ระหว่างทำทานน้อย
แต่ทำไปเรื่อยๆ กับ เก็บเงินก้อนแล้วทำเรื่องใหญ่ผลบุญต่างกันอย่างไรคะ
ถ้าตั้งใจเก็บเงินทำบุญใหญ่แต่ตายก่อน ทำยังไงคะ?
ดังตฤณ : พระพุทธเจ้า ถ้าเอาคำแนะนำของท่าน ท่านแนะนำให้ทำทานในทันทีที่อยากทำ
สำนวนพระพุทธเจ้าคือบอกว่า มีความเลื่อมใสในการทำทานเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำทาน
อย่างบางคนบอกว่า ไม่มีเงิน เลยไม่มีโอกาสได้ทำบุญ นี่เข้าใจผิดมากเลย นึกว่าการทำทาน คือการต้องใช้เงิน
จริงๆ แล้วแค่ออกแรงช่วยคน อย่างเห็นคนหกล้ม ไปประคองเขาขึ้นมา นั่นก็เรียกว่าเป็นการทำทานแล้ว การให้แรงเป็นทาน การให้กำลังเป็นทาน
หรืออย่างเห็นเด็กหิวข้าว หิวน้ำ มายืนเกาะโต๊ะ แล้วซื้อให้เด็กกิน แค่อะไรที่ไม่กี่สิบบาท แล้วรู้สึกปลื้ม รู้สึกอิ่มยิ่งกว่าเด็กอีก ปลื้มไปเป็นวันๆ ปลื้มไปเป็นอาทิตย์ นั่นแหละ ตัวนี้คือเรื่องของการให้ผล เป็นความสุขอันเกิดจากการให้ทาน ณ เวลาที่เราอยากช่วย
บางทีการช่วยให้เด็กหายหิวพอทบทวนแล้ว เอ๊ะ ทำไมปลื้มกว่าตอนที่ไปทำบุญใหญ่ อลังการ คนยกให้เป็นหัวหน้านำสวด ถวายอะไรแบบนี้ ตอนนั้นกลับไม่ค่อยรู้สึกอะไร นี่แสดงให้เห็นที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส (คือ) ของจริงนะ
เมื่อใดก็ตามมีจิตเลื่อมใสคิดให้ทาน เมื่อนั้นคือเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำทาน ไม่ว่าจะเล็ก ไม่ว่าจะใหญ่
ทีนี้ตัวคำถามบอกว่า ทำทานน้อยๆ แต่ทำทานไปเรื่อยๆ ต้องถามตัวเองว่า อยากที่จะช่วยใคร หรือว่าแค่อยากจะทำบุญ
ถ้าแค่อยากจะทำบุญ สะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ลืม! ว่าเราสะสมไปเรื่อยๆ เป็นไปเพื่ออะไร เพื่อช่วยใคร แล้วใจเราอยากช่วยหรือเปล่า ถ้าลืมแบบนี้ ในที่สุดจะเกิดความเคยชิน เกิดความรู้สึกเฉยๆ ทำแล้วไม่เกิดความรู้สึกเป็นสุขอะไรขึ้นมาเลย
หรือถ้าบอกว่า เก็บเงินก้อนใหญ่ ไว้ทำเรื่องใหญ่ ก็ต้องถามตัวเองว่าระหว่างเก็บ มีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นแค่ไหน บางคนมีความมุ่งมั่นสูงมาก ว่าถ้าได้ก้อนนี้เท่าไหร่ จะไปทำแบบนี้ อย่างที่เห็นง่ายๆ ก็บอกว่า ชีวิตนี้อยากสร้างพระประธานสักองค์หนึ่ง อย่างผมเอง คือเมื่อหลายปีก่อน อยู่ๆ เกิดนึกขึ้นมา อยากได้ความชุ่มชื่นที่เกิดจากการสร้างพระประธาน แล้วก็ตั้งใจทำเลย
ตอนแรกตั้งใจทำองค์เดียว ตอนนี้ ก็มีเส้นทางของมันนะ คือก็กลายเป็นว่าได้เพื่อนร่วมแนวมาสร้างพระกัน ตอนนี้เป็นร้อยๆ องค์ ซึ่งตอนที่อยากสร้างนี่ ก็คิดเรื่องเงินนะ ว่า สมควรแก่ฐานะหรือเปล่า เพราะว่าผมก็ไม่ได้มีมากมายอะไรนะ แต่อยากทำจริงๆ แล้วก็ตั้งใจจริงๆ ที่จะทำ ก็ เอ้า พอมีอยู่ ก็ดูว่าราคาสร้างพระพอไหวไหม อะไรแบบนี้ ก็รู้สึกว่าน่าจะพอไหว แล้วเรารู้สึกว่าไม่ได้เบียดเบียนใคร แล้วไม่เบียดเบียนตัวเองด้วย ไม่ได้ทำให้ครอบครัวมีฐานะตกต่ำลงอะไรแบบนี้ ก็ทำเลย คือตั้งใจเอาจริง ก็มาไถ่ถามจากเพื่อนๆ สหธรรมิก ญาติธรรมในแฟนเพจดังตฤณนี่แหละ ว่ามีใครรู้จักมั้ย วัดที่ยังขาดพระประธาน อยากทำจริงๆ แล้วก็ตามใจตัวเอง คือตามบุญของตัวเอง แล้วก็รู้สึกว่า ตรงนี้พูดง่ายต้องวัดใจกัน ต้องใช้กำลังใจกันด้วยเงินก้อนอะไรแบบนี้ ก็รู้สึกว่าประสบความสำเร็จทางใจ ไม่เอาเรื่องข้างนอกนะ ประสบความสำเร็จทางใจว่าได้ทำตามที่ใจต้องการ ตรงนี้ที่สำคัญ
คือพอเราสะสมเงิน สะสมทองมา แล้วเกิดความรู้สึกว่าสามารถใช้สิ่งที่เราสะสม ทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุญเรื่องการสร้างพระอย่างเดียว เป็นบุญชนิดอื่นๆ หรือเป็นการช่วยเหลือสังคม เป็นการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสบางกลุ่ม อย่างเด็กดอยไม่มีโรงเรียน ไปสร้างโรงเรียนให้เขา เขาไม่สามารถที่จะมามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้ชีวิตอะไรดีๆ ก็เอาความรู้ไปให้เขา แบบนี้ ก็เรียกว่า ทำของใหญ่สำเร็จเหมือนกัน ซึ่งบางทีไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่ว่ารวมกลุ่มกลับคนที่เขามีใจรัก ที่จะทำ แล้วก็ร่วมมือกันทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นมา
การที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ก็คือการตอบสนองความต้องการ ความปรารถนา ตั้งต้นอันเป็นสิ่งตั้งต้นของเรานั่นแหละ ก็กลายเป็นบุญใหญ่ได้เหมือนกัน
ฉะนั้นสรุปว่า ระหว่างการทำทานน้อยๆ หรือว่าการสะสมเงินก้อนเพื่อทำเรื่องใหญ่ เพื่อทำบุญใหญ่ ไม่ใช่ตัวประเด็นว่าเราจะได้อานิสงส์มากน้อยเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าใจของเรา กำลังใจ ความอยากจะทำ แล้วการที่ได้ทำสำเร็จ ตามใจปรารถนา องค์ประกอบพวกนี้สำคัญ มีส่วนสำคัญทั้งสิ้นเลย
ขอให้จำเป็นคีย์เวิร์ดไว้แล้วกัน ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เมื่อไหร่มีใจเลื่อมใสในการให้ทาน เมื่อนั้นเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำทานนะครับ คำว่าความเลื่อมใสนี่ก็คือ มีใจอยากช่วยนั่นเอง มีใจอยากช่วยใครแล้วช่วยสำเร็จ ตรงนั้นเป็นบุญจริง เป็นการให้ทานจริง แต่ว่าการเอาเงินไปหยอดกระปุก หรือหยอดใส่ตู้ตามวัด บางทีต้องสำรวจใจเหมือนกันว่า ตกลงเราได้ทำบุญจริงหรือเปล่า ใจกำลังคิดอยากช่วยอยู่หรือเปล่า
อย่างบอกว่าวัดนี้ดีนะ อยากจะหยอด เป็นค่าน้ำค่าไฟ นี่เรียกว่าอยากช่วย แต่ถ้าเพื่อนบอกว่า หยอดเสียหน่อยสิ ถือว่าเป็นการทำบุญด้วยกัน ตอนนั้นใจไม่ได้นึกอะไรเลย เพื่อนบอกให้หยอดก็หยอด หยอดตามหน้าที่ หยอดโดยใจแห้งๆ อยู่ หรือบางที บางคนคิดว่าเราจะหยอดไปทำไม บาท สองบาท เอาไปทำประโยชน์ได้หรือเปล่า หรือว่าใครจะเอาไปหรือเปล่า ลักขโมยไปทำอย่างอื่นอะไรต่างๆ พูดง่ายๆ ไม่ได้คิดเป็นบุญ แต่คิดในทางที่ฟุ้งซ่าน
ทำบุญตอนฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนี่ติดตัวไปด้วยนะ นี่พุดแบบให้คำแนะนำไปในตัวเลยนะ เมื่อใดก็ตามที่กำลังฟุ้งซ่าน ที่กำลังคิดไม่ดี อย่าเพิ่งทำบุญ เคลียร์ใจตัวเองให้ได้ก่อน ตกลงกับตัวเองให้ได้ก่อนว่าที่จะทำบุญเป็นไปเพื่ออะไร อยากช่วยใครอยู่ ใจมีความรู้สึกอยากช่วยไหม มีความรู้สึกเห็นดีเห็นงามอะไรบางอย่างที่จะไปช่วยเขาไหม
ถ้ายังมองไม่เห็นแล้วฝืนทำไป บางทีกลายเป็นต้นเหตุของการเกลียดบุญขึ้นมาได้ พอนึกถึงการทำบุญขึ้นมาทีไร นึกถึงความฝืนใจทุกที นึกถึงคำขู่ บอกว่าถ้าไม่ทำบุญ เดี๋ยวชาติหน้าจะอัตคัต จะเกิดมาแล้วไม่มีอะไร เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนะ
โอกาสในชีวิตของคุณมีอยู่เยอะแยะที่จะนึกอยากช่วยเหลือคน ถ้าหากว่าอยากช่วยใครแล้วช่วยทันที ให้ได้ตัวอย่างความรู้สึกชุ่มชื่นใจ แล้วเก็บมาเป็นนิสัยในการทำบุญ เห็นก่อนว่าเราอยากจะช่วยใครให้ได้ดีขึ้น ให้ได้ดีมีสุขมากขึ้น แล้วลงมือช่วยด้วยความฉลาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยกำลังทรัพย์ ด้วยกำลังแรงกาย ด้วยกำลังสมองที่เป็นตัวของเราจริงๆ เป็นชีวิตของเราจริงๆ เป็นต้นทุนในการทำบุญของเราจริงๆ ตัวนี้แหละที่จะได้ความชุ่มชื่นใจสูงสุด แล้วก็กลายเป็นเส้นทางของการมีนิสัยในการทำบุญแบบรู้ว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
ไม่อย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนยุคเราสมัยเรา เจอเยอะ เจ้านายมาเรี่ยไร เพื่อนมาเรี่ยไร หรือญาติพี่น้องบอกว่าไปทำบุญด้วยกัน เสร็จแล้ว บุญคืออะไร นึกไม่ออก ตรงนี้ก็กลายเป็นต้นเหตุให้ฝืนใจทำบุญ แล้วก็เกลียดบุญกันได้นะครับ!
สำนวนพระพุทธเจ้าคือบอกว่า มีความเลื่อมใสในการทำทานเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำทาน
อย่างบางคนบอกว่า ไม่มีเงิน เลยไม่มีโอกาสได้ทำบุญ นี่เข้าใจผิดมากเลย นึกว่าการทำทาน คือการต้องใช้เงิน
จริงๆ แล้วแค่ออกแรงช่วยคน อย่างเห็นคนหกล้ม ไปประคองเขาขึ้นมา นั่นก็เรียกว่าเป็นการทำทานแล้ว การให้แรงเป็นทาน การให้กำลังเป็นทาน
หรืออย่างเห็นเด็กหิวข้าว หิวน้ำ มายืนเกาะโต๊ะ แล้วซื้อให้เด็กกิน แค่อะไรที่ไม่กี่สิบบาท แล้วรู้สึกปลื้ม รู้สึกอิ่มยิ่งกว่าเด็กอีก ปลื้มไปเป็นวันๆ ปลื้มไปเป็นอาทิตย์ นั่นแหละ ตัวนี้คือเรื่องของการให้ผล เป็นความสุขอันเกิดจากการให้ทาน ณ เวลาที่เราอยากช่วย
บางทีการช่วยให้เด็กหายหิวพอทบทวนแล้ว เอ๊ะ ทำไมปลื้มกว่าตอนที่ไปทำบุญใหญ่ อลังการ คนยกให้เป็นหัวหน้านำสวด ถวายอะไรแบบนี้ ตอนนั้นกลับไม่ค่อยรู้สึกอะไร นี่แสดงให้เห็นที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส (คือ) ของจริงนะ
เมื่อใดก็ตามมีจิตเลื่อมใสคิดให้ทาน เมื่อนั้นคือเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำทาน ไม่ว่าจะเล็ก ไม่ว่าจะใหญ่
ทีนี้ตัวคำถามบอกว่า ทำทานน้อยๆ แต่ทำทานไปเรื่อยๆ ต้องถามตัวเองว่า อยากที่จะช่วยใคร หรือว่าแค่อยากจะทำบุญ
ถ้าแค่อยากจะทำบุญ สะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ลืม! ว่าเราสะสมไปเรื่อยๆ เป็นไปเพื่ออะไร เพื่อช่วยใคร แล้วใจเราอยากช่วยหรือเปล่า ถ้าลืมแบบนี้ ในที่สุดจะเกิดความเคยชิน เกิดความรู้สึกเฉยๆ ทำแล้วไม่เกิดความรู้สึกเป็นสุขอะไรขึ้นมาเลย
หรือถ้าบอกว่า เก็บเงินก้อนใหญ่ ไว้ทำเรื่องใหญ่ ก็ต้องถามตัวเองว่าระหว่างเก็บ มีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นแค่ไหน บางคนมีความมุ่งมั่นสูงมาก ว่าถ้าได้ก้อนนี้เท่าไหร่ จะไปทำแบบนี้ อย่างที่เห็นง่ายๆ ก็บอกว่า ชีวิตนี้อยากสร้างพระประธานสักองค์หนึ่ง อย่างผมเอง คือเมื่อหลายปีก่อน อยู่ๆ เกิดนึกขึ้นมา อยากได้ความชุ่มชื่นที่เกิดจากการสร้างพระประธาน แล้วก็ตั้งใจทำเลย
ตอนแรกตั้งใจทำองค์เดียว ตอนนี้ ก็มีเส้นทางของมันนะ คือก็กลายเป็นว่าได้เพื่อนร่วมแนวมาสร้างพระกัน ตอนนี้เป็นร้อยๆ องค์ ซึ่งตอนที่อยากสร้างนี่ ก็คิดเรื่องเงินนะ ว่า สมควรแก่ฐานะหรือเปล่า เพราะว่าผมก็ไม่ได้มีมากมายอะไรนะ แต่อยากทำจริงๆ แล้วก็ตั้งใจจริงๆ ที่จะทำ ก็ เอ้า พอมีอยู่ ก็ดูว่าราคาสร้างพระพอไหวไหม อะไรแบบนี้ ก็รู้สึกว่าน่าจะพอไหว แล้วเรารู้สึกว่าไม่ได้เบียดเบียนใคร แล้วไม่เบียดเบียนตัวเองด้วย ไม่ได้ทำให้ครอบครัวมีฐานะตกต่ำลงอะไรแบบนี้ ก็ทำเลย คือตั้งใจเอาจริง ก็มาไถ่ถามจากเพื่อนๆ สหธรรมิก ญาติธรรมในแฟนเพจดังตฤณนี่แหละ ว่ามีใครรู้จักมั้ย วัดที่ยังขาดพระประธาน อยากทำจริงๆ แล้วก็ตามใจตัวเอง คือตามบุญของตัวเอง แล้วก็รู้สึกว่า ตรงนี้พูดง่ายต้องวัดใจกัน ต้องใช้กำลังใจกันด้วยเงินก้อนอะไรแบบนี้ ก็รู้สึกว่าประสบความสำเร็จทางใจ ไม่เอาเรื่องข้างนอกนะ ประสบความสำเร็จทางใจว่าได้ทำตามที่ใจต้องการ ตรงนี้ที่สำคัญ
คือพอเราสะสมเงิน สะสมทองมา แล้วเกิดความรู้สึกว่าสามารถใช้สิ่งที่เราสะสม ทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุญเรื่องการสร้างพระอย่างเดียว เป็นบุญชนิดอื่นๆ หรือเป็นการช่วยเหลือสังคม เป็นการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสบางกลุ่ม อย่างเด็กดอยไม่มีโรงเรียน ไปสร้างโรงเรียนให้เขา เขาไม่สามารถที่จะมามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้ชีวิตอะไรดีๆ ก็เอาความรู้ไปให้เขา แบบนี้ ก็เรียกว่า ทำของใหญ่สำเร็จเหมือนกัน ซึ่งบางทีไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่ว่ารวมกลุ่มกลับคนที่เขามีใจรัก ที่จะทำ แล้วก็ร่วมมือกันทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นมา
การที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ก็คือการตอบสนองความต้องการ ความปรารถนา ตั้งต้นอันเป็นสิ่งตั้งต้นของเรานั่นแหละ ก็กลายเป็นบุญใหญ่ได้เหมือนกัน
ฉะนั้นสรุปว่า ระหว่างการทำทานน้อยๆ หรือว่าการสะสมเงินก้อนเพื่อทำเรื่องใหญ่ เพื่อทำบุญใหญ่ ไม่ใช่ตัวประเด็นว่าเราจะได้อานิสงส์มากน้อยเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าใจของเรา กำลังใจ ความอยากจะทำ แล้วการที่ได้ทำสำเร็จ ตามใจปรารถนา องค์ประกอบพวกนี้สำคัญ มีส่วนสำคัญทั้งสิ้นเลย
ขอให้จำเป็นคีย์เวิร์ดไว้แล้วกัน ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เมื่อไหร่มีใจเลื่อมใสในการให้ทาน เมื่อนั้นเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำทานนะครับ คำว่าความเลื่อมใสนี่ก็คือ มีใจอยากช่วยนั่นเอง มีใจอยากช่วยใครแล้วช่วยสำเร็จ ตรงนั้นเป็นบุญจริง เป็นการให้ทานจริง แต่ว่าการเอาเงินไปหยอดกระปุก หรือหยอดใส่ตู้ตามวัด บางทีต้องสำรวจใจเหมือนกันว่า ตกลงเราได้ทำบุญจริงหรือเปล่า ใจกำลังคิดอยากช่วยอยู่หรือเปล่า
อย่างบอกว่าวัดนี้ดีนะ อยากจะหยอด เป็นค่าน้ำค่าไฟ นี่เรียกว่าอยากช่วย แต่ถ้าเพื่อนบอกว่า หยอดเสียหน่อยสิ ถือว่าเป็นการทำบุญด้วยกัน ตอนนั้นใจไม่ได้นึกอะไรเลย เพื่อนบอกให้หยอดก็หยอด หยอดตามหน้าที่ หยอดโดยใจแห้งๆ อยู่ หรือบางที บางคนคิดว่าเราจะหยอดไปทำไม บาท สองบาท เอาไปทำประโยชน์ได้หรือเปล่า หรือว่าใครจะเอาไปหรือเปล่า ลักขโมยไปทำอย่างอื่นอะไรต่างๆ พูดง่ายๆ ไม่ได้คิดเป็นบุญ แต่คิดในทางที่ฟุ้งซ่าน
ทำบุญตอนฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนี่ติดตัวไปด้วยนะ นี่พุดแบบให้คำแนะนำไปในตัวเลยนะ เมื่อใดก็ตามที่กำลังฟุ้งซ่าน ที่กำลังคิดไม่ดี อย่าเพิ่งทำบุญ เคลียร์ใจตัวเองให้ได้ก่อน ตกลงกับตัวเองให้ได้ก่อนว่าที่จะทำบุญเป็นไปเพื่ออะไร อยากช่วยใครอยู่ ใจมีความรู้สึกอยากช่วยไหม มีความรู้สึกเห็นดีเห็นงามอะไรบางอย่างที่จะไปช่วยเขาไหม
ถ้ายังมองไม่เห็นแล้วฝืนทำไป บางทีกลายเป็นต้นเหตุของการเกลียดบุญขึ้นมาได้ พอนึกถึงการทำบุญขึ้นมาทีไร นึกถึงความฝืนใจทุกที นึกถึงคำขู่ บอกว่าถ้าไม่ทำบุญ เดี๋ยวชาติหน้าจะอัตคัต จะเกิดมาแล้วไม่มีอะไร เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนะ
โอกาสในชีวิตของคุณมีอยู่เยอะแยะที่จะนึกอยากช่วยเหลือคน ถ้าหากว่าอยากช่วยใครแล้วช่วยทันที ให้ได้ตัวอย่างความรู้สึกชุ่มชื่นใจ แล้วเก็บมาเป็นนิสัยในการทำบุญ เห็นก่อนว่าเราอยากจะช่วยใครให้ได้ดีขึ้น ให้ได้ดีมีสุขมากขึ้น แล้วลงมือช่วยด้วยความฉลาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยกำลังทรัพย์ ด้วยกำลังแรงกาย ด้วยกำลังสมองที่เป็นตัวของเราจริงๆ เป็นชีวิตของเราจริงๆ เป็นต้นทุนในการทำบุญของเราจริงๆ ตัวนี้แหละที่จะได้ความชุ่มชื่นใจสูงสุด แล้วก็กลายเป็นเส้นทางของการมีนิสัยในการทำบุญแบบรู้ว่า ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
ไม่อย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนยุคเราสมัยเรา เจอเยอะ เจ้านายมาเรี่ยไร เพื่อนมาเรี่ยไร หรือญาติพี่น้องบอกว่าไปทำบุญด้วยกัน เสร็จแล้ว บุญคืออะไร นึกไม่ออก ตรงนี้ก็กลายเป็นต้นเหตุให้ฝืนใจทำบุญ แล้วก็เกลียดบุญกันได้นะครับ!
ปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน วิธีรู้ว่าตัวเองทำบุญเด่นมาทางไหน
▶▶ คำถามช่วง – ถามตอบ ◀◀
30 มี.ค.2019
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น