ลักษณะของพุทธิปัญญาและพุทธิจิต
ถาม : รู้สึกจิตสะอาด ว่าง
หลุดพ้นชั่วขณะ ควรภาวนาต่ออย่างไร? (ไม่มีเสียงคำถาม)
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
เมื่อกี๊ตอนที่รู้สึกว่าจิตสะอาด ว่าง
อันนั้นเป็นตัวอย่างของพุทธิปัญญาอย่างหนึ่ง ที่รู้สึกว่ามันไม่มีมโนภาพ ไม่มีอะไร
มันมีแต่ความเห็นว่า เออ..ลมหายใจมันกำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่
คือตัวที่มันเป็นสมถะเนี่ยหมายความว่าไม่มีกิเลส
แต่ตัวที่เห็นอยู่ว่าลมหายใจกำลังแสดงความไม่เที่ยงอย่างนี้คือปัญญา
อย่างนี้คือวิปัสสนา มันเป็นจุดเริ่มต้น เวลาที่พระพุทธเจ้าสอนให้เจริญวิปัสสนา
มันก็คือเริ่มมาจากจุดอะไรที่มันเห็นได้ง่ายๆอย่างนี้แหละ
พอเรามีตัวอย่างของพุทธิปัญญาหรือพุทธิจิต
คือสว่างเนี่ย มันเป็นแค่อาการผิวนอก ผิวนอกของปัญญา มันไม่ใช่ตัวปัญญา
คือจริงๆแล้ว ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสนะ ที่เป็นปัญญาแท้จริงคือความสว่าง
แต่ว่ามันเป็นปลายทาง ต้นทางคือเราเห็น กำลังเห็นอยู่ว่า อนิจจังแสดงตัว
แล้วเราก็ไม่เกิดมโนภาพ อย่างเมื่อกี๊นี้จะรู้สึกว่าใจมันสะอาด
เราดูกันที่ความว่างเนี่ยว่างจากอะไร ว่างจากความรู้สึกปรุงแต่ง
ว่างจากอาการยึดมั่นถือมันว่าจะต้องเป็นเรา จะต้องเป็นเขาอะไรต่างๆ
ลักษณะของจิตแบบนี้ตอนทำเองเกิดขึ้นบ่อยไหม
ถาม : ก็บ่อยครับ บางทีเริ่มต้นมาก็เกิด แต่ถ้าตั้งใจทำ
จงใจทำมันก็ไม่เกิดครับ
ดังตฤณ:
ถ้าจงใจก็อปปี้หรือจงใจที่จะเข้าถึงภาวะนั้นเนี่ย
มันก็ไม่ใช่พุทธิปัญญาตั้งแต่เริ่ม ถ้าก้าวแรกไม่ใช่พุทธิปัญญา
โอกาสที่มันจะเป็นพุทธิปัญญาจะยาก
ลักษณะของพุทธิปัญญา
จำไว้เลย คือ
ไม่คาดหวัง
แต่ยอมรับตามจริงตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้าก้าวแรกเราไม่คาดหวัง ยอมรับตามจริงไป
นั่นมันจะมีโอกาสสเต็บบายสเต็บ (step by step) ไปเรื่อยๆ
แบบเมื่อกี้นี้
ขึ้นต้นมาเนี่ยมันไม่ได้เจาะจง แต่ก่อนจำได้ ตอนมาแรกๆ มันจะคาดหวังต่างๆนานา
มันจะเอาให้ได้เดี๋ยวนี้ จะเอาทั้งสมถะ จะเอาทั้งวิปัสสนา
จะเอาทั้งมรรคผลให้ได้เดี๋ยวนี้ มันกลายเป็นความอยากครอบงำจิตใจไปหมด
มันไม่มีตัวยอมรับเลย มันไม่มีตัวเห็นความจริง มันมีแต่เห็นตัวหลอก
ตัวที่มันอยากไปต่างๆนานา แล้วก็จะไปยึดอยู่ตรงนั้น ไปยึดอยู่แค่นั้น
ถาม : แล้วจะไปต่อยังไงดีครับ
ดังตฤณ:
ถึงตรงนี้ เวลาอยู่ระหว่างวัน
บางทีมันจะรู้สึกว่างขึ้นมาเองอยู่แล้ว
อันนี้คือประโยชน์ของการนั่งสมาธิในแบบอานาปานสติของพระพุทธเจ้า
คือถ้ามันเกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่งได้ในขณะที่หลับตา เวลาที่อยู่ในระหว่างวัน
บางทีมันก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาเองว่า เออ..มันว่างไป แต่ถ้าหากว่างโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
มันก็อาจจะหายไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเช่นกัน
เราต้องมีสติไว้ล่วงหน้า
ดูไว้ล่วงหน้าว่า
ขณะนี้จิตมันว่างไปชั่วคราว
ว่างจากความรู้สึกยึดมั่นถือมัน
ว่างจากตัวตน
เราก็ต้องดูต่อว่า
อาการที่มันไม่ว่างแล้ว
มันกลับมาเมื่อไหร่
มันจะกลับมาตอนที่เราเผลอนั่นล่ะ
ตอนที่เราไม่รู้นั่นล่ะ
ทีนี้มันต้องมีจุดสังเกต
ถ้าหากว่าไม่มีจุดสังเกต มันก็เหมือนกับหลุดแล้วหลุดเลย จุดสังเกตง่ายๆก็คือ
ถามตัวเองว่าในขณะที่เรากำลังทำงานกัน เวลาที่มันเกิดความรู้สึกว่างขึ้นมา
อันนี้พูดถึงคนที่มีประสบการณ์แบบนี้นะ คือพอทำอานาปานสติไป อันนี้ย้ำนิดหนึ่งนะ
ทำอานาปานสติไปแล้วเกิดความรู้สึกว่าได้ผล เกิดความรู้สึกว่าใจมันสะอาด
มันแห้งจากความรู้สึกในตัวตนขึ้นมาได้ชั่วขณะ
ในระหว่างวันมันจะมีความรู้สึกแบบเดียวกันนี้ขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ
เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมา ให้บอกตัวเอง ช่วงแรกๆต้องบอกตัวเองว่าอย่างนี้เรียกว่าจิตหลุดพ้นชั่วขณะ
หลุดพ้นจากอุปาทานชั่วขณะ เพราะเห็นอยู่ รู้อยู่ว่า อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว
ต้องดับลงเป็นธรรมดา ตัวนี้แหละที่มันเรียกว่าพุทธิปัญญา
เมื่อเราสามารถจำแนกได้ว่าจิตแบบนี
จิตที่มันแห้งสบายแบบนี้เนี่ย
ไม่ใช่จิตที่ยึดมั่นถือมั่น
เป็นจิตหลุดพ้นชั่วคราว
เมื่อเกิดความยึดมั่นขึ้นมาในขณะจิตหลังจากนั้น
มันจะเปรียบเทียบได้ถูก
มันจะรู้สึกว่ามีมโนภาพ
มีความยึดมั่นถือมั่น
มีความฟุ้งซ่าน หรือว่า
ปรุงแต่งเป็นเราเป็นเขาขึ้นมา
ช่วงแรกๆมันจะรู้สึกว่าดูไปไม่เห็นอะไรเท่าไหร่
เมื่อเกิดการเปรียบเทียบว่าจิตแบบนี้แห้งสบาย จิตแบบนี้ยึดมั่นถือมั่น
กลับมารู้สึกสกปรกได้อีก ตอนแรกมันจะไม่เกิดอะไรขึ้น
มันมีแค่การเปรียบเทียบวูบๆวาบๆ แต่ถ้าเปรียบเทียบบ่อยจริงๆ
มันจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความแห้งสะอาดจากอุปาทานบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
เข้าใจไหม ตอนแรกมันไม่ค่อยมี
มันอาจจะเกิดขึ้นแบบฟลุคๆ มันอาจจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้
แต่พอเราสังเกตว่าจิตแบบนี้แห้งสบาย จิตแบบนี้มันกลับมาหมักหมมได้ใหม่
จิตแบบนี้ไม่ยึดมั่นถือมั่น เปิดออก จิตแบบนี้กลับมายึด พอสังเกต
ไอ้ตัวการสังเกตนั่นแหละที่จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่างขึ้นมาได้บ่อยๆ
แล้วว่างเนี่ยมันจะมีว่างหลายแบบ ว่างแบบนาน
ว่างแบบเหมือนกับไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร มีสติอยู่ตลอดเวลา เป็นเวลาหลายนาที
กับว่างขึ้นมาแค่ปุ๊บเดียว แล้วมันก็หายไป เนี่ยลองสังเกตอยู่อย่างนี้
แค่สังเกตอยู่อย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริงทางจิต ที่บางครั้งมันก็หลุดพ้นชั่วขณะ
บางครั้งมันก็กลับมายึดใหม่ กลายเป็นความปรุงแต่งแบบเดิมๆ
อันนี้พูดเฉพาะกรณีนิดหนึ่ง
เพราะว่าเห็นทำได้ก็เลยพูดอย่างนี้ แต่ว่าคนทั่วไปไม่ใช่อยู่ๆ
จิตมันจะเกิดความว่างความสะอาดขึ้นมา เมื่อกี้เท่าที่ดูหลายคนทำได้ละ
น่าจะหลายคนที่ทำมาสักพักหนึ่งแล้ว ก็ดี ของเราก็ก้าวหน้าขึ้นละ
ถ้าหากไปทำอานาปานสติแบบที่ผมไกด์ (guide) ไปบ่อยๆแล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าระหว่างวัน
อยู่ๆจิตมันเกิดความปล่อยวาง เกิดความคลาย เกิดความรู้สึกไม่ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา
ขอให้สังเกตดูอย่างกรณีที่ผมพูดไปก็แล้วกัน
ของเราเมื่อกี้มันก็มีช่วงที่มันแห้งไปบ้าง แต่มันก็มีความปรุงแต่ง
เพราะจิตเดิมของเราเดิมมันปรุงแต่งมาก แต่นี่น้อยลงเยอะนะ
คือน้อยลงกว่าที่เจอคราวแรกน่ะ คราวแรกนี่มันเต็มไปด้วยความปรุงแต่งมั่วไปหมดเลย
เหมือนกับเราเป็นพวกปรุงแต่งแล้วยึดแรง
แต่อย่างเมื่อกี้จะรู้สึกได้ถึงอะไรที่มันสลับกัน
ระหว่างปล่อยกับกลับมายึด พอปล่อยมันปล่อยแป๊บเดียวแล้วก็กลับมายึด
เสร็จแล้วพอมาดูลม มันก็เหมือนกับปล่อยได้อีก อย่างนี้ดีเหมือนกัน
มันมีข้อดีตรงที่ว่าเราสามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่าง ระหว่างจิตที่ยึดกับจิตที่ปล่อยชั่วคราวชั่วขณะ
ถ้าหากว่ามันปล่อยนานเกินไปบางทีเราก็ไม่รู้จะดูอะไร แต่ถ้ามันปรุงแต่ง
มีอาการยึดมั่นถือมั่นตลอดเวลา ก็ไม่รู้จะสังเกตข้อเปรียบเทียบแตกต่าง ระหว่างจิตแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่งได้ยังไง
การที่มันมีสลับๆกันในช่วงต้นๆเนี่ย ของเราก็ทำมานานแล้วล่ะ
คือเราก็ดูไปเรื่อยๆน่ะนะ
แต่เป็นการดูที่อาจจะค่อยๆเอาวิธีการปรุงแต่งจิตแบบเก่าๆออกไปเยอะพอสมควรแล้ว
ดูตรงนี้แหละที่มันมีการปรุงแต่ง ยึดมั่นถือมันเหมือนมีตัวเรา
เหมือนมีมโนภาพอะไรแบบหนึ่ง อย่างเมื่อกี้ที่มีมโนภาพขึ้นมา
พอมองเห็นความแตกต่างไหม ระหว่างไม่มีมโนภาพกับมีมโนภาพ นึกออกใช่ไหม เพราะมันชัด
ตอนที่มันไม่มีมโนภาพน่ะ มันว่างไปแป๊บหนึ่ง แล้วมันกลับมามีมโนภาพใหม่
มันมีความรู้สึกว่าเนี่ยเรา มีตัวเรา มีความคิดนำขึ้นมา คิดแบบฟุ้งๆ ยุ่งๆ แล้วก็มีตัวตนแบบหนึ่งที่เรารู้สึกว่านั่นแหละ
คือมโนภาพของเรา แล้วพอกลับมาดูลมหายใจใหม่แป๊บนึงมันก็จะกลับมาว่าง
เวลาสังเกตเนี่ยในชีวิตประจำวันก็สามารถสังเกตแบบนี้ได้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น