EP97 | เสาร์ 19 มีนาคม 2565
เกริ่นนำ : ความเอาจริง
พี่ตุลย์ : สวัสดีครับทุกท่าน
ที่ผ่านมา เราคุยกันเรื่องว่าเราเอาจริงหรือยัง
แล้วเราควรจะตั้งความคาดหวังไว้แค่ไหน
วิธีที่จะดูได้ว่า
ตัวเองสามารถคาดหวังได้ตามเป็นจริง
หรือสามารถคาดหวังได้แบบลมๆ
แล้งๆ ดูง่ายๆ ที่
คุยกันสองคืนติดกันมาแล้ว
เรื่องเกี่ยวกับ ‘ความเอาจริง’
แต่นอกจากความเอาจริงแล้ว
จะมีรายละเอียดอื่นๆ
ที่จะบอกได้แบบเกิดความรู้สึกตระหนัก
ไม่ใช่ฝันลมๆ
แล้งๆ เกี่ยวกับเรื่องของความพร้อม
ความพร้อมว่า เราทำไป
มีทิศทาง มีเป้าหมายที่ชัดเจนหรือยัง
เราทำไป มีความรู้
ความเข้าใจกับภาวะ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น
เพียงพอกับการที่เราจะเห็นความคืบหน้า
เป็นเครื่องยืนยันได้แค่ไหน
อย่างเช่นพระพุทธเจ้าตรัสว่า
ถ้าปฏิบัติมาได้ผล
เจริญสติได้ผล โลภะ โทสะ โมหะ ต้องเบาบางลง
ถ้าปฏิบัติมา
ไม่ว่าจะแนวไหน อ้างว่าดิบดีหรือตรงทางเพียงใดก็ตาม
แล้ว โลภะ โทสะ โมหะ
ไม่เบาบางลง
อันนี้พระพุทธเจ้าไม่รับประกัน
ว่าเราทำมาถูกทางแล้วหรือยัง
แต่ถ้ามีรายละเอียดตรงนี้
..
โลภะ โทสะ โมหะ
เบาบางลงอย่างเป็นไปเอง ไม่ใช่คิดไปเอง
คือเป็นไปเองตามธรรมชาติ
รับรู้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งว่า
กิเลสเราเบาบางจริง
อย่างนี้ถือว่าค่อยๆ
เป็นคำยืนยันให้ตัวเองได้ว่า มาถูกทาง
ไม่ใช่คิดไปเอง
หรือไปฟังคำรับรองจากใคร
แล้วมาบอกว่าเขารับรองแล้วว่าดี
ก็เชื่อว่าคงดี
แต่ไม่สำรวจดูด้วยตัวเองว่า
หลักฐานที่ประจักษ์อยู่กับตัวเองแท้ๆ
ดีหรือยัง
ดีหรือไม่ดี
เรื่องของความคาดหวัง
..
คนเรา
ถ้าทำไปแบบไม่คาดหวังอะไรเลย ก็จะไม่ได้อะไรเลย
เพราะจะไม่ออกจากก้าวแรก
ไม่มีแรงผลักดันมากพอให้ move
แต่มีความขัดแย้งกันอยู่ตรงนี้แหละ เหมือนความย้อนแย้ง
ที่ทางพุทธศาสนาบอกว่า
การปฏิบัติไปถึงที่สุด
สิ่งที่เราจะคาดหวังได้
คือดับทุกข์
แต่รายละเอียดของการดับทุกข์
เงื่อนสำคัญคือ
เราจะต้องปลดล็อค
ความรู้สึกในตัวในตน ออกให้ขาด
ทีนี้
จะสวนทางกับไฟ ความทะเยอทะยาน
ความอยากจะทำอะไร ของมนุษย์ธรรมดาสักคน
เราคาดหวังว่าจะดับทุกข์
แต่ในอีกทางหนึ่ง
เราต้องคาดหวัง ให้ตัวเองหมดความรู้สึกในตัวตน
มันย้อนแย้งมาก
บางคนบอกว่าทำใจไม่ถูกเลย
เพราะรู้สึกมีไฟ
กระตือรือร้น ร้อนรน อยากได้มรรคได้ผล
แต่ปรากฏว่า
ถูกตัดสิน บอกว่าใช้ไม่ได้
ร้อนรนเกินไป
ใจร้อนไป รีบเร่งไป
ก็ .. อ้าว
แล้วแบบนี้จะให้ทำอย่างไร
ตอนร้อนรน
ก็บอกว่าเป็นไปเพื่อตัวตน
เพื่อความคาดหวังแบบผิดๆไม่ตรงทิศตรงทาง
แต่ครั้นจะเฉื่อยๆ
เนือยๆ
ก็บอกว่าไม่มีไฟมากพอ
ที่จะให้ก้าวไปข้างหน้า
แล้วที่ balance ที่อยู่ตรงกลาง
สมดุลอยู่ตรงไหน
ทีนี้
คนยุคเรามักจะไป ใช้คำว่า ‘ทางสายกลาง’ ซึ่งใช้กันผิดๆ
ถ้าจะฟังคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ที่แท้จริงต้องไปดูด้วยว่า
พระพุทธเจ้าท่านหมายถึง
ไม่ให้ทุกข์เกินไป
อย่างทรมานร่างกายเจียนตาย
อย่างนั้นสุดโต่งในทางที่จะทำให้ยึดติดอยู่กับความทุกข์
แต่ครั้นจะเสพสุขแบบโลกๆ
ท่านก็ว่าไม่ได้
นั่นเกินไป
น่าติดใจเกินไป
เกินกว่าที่จิตจะทิ้งขว้างความเป็นตัวเป็นตน
เป็นรูปนามนี้
มันจะไม่ยอมเชื่อว่ากายนี้ใจนี้ไม่ดี
ไม่น่าเอา
สมควรจะทิ้งขว้าง
ให้เหมือนถ่มเสลดออกจากปาก
คำว่าทางสายกลางของท่าน
เอาง่ายๆ คือทำจิตให้วิเวก
ไม่ใช่ตรงกลางในแบบที่เล่นๆ
ก็ได้ แล้วก็นึกจะขยัน ก็ขยัน
ไม่ใช่อะไรแบบนั้น
ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ว่านี้
ต้องมีไฟนะ ต้องมีฉันทะ
ถ้าเราสำรวจ
ส่องสังเกตดีๆ มีความเข้าใจที่ชัดเจนต้องมีไฟ
แต่ไฟในที่นี้
ต้องไปถึงจุดหนึ่ง
พูดง่ายๆ
ว่าจิตเราต้องมีความสงบ
มีความตื่น มีความพร้อมรู้
มีความพร้อมทิ้ง
อันนี้รวบรัดให้แล้วนะ
เอาแบบที่บอกว่า
อยากได้แบบไม่ต้องใช้ศัพท์แสงอะไรทั้งสิ้น
จิตต้องตื่น
มีความพร้อมรู้ มีความพร้อมทิ้ง
ถ้ามีความตื่น
มีความพร้อมรู้ มีความพร้อมทิ้ง
แบบนี้แหละคือทางสายกลางแบบที่จะไปถึงมรรคถึงผลได้
พูดง่ายๆ ว่า
ขึ้นต้นมา จะร้อนรน
จะมีความรู้สึกว่า
ทะเยอทะยานอยากได้มรรคผลอย่างไร
ตรงนั้นยกไว้เป็นจุดเริ่มต้น
แต่จุดที่ต้องคำนึงถึงคือ
เมื่อขึ้นทาง เมื่อพยายามเจริญสติแล้ว
สติของเราอยู่ในความพอดิบพอดี
ที่ใจจะได้มารู้ภาวะทางกายภาวะทางใจ
หรือพฤติกรรมตัวเองแค่ไหน
ถ้ามันยื่นๆ
ทะเยอทะยาน จะเอาอนาคต ไม่เอาปัจจุบัน
แบบนี้
ถ้ามีความตื่น มีความพร้อมรู้
ก็จะพร้อมทิ้งความทะเยอทะยานส่วนเกินนั้น
แล้ววิธีทิ้ง
ไม่ใช่ตัดใจทิ้ง แต่เห็นว่านั่นเป็นส่วนเกิน
นั่นเป็นความปรุงแต่ง
ในแบบที่จะกั้นขวาง หรือบดบัง วิถีแห่งปัญญา
ไม่ได้ส่งเสริม
ไม่ได้เพิ่มเติมที่จะผลักดัน ให้เราเข้าใกล้มรรค เข้าใกล้ผล
ตัวของมรรคจิต
ผลจิต เมื่อว่ากันโดยความเป็นจิต
คือการทิ้งตัวตน
ทิ้งอุปาทานว่ามีตัวอยู่ในกายใจนี้
ตัวนี้
ถ้าเรามีความเข้าใจ เห็นภาพกว้าง ภาพรวมอย่างชัดเจน
เราจะไม่หลงทาง
แล้วพูดเรื่องมรรคผลได้แบบ save
ไม่ใช่พูดคุยเรื่องมรรคผล
เพื่อที่จะยุให้เร่งเอาๆ ขยันหน่อยๆ
เสร็จแล้วขยันไปไหนไม่รู้
ตรงเรื่องของทิศทาง
เรื่องของเป้าหมาย
ถ้าหากมีความชัดเจน
ว่าเราจะเอามรรคจิต ผลจิต
ซึ่งหมายถึงจิตที่ทิ้งความรู้สึกในตัวในตน
ที่อยู่ในกายใจนี้
หรือจิตที่ทิ้งอุปาทาน
สักกายทิฏฐิ
ว่ามีตัวเราอยู่ในกายอยู่ในใจ
หรืออยู่ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า
ความสามารถที่จะทิ้งตรงนั้น
จิตต้องมีความตื่น
มีความพร้อมรู้ มีความพร้อมทิ้ง
เป็นสมาธิ
เป็นปกติ ถึงจะมีอุเบกขา
ถ้าเราเข้าใจภาพรวมว่า
เริ่มต้นขึ้นมาร้อนรนได้
ไม่ห้าม อนุญาตเต็มที่
แต่ทำไปๆ ต้องมีสมาธิ
และมีอุเบกขา ไม่รีบร้อน
มีแต่ความใจเย็นสะสมไปเรื่อยๆ
ทีละนิดทีละหน่อย
ซึ่งตรงนี้ ก็จะไปเจอความย้อนแย้งอีกจุดหนึ่ง
บางท่านบอกว่าไม่มีเวลาเหลือมากพอแล้ว
กลัวไม่ทัน
ส่วนบางท่าน
ก็บอกว่า ยังมีเวลาเหลืออีกเยอะ ตัวนี้ อันไหนดีกว่ากัน
มีทั้งข้อได้เปรียบ
และเสียเปรียบ เกี่ยวกับเรื่องความต่างระหว่างวัย
ซึ่งเราได้เห็นประจักษ์ตาอยู่ในเหล่าสหธรรมิกที่รวมๆ
กันในห้องนี้แหละ
ถ้าเรามีอายุยังน้อย
จะมีสิ่งที่เป็นเงาตามตัวมา
อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็นความประมาทในวัย
ความมัวเมาในวัย
มีความรู้สึกว่า ยังอยู่ได้อีกนาน
ส่วนคนที่มีความรู้สึกว่า
วัยของตัวเองใกล้ฝั่ง
ใกล้จะหมดวาระแล้ว
ใกล้จะถึงอายุขัย
ที่ผมพบมา
คนที่มีความเพียรเจริญภาวนาตอนช่วงอายุที่สูงๆ นี่นะ
จะพบตรงกันหมด คือมีความรู้สึกสิ้นหวัง
มีความรู้สึกว่า
ทำไมฉันถึงไม่ได้พบธรรมะ
ไม่ได้พบทางเสียแต่เนิ่นๆ
ตั้งแต่อายุยังน้อย
มาเอาป่านนี้
สงสัยจะไม่ทัน
อันนี้ผมขอแยกแยะให้เห็นเลยนะ
แล้วก็จะไม่เอ่ยชื่อ
แต่ว่า
ทุกท่านคงได้เห็นกันอยู่แล้วในหมู่พวกเรา
มีท่านที่สูงอายุ
แล้วก็ทำได้ ดูว่าดีกว่าหนุ่มสาวอีก
เป็นแรงบันดาลใจให้หนุ่มๆ
สาวๆ ได้ มีหลายท่านในห้องนี้
ไม่เอ่ยนามนะ
เพราะเราอยู่ด้วยกัน
จะไม่ให้มีการยกย่องออกหน้าออกตา
ว่ามีใครเป็นคนพิเศษขึ้นมา
จะหลีกเลี่ยงนะในห้องนี้
คือพี่ๆ
ที่เราเห็นมา หรือบางคนจะเรียกยาย เรียกน้าอะไรก็แล้วแต่
เอาตรงๆ คือ
มีความรู้สึกว่า ตัวเองเหลือเวลาน้อย
ฉะนั้น
ที่จะมาประมาท หรือจะมาคิดมาก
เดี๋ยวจะเอาอย่างนั้นดี
หรืออย่างนี้ดี ไม่ได้เหลือเวลาให้คิด
มีแต่ความตั้งอกตั้งใจ
ทำเวลาที่เหลือ แข่งกับเวลาที่มีอยู่เต็มที่
กลายเป็นข้อได้เปรียบขึ้นมา
คือจิตจะแน่วเข้าไป
คำว่าเอาจริง
จิตมีความแน่วเข้าไป
แล้วอย่างที่เห็นๆ
คือ จะออกมาไม่ว่าทางกระแส ให้เรารู้สึก
หรือว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นภาพรูปร่างหน้าตา
ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัด
เห็นความต่างได้ชัด
กลายเป็นว่าที่บอกว่า
เหลือเวลาน้อย
เป็นตัวบีบ
เป็นตัวตีกรอบ
ให้จิตตั้งมั่นอยู่บนความเอาจริงเอาจัง
จากข้อเสียเปรียบ
พลิกเป็นข้อได้เปรียบได้
ในทางตรงข้าม
เมื่อยังประมาท ยังมัวเมาในวัย
ซึ่งอันนี้
ไม่สามารถที่จะไปฉุดดึง ฉุดลากอะไรได้
จิตของคน
จิตมนุษย์ มีอิสระ
ที่จะตัดสินว่าตัวเองจะเลือกโฟกัสกับอะไร
ถ้าอายุยังน้อย
รู้สึกว่าเวลายังเหลือมาก
ก็ไม่ใช่ว่า
เวลาเหลือมาก เพื่อการปฏิบัติธรรม
แต่มีทางเลือกอีกเยอะ
ให้ไขว่คว้า ให้แสวงหา
ให้สอดส่ายสายตา
เหลียวหน้าเหลียวหลัง
ฉะนั้น
จากคนที่บอกว่าปฏิบัติได้ดีตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วได้เปรียบ
ไม่จริงเสมอไป
บางที
กลายเป็นช่องให้กิเลสได้โจมตี
หรือครอบงำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า
เดี๋ยวแก่ๆ ค่อยเอาจริงก็ได้
หรือทำไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็ได้เอง ยังมีเวลาอีกเยอะ
ความเอาจริงเลยไม่เกิดการสะสมตัว
แล้วไม่เกิดการพอกพูนให้หนาแน่น
เป็นปึกแผ่น มั่นคงขึ้นมา
จิตเลยตั้งมั่นเป็นสมธในทางที่จะทิ้งไม่ได้
ตรงที่
ข้อได้เปรียบเห็นๆ กับข้อเสียเปรียบเห็นๆ
บางทีก็พลิกกลับตาลปัตรได้
ทีนี้ ถามว่า
ที่พูดมาทั้งหมด จะสรุปอย่างไร
จะบอกว่า
สองคืนที่ผ่านมา พูดเรื่องความเอาจริง
ค่อยๆ
พูดมาตั้งแต่บอกว่า คนเรามีเขตของชีวิตที่รู้สึกได้ด้วยตัวเอง
ชะตาดี ชะตาร้าย
เขตของคนอยู่ทางโลก
หรือคนปฏิบัติธรรม
เขตที่เป็นนักทำสมาธิ
หรือเป็นผู้ทรงสมาธิ
เขตที่ยักแย่ยักยันอยู่
ว่าจะเอาหรือไม่เอา กับเขตที่ปักใจแน่วว่าจะเอา
ความรู้สึก
จะบอกเรา
แค่มานั่งดูลมหายใจสองสามครั้ง
ไม่ได้ตัดสินอะไรเลย
แต่การที่เรามีชีวิตเป็นปกติอยู่กับอะไร
นั่นต่างหาก
ที่บอกได้ว่าเราเข้าเขตไหน
แล้วมาถึงจุดที่บอก
เอาจริงเอาจัง
จากเหตุปัจจัยทั้งหลาย
เรื่องวัยวุฒิ เรื่องช่วงเวลาของชีวิต
ก็มามีความเป็นตัวแปรด้วย
บางคน
ที่เห็นกับตาในห้องนี้เอง ไม่ต้องดูจากที่ไหน
ยังทำงานทำการ
หัวยุ่ง แต่ก็สามารถหาเวลาได้
อย่างที่บอกว่า ฉันทะ
นี่แหละ เป็นเครื่องผลิตเวลา
สามารถที่จะทำได้วันละสามชั่วโมงบ้าง
หกชั่วโมงบ้าง
ทั้งๆ
ที่ทำงานวันละเป็นสิบชั่วโมง
นี่ก็มีให้เห็นในห้องนี้
มีหลายคนทีเดียว
ส่วนที่บอกว่า
ไม่มีเวลา
พอไปดูแล้ว อ๋อ...
จริงของเขา
เวลาต้องเอาไปดูซีรีส์
เวลาต้องเอาไปแชท
ต้องเอาไปตามข่าวที่น่าสนใจ
เป็นข่าวที่ขาดไม่ได้
ไม่อย่างนั้นเอาไปเม้ากับเพื่อนไม่รู้เรื่อง
การที่คนเรา
แบ่งเวลาในชีวิตเอามาใช้ทำอะไร
ห้ามกันไม่ได้
ว่ากันไม่ได้ โทษกันไม่ได้ เป็นสิทธิ์ของแต่ละคน
ทีนี้
ที่เราจะบอกกับตัวเอง ..โจทย์ตั้งต้นที่พูดมา บอกว่า
เราจะคาดหวังอะไรได้
กับเรื่องของมรรคผล มีข้อสังเกตอะไรที่ชัดเจน
คือแทนที่เราจะไปพูดถึงเองคุณภาพจิต
คุณภาพสมาธิ คุณภาพสติ
ได้รับการรับรองจากใครว่า
นี่เจ๋งแล้ว
เรามาสำรวจตัวเองดีกว่า
ว่าเราให้เวลากับอะไรโดยมาก
ความสนใจจริงๆ
ที่เราเล็งไป
ถ้าบอกว่า โอเค
เราเข้าใจหลักการที่จะเจริญสติ
เราเข้าใจแล้วว่า
เป้าหมายชีวิตเรา คือการเอามรรคเอาผล
แต่ใจของเรายังเล็ง
เลือกใช้เวลาไปในทางที่ย่ำอยู่กับที่
หรือย้อนถอยไปข้างหลัง
ไม่ได้ไปข้างหน้าหาเป้าหมาย คือมรรคผล
แบบนี้ ลึกๆ
ก็จะบอกตัวเองได้อยู่แล้วว่า
ยังมีสิทธิ์
มีเสียงไม่ได้เต็มที่เต็มทางนัก
แต่ถ้าเราส่องสำรวจแล้วรู้สึกว่า
เวลาในชีวิตเรา
อุทิศให้กับเรื่องของการเจริญสติ
เข้ามารู้เข้ามาดูในกายใจ
แล้วเห็นความคืบหน้ามากขึ้นๆ
มีความคงเส้นคงวา
มีความปักหลักมั่นคงที่จะรู้ที่จะดูกายใจ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่ใช่ตัวตน เป็นรูปนาม
ตัวนี้
ระดับความคาดหวัง จะยกขึ้นมา
ด้วยความสมัครใจที่จะใช้เวลาในชีวิต
ไปในเรื่องนี้
อย่างบางคน ..
ไม่ได้ว่าใครนะ อุทิศชีวิตก็จริง
แต่เสียดาย
ที่ไปอุทิศให้กับการปฏิบัติในแบบที่จะจ้องเอาๆ
บางคน
ใช้เวลาหกสิบปี อยู่กับสมถะ แล้วก็ไม่รู้ตัว
คือไม่รู้จะเอาอะไรมาตัดสิน
อันนี้แม้แต่ในพระคัมภีร์ก็มีนะ
แต่เป็นคัมภีร์ชั้นรองลงมา
คือทำสมถะอยู่ 60
ปี แต่ไม่ได้อะไรเลย เกิดความเศร้าหมอง
ตอนที่ก่อนจะตาย
รู้ตัวว่ายังไม่ได้มรรคผล
เสร็จแล้ว
ก็ไปพะวงติดข้องอยู่กับกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ผิดวินัยสงฆ์
เสร็จแล้วจิตท้ายๆ
ของชีวิต ไปจับเอากรรมไม่ดีตรงนั้น
ซึ่งไม่ได้ผิดร้ายแรงอะไรเลย
แค่ผิดวินัยสงฆ์เล็กๆ น้อยๆ
แต่กังวลว่าเราไม่ได้ปลงอาบัติ
ก็เลยไปเกิดในที่ต่ำก่อน อย่างนี้ก็มีนะ
คือบางทีเรื่องว่าใครมีโอกาสเจอทาง
ไม่มีโอกาสเจอทาง พูดยากจริงๆ
แล้วจะมาอวดอ้าง
มาตีฆ้องร้องป่าว ว่าฉันถูก ฉันดี
แบบนี้ก็เหมือนฆ้องที่อยู่ๆ
ดังเอง
ก็เอาไปพิสูจน์ด้วยคำพูดไม่ได้
ของพวกนี้ ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี
ทีนี้ อย่างพวกเรา
ก็ขอย้ำอีกที
ถ้าจะถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุด
ก็คือ
มีเครื่องเปรียบเทียบ
เป็นสหธรรมิกที่เจริญสติมาด้วยกัน
แล้วเห็นๆ
กันว่ามีความเจริญ มีความคืบหน้ามาถึงไหนกันแล้ว
ทั้งเทียบจากความรู้สึกของตัวเอง
จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน
ทั้งเทียบจากการที่ฟังคนอื่นบอกเล่า
ถ้าเราอยู่ในเส้นทางที่แน่ใจได้ว่า
โลภะ โทสะ โมหะ
โดยเฉพาะตัว โมหะ
เบาบางลง ความรู้สึกในตัวตนน้อยลง
ความรู้สึกว่ากายนี้ใจนี้เป็นของฉัน
เป็นตัวฉัน หรือเป็นกู น้อยลง
นี่ก็คือว่า
น่าจะคาดหวังได้ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้
ให้แนวทางไว้ว่า
จะสำรวจสังเกตตัวเอง
ว่าปฏิบัติมาถูก
ปฏิบัติมาดี มีอะไรเป็นเครื่องวัด
เพราะฉะนั้น
ความคาดหวัง เอาจริง ให้เวลา
แล้วก็ดูความคืบหน้าผ่านกิเลสของตัวเอง
อย่าไปดูคำรับรองจากคนอื่น
ผมนี่ไม่ชอบเลย
ให้คำรับรองใคร
แต่นี่เรามาทำๆ
กันในช่วงปีแรก ก็จำเป็น
ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์วัด
แต่เดี๋ยวพอทำไปถึงจุดหนึ่ง
เราจะทำงานร่วมกัน
เราจะไม่ใช่แค่ให้ใครคนใดคนหนึ่งมาตัดสิน
หรือมากำหนดทิศทางของห้อง
_______________
วิปัสสนานุบาล EP 97
วันที่ 19
มีนาคม 2565
ถอดคำ : เอ้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น