ผู้ถาม : คืออยากจะทราบว่า
ในขณะที่เราปฏิบัติเนี่ยนะ เราจะรู้สึกว่าตัวเราโยกคลอนตลอดเวลา แล้วก็แต่ในขณะเดียวกันเนี่ย
จิตเราก็จะรู้ว่า โอเคนะ บางทีมันจะนิ่ง บางทีมันก็จะส่าย ที่แน่เลยก็คือว่า
กายเราเนี่ยจะสั่น จะโยก เสร็จแล้วก็นิ่ง หยุด เสร็จแล้วก็กลับมาโยกใหม่อย่างนี้
คือไม่ทราบว่าส่วนนี้เนี่ย จะแก้หรือว่าเกิดจากอะไรคะ ขอบคุณค่ะ
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/I6G1fivq89o
ดังตฤณบรรยายธรรมแก่ผู้สนใจ
นั่งสมาธิแล้วตัวโคลง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร
ดังตฤณ:
ดังตฤณบรรยายธรรมแก่ผู้สนใจ
นั่งสมาธิแล้วตัวโคลง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร
ดังตฤณ:
ผมตอบเป็นสองส่วนนะ
เดี๋ยวเชิญนั่ง ดีแล้วมีคำถามเนี่ยให้ได้ยินกันทั่ว ๆ นะ
เพราะว่าอันนี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแวดวงการทำสมาธิทั่วๆไปน่ะแหละ บางทีมันโยก
บางทีมันมีน้ำตาไหล มันมีอาการสั่นสะเทือนอะไรก็แล้วแต่
อาการเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติ
แต่เป็นอาการที่กายใจมันไม่บาลานซ์
(balance) กัน
มันไม่สมดุล
บางทีใจของเรามีกำลังมาก
แต่กายมันไม่ตั้ง
มันเหมือนกับพร้อมที่จะโอนเอน
เพราะว่าอย่างที่บอก บางทีเราตั้งใจมากเกินไป
เพราะว่าอย่างที่บอก บางทีเราตั้งใจมากเกินไป
ตั้งใจจนกระทั่งว่า.. แล้วกำลังของใจมันมีอยู่มาก ลองสังเกตนะ กำลังของใจมันมีเยอะ แต่ร่างกายบางทีมันไม่อยากทน เคยสังเกตไหม ทีนี้ถ้าหากว่าเราสามารถรู้ว่าบางครั้งร่างกายมันก็โอนเอน บางครั้งมันก็หยุดนิ่ง อันนั้นในอีกแง่หนึ่งนะ มันก็ดีเหมือนกัน คือเราสามารถเห็นความไม่เที่ยงของร่างกายได้
บางครั้งเราไม่สามารถที่จะบังคับให้มันอยู่นิ่งๆ
มันก็โอนเอน
เราก็รู้ไป รู้ตามจริงไป
ว่าขณะนั้นร่างกายกำลังแสดงความไม่เที่ยง
แสดงอาการบังคับไม่ได้ให้เราดูอยู่
แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะนิ่งของมันเองเป็นธรรมชาติ
เราก็ดูอย่างไม่ต้องดีใจว่า นี่ไม่ใช่ผลงานของเรานะ ไม่ใช่ฝีมือของเรานะ
แต่เป็นธรรมชาติทางกายที่เค้าเข้าล็อกที่จะอยู่นิ่งได้
เราเห็นโดยความเป็นเหตุปัจจัยอยู่อย่างนี้ ในที่สุดร่างกายมันจะเกิดสมดุลขึ้นมากับจิตใจ คือใจเนี่ยจะไม่ไปสงสัย
ใจมันจะไม่ไปเร่ง ใจมันไม่พยายามที่จะหาทางแก้ไข ใจมันจะมีแต่อาการที่พึงพอใจจะรู้ พึงพอใจที่จะดูอย่างเดียว
อาการพึงพอใจที่จะรู้
พึงพอใจที่จะดูอย่างเดียวนั่นแหละ
คืออาการปรับสมดุลของร่างกาย
ให้เข้าเป็นธรรมชาติอันเดียวกันกับสภาวะทางใจ
จิตที่มีความบริสุทธิ์อยู่
จิตที่มีสติบริสุทธิ์อยู่ ขอให้รู้นะ มันจะมีแต่ความพอใจที่จะรู้ ไม่มีอาการสงสัย
ไม่มีอาการเร่ง ไม่มีอาการกระสับกระส่ายใดๆทั้งสิ้น ซื่งถ้าหากว่ามันไปสมดุลกับภาวะทางกายที่ไม่ถูกบีบบังคับ
เดี๋ยวก็เอน
เดี๋ยวก็นิ่ง โดยที่ไม่มีความต้องการของตัวเอง หรือถูกบีบบังคับมาจากใจ
ในที่สุดมันก็เคลื่อนเข้าสู่ภาวะของสมดุล สมดุลที่จะแสดงความไม่เที่ยง
ถ้ามันอยากโอนเอน มันได้โอนเอน ถ้ามันอยากนิ่ง มันได้นิ่ง ตรงนั้นแหละ คือสมดุลกับสติ
อย่างที่ผมบอกตอนแรก
ทวนใหม่ช้าๆนะ
สติ คือ อาการยอมรับตามจริง
ไม่เร่ง ไม่กระวนกระวาย ไม่อยาก
สติ คือ อาการยอมรับตามจริง
ไม่เร่ง ไม่กระวนกระวาย ไม่อยาก
แล้วร่างกายที่ไม่ถูกบังคับ
ก็คือร่างกายที่เป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติ
ถ้าหากว่าขาดลม ก็ได้ลม
ถ้าหากว่าอึดอัด ก็ได้ระบายลมออก
ถ้าหากยังไม่อยากได้ลม ก็ได้หยุดนิ่ง
หรือแม้กระทั่ง เมื่ออยู่ในสมาธิ
ถ้าหากจะต้องโอนเอนไปบ้าง แกว่งไกวไปบ้าง
ด้วยความไม่สมดุลของพลังเนี่ย มันก็ได้โอนเอน
เมื่อใดที่สมดุลลงตัว ได้นิ่ง มันก็ได้นิ่ง
ไม่มีอะไรที่ฝืนกับธรรมชาติอยู่เลย
ทั้งส่วนของใจ ทั้งส่วนของกาย
อย่างนี้ในที่สุด
ไม่มีอะไรที่ฝืนกับธรรมชาติอยู่เลย
ทั้งส่วนของใจ ทั้งส่วนของกาย
อย่างนี้ในที่สุด
มันจะเข้าสู่ล็อกของสมดุลหนึ่งที่เกิดขึ้น
เรียกว่า ‘ลงล็อก’ !
เรียกว่า ‘ลงล็อก’ !
บางคนจะเกิดความรู้สึกว่านิ่ง
รู้สว่างโพลง สว่างจ้าได้ถึงฌาน ถ้ากำลังมากพอ มันไปได้ถึงฌาน มันมีความสว่างคงที่
รู้อย่างเดียวอยู่ไม่เปลี่ยน อาจจะครึ่งชั่วโมง อาจจะสองชั่วโมง บางคนอาจจะเป็นวัน
ๆ ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิที่สั่งสมมา ขึ้นอยู่กับกำลังของสติที่จะมาค้ำจุน
แต่ถ้าหากว่าเรามัวแต่สงสัยอยู่ว่าจะแก้ยังไง อาการของใจมันก็ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
มันมีอาการฝืน มันมีอาการรู้สึกว่า รู้สึกอยู่ว่าผิดปกติ
มันมีอาการรู้สึกว่ากายเนี่ยมันจะต้องถูกบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่าใดท่าหนึ่ง
อย่างนี้ไม่มีทางเลยที่ภาวะทางใจและภาวะทางกายเนี่ย มันจะเข้าสู่สมดุล เข้าล็อกเดียวกันได้
โอเค อันนี้ก็ขอตอบเป็นแนวทาง
ผู้ถาม : ก็คือง่ายๆว่าให้เราแค่รู้อย่างเดียวว่า
ณ ตอนนี้เนี่ย สภาวะกายเราเป็นแบบนี้ สภาวะจิตเราเป็นอย่างนี้ ก็คือไม่ต้องไปฝืน
ดังตฤณ:
ดังตฤณ:
รู้แล้วสังเกตด้วยนะว่ายอมรับตามจริงหรือเปล่า
อันนี้คุยกัน คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากยอมรับตามจริง พอมีเหตุผิดปกติอะไรขึ้นมาแล้วเนี่ย
มันมีความรู้สึกขึ้นมาทันทีว่า เราต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง
แล้วก็อาการที่รู้สึกว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งน่ะแหละ
มันเป็นจุดเริ่มต้นของอาการฝืน
ผู้ถาม : เพราะฉะนั้นเนี่ย เมน (main) ใหญ่เลย คือที่คนทั่วไปมีปัญหาก็คือว่าเราไม่ยอมรับความจริง
เราไปฝืนกับสภาวะที่มันเกิดขึ้น ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ คือบางครั้งเนี่ย จิตเราตั้งนิ่ง
แต่ว่าเราไป มันเหมือนกับ..
ดังตฤณ:
ดังตฤณ:
เอางี้
ผมให้สังเกตตอนนี้ก็แล้วกัน ใจคุณตอนนี้มันเหมือนสงบลงนะ แต่คุณจะรู้สึกได้ว่า
ข้างในมันยังมีแรงอัดอะไรบางอย่างอยู่ คล้ายๆกับมีตัวเร่ง คือว่าไม่ใช่ตัวเร่งร้อนนะ
แต่ตัวเหมือนกับมีแรงดัน เป็นคนที่เหมือนกับมีความตั้งใจแรง แล้วก็มีกำลังทางใจเนี่ยค่อนข้างมาก
มันก็เลยเหมือนกับว่ามีพลังอะไรที่อัดอกอยู่ เกือบตลอด ทีนึ้ให้สังเกต
เนี่ยอย่างตอนเนี้ยมันเพลาลง เพราะเมื่อกี้เราไปเห็นมัน ไปเห็นว่าเหมือนกับมีแรงอัด
มันก็เบาลงได้ ทุกครั้งที่เราเห็นแรงอัด แล้วเรารู้สึกว่ามันเป็นอะไรแค่ส่วนเกินที่มันอัดอยู่ในอก
ภายในเรา ไม่ได้อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่รู้สึกได้ว่ามันอยู่ภายในเรา
แค่รู้สึกได้แค่นี้แหละ มันก็จะคลายลง อาการคลายลงเนี่ย ตอนนี้มันเหมือนกลับขึ้นมา
มันเร่งๆขึ้นมาใหม่ มันหวนไปหวนมา
ผู้ถาม : บางครั้งจะรู้เลยว่า มันพลุ่งขึ้นมา
เสร็จแล้วมันเหมือนก็ชน ชนเพดานแล้วพอเราเริ่มรู้สึกปั๊บเนี่ย ก็ค่อยลง มันเหมือนกับสภาวะที่มันขึ้นแล้วมันลง
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรประมาณนี้
ดังตฤณ:
ดังตฤณ:
แค่ยอมรับตามจริง คำว่ายอมรับตามจริงเนี่ยแหละ คือคีย์เวิร์ด (keyword) ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าการยอมรับตามจริงมันจะทำให้เกิดสติรู้ตามจริง แล้วไม่มีอะไรแปลกปลอม แล้วไม่มีอะไรแทรกแซง ไม่มีอะไรเป็นของแถม
ส่วนใหญ่เนี่ย เวลาคุณรู้ จะรู้โดยลักษณะที่มีของแถมนิดนึง แถมแบบคล้ายๆกังวลอยู่ในใจเล็กๆ ว่าเอ๊ มันจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง มันถึงจะพัฒนา มันถึงจะก้าวหน้าขึ้นกว่านี้นะ
ผู้ถาม : ใช่ ๆ ค่ะ
ดังตฤณ:
ดังตฤณ:
ถ้าหากว่าเราแค่ยอมรับตามจริง
ฝึกยอมรับตามจริงไปเรื่อยๆ การยอมรับตามจริงต้องฝึกนะ ไม่ใช่ของที่มีอยู่ติดตัวเป็นคุณสมบัติประจำตัวสำหรับทุกคน การยอมรับตามจริงเป็นคุณสมบัติพิเศษที่คุณจะต้องฝึก ยิ่งฝึกมาก มันจะยิ่งยอมรับตามจริงมาก
แล้วคุณจะยิ่งรู้ว่าจิตที่มันเป็นธรรมชาติ ที่มันเป็นธรรมดาเนี่ย
หน้าตาเป็นอย่างไร
ถ้าไม่ฝึกยอมรับตามจริง
มันจะมีอาการที่เป็นปฏิกิริยาทางใจตกค้างอยู่เสมอ
แล้วการฝึกยอมรับตามจริงที่ง่ายที่สุด ก็คือ
ดูว่าในขณะนี้ร่างกายของเรา
ต้องการลมเข้าหรือต้องการลมออก
ถ้าคุณไม่ฝึกสังเกตนะ
คุณจะพบว่าจริงๆแล้ว ลึกๆเนี่ย
พอมีอาการดูลมหายใจเนี่ย
เราจะไปเร่งลมหายใจขึ้นมาทันที
มันยังไม่ถึงจังหวะที่ร่างกายอยากได้ลมเข้า เราก็จะไปเร่งเข้ามา มันยังไม่ถึงเวลาที่ความฟุ้งซ่านมันจะสงบลง เราก็ไปกดให้มันสงบลง อาการที่ไม่เป็นธรรมชาติของใจเนี่ยแหละ ที่ทำให้เราไม่สามารถที่จะยอมรับตามจริงได้ แม้กระทั่งความจริงพื้นๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทุกวินาทียังยอมรับไม่ได้ ประสาอะไรกับเรื่องภายนอก
เรื่องที่มันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ว่าเราจะไปยอมรับมัน คนส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้ เพราะว่านึกว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้น เร่งให้มันเป็นอย่างนี้
แต่เมื่อเราฝึกที่จะยอมรับตามจริง
เกี่ยวกับเรื่องของลมหายใจ
ที่มันเข้า ที่มันออก
ที่มันหยุดอยู่ตลอดเวลาได้
คุณจะสังเกตว่าใจของคุณ
มีความสงบ มีความเย็น
มีความพร้อมที่จะยอมรับตามจริงมากขึ้น
และนั่นแหละ
จิตที่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
ผู้ถาม : ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น