รับฟังทางยูทูบ https://youtu.be/oF55GKhFAFM
ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ว่า ถ้าหากเราไม่เตรียมใจให้ถูก
เรามักจะคาดหวังผิดๆ อันนี้เป็นกันทุกเรื่องเลยนะ ไม่ว่าจะเรื่องแบบโลกๆทั่วไป
หรือว่าเรื่องการทำสมาธิปฏิบัติธรรมนะครับ เพราะคนเราถ้าหากว่ากำลังตั้งใจจะทำอะไรแล้วเนี่ย
มันมักจะมีความคาดหวังโดยไม่รู้ตัว ถึงแม้คุณจะพูดว่าไม่…ไม่ได้คาดหวัง
แต่ลึกๆน่ะนะมันคาดหวังไปเรียบร้อยแล้ว
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณเป็นคนที่เพิ่งเริ่มทำสมาธิเป็นวันแรก
คุณจะคาดหวังว่าตัวเองเนี่ยจะสามารถทำสมาธิกับเขาได้ ใจสงบ หายฟุ้งซ่าน
หรือว่ามีความสามารถที่จะรู้เห็นโน่นนี่นั่นตามแบบที่เขาเล่าๆกันมานะ ถ้าหากว่าเอ่อ..ไม่ได้คาดหวังจริงเนี่ย คุณจะไม่รู้สึกอะไรเลยตอนล้มเหลว
แล้วก็จะไม่เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายนะตอนที่มันได้ผลหรือไม่ได้ผล
แต่บางคนเนี่ยคาดหวังแล้วยังไม่รู้ตัวเป็นปีๆนะ
ทำสมาธิแต่ละครั้งมีความรู้สึกว่าตัวเองเนี่ยไปไม่ถึงไหน แล้วก็บางทีเนี่ยนะบอกว่า
เออ พยายามที่จะไม่คาดหวัง และพยายามที่จะอยู่กับปัจจุบันแล้ว แต่พอนั่งสมาธิปุ๊บ
หลับตาปุ๊บเนี่ยนะ มันเหมือนหลงทางเข้าป่า มันเหมือนท้อ มันเหมือนเกิดความรู้สึกอึดอัด
มันเกิดความรู้สึกว่าเราจะทำไม่ได้อีกแล้ว เกิดความรู้สึกแย่ๆขึ้นมาเนี่ยนะ
ตัวความรู้สึกแย่ๆที่มันผ่านไปไม่ได้นั่นแหละ ตัวนี้แหละที่ฟ้องว่าคุณคาดหวัง
คือคาดหวังว่าอะไรๆมันจะดีขึ้นนะ แล้วก็รู้สึกท้อใจว่ามันคงไม่ได้ดีสักทีหรอก ทำมากี่เดือนกี่ปีก็ตามนะ
ผลมันเหมือนเดิมคือ ผ่านด่านความท้อใจไปไม่ได้ ความท้อใจนั่นแหละ มันเริ่มต้นจากความคาดหวัง
ถ้าเราเข้าใจกลไกธรรมชาติของจิตแบบนี้นะ เราจะพลิกมุมมองใหม่
เปลี่ยนจากความคาดหวังผิดๆ ให้กลายเป็นการเตรียมใจอย่างถูกต้อง
การเตรียมใจอย่างถูกต้องเป็นอย่างไร?
การเตรียมใจอย่างถูกต้องเนี่ยนะ มันไม่คาดหวังผลว่าจะมีอะไรดีทันทีหรือมีอะไรดีขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ เนี่ย คือ จุดเริ่มต้นมันแค่นี้เองนะ ผิดกันแค่นี้เอง!
ถ้าหากคุณเตรียมใจอย่างถูกต้อง ทำใจไว้นะว่าเดี๋ยวมันคงจะมีความอึดอัด เดี๋ยวมันคงจะมีความท้อ เดี๋ยวมันคงจะมีความรู้สึกฟุ้งซ่าน จับอะไรไม่ติดนะ แล้วก็เตรียมไว้ในใจว่าเราจะยอมรับว่ามันจะเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์อ่อนๆขึ้นในช่วงแรกของการนั่งสมาธิ นี่เรียกว่าเป็นการพลิกมุมมองแล้ว เป็นการเปลี่ยนความคาดหวังให้กลายเป็นการเตรียมใจแล้ว
การเตรียมใจอย่างถูกต้องเนี่ยนะ มันไม่คาดหวังผลว่าจะมีอะไรดีทันทีหรือมีอะไรดีขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ เนี่ย คือ จุดเริ่มต้นมันแค่นี้เองนะ ผิดกันแค่นี้เอง!
ถ้าหากคุณเตรียมใจอย่างถูกต้อง ทำใจไว้นะว่าเดี๋ยวมันคงจะมีความอึดอัด เดี๋ยวมันคงจะมีความท้อ เดี๋ยวมันคงจะมีความรู้สึกฟุ้งซ่าน จับอะไรไม่ติดนะ แล้วก็เตรียมไว้ในใจว่าเราจะยอมรับว่ามันจะเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์อ่อนๆขึ้นในช่วงแรกของการนั่งสมาธิ นี่เรียกว่าเป็นการพลิกมุมมองแล้ว เป็นการเปลี่ยนความคาดหวังให้กลายเป็นการเตรียมใจแล้ว
สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดนะในช่วงแรกๆก็คือว่า
ใจคุณเนี่ยจะไม่ดิ้นรน ไม่กระวนกระวายว่า เมื่อไหร่มันจะดีขึ้นสักที
เมื่อไหร่มันจะสงบลงสักที เมื่อไหร่มันจะหายฟุ้งซ่านสักที
เริ่มต้นขึ้นมานะของการเตรียมใจอย่างถูกต้องเนี่ย พอหลับตาลง มันเจอสิ่งที่มันเตรียมใจไว้ว่าจะเจอนั่นแหละ
คือความรู้สึกเหมือนกับยักแย่ยักยัน ใจนึงอยากทำสมาธิ ใจนึงอยากลุกขึ้น
อยากลืมตาขึ้นมา ไม่เอาแล้ว ไม่ทำแล้ว พอเตรียมใจไว้ถูกต้องว่าจะเจอภาวะแบบนี้แล้วเจอจริงๆ
มันจะไม่เป็นทุกข์มากกว่าที่ควร มันจะเป็นทุกข์แค่มีความรู้สึกอึดอัด แต่ไม่มีความทุกข์แบบว่ากระวนกระวายว่า
เมื่อไหร่มันจะดีขึ้น เมื่อไหร่มันจะดีขึ้นนะ
เข้าใจความหมายนะ ความแตกต่างระหว่างความคาดหวัง
กับการเตรียมใจไว้อย่างถูกต้อง การคาดหวังว่าอะไรๆมันจะดีขึ้น มันจะทำให้คุณท้อ
พอเจอภาวะอึดอัด ภาวะเป็นทุกข์ ภาวะไม่ยอมสงบจากความฟุ้งซ่านเนี่ย มันจะท้อลงทันที
เพราะมันไม่เป็นอย่างที่หวัง คนเราเมื่อผิดหวัง จิตใจมันจะระส่ำระสาย
มันจะหวั่นไหว มันจะวอกแวก มันจะรวมไม่ติด มันจะไม่มีกำลังใจ เนี่ยความผิดหวังหน้าตามันเป็นแบบนี้นะ
หมดกำลังใจ รู้สึกว่าชาตินี้เอาดีกับเขาไม่ได้
แต่ถ้าทำใจไว้ว่าจะเจอความทุกข์ ความอึดอัด อ้าวแล้วได้เจอจริงๆนะ ทีนี้มันมีความแตกต่าง มันมีการตั้งธงไว้ว่า ถ้าเจอความทุกข์ ถ้าเจอความอึดอัด เริ่มต้นขึ้นมาจะทำสมาธิ มันทำไม่ได้ มันจับไม่ติด มันไม่หายฟุ้งซ่าน เออ แล้วมันก็ไม่หายฟุ้งซ่านจริงๆ แต่มีการเตรียมใจในขั้นต่อไปไว้ด้วยว่า ความอึดอัด ความรู้สึกฟุ้งซ่าน ความรู้สึกระส่ำระสายนั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงให้เห็น
เปลี่ยนแปลงอย่างไร? ตอนแรกๆนะหายใจเข้ามา..โอ๊ย อึดอัด มันไม่อยากหายใจแบบนี้เลย มันไม่อยากที่จะมานั่งสมาธิแบบนี้เลย มันรู้สึกว่าอยากจะลุกขึ้นไปดูบุพเพสันนิวาสมากกว่านะ มันรู้สึกว่า เอ่อ..อยากจะเปิดตาออกไปฟุ้งซ่านตามสบายได้เป็นปกติ ไม่ต้องมานั่งบังคับตัวเอง ไม่ต้องมานั่งฝืนนะว่าจะอย่างงั้นว่าจะอย่างงี้ เนี่ย ตัวนี้นะคือจุดเริ่มต้น คือนาทีแรกที่มันจะเกิดขึ้น
ทีนี้พอเราทำไว้ในใจ เตรียมไว้ในใจว่า เดี๋ยวภาวะอย่างนี้จะเปลี่ยนแปลงให้เห็น มันจะค่อยๆสังเกต มันจะไม่ใจร้อน มันจะไม่สิ้นหวัง ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ มันจะไม่สิ้นหวัง มันจะไม่ท้อแท้ มันจะมีความรู้สึกว่าเออ อยากดูซิ มันจะต่างไปในลมหายใจไหน ถ้าหากว่าลมหายใจแรก ลมหายใจที่สองมีความปั่นป่วน มีความระส่ำระสาย มีความฟุ้งซ่าน ลมหายใจที่สองปั่นป่วนเหมือนเดิม มันมีความอึดอัดด้วย รู้สึกว่าคับอกคับใจนะ ไม่อยากทำสมาธิ แต่พอลมหายใจที่สาม ลมหายใจที่สี่ ที่เราเตรียมใจไว้อย่างดีเนี่ยนะว่าจะดูความเปลี่ยนแปลงมัน เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่ว่าเราไปสั่งให้มันเปลี่ยนนะ มันจะเริ่มเห็นปรากฏการณ์ทางกายทางใจ ที่มันสอดคล้องกับที่เราเรียนรู้มาว่า อะไรๆมันไม่เที่ยง มันจะมีความผ่อนคลายกล้ามเนื้อนะ มันจะมีความรู้สึก เออ มีแก่ใจดูว่าฝ่าเท้าฝ่ามือเราเนี่ยมันคลายออกไหม ใบหน้าของเราเนี่ยนะมันคลายจากอาการขมวดมุ่นไหม
เนี่ย ตัวที่มันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็น ตัวเนี้ยมันจะรู้สึกเกิดความสมใจ เกิดความรู้สึกว่า เอ๊ะ ไม่ผิดหวัง ตอนแรกไม่ได้คาดหวังอยู่แล้วว่า อะไรๆมันจะดีตั้งแต่นาทีแรก ตอนแรกเตรียมใจไว้เลย ทำไว้ในใจเลยว่าเดี๋ยวมันจะไม่ดีให้ดู แล้วมันก็ไม่ดีจริงๆ เสร็จแล้วมันก็เปลี่ยนแปลงให้ดูเช่นกันนะ
แต่ถ้าทำใจไว้ว่าจะเจอความทุกข์ ความอึดอัด อ้าวแล้วได้เจอจริงๆนะ ทีนี้มันมีความแตกต่าง มันมีการตั้งธงไว้ว่า ถ้าเจอความทุกข์ ถ้าเจอความอึดอัด เริ่มต้นขึ้นมาจะทำสมาธิ มันทำไม่ได้ มันจับไม่ติด มันไม่หายฟุ้งซ่าน เออ แล้วมันก็ไม่หายฟุ้งซ่านจริงๆ แต่มีการเตรียมใจในขั้นต่อไปไว้ด้วยว่า ความอึดอัด ความรู้สึกฟุ้งซ่าน ความรู้สึกระส่ำระสายนั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงให้เห็น
เปลี่ยนแปลงอย่างไร? ตอนแรกๆนะหายใจเข้ามา..โอ๊ย อึดอัด มันไม่อยากหายใจแบบนี้เลย มันไม่อยากที่จะมานั่งสมาธิแบบนี้เลย มันรู้สึกว่าอยากจะลุกขึ้นไปดูบุพเพสันนิวาสมากกว่านะ มันรู้สึกว่า เอ่อ..อยากจะเปิดตาออกไปฟุ้งซ่านตามสบายได้เป็นปกติ ไม่ต้องมานั่งบังคับตัวเอง ไม่ต้องมานั่งฝืนนะว่าจะอย่างงั้นว่าจะอย่างงี้ เนี่ย ตัวนี้นะคือจุดเริ่มต้น คือนาทีแรกที่มันจะเกิดขึ้น
ทีนี้พอเราทำไว้ในใจ เตรียมไว้ในใจว่า เดี๋ยวภาวะอย่างนี้จะเปลี่ยนแปลงให้เห็น มันจะค่อยๆสังเกต มันจะไม่ใจร้อน มันจะไม่สิ้นหวัง ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ มันจะไม่สิ้นหวัง มันจะไม่ท้อแท้ มันจะมีความรู้สึกว่าเออ อยากดูซิ มันจะต่างไปในลมหายใจไหน ถ้าหากว่าลมหายใจแรก ลมหายใจที่สองมีความปั่นป่วน มีความระส่ำระสาย มีความฟุ้งซ่าน ลมหายใจที่สองปั่นป่วนเหมือนเดิม มันมีความอึดอัดด้วย รู้สึกว่าคับอกคับใจนะ ไม่อยากทำสมาธิ แต่พอลมหายใจที่สาม ลมหายใจที่สี่ ที่เราเตรียมใจไว้อย่างดีเนี่ยนะว่าจะดูความเปลี่ยนแปลงมัน เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่ว่าเราไปสั่งให้มันเปลี่ยนนะ มันจะเริ่มเห็นปรากฏการณ์ทางกายทางใจ ที่มันสอดคล้องกับที่เราเรียนรู้มาว่า อะไรๆมันไม่เที่ยง มันจะมีความผ่อนคลายกล้ามเนื้อนะ มันจะมีความรู้สึก เออ มีแก่ใจดูว่าฝ่าเท้าฝ่ามือเราเนี่ยมันคลายออกไหม ใบหน้าของเราเนี่ยนะมันคลายจากอาการขมวดมุ่นไหม
เนี่ย ตัวที่มันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็น ตัวเนี้ยมันจะรู้สึกเกิดความสมใจ เกิดความรู้สึกว่า เอ๊ะ ไม่ผิดหวัง ตอนแรกไม่ได้คาดหวังอยู่แล้วว่า อะไรๆมันจะดีตั้งแต่นาทีแรก ตอนแรกเตรียมใจไว้เลย ทำไว้ในใจเลยว่าเดี๋ยวมันจะไม่ดีให้ดู แล้วมันก็ไม่ดีจริงๆ เสร็จแล้วมันก็เปลี่ยนแปลงให้ดูเช่นกันนะ
คีย์เวิร์ดสำคัญมันอยู่ที่ตรงนี้แหละ
คุณไม่คาดหวัง มันก็ไม่ผิดหวัง
คุณเตรียมใจไว้ว่าจะดูว่าอะไรๆแย่ๆมันเปลี่ยนแปลงไป
คุณก็ได้เห็นนะ
ตัวนี้แหละที่มันจะเป็นจุดสตาร์ทออกตัวได้จริงๆ
เมื่อเราเริ่มเห็นความแตกต่าง
จากนาทีแรกที่มันฟุ้งซ่าน มันอึดอัด มันท้อแท้นะ
มันกลายเป็นความรู้สึกว่า
มีกำลังใจขึ้นที่ได้เห็นความแตกต่าง
ตัวนี้นะมันจะเข้าสู่การเจริญสติ
เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างพุทธ
ปกตินะเวลาที่คนเรานั่งทำสมาธิเนี่ย ดูลมหายใจอย่างเดียวเนี่ยนะ ไม่ได้เรียกว่าทำสมาธิแบบพุทธนะ แต่เป็นการนั่งจ้องลมหายใจ จ้องเหมือนกับจะสู้รบปรบมือกับความฟุ้งซ่านในหัว นี่ไม่ใช่สมาธิแบบพุทธ
สมาธิแบบพุทธ คือ สังเกตเห็นความแตกต่าง
เดี๋ยวมันก็เข้า เดี๋ยวมันก็ออก
เดี๋ยวมันก็ยาว เดี๋ยวมันก็สั้น
แล้วบางครั้งลมหายใจ
มาพร้อมกับความฟุ้งซ่านปั่นป่วน
บางครั้งลมหายใจ
มาพร้อมกับความสงบสุข
เห็นความแตกต่างอยู่เรื่อยๆ
อย่างนี้เรียกว่า เป็นการเจริญสติดูลมหายใจ
ดูปฏิกิริยาทางใจแบบพุทธแล้วนะ
คีย์เวิร์ดนะเราทำไว้ในใจว่า
จะเห็นอะไรๆไม่ดีในช่วงแรก แล้วเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ที่มันเป็นภาวะไม่ดีนั้นในนาทีต่อๆมา
ในลมหายใจต่อๆมานะ ทั้งตัวลมหายใจเอง ภาวะที่มันเข้ามันออกมันยาวมันสั้น
แล้วก็ปฏิกิริยาทางใจบางครั้งอึดอัด บางครั้งสบายเป็นสุข ผ่อนคลาย
รู้สึกว่ารีแลกซ์นะ
เอาล่ะตัวนี้แหละที่มันจะเป็นการทำไว้ในใจ ที่จะมีผลช่วยให้คุณนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมาภายในสองวันสามวัน เพราะอะไร เพราะทุกครั้งที่คุณนั่งลงคุณจะได้เห็นสิ่งที่เตรียมใจไว้ว่าจะเห็นเสมอ เมื่อเตรียมใจไว้ว่าจะเห็นแล้วได้เห็น มันจะมีกำลังใจก่อให้เกิดความรู้สึกว่าอยากนั่งสมาธิ อยากกลับมาเห็น อยากกลับมามีความก้าวหน้าในการเห็นความไม่เที่ยงอีกเรื่อยๆ เนี่ยเรียกว่าเป็นการประสบความสำเร็จในการเตรียมใจแล้วนะ ขอให้ลองดูเถอะ ผมรับประกันว่าทุกท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการนั่งสมาธิอย่างรวดเร็วนะครับ
เอาล่ะตัวนี้แหละที่มันจะเป็นการทำไว้ในใจ ที่จะมีผลช่วยให้คุณนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมาภายในสองวันสามวัน เพราะอะไร เพราะทุกครั้งที่คุณนั่งลงคุณจะได้เห็นสิ่งที่เตรียมใจไว้ว่าจะเห็นเสมอ เมื่อเตรียมใจไว้ว่าจะเห็นแล้วได้เห็น มันจะมีกำลังใจก่อให้เกิดความรู้สึกว่าอยากนั่งสมาธิ อยากกลับมาเห็น อยากกลับมามีความก้าวหน้าในการเห็นความไม่เที่ยงอีกเรื่อยๆ เนี่ยเรียกว่าเป็นการประสบความสำเร็จในการเตรียมใจแล้วนะ ขอให้ลองดูเถอะ ผมรับประกันว่าทุกท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการนั่งสมาธิอย่างรวดเร็วนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น