ไม่ยาก
วิตักกะ ก็คือ รู้สึกถึงเท้ากระทบ
โดยไม่ออกแรง ..
ตรงนี้ คีย์เวิร์ดสำคัญ เพราะที่ผ่านมา
จะเหมือนเราออกแรงอยู่ตลอด
คือเพื่อที่จะควบคุมไม่ให้ใจเตลิดไปทางอื่น
แต่ถ้าหากว่า เท้ากระทบของเรา
จังหวะเท้ากระทบ แปะๆๆ ไป อยู่ในใจของเราจริงๆ
เราจะรู้สึกว่า ใจเบา ไม่ต้องออกแรงมาก
ตรงนี้ ลองไปเปรียบเทียบดู
แต่เรื่องการทำสมาธิ ใช้ได้ มีวิตักกะ วิจาระ
แล้วถ้าเราสังเกตเปรียบเทียบไปเรื่อยๆ ว่า
ตอนวางมือมีน้ำหนักของความรู้สึกในตัวตนไหม
หรือมีมโนภาพในตัวตนไหม หรือเบากริบ
มันจะเบาขึ้นเรื่อยๆ และเห็นว่า
จิตมีความเสมอกับลมหายใจมากขึ้นเรื่อยๆ นะ
ไปลองเดินจงกรมใหม่ดู
แล้วพี่จะดูให้อีกทีว่าต่างไปแค่ไหน
คุณบอยชะอำ : ที่ทำอยู่ทุกวันนี้
คือเหมือนใช้ชีวิตประจำวัน คือเดินแล้วจับก้าวซ้ายขวา เร็วบ้าง ช้าบ้าง
แต่พยายามจับอยู่ตลอด
พี่ตุลย์ : ลองไปเดินจริงจังดู มีช่วงที่เราอาจจัดไว้ เป็นช่วงเดินจงกรมอย่างเดียว
แค่ห้านาทีสิบนาทีก็ได้ นอกบ้านที่เป็นที่สาธารณะก็ได้แต่ขอให้ไม่มีคน
แล้วเดินกลับไปมาได้ (คุณบอย: ยากมากเลยครับที่จะหาที่ไม่มีคน)
เอาตามโอกาส ตามจังหวะ
คุณบอยชะอำ : ส่วนมากผมใช้ในชีวิตประจำวันไปเลย
เพราะมันยาก อย่างวันนี้ ที่บ้านผม พ่อแม่ไปไร่ ลูกไปโรงเรียน แฟนไปทำงาน
ก็ยังพอมีเวลา แต่เมื่อกี้พ่อเดินกลับมากินข้าว
พี่ตุลย์ : พี่ชอบนะ ให้เป็นแบบนี้ เพราะเป็นหลักฐานว่า
พวกเราปฏิบัติอยู่ที่บ้านกันจริงๆ
แต่ละคนมี background
มีพื้นหลังที่แตกต่างกัน
แต่เป็นที่บ้านเหมือนๆ กัน ไม่ใช่ที่วัด
ไม่ใช่เราไปปลีกวิเวกที่ไหน
ตรงนี้จะล้างความเชื่อว่า การปฏิบัติธรรม ต้องไปวัดเท่านั้น
จริงๆ แล้วเราอยู่ที่บ้านก็ได้ แล้วใช้โอกาส
ใช้จังหวะ
เท่าที่เราพอจะคว้าได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันทำกันได้
อย่างของบอยมีหลักฐานชัดเจนว่า บอยรู้ลมหายใจได้
นิ่มนวลด้วย
มาสังเกตในขั้นละเอียด ขั้นแอดวานซ์ก็ยังได้ว่า
พอวางมือ รู้สึกมีตัวตนขึ้นมาในจิต ดูไปละเอียดขึ้น
เหมือนใจของบอย ก็รับรู้ถึงลมหายใจ
หรือสภาพทางกายได้ตรงความจริงมากขึ้น
พูดง่ายๆ มีจิตเสมอกับลมหายใจ
มีจิตเสมอกับท่านั่งมากขึ้น
ตรงนี้นะ แอดวานซ์แล้วนะ สำหรับหลายๆ คน
ที่ไปปฏิบัติที่วัด นุ่งขาวห่มขาว ก็ยังไม่ได้แบบนี้อีกมาก
ทีนี้ถ้าเราทำไว้ในใจว่า จริงๆ น่ะ ใช้ที่บ้านไปเถอะ
ใช้ที่ ที่เรามีอยู่ไปเถอะ ดีกว่าเรารอสถานที่แล้วไม่ได้สักที
เสียเวลาไปชาติหนึ่งไปเปล่าๆ
เอาเท่าที่มีอยู่ และเท่าที่ทำได้
เมื่อเราทำได้ไปเรื่อยๆ แล้วย้อนกลับมามองทีหลัง
จะเห็นว่า ทุกที่ คือบันได ให้เราต่อยอดมาได้ถึง
จุดที่เราไปได้ไกลแล้วเสมอ
-------------------------
คุณก้อ
พี่ตุลย์ : จิตมีความราบรื่นกว่าเดิมเยอะ ช่วงก่อนมีสะดุดบ้างอะไรบ้าง
อย่างตอนนี้
ชีวิตประจำวันมีความกลมกลืนกับจิตที่มีความสว่าง
เบามากกว่าเดิมเยอะ นี่คือจุดที่สังเกตได้นะ
คุณก้อ : กังวลเรื่องสาธุ
(ลูกสาว) รู้สึกน้องไม่ค่อยอยากทำ (เจริญสติด้วยมือไกด์ลม)
พี่ตุลย์ : พี่เข้าใจนะว่าอยากให้ลูกทำครบ 21 วันตามตำรา
เพื่อเป็นความเคยชินอะไรแบบนี้ แต่ไม่จำเป็น
ตรงนั่นเป็นกิจกรรมชีวิตประจำวัน แต่เรื่องการนั่งสมาธิ
จะเป็นอะไรอีกแบบหนึ่ง ขึ้นกับความรู้สึกว่า
มีความพอใจ มีฉันทะ ในแต่ละวันที่แตกต่างกัน
ต้องจับจุดสังเกตลูก เวลาที่เขาเหม่อๆ ฟุ้งๆ หรือไม่พร้อมที่จะลงนั่ง
อย่าเพิ่งเอามา เพราะจะกลายเป็น negative
feeling
ว่า เขากำลังอยากเล่น อยากฟุ้ง
แล้วเราลากมานั่งสมาธิ จะฝืนใจเขา
แต่ถ้าวันไหนดูเขาร่าเริง และพร้อม
อย่างเราชวนคุยเรื่องสมาธินิดเดียว
เขาตอบรับทันที แบบนี้ค่อยเอามา
หรือถ้าสมมติเว้นวรรคไปได้สามวัน
แล้วเขาเรียกร้องมาเอง
เห็นเรานั่งสมาธิ แล้วเขาอยากมานั่งกับเรา
อย่างนี้คือความเต็มใจ อย่างนี้คือ
positive ให้มองอย่างนี้ดีกว่า
แล้วน้องสาธุ พี่ดูแล้วว่ามีพื้นมาแน่นอน
ไม่ต้องเป็นห่วง
ไม่ต้องกังวลว่าจะพาเขามาไม่ได้ หรือจะส่งเสริมเขาไม่ถึงที่สุด
มีมาอยู่แน่ๆ แล้ว และความเต็มใจของเขาช่วงนี้เป็นเรื่องสำคัญ
สำคัญกว่าการทำตามสูตรว่าต้อง 21 วัน
แล้วนี่ก็เหมือนกับครบ 21 วันพอดีด้วยใช่ไหม
ครบแล้ว
ฉะนั้น ต่อไปเอาความสมัครใจของเขาเป็นตัวตั้ง
และเราทำให้เขาเห็นบ่อยๆ ทำให้เขารู้สึกว่า
นี่คือเรื่องปกติของบ้านนี้ ของครอบครัวเขา ของชีวิตเขา
ของแม่เขา
ตัวเรานี่แหละเป็นหลัก ถ้าเราทำบ่อย
เขาจะรู้สึกเองว่าถูกดึงดูดให้มาหาเรา
เขาจะรู้สึก guilty ถ้าไม่มาหาเรา
แต่ถ้าเราลากเขาเข้ามา เขาจะไม่รู้สึก
guilty แล้ว เ
ขาจะรู้สึกว่า เขาอยากหาว
อยากทำอะไรเป็นสิทธิ์ของเขาแล้ว
คุณก้อ : รู้สึกสาธุน่ารักมากขึ้นหลังจากที่ทำสมาธิ
เข้าใจอะไรง่าย ไม่ดื้อ แม่ก็ดีขึ้นค่ะ
พี่ตุลย์ : ของคุณก้อดีขึ้นแน่ๆ
เพราะคราวก่อนที่เราคุยกัน คุณก้อ Get ว่าชีวิตประจำวันมีผลกับสมาธิ
แต่ของสาธุ จะเหมือนกับเด็กทุกคนที่พี่เห็น
พอทำสมาธิเป็น เกิดสมาธิขึ้นมา
อาการดื้อ อยากเกเรแบบไม่มีเหตุผล ความขี้เกียจจะหายไป
เปลี่ยนไป
หรือบางทีพูดอะไรแปลกๆ ที่นึกไม่ถึงว่า
เด็กแบบนี้จะพูดได้ มีจิตสำนึกแบบนี้
ก็ขอให้เข้าใจว่า สมาธิจิต ก็คือจิตสำนึกชนิดหนึ่ง
เป็นจิตสำนึกชั้นสูง เป็นมหากุศลจิต
เป็นจิตที่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตดีๆ
เพราะคนเราถ้าสามารถคิดดีได้
รู้สึกดีได้ออกมาจากความเป็นมหากุศลจิต
อะไรที่จะดึงให้หลงไปคิดผิด
หรือคิดเข้าข้างตัวเองทั้งหลาย
จะหายไป หรืออ่อนกำลังลง เป็นธรรมชาติ
ธรรมดาของมหากุศลจิต
ฉะนั้น เน้นว่าคุณก้อไม่ต้องห่วงกังวลกับน้องสาธุเลย
เพียงแค่ว่า เราตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมให้เขาเห็นบ่อยๆ
แค่นี้
ตัวนี้เลย ดีกว่าที่จะลากเขามาให้ครบ 21 วันหลายเท่า
-------------------------
คุณวิรัตน์
พี่ตุลย์ : เวลาคุณวิรัตน์มองตัวเองอาจรู้สึกว่า
ติดโน่นติดนี่
แต่ถ้ามองออกมาจากมุมของการทำสมาธิ จิตจะเกลี้ยงเกลามากขึ้นเรื่อยๆ
พูดง่ายๆ มีพื้นที่ของความว่าง พร้อมเป็นสมาธิ
มากกว่าพื้นที่ความรกของจิตที่พะวงคิดโน่นคิดนี่
อย่างที่เคยบอกว่า คอยพะวงว่า เกิดวิตักกะ
หรือยัง เกิดวิจาระหรือยัง
นี่เป็นความห่วง เป็นความพะวง หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ขึ้นมา
แต่ไม่ได้มีมากเท่ากับ พื้นที่ว่างที่เราปราศจากความปรุงแต่งเหล่านั้น
เราดูตรงนั้นดีกว่า อย่างตอนนี้เราว่าง
แล้วรู้สึกถึงลมหายใจออกชัด
คราวนี้ พอชูมือขึ้นสุด ขอแค่แยกมือนิดเดียว อย่ากว้าง
แล้วรู้สึกถึงลมหายใจที่อยู่ระหว่างฝ่ามือ ..
ดูนะ ถึงความแตกต่างระหว่างแยกออกไปห่างๆ
กับแยกเพียงเล็กน้อย
ถ้าแยกเพียงเล็กน้อย ลมหายใจที่อยู่ระหว่างฝ่ามือจะชัดขึ้น
จะมีความรับรู้ถึงลมหายใจได้ชัดขึ้น
ไม่ต้องแยกออกเป็นตำแหน่งที่ห่างกัน
พอลดลง ขอให้สังเกตด้วย บางทีจะพ่นลมหายใจออกมาแบบด่วนพ่น
ไม่ได้พ่นออกมาพร้อมกับอาการลดมือ
ถ้าหากว่า ตอนที่เรารู้สึกถึงการระบายลมหายใจออก
พร้อมกันเป๊ะกับตอนที่ลดฝ่ามือลง เห็นไหม
จะมีความรู้สึก อย่างรอบนี้ ลมหายใจจะชัดขึ้น
นี่แหละที่เป็นวิตักกะแน่ๆ มีลมหายใจ ปรากฏพร้อมฝ่ามืออย่างชัดเจน
นี่แหละที่เรียกว่า เป็นความชัดเจน มีวิตักกะ
และถ้ามีวิตักกะอย่างนี้ต่อเนื่องหลายๆ รอบ
วิจาระจะมาเอง
วิรัตน์ : ช่วงนี้ จิตเหมือนอยากดิ้นออกจากเพศฆราวาสครับ
พี่ตุลย์ : เข้าใจได้ ทุกคนที่ทำๆ กันบางทีเผลอ ลืม
นึกว่าตัวเองเป็นแม่ชี บ้าง เป็นพระบ้าง
และรู้สึกเหมือนพอไปใช้ชีวิตฆราวาส ก็ไม่กลมกลืน
มันหยาบๆ
ผมจะไม่ส่งเสริม
หรือจะไม่ไปทำให้บั่นทอนกำลังใจทั้งสิ้น
จะพูดกลางๆ นะว่า ถ้าหากเรารู้สึกว่า ใจของเราสามารถบวชได้จริง
พิสูจน์ตัวเองนิดหนึ่ง เช่น หาวัดไปปลีกวิเวก
อยู่กับที่นั่น
สามวัน เจ็ดวันบ้าง หรือถ้าลางานได้นานกว่านั้น
นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แล้วดูว่าอยู่ได้จริงไหม ด้วยการปฏิบัติแบบนี้
ถ้าอยู่ได้จริง มีความสุข อนุโมทนาครับ เอาเลย
แต่ถ้ายังมีความรู้สึกติดข้อง ไม่แน่ใจ
ยังรู้สึกไม่เจอวัด
ไม่เจอเจ้าอาวาสที่เข้ากับอัธยาศัย
หรือการปฏิบัติไม่เสถียรพอ
ก็สำรวจตัวเองตามจริงและตกลงกับตัวเอง
ตามเหตุปัจจัยที่ปรากฏอยู่จริงๆ นั่นแหละ
อย่างวันนี้ รู้สึกถึงลมหายใจได้ชัดขึ้นไหม
ตอนแยกมือน้อยลง (ครับ) เอาตามนั้น
จะได้ไม่สงสัยว่าเกิดวิตักกะ หรือยัง
ตรงเมื่อกี้ที่ผมบอกว่า เกิดแล้ว
นั่นคือเกิดจริงๆ ที่เรารู้สึกถึงลมหายใจ
คุณวิรัตน์ : ตอนที่ปฏิบัติครั้งแรก
อ.บอกว่า จิตเฉื่อยๆ เอื่อยๆ ตอนนี้เป็นอย่างไรครับ
พี่ตุลย์ : ตอนนี้มีความเบา
แบบที่คุณวิรัตน์รู้สึกเหมือนใจว่างๆ สบายๆ
ในความว่าง ความสบายนั้น
ถ้าหากว่ามีอาการอ่อยเอื่อยลงมากกว่านั้น
นั่น เรียกว่าเฉื่อย
แต่ถ้าในความว่างความเบา เรายังรู้สึกถึงลมหายใจ
รู้สึกถึงกายนั่ง
รู้สึกถึงความสุขที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันไป ควบคู่กันไป
อันนั้นประกันได้ว่าไม่เฉื่อย มีสติรู้พร้อม
แต่จะมาเป็นรอบๆ นึกออกใช่ไหม
เพราะพื้นเดิมของเรา พูดง่ายๆ จะเฉื่อยๆ
นิดหนึ่ง จะออกแนวนี้
ทีนี้ตอนนี้ตื่นมากขึ้น รู้ลมหายใจ
แม้กระทั่งความเบาที่เกิด
เราก็รู้สึกได้ว่าเป็นภาวะความเบาชนิดหนึ่ง
เหล่านี้ เรียกเป็นความตื่นทั้งสิ้น
แต่ถ้าเราจมอยู่กับความรู้สึกเบา แล้วค่อยๆ
ดรอปลงๆ เอื่อยลงๆ
อย่างนี้คือความเฉื่อยนะ
คุณวิรัตน์ : แล้วแยกรูปนามได้หรือยังครับ
พี่ตุลย์ : ยัง แต่ว่าอยู่ในทิศทางแล้ว
เอาง่ายๆ นะ ตอนที่อย่างเมื่อกี้ จำไว้เลยนะ
ขอให้ฝ่ามือแยกห่างแค่นั้น แล้วจำไว้เลยว่า
ลมหายใจเริ่มเกิดขึ้น ที่อยู่ระหว่างฝ่ามือชัดเจนตรงนั้น
เป็นวิตักกะ
รู้ลมหายใจอย่างเดียวให้ชัดให้ได้ก่อน
เสร็จแล้วจะค่อยๆ รู้เองว่า กายอยู่ส่วนกาย
กายนั่งอยู่ส่วนกายนั่ง
เพราะนี่คุณวิรัตน์กำหนดกาย
ยังแบบว่ากระโดดไปกระโดดมา
พอกำหนดกายปุ๊บก็กังวลว่า เอ๊ะ เราจะรู้นั่นรู้นี่หรือยัง
ความกังวล วิจิกิจฉานั่นแหละ ที่ทำให้ไม่รู้กายใจแยกจากกันเสียที
แต่ถ้าเมื่อไหร่ วิจิกิจฉา คือความสงสัย
ความพะวงตรงนี้หมดไป
เหลือแต่ความรู้ว่ากายนั่งตำแหน่งหนึ่ง
ลมหายใจอยู่ตำแหน่งหนึ่ง
คนละส่วนกัน มีความชัดเจน และใจไม่คิดอะไรเลย
มีความว่างเบา
นั่นแหละจะเป็นจุดเริ่มต้น เป็นทิศทาง
คุณวิรัตน์เคยเห็นมาแล้ว แต่พอเห็น
ก็มักจะย้อนกลับมาคิด ย้อนกลับมาสงสัย
นั่นแหละที่ทำให้ไม่แยกจริง
แล้วผมถึงบอกว่า ยังไม่แยก
คือไม่ใช่ว่าไม่เคยมีประสบการณ์
เคยมี แต่ว่าไม่เป็นปกติ ชอบกลับมา
วกกลับมา ถอยกลับมา (คุณวิรัตน์: ครับ ยังวอกแวกมากอยู่)
เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่าให้แยกมือห่างกันนิดเดียว
แล้วรู้ลมหายใจให้ชัดให้ได้ก่อน
แล้วไม่ต้องไปพยายามทำอย่างอื่นเลยทั้งสิ้น
รู้อย่างนั้นไปเรื่อยๆ
จนกว่าลมหายใจจะปรากฏชัดต่อจิตของเราจริงๆ แล้วค่อยไปขั้นต่อไปนะ
-------------------------
คุณกฤติยาณี
พี่ตุลย์ : พอรู้ลมหายใจ แล้วมีความวอกแวกอยู่ข้างใน
มีความไหวๆ อยู่ข้างใน ให้รู้ไป
จะรู้สึกว่าไม่เป็นอิสระจากสิ่งรอบข้าง
หรือมีความเกี่ยวพันอะไรก็แล้วแต่
หลักการคือให้รู้ไป
นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ อย่าเอาแต่นิ่ง
อย่าเอาแต่จะทำให้ดี
แต่ให้รู้ .. นี่ ลมหายใจเรารู้อยู่
แล้วความวอกแวก
ความโยกเยกอยู่ข้างในมีอยู่ รู้ไปพร้อมกัน
การรู้ไปพร้อมกันนั่นแหละ ที่จะทำให้เกิดสมาธิแบบพุทธขึ้นมา
คือมีความรับรู้ว่า กายนี้อยู่ส่วนกาย
ลมหายใจอยู่ส่วนลมหายใจ
แล้วเห็นไหม ความโยกเยก ความหวั่นไหว
ความกระเพื่อม ยังคงอยู่
คงอยู่แค่ไหน ในแต่ละลมหายใจจะไม่เท่ากัน
ไม่เท่าเดิม จะแตกต่างไปเรื่อยๆ
จุดใหญ่ใจความของสติและสมาธิแบบพุทธ คือการเห็นอย่างนี้แหละ
การเห็นว่า อาการปรุงแต่งของใจ อาการโยกไหวของใจ
ในแต่ละลมหายใจไม่เท่าเดิม
แค่รู้อย่างนี้ในระหว่างวัน ถือว่าดีมากแล้ว
อย่าไปกะเกณฑ์ว่า จะต้องให้มีคุณภาพ จะต้องให้ดี
จะต้องปราศจากเครื่องกระทบ
จำไว้เลยนะครับ การปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ที่แท้จริง
คือการที่เรามีสติ มีสมาธิพอที่จะรู้ว่า
เมื่อเกิดเครื่องกระทบ เมื่อเกิดเครื่องรบกวน
แล้วจิตมีความกระเพื่อม
มีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร
ถ้าหากว่าเห็นในแต่ละรอบว่า
จิตมีความกระเพื่อมไม่เท่ากันในแต่ละลมหายใจ
นั้นถือว่าใช้ได้แล้ว
รอบนั้นไม่สูญเปล่าแล้ว ไม่เสียเปล่าแล้วทั้งสิ้น
การเห็นว่ามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆนั่นแหละ
คือสิ่งที่เราต้องการ
เราไม่ได้ต้องการเห็นความนิ่ง
อย่างตอนนี้ ใจเบาลงเห็นไหม
ใจไม่มีอาการเหมือนช่วงแรกที่กระเพื่อมเยอะ (ค่ะ)
แล้วพอเราเห็นแต่ละรอบอย่างยอมรับตามจริงว่า
มันกระเพื่อมมาก หรือกระเพื่อมน้อย โยกมากหรือโยกน้อย
ในที่สุด จะเห็นความไม่เที่ยง
และจิตที่เห็นความไม่เที่ยง
จะเป็นจิตที่ฉลาดขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ใช่จิตที่เอาแต่นิ่ง
คุณกฤติยาณี : เวลาเดินจงกรม
จะรู้เท้ากระทบพื้นด้วย และรู้ลมหายใจด้วยว่า หายใจเข้า หายใจออก แบบนี้ใช้ได้ไหม
พี่ตุลย์ : เริ่มต้นขึ้นมา เอาความแน่ใจก่อนว่าเรารู้เท้ากระทบแน่ๆ
เพราะว่าการเดินจงกรม คือมีผัสสะเท้ากระทบชัดเจนเป็นที่หนึ่ง
เป็นอันดับหนึ่ง
แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ รู้ขึ้นมาเอง มีความรู้แถมขึ้นมา
ว่ากายนี้ ตั้งแต่หัวจรดเท้า มีความละเอียดชัดเจน
หรือว่ารู้สึกถึงเท้ากระทบไปด้วย
และรู้สึกถึงจังหวะของลมหายใจไปด้วยควบคู่กัน
แบบนี้ถือเป็นของแถม ซึ่งเป็นเรื่องดี
เพราะถ้าเรามีจังหวะเท้ากระทบอยู่ในใจแน่ๆ แล้ว
แล้วรู้สิ่งอื่นไปด้วย นั่นหมายความว่า
จิตของเราใหญ่ขึ้น ขยายออกใหญ่ขึ้น
แต่ถ้าหากว่า เรายังไม่รู้อะไรพร้อมๆ กัน
ไม่ต้องพะวง
เอาแค่โฟกัสอยู่กับจังหวะเท้ากระทบให้ได้
เป็นอันดับแรก
สิ่งอื่นจะมีหรือไม่มี ช่างมันก่อน
สิบนาทีแรก เอาเท้ากระทบอย่างเดียวไปเลย
อย่างที่เราเคยดูกันนะ ถ้าหากว่าเรารู้จริงๆ ว่า
มีแต่เท้ากระทบ
แล้วไม่มีความกังวลเรื่องถูกเรื่องผิด
แค่นี้ ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการเดินจงกรมในแต่ละรอบ
ได้อย่างถูกต้องแล้ว
-------------------------
พี่น้ำอบ
พี่ตุลย์ : วันนี้มีจิตที่อยู่กับการปฏิบัติ
น้ำหนักมาอยู่กับการปฏิบัติในท่านั่งสมาธิมากขึ้น
ก็จะมีความแตกต่าง เห็นไหมจิตจะเนียนมากขึ้น
วันก่อนจะกระโดดไปกระโดดมา มีภาวะต่างๆ ที่พิสดาร
ซึ่งถ้าจังหวะแบบนั้น เราก็เห็นว่าการปรุงแต่งของจิต
แตกต่างไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าอย่างวันนี้ ก็จะรู้สึกว่า จิตมีความเรียบ
มีความเนียน
มีความราบรื่นต่อเนื่องมากขึ้น
เราก็ดูโดยความเป็นของปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยแบบนี้
อย่างวันนี้จิตมีความคงที่มากขึ้น เห็นไหม แตกต่างไปจากวันก่อนนะ
พี่น้ำอบ : บางทีเหมือนยังมีความฟุ้งอยู่
แต่เวลาฟุ้ง
ก็เหมือนวางนิ่งๆ อยู่ไม่เอาความฟุ้ง นิ่งๆ อยู่
แต่วันนี้ที่เห็นแตกต่างเลยคือ ช่วงที่รอคิว
เดินจงกรมรอ จะเบา
พอฟังพี่ตุลย์ไกด์ของบอย ก็จะอ๋อ เป็นแบบนี้เอง
เวลาเดิน แล้วเมื่อไหร่ที่จิตกับกาย ไปด้วยกัน
จะไม่เหนื่อย ไม่หนัก
เมื่อก่อนจะเดินแล้วเท้าหนัก
แล้วจิตปรุงไปก่อนล่วงหน้าว่า
พอเดินเยอะๆ จะเหนื่อยจะเมื่อยมั้ย
แต่วันนี้ที่เดินรอ จิตไม่มีความกังวลว่าอีกกี่คิว
จิตอยากเดินไปเรื่อยๆ
เลยเริ่มเข้าใจที่พี่ตุลย์ไกด์หลายๆ ท่าน ว่า
พอเบา แล้วจะไม่รู้สึกเหนื่อยหนักค่ะ
พี่ตุลย์ : พอใจมีแต่จังหวะเท้ากระทบ มีวิตักกะจริงๆ
ซึ่งหลายคนอธิบายไม่ได้ว่า วิตักกะ ในการเดินจงกรมหน้าตาเป็นอย่างไร
ขอให้สังเกต อย่างวันนี้ จังหวะเท้ากระทบอยู่ในใจ
และใจไม่วอกแวกไปหาเรื่องอื่น
นี่แหละต้นเหตุของความเบา
เพราะเวลาที่สปีดของเท้ากระทบมีอยู่ในใจ
และใจไม่มีน้ำหนัก
แบบว่าไปอยากทำอย่างอื่น หรือไปพยายามทำให้มันดีขึ้น
หรือแย่ลงอะไรต่างๆ
พอมีจิตเสมอกับจังหวะเท้ากระทบ จะเกิดความเบามากขึ้นๆ
จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่จิตเป็นดวงเดียว ตรงนั้นที่เรียกว่า
วิจาระ
และรู้สึกว่ามีจังหวะเท้ากระทบสม่ำเสมออยู่ในจิต
ไม่วอกแวกไปหาอะไรอย่างอื่นเลย ตัวนี้แหละ ที่ทำให้ไม่เหนื่อยนะ
-------------------------
คุณหมู (suriya)
พี่ตุลย์ : คุณหมู
พอใจตั้งตรงขึ้นเรื่อยๆ และเรารู้สึกถึงความตั้งตรง
ก็ให้ดูว่า ในความตั้งตรงนั้น
มีอะไรที่มารบกวนให้เหมือนกับเสียศูนย์ หรือเป๋
ถ้าดูในระยะยาว อาการตั้งตรงจะแปรรูปไปเรื่อยๆ
เช่น มีความตั้งตรงแล้วแผ่ออกไป บางทีตั้งตรงแล้วแคบเข้ามา
การเห็นว่าจิตแสดงความไม่เที่ยง เดี๋ยวกว้างเดี๋ยวแคบนั่นแหละ
เป็นเครื่องกำหนดให้สติมีความรู้ว่าจิตไม่เที่ยง
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่อะไรที่น่าเอากับสภาวะทางจิต
บางทีพอจิตมีความตรงแล้ว
หมูยังเผลอไปจะตั้งให้ตรง
จะทำให้มันมีความตรงแบบนั้นไปนานๆ
ซึ่งถ้าหมูสามารถเห็นความจงใจ ที่เข้ามาปรุงแต่ง
ที่เข้ามาทำให้รู้สึกว่า ต้องตรงอย่างนี้
ประมาณนี้
มีลักษณะที่ยืดออกไป ยืดอายุออกไปนานๆ
แบบนั้นแหละ
ความจงใจนั้นแหละคือฝักฝ่ายของตัวตน
ฝักฝ่ายของความรู้สึกว่า จิตคือเรา
แต่ถ้าหากว่า สติของเราตั้งอยู่ ว่า
มันตรงได้นานแค่ไหน ก่อนที่จะเบี้ยว ก่อนที่จะมีอะไรมาทำให้เปลี่ยนไป
แล้วเห็นว่า จิตนี้บางทีตรง บางทีฟุ้ง
บางทีกระเจิง
มีความกระจาย แล้วไม่หวง
ไม่ไปกำหนดว่าจะต้องเป็นอย่างไรขึ้นมา
จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า
จิตไม่ใช่เรา จิตแปรปรวนไปเรื่อยๆ จิตมีความต่างไปเรื่อยๆ
ตามเหตุปัจจัยของมันเอง ไม่มีตัวเราเข้ามาเป็นผู้ควบคุม
ไม่มีตัวเรามาเป็นผู้อยากได้ให้จิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
คุณหมู : ช่วงนี้มีฉันทะ
อยากทำ เพราะใจโล่งตลอด
พี่ตุลย์ : อย่างเมื่อกี้ที่พี่บอก พอจิตตรง เรารู้สึกมีสติดี
แล้วบางทีเผลอไปชอบใจ นึกออกไหม จะไปอยากให้ตั้งอยู่อย่างนั้น
แล้วพอมีอะไรมารบกวน นี่ ตรงนี้จะต้องกลับไปกลับมาอีกเยอะ
หมูเข้าใจแล้วว่าจะดูความไม่เที่ยงได้อย่างไร
ดูลมหายใจได้อย่างไร
แต่บางที จะเข้ามาในแบบที่พอรู้สึกว่าเราทำได้
แล้วตรงดี
หรือที่หมูใช้คำว่ามีฉันทะอยากทำบ่อยๆ
บางทีเราไปกำหนดว่า จะต้องอย่างนั้นอย่างนี้
แบบเดิมที่เราชอบควบคุมน่ะ
ตรงนี้ต้องเตือนกันบ่อยๆ แล้วหมูต้องเตือนตัวเองด้วย
นิ่งน่ะดี ไมใช่ไม่ดี ตั้งต้นขึ้นมาให้นิ่ง ให้เรารู้สึกรู้ชัด
ไม่ใช่ไม่ดี .. ดี
แต่อย่าเผลอนาน อย่าแบบว่า แบบนี้ดีนะ
จงตั้งอยู่อย่างนี้ๆๆ
อาการควบคุม อาการพยายามทำให้ดีเรื่อยๆ
ถ้ารู้ทันมันว่า สักแต่ว่าเป็นการจงใจ
เป็นการปรุงแต่งจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความยึด
ยึดว่า นี่เป็นของเรา จิตนี้ ที่ตรงๆ ดีๆ เป็นของเรา
ถ้าสังเกตออก จะเหมือนเมื่อกี้ มันจะปล่อย แต่ไม่ใช่ปล่อยแบบกระเจิดกระเจิง
แต่ปล่อยแบบให้เป็นอย่างไรก็ได้แล้วเรามีสติรู้เอา
ตัวที่ตรงจริงๆ คือสติ
ไม่ใช่ว่าเราต้องรักษาจิตให้ตรง
แล้วให้ดีอย่างเดียว
แต่ถ้าสติตรง เราจะรู้สึกว่าตัวสติคือความรู้ที่กว้างออกไป
ที่มีขอบเขต กว้างขวางออกไป
-------------------------
คุณบุด
พี่ตุลย์ : จิตใส กว้างกว่าคราวที่แล้ว เวลารู้ลม
จะรู้แบบใสๆ
รู้แบบว่าตัวตนของผู้ที่ทำสมาธิเบาบางลง ใช้ได้
คุณบุด : มีปัญหาเยอะ
ชีวิตเหมือนแกว่ง แล้วก็เลยฟุ้ง รู้สึกปฏิบัติไม่เต็มที่
พี่ตุลย์: เราไม่สนใจตรงที่มีปัญหา
หรือปฏิบัติได้ไม่เต็มที่
แต่ผมสนใจตรงที่ว่า จิตของคุณใสขึ้น
ไม่ได้ปฏิบัติด้วยความอยากเอา
อยากได้อยากดีเหมือนช่วงแรกๆ
จะปฏิบัติด้วยอาการที่ว่า ตอนนี้เราสักแต่รู้ไป
ว่า
ลมหายใจออก มีความรู้สึกสบาย มีความผ่อนคลาย
จังหวะที่เราสามารถรับรู้ถึงลมหายใจได้อย่างสบาย
มีจิตเสมอกับลมหายใจนั่นแหละ ตรงนั้นที่ผมว่า ดีขึ้น
เราโฟกัสตรงนี้ดีกว่า
เราทำได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาแวดล้อม
ถึงแม้จะมีอะไรมารบกวนให้ไม่ได้ปฏิบัติบ่อย
แต่เมื่อใจดีขึ้น เราบอกตัวเองเลยว่า ชีวิตของเราดีขึ้น
ที่เป็นเครื่องแวดล้อม เป็นเปลือกชีวิต
แก่นจริงๆ อยู่ที่จิต ถ้าจิตดีขึ้น
แปลว่าชีวิตดีขึ้น
ปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ถ้ารบเร้าเข้ามารบกวนจิตใจของเรา
หรือเบียดบังเวลาการทำสมาธิของเรา
เหล่านั้น
เป็นแค่สิ่งที่จะทำให้เราสำรวจเข้ามาว่า
แก่นของชีวิตจริงๆ คือจิตของเรานี่
ถูกกระทบไปได้มากแค่ไหน
หรือว่า ความสว่าง ความว่าง ความเบา
ลดระดับลงหรือเปล่า
ถ้าหากว่ายังสามารถรู้ลมหายใจได้ดี แบบเมื่อกี้
ที่สักแต่รู้ไป ไม่ได้หวังอะไรมาก นั่นแหละ
ตรงนั้น
แล้วจริงๆ เป็นเรื่องย้อนแย้งนะ บางคนพอชีวิตดีๆ
กลายเป็นว่า
ทำสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนกับไม่ให้ความสำคัญกับสมาธิมาก
เพราะอะไรๆ มันดีล่อใจอยู่ข้างนอกอยู่แล้ว
หรือบางทีมีความรู้สึกว่า ถ้าชีวิตเราดี
ตรงนี้ต้องดียิ่งขึ้น
ก็ไปมีความโลภในการทำสมาธิ
แต่ถ้าหากว่า ชีวิตภายนอกทำให้รู้สึกหมดหวัง
ทำให้รู้สึกรุงรัง ทำให้รู้สึกว่า แย่จัง
แล้วเรามาให้ความสำคัญกับการทำสมาธิอย่างถูกต้อง
แล้วก็เห็นว่า สักแต่รู้สักแต่ดู ว่ามีลมหายใจ
มีลมหายใจออก
มีจิตเสมอกับลมหายใจ เท่านี้
จะทำแบบว่าไม่หวังอะไร เพราะว่า โลกนี่บีบให้เราไม่หวังอยู่แล้ว
มาหวังเอาได้เต็มที่ กับตอนที่รู้ลมหายใจได้ชัดนี่แหละ
ตรงนี้แหละ เป็นเรื่องย้อนแย้ง
แต่เป็นความจริงนะ
ถ้าโลกบีบเราให้เรามาหาสมาธิ
แล้วโลกทำให้เราสิ้นหวังอยู่ก่อน
พอเวลามาอยู่กับลมหายใจ
เราจะไม่ตั้งความหวังอะไรมาก
จะรู้สึกว่า ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
อย่างนี้ จะกลายเป็นว่า
โลกทำให้เรามาได้ประโยชน์
จากขุมทรัพย์ภายใน มากกว่าขุมทรัพย์ภายนอกนะ
เดี๋ยวมันจะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ นะ เชื่อเถอะ
อย่าไปหวังอะไรอย่างอื่นจากข้างนอก มากกว่าข้างในนะ
-------------------------
คุณณภาร์
พี่ตุลย์ : เวลาเราลดฝ่ามือลงมา
ใบหน้าขอให้ล็อคอยู่ตรงนี้เลย (หมายเหตุ: มองตรง) อย่าก้มต่ำลงมากว่านั้น
เงยขึ้นกว่านี้อีกนิดหนึ่งนะ .. นี่แหละ อยู่ที่ประมาณนี้
(เงยหน้านิดๆ)
เวลาฝ่ามือลงมา ขอให้ใบหน้าอยู่ที่มุมนี้เลย
จำไว้นะ อย่าให้ต่ำลงมากว่านี้ เห็นไหม จิตจะเปิดขึ้น เราจะรู้สึกถึงความมีสติ สว่างเต็มมากกว่าเดิม
คุณณภาร์ : เวลาหายใจออก
จะเหมือนกลั้นไว้
พี่ตุลย์ : อันดับแรกเลยสร้างความเคยชินใหม่
ใบหน้าลดลงมาถึงระดับเมื่อกี้ อันดับแรก
แล้วก็อันดับสองคือ เวลาที่เราลดฝ่ามือลงมา
ที่กลั้นหายใจ เพราะว่ามือกับลมหายใจไม่
sync กัน
ถ้าหากว่าลมหายใจ ออกมาพร้อมกับลดฝ่ามือลงจริงๆ
แล้วเรารู้สึก smooth
มีความต่อเนื่อง การผ่อนของร่างกาย
การผ่อนลมหายใจออกของร่างกาย จะ sync ไปด้วย
แต่ถ้าไม่ sync
นี่บางทีลมหายใจพ่นพรวดออกมาก่อน
แล้วรู้สึกมือยังมาไม่ถึงไหน แบบนี้จะเกิดความสับสน
แต่ถ้าหากว่า .. ลองเดี๋ยวนี้เลย จะชี้ให้ดู ..
เอ้านี่ ลดลงมาพร้อมกันกับที่ลมหายใจออก
แล้วไม่มีความเกร็ง อย่าให้ใบหน้าลงกว่านั้น
ที่เริ่มเกร็ง
จะเริ่มเกร็งตอนที่เราไปรีดลมหายใจ
ทีนี้ถ้าปล่อยออกมาสบายๆ ตามจังหวะจะโคน
ที่สมองเขาจะรู้ได้เองว่า เรากำหนดที่ฝ่ามือนะ
ฝ่ามือกับลมหายใจลงมาพร้อมกัน มีความนิ่มนวล
ไม่มีความเกร็ง ..
นี่ อย่างรอบนี้ เห็นไหม คราวนี้เข้าใจใช่ไหมว่า
ถ้าหายใจแบบไม่เกร็ง
จะทำให้ลมหายใจผ่อนออกมาตามธรรมชาติ
ภาวะทางกายจะไม่ขัดแย้ง ไม่มีความสับสน
ลองไปซ้อม เดี๋ยวถ้าจำไม่ได้
กลับมาดูของตัวเองใหม่ซ้ำๆ
ไม่กี่รอบ จะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
-------------------------
พี่น้อง
พี่ตุลย์ : จังหวะออกดีขึ้นมากนะ
มันจะปรุงแต่งจิตเราให้นิ่มนวลลง
แม้วิธีคิดอ่าน จะชัดเจนเลยนะ
แต่เดิม บางทีจะอดคิดแบบแฝงอยู่ด้วยโทสะไม่ได้
แต่ช่วงหลังๆ พอพี่ทำได้แบบนี้
ตอนขาออก ที่จิตมีความนิ่มนวลแบบนี้
ความคิดจะเปลี่ยนไป
อย่างบางเรื่องที่เดิมแฝงอยู่ด้วยโทสะ
พอมีจิตนิ่มนวลขึ้นจะรู้สึกเลยว่า ความคิดอ่อนโยน
มีความเบาบางลงจริงๆ
โดยไม่ต้องไปพยายามคิดปรุงแต่ง แผ่เมตตา
หรือทำให้อ่อนโยน
แต่มันอ่อนโยนลงด้วยความนิ่มนวลของจิต ที่รู้สึกถึงลมหายใจอย่างนี้ได้
พี่น้อง : บางทีทำสมาธิอยู่เหมือนเห็นตัวเองยกมือขึ้น
นั่นคิดไปเองหรือเป็นมโนภาพหรือเปล่าคะ
พี่ตุลย์ : ไม่ใช่คิดไปเอง
ถ้าเราเห็นอะไรระหว่างทำสมาธิ บอกตัวเองว่าเราเห็นจริงเสมอ
แล้วจิตที่นิ่มนวล จะมีความพร้อมรู้
พร้อมรู้อะไร? พร้อมรู้ว่า
ภาวะทางกายที่เป็นอัตโนมัติ
สักแต่เป็นรูปขันธ์ สักแต่เป็นธาตุดิน
แล้วพี่สังเกตใช่ไหม อย่างอยู่ระหว่างวัน
ใจจะนิ่มนวลลง
แต่เดิม บางทีถึงเราไม่พูด แต่ความคิดของเรา
เปรี้ยงปร้างอยู่
แต่ตอนนี้ เรื่องเดิม เราจะรู้สึกเฉยๆ
รู้สึกแบบว่า สงบราบคาบ
มีความเมตตามากขึ้น มีเมตตาจริงๆ
ไม่ใช่พยายามแผ่เมตตา
ตรงนี้ คือความเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากการที่
เรามีความปรุงแต่งทางจิตแตกต่างไป
มีการรู้ลมหายใจที่ช้า ชัด นิ่มนวล
แล้วก็เป็นไปเอง มากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ต้องไปสงสัย .. ดีขึ้นจริงๆ
พี่น้อง : ถ้าเห็นอย่างนั้นคือปล่อยไปใช่ไหมคะ
แล้วเวลามีความคิดลอยมา ยังไม่สามารถแยกได้ว่า
นี่เป็นความคิดที่แทรกเข้ามา ฟุ้งซ่านน่ะค่ะ
พี่ตุลย์ : ตอนที่มีความฟุ้งซ่านขึ้นมา มักจะเกิดขึ้น ..
สำหรับพี่มักจะเกิดขึ้นตอนหายใจเข้า
แล้วเหมือนจะยกขึ้นอะไรแบบนี้
จะมีกลุ่มความฟุ้งซ่านอะไรลอยมากระทบ
พี่สังเกตอย่างนี้แล้วกันว่า
ตอนที่เราจะยกมือขึ้น
มีตัวตน มีความรู้สึกฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมากหรือน้อย
ในแต่ละรอบ เอาแค่นี้
อย่าบอกว่าจงไม่ฟุ้งซ่าน ตอนหายใจเข้า
แต่ถามตัวเองว่า รอบนี้ กับรอบก่อน
อันไหนฟุ้งมากกว่ากัน
อันไหนที่มีตัวตนมากกว่ากัน
ตั้งโจทย์อยู่แค่นี้ มองอยู่แค่นี้
แล้วพี่จะค่อยๆ เห็นว่า
ความฟุ้งซ่านไม่เท่าเดิมในแต่ละรอบ
แล้วการเห็นว่า ไม่เท่าเดิมในแต่ละรอบนั่นแหละ
ที่จะพาไปถึงจุดสรุปว่า ความฟุ้งซ่านไม่เที่ยง
จิตไม่เที่ยง
ลองดูไปอย่างนี้นะครับ
พี่น้อง : ไม่คิดไปเอง
แต่จะรู้เองใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : จะรู้เอง อย่างตอนนี้
มีความรู้มากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
อย่างที่พี่บอก รู้สึกเหมือนกายขยับไปเอง
เป็นหลักฐานว่า จิตของเรามีสติดีขึ้น
แต่เดิม อย่างของพี่น้อง จะคิดอยู่ตลอด
แล้วก็บางทีถึงไม่แสดงออก แต่ความคิดข้างในจะเปรี้ยงปร้าง
จะมีความรุนแรงอยู่ข้างใน
แต่ตอนนี้จะนิ่มนวลลง อ่อนโยนลงอย่างเห็นได้ชัด
ความที่อ่อนโยนลงนิ่มนวลลงนี่แหละ
ที่ทำให้สติดีขึ้น มีความรู้ชัดมากขึ้นนะ
-------------------------
คุณ Patcharaporn
พี่ตุลย์ : ท่าที่สอง ขอช้าลงนิดหนึ่งนะ
สปีดทั้งขาเข้าขาออกเลย
ขึ้นต้นมาเร็วได้ แล้วก็สังเกตว่าวิตักกะ
มีความแข็งระดับหนึ่ง
แต่พอทำๆ ไป พอเราปรับสปีดให้ช้าลง
สังเกตนะ พอรู้สึกถึงลมหายใจ รู้สึกถึงความช้า
แล้วมีสติชัด
จะมีความนิ่มนวลลง
พอจิตของเรามีความนิ่มนวลลง
เราจะรู้สึกถึงภาวะทางกาย ภาวะของลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่ซ้อนกัน
เป็นคนละตำแหน่ง ..
เอา นี่จังหวะนี้ การรับรู้แบบนี้ที่เราต้องการ
สำหรับคุณ Patcharaporn นะ
ถ้ามีความช้า มีความชัด แล้วมีความรู้สึกว่าว่าง
เหมือนกับใจของเราเป็นผู้ดูออกมาจากความว่าง
นี่แหละ ที่ลมหายใจปรากฏชัดอยู่นี่
ตรงนี้ที่เราต้องการ
เอาให้ได้เป็นอันดับแรก
ว่าง.. ว่างอย่างรู้ รู้ว่าลมหายใจปรากฏ
พอวางมือลง เรารู้สึกถึงมือที่ยังคงเส้นคงวา
ปรากฏอยู่ในใจ สมาธิจะเต็มรอบมากขึ้น
พอมีความช้า มีความชัด
ขึ้นต้นมาจะเร็วไม่เป็นไรตามความเคยชิน
แต่ขอให้สังเกตแล้วกัน วิตักกะ จะแข็งๆ
แต่อย่างตอนนี้ วิตักกะ จะมีความนิ่มนวล
พอมีความช้า มีความชัด และจิตถูกปรุงแต่งให้มีความรับรู้ที่ชัดเจน
ตรงนั้นถือว่าเป็นคุณภาพของวิตักกะ คุณภาพของวิจาระนะ
ใช้ได้นะ เห็นตามที่ผมพูดนะ
คุณ Patcharaporn : จะเห็นลมหายใจในแต่ละรอบไม่เท่ากัน
ชัดเจนไม่เท่ากัน
บางรอบก็จะชัดอย่างที่พี่ตุลย์ทักว่า อันนี้เห็นไหม
บางรอบก็จะชัด แต่บางรอบ ก็เห็นชัดไม่เท่ากัน
พี่ตุลย์ : ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ขึ้นต้นมา อาจเคยชินกับสปีดเร็วนะ
แล้วเราอาจรู้สึกได้ว่า จริงๆ เรารู้ แต่ว่า
ในการรู้นั้น มีอาการรีบๆ อยู่ในใจ
ทีนี้ พอพี่ให้ลดสปีดลง ตั้งแต่แรกเลย
จะมีความรู้สึกว่านิ่มนวลลง แล้วก็มีความช้า
มีความชัดมากขึ้น
พอมากรอบๆ ไป โอเคลมหายใจอาจไม่ปรากฏชัดทุกรอบ
แต่ความนิ่มนวล ความคงเส้นคงวา ความคงที่ของการรับรู้จะมากขึ้น
แล้วลองสังเกตดูในชีวิตประจำวัน
ใจของเราจะไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย
พูดจริงๆ นะ คือบางทีใจจะอ่อนโยน
แต่บางทีใจก็แข็งๆ กระด้างๆ
แล้วก็เข้าใจใช่ไหม คือความแตกต่าง จะเหมือน
บางทีเราก็ไม่รู้ว่าจังหวะไหนจะออกท่าไหน
ออกงิ้ว หรืออะไร
แล้วแต่จิตจะปรุงแต่งไป
ทีนี้ถ้ามามีสติ รู้อยู่กับ .. อย่างอันนี้พี่ให้เลย
ว่า
เริ่มต้นขึ้นมา คุณรู้ลมหายใจแบบสปีดเร็ว
ตามที่เคยชินไปก็ได้
แล้วก็รู้ว่าแบบนี้ จะปรุงแต่งให้จิตแข็งๆ
วิตักกะ จะแข็งๆ เร็วๆ สปีดแบบเร่งรัด
แต่เสร็จแล้วทำไปๆ สักพักหนึ่ง
อย่างที่พี่ชี้ให้ดู
ลดสปีดลง ทั้งขาเข้าขาออก
ก็จะได้มีความเข้าใจตัวเองว่า
การปรุงแต่งจิตของเรา
มีได้ทั้งแบบแข็งๆ และแบบอ่อนโยน
มีเหตุปัจจัยไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
จิตของเรา คือบางทีก็จะพรวดพราด
ก็จะแบบว่าเป็นคนรีบร้อน
แต่บางขณะ ก็รู้สึกว่า เฉื่อยๆ เฉยๆ ใจเย็นก็ได้
แล้วคนนี่ เขาจะงงว่า บางทีเรื่องเดียวกัน
เราไม่เอาเรื่องเอาราว
แต่บางทีเรื่องเดียวกัน
ทำไมเรากลายเป็นอะไรขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง
ตรงนี้ มีเหตุปัจจัย
ซึ่งถ้าเรามาทำความเข้าใจ การปรุงแต่งของจิตจากสมาธินี่
จะเป็นบ่อเกิด จะเป็นจุดกำเนิดให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
และที่สำคัญ พอเข้าใจตัวเองแล้ว จะได้เห็นว่า ไม่มีตัว
มีแต่การปรุงแต่งจิต แตกต่างไปเรื่อยๆ
แล้วความปรุงแต่งของจิตนี่แหละ
ที่ทำให้เราเป็นไปต่างๆ นานา
ไม่ได้มีตัวเราจริง
ถ้ามีตัวเราจริง
ต้องเป็นตัวเดิมสม่ำเสมอคงเส้นคงวา
แต่นี่เพราะไม่มีตัว มีแต่การปรุงแต่งจิตที่แตกต่างไปเรื่อยๆ
ตามจังหวะ ตามวัน
แล้วในที่สุด พอเราเลิกถือมั่นว่า
จิตแบบหนึ่งเป็นเรา จิตอีกแบบหนึ่ง เอ๊ะ
ตรงนี้ก็เป็นเราเหมือนกันนี่นา
จะได้ข้อสรุปว่า มันไม่ใช่เราทั้งคู่
พอเราเข้าใจแบบนี้ จะเข้าใจแบบพุทธออกมาจากข้างในจริงๆนะ
คุณ Patcharaporn : ชอบฟุ้ง มีความฟุ้งซ่านเยอะในแต่ละวันค่ะ ต้องทำอย่างไรคะในการทำสมาธิ
พี่ตุลย์ : เอาที่พี่เห็น ไม่ใช่ว่าเราจะแก้ด้วยการทำสมาธิ
พี่ว่าตอนอย่างเสพความบันเทิง
ตอนฟังเรื่องคนอื่น
ตอนคิดเรื่องตัวเอง ใจเราทิ่มเข้าไปมากเกินไป
แรงเกินไป
การปรุงแต่งจิตของเรานี่ แรง ทั้งๆ
ที่เป็นเรื่องเล่น
สังเกตตัวเอง อย่างเวลาดูหนัง ดูละคร
หรือฟังเรื่องคนอื่น
บางทีเราจะอินราวกับเป็นเรื่องของเราเอง
(ใช่ค่ะ)
เสร็จแล้ว เราออกมาไม่ได้
คือไม่ต้องไปพยายามทำอะไร
แค่สังเกตก่อน สังเกตให้เห็นเหมือนที่พี่ เมื่อกี้ไกด์ให้ดูว่า
ตอนที่หายใจรีบๆ วิตักกะจะแข็งๆ จะรีบๆ
แต่ตอนที่ปรับสปีดช้าลงจะนิ่มนวล
แล้วเราจะรู้สึกเป็นคนละตัวกันเลย
ทีนี้ในชีวิตประจำวันเราก็แบบนั้นเหมือนกัน
ถ้าเราอินกับอะไรมากๆ เราจะปักเข้าไป แล้วก็ปรุงแต่งเต็มที่
สังเกตตัวเองให้ได้เหมือนกับตอนทำสมาธิอย่างนี้
แล้วมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้จิตใจของเรานิ่มนวลลงมา
เมื่อเราเห็นความแตกต่างของการปรุงแต่ง
หลายๆครั้งเข้า
โดยที่เรา ไม่ต้องไปพยายามกำจัดตัวตน แบบที่ไม่น่าชอบไม่น่าชื่นใจ
เราเห็นเฉยๆ เหมือนกับที่พี่ไกด์ให้ดูตอนทำสมาธิ
สปีดเร็ว วิตักกะแข็ง สปีดช้า วิตักกะนิ่มนวล
เห็นอย่างนี้ว่าเป็นไปตามการปรุงแต่งเรื่อยๆ
ในที่สุด จิตจะถอนออกมาจากอาการแปลกๆ เอง
ของเรา ทุกวันนี้ เอาความรู้สึกเลยนะ
บางทีเรารู้สึกแปลกๆ กับตัวเอง คือเหมือนกับไม่ใช่ตัวเรา
อันนี้ไม่ใช่ตัวเราแบบอนัตตานะ
แต่เหมือนกับบางครั้ง ไม่ใช่ตัวเรา
แต่เหมือนมีอะไรมาสิง
แล้วเราไม่รู้ว่า มันคืออะไร
นั่นไม่ใช่ผีสิง
แต่เป็นอาการที่เราไปอินกับเรื่องไม่เป็นเรื่องเยอะ
แล้วพออินกับเรื่องไม่เป็นเรื่องเยอะ ..
ทุกคนเลยนะ ไม่ว่าจะใคร
ก็จะรู้สึกเหมือนมีผีสิงนะ
แบบ .. เอ๊ะ อยู่ๆ ทำไมเราคิดอย่างนั้น
ทำไมเราอยากจะพูดอย่างนี้
ทำไมเราอยากจะไปทำอะไร ที่ใจเราไม่ได้คิดอยากจะทำจริงๆ
นั่นก็เพราะว่า การที่อินกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ทำให้รับเรื่องไม่เป็นเรื่องเข้ามาอยู่ในตัวเรา
เป็นส่วนหนึ่งของตัวเราโดยไม่รู้ตัว
แล้วอุ้มมันไว้ เกาะมันไว้ หวงมันไว้
ราวกับว่าเป็นตัวตนหนึ่งของเรา
พอเห็นอย่างนี้ได้ จะเริ่มเข้าใจตัวเองมากขึ้น
แล้วเราจะ เวลาเสพความบันเทิงหรือฟังเรื่องชาวบ้าน
เราจะไม่เสนอหน้าเข้าไป .. เข้าใจคำว่าเสนอหน้าไหม
เหมือนกับจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับตรงนั้น ทั้งๆ
ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย
เราก็จะไปกระเหี้ยนกระหือรือ ตัวนี้แหละที่เป็นตัวแปลกๆ
ที่ก่อตัวขึ้นมา
แล้วพอเรารู้ตัวอีกทีก็โดนกินไปแล้ว
ราวกับว่ามีผีสิงอะไรแบบนี้นะ
-------------------------
พี่ตุลย์ : สำหรับวันนี้ ก็เป็นอีกวันที่
ที่กลายเป็นวันธรรมดาของพวกเราไปแล้ว
แต่เป็นวันธรรมดาที่แตกต่างนะ
พิเศษกว่าชีวิตช่วงที่ผ่านๆ มานะครับ
เราไม่ใช่แค่ฆราวาสที่ยอมซุกมือซุกเท้า
ซุกมือไว้ในหีบ
โดยที่ไม่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในทางธรรมอะไรขึ้นมา
เหมือนแต่ก่อน
เรามาทำให้ความก้าวหน้าเกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกวันนะ
นี่คือความแตกต่าง ที่เป็นที่สุดแล้วสำหรับมนุษย์คนหนึ่งนะครับ
___________________
วิปัสสนานุบาล EP 24
วันที่ 9 ธันวาคม 2564
ถอดคำ : เอ้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น