ถาม : ขออนุญาตถามแก่นของเรื่อง
เช่นทางนฤพาน
บางคนที่ได้คุยด้วยจะมองว่าเป็นการสื่อของลักษณะนิสัยของพระโพธิสัตว์อย่างเดียวเลย
อย่างตนเองตอนที่ได้อ่านจะรู้สึกว่าคำว่าทางนฤพานนอกจากจะสื่อว่าเป็นเส้นทางรวมทั้งบุคลิกของผู้ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว
ก็ยังจะสื่อถึงว่าทางนฤพานมีหลายสายที่จะเลือกเดิน มีทั้งที่เป็นสายตรง
ก็คือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอน กับสายอ้อมก็คือเป็นพระโพธิสัตว์ ใช่อย่างนี้หรือเปล่าคะ?
ดังตฤณ:
ใช่
ก็คือแต่ละคนแต่ละตัวเนี่ย
จะเป็นสัญลักษณ์แทนคนแต่ละประเภท
แต่ที่เรื่องดำเนินไปส่วนใหญ่เป็นบทบาทของเกาทัณฑ์
ซึ่งปรารถนาพุทธภูมิ
ก็เพราะว่าคนทั้งโลกจะสนุกที่สุด
หรือว่ารับได้ง่ายที่สุดก็จากอะไรแบบนี้
คือเวลาคนเขาไปดูหนังดูละครเนี่ย
มันจะมีพระเอกอยู่ตัวหนึ่ง
แต่คนทั่วไปไม่สามารถนิยามได้ว่าพระเอกจริงๆ
ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
เพราะว่าพระเอกบางทีทำตัวชั่วร้ายก็มีแล้วค่อยกลับเป็นดี
แต่คำว่าดีนั้นสุดยอดหรือปลายทางของความดีอยู่ตรงไหน?
ตรงนี้พุทธศาสนาของเรามีคำตอบ
คือว่าการทำตัวเป็นผู้ยื่นข้อเสนอว่า
จะเป็นเรือพาคนอื่นข้ามทะเลความทุกข์ไปถึงฝั่ง
ถาม :
ทำไมคุณดังตฤณใช้ชื่อพระเอกว่าเกาทัณฑ์ที่หมายถึงธนู
หรือว่าพุ่งตรงไปสู่เป้าหมายคะ?
ดังตฤณ:
คำว่าเกาทัณฑ์เนี่ย
ก่อนอื่นมันเท่ดี
แล้วก็ทำให้นึกถึงความเร็ว ความแรง
ความตรง ความแน่วแน่
ที่จะพุ่งไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น