วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

ขาดสติในชีวิตประจำวันบ่อย อึดอัดคับข้องใจสถานการณ์รอบตัว

ผู้ถาม : คือเป็นคนที่บางทีเราเหมือนกับ เราจะขาดสติบ้างในบางครั้งน่ะค่ะ อยากจะถามว่าจะมีวิธีให้เราคิดอย่างไร ให้เรากลับมามีสติ หรือว่ามีสมาธิมากขึ้นในการดำรงชีวิตทั่วไปค่ะ

รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/4uBNUH38ocM
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑๐
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๑๕ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
 

ดังตฤณ: 
ตอนที่เราบอกว่า มันมีอาการขาดสตินี่ เคยสังเกตไหม มันมีอาการอัดอั้นตันใจควบคู่ไปด้วย 
รู้สึกไหม? อาการอัดอั้นตันใจน่ะ มันจะรู้สึกหนักๆ  หนักๆในใจ 
คือไม่ใช่แค่อึดอัดนะ แต่มันเป็นอาการคับอกคับใจ เข้าใจใช่ไหม? 
ตอนนี้ต้องเริ่มให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า ภาวะเป็นอย่างไร


ภาวะคับอกคับใจเนี่ย  มันจะทำให้เราคิดอะไรไม่ออก 

พอคิดอะไรไม่ออกนะ คนเราจะขี้เกียจคิด อยากจะปล่อยให้อะไรมันเลยตามเลย จะเป็นอะไรอย่างไรก็ช่างมัน เข้าใจอารมณ์ประมาณนั้นนะ คราวนี้เรารู้ที่มาที่ไปแล้วว่าทำไมมันถึงขาดสติ 
คำว่าขาดสติ ไม่ใช่อยู่ ๆ มันขาดสติ 
แต่มันเริ่มมาจากขี้เกียจจะมีสติก่อน 
ที่ขี้เกียจนี่เพราะมันอัดอั้นตันใจ

กรณีของเรา มันมีความรู้สึกคับอกคับใจ มันมีความรู้สึกไม่พอใจกับอะไรๆที่เป็นอยู่ ทีนี้

ถ้าเราเริ่มมองออกว่า
มีอาการคับอกคับใจ นำหน้า อาการขี้เกียจคิด ขี้เกียจจะมีสติ 
มันจะเริ่ม นี่เป็นแบบนี้ 

เห็นไหมมันรู้สึกเบาลงไป มันจะรู้สึกเหมือนกับว่า อาการคับอกคับใจนี่น้อยลง เมื่อกี้พอพี่พูดว่ามีอาการคับอกคับใจ แล้วเรารู้สึกถึงมันได้น่ะ มันเหมือนกลับมาเกิดขึ้นใหม่

แล้วพอกลับมาเกิดขึ้นใหม่ แล้วเราเห็นมันได้ ว่าหน้าตามันเป็นแบบนี้ มันอึดอัด ๆ อยู่ มันมีอาการคับข้องอยู่ มันก็คลายออกไป 

ของน้องนะ คีย์อยู่ตรงนี้นะ 

พอรู้สึกถึงอาการคับอกคับใจ เรารู้มันตามจริงว่าหน้าตามันเป็นแบบนี้ 
มันแคบๆ มันมืดๆ มันอึดอัด 
มันเหมือนกับขี้เกียจคิด 

เข้าใจคำว่า"ขี้เกียจคิด" ใช่ไหม? 
ไม่รู้จะคิดมันไปทำไม 

นี่พอเห็นภาวะตรงนี้ปุ๊บ เราก็เริ่มเลย ดูนะลมหายใจนี้ มันรู้สึกอย่างนี้อยู่นะ 
หายใจทีหนึ่ง แล้วก็เออ...อึดอัด เออ...มันก็คลายลง 
พอมันคลายลงเดี๋ยวมันกลับมาใหม่ 
เพราะว่าเรื่องข้างนอกมันยังไม่ได้อย่างใจ

มันอึดอัดใหม่ เราก็ดูใหม่ 

ดูเหมือนกับดูเห็นอะไรเข้ามา 
คล้ายๆ ของมันเบียดเข้ามาในใจเราน่ะ 

มีตู้มีเก้าอี้ มีอะไรนู่นนี่นั่นเบียดเข้ามา 
แล้วเรารู้สึกคับข้อง ติดขัด 

พอเห็นว่ามันเบียดเข้ามา มันคับข้องเข้ามา มันก็หายไปใหม่ 
ดูเป็นแต่ละลมหายใจไปเรื่อยๆ 
ณ ตรงนี้เราจะมีสติมากขึ้น 

โดยที่ไม่ต้องไปหาอุบายอะไรอย่างอื่น แค่ดูเข้าไปที่ตรงจุดว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับใจของเรา


ใจลอย ฝันกลางวัน

ผู้ถาม : พึ่งมาครั้งแรกครับ ก็ได้ศึกษาแล้วก็ฟังซีดีสักพักหนึ่ง ก็เหมือนเด็กพึ่งจะหัดคลานหรือว่าเด็กประถม อยากจะขอคำแนะนำมากกว่าครับ

รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/wSKXTeRT8iE
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑๐
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๑๕ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
 

ดังตฤณ: 
ระหว่างวันถ้ารู้ตัวว่า ยังปล่อยจิต ปล่อยใจ หลงๆไป อะไรอย่างนี้นะ คือก็กลับมา

ค่อย ๆ สังเกต เออนี่ ตอนที่รู้สึกหลงๆหายๆไป เพราะของเราเป็นคนชอบวาดวิมานในอากาศ คือบางทีไม่เกี่ยวกับโลกความเป็นจริงเลยนะ คือวาดไปส่วนตัว โลกส่วนตัวมากเลยน่ะ

ก็ให้รู้ว่าเนี่ยในอาการแบบนั้นน่ะ กำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก เพื่อที่จะแบ่ง แบ่งกลับมา 
คือไม่ใช่แบ่งกลับมาร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่ามาอยู่กับลมหายใจ 

แต่เหมือนกับให้มันมีอาการระลึกบ้างว่า ตอนที่กำลังวาดวิมานในอากาศอยู่เนี่ย อาการที่มันลอยๆหลงๆ เนี่ยนะ มันหายใจเข้าหรือหายใจออก 

มันจะรู้สึกมาครึ่งหนึ่ง แต่พอรู้สึกมาครึ่งๆ หลายครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะเริ่มรู้สึกขึ้นมา 
ว่าเออเนี่ย ไอ้สภาวะวาดวิมานในอากาศ เป็นแค่ภาวะ เป็นแค่อารมณ์ทางใจอย่างหนึ่ง

เกิดขึ้นแป๊บหนึ่ง   ในระลอกลมหายใจนี้  
แล้วพอเรารู้สึกถึงลมหายใจสองครั้ง สามครั้งไป 
อารมณ์แบบลอยๆ ตรงนั้นน่ะ มันจะค่อย ๆเหมือนกับฟีบตัวลงมาอยู่ 
คือสภาวะทางการรับรู้เนี่ย มันจะเข้ามาอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น 
คือไม่ใช่มาเพ่งกับลมหายใจแคบๆนะ แต่มารู้สึกถึงเนื้อถึงตัวคล้ายๆแบบนี้

แต่ลองดูนะ ด้วยความที่ว่า  ฐานของใจเรามันเหมือนกับลอยๆมาจนเคยชินน่ะ แม้กระทั่งตอนนี้ที่อยู่กับเนื้อกับตัว มันก็ครึ่งๆกลางๆ มันเหมือนแบ่งออกไปสู่อาการลอย ๆ ครึ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ไม่ได้คิดนะ ไม่ได้คิดฟุ้งซ่านนะ แต่มันจะเหมือนพร้อมจะลอยเป็นลูกโป่งออกไป ลูกโป่งที่มันบานออกไปน่ะ นึกออกไหม มันพร้อมที่จะลอยขึ้นไป ขึ้นฟ้า

เนี่ยเราก็รู้ว่าภาวะตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ หน้าตามันเป็นอย่างนี้ รู้เนื้อรู้ตัว แต่ในขณะเดียวกันก็พร้อมจะลอย เสร็จแล้วก็สังเกตไปเรื่อยๆ หายใจเข้า หายใจออกแต่ละครั้งเนี่ย อารมณ์มันไปประมาณไหนแล้ว 

อารมณ์เบา มันเบาเป็นลูกโป่งอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า หรือว่ามันเริ่มกลับมารู้สึกรู้สาเกี่ยวกับตัวตน เกี่ยวกับเนื้อเกี่ยวกับตัว เกี่ยวกับลมหายใจนี้จริงจัง

ยิ่งมีความรู้สึกเกี่ยวกับเนื้อเกี่ยวกับตัวเนี่ยเข้มข้นมากขึ้นเท่าไร อารมณ์ลอย ๆตรงนี้ มันจะยิ่งอ่อนกำลังลง 

คือไปสังเกตอย่างนี้ แล้วมันต้องใช้เวลานาน คืออย่าคาดหวังว่าเดี๋ยวมันจะได้ผล หรือมันจะทำให้เราเลิกฟุ้งซ่านอะไรอย่างนี้นะ คืออย่าไปคาดหวังอะไรทั้งสิ้น แต่ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ 


ในที่สุดแล้วมันจะกลายเป็นความเคยชินแบบใหม่ 
ทุกครั้งที่มันมีอาการวาดวิมานในอากาศ มันจะกลับมาที่ลมหายใจ 
กลับมาอย่างสังเกตว่าลมหายใจนี้ จิตของเรามันโป่งๆพองๆบานๆนะ 
แต่พอดูๆลมหายใจไปพักหนึ่ง แล้วสังเกตเปรียบเทียบ มันยังบานเท่าเดิมอยู่ไหม หรือมันเริ่มเข้ามาอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น

เนี่ยมันจะเริ่มสนุก เหมือนเห็น แล้วจิตแบบนี้มันจะเห็นง่ายด้วยนะ

คล้ายๆ กับเราอยู่ในความฝันอีกแบบหนึ่ง ความฝันที่อยู่ในหุ่นกระบอก เหมือนกับเห็นตัวเองเนี่ยเป็นแค่หุ่นที่ถูกชักใยด้วยอารมณ์ภายใน ที่มันไม่มีตัวตนอยู่จริง 

เพราะว่าคนชอบฝันแบบลอยๆเนี่ย มันจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจังอยู่แล้ว ทีนี้พอกลับเข้ามาอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้นเนี่ย มันจะรู้สึกเลย เหมือนกับร่างกายนี่มันก็แค่หุ่นถูกชักใย เคลื่อนไปเคลื่อนมา ลมหายใจเดี่ยวก็เข้าเดี๋ยวก็ออก มันไม่เห็นจะมีอะไรที่บอกว่าเป็นตัวเป็นตนได้

แต่ดีแล้วไม่ต้องยื้อ อย่างนี้ คืออย่างนี้แหละ ดูไปอย่างนี้ 

คือมันจะเหมือนกับต้องออกอาการจงใจนิด ๆ ฝืนใจหน่อย ๆ อะไรอย่างนี้นะ แต่ว่ามันจะประมาณนี้แหละ 

คือรู้สึกเหมือนกับว่าพอจะดึงกลับมา ไอ้นี่ก็คอยฉุดขึ้นไป พอไอ้นี่ฉุดขึ้นไป ตัวนี้ก็ดึงกลับลงมา คือไม่ใช่เราจะไปกระโดดไปกระโดดมาระหว่างสองอันนะ แต่ต้องรู้ไปพร้อมกันเลย ว่านี่หายใจครั้งนี้ มันกำลังกระเจิดกระเจิงอยู่ ก็ยอมรับไป คือฟังมาทั้งหมดนี่ มันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เหลือแต่ว่า เอาให้ตรงภาวะของเราเองเท่านั้นนะ


คิดเยอะฟุ้งซ่าน ลังเลใจที่จะเริ่มต้นภาวนา

ถาม :  คิดเยอะฟุ้งซ่าน ลังเลใจที่จะเริ่มต้นภาวนา
รับฟังทางยูทูบ 
https://youtu.be/0DjUKUChiDM
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕ การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
/ คำถามที่ ๖

ดังตฤณ:  
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราจริงๆ ไม่ใช่ความฟุ้งซ่านอย่างเดียว มันเป็นอาการกระวนกระวาย คือมีนิสัยทางจิตที่ว่าถ้าอยากได้อะไร แล้วยังไม่ได้อย่างใจมันจะกระวนกระวายไม่หยุด เห็นใช่ไหม 

แม้กระทั่งเราคิดเรื่องการภาวนาก็ตาม ถ้าใจหนึ่งมันอยากไปเล่น อีกใจหนึ่งมันอยากภาวนา แค่นี้กระวนกระวายแล้ว ตอนเล่น ก็จะเอ๊ะ เราทำผิดอะไรหรือเปล่า นั่นแหละ 


ดูตัวกระวนกระวาย

เวลาที่เกิดความกระวนกระวายขึ้นมาเนี่ย 
มันจะเหมือนกับเราเสียความเป็นตัวของตัวเองไป 
นึกอะไรไม่ค่อยออก 
เพราะมัวแต่ไปติดอยู่กับพายุความกระวนกระวาย 
ไม่ว่าจะในเรื่องไหนก็ตาม จะเรื่องทางโลก หรือเรื่องทางธรรมก็ตาม 

ตอนที่เราคุยกับใครแล้วไม่รู้เรื่อง คือเค้าจะไม่ฟังเราหรืออะไรก็แล้วแต่ 
ก็เกิดความว้าวุ่นใจ เกิดโทสะ เกิดความคิดในแบบที่...ทำไมมันอย่างนู้น อย่างนี้ 
มีคำด่าขึ้นมาแป๊บๆ แต่อยู่ต่อหน้าต้อง ไม่เป็นไรค่ะ ได้ค่ะ

แบบนี้เราก็ดูความขัดแย้ง 

มันจะมีความอึดอัด ความกระวนกระวายในแบบร้อนๆ หรือมีคำด่าแทรกแซงมา ในระหว่างที่เราต้องยิ้ม 

ตรงนั้นมันก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัด เราจะรู้สึกอึกอัดขึ้นมาเป็นวูบๆ ถ้าเรามองเห็นด้วยอาการยอมรับถึงสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเกิดขึ้นบ่อย สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติที่ดี

คือยิ่งเราเห็นมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งรู้สึกสงบ 
มันเย็นลงทันที เหมือนมีน้ำเย็นลูบใจ 

ราก็เห็นต่อไป ว่าอาการเย็นนี้มันเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย อยู่ๆมันไม่ได้เย็นขึ้นมาเอง แต่เป็นเพราะว่าความกระวนกระวายเกิดขึ้นแล้วเราสามารถเห็น 

ยอมรับตามจริง 

ก็รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของความกระวนกระวาย ระดับความกระวนกระวายมันลดลง 
ระดับความอึดอัดมันลดลงให้เห็นด้วยอาการยอมรับ 
ไม่ใช่ด้วยอากาพยายามไปแข็งขืนกับมัน หรือไปพยายามแทนที่มัน

ที่ผ่านมาเรารู้เกือบถูกแล้ว แต่เห็นไหมความกระวนกระวายไม่ได้หายไป  ตอนที่เรารู้ 

พอยท์ (Point) มันอยู่ที่ตรงนี้ เราไม่ได้ยอมรับ มันไม่ใช่ด้วยอาการยอมรับแบบนี้ อย่างนี้เค้าเรียกว่ายอมรับ 
แต่ตอนนั้นมันไม่อยากยอมรับ มันอยากจะสงบทันที มันไม่อยากมีความทุกข์ 

ตัวที่ไม่อยากมีความทุกข์ ไม่อยากกระวนกระวาย ตัวนั้นแหละที่ทำให้กระวนกระวายต่อ 


ต้นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง คือความอยาก

แม้กระทั่งอยากหายทุกข์ ก็คือต้นเหตุของความทุกข์ 

จำไว้เป็นพอยท์(Point)  ที่จะสังเกตแล้วกัน ว่าเรารู้จริง หรือไม่รู้จริง 
ถ้ารู้จริง จะมีอาการยอมรับ 

ถ้าไม่รู้จริงจะมีอาการ"อยาก"


พยายามเจริญสติในชีวิตประจำวัน แต่หากงานยุ่งจะทำไม่ได้ ถ้าเจออารมณ์แรงๆก็หลุดเลย

ถาม :  เริ่มสนใจธรรมะมา ๓-๔ ปี จากนั้นก็ไปเข้าคอร์สทุกปี ในชีวิตประจำวันจะรักษาศีล๕ ทำความรู้สึกตัวในชีวิตประจำวันบ้าง หากงานยุ่งจะตามไม่ค่อยได้ ปัญหาคือถ้าเจออารมณ์แรงๆก็หลุดเลย

รับฟังทางยูทูบ https://youtu.be/H2wAl6VkXas
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕ การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
/ กลุ่มคำถามที่ ๓/คำถามที่ ๘

ดังตฤณ:  
มันอย่างนี้นะ โดยพื้นทางจิตใจของเรามา ต่อให้ไม่มีอะไรกระทบ มันก็กระทบตัวเองได้ มันมีอะไรเปรี้ยงปร้างอยู่ในความคิดได้เรื่อยๆ เข้าใจคำว่าเปรี้ยงปร้างใช่ไหม เหมือนฟ้าผ่าอยู่ข้างในน่ะ ของเราเนี่ยจะเป็นแบบนั้น 

แต่ว่าช่วงหลังๆ หลังจากที่เรามาสนใจในธรรมะ มันมีอีกกระแสหนึ่งที่มันแตกต่างไป 

มันจะมีความรู้สึกว่า บางที บางชั่วโมงนี่เหมือนแม่พระเลยนะ ยิ้มเย็นๆ สบายๆ รู้สึกข้างในไม่มีอะไร 

แล้วมันเกิดความรู้สึกขึ้นมาวูบๆวาบๆ ว่าเราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราจะไม่กลับไปเป็นคนโมโหง่ายอะไรอีกแล้ว 

แต่เสร็จแล้วพอมีหมากปราบเซียนมากระทบก็    ตายเลย คือ

มันได้เห็นตัวเอง ว่ามันยังไม่ได้เป็นแม่พระจริง เป็นแม่เพละ มันเหมือนแตกกระจายออกไป  เราก็จะเสียใจและก็รู้สึกว่าเรานึกว่าเราจะไม่เป็นแบบนี้แล้ว แต่มันก็ยังเป็นอยู่ นี่ตัวเนี้ย...

คือถ้าเราตั้งมุมมองไว้อย่างถูกต้องมันก็จะไม่ไปเสียใจ  แต่เหมือนกับที่พูดไปว่าแทนที่เราจะไปเข้าใจผิดว่ามันต้องเกิดขึ้นตลอดไป ตอนที่เรารู้สึกดีแล้ว ตอนที่เรารู้สึกสว่าง รู้สึกมีเมตตา ไปยึดว่าเนี่ยเป็นของเรา 

เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่ และแสดงความไม่ใช่   ผ่านเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตใจ และเกิดปฏิกิริยาที่เราไม่สามารถห้ามตัวเองได้ หยุดไม่อยู่ ตัวนี้


ต่อไปให้ตั้งมุมมองของใจไว้เลยว่า ทั้งตัวแม่พระ ทั้งตัวโมโหร้ายอะไรเนี่ย 

อย่างภาวะที่มันดีๆน่ะ อาจจะตั้งอยู่นานได้ แต่อย่าคิดว่ามันจะตั้งอยู่ตลอดไป 

คือให้คิดว่ามันจะตั้งอยู่นานนะ และอาจจะตั้งอยู่นานหน่อย เพราะว่าเราเต็มใจให้มันเป็นอย่างนี้

 เราสมัครใจเลือกตัวตนใหม่แบบนี้ มันถึงอยู่ได้นานหน่อย 
แต่ ถ้าเมื่อไหร่ที่มันเปลี่ยน 

เราถือเป็นโอกาสที่จะได้รู้ว่าสภาวะทางใจแบบนั้นมันไม่เที่ยง



อย่างเมื่อกี้ ตอนที่นั่งสมาธิตามที่พี่ไกด์(Guide)เนี่ย คือมันมีความคิดวุ่นวาย มันมีความพยายามจะทำตามที่พี่พูดนั่นล่ะแต่ก็มีอีกใจว่าเราทำไม่ได้เราอย่างโน้นอย่างนี้ 

คือมันมีอะไรจุ๊กจิ๊กๆขึ้นมาแบบคนที่เคยมีอคติกับการนั่งสมาธิ  เพราะนั่งมาไม่สำเร็จแล้วมีความคิดรบกวน เคยมีความคิดรบกวนยังไง ก็กลายเป็นมันย้อนมาทุกที 

ถาม : ถ้าบางทีสงบตอนนั่งสมาธิก็จะหลับไปเลยค่ะ

ดังตฤณ:

ที่หลับสาเหตุเพราะว่าเราอยู่กับความเคลิ้ม อยู่กับอาการที่มันน่าพอใจ คือมันสบายๆ สงบๆ แล้ว เรารู้สึกว่ามันดีจังเลยติดอยู่กับภาวะนั้นจนกระทั่งหลับ 

แต่ถ้าหากว่าเราค่อยๆมอง ค่อยๆฝึก คือต้องสวนกับอคติแบบเดิมนิดหนึ่ง คำว่าอคติไม่ใช่การคิดร้ายคิดไม่ดีอะไรมากมาย แต่หมายถึงทัศนคติที่เรามีต่อสมาธิ เราต้องปรับใหม่ว่ามันเป็นโอกาสที่เราจะได้ตั้งหลัก สร้างทุน เพื่อที่จะเอาสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน 

เดิมเรามีแค่การทำใจ เหมือนกับไปทำบุญ ฟังคำสอน สวดมนต์ แผ่เมตตาอะไรอย่างนี้อะนะ เราจะถนัดแบบนั้น เราจะรู้สึกว่าเอากระแสของการแผ่เมตตา ความคิดดีๆหลังสวดมนต์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เรารักษาให้มันดีอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันก็จะแค่รักษาให้ดี ทำใจ แต่ไม่ใช่เห็นอะไรตามจริงอย่างที่มันกำลังปรากฏ มันแตกต่างกันนะ 

ตอนที่เราจะรักษาภาวะดีๆไว้ มันต้องอาศัยกำลังใจที่จะไม่ให้มันเคลื่อนไปสู่ภาวะไม่ดี 

แต่อย่างตอนที่เราเจริญสติแล้วเห็นภาวะที่มันปรากฏตามจริง เวลาที่ไม่ดียอมรับว่าไม่ดี เวลาเปรี้ยงปร้างอะไรขึ้นมา เออ...นี่ จิตมันแสดงความไม่เที่ยงของความสุขให้ดู 

หรือว่าตอนที่มันเย็นๆ มันนิ่งๆ มันมีเมตตา มันเหมือนอยากจะยิ้ม อยากจะช่วยคนทั้งโลกอะไรแบบนี้นะ ให้เห็นว่านี่คือการแสดงความไม่เที่ยงของโทสะ 


หลักการดูก็คือ  มุมมองที่เราจะดูเข้ามาที่ข้างในนั้นเอง 

แค่ตั้งมุมมองไว้แตกต่าง มันเปลี่ยนจากสวรรค์เป็นนิพพานได้เลย


เพิ่งเสียลูกไป คิดว่าการนั่งสมาธิจะช่วยส่งลูกไปได้

ถาม :  เพิ่งเสียลูกไป คิดว่าการนั่งสมาธิจะช่วยส่งลูกไปได้
รับฟังทางยูทูบ https://youtu.be/i2LhvRoV8pM
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕ การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
/ กลุ่มคำถามที่ ๓/คำถามที่ ๗

ดังตฤณ:  
ก็มีส่วน เพราะว่าตอนเค้าอยู่ในท้องเรา ๙ เดือนเนี่ยนะ จิตวิญญาณมันผูกพันกันโดยไม่รู้ตัว 

การที่เรามีความสุข หรือว่าการที่เรามีความคิดแบบใดๆก็แล้วแต่ระหว่างที่ตั้งท้อง มันส่งผลสะเทือนไปถึงจิตวิญญาณของเค้า มันก็เลยเกิดเป็นความผูกพัน เช่นกัน 

คือเมื่อเค้าไปแล้ว เค้าไปจากสภาพที่จะจับต้องได้ ที่จะมาติดต่อพูดคุยกันได้ ก็เหลืออยู่แต่ความผูกพันที่มันเป็นสายใย ที่เราเคยเลี้ยงเค้ามาด้วยร่างกายของเราเอง

ถาม :  ไม่รู้จะเริ่มต้นนั่งสมาธิอย่างไรให้ส่งผลบุญถึงลูกที่เสียไปตั้งแต่ยังไม่เกิดมาได้

คือพอเราทำตามที่ผมไกด์(Guide)ไปเนี่ยนะ มันเหมือนคอยคิดถึงลูก จิตไม่ได้อยู่กับสมาธิจริงๆ 

ตัวนี้เป็นอันดับแรกเลยที่เราต้องทำความเข้าใจ ถึงแม้ว่าเราจะมีเจตนาในการทำสมาธิอย่างไรก็แล้วแต่ 

ถ้าหากว่าใจมันไม่อยู่ในภาวะที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีทางสงบ ไม่มีทางตั้งมั่น 

ไม่มีทางเกิดคุณภาพของสมาธิขึ้นมาได้

ฉะนั้นอันดับแรกเลยก็คือ เมื่อนั่งสมาธิเราต้องบอกกับตัวเองว่า ทันใดที่เราจะเกิดความประหวัดคิดไปถึงสิ่งอื่นภายนอกตัว เราต้องรู้ตัวให้ทันในทันที รู้ว่าใจคิดไปถึงลูกแล้ว พอรู้สึกว่าใจคิดไปถึงลูก 

มันจะเห็นเป็นภาพทางใจนะ ภาพทางใจก็คือรู้สึกมีความหม่นๆ มีความรู้สึกปรารถนาให้เค้าได้อะไรดีๆ และเป็นความปรารถนาในแบบที่ว่าอยากให้เค้ามีความสุขด้วยความทุกข์ของเรา เข้าใจไหม...


คืออยากให้เค้ามีความสุขแต่ใจเราเป็นทุกข์ พอเราเห็นภาพทางใจอย่างนี้ จะได้เกิดสิ่งที่เรียกว่ามุมมองที่ถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฐิ ถ้าเราอยากจะให้เค้ามีความสุขโดยฝีมือของเรา 

ใจเราต้องเป็นสุขให้ได้ก่อน 

ถ้าใจเราไม่มีความสุข ถ้าใจเราไม่มีความสว่าง ถ้าไม่มีความเปิดกว้าง เราส่งอะไรไปเค้าก็ได้แบบนั้นแหละ 

จิตของเราเวลาที่เศร้ามันจะมีอาการปิดแคบ เรานึกถึงลูก 

ลูกก็ได้ความรู้สึกปิดๆแคบๆ

เรามีอาการยึดมั่นถือมั่น เศร้าโศกอาลัย เวลาเราส่งไป
มันก็คือความเศร้าโศกอาลัย มันไม่ใช่ความสุข มันไม่ใช่บุญ 


เรามองเข้ามา เออตอนนี้ฝ่าเท้าผ่อนคลายนะ ฝ่ามือผ่อนคลายนะ ทั่วทั้งใบหน้านี่สบาย รู้สึกว่ามีความสุขจังเลย มีความสุขกับร่างกายตัวเองก่อน แล้วเห็นว่าในความสุขของร่างกายที่ผ่อนพักเนี่ย มีลมหายใจเข้า มีลมหายใจออกอยู่ งั้นใจเราไม่ไปไหน เรามีความสดชื่นอยู่กับความเป็นลมหายใจที่มันเข้าที่มันออกนี่ เราก็เกิดความรู้สึกว่าเออ..ใจเรานี่ยิ่งสะอาดขึ้นทุกที เมื่อเห็นว่าลมหายใจมันไม่ใช่ตัวตนนะ มันเป็นแค่ธาตุลม เดี๋ยวผ่านเข้าเดี๋ยวผ่านออก เดี๋ยวมันก็ยาวเดี๋ยวมันก็สั้น เลิกยึดมั่นถือมั่นแบบผิดๆ ว่านี่เป็นตัวของเรา ลมหายใจเป็นของเรา จิตที่มันสว่างขึ้นในขณะนั้นคือการฟ้องว่าบุญมันถึงจุดที่สูงสุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้

บุญเนี่ยนะ ทำความเข้าใจใหม่ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง 

บุญอันเกิดจากการทำทาน ทำทานกับคนยากจน หรือว่าไปทำสังฆทานที่วัดก็แล้วแต่ 

บุญอันเกิดจากการรักษาศีล คือรักษาใจให้สะอาด ปราศจากเวร ปราศจากการเบียดเบียน และ

บุญที่สูงที่สุดในทางพระพุทธศาสนาคือ บุญที่สูงที่สุดที่พระพุทธศาสนาชี้ไว้ว่ามีตามธรรมชาติ ก็คือ
บุญอันเกิดจากการสละ ละอุปาทานออกไป ด้วยการภาวนา


การภาวนาคืออะไร คือการเห็นตามจริงอย่างนี้แหละ ว่าลมหายใจมันไม่ใช่ของเรา ความสุข ความทุกข์ ความอึดอัด ความสบาย ที่มันปรากฏในแต่ละลมหายใจเนี่ย มันเกิดขึ้นแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ความรู้สึกมีตัวตนที่ครอบงำจิตใจอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตายเนี่ย ก็หายไปจากใจเราชั่วขณะหนึ่ง ชั่วขณะนั้นที่เกิดบุญขั้นสูงสุด 

เวลาที่เรานึกปรารถนาจะให้บุญที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น ได้กับใคร มันจะได้จริง จะถึงจริง คือจะมีพลังสะเทือนที่มากพอ บุญเนี่ยเป็นพลังชนิดหนึ่งเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ เป็นนามธรรม มันไม่ถูกบรรจุไว้ในรูปทรงแบบใดแบบหนึ่ง แล้วก็ไม่มีอะไรไปขวางกั้นมันได้ ถ้าหากว่าเราทำให้มันปรากฏขึ้นมาในเราได้แล้วเนี่ย เราจะปรารถนาส่งไปถึงใคร จะส่งได้ข้ามภพข้ามภูมิ ไม่จำกัด

พอยท์(Point) ก็คือว่าทำยังไง เราถึงจะไปถึงตรงนั้นได้ 

อันดับ ๑ ท่องไว้อีกทีคือ พอเริ่มนั่งสำรวจเท้า มือ และใบหน้า 

อันดับ ๒ คือดูว่าจิตใจเรามีความกระวนกระวายเรื่องลูกหรือเปล่า พอรู้สึกว่าคิดถึงลูกอยู่ ยอมรับตามจริงว่ามีอาการแบบไหน จิตมันหดๆ จิตมันมีอาการเศร้าๆ มีอาการเหมือนกับคิดถึงอาลัยอาวรณ์ อะไรต่างๆ เราเห็นด้วยอาการยอมรับตามจริงว่ามีลักษณะอย่างไร พอเห็นแล้วมันจะคลายออกไปให้ดู เราก็จะได้รู้ว่าภาวะนั้นไม่แตกต่างกับลมหายใจที่เข้ามาแล้วก็ต้องออกไปเป็นธรรมดา แต่ไม่งั้นเราจะมีแต่อาการยึดอยู่ว่าความโศกเศร้าคือของจริง คือตัวเรา คือสิ่งที่จะต้องติดตัวเราไปจนตาย 

เคยรู้สึกไหมว่ามันไม่มีทางหายเศร้าได้หรอก แต่ถ้าหากเรามานั่งดูทีละลมหายใจ เราจะรู้ได้เดี๋ยวนี้เลย ว่าแม้กระทั่งความเศร้าก็แสดงความไม่เที่ยงให้เราเห็นอยู่ตลอดเวลาทุกลมหายใจ แต่ตอนที่เศร้าแบบเค้นจิตเค้นใจเรามากเนี่ย เราจะรู้สึกว่าไม่มีทางหาย  เราจะจำความเศร้าแบบนี้ไปจนตาย นี่คือความเข้าใจผิด แล้วการที่พระพุทธเจ้าให้ฝึกอานาปานสติก็เพื่อจะถอดถอนความเข้าใจผิดแบบนี้แหละ


ไม่ว่าเราจะสุขหรือเศร้าจะชอบคิด เวลามีความสุขเนี่ย ก็อยากมีความสุขแบบนี้ไปจนตาย และความสุขแบบนี้คงไม่เปลี่ยนแล้ว แต่เวลามีความเศร้ามันก็ย้อนกลับไปในทางตรงข้าม ที่นี้พอเรามาดูทีละลมหายใจ 

เออ   สุขแต่ละลมหายใจมันเท่ากันไหม เวลาคิดถึงลูกขึ้นมา 

บางทีเวลาเราสวดมนต์ ทำสมาธิไปบางทีมีความสุขไง 

แต่พอคิดถึงลูกปุ๊บคล้ายๆโดนจู่โจม คล้ายๆมีอะไรกัด แบบงับเข้ามา แล้วก็รู้สึกเสียใจอย่างรุนแรงทันที ถ้าเราไม่ปล่อยสติให้หลงไปตามความเศร้า 

แต่มีสติรู้ทัน


ว่าภาวะหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกภาวะหนึ่ง จากภาวะสุขอยู่ดีๆ มีความสบายอกสบายใจอยู่กับการภาวนาดีๆ 

นึกถึงลูกปุ๊บเหมือนมีอะไรมากัดที่ตรงนี้ทันที เห็นเป็นภาพทางใจ 

รู้สึกว่า เออ..มันมีอะไรให้ดู 

ดูความไม่เที่ยง ดูความเป็นของเปรียบเทียบระหว่างสว่างกับมืด ระหว่าง

ปล่อยสบายกับโดนกัดกิน ภาวะตรงข้ามที่มันแสดงตัวอยู่ชัดๆ


โดยเฉพาะในช่วงที่เรากำลังรู้สึกถึงการสูญเสียอย่างนี้เนี่ยมันมักจะสวิง (Swing) 
เวลามีใครมาปลอบใจ เออ..โล่งใจได้นิดหนึ่ง แล้วเสร็จแล้วก็กลับไปเศร้าอีก 

แล้วเราจะไปเชื่อว่าความเศร้านั้นคือของจริง ส่วนความสุขคือของปลอม เพราะความสุขมันแป๊บเดียว 
ความเศร้ามันนานกว่า แต่ถ้าเราเปรียบเทียบทันทีที่มันกำลังปรากฏความแตกต่างกัน อุปาทานตรงนั้นจะหายไป จะกลายเป็นการเห็นความจริงว่า 

สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง 


เข้าใจพอยท์(Point)นะ และตรงนี้แหละที่เป็นบุญสูงสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้จริงๆ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

นั่งสมาธิแล้วรู้สึกกลัว ควรทำอย่างไร

ผู้ถาม --  ได้ฟังแล้ว พยายามทำตามคลิปเสียงของคุณตุลย์ที่บ้าน พอดีป่วย  ตอนนี้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ก็พยายามดูลมหายใจ  แต่บางครั้งลมหายใจจับไม่ได้เลย  เรารู้สึกว่ามันเคลื่อนไปที่กระบังลมแทน  แล้วรู้สึกว่ากระบังลมมันสูบขึ้นๆลงๆแล้วสักพักมันก็ไปอยู่ที่หน้าท้อง เรารู้สึกว่ามันเหมือนเครื่องสูบลม แล้วก็อย่างที่คุณตุลย์บอกว่าให้จับความรู้สึกน่ะค่ะ บางทีมันบอกไม่ได้ว่าความรู้สึกมันชื่ออะไร เพียงแต่เรารู้สึกว่ามีภาวะบางอย่างตรงหน้าอกเราบ้าง ตรงลมหายใจเราบ้าง ตรงหัวเราบ้าง เราบอกไม่ได้ว่าชื่ออะไร ตอนหลังเนี่ยรู้สึกว่ามันสงบขึ้นในสมาธินะคะ  แต่ว่ามันมีความกลัวเกิดขึ้น กลัวอย่างมากเลยค่ะ บางครั้งมันกลัวจนเราพยายามนึกถึงคำคุณตุลย์ให้จับความรู้สึกนั้นไว้ แต่บางครั้งมันกลัวจนกระทั่งที่เราเรียกว่าสมาธิ หรือกำลังที่เรามีจะต้านมันได้ไหม  ก็อยากจะขอเรียนถามให้คุณตุลย์ช่วยแนะนำ

รับฟังทางยูทูป : https://youtu.be/n38WCdKNN9I

การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑๘ | คำถามที่ ๑๔-๐๑

ที่ณัฐชญาคลินิก ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๖

ดังตฤณ :

เอาจุดนี้ก่อนที่เห็นเหมือนมีกระบังลมเคลื่อนแล้วก็คล้ายๆร่างกายเป็นเครื่องสูบลม สูบเข้าสูบออก อันนี้ดี

ได้สมาธิแล้ว มันเห็นสักแต่เป็นธาตุ ธาตุดินก็มีการปั๊มเข้า ปั๊มออก ธาตุลมมันไม่รู้สึกว่าเป็นบุคคลแต่ความคิดน่ะเป็นบุคคลอยู่นะ เวลานั้นเนี่ย  เดี๋ยวจะให้ย้อนทบทวนดูเลยนะ 

ตอนที่เรากระบังลมเคลื่อนเข้า เคลื่อนออก มีลมหายใจเข้าออกเนี่ย มันเหมือนกับเป็นหุ่น  ไม่ใช่ตัวบุคคบ ไม่ใช่ตัวผู้หญิง ไม่ใช่เรา แต่เป็นหุ่นยนต์ ที่เรานั่งดูอยู่  นั่งดูการทำงานกลไกของมัน แต่ความคิดความรู้สึกของเรายังเป็นตัวตน  เป็นตัวตนที่เรานั่งดูอยู่  


พอไอ้ตัวตนอันนี้ ตอนมันเห็นแค่กระบังลม หดเข้า หดออก ก็ไม่รู้สึกอะไรเท่าไร ก็รู้สึกแค่เออ เหมือนหุ่นยนต์ แต่พอเริ่มเข้าสู่ภาวะที่ข้างใน มันเริ่มปั่นป่วน คือ จะนิ่งก็ไม่ใช่ จะปั่นป่วนยุ่งเหยิงก็ไม่เชิง มันเป็นภาวะแปลก ไอ้ตัวตนนี้ก็เกิดความกลัวขึ้นมา  กลัวว่าเราจะเป็นไรรึเปล่า ไอ้ที่ป่วยอยู่แล้วมันจะยิ่งแย่ขึ้นไปอีกรึเปล่าอะไรทำนองนี้  

เพราะฉะนั้นถ้าสืบไปสืบมา ความกลัวเกิดจากอะไร
ความกลัวเกิดจากการที่ยังมีตัวตน 


เรายังเห็น เกิดจากการที่กลัวว่าตัวตนตัวนี้จะมีอันเป็นไปยังไง  นี่ความกลัวมันหน้าตาเป็นยังไง หน้าตาความกลัวแบบของเรามันออกแนวกระเพื่อมไหว รู้สึกเหมือนหวั่นไหว เป็นระลอก มันไม่ได้หวั่นไหวเท่าเดิมตลอด มันหวั่นไหวมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่จะปรุงแต่งอะไรขึ้นมา 

เห็นไหม สืบไปเนี่ย มันก่อตัวขึ้นที่ตรงนี้ 

คิดไปเอง  

จริงๆเนี่ยธรรมชาติของมนุษย์นี่เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าชายหรือหญิง คิดไปเองตอนที่ไม่รู้ว่าอะไรจริง ที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่เนี่ย คิดล่วงหน้าจินตนาการไป แล้วจินตนาการทางร้ายไว้ก่อน โดยเฉพาะตอนที่หลับตาเนี่ยมันเป็นภาวะที่มองไม่เห็นไง คำว่าหลับตา มันมาพร้อมคำว่า มองไม่เห็น  มองไม่เห็นด้วยแก้วตาที่เราเคยเห็นชิน ในการใช้มองดูรูป มองดูสีสัน  

แต่ถ้าเราสำรวจเข้าไปเนี่ย ถ้าเราหลับตาบางที เราเห็นยิ่งกว่าใช้ตาดูอีก 


เราเห็นตามความจริงไง 
เห็นความจริงที่กระเพื่อมเข้า กระเพื่อมออกราวกับเป็นหุ่นยนต์ เห็นความจริงว่า เออ นี่ความคิดก่อตัวขึ้นมา มีการจินตนาการล่วงหน้าแบบสูญเปล่า เห็นว่าเป็นตัว เป็นตน เห็นว่ามีความกลัวมากกลัวน้อย มันเห็นยิ่งกว่าตาเห็นอีก ตาเห็นบางทีเรามองไปนี่มันไม่ได้แปลด้วยซ้ำว่านี่ประตู  มันเห็นไปเฉยๆ มันขาดสติ ความคิดมันฟุ้งซ่านไปไหนไม่รู้ ที่คิดว่าตาดูอยู่แล้วเห็นนี่มันไม่ได้แปล  


แต่ถ้าใจเรากำลังเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในเนี่ยตรงนั้นมันเห็นอยู่ตลอดเวลานะ เห็นอย่างต่อเนื่อง เราก็ดู 

แล้วก็เห็นว่าความกลัวที่เกิดขึ้นนี่จริงๆมันคือภาวะปรุงแต่ง ที่มันเริ่มต้นมาจากตรงนี้ ยิ่งตรงนี้เตลิดไปมากเท่าไร ความกลัวมันยิ่งมากขึ้นเท่านั้น 


พอเห็นปุ๊ป ใจมันจะสลัดความกลัวทิ้ง ไม่ได้แกล้งสลัดนะ 
มันรู้สึกไม่อยากยึด มันคือความกลัวที่สูญเปล่า มันจะหายไปเฉยๆ


ผู้ถาม : ส่วนใหญ่มันจะกลัวตอนที่เรานิ่งเงียบน่ะค่ะ

ดังตฤณ มันไม่ใช่เงียบจริง ลองทบทวนดูดีๆนะมันเงียบกึ่งๆ


ผู้ถาม:  มันมีความคิดอยู่ข้างในค่ะ มันจะมีภาวะเงียบแบบว่านำเราดิ่งลงอะไรบางอยาง เหมือนเรามากนะคะ พอถึงตรงนั้นปั๊ปเนี่ย คือภาวะที่เราไม่รู้จะไปตรงไหน  มันกระชาก

ดังตฤณ :

ตรงนั้นเป็นภาวะที่จิตมันเริ่มหดตัว  ให้ดูไว้ ภาวะอุโมงค์ ภาวะเหมือนจะดิ่งอะไรต่างๆ เป็นภาวะที่จิตหดตัว ท่องไว้ล่วงหน้าเลย จำไว้ล่วงหน้า จิตมันจะมีการบีบเข้ามาแล้วเกิดความรู้สึกภายในเหมือนเป็นท่ออะไรกลวงๆ จริงแล้วเป็นแค่อาการหดลง

อย่างถ้าตอนที่จิตมันสบาย  เราจะรู้สึกเหมือนมันกว้างออกไป 

ไม่มีท่อ ไม่มีอะไรที่อุดตัน มันมีความว่าง มีแต่ความสบาย ก็รู้ว่านั่นเป็นจิตอีกแบบหนึ่ง เป็นจิตแบบเปิด ไม่ใช่จิตแบบหดตัว 


ทั้งหลายทั้งปวงมีแต่อาการของจิต 


แต่สิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้ไปกลัวนั่น กลัวนี่ หรือชอบนั่น ชอบนี่มันเป็นแค่ภาวะชั่วคราว แป๊ปนึงที่มันเกิดขึ้น เริ่มต้นจากในนี้ ในหัว
ตัวภาวะของจิตเอาจริงๆมันเป็นคนละอย่าง คนละเลเยอร์ อย่างสิ้นเชิง กับภาวะปรุงแต่งทางความคิด พอเราพันอยู่อย่างนี้รู้อยู่ส่วนลึกๆอย่างนี้ ความกลัวมันจะน้อยลง  

มันจะรู้สึกว่าความกลัวเนี่ยแท้ที่จริงแล้วมันกลวงยิ่งกว่าท่อที่เราเห็นอีก 



มันเหมือนพยับแดดที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างไม่มีอะไรเลย  

ม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นผล หรือสมเหตุ สมผล  แต่มันก่อตัวขึ้นมาเพื่อเราจะเริ่มเรียนรู้ว่า  ความสูญเปล่ามันมาจากสิ่งที่เราไม่เท่าทันมัน  ระหว่างวันเนี่ย สังเกตด้วย 

วิธีคิดปรุงแต่งอะไรไป มันกลัวล่วงหน้าบ่อยๆ อย่างเรื่องสุขภาพ โอเคมันไม่ดี แล้วเราก็ไปปรุงแต่งนู่นนี่ไปไกลถึงไหนๆ  

อาการคิดไปเองมันมักจะนำมาซึ่งความน้อยใจ  บางทีมันเกิดขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล บางทีมันเกิดขึ้นอย่างที่เหมือนกับเราถูกทอดทิ้ง จริง ๆ ก็เหมือนจะมีหลายสิ่งหลายอย่างบีบคั้นให้เรารู้สึกว่า เราถูกปล่อยทิ้งอะไรแบบนี้  ซึ่งมันไม่ใช่  

เรารู้อยู่แล้วว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น  บางทีมันเกิดความรู้สึกขึ้นมา พอเกิดความรู้สึกทำนองนี้ขึ้นมา นี่ถือเป็นโอกาสดีว่าเราได้เห็น อาการคิดไปเอง หรือปรุงแต่งให้รู้สึกไป ทั้ง ๆ ที่มันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง  

           พอเราเห็นแบบนี้บ่อยๆ พอมันปรุงแต่งขึ้นมาตามสภาพที่เราคิดไป 
ความคิดไปเองมันจะน้อยลงเรื่อย ๆ
เพราะอาการยึดมั่นถือมั่นความคิดมันจะเบาบางลงไปเอง