ดังตฤณ : ที่พระพุทธเจ้าให้เป็นหลัก
เป็นเครื่องพยุง เป็นเครื่องเกาะ
ก็คือ รู้จักสังเกตความต่างระหว่างลมหายใจเข้าออกนะครับ
บางทีหายใจยาว บางทีหายใจสั้น
อย่างเมื่อกี้ ถ้าหากว่าใครคลิกกับ ))เสียงสติ((
แล้วเกิดความรู้สึก จมูกโล่ง ตัวโล่ง
สบาย
ลมหายใจจะปรากฏชัด เพราะผมออกแบบไว้
ให้เสียงเล็งเป้าที่ระบบการหายใจ
ถ้าหากหายใจแล้วโล่ง
รู้สึกว่าหายใจได้มีสติมากขึ้น
เห็นลมหายใจได้ชัดขึ้น นั่นแหละคือ
สมองของคุณคลิกกับเสียงสติแล้ว
นี่คือตัวตั้ง แต่เวลาทำจริงในระหว่างวัน
นี่คือตัวตั้ง แต่เวลาทำจริงในระหว่างวัน
ตอนไม่ได้ฟังเสียงสติ
ตอนเดินไปไหนต่อไหน
ตอนขับรถ ตอนนั่งรถเมล์ ลองดู สังเกตดู
คุณจะรู้สึกว่า พอได้ตัวอย่างการหายใจ
สังเกตว่า
เดี๋ยวยาว เดี๋ยวสั้น
จะมีสติอยู่ในระหว่างวัน เห็นเช่นนั้นได้ด้วย
แล้วพอเห็นลมหายใจเข้าออก เดี๋ยวสั้น
เดี๋ยวยาว เกิดอะไรขึ้น
จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาเองว่า
เรากำลังอยู่ในอิริยาบทไหน
อิริยาบทนั้น
เป็นที่ตั้งของลมหายใจเข้าออก ยาว หรือสั้น นั่นเองนะครับ
พูดง่ายๆ ว่า แค่ดูลมหายใจอย่างเดียว
พูดง่ายๆ ว่า แค่ดูลมหายใจอย่างเดียว
จะพามาเห็นความเป็นกาย
ณ เวลาปัจจุบันได้ด้วย
และความเป็นกาย ณ เวลาปัจจุบัน
จะปรากฏอยู่ในท่าทางใดท่าทางหนึ่งเสมอ
ไม่นั่งก็นอน ไม่นอนก็เดิน ไม่เดินก็ยืน
สี่อย่างนี้ ยืนเดินนั่งนอน
ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
แล้วพอเห็นอิริยาบทหลักได้
ก็จะสามารถเห็น
อิริยาบทนั่นเดี๋ยวก็ขยับยิบย่อย
แยกย่อยไป
ตรงนี้ เริ่มมีสติเห็นกายแล้ว
แล้วพอเห็นกายอย่างชัดเจนไปเรื่อยๆ
ก็จะรู้สึกว่า
ที่ลมหายใจเข้าออกอยู่นี่ พาความรู้สึก
เป็นสุข เป็นทุกข์
อึดอัดหรือว่าสบาย แตกต่างกันในแต่ละลมหายใจไปด้วย
หรือแม้กระทั่งว่า
ร่างกายกำลังมีความเครียด ความเกร็ง
อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ถ้าหากผ่อนคลายไปก็จะสบายขึ้น
เห็นความต่างระหว่างความสุข
กับความทุกข์แบบนั้นไปเรื่อยๆ
ก็จะเกิดความรู้สึกมาเองว่า ทั้งสุข
ทั้งทุกข์ไม่ใช่ตัวเรา
สภาวะทางกายที่แตกต่าง
ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา
จนกระทั่ง สติจะเริ่มคม
แล้วก็เห็นเข้ามา
แม้กระทั่งความปรุงแต่งทางความคิดที่เกิดขึ้นในหัว
ผุดขึ้นมาแล้วก็หายไปๆ ไม่มีความเป็นตัวใครอยู่ในความคิด
ความคิดไม่ใช่ตัวของใคร เกิดขึ้นอยู่ชั่วขณะ
แล้วก็หายไป
ความยึดมั่นสำคัญผิดต่างหาก
ที่เกิดขึ้นอย่างสืบเนื่อง
ว่า มีตัวมีตนของใครคนหนึ่ง กำลังคิด
แล้วก็กำลังเปลี่ยนแปลง
หรือว่ามีใครคนหนึ่ง
กำลังจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าตายไป
จริงๆ แล้ว ไม่มีใครเกิดมาตั้งแต่ต้น
มีแต่สภาวะธรรมที่ประชุมกันด้วยความไม่รู้
ด้วยความไม่รู้ของจิต ด้วยอวิชชาของจิต
พอเรามาค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ มารู้
โดยอยู่ในทิศทาง สังเกตความไม่เที่ยง
ไม่ใช่ตัวเดิม ไม่ใช่ตัวตนของกายและใจ
ในที่สุด
ก็จะอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องไปเอง
จิตจะเกิดสัญชาติญาณรู้มาเองว่า
นี่แหละ รู้อย่างนี้
ที่จะพาไปถึงการสละกิเลส
สละอุปาทานออกจากใจได้
แล้วพอสละอุปาทานได้
ก็คือทิ้งต้นเหตุของความทุกข์
ออกไปได้อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง!
-----------------------
ปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน ๗ วันอธิษฐานจิตเปลี่ยนชีวิต
6 กรกฎาคม 2562
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น