ดังตฤณ :
สำหรับหัวข้อในวันนี้ ก็เป็นเรื่องมรณศาสตร์ คือ
เป็นวิชาที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่คนพูดถึงกันน้อยที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้
เพราะธรรมเนียมคนเราไม่ชอบพูดอะไรที่เป็นอัปมงคล
ไม่ชอบเอ่ยถึงสิ่งที่ไม่อยากให้มาถึง
อย่างคนไทย ถ้าบอกว่า เดี๋ยวจะได้ไปสวรรค์ แบบนี้โอเค ยินดีที่จะพูด พร้อมที่จะพูด แต่ทำอย่างไรถึงจะได้ไปสวรรค์นี่ ไม่ค่อยเต็มใจจะฟังนะ เพราะพอฟังปุ๊บ มีแต่เรื่องยุ่งยาก มีแต่เรื่องต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องฝึก ต้องทำโน่นนี่นั่น ตรงนี้แหละ ที่พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า คนส่วนใหญ่ไปไม่ค่อยดีเท่าไหร่
สำรวจเอาความคิดของตัวเองนี่แหละ ง่ายๆ เลยว่าวันๆ คิดเรื่องดี หรือไม่ดีมากกว่ากัน น้ำหนักของอะไรที่เป็นอกุศล ชั่งดูแล้ว หนักหรือเบากว่าข้างที่เป็นกุศล ฝ่ายที่เป็นความสว่าง ก็จะเริ่มเข้ามารู้ทันตัวเองว่าสมควร ... เอาแบบมีเหตุมีผลนะ ไม่ใช่เอาตามอารมณ์นะ ไม่ใช่ฉันจะต้องได้ดีเท่านั้น แต่เอาตามเหตุตามผล ตามหลักฐานที่มีอยู่จริงๆ ... ว่าคุณจะได้ไปไหน
หลายคนสำรวจดูแล้วก็ตกใจว่า เอ๊ย ยังไม่ดีจริงๆ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้จริงๆ ว่าคนส่วนใหญ่ถ้าปล่อยจิตปล่อยใจไปเรื่อยๆ ธรรมชาติของจิตก็จะไหลลงต่ำ เหมือนกับสายน้ำ ถ้าเราดู น้ำไม่มีทางที่จะทวนกระแสขึ้นสู่ที่สูงได้ ยกเว้นแต่มีแรงผลัก หรือว่ามีเหตุปัจจัยอะไรที่ดันมันให้ย้อนคืนกลับขึ้นไป ขึ้นที่สูง แต่ธรรมดาจะโดนแรงดึงดูด ให้ไหลลงต่ำเสมอ
จิตก็เหมือนกัน ในโลกเรามีอะไรบ้าง แรงดึงดูด ไม่ใช่แรงดึงดูดโลกอย่างเดียว แต่มีแรงดึงดูดจากกิเลส จากสัญชาติญาณดิบ ให้คิดอะไรที่ไม่ดีไม่งาม หรือว่าเป็นไปในทางที่จะเอา จะเอาเข้าตัว หรือไม่ก็จะมีโทสะ มีความเคียดแค้น ยอมไม่ได้ บอกว่าแบบนี้ต้องทวงความเป็นธรรม เวลาเขาทำมาหนึ่ง เราเอาคืนสิบ เราบอกว่า อย่างนี้เป็นธรรม เป็นความเป็นธรรมของกิเลสนะ ไม่ใชความเป็นธรรมทางธรรมชาติ
ทีนี้หลายคนพอเจริญสติแล้วก็เริ่มเชื่อว่านี่ของจริง คำว่าธรรมะ ไม่ใช่ของเล่น ไม่ใช่ของที่เอาไว้หลอกเด็ก ไม่ใช่นะ แต่เป็นของจริงที่เราน้อมเข้ามารู้ในตัวแล้ว ก็สามารถเห็นได้ว่าจริงหรือเปล่า ของจริงหรือของหลอก
เมื่อพบว่าเป็นของจริง หลายคนก็เกิดอาการวิตกบอกว่า ถ้าอย่างนี้เราตายไปในขณะที่ไม่ทันเตรียมตัว คือไม่ใช่ทุกคนที่นอนตายในโรงพยาบาล มีเวลาเตรียมตัวบนเตียง สี่ห้าเดือน หรือเดือนสองเดือนอะไรอย่างนี้ ส่วนใหญ่ตายแบบกำหนดไม่ได้ ขอไม่ได้นะว่า ขึ้นเครื่องบิน เครื่องบินอย่าตกนะ อย่าตายแบบตกเครื่องบินตายนะ หรือว่านั่งรถไป ขอว่าอย่ามีใครมาวิ่งชน อย่ามีสิบล้อมาเบียดตกถนน จงอย่าตายในรถ หรือว่าจะขอวิธีตายยังไงก็ตาม อย่าหัวใจวายตาย อย่าเป็นมะเร็งตาย อย่าเป็นโน่นนี่นั่น โรคปัจจุบันทั้งหลาย ขอกันไม่ได้นะ
ทีนี้ขอกันไม่ได้แล้วบางคนไปเจอ
ไปเห็น ไปพบกับตาว่าคุยกันอยู่ดีๆ เมื่อชั่วโมงที่แล้วนี่เองยังมีชีวิต
ชั่วโมงนี้ไม่มีชีวิตแล้ว หรืออย่างบางคน มีอยู่ ผมยังจำได้อยู่เลยนะ
มีอยู่กระทู้หนึ่งตอนสมัยก่อนอยู่ลานธรรม เขียนอะไรดิบดี เลยว่าตอนกลางคืนฝนจะมา
รู้สึกหนาว รู้สึกอะไร เช้าขึ้นมา ไปแล้ว ก็มีคนไปแสดงความเสียอกเสียใจ
แสดงความอาลัยกันมากมาย
นี่คือเป็นสิ่งที่เราพบ เราเห็นหลักฐานกันอยู่ทุกวัน ถ้าค้นหาไป จะพบการตายทุกวันแหละ แล้วก็จะพบว่าคนที่ตาย ร้อยละ 99.99 ไม่รู้ว่าจะตายในวันนั้น แล้วก็ไม่รู้ว่าจะตายด้วยวิธีนั้น ทีนี้ก็เลยกลายเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายๆ ท่านที่ถามๆ กันมาว่าจะพลิกสติให้ทันได้ก่อนตาย เป็นไปได้ไหม
ผู้ถามนี่ก็เจริญสติมานะ เจริญสติมาบ้าง แล้วก็รู้ตัวว่าตัวเองอาจยังไม่ได้ถึงขนาดไว้เนื้อเชื่อใจสมรรถนะทางจิตของตัวเอง แล้วก็เหมือนกับคิดไว้ล่วงหน้า ถ้าบังเอิญจะต้องตายแบบไม่รู้เนื้อ รู้ตัว ไม่ทันได้เตรียมตัว จะพลิกสติ อาศัยความสามารถที่เคยเจริญสติมาบ้าง จะสวดมนต์มาบ้าง แต่ก็ไม่ไว้ใจตัวเอง
ขอให้สำรวจเข้าไปในจิตใจตัวเองนะ คนที่ไม่ไว้ใจตัวเองว่าจะตายดีหรือไม่ดี จะเตรียมใจก่อนตายได้หรือเปล่า จะเป็นคนที่เอาแน่เอานอนกับจิตตัวเองไม่ได้ จะเป็นคนที่ ถึงจะรู้ธรรมะ ศึกษาอะไรมากี่สิบปีก็แล้วแต่ แต่พอจวนอยู่จวนไปขึ้นมา มันรู้ตัวนะ ว่ามีอาการตระหนกตกตื่นอยู่ มีอาการที่เอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่ มีอาการที่ไม่สามารถพยากรณ์ว่าวันนี้ ไปเจอคนทำหน้าแบบนี้จะอารมณ์เสีย หรือทำหน้าแบบเดียวกัน แล้วจะไม่ถือสา เฉยๆ ได้
การที่เราไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจ หรือเอาแน่เอานอนปฏิกิริยาของใจ ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล ก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ถ้าถึงเวลาขึ้นมาจริงๆ เราจะพลิกสติกันท่าไหน เราจะใช้ประโยชน์จากทุนเก่าที่สั่งสมมาบ้างในชีวิตกันท่าไหน
นี่คือเป็นสิ่งที่เราพบ เราเห็นหลักฐานกันอยู่ทุกวัน ถ้าค้นหาไป จะพบการตายทุกวันแหละ แล้วก็จะพบว่าคนที่ตาย ร้อยละ 99.99 ไม่รู้ว่าจะตายในวันนั้น แล้วก็ไม่รู้ว่าจะตายด้วยวิธีนั้น ทีนี้ก็เลยกลายเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายๆ ท่านที่ถามๆ กันมาว่าจะพลิกสติให้ทันได้ก่อนตาย เป็นไปได้ไหม
ผู้ถามนี่ก็เจริญสติมานะ เจริญสติมาบ้าง แล้วก็รู้ตัวว่าตัวเองอาจยังไม่ได้ถึงขนาดไว้เนื้อเชื่อใจสมรรถนะทางจิตของตัวเอง แล้วก็เหมือนกับคิดไว้ล่วงหน้า ถ้าบังเอิญจะต้องตายแบบไม่รู้เนื้อ รู้ตัว ไม่ทันได้เตรียมตัว จะพลิกสติ อาศัยความสามารถที่เคยเจริญสติมาบ้าง จะสวดมนต์มาบ้าง แต่ก็ไม่ไว้ใจตัวเอง
ขอให้สำรวจเข้าไปในจิตใจตัวเองนะ คนที่ไม่ไว้ใจตัวเองว่าจะตายดีหรือไม่ดี จะเตรียมใจก่อนตายได้หรือเปล่า จะเป็นคนที่เอาแน่เอานอนกับจิตตัวเองไม่ได้ จะเป็นคนที่ ถึงจะรู้ธรรมะ ศึกษาอะไรมากี่สิบปีก็แล้วแต่ แต่พอจวนอยู่จวนไปขึ้นมา มันรู้ตัวนะ ว่ามีอาการตระหนกตกตื่นอยู่ มีอาการที่เอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่ มีอาการที่ไม่สามารถพยากรณ์ว่าวันนี้ ไปเจอคนทำหน้าแบบนี้จะอารมณ์เสีย หรือทำหน้าแบบเดียวกัน แล้วจะไม่ถือสา เฉยๆ ได้
การที่เราไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจ หรือเอาแน่เอานอนปฏิกิริยาของใจ ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล ก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ถ้าถึงเวลาขึ้นมาจริงๆ เราจะพลิกสติกันท่าไหน เราจะใช้ประโยชน์จากทุนเก่าที่สั่งสมมาบ้างในชีวิตกันท่าไหน
คนส่วนใหญ่ก็จะออกแนวสำรวจตัวเองว่า
กำลังลืมตาตื่นอยู่ กำลังอารมณ์เสีย บอกว่าถ้าจะตายตอนนี้ ดับอารมณ์ทันไหม
หายใจเฮือกหนึ่ง เอ้า ก็ทำได้นี่ ไม่มีปัญหา ก็เลยนิ่งนอนใจ
แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า ถ้าจะต้องตาย ไม่มีอะไรมาก ก็แค่เปลี่ยนอารมณ์ให้ดีขึ้น ทำอารมณ์ทำใจให้เบาๆ
ให้สบายๆ แล้วทุกอย่างก็คงจะเรียบร้อย ได้ไปสวรรค์ ได้มีวิมาน ได้สิ่งที่ไม่น่ากังวลหลังความตาย
แต่ใจลึกๆ ก็ยังแอบคิดอยู่ไม่เลิกว่าจะจริงหรือเปล่า จะทำได้แบบที่นึกหรือเปล่า
ผมให้ข้อสังเกตอย่างนี้ แล้วก็จะได้เป็นแบบฝึกหัดที่จะเอาไปใช้ได้จริงนะ ก่อนที่จะถึงวาระจิตจะดับ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ในสภาพร่างกายมือไม้ขยับได้แบบนี้ตามปกติ แล้วจิตก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะไปสั่งมันให้คิดแบบนั้นแบบนี้ คิดถึงพระอรหันต์ คิดถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ คิดถึงการสวดมนต์ที่ผ่านมา คิดถึงการใส่บาตร หรือว่าทำจิตให้สดชื่นอะไรแบบนั้น ไม่ใช่ของง่ายนะ
ผมยกตัวอย่างสองภาวะ ที่คุณจะรู้ได้ว่าไม่ใช่พลิกกันง่ายๆ เช่น ตอนที่กำลังฟุ้งซ่านจัด ฟุ้งซ่านถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบวกวน แล้วก็ตัดสินใจไม่ถูก เอาเป้าหมายไม่ได้ว่าจะลงเอยแบบไหน ก็จะปั่นป่วนวกวน คุณลองห้ามใจตัวเองดู ถ้าห้ามได้ก็โอเค ถือว่าเก่ง และมีสติมากพอที่จะเอาไว้ใช้งานได้ก่อนตาย
หรืออีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดที่สุดคือก่อนนอน เวลาที่คุณครึ่งหลับครึ่งตื่น ล้มตัวลงนอนแล้ว ปิดตาแล้ว แต่ว่ายังมีสภาพอยากจะพลิกไปพลิกมา คิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ แบบที่หยุดไม่ได้ หรือแม้กระทั่งช่วงที่อยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ที่เหมือนกับจะสั่งให้ตัวเองคิดก็ได้ แต่ก็ริบหรี่ ความสามารถที่เหลืออยู่ ที่จะบังคับควบคุมตัวเอง เหลืออยู่แค่นิดเดียว พอปล่อยอีกหน่อยหนึ่ง จะแล่นไปตามอาการที่เป็นภวังค์หลับ คือไม่รู้สึกตัว ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ภาวะแบบนั้น ถ้าคิดง่ายๆ เลยนะ เอาแบบเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ถ้าสมมติตอนนั้น เป็นภาวะเดียวที่ใกล้เคียงกันกับภาวะก่อนตาย คุณทำอะไรได้บ้างกับตรงนั้น
อย่างถ้ากำลังฟุ้งซ่านวกวน สูดหายใจทีหนึ่งให้สงบได้ไหม หรือว่า ก่อนนอน กำลังจะหลับมิหลับแหล่ แต่คิดถึงคนที่เราแค้นเคือง คนที่เราอยากจะด่ากลับ อยากจะออกหมัดสวน หรือทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเจ็บใจ แต่ทำไม่ได้ กำลังนอนอยู่ อยู่บนเตียง อยู่ห่างจากเขาเป็นเมือง อยู่ห่างจากเขาเป็นโยชน์ ณ เวลานั้น เราทำให้ใจตัวเอง ให้มีความสงบ มีความระงับ แล้วก็คิดเมตตา คิดในทางที่ เออ อยากให้เขาเป็นสุขในทางไม่ต้องเบียดเบียนกัน เหมือนกับเราที่อยากจะนอนหลับให้สบายๆ ให้สบายใจ ทำได้ไหม
ถ้าทำได้ โอเค ถือว่ามีสติ ถือว่ามีกำลังของกุศลหนุนอยู่แน่นหนา ใช้ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็น่าเป็นห่วงช่วงก่อนตายเหมือนกัน ช่วงตายแบบไม่ทันได้เตรียมตัว ไม่ทันได้มาระมัดระวัง หรือว่าฟังเทศน์ ฟังธรรมครูบาอาจารย์กันเป็นเดือนๆ นอนติดเตียงอะไรแบบนี้นะ
ถ้าเรามีความเข้าใจตรงนี้ เราจะเห็นลู่ทางที่จะซ้อมก่อนที่จะหลับ ลองสำรวจจิตใจตัวเอง ว่าฟุ้งซ่าน กระเจิง กระจาย ควบคุมไม่ได้อยู่ทุกคืนไหม แล้วเราทำยังไงกับมัน มีแนวโน้มยังไง ปล่อยแบบเลยตามเลย อยากจะฟุ้งยังไงก็ช่าง หรือว่า เราค่อยๆ ทำอะไรบางอย่างกับมัน
หลายคนก็บอกจะสวดมนต์ก่อนนอนไปด้วย คืออาจสวดในห้องพระ หรือสวดบนเตียงนั่นแหละ ท่านอน หรือบางคนบอกว่าไม่อยากยุ่งยากไม่อยากบริกรรม เอาแค่ดูลมหายใจได้ไหม หายใจยาวๆ ที แล้วก็ดูว่าใจสงบลงได้บ้างไหม ถ้าใจกลับมาฟุ้งใหม่ก็เออ ลมหายใจนี้ยังไม่หายฟุ้งนะ ยังฟุ้งกระเจิงอยู่ อีกลมหายใจ ถึงค่อยลดระดับความฟุ้งซ่านลงมา สังเกตไปเรื่อยๆ เห็นความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง ซ้อมไปซ้อมมาเป็นเดือน เป็นปีเข้า กลายเป็นความชำนาญ พอเอนลงปุ๊บ เข้าสู่ความเคยชิน
คือสมองนี่นะ จะสั่งสมความเคยชินมากขึ้นๆ ถ้าหากว่าลงนอนปุ๊บแล้วสมองรู้ว่านี่อยู่ในท่าเอนแล้ว แล้วก็มีความเคยชินที่จะหายใจเพื่อเอาความรู้สึกสำรวจว่า ลมหายใจนี้ยังฟุ้งอยู่แค่ไหน มากหรือว่าน้อย นี่ มันจะทำงานเองอัตโนมัติ
คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้นะ ถ้าก่อนนอน ก่อนที่จะเข้าสู่ภวังค์หลับ มีความเคยชิน มีความชำนวญที่จะรู้สึกถึงลมหายใจ แล้วสังเกตความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน จะไม่ต้องออกแรง จะเป็นอัตโนมัติ จะเป็นไปเอง โดยไม่ฝืนใจ แล้วมีความรู้สึกว่า นี่เป็นสิ่งที่เราทำได้ง่ายๆ นี่เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องฝืนใจที่จะทำ
ความชำนาญ ความเคยชินอย่างนั้นแหละ จะมีคุณค่ามหาศาล คุณจะเห็นเลยว่า ด้วยการที่เราตั้งใจเตรียมใจ ไว้นานๆ เป็นเดือน เป็นปี พอถึงเวลาต้องใช้จริงๆ ต้องงัดขึ้นมาใช้ปัจจุบันทันด่วน โอ้โห มีค่ามหาศาล มีค่ามากกว่าขุมทรัพย์ที่คุณพบมาทั้งโลก สะสมมาทั้งชีวิต ต่อให้ได้พบช่องทางลับลงไปใต้ปิรามิด ไปโกยสมบัติตุตันคาเมนมาไว้ที่บ้านเป็นลังๆ ก็ยังไม่มีความหมายเลย เวลาที่คุณกำลังจะต้องจากโลกนี้ไป
แต่ถ้าหากว่าสะสมทีละเล็กทีละน้อย เหมือนหยอดกระปุก เหมือนหยอดวันละ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท 10 บาทก็ยังดี หยอดกระปุกใส่จิตใส่วิญญาณไว้ แล้วก่อนตายได้เอาออกมาใช้ โอ้โห จะรู้เลยนะ จะรู้จริงๆเลยว่าที่สะสมมาทั้งชีวิตไม่มีอะไร เทียบตรงนี้ได้เลยนะครับ ขอแค่คืนละนาที สองนาที จะมีค่ายิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ทรัพย์สินศฤงคาร ลูกเมีย หรือลาภยศสรรเสริญอะไรต่างๆ ทั้งหมดเลย ทั้งหมดที่สะสมมาทั้งชีวิตนะครับ เทียบค่ากันไม่ได้เลยกับความเคยชินที่จะนอนหลับแบบไม่ต้องฟุ้งซ่านนะ แล้วก็ตั้งใจไว้ด้วยว่าความสามารถตรงนี้ ก่อนหลับสามารถดับความฟุ้งซ่านได้ จะเอาไปใช้ในช่วงก่อนตาย จะเอาไปพลิกจิตพลิกใจ ให้กลายเป็นกุศลขึ้นมาแทน!
ผมให้ข้อสังเกตอย่างนี้ แล้วก็จะได้เป็นแบบฝึกหัดที่จะเอาไปใช้ได้จริงนะ ก่อนที่จะถึงวาระจิตจะดับ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ในสภาพร่างกายมือไม้ขยับได้แบบนี้ตามปกติ แล้วจิตก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะไปสั่งมันให้คิดแบบนั้นแบบนี้ คิดถึงพระอรหันต์ คิดถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ คิดถึงการสวดมนต์ที่ผ่านมา คิดถึงการใส่บาตร หรือว่าทำจิตให้สดชื่นอะไรแบบนั้น ไม่ใช่ของง่ายนะ
ผมยกตัวอย่างสองภาวะ ที่คุณจะรู้ได้ว่าไม่ใช่พลิกกันง่ายๆ เช่น ตอนที่กำลังฟุ้งซ่านจัด ฟุ้งซ่านถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบวกวน แล้วก็ตัดสินใจไม่ถูก เอาเป้าหมายไม่ได้ว่าจะลงเอยแบบไหน ก็จะปั่นป่วนวกวน คุณลองห้ามใจตัวเองดู ถ้าห้ามได้ก็โอเค ถือว่าเก่ง และมีสติมากพอที่จะเอาไว้ใช้งานได้ก่อนตาย
หรืออีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดที่สุดคือก่อนนอน เวลาที่คุณครึ่งหลับครึ่งตื่น ล้มตัวลงนอนแล้ว ปิดตาแล้ว แต่ว่ายังมีสภาพอยากจะพลิกไปพลิกมา คิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ แบบที่หยุดไม่ได้ หรือแม้กระทั่งช่วงที่อยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ที่เหมือนกับจะสั่งให้ตัวเองคิดก็ได้ แต่ก็ริบหรี่ ความสามารถที่เหลืออยู่ ที่จะบังคับควบคุมตัวเอง เหลืออยู่แค่นิดเดียว พอปล่อยอีกหน่อยหนึ่ง จะแล่นไปตามอาการที่เป็นภวังค์หลับ คือไม่รู้สึกตัว ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ภาวะแบบนั้น ถ้าคิดง่ายๆ เลยนะ เอาแบบเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ถ้าสมมติตอนนั้น เป็นภาวะเดียวที่ใกล้เคียงกันกับภาวะก่อนตาย คุณทำอะไรได้บ้างกับตรงนั้น
อย่างถ้ากำลังฟุ้งซ่านวกวน สูดหายใจทีหนึ่งให้สงบได้ไหม หรือว่า ก่อนนอน กำลังจะหลับมิหลับแหล่ แต่คิดถึงคนที่เราแค้นเคือง คนที่เราอยากจะด่ากลับ อยากจะออกหมัดสวน หรือทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเจ็บใจ แต่ทำไม่ได้ กำลังนอนอยู่ อยู่บนเตียง อยู่ห่างจากเขาเป็นเมือง อยู่ห่างจากเขาเป็นโยชน์ ณ เวลานั้น เราทำให้ใจตัวเอง ให้มีความสงบ มีความระงับ แล้วก็คิดเมตตา คิดในทางที่ เออ อยากให้เขาเป็นสุขในทางไม่ต้องเบียดเบียนกัน เหมือนกับเราที่อยากจะนอนหลับให้สบายๆ ให้สบายใจ ทำได้ไหม
ถ้าทำได้ โอเค ถือว่ามีสติ ถือว่ามีกำลังของกุศลหนุนอยู่แน่นหนา ใช้ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็น่าเป็นห่วงช่วงก่อนตายเหมือนกัน ช่วงตายแบบไม่ทันได้เตรียมตัว ไม่ทันได้มาระมัดระวัง หรือว่าฟังเทศน์ ฟังธรรมครูบาอาจารย์กันเป็นเดือนๆ นอนติดเตียงอะไรแบบนี้นะ
ถ้าเรามีความเข้าใจตรงนี้ เราจะเห็นลู่ทางที่จะซ้อมก่อนที่จะหลับ ลองสำรวจจิตใจตัวเอง ว่าฟุ้งซ่าน กระเจิง กระจาย ควบคุมไม่ได้อยู่ทุกคืนไหม แล้วเราทำยังไงกับมัน มีแนวโน้มยังไง ปล่อยแบบเลยตามเลย อยากจะฟุ้งยังไงก็ช่าง หรือว่า เราค่อยๆ ทำอะไรบางอย่างกับมัน
หลายคนก็บอกจะสวดมนต์ก่อนนอนไปด้วย คืออาจสวดในห้องพระ หรือสวดบนเตียงนั่นแหละ ท่านอน หรือบางคนบอกว่าไม่อยากยุ่งยากไม่อยากบริกรรม เอาแค่ดูลมหายใจได้ไหม หายใจยาวๆ ที แล้วก็ดูว่าใจสงบลงได้บ้างไหม ถ้าใจกลับมาฟุ้งใหม่ก็เออ ลมหายใจนี้ยังไม่หายฟุ้งนะ ยังฟุ้งกระเจิงอยู่ อีกลมหายใจ ถึงค่อยลดระดับความฟุ้งซ่านลงมา สังเกตไปเรื่อยๆ เห็นความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง ซ้อมไปซ้อมมาเป็นเดือน เป็นปีเข้า กลายเป็นความชำนาญ พอเอนลงปุ๊บ เข้าสู่ความเคยชิน
คือสมองนี่นะ จะสั่งสมความเคยชินมากขึ้นๆ ถ้าหากว่าลงนอนปุ๊บแล้วสมองรู้ว่านี่อยู่ในท่าเอนแล้ว แล้วก็มีความเคยชินที่จะหายใจเพื่อเอาความรู้สึกสำรวจว่า ลมหายใจนี้ยังฟุ้งอยู่แค่ไหน มากหรือว่าน้อย นี่ มันจะทำงานเองอัตโนมัติ
คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้นะ ถ้าก่อนนอน ก่อนที่จะเข้าสู่ภวังค์หลับ มีความเคยชิน มีความชำนวญที่จะรู้สึกถึงลมหายใจ แล้วสังเกตความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน จะไม่ต้องออกแรง จะเป็นอัตโนมัติ จะเป็นไปเอง โดยไม่ฝืนใจ แล้วมีความรู้สึกว่า นี่เป็นสิ่งที่เราทำได้ง่ายๆ นี่เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องฝืนใจที่จะทำ
ความชำนาญ ความเคยชินอย่างนั้นแหละ จะมีคุณค่ามหาศาล คุณจะเห็นเลยว่า ด้วยการที่เราตั้งใจเตรียมใจ ไว้นานๆ เป็นเดือน เป็นปี พอถึงเวลาต้องใช้จริงๆ ต้องงัดขึ้นมาใช้ปัจจุบันทันด่วน โอ้โห มีค่ามหาศาล มีค่ามากกว่าขุมทรัพย์ที่คุณพบมาทั้งโลก สะสมมาทั้งชีวิต ต่อให้ได้พบช่องทางลับลงไปใต้ปิรามิด ไปโกยสมบัติตุตันคาเมนมาไว้ที่บ้านเป็นลังๆ ก็ยังไม่มีความหมายเลย เวลาที่คุณกำลังจะต้องจากโลกนี้ไป
แต่ถ้าหากว่าสะสมทีละเล็กทีละน้อย เหมือนหยอดกระปุก เหมือนหยอดวันละ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท 10 บาทก็ยังดี หยอดกระปุกใส่จิตใส่วิญญาณไว้ แล้วก่อนตายได้เอาออกมาใช้ โอ้โห จะรู้เลยนะ จะรู้จริงๆเลยว่าที่สะสมมาทั้งชีวิตไม่มีอะไร เทียบตรงนี้ได้เลยนะครับ ขอแค่คืนละนาที สองนาที จะมีค่ายิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ทรัพย์สินศฤงคาร ลูกเมีย หรือลาภยศสรรเสริญอะไรต่างๆ ทั้งหมดเลย ทั้งหมดที่สะสมมาทั้งชีวิตนะครับ เทียบค่ากันไม่ได้เลยกับความเคยชินที่จะนอนหลับแบบไม่ต้องฟุ้งซ่านนะ แล้วก็ตั้งใจไว้ด้วยว่าความสามารถตรงนี้ ก่อนหลับสามารถดับความฟุ้งซ่านได้ จะเอาไปใช้ในช่วงก่อนตาย จะเอาไปพลิกจิตพลิกใจ ให้กลายเป็นกุศลขึ้นมาแทน!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น