EP 51 : 17 Jan
พี่ตุลย์ : ที่เราได้มาพบกัน
ได้มาทำความเจริญให้ชีวิตตัวเอง
ทำสติให้เจริญขึ้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน
แต่มีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบอยู่นะครับ
พวกเราเหมือนติดอยู่ในป่า
บางทีก็เหมือนรู้ทิศรู้ทาง ว่าต้องไปทางไหน
เลี้ยวซ้ายเจอเสือ เลี้ยวขวาเจอบ่อน้ำ
ขึ้นเหนือเจออาหาร ลงใต้อาจขาดแคลน
แต่ในที่สุดต้องมีจังหวะ ที่พวกเราถูกบีบให้หลงทางกันใหม่
ไม่รู้ทิศทาง
นี่คือเปรียบว่า ป่า เหมือนสังสารวัฏ
การรู้ทิศรู้ทาง คือจังหวะได้เกิดเป็นมนุษย์ และเป็นผู้ใหญ่
รู้ว่าจะเอาตัวรอดได้อย่างไร
หรือเข้าใจว่า จะทำจิตให้เป็นกุศลได้อย่างไร
แต่ในที่สุด ไม่ว่าใครก็ต้องถูกต้อนให้กลับไปเกิดเป็นเด็กใหม่
เด็ก คือชีวิตที่หลงทางในป่า ไม่รู้ทิศ
ต้องมีคนจูง มีคนประคบประหงม
ถ้าติดในป่า อย่างไรๆ ก็ต้องหลงทางกันอีก
แต่ที่เราทำกันอยู่ คือ
มีผู้ที่ออกจากป่าได้แล้ว เช่นพระพุทธเจ้า
เป็นกัลยาณมิตร ที่เป็นผู้มาให้เข็มทิศ
ให้แผนที่
ที่เราทำๆ กันอยู่ก็เป็นสิ่งที่พระองค์ให้ไว้
เป็นแผนที่จริงๆ ว่าจะออกจากป่าได้อย่างไร
คือไม่ใช่แค่รู้ทิศรู้ทาง
แต่ให้รู้ทางออกจากป่าเลย
ถ้าเราพากเพียร เดินต่อกันไม่หยุดในชีวิตนี้
ต้องออกจากป่าได้แน่
เพราะแต่ละคนจะมีจังหวะของตัวเอง
เราจะรู้อยู่ว่า ยังมีโอกาส มีเวลาที่จะออกจากป่าได้ทัน
------------------
มะยม
พี่ตุลย์ : อย่ารีบ อย่าให้เป็น
autopilot เกินไป
ขึ้นต้นมา ฝ่ามือกับลมหายใจ ต้องมีความสัมพันธ์กันทุกครั้ง
ถ้า autopilot จนไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างมือกับท่าอยู่ในใจ
จะพลาดจังหวะเป็นสมาธิไป
มนุษย์ธรรมดา ถ้าหลุดจากวิตักกะ วิจาระ จะกลับไปฟุ้งซ่านวันยังค่ำ
ไม่ว่าจะฝึกนานแค่ไหน
ฉะนั้น ขึ้นต้นทำในใจว่า รอบไหนก็ตาม
จะนับหนึ่งจากความสัมพันธ์ ระหว่างฝ่ามือกับลมหายใจ
ถ้ามีความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือกับลมหายใจได้
เราอุ่นใจได้ว่า การเริ่มต้นทำสมาธิ อยู่ในทิศที่จะเกิด
วิตักกะ วิจาระ
พอรู้สึกความว่างข้างหลัง รู้สึกสายลมหายใจข้างหน้า
ก็บอกตัวเองได้ว่า อยู่ในทิศที่จะเกิดวิตักกะแน่นอน
พอใจมีความสามารถหน่วงนึกถึงลมหายใจได้
ไม่กี่รอบก็จะเป็นวิจาระ
เพราะวิจาระคือ ความฟุ้งซ่านเบาลง หรือหายไป
เหลือแต่ใจว่างเด่นดวงอยู่
จังหวะมือวางราบบนหน้าตัก อาจนับ 1 2 3 ไปด้วยก่อนยกมือขึ้น
เพื่อให้ใจคงเส้นคงวา จะไปอุดช่องโหว่ในระหว่างวันได้
ระหว่างวันยังมีความเปราะบางอยู่ ซึ่งจะถูกขับเน้นให้เห็นชัดตอนนี้
เพราะใจเราเริ่มเป็นสมาธิได้ เริ่มสงบเย็น
แล้วก็ มีความรู้สึกบางจังหวะว่า ใจทรงนิ่งกับที่ได้
แต่พอออกจากโหมดนิ่ง มะยมจะรู้สึกว่า
ระหว่างวันยังมีความเปราะบางทางอารมณ์
จิตยังหาที่ตั้งที่มั่นคงแบบเนียนๆ ยังไม่เจอ
บางครั้ง ระหว่างทำสมาธิ รู้สึกสงบ นิ่ง เย็น มีความตั้งมั่นในระดับเริ่มต้น
คือ นิ่งเหมือนทรงกับที่ได้
เริ่มหาจุดศูนย์รวมได้
แต่ให้สังเกตว่ายังมีความโยกเยกอยู่
ซึ่งจะไปปรากฏชัดในระหว่างวัน
ตอนที่เรารู้สึกสวิง ระหว่างอารมณ์ชิวๆ สบายๆ นิ่งๆ
ได้
กับ อารมณ์เปราะบางอ่อนไหว
ให้ทำความเข้าใจว่า อยู่ในช่วง เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ใจยังเหยียบเรือสองแคม ระหว่างอยู่ในสมาธิ
กับที่เปราะบาง
ในระหว่างวันจะเห็นได้ถ้าหากมีอะไรมากระทบ
จะเปราะบางยิ่งกว่าช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นธรรมดา ในช่วงการเปลี่ยนแปลง
ระหว่างของเดิมที่เปราะบางมาก
กับของใหม่ที่ตั้งมั่นดีๆ
ถ้ายังตั้งมั่นไม่จริง เราจะเห็นในระหว่างวันชัดว่า
เหมือนสวิง
ระหว่างอารมณ์ดีๆ กับอารมณ์พร้อมอ่อนไหว
มะยม : คือกลับไปทำ
back to basic ใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : ขึ้นต้น ต้องให้แน่ใจว่า
ฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับลมหายใจตั้งแต่เริ่ม
ฝ่ามือหงายดันลมเข้า ฝ่ามือคว่ำลากลมออก ต้องไม่ลืม
อยู่ระหว่างวัน อย่างการเดินจงกรม เรายังไม่มีกำลังใจเดิน
ยังจับไม่ถูกว่าเดินอย่างไรให้มี วิตักกะ วิจาระ
เลยเป็นเหตุหนึ่งให้ฐานความรู้สึก ไม่อยู่ในสภาพที่จะลืมตาในระหว่างวันได้
การเดินจงกรม
คุณประโยชน์ที่สุดคือเป็นพรมแดนครึ่งๆ
ระหว่างการทำสมาธิเจริญสติ กับการอยู่ระหว่างวันธรรมดา
อยู่ระหว่างวันธรรมดา คือเปิดหูเปิดตา รับรู้อารมณ์กระทบ
เดินจงกรมก็เปิดหูเปิดตาเหมือนกัน
แต่ไม่ได้รับแรงกระทบเท่าอยู่กับคนอื่น
ส่วนนั่งสมาธิ คือการปลีกวิเวก
อยู่คนเดียว นั่งคนเดียว คิดคนเดียว รู้สึกคนเดียว
ทุกอย่าง ขึ้นกับคนเดียวนี้จะเลือกดูอะไร
ตั้งมุมมองไว้ตรงไหน
นั่นก็คือ ฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับลมหายใจ
มือหงายดันลมเข้า มือคว่ำลากลมออก
ถ้าจำทางเข้าได้ หนึ่งนาทีก็โอเค
แต่อยู่ระหว่างวัน ที่จะรู้สึกงง หันรีหันขวางจะสูงกว่าเป็นร้อยเท่า
มีอะไรมากระทบนิดเดียว พิสูจน์ได้เลยว่า
ใจเราแข็งจริงหรือยัง
บางทีจะรู้สึกเลยว่า ช่วงที่ผ่านมา อยู่ๆ
แค่คิดเองเออเอง ก็อ่อนไหวได้
หรือมีอะไรมากระทบให้รู้สึกไม่ดีหน่อย
จะคนใกล้ตัวหรืออะไรก็แล้วแต่ ใจจะ
sensitive
ก็กลับไปมีตัวตน ในแบบเรือกลางพายุ
จะคว่ำเมื่อไหร่ไม่รู้
เป็นตัวบอกในระหว่างวันว่า
จิตเราอยู่ในจังหวะที่
ยังต้องทำอะไรต่ออีกค่อนข้างเยอะ
แต่ที่จะทำต่อในจังหวะช่วงนี้ที่ดีคือ
มีฉันทะในการเดินจงกรมนิดหนึ่ง
อย่างนั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง อย่างน้อยเดินจงกรมสักสิบนาที
เพื่อเอาจิตที่เกิดสมาธิแล้ว ไปรู้วิตักกะเท้ากระทบ
อย่างน้อยในห้านาทีให้เกิด วิตักกะ
จะเพิ่มความเข้มแข็งของจิตใจ
และอุดช่องโหว่ที่เปราะบาง
เวลาอารมณ์ดี ดูด้วยว่าในระหว่างวัน
มีการหวงอารมณ์ดีๆ ไว้ไหม
ถ้ามีอารมณ์ดี มีสภาพจิตเป็นกุศลเบิกบาน
จะมีความรู้สึกหวงอารมณ์ดีๆ ไว้
สังเกตได้จากตอนที่เราไม่ได้อย่างใจ
หรือไม่เป็นไปตามปรารถนา จะสวิงไปอีกข้าง
ถ้าเราไม่ตั้งข้อสังเกตก็จะไม่เข้าใจตัวเองว่า
อารมณ์อ่อนไหวหรือเปราะบาง ตั้งต้นที่ตรงไหน
ถ้าอ่านออกบอกถูก ว่าพื้นจิตพื้นใจ
อารมณ์เราจริงๆ มาถึงไหนแล้ว
พิสูจน์จากเครื่องบอก ที่กำลังเป็นชีวิตปกติทุกวันนี้
มะยม : ใช่ค่ะผัสสะ
ที่กระทบแรงๆ ดูง่าย แต่กลับไม่อยากดู
พี่ตุลย์ : นี่แหละที่เรียกความเปราะบาง
เกิดจากการที่เราไม่อยากสู้ ไม่อยากยอมรับ ไม่อยากทน
จะสวิงไปมา
ถ้าเราเห็นภาพรวมเป็น timeline จะเห็นว่านี่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน
เวลาจะเปลี่ยนจากของเดิมเป็นของใหม่ มักจะมีการสวิง
ก็คิดให้เป็นการเทียบเคียงว่า ตัวเก่าที่ปวกเปียกหน้าตาเป็นอย่างไร
ตัวที่เหมือนอารมณ์ดีๆ เย็นๆ ชิวๆ
นิ่งได้จริงหรือเปล่า
ที่เราต้องการช่วงนี้คือสติ
ที่จะเห็นความเปราะบางที่เกิดขึ้น
แล้วรู้สึกอย่างไรภายใน
หรือพอทำสมาธิได้ รู้สึกดี แล้วหวงความสุขไหม
บรรยากาศชีวิตดีแน่ ถ้าแวดล้อมด้วยคนที่ไม่แก่งแย่งชิงดี
มีแต่อยากเกื้อกูล ไม่มีปัญหาหรอก
แต่ตรงที่เราอยากคาดหวังจะให้มันดีตลอดไปอย่างใจ
นั่นแหละ
ที่ต้องระวังคือใจเราเอง อารมณ์ของเราเอง
วิธีคิด ทิศทางเราเอง
ที่สำคัญ เวลาทำสมาธิ ควรตั้งในใจว่า
การทำสมาธิ แล้วสบาย ไม่ต้องขยับ เคลื่อนไหว
โอกาสเสพติดจะสูง
ถ้ารู้ตัวว่ายังเปราะบาง อยากจะเสริมความเข้มแข็ง
ให้เดินจงกรม อย่าขี้เกียจ
มะยม : เห็นพี่บอย
ก็อยากเข้มแข็งเหมือนเขา
พี่ตุลย์ : พื้นชีวิตคนต่างกัน
เทียบกันไม่ได้
ถ้าอยากได้อะไรเหมือนใครแค่จุดเดียว
ก็ต้องแลกเอาทุกสิ่งทุกอย่าง เอาความเป็นเราทิ้งไป
แล้วเอาความเป็นเขา มาเป็นตัวเรา
ทุกอย่างไม่มียกเว้น
ถึงจะเหมือนกันได้เป๊ะ
แต่ความเข้มแข็ง ตั้งมั่นของจิต มีได้เฉพาะตัว
มีได้เฉพาะสิ่งที่จะเกิดได้จริงในความเป็นเรา
ฐานชีวิตแต่ละคนมี setting
ที่ต่างกัน setting เรา แบบนี้
เพื่อไปถึงความตั้งมั่น มั่นคงทางใจ สู้กับความอ่อนแอเปราะบางของตัวเองได้
ต้องใช้วิธีเราเอง ใช้วิธีใครไม่ได้เลย
จะไปสู้ ด้วย setting คนอื่น
จะไม่ใช่
มะยมแค่หาจุดตัวเองให้เจอ ว่าวิธีไหน
ในนาทีหนึ่งๆ ถามตัวเองว่า
จะทำอย่างไรให้ใจตัวเอง
เลิกหวงความเปราะบาง ที่อยู่ข้างใน แล้วลุยไปข้างหน้าได้
ตอนก้าวออกไปจากอารมณ์เปราะบางภายใน
คือจังหวะที่จะโอเค
มะยม : เหมือนกลัวทำไม่ได้
พี่ตุลย์ : เหมารวมให้หมดเลยว่า
นั่นเป็นอารมณ์เปราะบาง
เราฝึกอานาปานสติกันมา มีความสุขหายใจออก มีความสุขหายใจเข้า
ถ้าทำตรงนี้ได้ ก็จะสามารถไปรู้ตรงนั้นได้เช่นกัน
ความเปราะบาง คือความทุกข์ชนิดหนึ่ง ก็กำหนดเลย
ยอมรับว่าทุกข์หายใจออก ยอมรับว่าทุกข์หายใจเข้า
ตอนกล้าๆ กลัวๆ รู้สึกตัวเองจะทำไม่ได้ ก็ดูไป
เหมารวมไปว่าทุกข์
ก็ดูไปให้เหมือนเวลา มีความสุขหายใจออก มีความสุขหายใจเข้า
ตอนนี้เรารู้สึก Safe ความรู้สึก
Safe นี่แหละ เป็นต้นเหตุหนึ่ง
เวลาเราหวงความรู้สึก Safe
แบบนี้ไว้
ทำให้เวลาสวิง จะเกิดความกลัว .. กลัวไม่
safe กลัวไปไม่ทันคนอื่น
อารมณ์กลัวถูกทิ้งตอนนี้แรงมาก
ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่เปราะบาง ที่ต้องการคนช่วยประคองไป
แต่ในเมื่ออยู่ตรงนี้แล้ว
จะให้นั่งแปะตรงนี้ก็คงไม่ใช่
ให้ถามตัวเองว่า วันนี้มีอะไรที่ต้องทำอีก เดินจงกรมหรือยัง
แล้วเดินแบบไหน เดินให้จบๆ หรือด้วย
passion
จะให้เกิด วิตักกะ วิจาระ จากการรู้จังหวะเท้ากระทบ
ดูเข้ามาที่ใจว่ากำลังฟุ้งหรือสงบ
ไปถึงตรงข้างบนว่างข้างล่างชัดไหม
ถ้ามีสักนาทีหรือสองนาที ที่บอกตัวเองได้ว่า
ข้างบนว่าง ข้างล่างชัดได้
ก็บอกตัวเองได้ว่า วันนี้เคลื่อนที่แล้วนะ ไม่สูญเปล่าแล้ว
มีการอุดช่องโหว่ของความเปราะบางแล้ว
ถ้าวันไหน มีความขยันที่จะเดิน บอกตัวเองเลยว่า
วันนั้น มีทิศทางที่จะออกจากความเปราะบางแล้ว
และถ้าไปถึง ความรู้สึกว่าข้างบนว่าง
ข้างล่างชัด
บอกตัวเองเลยว่าคืบหน้าไปนิดหนึ่งแล้ว
ถ้าจะพูดให้จำภาพตัวเองง่ายๆ
เหมือนเด็กที่อยู่ในอารมณ์ไม่ยอมโต
หวงความสุขที่อบอุ่น ที่ safe ที่จะมีคนอยู่แวดล้อม คอยพยุง
แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครอยู่แวดล้อมเราได้ตลอดหรอก
ทุกคน ต้องตายจากกันไปทั้งนั้น
-----------------------
หงส์
พี่ตุลย์ : ในชีวิตประจำวัน
รับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น
ทั้งในแง่การทำใจ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
และในแง่ของการคิด ว่าจะทำอย่างไร
จะไม่ถูกอารมณ์กังวลครอบงำเหมือนก่อน
และจุดหนึ่งที่ผมรู้สึกคือ พอทำในใจได้ว่า
อารมณ์แบบนี้รับมืออย่างไรด้วยอารมณ์แบบไหน
จะเหมือนโล่งอกว่าปล่อยผ่านได้ ระดับหนึ่ง
เหมือนจุดที่คา เราปลดล็อคได้ส่วนหนึ่ง
ทีนี้ ตรงที่คุณหงส์จะได้เป็นภาพรวมก็คือ
เราต้องทำสมาธิ ให้มีต้นทุนความสุข มีต้นทุนคือสติ
แต่ในระหว่างวัน ไม่ใช่ว่า ทำสมาธิได้ตอนเช้า
แล้วทั้งวันจะดีได้ตามสมาธิเรา
แต่จะดีได้ ก็ต่อเมื่อ
เราเอาความสุขจากการทำสมาธิ ไปเจริญขึ้นในระหว่างวัน
ช่วงทำสมาธิคือจิตต้นแบบ
แต่จิตที่จะเอาไปใช้เจริญสติของจริง ต้องอยู่ในระหว่างวัน
ตอนเจอเรื่องกระทบ ตอนเจอปัญหา
หรือตอนที่รู้สึกว่า สามารถที่จะจัดการอะไรได้
ไม่มีปัญหาไหนในโลกที่จัดการไม่ได้
ผ่อนหนักเป็นเบาไม่ได้
เราเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง เราแก้ไม่ได้ทุกปัญหา
หรือปัญหาเรื่องหนึ่งแก้ไม่จบในทีเดียวหรอก แต่ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
หรือทำให้ตัวเองเกิดความสบายใจได้ว่า
เรารับผิดชอบแล้ว จัดการแล้ว พยายามแล้วเต็มที่
ตรงที่เหลือหลังจากนั้น
มันพ้นมือมนุษย์คนหนึ่งไปแล้ว
มุมมองตรงนั้นจะไม่ใช่มุมมองแบบโลกๆ
แต่จะมาช่วยทำให้จิตเราเวลาเจริญสติ ทำสมาธิ
จะมีความมั่นคงมากขึ้น
เพราะที่ผ่านมา เวลาเราหงุดหงิด หรือยุกยิก
โผล่มา
แล้วเราทนไม่ได้ แก้ไม่ได้
พอเราจัดการกับอารมณ์แบบโลกๆ ได้
อารมณ์ยุกยิกหงุดหงิดขึ้นมาเอง
จะเป็นเครื่องรบกวนคล้ายแมลงหวี่ แมลงวันมาตอม
เราจะรู้สึกว่า จัดการกับอารมณ์พวกนี้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าอารมณ์ยุกยิกหยุมหยิม ผ่านมา
แล้วสามารถถูกมองว่า เป็นภาวะภายนอกที่เข้ามาประทบใจได้
ทุกข์หายใจออก ทุกข์หายใจเข้า
ซ้อมไปแค่นี้ก็จะจัดการได้ทุกอารมณ์เลย
อาการยุกยิก ลุกลี้ลุกลนในจิต
ถ้าถูกรู้แล้วหายใจออก หายใจเข้า
เหมือนกับที่เราสามารถเห็น
มีความสุข หายใจออก มีความสุขหายใจเข้า
เราจะผ่านด่านได้เกือบหมดเลย
หงส์ : ตอนนี้ปัญหามาก็เหมือนปล่อย
ทำดีที่สุดก็ปล่อยวาง
มีสติ หายใจเข้า หายใจออก ให้รู้ตัว
และพยายามเดินจงกรม
พี่ตุลย์ : แต่ตอนเดินจงกรม
ยังปล่อยให้คิด
ต้องมีธงนะ ว่าเดินจงกรมต้องให้เกิด วิตักกะ วิจาระ
แต่นี่บางทีเดินไปสามนาที ห้านาที
พอมีความคิดเข้ามาในหัวก็ปล่อยให้คิด
อย่าเอาสักแต่รู้ ยังไม่ได้นะ ต้องมีวิตักกะชัดๆ
ขึ้นมา
เวลาเดินอันดับแรกในใจ ต้องมีจังหวะเท้ากระทบ
ให้อยู่กับเท้ากระทบจนมีวิจาระ มีจิตใสใจเบา
อย่าไป autopilot
เดินแล้วไม่รู้ว่าคิด
กลับมาที่เท้าให้ได้
พอตั้งมั่นบ้างแล้ว จิตใสใจเบาบ้างแล้ว
จนความคิดรบกวนเหมือนแค่แมลงหวี่แมลงวัน
แบบนั้นค่อยไปดูความเคลื่อนไหวทางจิต
เห็นความคิดเป็นของแปลกปลอมเข้ามา แล้วก็หายไป
เดินแล้วสักแต่รู้ เป็นไปไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวะที่กำลังกลุ้มๆ
กลับมาที่เท้าก่อน
พอใจมีวิตักกะ และเกิดวิจาระบ้างแล้ว
ค่อยมาดูความกลุ้มเป็นของแปลกที่เข้ามาในจิต
และอยู่กี่จังหวะถึงหายไป แบบนี้ถึงดูได้จริง
หงส์ : ช่วงก่อนนี้
ฟังเสียงสติ จิตรวมเร็ว แต่ต่อมารวมช้าลง
ต่อมา ช่วงที่ไม่ได้ใช้เสียงสติแต่อยู่เงียบๆ
จะรู้สึก เหมือนมีคลื่นความถี่ดังในหัว ก็กลัว
เลยหยุดไป
พี่ตุลย์ : ตัวที่เกิด
เรียก เสียงติดหู
ถ้าหากเราไม่ใส่ใจ จะหายไปในไม่กี่วินาที
แต่ถ้าใส่ใจแม้แต่นิดว่า ได้ยินเสียงอยู่
แล้วกังวล พะวงกับมันแค่นิดเดยีว จะล็อคไว้เลย
เสียงติดหู เกิดขึ้นได้กับเพลงทุกชนิด
แล้วสมอง RANDOM
ด้วยนะว่าจะเอาเสียงไหน
หรือแม้แต่คำพูดใครที่กระทบใจจังๆ
ก็เป็นเสียงติดหูได้เช่นกัน
เราแค่ทำความเข้าใจว่า เสียงติดหู ไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย
แต่ความพะวงเราต่างหาก
ที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลง
อย่างถ้าอยู่ๆ มีเพลงดังในหัว แล้วเราไม่ชอบ
รู้สึกรำคาญ
ถ้าหงุดหงิดแม้แต่นิดเดียว ไม่อยากให้มันกลับมา
จะเหมือนไปให้อาหาร มันก็จะกลับมา
เหมือนกัน ถ้าฟังเสียงสติ แล้วอยู่ๆ
มีเสียงสติดังในหัว
แล้วไปกังวลว่าจะเป็นอะไรไหม แค่นี้ก็จะกลายเป็นอะไรใหญ่โตไปได้
ถ้าดูอารมณ์แบบคนปกติทั่วไปที่ไม่พะวง
อาจมีเสียงติดหูขึ้นมา ในระหว่างวันจังหวะสั้นๆ
แล้วถ้าไม่สนใจ หันไปสนใจอย่างอื่น
สักพักก็จะหายไปหรือลืมไป
เหมือนเพลงในหัว ที่อยู่ๆ replay ขึ้นมาเอง
ถ้าเราไม่ไปให้อาหารมัน
สนใจกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้า มันก็จะหายไป
อาจมีย้อนกลับมา แต่ถ้าไม่สนใจ ก็จะหายไปในที่สุด
ตามลักษณะมูลฐานคือ อนิจจัง อะไรๆ ไม่เที่ยง
ความพะวงต่างหากที่จะไปต่ออายุให้มัน
ของคุณหงส์ ไม่ว่าในชีวิตประจำวันหรือระหว่างทำสมาธิ
ต้องดูตัวหนึ่งที่เป็นตัวหลัก ที่ยังมีบทบาทความสำคัญในจิตคือความพะวง
ตราบใดที่ความพะวงยังอยู่ในใจ
ก็ยังมีช่องที่จะเล่นงานเราได้ตลอด
แต่ถ้าเราอุดช่องโหว่ได้จุดหนึ่ง
อย่างมีเสียงสติดังขึ้นในหัว แต่เราไม่สนใจ
เปลี่ยนโฟกัสไปอยู่กับสิ่งที่ต้องทำตรงหน้า ที่สำคัญกว่า
ถ้าฝึกบ่อยๆ คือมีเสียงติดหูขึ้นมา เราไม่สนใจ
ไปโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
บ่อยเข้าจะรู้สึกถึงความพะวงที่อ่อนกำลังลง
ทุกเรื่องเลย
ความพะวงจะรบกวนใจ
หรือดึงใจเราออกจากเรื่องเฉพาะหน้าได้ยากขึ้น
ความพะวงจะอ่อนกำลังลง
แต่ถ้าจะหายขาดคือ ถ้าโฟกัสกับงานอะไรก็แล้วแต่
แล้วใจไม่วอกแวกเลย
แม้มีเสียงติดหูเกิดขึ้น ใจตัดได้ทันทีโดยไม่ตั้งใจ
มองว่าเหมือนแมลงหวี่ ที่มอดดับเมื่อใกล้กองไฟ
ถ้าพิจารณาความพะวง คือสิ่งที่มีบทบาทความสำคัญในชีวิตเรา
เป็นทั้งอุปสรรคที่จะก้าวข้ามทั้งทางโลกทางธรรม
และเป็นตัวถ่วงความเจริญของสติ
ไม่ให้คืบหน้าได้ไกล
จะคล้ายตัวที่ดึงแขนขาไม่ให้ออกจากหล่ม
ถ้ามองออก แล้วเจริญสติแบบรู้เท่าทัน
พะวงหายใจออก พะวงหายใจเข้า
เราจะมาเจอใจที่ว่างจากความพะวง
ใจที่ว่างจากความพะวง
จะผลักดันให้เรารุดหน้าก้าวไปมากขึ้น
----------------------
หลิว
พี่ตุลย์ : ใจเบาลง
เริ่มไปในทิศทางที่จะเปลี่ยนจริง
อาการอยู่กับตัวเองมากขึ้น ใสเบามากขึ้น
เทียบเขาเทียบเราน้อยลงมากๆ
มีข้อดีอย่างไรกับเส้นทางเจริญสติ
นั่นคือ เราจะเห็นมาที่จิตจริงๆ ไม่ใช่เห็น
rank ไม่ใช่เห็นตำแหน่ง
สำหรับทุกท่านนะ ถ้าชอบเทียบเขาเทียบเรา
เวลาสำรวจเข้ามาจะไม่เห็นจิต
จะไม่เห็นภาวะตามความเป็นจริง
แต่จะเห็นตำแหน่งตัวเองก่อนว่าอยู่ตรงไหน
แซงใครได้บ้าง รั้งตามใครอยู่บ้าง
แต่พอเราเลิกพะวง เทียบเขาเทียบเรา
สิ่งที่เกิดเป็นธรรมดา คือเราเทียบกับตัวเอง
ไม่ใช่แค่เทียบวันนี้กับเมื่อวานด้วยนะ
แต่เทียบนาทีต่อนาทีเลย
นาทีนี้หนักขึ้นไหม นาทีนี้เบาลงไหม
นาทีนี้ ใสหรือขุ่น นาทีหน้า ใสหรือขุ่นขึ้น
เวลาเห็นภาวะตัวเองชัดขึ้นๆ
ในที่สุด จะมีสภาพอย่างที่หลิวประจักษ์ คือ
ใจเราจะเบา
จะเหมือนปลดสัมภาระส่วนเกินออกจากบ่าได้
พอปลดสัมภาระออกจากบ่าได้
ก็ตัวปลิว ตัวเบา คล่องตัวสูงขึ้น
มีสติคมกล้าขึ้น
คำว่าสติคมขึ้น ดูจาก เวลามีความคิดมารบกวน
เราสามารถจะเห็นได้ว่า เกิดเมื่อไหร่หายเมื่อไหร่
สติคมกล้า ไม่ใช่ต้องรู้อะไรตลอดเวลา
และไม่ใช่ว่าความคิดจะไม่เข้ามาในหัว หรือความฟุ้งซ่านจะหายไปเลย
แต่สติที่คม ทำให้ใจคิดเรื่องที่เป็นเรื่อง
และเอาเรื่องไม่เป็นเรื่องออกจากใจได้
พอเราเรื่องไม่เป็นเรื่อออกจากใจได้
เรื่องเป็นเรื่อง ก็เข้ามาสู่ใจแบบมีระเบียบ
ชัดเจน
และพอเรื่องไม่เป็นเรื่องเข้ามา ก็เห็นถนัดว่าเป็นแค่เครื่องรบกวน
เป็นภาวะแปลกปลอมไม่มีค่า ไม่มีราคาอะไร
เห็นไปเรื่อยๆ แบบไม่รีบร้อนจะเอาอะไรทั้งสิ้น
ตัวนี้แหละที่เป็นสัญญาณบอกว่าเราคืบหน้า และได้จิตแบบใหม่จริง
หลิว : วันนี้ตื่นเต้นค่ะ
พี่ตุลย์ : ตื่นเต้นไม่เป็นไร
แต่ถึงตื่นเต้นก็จะเห็นใจที่ต่างไป
ใจที่เคยคิดหน่วงเรื่องโน้นเรื่องนี้ไว้ตลอด ใสขึ้น
เบาลงจากเดิม
ปลดเปลื้องสัมภาระส่วนเกินทิ้งจากบ่า
หลิว : เมื่อกี้เบาอย่างเดียว
มองอะไรไม่ชัด
พี่ตุลย์ : ก็มองความเบานั้นแหละ
หลักการเจริญสติ อะไรที่ปรากฏเด่น ก็ดูโดยความเป็นอย่างนั้น
เราเห็นอะไรเด่น ระหว่างกาย เวทนา จิต ธรรม
เมื่อกี้จิตเบา เราก็ดู จิตเบาหายใจออก จิตเบาหายใจเข้า
จะมองเป็นสุขก็ได้ สุขหายใจออก สุขหายใจเข้า
แต่เมื่อกี้เราเห็นได้แล้วว่าจิตเบา ใส สว่าง
จะเรียกอะไรก็ได้ ขอให้อยู่ใน กาย เวทนา จิต
ธรรม
จะเรียกสังขารขันธ์ก็ได้ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศล
ถ้าอะไรเด่น เราเรียกชื่อถูก
จะเห็นว่ามันตั้งอยู่ได้นานแค่ไหน ก่อนที่ภาวะนั้นจะเสื่อมหายไป
การมีชื่อเรียกอย่างชัดเจนในช่วงแรกๆ
เป็นไปเพื่อความเข้าใจว่าเรากำลังเห็นอะไรอยู่
และสิ่งที่เห็นจะเสื่อมลงเมื่อไหร่
แต่ต่อไป พอเข้าที่เข้าทาง เราจำได้แม่นว่า
แบบนี้เรียกอะไร
กาย เวทนา จิต หรือ ธรรม ก็จะไม่มีเสียงพากย์ว่าเรากำลังเห็นอะไร
จะเห็นภาวะไปโดยไม่สงสัย และจะมีความเข้าใจลึกๆ
หลิว :
รู้สึกพะวงอยู่นิดๆ ว่ายังไม่สามารถดูจิตได้
ฉะนั้นลักษณะอะไรที่ปรากฏเมื่อกี้ จะตีเป็นความสุข
ไป
พี่ตุลย์ : ขึ้นต้นมา พระพุทธเจ้าถึงสอนให้ดูง่ายๆ
อย่าเพิ่งดูจิต ให้ดูเวทนาก่อน เพราะเวทนา
จะนำไปสู่จิตเอง
อย่างถ้าดูสุขเป็น แน่ใจได้เลยว่า
ตัวที่เป็นความสุข ถ้ามองเทียบเคียงว่าเป็นจิต
คือจิตกุศล หรือ อกุศล ก็จะได้คำตอบทันทีว่า
ต้องเป็นจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น ถึงจะมีความสุขได้
จะมีตัวพ่วง มีตัวที่อยู่ด้วยกันตรงนั้น
แต่เราจะเข้าใจหรือไม่เท่านั้นเอง
ถ้ามีความทุกข์กระวนกระวาย
ความทุกข์ตรงนั้นถามตัวเองว่า จิตเข้าข่ายกุศลหรืออกุศล
ก็ต้องตอบตัวเองได้ทันทีว่า อกุศล
จิตฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน ก็ตอบตัวเองได้ว่าฟุ้งซ่าน
ไม่อย่างนั้นไม่ทุกข์หรอก
การที่เราจะมองตรงนี้ออกว่า เราจะเรียกชื่อภาวะไหน
ไปเพื่อทิศทางใด
ตรงนี้สำคัญ อยู่ในช่วงที่จะเอาทิศเอาทางที่ตรง
ไม่ต้องแฉลบไถลไปไหน
การที่เราคิดว่าจะไม่มีวันเห็นภาวะได้
เป็นเพราะจิตถูกห่อหุ้มด้วยความฟุ้งซ่านหนาแน่น
แต่ถ้าเริ่มมีสมาธิ
เริ่มมีภาวะตั้งอยู่ให้เห็นได้
เช่น มีแต่ความเบาให้เห็น
แล้วเราเรียกชื่อไม่ถูก
ก็บอกลักษณะตรงนั้นแหละ
มีความเบาหายใจออก มีความเบา หายใจเข้า
จะเกิดสติได้เอง
ระลึกได้ว่า ความเบาเข้าข่ายความสุข หรือความทุกข์
ก็ตอบตัวเองว่าเข้าข่ายความสุข
และความสุขมีอะไรเป็นพื้นยืน ก็ต้องบอกว่า
กุศลจิต
ถามว่ากุศลจิตแบบนี้ ถ้าตั้งนานๆ เป็นสมาธิหรือฟุ้งซ่าน
ก็ตอบตัวเองได้ว่า เป็นสมาธิ
คำตอบ common sense
แต่เกิดขึ้นได้ยาก ระหว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ
เนื่องจากเราหลับตาไปปุ๊บ มีวิธีคิดอีกแบบ ไม่เหมือนตอนลืมตา
จะเหมือนคนหลงทาง เข้ารกเข้าพงกลางป่า
ตรงนี้ ถ้าเราเข้าใจได้ว่า หลับตา จะมีวิธีคิดไม่เหมือนลืมตา
แล้วเราจำหลักไว้ เป็นเข็มทิศบอกทาง ว่าจะต้องเลี้ยวซ้ายหรือขวา
เมื่อถึงทางสองแพร่ง
อย่างนี้ก็จะอยู่ในจุดถูกทิศถูกทางต่อไป
หลิว : บางทีก็ตั้งมั่น บางทีก็ไหวๆ แต่บางทีก็มีความสุขที่ใหญ่เล็กต่างไป
ถ้าอย่างเมื่อกี้ เวลาส่งการบ้าน จะไม่ค่อยเห็น
เห็นแค่เบาๆ
พี่ตุลย์ : ความเบา
ถ้าเบานาน ต่อเนื่องเรียก สมาธิจิต
ถามว่าเป็นอกุศลหรือกุศล
ต้องบอกว่าเป็นกุศลแน่นอน
หลิว : ใจชืดๆ
ไหมคะ เดี๋ยวนี้มีอะไรมากระทบ ความรุนแรงของการกระทบมันน้อยลง
พี่ตุลย์ : ตอนรู้สึกเฉื่อยๆ
ถามตัวเองง่ายๆ ว่า
อันดับแรก ในความเฉื่อยนั้น รู้สึกวางหรือยึด
อันดับสองคือ สามารถเห็นความไม่เที่ยง หรือ เห็นลมหายใจได้ไหม
ถ้าอาการที่ว่า ดีใจระดับสาม ได้กี่ลมหายใจ
ก่อนเหลือ ระดับสอง หนึ่ง หรือ ศูนย์
ถ้าเรายังสามารถเห็นความไม่เที่ยงของอาการดีใจได้
นั่นคือยังไม่เฉื่อยจริง ยังมีสติตื่นอยู่
แต่ถ้าระดับสาม แล้วก็ เอ่อ.. ยังสามต่อไปมั้ง ไม่หายไปไหน
แบบนี้ ไม่เฉื่อยจริง
ถ้าตราบใดสามารถเห็น ไม่ว่าจะใช้ลมหายใจประกอบหรือไม่
ว่ามีความแตกต่างได้ นั่นคือยังมีสติ
หลิว : น่าจะเป็นแบบแรกค่ะ
พี่ตุลย์ : นี่แหละ
ใช้ตัดสินตัวเอง ว่าเห็นความไม่เที่ยงได้ไหม
ถ้าเห็นได้ อยู่ในทิศทางการเจริญสติต่อแน่นอน
หลิว : รู้สึกสมาธิไม่แข็งแรง
แต่ในระหว่างวันทำไมเหมือนเห็นความไม่เที่ยงได้
พี่ตุลย์ : คนเราจะ
fix ไอเดีย พอนึกว่าตัวเองสมาธิไม่ดี ก็จะคิดว่าไม่ดีไปตลอดชีวิต
ตอนนี้ควร update ความคิดได้แล้ว
ความคิดความเชื่อ update
ได้เสมอ
นี่ก็เป็นอีกครั้งที่ควร update ครั้งใหญ่
ถ้าพบตัวเองเบาได้ต่อเนื่อง แบบเมื่อกี้ ปรับความเชื่อได้แล้วว่า
ที่คิดว่า จิตเราเป็นสมาธิไม่ได้นั่น
ไม่จริงแล้ว
ยืนยันได้จากเรารู้สึกเบาได้ต่อเนื่อง
และในความเบา เห็น เบาอยู่หายใจออก เบาอยู่หายใจเข้า
และทรงอยู่ ได้นานขึ้นๆ นี่คือการ update อีกครั้งว่า
จิตเราตั้งมั่น เข้มแข็งขึ้น
อยู่ในทิศทางที่เจริญมากขึ้นเรื่อยๆ
หลิว : สมาธิ
อยู่ที่เรารู้หรือไม่รู้ใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : อยู่ที่ตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่นได้นานหรือไม่นาน
ตั้งมั่นไม่ใช่หนักๆ ทึบๆ
อย่างที่เมื่อกี้เบาได้นาน ก็คือตั้งมั่นชนิดหนึ่ง
ช่วงนี้ไม่มีอะไรต้องปรับ แต่ให้ทำอย่างที่ทำ
เป็นช่วงน้ำขึ้น เป็นขาขึ้นของจริง
ขาขึ้นมีหลายแบบ ขึ้นแล้วรีบลง
หรือขึ้นแล้วค่อยๆ ลง
แต่ขาขึ้นของจริงจะขึ้นยาว ก่อนกลับตกลงมา
การรู้สึกถึงอาการขึ้นอาการลงไปเรื่อยๆ
เป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้าขึ้นยาว ก่อนที่จะลงมา
แปลว่าอยู่ในช่วงเจริญ
หลิว : พี่ตุลย์บอกให้ดูอาการเทียบเขาเทียบเรา
ตอนแรกไม่ได้คิดว่า serious กับมัน แต่จริงๆ เหมือนมันฝังในใจ
พี่ตุลย์ : คนเรามองไม่ออกหรอกว่ามีอะไรบังตาบ้าง
แต่ถ้ารู้ตัวว่านี่คือนิสัยไม่ดี
เป็นเครื่องขวาง และแกะออกไปได้
สังสารวัฏออกยาก คนไม่รู้ตัวว่า มีอะไรติดอยู่บ้าง
แต่ถ้าแกะออก ยอมรับได้ว่าเป็นเครื่องขวาง
อุปสรรค
พอแกะออกได้ค่อย อ๋อ ติดมาตั้งนาน
เพราะอย่างนี้เอง
เรื่องบางเรื่องเรามองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่
แต่ถามพระอรหันต์ท่านอาจบอกว่า
นี่เครื่องขวางนิพพานเลย
มีทุกคนแหละ ตราบใดยังไปไม่ถึง มีอะไรบังตาเสมอ
หลิว : บางเรื่องกลัวการโดนกระทบ
แต่ก็อยากโดนกระทบ
แล้วก็ตัดสินใจไปโดนกระทบเพื่อดูใจตัวเองค่ะ ทำแบบนี้ได้ไหมคะ
พี่ตุลย์ : อย่าไปอยาก
เอาให้เป็นธรรมชาติ
เพราะความอยากจะพาเราเข้าจุดเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว
เวลาโดนจังๆ จริงๆ แล้วเกิดความรู้สึกปวกเปียกอ่อนแอขึ้นมา
บางทีกลับยากนะ
แต่ถ้ามาเอง โดยไม่ได้อยาก ถือว่าเป็นแบบฝึกหัด
ถ้าอยู่ดีไม่ว่าดี ไปรนหาเรื่องแบบนี้ไม่ดี
แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือ แบบฝึกหัด
หลิว : บางทีไม่อยากอยู่ใน
safe zone ค่ะ
พี่ตุลย์ : โลกนี้ไม่มีใครอยู่ใน safe zone จริงๆ
ที่นึกว่าอยู่ใน safe zone
คือเป็นจังหวะชีวิตที่บุญเก่าให้ผล
แบบไม่ต้องเจอเรื่องกระทบใจ
แต่จะอยู่ใน safe zone
หรือมีบุญเก่าแค่ไหนก็ตาม
ในที่สุด จะพบว่าชีวิตโยนอะไรเข้ามาเป็นเครื่องกระทบเสมอ
แม้แต่อะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่น สมมติ ไฟดับ
ที่จะทำสิ่งที่ควรจะทำ ก็ทำไม่ได้ ใจเสียหายไป
เราเรียกว่าทุกข์
ทุกข์หายใจออก ทุกข์หายใจเข้าได้
ก็แสดงให้เห็นว่า ถึงจะอยู่ใน safe zone แค่ไหน
แต่ในที่สุดก็ต้องมีเครื่องกระทบ
ไม่ต้องรนหาเรื่อง เดี๋ยวก็มีมากระทบวันยังค่ำ
ขึ้นกับเราจะดูหรือไม่ดู หรือเคยชินที่จะไม่ดู
ถ้าชินที่จะไม่ดู เครื่องกระทบเหล่านั้น ก็จะเหมือนไม่เคยเกิดขึ้น
แต่ถ้าเราเฝ้าอยู่แล้ว ว่ามีอะไรมากระทบให้เกิดความรู้สึกขึ้นมา
ก็จะรู้สึกว่ามีเสมอ ไม่ใช่ไม่มี
ไม่ว่าจะอยู่บนหอคอยงาช้าง
ที่สุดแล้วบนหอคอยนั้น ต้องมีเศษฝุ่น หรืออะไรสักอย่าง
ที่ทำให้ใจเราเป๋หรือเปื้อน
เอาตามธรรมชาติดีแล้ว
หลิว : ห้องแคบมาก
ขอคำแนะนำเดินจงกรมทางสั้นๆ
พี่ตุลย์ : นับก้าวชัดๆ
จำให้ได้ว่าก้าวสั้นยาวแค่ไหน
ตั้งแต่ก้าวแรกถึงสุดท้าย นับให้เป๊ะๆ
แล้วหลับตาดู ว่าจะเดินได้ไหม
ถ้าหลับตารู้สึกเท้ากระทบ แล้วเดินตรงทางได้
จะเห็นใจที่ใสขึ้น เห็นความเป็นธาตุดินในกายนี้
จะเกิดการจำได้ว่าตำแหน่งนี้ อยู่ในอากาศพื้นที่ว่างประมาณไหน
บางทีอาจสัมผัสวัตถุได้ราวกับลืมตา ว่านี่ธาตุดิน
นี่วัตถุชิ้นหนึ่ง
ที่อยู่รายล้อมวัตถุ เป็นธาตุดินเสมอกัน
ถ้ารู้สึกได้ว่า กายกำลังวางอยู่บนธาตุดินอื่นๆ
มีความเป็นวัตถุเสมอกัน มีความเป็นธาตุดินเสมอกัน
การหลับตาเดินแม้ในที่แคบ ก็เป็นประโยชน์ได้
----------------------
น้าเพ็ญ
พี่ตุลย์ : ช่วงที่ผ่านมา
ใจครึ่งยึดครึ่งปล่อย
บางทีเกิดอารมณ์ยึดเอง แต่บางทีก็ใสเบา อุเบกขา
ปล่อย
ตัวครึ่งยึดครึ่งปล่อย ดูได้จากระหว่างทำสมาธินี่แหละ
ตั้งโจทย์นิดหนึ่งว่า กำลังเห็นอะไรชัดที่สุด
ระหว่าง ความสุข ที่มีความสบายผ่อนคลาย
หรือความทุกข์ที่อึดอัด ที่ยึดบ้าง ปล่อยบ้าง
แล้วสวิงไปมา ได้อย่างใจหรือไม่ได้อย่างใจ
ถ้านับเริ่มจากตรงนี้ มีความสุขหายใจเข้า
ความสุขก็นับเอาเหมารวม ความเบา สบาย ผ่อนคลาย
มีความสุขหายใจออก ประกอบพร้อมไปด้วยกัน
เห็นให้ชัดๆ ว่าเรากำลังรู้สึกถึงความสุขในรูปแบบไหนระดับไหน
จากนั้น หายใจออก จากนั้นหายใจเข้า
ที่ประกอบพร้อมกันไป มีความสุขหายใจออก
เป็นเรื่องธรรมดา ที่ว่าพอเราทำไป แล้วคืบหน้า
จะอดพะวงไม่ได้ จะต้องมีเป้าหมาย
ส่วนใหญ่พอเดินๆ ไป บางช่วงเรารู้สึกทุกอย่างดีหมด
อยู่ในทิศทางที่ควรจะเป็นไป รู้สึกจิตใสใจเบา
วาง ผ่อนคลาย
แต่พอเดินไปเรื่อยๆ เอ๊ะ ทำไมไม่ถึงสักที จะย้อนกลับมาพะวง
อาการพะวงจะแสดงออกมา ณ ขณะทำสมาธิ หรือระหว่างวันก็ตาม
จะมีอาการยึด
ถามว่ายึดอะไร
อาจไม่ใช่ยึดในสิ่งที่ต้องตกค้างในโลกนี้
แต่ยึดในสิ่งที่เรากำลังตั้งไว้เป็นเป้าจริงๆ
เช่น ทำให้ถึงความปลอดภัย เอามรรคเอาผล
เอาโสดาปัตติผล
เป้นเรื่องธรรมดาที่เราจะไปยึดไปพะวงในส่วนลึก
และยึดไม่รู้ตัว
ลักษณะที่เกิดขึ้น เวลาทำสมาธิ
จะออกมาในรูปของอาการที่ใจแน่นเล็กๆ ไม่ใช่ระดับยึดมั่นรุนแรง
แต่ในระดับที่เรารู้สึกถึงทุกข์ขึ้นมาเล็กๆ
ในบางจังหวะ
บางทีพี่อาจไม่ได้ตั้งใจคิดถึง แต่มีอาการพะวง
ลักษณะของความพะวงในสมาธิ มีได้คลายรูปแบบ
ถ้าพะวงหยาบๆ พะวงเรื่องโลกๆ แบบนั้นเรารู้ดี
แต่พะวงในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ในอนาคตที่มาไม่ถึง
จะดูยาก
เพราะบางทีมานิดเดียว
แต่นิดเดียวนั่นแหละ ถ้ามาบ่อยๆ
อาจกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่น ติดตามไปเหมือนเงา
รู้สึกไหมว่า เทียบกับช่วงที่เราปล่อยจริงๆ
ช่วงนี้จะมีอาการพะวง ยึดเล็กๆ มองเห็นไหม
เพ็ญ : เห็นในลักษณะของ
อย่างความว่าง ก็กลับเป็นมืดได้
พี่ตุลย์ : กลายเป็นความรู้สึกยึดๆ จากปล่อย
ทีนี้ถ้าเราไม่รู้ว่ายึดอะไรนั่นแหละ
จะยึดไปเรื่อยๆ
และอาการทางจิตในลักษณะแบบนี้ ระหว่างปล่อยกับยึด
เป็นสิ่งดูยาก
และยากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรารู้ไม่ทันแต่เนิ่นๆ
ว่ากำลังยึดอะไร
จะมีช่วงหนึ่งที่ใจพี่ปล่อย เหมือนไม่เอาอะไร
และทรงอยู่ในความรู้สึกว่างๆ อุเบกขา
ถ้าทบทวนดู จะไม่มีอาการที่เรารู้สึกถึงว่ามีอะไรที่น่ายินดียินร้าย
แต่ตอนนี้ ระหว่างวัน บางทีมีเรื่องอะไรน่ายินดียินร้ายกลับมาใหม่
มองเห็นไหม ระหว่างวัน ความยินดียินร้ายที่มากกว่าก่อน
เพ็ญ : มีบ้างค่ะ
ยิ่งถ้าหากบังเอิญเพื่อนโทรมาคุย ก็มีเรื่องเข้ามา
คือปกติไม่มีภาระ งานไม่เยอะ ถ้ามีเรื่องอะไรมาก็รีบทำ
พี่ตุลย์ : เทียบกับช่วงก่อนที่รู้สึกเบาจริง
ต่อให้เพื่อนโทรมา หรืออะไรจะเกิด จะรู้สึกใจคงเส้นคงวา
ว่าง วาง
แต่ตอนนี้ มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้น
ในระหว่างทำสมาธิ
ตอนพี่สามารถรู้สึกได้ถึงอาการยึด
แต่ไม่รู้ว่ายึดอะไร
ให้บอกตัวเองว่า อยู่ในทิศทางที่ไม่ได้เป็นอุเบกขาจริง
ไม่ปล่อยจริง
ยึดแล้วรู้สึกมืดๆ วูบๆ หรือจิตหรี่แคบลงมา
ยึดแล้วรู้สึกว่ามีอะไร เหนียวๆ
จะรู้สึกอย่างไรก็ตาม นั่นเรียกว่า มีสติรู้ทันอาการยึด
เมื่อมีสติรู้ทันอาการยึดขึ้นมา แค่บอกตัวเองว่า
อาการยึดหน้าตาเป็นแบบนี้
แล้วพออาการยึดคลี่คลายไป มีอาการปล่อย มีอุเบกขา
ขึ้นมา
ก็บอกว่า อาการไม่ยึดหน้าตาเป็นแบบนี้
จะได้มองเห็น
ไม่อย่างนั้น ช่วงที่ผ่านมา พอยึด
แต่พี่ไม่รู้ว่ายึดอะไร
แต่ถ้ารู้จะต่างไป
แล้วทีนี้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลการยึดคืออะไรที่แล้วแต่
มันจะค่อยๆ ปรากฏเป็นเหตุผลว่า ที่ยึด เรายึดเรื่องอะไร
พะวงเรื่องอะไร ไม่อย่างนั้นจะปล่อยผ่านไปเรื่อยๆ
อาการยึด หรือวาง ถ้าถูกมองเป็นอาการของจิต
ว่าอย่างนี้ยึด อย่างนี้ไม่ยึด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสังโยชน์
ในอายตนะบรรพ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เมื่อตาประจวบรูป
ให้รู้ว่าสังโยชน์ทางตาเกิดขึ้น
เมื่อเสียงประจวบหู แล้วเกิดอาการยึด
ก็ให้รู้ว่า สังโยชน์นั้นเกิดทางหู
หรือทำสมาธิ ใจอยู่ๆ ในไปยึดอะไร เข้า
แล้วเรามองเห็นว่า หน้าตาอาการยึดนั้น คือสังโยชน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ใจประจวบกับธรรมารมณ์ แล้วเกิดความยึด
ไม่ว่าธรรมารมณ์นั้น จะเป็นเรื่องดีไม่ดี
หยาบหรือละเอียด
แล้วเรามองเห็นว่า เกิดสังโยชน์ เกิดอาการยึด
แบบที่เราคุยกัน
ก็ถือว่าเรามองเห็นสิ่งที่ทำให้จิตไปหลง
ถ้าเห็นบ่อยๆ จะรู้สึกว่า หน้าตาสังโยชน์ ก็ไม่มีอะไร
มีแต่อาการผูกยึดโดยไม่รู้ตัว
แต่พอมีสติรู้ว่าหน้าตาการยึดเป็นแบบนี้
จะเหมือนสังโยชน์ เป็นเชือกที่หลุดง่าย
แต่ถ้าไม่รู้ บางทีเหมือนเชือกผูกไว้บางๆ แต่ไม่หลุด
--------------------------
ตู้
พี่ตุลย์ : สติในสมาธิดีขึ้น รู้ชัดขึ้น เหมือนมีลมหายใจกำกับ
สติคมขึ้นดีขึ้น
ระหว่างวัน เนื่องจากกำลังของใจเยอะขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ
เหมือนเวลาโกรธ มีโทสะ ก็จะแรงขึ้นด้วย
ตรงนั้นเป็นเรื่องธรรมดา จิตมีกำลังมาก
กิเลสจะเพิ่มเป็นธรรมดา
Point คือ เราอยู่บนทางสองแพร่งบ่อย บางทีแล่นตามความโกรธ
อารมณ์โกรธพาเราไปพูด พาไปคิดอะไรที่ไม่ดี
แล้วเราไปยอมตามมัน
แต่อีกแพร่งคือ เรารู้สึกความโกรธที่แรง
ก็ดูอยู่ แต่ดูแล้ว หายยากขึ้น
หลายๆ คนอาจงงว่า สมาธิดีขึ้น
แต่ความโกรธดับยากลง หรือดูแรงขึ้น
คนมักจะสงสัยแบบนี้
ทำสมาธิดีขึ้น แต่กิเลสแรงขึ้น ดูไม่สมเหตุสมผล
แต่จริงๆ นี่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง
เพราะกำลังสมาธิมากขึ้นเท่าไหร่ กำลังของจิตก็มากขึ้นเท่านั้น
จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน อะไรๆ ไหลมาจากใจ
ถ้ากำลังจิตแรงขึ้น
กำลังกิเลสที่ฝังอยู่ก็ย่อมแรงขึ้น
นั่นคือเหตุผลที่ถูกต้อง
แต่ขึ้นกับสติต่างหาก ว่าจะเลือกทางไหน
แพร่งที่ตามมันไป หรือ แพร่งที่รู้ว่ามันเกิดขึ้นและดับไป
ตรงที่เราจะตั้งทางเลือก จะไม่ใช่อยู่ๆ
ตั้งทางเลือกว่า
จะมีสติรู้นะ ว่าเกิดโทสะขึ้น
จะรู้นะว่าโทสะหายไป ไม่ใช่ง่ายแบบนั้น
โดยเฉพาะตอนที่รู้สึกว่า เรื่องนี้ต้องโวย
เรื่องนี้ต้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่เราคิด
เวลาที่มีอารมณ์ประมาณว่า ปล่อยผ่านไม่ได้
ตัวนี้แหละที่เราจะแล่นตามอารมณ์ แล้วรู้สึกว่าความโกรธดูแรงขึ้น
เหมือนมีความยืดเยื้อกว่าเดิม ห้ามใจยากขึ้น
หรือเห็นเป็นของไม่เที่ยงได้ยากขึ้น
แต่จริงๆ แล้ว ถามว่า สิ่งที่เกิดกับเรา
ดีหรือไม่ดี
ต้องตอบว่า มีทั้งดี มีทั้งเสีย
ดีคือ เรามีกำลังมากขึ้น ที่จะเห็นว่า มันเกิด
แต่ก่อน ตอนความโกรธเกิดขึ้น ตู้บอกเกิดอ่อนๆ
แต่จริงๆ มันเกิดเมื่อไหร่ไม่รู้ มันไม่ชัด
บางทีคุกรุ่นในใจตั้งนาน กว่าจะรู้
แต่ตอนนี้ ณ วินาทีที่มีไฟโทสะลุกฮือ เรารู้เลยว่าฮือขึ้นมา
และสติสามารถเท่าทัน
แต่เนื่องจากเรายังไม่ใช่พระอนาคามี
ใจก็เหมือนมีความโอนอ่อนผ่อนตามโทสะได้ง่าย
ฉะนั้นจะผลิตความคิดออกมาว่า
แบบนี้ต้องเอาเสียหน่อย
ตรงเอาเสียหน่อยนี่ มันพูดออกไปแล้ว พูดไปทันที
เห็นไหม .. ข้อดีมาพร้อมข้อเสีย
พอรู้ว่ามีโทสะขึ้นเมื่อไหร่
จะมีตัวปรุงแต่งขึ้นมาทันทีว่า
อันนี้ยอมไม่ได้ ต้องเอาเสียหน่อย
แต่ถ้าหากข้อดีนั้น มาบวกกันกับความตั้งใจ ความจงใจของเรา
ตั้งใจไว้ล่วงหน้า ก่อนเกิดเหตุนะ
ตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อใดที่รู้ตัวว่าเกิดโทสะ
แล้วมีอารมณ์ประมาณว่า เอาเสียหน่อย
เราจะมองความปรุงแต่งนั้นให้ทัน
ว่าเป็นอกุศลสังขารขันธ์
ถ้าตั้งในใจล่วงหน้าแบบนี้ จะรู้สึกว่า
อารมณ์อยากตามใจตัวเองจะน้อยลง
ถามว่า แล้วให้ทำอย่างไรต่อ
พอเห็นอกุศลสังขารขันธ์
จะให้ปล่อยเลยตามเลยหรือ?
ไม่ใช่ ให้ปล่อยเลยตามเลย เรายังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่
ยังต้องเข้าไปจัดการ หรือแม้เข้าไปชน
แต่ด้วยอีกอารมณ์หนึ่ง ด้วยสติที่เกิดขึ้นว่า
อกุศลสังขารขันธ์เกิดขึ้น
เมื่อก่อนเราต้องมีอาการโวย
แต่พอเห็นว่ามีอกุศลสังขารขันธ์เกิดขึ้น แล้วไม่จำเป็นต้องโวยก็ได้
อกุศลสังขารขันธ์นั้นจะดับไป
เพราะจิตมีกำลัง มีสติเห็น ณ วินาทีที่โทสะกำลังลุกฮือ
เห็นชัดๆ ว่าตัวนั้นอยู่ในอิริยาบถไหน
โทสะแรงระดับใด หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
ก็ต้องสามารถเห็นได้ด้วยว่า
ตัวอกุศลสังขารขันธ์ที่เกิดในรูปความคิด คิดอะไร
เช่นบอกว่า เรื่องนี้ต้องเอาเสียหน่อย
ปล่อยไม่ได้
เสร็จแล้ว ณ
เวลาที่อกุศลสังขารขันธ์ยังอยู่ในใจเรา
เวลาพูด จะพูดด้วยโทสะ
จะพูดด้วยอาการที่ปรุงแต่ง ณ ขณะนั้น
คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น
แต่ถ้าตั้งใจไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ตอนนี้
ว่าจะเห็นว่านั่นเป็นอกุศลสังขารขันธ์
สิ่งที่จะตามมา จะเป็นความรู้สึกว่า
อกุศลสังขารขันธ์นั้นยังอยู่หรือเปล่า
ถ้าอยู่ ก็ดูต่อ แต่ถ้าหายไป
ก็เห็นว่าใจสงบลงทันที
ทั้งที่ยังมีโทสะคุกรุ่นร้อนๆ
แต่อกุศลสังขารขันธ์นั้นดับไปแล้ว
มันดับไป เกิดอะไรขึ้น
พอเห็นว่า อกุศลสังขารขันธ์ดับไป
สิ่งที่อยู่ในใจเราอันดับต่อมา คือ เราจะเลือกได้ว่า
เราจะพูดอะไร
แต่ตอนที่อกุศลสังขารขันธ์ปรากฏในใจเรา แล้วเราพูดทันที
ตอนนั้นจะเลือกไม่ได้
นื่คือข้อดีของสติที่เข้มแข็งขึ้น
ข้อดีของจิตที่สะสม จากอานาปานสติ มีกำลังสติเพิ่มขึ้น
ทุกอย่างรวมในนั้นหมด
ทั้งความสามารถเห็น .. แบบ real time
ทั้งความสามารถที่จะรู้สึกว่า เรากำลังอยู่ในอิริยาบถไหน
อย่างถ้าทบทวนดู ตอนที่เรารู้สึกถึงโทสะตอนก่อตัวชัด
จะรู้สึกว่าเนื้อตัวอยู่ในท่าไหนอยู่ จะชัดเจน
เสร็จแล้วในความชัดเจน
เราจะสามารถเห็นได้เช่นกันว่า
อกุศลสังขารขันธ์เกิดขึ้น
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็คือ การทำไว้ในใจล่วงหน้าว่า
เมื่ออกุศลสังขารขันธ์เกิด เราจะดูว่า อกุศลสังขารขันธ์เกิด
เมื่อมันดับไป ตรงนี้แหละจะเป็นทางเลือกใหม่ว่า
จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะพูดอะไร
จะเห็นเลยว่า ณ ขณะนั้น จิตจะคัดคำที่ไปแก้ปัญหา
ไม่ใช่เพิ่มปัญหา
จะรู้สึกเลยว่า คำออกมาจากใจที่เย็น
ออกมาจากความรู้สึกว่า
อยากแก้ปัญหา ไม่ใช่เพิ่ม
เพราะที่ผ่านมา ด้วยอารมณ์ของเรา
มักไปเพิ่มปัญหามากกว่าที่เราต้องการ
พอเรามีกำลังจิตมากๆ ก็เอามาใช้ประโยชน์
แล้วยอมรับว่ากำลังจิตมากขึ้น โทสะแรงขึ้น
แต่ก็มีสติเท่าทันได้เร็วขึ้นเช่นกัน
และสามารถเห็น อกุศลสังขารขันธ์ ได้แบบ
Real time
ทุกอย่าง real time ได้หมด
ตอนที่มีกำลังของสติ
แล้วอย่างหนึ่ง เดี๋ยวดูเลยว่าจริงหรือไม่จริง
เราจะเห็นความฉลาดทางจิตของตัวเอง
แต่เดิมจะรู้สึกว่า อารมณ์มาครอบเมื่อไหร่
ความคิดความอ่านโง่ลงเมื่อนั้น
แต่ต่อไปจะเห็นเลยว่าพอเราเลือกได้
และเราเลือกจะเอาเป้าหมาย จะแก้ไข อะไรๆ
ให้ดีขึ้น
จะรู้สึกเลยว่า ความฉลาดมาจากไหนไม่รู้
บางทีไม่ใช่เราพูดตรงไปตรงมา
แต่จะใช้คำที่ บางทีไม่เกี่ยวกับสถานการณ์ตรงหน้าเลยก็ได้
แต่คำนั้นมัน work
สามารถจบปัญหาได้
มันเคยเกิดแล้วล่ะภาวะแบบนี้
แต่เดี๋ยวจะเกิดประจำ
อย่างที่เคยมีประสบการณ์มาแล้วล่ะว่า
บางทีไม่ได้ใช้คำตรงไปตรงมา แต่ใช้คำบางอย่าง
ที่สามารถแก้ปัญหาทางใจของคนอื่นได้
ตรงนี้ที่นักเจริญสติทั่วไปจะพบว่า ตัวเองมีความสามารถสูงขึ้น
ในการที่จะคิดออกว่าจะจบปัญหาตรงหน้าอย่างไร
ขอแค่เราเท่าทันสิ่งที่เป็นอุปสรรคเท่านั้นเอง
------------------------
นิ
พี่ตุลย์ : การเดินใช้ได้นะ มีวิตักกะ
แต่วิจาระคงต้องเกิด ตอนไม่ได้เดินหน้ากล้อง
ตอนมีต๊อกๆ ในใจ ให้อุ่นใจว่า มีวิตักกะ
เกิดแล้วแน่นอน
แต่วิจาระ .. เวลาเดินคนเดียว ถ้าวิจาระเกิด
จะสังเกตได้ว่า เราเดินด้วยความเบา ใส สบาย
เหมือนไม่มีภาระ มีเวลาเดินไม่จำกัด จะรู้สึกประมาณนั้น
มีความเพลิน รู้สึกดี
พอฟุ้งซ่าน ก็จะกลับมารู้สึกได้ว่า ความฟุ้งซ่าน
เหมือนร่างแหที่ครอบจิตเราได้ไม่หมด
ตัวที่เราเริ่มรู้สึกถึงความฟุ้งซ่านที่ครอบจิตเราไม่ได้
ถือเป็นวิจาระ ที่เริ่มมีกำลังมากขึ้นๆ
จะมีบางครั้ง เราเดินจงกรมไปตั้งนาน ได้แค่วิตักกะ
แต่วิจาระไม่มาสักที เหมือนใจยุ่งๆ อยู่
ก็ดูไปว่า เรียกจิตฟุ้งซ่าน มองให้เป็นจิต
ต่อไปนี้ การเดินจงกรมมาเป็น package เลยนะ
ว่า การเดินจงกรมรอบนี้ มีจิตฟุ้งซ่านโดยมาก
รอบนี้ มีจิตเป็นสมาธิโดยมาก
มองให้ออกอย่างนี้ก่อนว่า จิตฟุ้งซ่าน
กับจิตเป็นสมาธิ แตกต่างอย่างไร
เวลานึกถึงการเดินจงกรมจะได้นึกถึงจิต
จะได้รู้สึกว่า การเดินจงกรมแต่ละครั้ง เราเห็นจิตอะไรมาบ้าง
ไม่อย่างนั้น คนทั่วไปเวลาเดินจงกรม
จะถามตัวเองว่าเดินแล้วได้อะไร
จะเหมือนไม่ค่อยได้อะไร
มีฉันทะไม่เต็ม และไม่นึกอยากเดินเท่าไหร่
แต่ถ้าการเดินจงกรมแต่ละครั้ง
ได้สะสมจิ๊กซอว์ว่า
จิตฟุ้งซ่านหน้าตาแบบนี้ จิตมีสมาธิหน้าตาแบบนี้
การเดินจงกรมแต่ละครั้งไม่สูญเปล่า คือการเก็บจิ๊กซอว์
จะมีฉันทะมากขึ้นๆ เพราะเดินจงกรมแต่ละครั้ง ได้เห็นสภาพจิต
ของคุณนิ เมื่อเดินจงกรมไปบ่อยๆ
สิ่งที่เกิดเป็นธรรมดาคือ จิตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
จะมีลักษณะ ใสๆ เบาๆ สว่างๆ
อย่างตอนนี้ ในระหว่างวัน บางทีก็รู้สึกจิตเบา
ใส ขึ้นมาเฉยๆ
โดยเราไม่ต้องออกแรง ไม่ต้องพยายามตั้งสติมาก
ตรงนี้เราจะบอกตัวเองได้ว่า การเดินจงกรม
คือการถางทางไปสู่ชีวิตประจำวัน ในแบบที่จะมีสตินั่นเอง
มีจิตเป็นกุศล เป็นภาวะดีๆ ปรากฏ โดยไม่ต้องพยายามในระหว่างวัน
ในระหว่างวันก็ดูเหมือนตอนเดินจงกรมนั่นแหละ
บางรอบมีวิตักกะ อย่างในระหว่างวัน
บางทีมีเท้ากระทบในใจเองด้วยซ้ำ
หรือถ้าอยู่ๆ รู้สึกเงียบๆ ใจสว่าง ความฟุ้งซ่านครอบจิตยาก
แบบนี้ก็จะไม่ต่างจากเดินจงกรม
แต่ที่ยังไม่ได้ซ้อมตอนเดินจงกรมคือ
เมื่อมีเรื่องดีบ้างไม่ดีบ้าง มากระทบในระหว่างวัน
ให้มองเหมือนจังหวะ ต๊อกๆ ที่กระทบ เวลากระทบจะรู้สึกในใจ
ก็เหมือนกัน เวลามากระทบ
จะมีปฏิกิริยาอยู่ที่นี่ (ชี้บริเวณอก)
ก็ดูกระทบว่าเกิดที่นี่ ชัดแค่ไหน เกิดแค่ไหน
เมื่อไหร่หายไป
เหมือนคนปาหินลงน้ำ จะมีแรงกระเพื่อม
แล้วกระเพื่อมนั้น บางทีดูตั้งนาน
กว่าแรงกระเพื่อมจะหยุดลง และกลายเป็นสงบ
หรือพอมีก้อนหินก้อนแรกกระทบน้ำ
แล้วเราเองปาหินลงไปซ้ำที่เดิม ให้กระเพื่อมๆ
ไม่หยุด
เพราะกระทบจากภายนอก โดยมากจะเป็นครั้งเดียว
แต่กระทบจากที่เรานึกถึงเรื่องนั้น จะบ่อยกว่า
กระทบครั้งเดียวแต่เรานึกซ้ำเป็นร้อยครั้ง
เหมือนเราปาหินลงไปที่เดิม
การที่เรามารู้สึกถึงกระทบที่นี่ได้
จะมีจุดสังเกตชัดเจน ว่าจะดูที่ตรงไหน
แล้วคนถ้าไม่ได้เดินจงกรมจนเกิดตรงนี้ขึ้นมา
บางทีจะยาก
แต่ของเราจะดูง่าย ณ เวลานี้ดูง่าย
เพราะดูแล้วบางทีระหว่างวันมันเกิดตรงนี้
(ชี้บริเวณอก) ขึ้นมาเอง
เหมือนจำได้ มีต๊อกๆๆ อยู่
นี่แหละตำแหน่งเดียวกันเป็นที่รับกระทบ
เวลาที่เกิดอะไรขึ้นมาจะดูง่าย
นิ : อย่างนี้คือเวลามีอะไรมากระทบ
แล้วดูว่าจิตกระเพื่อมคือถูกแล้วใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : อะไรที่ดูง่าย มีแรงกระเพื่อมชัดๆ
เสร็จแล้วแรงกระเพื่อมหายไป กลายเป็นสงบเหมือนเดิม
ไม่ต้องดูอย่างอื่นเลย ไม่ต้องสงสัย
คือมาถูกทางแล้ว
ที่รู้ได้ง่ายเพราะเดินจงกรมนี่แหละ
นิ : ตอนนี้ รู้สึกเบาข้างใน
กลัวติดความสงบ
พี่ตุลย์ : ใครก็ตามที่กลัวเรื่องติดความสงบ ให้นั่งสมาธิเลย
ลงนั่งสมาธิตอนนั้นเลย แล้วดูว่า สุขหายใจออก
สุขหายใจเข้า
รับรองได้ว่าไม่มีทางติด ตราบใดที่มีลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ
มีสติ รู้ว่ามีความสุข หายใจออก รู้ว่ามีความสุข
หายใจเข้า
ณ ขณะที่เรารู้ลมหายใจ ไปกับความสุขแบบ 50:50
อย่างละครึ่งๆ
ให้สังเกตว่า ออกจากสมาธิ จะไม่อ้อยอิ่ง
จะไม่รู้สึกหวนอยากกลับไปหา
จะเหมือนว่าออกจากสมาธิ ก็ยังชุ่มฉ่ำเหมือนเดิม
คือ เวลาจิตเสื่อมลง หรือมีทุกข์เล็กๆ
จากใครมาพูดไม่ดี
ก็จะรู้สึกทุกข์ หายใจออก รู้สึกทุกข์ หายใจเข้า
ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับตอนเจริญอานาปานสติ
ไม่เห็นต้องหวงความสุขเลย
ก็มีสติแบบเดียวกัน อยู่ในทิศทางเดียวกันได้
ตัวนี้นะ ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกลัวเลย
นิ : ตอนแรกก็เหมือนกลัวแบบนั้นค่ะ
แต่พอนั่งแล้วเห็นตัวเองกลัว เห็นลมหายใจ
เข้าออก
เห็นมีแต่ลมที่ผ่านเข้าออก เลยรู้สึกว่าเราไม่น่าติดตรงนั้น
พี่ตุลย์ : เราก็พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว
ฟังพระพุทธเจ้ามาไม่ต้องห่วงเลย ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น
ไปถึงที่สุดแน่นอน
-------------------
เบิร์ด
พี่ตุลย์ : สดชื่น หายใจออก โปร่งเบา หายใจออก
พอมีความคงเส้นคงวา หรือพัฒนาการแบบจิตใสใจเบา
เย็นนิ่งเพิ่มขึ้น
ให้ล็อคกับตรงนั้นเลย สุขหายใจออก สุขหายใจเข้า
จะปีติ สุข หรือความชื่นบานอะไร ให้ล็อคตรงนั้น
พร้อมรู้ไปด้วยว่า ลมหายใจ กำลังปรากฏพร้อมกัน
ควบคู่กัน
ให้ดูว่าข้อดีของปีติคือ ทำให้ใจทรงตัว
ทรงอยู่ในภาวะที่เป็นสมาธิ
เวลาที่รู้สึกถึงปีติ ดูง่ายๆ ถามตัวเองง่ายๆ
ว่า ใจเรามีที่ตั้งไหม
ถ้ารู้สึกว่า จิตมีศูนย์รวม
มีจุดรวมอยู่จุดหนึ่ง
จุดของความว่างตรงกลางความรู้สึก ใจกลางอก
ไม่ใช่จี้ลงไปตรงจุดใดจุดหนึ่ง แต่มีความว่างแผ่ออกจากกลางอก
ถ้ารู้สึกถึงจุดศูนย์กลางนั้นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ
บอกตัวเองว่า เรากำลังเห็นอาการของจิตอยู่
หมายความว่า เปลี่ยนจาก รู้ว่ามีปีติหายใจออก
มีปีติ หายใจเข้า
มาเป็นรู้ที่จิตหายใจออก ตรงนี้นะ
ที่รู้สึกศูนย์รวมอยู่ตรงกลาง รู้ที่จิต หายใจเข้า
จะถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่า ศูนย์กลางรับรู้ ที่มีจุดรวม
มีความทรงตัวมากขึ้นๆ
ตัวนี้แหละจะทำให้จิตตั้งมั่น
หนักแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ
เห็นไหม ทุกอย่างรวมอยู่ในนั้นหมด
ความเบา ความใส ความรู้สึกเย็น สว่าง
ที่สำคัญสุดคือมีความตั้งมั่น
ตัวตั้งมั่นคือการที่เรารู้สึกถึงศูนย์กลาง
จุดศูนย์รวมอันเป็นที่ตั้งของจิตนั่นแหละ
ถ้าเรารู้สึกไม่เคลื่อน ไม่เซ ไม่เป๋ง่าย
เวลามีความฟุ้งซ่าน มีความคิดอะไรเข้ามา
แล้วรู้สึกว่า มันยังอยู่กับที่
ตัวนี้แหละที่จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะทำให้เราปลดล็อค
ทำให้เรารู้สึกว่า สามารถถอนจากอาการยึดความฟุ้งซ่าน
ถอนจากอารมณ์ทั้งหลายว่าเป็นเรื่องเรา
เป็นตัวเรา
เวลาที่จิตมีความตั้งมั่น พระพุทธเจ้าให้ดูว่า
ในขณะของความตั้งมั่น มีความตื่น มีความร่าเริงของจิต
ดูง่ายๆ ว่า จะโดนร้อยรัดหรือมีพันธนาการอะไรเกิดได้บ้าง
ถ้ามีพันธนาการหรืออะไรมาร้อยรัดได้ จิตจะเป๋
แต่ถ้าจิตยังไม่เป๋ แปลว่ายังร้อยรัดไม่ได้
ยังไม่ยึดมั่นถือมั่น
นี่แหละที่ท่านตรัสว่า
เราจักเปลื้องจิตหายใจออก เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
ตรงที่เปลื้องจิตเป็นอย่างไร?
ก็คือเราจะรู้สึกถึงใจ ที่ไม่มีพันธนาการ
เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
จิตไม่มีพันธนาการจะหน้าตาเปิดโล่ง ไม่มีหญิงชาย
มีแต่สภาพการรับรู้ที่คงเส้นคงวา
เหมือนมีศูนย์กลางการรับรู้ที่แน่นอน
เมื่อเกิดได้ครั้งหนึ่ง
แปลว่าจะเกิดได้อีกหลายครั้ง หรือกระทั่งทุกครั้ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจำทางเข้าได้
ไม่ว่านั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม จะเข้าจุดนี้ได้
และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ อยู่ระหว่างวัน
จะสามารถเกิดภาวะที่จิตมีความตั้งมั่น
และปลดเปลื้องตัวเองจากพันธนาการทั้งปวงได้
จะเผชิญกับสถานการณ์ใด ถ้าหากจิตตั้งมั่น
หรือตราบใดที่ศูนย์รวมสติอยู่ตรงกลางได้
จะเห็นว่าจะไม่มีอะไรมาครอบงำ หรือกดดัน
ให้เราต้องทำอะไรที่ออกอาการยึด ออกอาการทุกข์
แสดงว่าอยู่ระหว่างวันเราดูเป็นแล้วนะ
เพราะรู้สึกเหมือนข้างในโล่ง ไม่มีความติดค้าง
จิตที่ไม่มีความติดค้าง คือจิตที่จะดูแบบนี้ได้เรื่อยๆ
คือรู้สึกถึงความสุข หายใจออก รู้สึกถึงความสุขหายใจเข้า
จะเข้าอย่างรวดเร็วเลย
พอจิตสบาย ร่างกายผ่อนคลาย
มีความสุขหายใจออก มีความสุขหายใจเข้า
ไม่นาน จะรู้สึกถึงศูนย์กลางที่มีความรับรู้อยู่ตรงกลางๆ
แล้วก็ไม่เคลื่อนรู้สึกคงเส้นคงวาอยู่ตรงนั้น
มีการรับรู้ตรงนั้นได้ชัดเจน
เบิร์ด : ก่อนหน้านี้หลุดบ่อย
โดยเฉพาะเรื่องลูก รู้สึกยึดติด รู้ตัวช้า สิ่
งที่ทำให้รู้ตัวคือเห็นจิตกลับกลอก
พี่ตุลย์ : เทียบแบบนี้ .. เมื่อก่อน ยึดแล้วทุกข์
แล้วทุรนทุรายอยู่ข้างใน
แต่ช่วงนี้ เบิร์ดไม่ได้มีอาการทุรนทุราย
ยึดแล้วไม่ได้ทุกข์
แต่อย่างน้อย เกิดความรู้สึกได้ว่า ก็แค่นั้น
เดี๋ยวก็ผ่านไป
เบิร์ดบอกว่า ใช้เวลานานกว่าจะรู้สึกตัว
แต่พี่ไม่ได้รู้สึกว่านาน ขนาดยืดเยื้อจนเราทุกข์โดยไม่รู้ตัว
ถ้าเมื่อก่อน ทุกข์แล้วไม่รู้ตัวว่าทุกข์
จะยืดเยื้อไปทั้งวัน
ตอนนี้ จะแป๊บหนึ่ง แล้วเรารู้ตัวว่าวิตกกังวล รู้สึกหนัก
แต่หนักไปแป๊บหนึ่งก็จะนึกได้ว่า จะหนักไปทำไม
มีสติขึ้นมา
ต่างจากก่อนที่หนักแล้วไม่รู้ว่าหนัก ตอนนี้
หนักแล้วรู้ตัว แล้วก็ปล่อย
แต่ที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าเรามีสติจริงหรือเปล่าคือ
พอปล่อย จะรู้สึกว่าง รู้สึกวาง รู้สึกโล่งขึ้นมาแทนที่
แล้วไม่กลับไปหนักเท่าเก่าได้ง่าย
อาจคาใจอยู่บ้าง แต่ไม่ยืดเยื้อ ไม่ทุกข์ไปฟรีๆ
เมื่อก่อนทุกข์ฟรีทั้งวัน
เหมือนจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
หาทิศที่จะตั้งสติรับมือกับมันไม่เจอ แต่ตอนนี้เจอแล้ว
ตอนนี้ คลายไปแล้วจะรู้สึกโล่งขึ้น
แล้วก็กลับมาอยู่กับเรื่องราว ที่เป็นสาระตรงหน้าได้ดีขึ้น
ถ้าพื้นจิตพื้นใจเป็นแบบนี้ แปลว่า
เริ่มหลุดออกจากการเกาะกุมของอารมณ์ไม่เป็นเรื่อง
ซึ่งคนที่หลุดออกจากการเกาะกุมของเรื่องไม่เป็นเรื่อง
จะพบว่า
นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรมได้ง่าย ไม่มีอะไรมาคอยรบกวนจิตใจ
อย่างเมื่อกี้ พอดูไปว่า
มีความชื่นบานหายใจออก มีความชื่นบานหายใจเข้า
เหมือนเราย้ายตัวเองไปอยู่อีกโลกที่ดีกว่านี้
สงบกว่านี้ วิเวกกว่านี้
แล้วพอให้ดูไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่รวมศูนย์ได้
ที่ออกจากตรงกลาง
คือไม่ถึงขนาดว่า ความคิดหายไปจากหัวร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่จะรู้สึกถึงความคงเส้นคงวา คงที่
ตัวนี้แหละ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของจิตตั้งมั่น
และถ้าจิตมีศูนย์อยู่ตรงนี้ ติดตัวออกไประหว่างวัน
จะรู้สึกว่า อะไรเข้ามากระทบปุ๊บ จะยอมให้เกาะ
หรือไม่ให้เกาะ
ถ้าไม่ยอมให้เกาะจะ หลุดทันที และเหลือตรงนี้
(บริเวณใจ) ที่ว่างอยู่
แต่ถ้ายอมให้เกาะ คิดๆ หนัก
อ้าว..จะหนักไปทำไม ปลดออกก็ได้นี่ มันก็เปลื้องออก
ตัวนี้แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เราจักเปลื้องจิต หายใจออก เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
อยู่ตรงที่ว่าเราเลือกที่จะเปลื้องมันออกไปไหม
ถ้าเราเลือกจะเปลื้องมันออกไป จะรู้สึกว่าง โล่ง
เปิดโล่งมากขึ้นๆ จนกระทั่งจิตเปิดเผยตัวเองกับเรา
จะรู้เลยว่า ตอนดูเหตุ รู้ตรงไหน
รู้ตรงที่มันเปิดๆ โล่งๆ รู้อยู่ทรงตัวอยู่
รู้ว่าจิตมีความตื่น ความร่าเริง ตั้งมั่น
และสามารถปลดเปลื้องพันธนาการทุกชนิดออก ไปได้
ตัวนี้จะมีประโยชน์ในขั้นแอดวานซ์ต่อไป
คือเห็นความฟุ้งซ่าน แค่จรมาและผ่านไป
ไม่เที่ยง ก็เกิดความรู้สึกว่าตัวไม่เที่ยงสักแต่เป็นภาวะ
ของเบิร์ด โดยความรู้ ความเข้าใจ กำลังจิต
น่าจะเห็นอะไรๆ โดยความเป็นภาวะไปได้นานแล้ว
แต่เพราะเราใช้ความคิดแบบ สุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญาไม่ได้
จะไปติด
เท่าที่เห็น จะมีคนประเภทหนึ่ง ที่ฟังมากี่ร้อยกี่พันหน
เกี่ยวกับเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จะเห็นได้แค่อนิจจัง แต่ไม่ยอมรับว่าเป็นอนัตตา
แต่เมื่อจิตตั้งมั่น เห็นว่าความคิดผ่านมา แล้วเกาะกุมใจได้ไหม
หรือเราจะปลดทิ้งไป ใจโล่งขึ้นๆ
แล้วเห็นความคิดเป็นแค่ภาวะ ผ่านมาผ่านไป
นี่แหละถึงจะเห็นจริงๆ และยอมรับจริงๆ ว่า
ความคิดไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเรา
ที่ผ่านมาในระดับจิต เราเห็นว่ามันจรมาจรไป
แต่ยังไม่ยอมรับ จิตไม่เชื่อ
แต่ตอนนี้มีสิทธิ์แล้ว ถ้ารวมศูนย์ได้
ถ้าเห็นว่า ความคิดจรมา แล้วเกาะจิตไม่ได้ เราปลดไปได้
เห็นแล้วหายไป เห็นแล้วหายไปบ่อยๆ
จะทำให้รู้จริงๆ ว่าความคิดไม่ใช่เราจริงๆ
เบิร์ด : เข้าใจ
แต่ก็ยังสงสัยแวบหนึ่ง ติดอยู่ว่าจิตเป็นเรา
พี่ตุลย์ : นี่ไง ที่พี่บอกว่าที่ผ่านมา ตัวเรา
ทั้งเรื่องต้นทุนความเข้าใจ ทั้งกำลังของจิต
น่าจะเห็นได้ รู้สึกได้ตั้งนานแล้วว่า อะไรสักแต่เป็นภาวะ
ไม่ว่าจะจิตหรือความคิด ไม่มีตัวตน
แต่เข้าใจแบบติดในระดับความเข้าใจ สุตมยปัญญา
จินตามยปัญญา
ส่วนภาวนามยปัญญาที่จะเห็นได้ เบิร์ดต้องมาถึงตรงนี้เสียก่อน
และนี่คือจุดเริ่มต้น ที่จะเริ่มมองออกว่า
ถ้ามีศูนย์รวมของจิต จุดรวมศูนย์ของจิตตรงนี้
และจิตสามารถเปลื้องตัวเองออกจากพันธนากา รคือความคิดได้
ต้องเห็นซ้ำๆ บ่อยๆ ทั้งขณะทำสมาธิ และอยู่ระหว่างวันว่า
ความคิดเข้ามาแล้วครอบงำไม่ได้
จิตเปิดโล่งมากขึ้นๆ
จนรู้สึกจริงๆ ว่าจิตเป็นดวง เป็นประธาน
จะรู้สึกเหมือนมีอีกชีวิตภายใน ที่ไม่มีตัวใครในนี้
พอมองซ้ำๆ ว่า ความคิดจรมาแล้วเกาะกุมไม่ได้
เกิดแล้วต้องหายไป
ซ้ำกันเป็นพันๆ หมื่นๆ ครั้ง
จิตถึงจะยอมรับจริงๆ ว่า ความคิดไม่ใช่เรา เป็นแค่ภาวะ
และตัวจิตจะมองตัวเองว่า เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็ตั้งมั่น เดี๋ยวก็โยกโคลง เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่าน
เดี๋ยวก็เปิดโล่งได้
ก็จะเห็นว่า แม้จิตเองก็ไม่ใช่เรา
เป็นแค่ภาวะอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นแล้ว
พอเรารู้สึกความสุขหายใจออก รู้สึกความสุขหายใจเข้า
จนเริ่มเสถียร
ตรงนี้คือสัญญาณบอกว่าเดี๋ยวอะไรๆ จะเข้าทาง
--------------------
น้ำอบ
พี่ตุลย์ : balance เริ่มดี ใช้ได้นะ
แม้แต่เรื่องโลกๆ
เราก็สามารถเห็นว่าเป็นภาวะหนึ่งก่อตัวขึ้น
แล้วเริ่มไม่แบ่งแล้วว่า นี่เป็นอารมณ์โลกๆ ในระหว่างวัน
หรือว่านี่มีจิตอยู่ในสมาธิ แต่ไปด้วยกัน
แล้วรู้สึกสักว่าเป็นภาวะก่อตัว ให้เรามีสติรู้
ให้มีสติดู
พูดง่ายๆ ว่า ใช้ชีวิตแบบโลกๆ แต่มีสติรู้สภาวะธรรมแบบวูบๆ
คือไม่ได้ตลอดเวลานะ เป็นไปไม่ได้
แต่รู้วูบๆ ตอนตะกอนขุ่นขึ้นมา
หรือจิตมีอาการยื้อๆ
เรา เห็นเป็นภาวะได้มากขึ้น
ทุกภาวะสามารถเอามาเจริญสติได้หมด
แต่คนจะเข้าใจไหมว่านั่นเป็นสภาวะ ตัวตั้งนี้สำคัญมาก
ถ้าเราเข้าใจว่าอะไรๆ ที่เป็นตะกอนนอนก้น
สามารถขุ่นขึ้นมาได้
หรือมีอะไรมากระทบ แล้วฟุ้งขึ้นมาเป็นภาวะได้มากขึ้นๆ
ก็จะเหมือนคนที่เก็บจิ๊กซอว์ได้มากชิ้น
หลายคนที่ปฏิบัติไป แล้วเหมือนตันอยู่ มีแค่สมาธิ
เพราะไม่เข้าใจว่า จะเอาสมาธิไปใช้ดูอารมณ์ในระหว่างวันได้อย่างไร
เพราะมีบางตัวที่ปราบเซียน ดูอย่างไร สติก็ไม่ชนะ
หรือเวทนาเอาไปกิน หรือความฟุ้งแรงเกินกว่าที่จะตั้งสติดูได้
คนส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น
แต่ถ้าเราเข้าใจในระดับที่ อยู่ในสมาธิ เห็นแล้วว่า
จิตตั้งมั่น กายใจแยกกัน ใจใส เบา เป็นผู้ดู
เห็นว่ารูปอยู่ส่วนรูป นามอยู่ส่วนนาม
แบบนี้ ง่าย ทำได้ ไม่มีอะไรมารบกวน
แต่ที่ยากคือตอนระหว่างวัน ถ้าเราสามารถเอาทั้งสมาธิ
และความเข้าใจในการดูไปอยู่ในระหว่างวันได้
เมื่อนั้น ระหว่างวันจะเป็นสนาม เป็นพื้นที่ปฏิบัติจริง
ตัวนี้แหละที่จะเกิดปัญญาแบบพุทธได้
อย่างของเรา พอเกิดความฟุ้ง หรือความผิดปกติทางใจ
เราสามารถเห็นเป็นสภาวะได้บ่อยขึ้น
และเข้าใจจริงว่ามันเป็นสภาวะอย่างไร เห็นความไม่เที่ยงได้
สิบครั้ง เห็นได้สองสามครั้ง ก็มีประโยชน์มหาศาล
จะพัฒนาขึ้นเห็นจริงได้ถี่ๆ ได้บ่อยๆ
น้ำอบ : เป็นอย่างที่พี่ตุลย์บอกค่ะ
ตอนแรกยังสงสัยว่า จะเอาสมาธิมาใช้อย่างไร
แต่ตอนนี้ รู้แล้วว่ากำลังสมาธิที่มี
เอามาใช้สู้กับโลกอย่างไร
เข้าใจจากปัญญาจริงๆ
เรื่องที่มากระทบแต่ละวัน
เมื่อก่อนก็คิดเองว่าเข้าใจ คิดว่าเป็นธรรมดา
แต่พอเข้าใจจากจิต จะมองต่างไป
พี่ตุลย์ : เห็นความฟุ้งยุ่งเกิดในจิต ก็ดูว่าเป็นสภาวะอย่างไร
เพราะพอจิตมีกำลัง จะสามารถเห็นส่วนเกินของจิตได้
แต่ตอนจิตไม่มีกำลัง จะเป็นส่วนเดียวกับความฟุ้ง
ยังดูไม่ออก
แต่ตอนนี้จิตอยู่ส่วนจิต แล้วความฟุ้งเกิดขึ้นมา
เรามองเห็น คือ ณ จุดที่มันก่อตัวขึ้นอ่อนๆ
จะเห็นได้ง่าย
และจะเห็นว่าแป๊บหนึ่งก็หายไป
แต่ถ้ามันก่อตัวแบบยักษ์ปักหลั่นแล้ว สติเราก็สู้ไม่ไหว
น้ำอบ : เมื่อวานเดินจงกรม
เมื่อก่อนจิตจะออกไปข้างนอกเยอะ
แต่เมื่อวาน เดินไป ทั้งแมว ลูก อยู่รอบข้างก็อยู่ไป
ยังรู้สึกเท้ากระทบ ปากคุยกับลูก
แต่จิตก็ยังอยู่กับเท้ากระทบ
พี่ตุลย์ : ถ้าเดินแบบมีศูนย์กลางสติ
มีจุดใช้อ้างอิงว่าเรากำลังมีสติอยู่
จะเกิดอะไรมาแทรก หรือรบกวน มาทำให้เป๋ไป
ศูนย์กลางนั้นจะไม่หายไปจากจิต
และถ้าศูนย์กลางนั้นไม่หายไปจากจิต บอกตัวเองได้เลยว่า
เรากำลังเห็นภาวะที่กำลังปรากฏอยู่ โดยความเป็นรูปนามได้
อย่างลูกคุยด้วย
อาจยึดว่าลูกคุย และมีตัวเราเป็นผู้คุย
แต่ถ้า
ณ จุดนั้น พลิกจิตนิดเดียว ดูว่า
ภาวะที่กระทบอยู่ เกิดวิตักกะอยู่
และสิ่งที่นอกเหนือวิตักกะ ความปรุงแต่งนอกเหนือวิตักกะ
เป็นอะไร
คือมีตัวหนึ่งพูด หรือมีตัวหนึ่งอยู่ในจังหวะฟัง
ความปรุงแต่งทั้งตัวพูดและฟัง
จะถูกรู้ถูกดูทันที
โดยความเป็นต่างหากว่า ภาวะคิด พูด หน้าตาเป็นอย่างหนึ่ง
ภาวะคิดที่จะฟัง หน้าตาเป็นอีกอย่างหนึ่ง
การแยกต่างหากชั้นๆอย่างนี้
จะเป็นจุดเริ่มให้เห็นกายใจโดยความเป็นรูปนาม
------------------
พงศ์
พี่ตุลย์ : ตอนอยู่ระหว่างวัน จิตเหมือนครึ่งๆ เกือบเป็นอิสระ
รู้อะไรได้ตามจริงแล้ว ไม่ต้องตั้งใจ
ไม่ต้องกำหนด
ก็เหมือนรู้สึกถึงใจที่เปิดโล่ง อารมณ์โดยความเป็นของกระทบ
มีการกระทบจิต สามารถปลดเปลื้องอารมณ์กระทบได้เร็ว
แต่ก็ยังครึ่งๆ ไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอด
ขอแค่สะสมกำลังเพิ่มขึ้นทั้งอยู่ระหว่างวัน
และตอนทำสมาธิ
ตอนนี้
รู้ว่ามาถูกทางแล้ว เพราะรู้สึกว่าจิตเป็นอิสระ
รู้สึกใจปลอดโปร่ง
พร้อมรับกระทบตามจริง
รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในจิตตามจริง
แต่เดิม
จะพยายามที่จะเป็นไปอย่างที่เราคิด
หรือตั้ง
spec ไว้ว่าจิตควรจะรู้อย่างไร
แต่ตอนนี้ความปรุงแต่งทางความคิด
ลดลงฮวบฮาบ
เหลือจิตที่เป็นอิสระอยู่
รับรู้กระทบ
แต่ในระหว่างวันจิตยังไม่ได้ตั้งเป็นสมาธิ
ได้แบบตอนนั่งสมาธิ
โดยทิศทางคือ เราทำสมาธิ เดินจงกรมมากขึ้นๆ
ในทิศทางที่ความคิดในหัวจะเงียบ
ตอนนี้บางที ครึ่งๆ กลางๆ แต่ไม่เป็นไร
อยู่ในโลกก็ต้องครึ่งๆ กลางๆ แบบนี้
พอมีเพื่อนดีๆ ก็จะเป็นธรรมดาแหละ ที่เราจะมีความสุข
อยู่กลับกลุ่มที่ใช่ รู้สึกมีความเป็นตัวของตัวเอง
แล้วก็รู้สึกได้เกื้อกูลคนอื่น
และคนอื่นเป็นกำลังใจให้เราด้วย
อันนี้ดีแน่นอน
เพราะที่สร้างห้องมาก็เพื่อจุดประสงค์นี้
ทีนี้ เราดูว่าถ้าใจไปข้อง พะวงกับคน
หรือกับเรื่องโลกๆ ทั้งหลาย
ก็คืออีกครึ่ง ที่ทำให้จิตเรายังไม่เป็นอิสระเต็มขั้น
แค่ดูเฉยๆ ว่านี่แหละเหตุปัจจัย
และดูว่าจังหวะไหน ที่ใจเราทิ้งความพะวง ความข้องเกี่ยวได้จริง
ก็คือลักษณะของใจที่เปิด เป็นอิสระได้จริง ที่จะรู้สึกถึงกระทบตามจริง
และรู้สึกถึงความเข้าใจ ที่แก่นข้างในว่านี่คือจิต
ที่ผ่านมา ระหว่างวันเริ่มเข้าใจว่า จิตอยู่ไหน
อยู่ตรงที่มันรู้ เปิดโล่ง เป็นอิสระ พร้อมกระทบ
แล้วถามว่ากิเลสเกิดตอนไหน
ก็เกิดตอนที่มีกระทบเข้ามาแล้ว มีอาการแล่นตามไป
อันนี้มองเห็นแบบ 30:70
70 ยังข้องอยู่ แต่ 30 ที่เกิดได้ นี่คือพิเศษแล้ว
แต่ก่อนไม่มีตรงนี้ แต่ก่อนอยู่ระหว่างวัน
จะคิดเองเออเอง
และตั้งสเปคไว้ว่า เราต้องรู้อย่างไรถึงจะถูกต้อง
ถึงแม้ว่าจะผ่านที่ถูกจริงๆ มา และที่อยู่ในสเปค
แต่ตอนนี้ต่างไป
จะเห็นว่าไม่มีการตั้งสเปค แต่เวลารู้ รู้จริงๆ
รู้จากใจที่เปิดโล่ง แล้วก็ปล่อยจริง
ไม่ได้แกล้งปล่อย
เมื่อก่อนจะมีอาการ .. ข้าปล่อยได้ แอ็คๆ ข้างใน
แต่ตอนนี้ จะปล่อยเลยจริงๆ ก็ดูไปว่า
ตอนนี้ 30:70 จะขึ้นเป็น
40 หรือ 50 ได้ไหม
พงศ์ : มีสภาวะที่อยากเล่าคือ
นั่งสมาธิ รู้ลมหายใจ จิตเป็นวิตักกะ วิจาระ
แต่มีภาวะหนึ่งจิตดิ่งวูบ
แต่ไม่ได้แรงเหมือนตอนทำ อารัมมณูปนิชฌาน
แล้วสว่างโพลง เห็นว่าตรงนี้คือจิต
ตรงนี้ตัวผู้รู้ ตรงนี้คือความคิด
ตัวผู้รู้นั่งดู ส่วนความคิด เหมือนฟองน้ำที่วิ่งเข้ามากระทบ
ชนที่จิต แต่จิตไม่ซึมฟองน้ำ ก็เด้งออกมา
บางทีความคิดก็สลายไป แล้วตัวผู้รู้ ที่พยายามดู
ก็มองว่าตอนนั้นคิดอะไรอยู่ รู้สึกว่า
ตัวรู้อยู่ส่วนหนึ่ง ความคิดอยู่ส่วนหนึ่ง
และจิตอยู่อีกส่วน
สักพัก เหมือนเกิดอุเบกขา รู้สึกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
นึกถึงคำพูดอาจารย์ที่ว่า
แม้ว่าจิตจะพิสดารเพียงใด
สุดท้ายก็เป็นแค่จิตดวงหนึ่ง
ที่จะต้องเสื่อมสลายไป
ก็เลยไปพยายามหาคำตอบ
ตอนที่ผมเห็นจิต เห็นความคิด และตัวผู้รู้
คือนามรูปปริจเฉทญาณ ใช่ไหมครับ
พี่ตุลย์ : ใช่
พงศ์ : พอตัวผู้รู้ดูไปนานๆ
สภาวะที่เกิดคือ สัมมาสมาธิใช่ไหมครับ
พี่ตุลย์ : บัญญัติทั้งหลาย
อย่างนามรูปปริจเฉทญาณ ก็ดี หรือสัมมาสมาธิก็ดี
บางที แม้กระทั่งเราไปค้นในพระไตรปิฎก
ท่านก็ไม่ได้มาเน้นว่าต้องทำความเข้าใจตรงนี้ให้ได้
แต่ท่านจะให้มาตามลำดับ อย่างเช่น อานาปานสติสูตร
แค่รู้ว่า ปีติหายใจออก รู้ว่าปีติหายใจเข้า
ก็เข้าไปถึงภาวะนั้นได้
โดยเราไม่ต้องรู้ชื่อภาวะนั้น
อย่างนามรูปปริจเฉทญาณ
ก็คือมีสติ เห็นว่ากายนี้ใจนี้ สักว่าเป็นภาวะรูป
สักว่าเป็นภาวะนาม
พอมันปรากฏอยู่พร้อมกัน เช่น
ความสุขก็อย่างหนึ่ง ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง
แค่นี้ถ้าเห็นชัดก็เรียกว่าเป็น นามรูปปริจเฉทญาณ
แล้ว
คือแยกได้ว่านี่รูปนี่นาม
มันปรากฏพร้อมกันและไม่ปนกัน
ไม่ใช่อันเดียวกัน เป็นคนละภาวะกัน
เหมือนกัน ตอนที่เรามีประสบการณ์ทางจิต ที่พิสดาร
เห็นความคิดเป็นฟองเป็นอะไรก็ตาม
มีนิมิตปรากฏชัดในใจเรา
หรือต่อไปถ้าจะเห็นเป็นนิมิตที่พิสดาร
ละเอียดอ่อนกว่านี้ ประณีตกว่านี้
เหล่านั้น เหมารวมว่าเราสามารถแยกรูปแยกนามได้ทั้งสิ้น
ประเด็นคือว่า เวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงสัมมาสมาธิ
ท่านตรัสว่า สัมมาสมาธิคือ จิตที่มีองค์ประกอบอย่างน้อยสี่ประการ
คือ วิตักกะ วิจาระ ปีติ และสุข
และท่านตรัสว่า เราสามารถเห็นขันธ์ห้า
ณ ขณะอยู่ในฌาน อยู่ในสมาธินั้นแหละ
เพื่อที่จะบรรลุมรรคผล ณ ขณะที่อยู่ในฌานนั้น
อยู่ในสมาธินั้นเลย
ตัวนี้ เป็นขอบเขตที่ท่านให้ไว้เป็นหลักการ
แต่ในสนามปฏิบัติจริง คือกายนี้ใจนี้
เวลาเราเห็นอะไรขึ้นมา ตัวที่เราจะตัดสินว่าเป็นสัมมาสมาธิ
หนึ่ง คือมีความตั้งมั่นในการเห็นนั้น มีความคงเส้นคงวา
ถ้าสำรวจดู จะเรียกฌาน เรียกอุปจารสมาธิ หรืออะไรก็แล้วแต่
อย่างน้อย มีความคงเส้นคงวาในการเห็น
สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏโดยความเป็นของหลอก
เป็นเหยื่อล่อให้ยึดว่าเป็นตัวตนไหม
ถ้าเห็นว่าเป็นของหลอก เป็นเหยื่อล่อ
และจิตไม่ไปยึดเข้ามาเป็นของตัวของตน
หรือไม่ยึดมาเป็นตน
อย่างนี้ถือว่า กำลังเห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้าอยู่แน่ๆ
ขันธ์ห้า โดยใจความรวมๆ คือภาวะใดๆ
ที่ปรากฏต่อจิต
แสดงให้เห็นว่า ไม่เที่ยง ไม่เท่าเดิม
เป็นของหลอกเป็นของอื่น
ของแปลกปลอม อยู่ในความหมายของสัมมาสมาธิทั้งหมด
ฉะนั้น ไม่ว่าจะเกิดภาวะอะไร จะซับซ้อนหรือเรียบง่ายกว่านี้
ให้มองว่า ใช่แล้ว
เมื่อเกิดไม่ต้องพยายามบัญญัติ
ให้ดูต่อไปเลยด้วยความเข้าใจว่า
สิ่งนั้นแหละ
ที่จะทำให้จิตถอนออกจากอาการยึดมั่นถือมั่น
พงศ์ : หลังจากตรงนี้
พอไปสำรวจตัวเอง
ก็คือมีการไม่ให้ราคาของสภาวะจิตที่ดี เป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ไหมครับ
พี่ตุลย์ : ทำความเข้าใจแบบนี้นะ
อย่างที่พงศ์เจอมา แล้วมีความรู้สึกว่าพอไม่ให้ราคา
พอไม่ตีค่า
แล้วรู้สึกเฉยๆ กับมัน มันคืออุเบกขา ซึ่งใช่
แต่อุเบกขา
ไม่ได้เกิดเพียงแค่จิตไม่ได้ไปตีราคา
แต่บางทีเกิดขึ้นจากการที่ ตั้งอยู่ในสมาธิของมันดีๆ
และเห็นภาวะชัด
เช่น ลมหายใจผ่านเข้าผ่านออก อยู่ในทิศทางที่จะรู้ว่า
ลมหายใจ เป็นธาตุลม ไม่ใช่บุคคล
แบบนี้ก็เป็น อุเบกขา
ระดับสัมโพชฌงค์ได้เหมือนกัน
ถ้าเป็นอุเบกขา จะรู้สึกเฉยๆ วางเฉย
แต่ถ้าเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ต้องมีความรู้สึกว่า
สิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้ สิ่งที่ใจวางเฉย
ไม่ใช่ตัวเรา แล้วไม่เอา ไม่อยากเอา
ตรงนี้คือความแตกต่าง ระหว่างวางเฉยๆ แบบอุเบกขาธรรมดา
กับอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นตัวเดียวกันกับสังขารุเปกขาญาณ
คือจะมีความวาง ความว่าง อย่างรู้ และพร้อมทิ้ง
ตัวนี้ที่แตกต่างกันอยู่
และเป็นรายละเอียดนิดเดียว
ที่ถ้าเข้าใจจากประสบการณ์ตรง จะเห็นเลยว่า
มันต่างจากอุเบกขาธรรมดา เป็นคนละเรื่อง
อย่างที่พงศ์บอก รู้สึกว่าใจไม่ให้ราคา
เสร็จแล้วผ่านมาผ่านไป หรือเปล่า
แค่ไม่ให้ราคาอย่างเดียว อาจเป็นอุเบกขาธรรมดาก็ได้
แต่ถ้าหากว่าเราไม่ให้ราคา แล้วรู้สึกว่าใจไม่เอา
ไม่อยากเป็นตัวนี้
ไม่มีอาการเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเรา
และรู้สึกใคร่พ้นไปจากภาวะความเป็นอย่างนี้
ตัวนี้แหละ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สังขารุเปกขาญาณ
ความหมายของสังขารุเปกขาญาณ โดยประสบการณ์ตรงก็คือว่า
ไม่ได้รู้อย่างเดียว ไม่ได้เฉยอย่างเดียว
แต่ใคร่พ้นไปด้วย
คำว่าใคร่พ้น คือไม่ได้อยากหลุดพ้น ไม่ใช่อยากได้มรรคผล
แต่มีความรู้สึกไม่เอา อยากวาง อยากทิ้ง
ตัวนี้แหละที่บวกเข้ามา
แต่อยู่ๆ ไปบวกด้วยความคิดไม่ได้
ด้วยความตั้งใจว่า ฉันจะไม่เอาแกแล้ว
แบบนี้ไม่ได้
แต่เกิดจากการที่เรามีอุเบกขา ในการเห็นว่ามันไม่เที่ยง
มันแสดงความไม่ใช่ตัวตนมานานพอ จนทำให้จิตมีความอิ่มตัว
มีความรู้ มีความชัด รู้ซึ้งว่า สิ่งนี้ถ้าเอามา
มันเป็นภัย เป็นโทษ
ตัวนี้ รวมอยู่หมดเลยสังขารุเปกขาญาณ
เห็นมาหมดแล้วว่าเป็นโทษอย่างไร
ไม่ใช่ตัวเราอย่างไร ไม่เที่ยงอย่างไร
จนใจเข้าโหมด ใคร่พ้นไป
ตัวใคร่พ้นไปนี่ คือสะพาน ระหว่างโคตรปุถุชน
กับข้ามโคตรไป
ตัวที่จะข้ามไป จะไม่มีใครเหลืออยู่เลย ณ
จุดนั้น
แม้แต่พระโสดาบัน ก็ยังทิ้งความรู้สึกในตัวตนไม่ได้
แต่ ณ ขณะที่จะข้ามโคตรมา ตรงนั้นจะไม่มีใครเหลืออยู่เลย
ไม่มีลักษณะที่ว่า ฉันกำลังจะไปเอาดีเพื่อตัวเอง
หรือจะไปเอามรรคผลมาให้ใคร มาทำอะไร
มรรคผล คนทั่วไปจะจินตนาการไม่ออกว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
แต่คนที่มาถึงสังขารุเปกขาญาณ หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์บ่อยๆ
จะมองออกว่า จิตเป็นอย่างนี้ ยึดเป็นอย่างนี้
ถ้าถอด ถ้าถอนความเป็นจิต ถอนความยึด
จะเป็นอีกอย่าง
จะเห็นรำไร เห็นใกล้ๆ แล้ว
แต่ยังไม่เห็นถึงตอนทิ้งจริงๆ หน้าตาเป็นอ่างไร
ตอนเจอนิพพานหน้าตาเป็นอย่างไร ยังนึกไม่ออก
แต่เห็นรำไรว่า อาการที่เราจะบรรลุมรรคผล
ไม่ใช่เพราะความคาดหวัง หรือปรุงแต่ขึ้นมา
ว่านิพพานหน้าตาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
แต่เป็นอาการที่ใจทรงในอุเบกขา
เหมือนแสงสว่างที่บ่มตัว สว่างขึ้น เรืองรองขึ้น
มีความวาง ว่าง ที่หนักแน่น จริงจังขึ้น
และในความว่าง ความวางนั้น
ไม่มีความปรารถนา ไม่มีตัณหาอะไรอยู่เลย
ไม่มีภวตัณหา ไม่มีวิภวตัณหา มีแต่ความว่างจากตัณหาทั้งปวง
ยิ่งบ่มตัวมากเท่าไหร่ ยิ่งเกิดความเข้าใจขึ้นมารำไรว่า
พอบ่มตัวจนเป็นลูกโป่งที่แตกโพละ จะมีอะไรรออยู่
สิ่งที่รออยู่ ไม่ใช่จิต
ไม่ใช่รูปร่างหน้าตาแบบนี้
สิ่งที่รออยู่ไม่ใช่ตัวความปรุงแต่งอันเป็นทุกข์
แต่เป็นธาตุอะไรอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ ธาตุสอง
ธาตุหนึ่ง คือมีความปรุงแต่งเรียกว่าเป็นสังขาร
ส่วนอีกธาตุ คือความไม่ปรุงแต่ง เรียกอสังขาร
ตัวนี้ ถ้าเป็นปุถุชนต่อให้ทำสมาธิมาอย่างไร
ต่อให้วิเศษวิโสแค่ไหน
ก็จะหมกตัวอยู่ได้แค่นี้ เหมือนมีกะลาครอบอยู่
แต่ถ้าเมื่อไหร่ เรามีอุเบกขาที่บ่มตัวมากพอ ที่จะแตกโพละออกไปได้
จะไปเห็นอะไรอีกอย่างที่ไม่มีการปรุงแต่ง
ตรงนั้นแหละ ที่กะลาจะเปิดออกของจริง จะไปเห็นท้องฟ้า
และกะลานี่เป็นอะไรที่นิดเดียว หยาบมากๆ
หลอกมากๆ
จะเห็นอย่างนั้น
ที่พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบว่า นิพพานเป็นของจริง
ก็เพราะอย่างนี้
จะออกจากกะลาและพอไปเห็นท้องฟ้า
จะรู้ว่า ว่างจริงๆ เป็นอย่างไร .. ไม่ใช่ว่างอยู่ในกะลา
พงศ์ : ฟังที่อาจารย์สรุปก็คือ
ตัวที่ผมรู้ว่า ตรงที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นแค่สภาวะที่ปลื้มกับตัวเองที่รู้สึกว่า
รู้สึกตรงนั้นได้
แต่สิ่งที่ต้องทำคือต้องเร่งความเพียรต่อไป
และเห็นตรงนั้นเกิดขึ้น
พี่ตุลย์ : เรื่องเร่งความเพียร ใครๆ ก็เร่งทั้งนั้นแหละ
แต่จะเร่งไปเอาอะไร
ที่อธิบายมาทั้งหมด เพื่อให้พงศ์มีความเข้าใจว่า
อุเบกขาจริงๆ สำคัญที่สุด
และถ้าเห็นอะไรเป็นของหลอกได้ และไปตั้งหลักอยู่กับอุเบกขา
ความรู้สึกวางเฉย เห็นกายนี้เป็นของหลอก
เห็นลมหายใจเป็นของหลอก
ตั้งอยู่ในอากาศว่างอันเป็นของหลอก
รู้สึกกายเป็นวัตถุเสมอกับวัตถุอื่นรอบตัว
ใจมีความปรุงแต่งนึกคิดอะไรขึ้นมาแป๊บหนึ่ง ก็หายไป
ตัวนี้เห็นเป็นของหลอกทั้งหมด จนจิตมีความนิ่งอยู่
รู้อยู่ เห็นอยู่
ว่าไม่ใช่ตัวเรา และใคร่พ้นไป
ตัวนี้แหละ ตัวใคร่พ้นไป เกิดเอง
ไม่ใช่เราไปตั้งใจอยากให้เกิด
ที่พูดมาทั้งหมด เพื่อให้มาอยู่กับตรงนี้
มาตั้งหลักอยู่ตรงนี้
พงศ์ : เวลาแยกรูปนามได้
พอออกจากสมาธิ กำลังยังมีอยู่ จะรู้สึกไม่เห็นแก่ตัว
พี่ตุลย์ : ก็ที่บอกไปว่า อยู่ระหว่างวัน
จะมีภาวะที่รู้สึกว่าใจเป็นอิสระ และไม่มีอาการปรุงแต่งนึกคิด
ว่าเดี๋ยวเราจะเจริญสติ
เดี๋ยวเรากำลังจะรู้กระทบอะไร
แต่รู้จริงๆ ด้วยความไม่มีอาการปรุงแต่งล่วงหน้า
ไม่มีสเปค
พี่ให้ 30% ที่เกิดขึ้น
อันนี้คือหลักฐานว่า เราเจริญสติมาถูกทาง
พงศ์ : บางทีจิตก็ไปของมัน
ลอยไปเหมือนเห็นป่ากว้าง แล้วมีเสียงถามว่าอยากเห็นเทวดาไหม อีกจิตตวาดว่าไม่เอา
นี่คือการพยายามให้เราไปหลงนิมิตไหม และเราตามทันใช่ไหม
พี่ตุลย์ : ถ้าหากเราเคยตกลงไว้กับตัวเองล่วงหน้าว่า
หากมีสมาธิไป ได้ฤทธิ์เดชเอาไหม
เห็นเทวดาสวรรค์เอาไหม
แล้วเคยฟังครูบาอาจารย์บอกว่า
เห็นแบบนั้นระวังจะหลง
แล้วเราตัดสินใจไว้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า ไม่เอา
มันก็มาปรุงแต่งเป็นอะไรที่ชัดเจน เข้มข้นขึ้นเวลาอยู่ในสมาธินี่แหละ
จิตเหมือนเลือกไว้อยู่แล้ว เวลาเกิดสมาธิ
เวลาเข้าจุดนั้นจริงๆ จะปรุงแต่งเข้มข้นขึ้น
เหมือนความฝันบางทีชัดเจนมาก แยกเป็นตัวตน
คมชัดมีสีสัน
ก็เหมือนกัน แต่อันนี้จะยิ่งกว่าฝัน
เพราะภาวะปรุงแต่งในสมาธิ จะเข้มข้นสูง
-------------------
หน่อง
พี่ตุลย์ : ตอนนี้ใสขึ้น เย็นขึ้นแต่ อยู่ระหว่างวันจะก้ำกึ่ง
บางทีใส เย็น
ถ้าใส เย็น สงบ ถามตัวเองว่ามีความหวงไหม
ถ้าหวง จะมีความรู้สึกถึงอาการยื้อไว้
เวลาจะหายไป หรือเสียไป จะรู้สึกทุรนทุรายเล็กๆ
หรือเวลามีคนมาทำให้รู้สึกสะเทือน
อาจไม่ถึงร้ายแรง
ไม่ได้เสียหายหนัก แต่จะมีอาการที่เราต่อสู้
เพื่อให้ความใสเย็นอยู่กับตัว
ถามว่าแบบนี้ผิดไหม คือไม่ได้ถึงกับผิด
แต่เมื่อเรามีความใส มีความเย็น มีความสงบ แล้วหวงไว้โดยไม่รู้ตัว
จะไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ จะมีอาการคอยยื้อ
แทนที่จะอาศัยความเย็นเป็นพื้นสติ พื้นสมาธิที่รู้ตามจริง
กลายเป็นพอมีอะไรมากระทบ เราจะไปยื้อความเย็นนี้ไว้
กลัวมันหาย
รู้สึก ไม่อยากให้เปลี่ยนไปเป็นอื่น
ตัวนี้ที่ตัดสินว่าความใสเย็นเกิดขึ้น แล้วเราหวงแหน
แล้วต้องทำอย่างไร?
ไม่ใช่บอกตัวเองว่า อาการหวงไม่ดี
เพราะบอกไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้นอยู่ดี
สับสนอยู่ดี ว่าจะตั้งท่าอย่างไร
ต่อไป เวลาที่เกิดอาการชอบใจ ที่ใสๆ เย็นๆ
สังเกตว่า เวลาที่เราไปเจอเรื่องกระทบ
หรือแม้ขณะอยู่ในสมาธิก็ตาม พอเรารู้สึกเหมือนกับว่า
อยากรักษาไว้ หรือ อยากยื้อไว้
ให้เห็นอาการยื้อ หรือเห็นอาการอยากรักษา
หรืออาการชื่นชมจิตตัวเองว่าดี อะไรก็แล้วแต่
ที่ปรากฏเป็นความคิดชัดๆ เกี่ยวกับสภาวะใสๆ
เย็นๆ ที่ดีวันดีคืน
ให้สังเกตตามจริงว่า อาการเหล่านั้นเป็นอาการที่หลงยึดไว้
พอเห็นอาการหลงยึดไว้ ก็จะรู้สึกว่า
จิตกำลังอยู่ในอาการหลงยึด ไม่ได้ใสจริง เข้าใจ
point ใช่ไหม
ถ้าไม่หลงยึดเลยจะใสกว่านี้
จะได้มีของแลกเปลี่ยนนิดหนึ่งว่า
เลิกหวงแล้วจะได้อะไร
เลิกหวงแล้วจะใสกว่านี้
นั่นคือถ้าเราเลิกหวงจริง มีบทพิสูจน์ มีอะไรมากระทบ
เราไม่รู้สึกเสียดาย ไม่หวง จะยับเยินอย่างไรช่างมัน
แล้วค่อยมาสังเกตอาการจิตที่ยับเยินนั้น
ยับเยินหายใจออก หายใจเข้า
กี่ครั้ง กว่าจะกลับเข้าที่ มารู้สึกใสใหม่
ตัวนี้จะมีประโยชน์กว่าที่จะหวงไว้ โดยไม่รู้
หน่อง : ไม่ค่อยเข้าใจคำว่ายื้อ
แต่พอจะเข้าใจว่าทำไมเป็นแบบนี้ ที่ผ่านมา สูญเสียเพื่อน พอมีอะไรเข้ามาก็มีภาวะกดไว้
พี่ตุลย์ : ตัวเดียวกัน คำต่างกัน ผมใช้คำว่ายื้อ
คุณหน่องใช้กด
หน่อง :
การกดตรงนั้นเหมือนเป็นความเคยชิน ที่เราทำซ้ำโดยไม่รู้ตัวว่าทำไม่ถูก
พี่ตุลย์ : ที่พูดไปทั้งหมดคือตัวนี้
ถ้าเกิดอีก เรามองใหม่ ตีความใหม่เลยว่า
นั่นเรียกว่า อาการยึด
ถ้าเราไม่ยึดไว้ เราจะใสกว่านี้
เอาแค่นี้เป็นคีย์เวิร์ด
หน่อง : จะมีอีกแบบที่
พอไม่กด จะเหมือนรู้สึกควบคุมอะไรไม่ได้เลย
คือเหมือนพอควบคุมไม่ได้ แล้วก็ปล่อยเลย อะไรจะเกิดก็ให้เกิด
ภาวะกดก็หายไป
ที่ผ่านมาคุณแม่เสีย
แล้วเกิดความกลัวความไม่แน่นอนอย่างมาก
ความจริง-หลอก สับสนไปหมดค่ะ
สภาพจิตใจไม่ค่อยดีค่ะ
พี่ตุลย์ : ทั้งหลายทั้งปวงมารวมลงตรงที่ว่า
ถ้ายังทำสมาธิได้ นั่นคือยังไม่สับสนจริง ยังไม่โกลาหลจริง
ยังไม่ทุกข์จริง
ถ้ายังมีใจใส ใจเย็นได้ แปลว่าใจยังไม่เสียหายจริง
ก็แค่รู้ไปว่าในความใสเย็น มีความพอใจ
และความพอใจ จะทำให้บางทีไม่อยากไปเผชิญโลกความจริง
หรือกลัวที่ต้องยอมรับโลกความจริง
ถ้าเรามองใหม่ว่า อาการใสเย็น ไปก่อความรู้สึกหวงขึ้นมาได้
ก็จะรู้สึก ถ้าไม่หวงความใส ความเย็น
เราจะสามารถใสเย็นได้มากกว่านี้อีก
จะเลิกกลัวโลกความจริง จะไปอยู่กับโลกความจริง
และจิตเป็นอย่างไร เราก็จะตั้งสติรู้ภาวะความเป็นอย่างนั้น
โดยความเป็นจิตชนิดหนึ่ง มีทุกข์ หายใจออก
มีทุกข์หายใจเข้า
แบบนี้จะได้รู้สึกว่า เราไปฝึกต่อได้
ไม่อย่างนั้นอาการแบบนี้ จะคอยหลบเข้ามาอยู่กับความใส
เย็น
พอกลัวที ก็ทำให้ใจไปอยู่กับความใสเย็นที
หรือที่คุณหน่องเรียกว่า ไปกดไว้ ไปกดความกลัว
ไปกดความรู้สึกสูญเสียเอาดื้อๆ
ตรงนี้ที่เราคุยกัน ก็คือ อย่าไปกลัว
อยู่กับโลกความเป็นจริง
ไม่ต้องกลัวเสียจิตใส ไม่ต้องกลัวเสียจิตเย็น
ดูที่ปรากฏ จะเป็นอะไรก็แล้วแต่
อยู่กับมันจนเห็นว่า จะความกลัวก็ดี ความเสียใจก็ดี
ก็เป็นความปรุงแต่งจิตชนิดหนึ่ง
เดี๋ยวก็ต้องหายไปเป็นธรรมดา ตัวนี้แหละ
ที่จะมาเป็นจุดสรุป
________________
ไลฟ์วิปัสสนานุบาล EP51
วันที่ 17 มกราคม 2565
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=uJDKl74K2tI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น