วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

ฝึกรู้เวทนา แต่สงสัยว่ารู้ถูกไหม? (ดังตฤณ)

ถาม :  ฝึกดูเวทนาอยู่ค่ะ  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับแนวนี้คะ?

รับฟังทางยูทูบ
: https://youtu.be/4sXAZuU9rOg
(ที่มา : ดังตฤณวิสัชนา บริษัทเชฟรอน, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓)


ดังตฤณ: 
ตั้งใจดูเวทนามากเกินไป
มันไปเพ่งเวทนา ไม่ใช่ดูนะ 
เห็นไหมเวลาที่เกิดอะไรขึ้นมา
เราจะถามตัวเองเสมอว่า
ไอ้นี่เรียกว่าอะไร มันจะพยายามแยกแยะนึกออกใช่ไหม

มันเหมือนจะพยายามไปนิยาม 
ตัวอาการนิยามนี่ เขาไม่เรียกรู้นะ
ไม่ได้เรียกรู้อารมณ์ตรงๆ

เขาเรียกว่าไปพยายามคิด
คิดเอาว่ามันคืออะไร เรียกว่าอะไร 
พอคิดมันก็จบอยู่ตรงนั้นแหละ

มันไม่รู้ว่าถูกหรือผิด 
เราชอบนึกในภายหลังไง 
มันไม่รู้ว่าถูกหรือผิด  มันจะไม่แน่ใจ


รู้สึกไหมถึงความไม่แน่ใจ ว่ามัน..  นั่นแหละตรงนั้นอ่ะ
เพราะฉะนั้น  ดูอันดับแรกเลย
คือความไม่แน่ ใจนั้นแหละ

หลังจากที่ดู เราจะเห็นอะไรไม่ต้องสนใจ 
เราดูความรู้สึกไม่แน่ใจ
ดูความลังเลสงสัย
ที่มันแกว่งอยู่ แกว่งอยู่สองข้าง

ซ้าย หรือ ขวา 
ถูก หรือ ผิด

ใช่หรือไม่ใช่  เขาเรียกอะไร
เนี่ย พอเราเห็นอาการแกว่ง เนี่ยเขาเรียกเห็นจริงแล้ว และไม่ต้องนิยาม
ต่อไป

พอเราเห็นอาการแกว่ง ให้บอกได้เลยว่า
นั่นคือ ทุกขเวทนาทางใจ
อย่างนี้เรียกว่า สุขเวทนาทางใจ
มันเริ่มแกว่งนะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น