ดังตฤณ : คืนนี้ เราจะมาว่ากันด้วยประเด็นที่ หลายคนประสบหลังจากที่ได้เจริญสติมาพักหนึ่ง
หรือว่าฟังเทศน์ฟังธรรม แล้วเกิดอาการรู้อาการเห็นเข้ามาข้างใน
รู้สึกถึงความเป็นกายใจ บางทีก็อาจเดินจงกรมอยู่ หรืออาจปฏิบัติธรรมแบบใดแบบหนึ่งตามถนัดของตนเอง
แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เอ๊ะ เหมือนเห็นกายนี้ เป็นของคนอื่น เหมือนเห็นใจนี้
ที่คิดๆ อยู่ ไม่ใช่ตัวเราคิด แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่ใช่กาย ไม่ใช่ใจ
ไม่มีตัวตนของเราจริงๆ ด้วย ซึ่งก็ถือว่า มาถูกทิศถูกทางแล้ว ที่จะรู้
ที่จะเห็นแบบพุทธนะครับ
แต่ว่าเกิดปัญหาขึ้นมาคือ บางคนเกิดความรู้สึกว่า จิตไม่ยอมเชื่อ ไม่อยากเชื่อ แล้วก็ไม่อยากที่จะปล่อย เกิดความรู้สึก ... บางคนอธิบายว่ามันรวดร้าวอยู่ข้างใน ... ช็อค เกิดความรู้สึกตกใจ เกิดความรู้สึกว่านี่อะไรกัน ที่เชื่อมาตลอดชีวิต ผิดหมดเลย พังพินาศหมดเลย ระบบความเชื่อแบบเดิมๆ
หลายคนเกิดความรู้สึกไม่อยากจะเชื่อ ไม่อยากจะทิ้ง หรือเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้นมา ทั้งๆที่ปฏิบัติธรรม เจริญสติมาตลอด ก็เพื่อที่จะได้เห็นว่า กายใจไม่ใช่ตัวตน แต่พอเห็นขึ้นมาจริงๆ แล้วเกิดความกลัว เกิดความตระหนก หรือเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากจะเชื่ออย่างที่เห็น นี่มีสาเหตุมาจากไหน มาจากสองสาเหตุหลักๆ เท่าที่เจอมานะครับ แล้วก็เคยประสบมากับตัวเองด้วยคือ
ข้อที่หนึ่ง อาจเคยมีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นในตัวตนสูงมาก พูดง่ายๆ ว่ามีอัตตาใหญ่ มีอีโก้ (ego) เยอะ แล้วก็มีดี โน่น นี่ นั่น ที่ทำให้หวงความเป็นตัวเป็นตน
คิดง่ายๆเลยคือ ลองนึกดูว่า คนมีหน้ามีตา ใครจะอยากเสียหน้าเสียตาใช่ไหม หรือมีข้าวของทรัพย์สมบัติ ใครบ้างที่อยากสละ หรือ มีความคุมแค้น มีความรู้สึกว่าพยาบาทใครอยู่ มีสักกี่คนที่อยากจะเสียสละความแค้น หรือว่าความพยาบาทนั้นให้อภัยเป็นทาน ไม่ค่อยมีกัน ทีนี้ถึงขั้นที่จะสละความรู้สึกว่ามีตัวตน อันนี้ เป็นโคตรเหง้าของความรู้สึกหวงแหนทั้งปวงเลยทีเดียว ฉะนั้นก็ไม่น่าแปลกใจถ้าหากว่า เริ่มเห็นขึ้นมาว่า ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ กายนี้ใจนี้ เหมือนเป็นของอื่น เป็นของที่คล้ายเป็นเหยื่อล่อเฉยๆ ให้จิตไปตะครุบ ไปงับเอา ไปยึดเอาอย่างแบบที่เรียกว่าสำคัญผิด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อยึดมั่นสำคัญผิด ตัวนั้นแหละที่เรียกว่า อุปาทาน
อุปาทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็มีที่ตั้งเป็นขันธ์ทั้งห้า หรือว่ากายใจนี้ ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นอุปาทานขันธ์ หรือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน
ถ้าหากว่า เริ่มเจอเป็นครั้งแรกๆ ก็อย่าแปลกใจ เวลาเกิดความรู้สึก ช็อค ไม่อยากเชื่อ หรือเกิดความรู้สึกหวง คล้ายๆ คนที่ตอนแรกตั้งใจจะไปบริจาคเงินหนึ่งหมื่นบาท ด้วยความรู้สึกว่าปรารถนาอย่างแรงกล้า จะต้องเอาเงินจำนวนนี้ไปช่วยผู้ประสบภัย หรือว่าไปทำบุญ ทำกุศล ที่เราเกิดความรู้สึกศรัทธาขึ้นมา แต่พอถึงเวลาเข้าจริงๆ เกิดความรู้สึก โอ้โห ตั้งหนึ่งหมื่นแน่ะ แล้วก็คิดว่า ลดลงสักนิดดีไหม เหลือแค่ห้าพัน หรือ แค่พันเดียวก็น่าจะโอเคแล้ว ถือว่าเราได้มีส่วนช่วยร่วมกับอีกหลายๆ คนอะไรต่างๆ นานา
เหมือนกัน ตอนแรกตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญสติมาก็เพื่อที่จะสละตัวตน ความรู้สึกผิดๆ ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเป็นตน แต่พอเอาเข้าจริงๆ เห็นขึ้นมารำไรว่าลมหายใจก็ไม่เที่ยง ความรู้สึกสุข ทุกข์ก็ไม่เที่ยง กายที่กำลังเดินเป็นหุ่นคล้ายๆ เป็นนายแบบนางแบบ บนแคทวอล์ค คือ เวทีโลก เห็นเป็นหุ่น เห็นเป็นเหมือนกับของหลอก ของล่อ แล้วเกิดความรู้สึกตระหนกขึ้นมา ไม่ต้องแปลกใจ บางที บางคนไม่กล้าปฏิบัติธรรมเลยก็มี ด้วยความรู้สึกตกใจนั้น
เรื่องนี้ก็ขอให้มองว่า เราน่าจะยึดมั่นถือมั่น มีความรู้สึก มีอีโก้สูง
ข้อสอง ที่เคยเจอมาก็คือว่า ไม่ได้ปฏิบัติธรรมมาตามลำดับ แต่ว่าปฏิบัติธรรมในแบบที่ใจแห้งๆ ไม่มีความสุข ไม่มีความรู้สึกชุ่มชื่นรองรับอยู่ พอเกิดความเห็นขึ้นมาคร่าวๆ เกิดความเห็นขึ้นมารางๆ ว่า นี่น่าจะไม่ใช่ตัวเราจริงๆด้วย เป็นแค่หุ่นที่เราไม่เคยออกแบบ เป็นแค่สภาวะทางธรรมชาติที่ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครสามารถยึดครองไว้ได้ แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมา จากพื้นความแห้งแล้ง ไม่ชุ่มชื่นอยู่ พอเห็นอย่างนั้นก็เกิดความกลัวขึ้นมา หรือเกิดความเจ็บปวดขึ้นมา
ทีนี้ถ้าหากเราได้เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านให้แนวทางการปฏิบัติมาไว้อย่างไร เราก็จะพอเห็นทิศทางที่ถูกต้อง คือ จริงๆแล้วพระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้กระโดดไปพิจารณาธรรมอย่างต่อเนื่องทันที เหมือนที่ผมยกตัวอย่างบ่อยๆ นะครับ ที่มีเหล่าภิกษุจำนวนมากทีเดียว ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์สรรเสริญอสุภกรรมฐาน แล้วก็พากันทำอสุภกรรมฐาน เห็นกายของตัวเองเหมือนศพ เหมือนของที่น่ารังเกียจ ของโสโครก เหมือนแบกส้วมไปมา ก็เลยวานกันฆ่า ไปจ้างคนมาฆ่าก่อน แล้วก็วานฆ่ากันเอง แล้วก็ฆ่าตัวตายอะไรแบบนี้จนแทบไม่เหลือ พระพุทธเจ้ารู้เข้าก็เลยตรัสเรียกประชุมสงฆ์บอกว่า ให้ทำอานาปานสติ ให้เกิดความสุขก่อนเป็นพื้น แล้วค่อยไปพิจารณาอสุภกรรมฐาน
นี้คือตัวอย่างนะ ว่า เราสามารถที่จะเห็นเข้ามาในกายใจแล้วเกิดความอึดอัดระอา หรือว่ารังเกียจ หรือตระหนกในความไม่มีตัวตน แล้วถ้าไม่มีพื้นฐานความสุขรองรับอยู่ก่อนก็อาจเกิดความเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมานในแบบที่ทำให้ทนไม่ไหวได้
ทีนี้ถ้าหากว่าเราทำความเข้าใจ อย่างคนที่มาตามลำดับ พอพูดง่ายๆว่า มีสมาธิก่อนแล้วก็มีความสุข มีความเบา จนกระทั่งสามารถที่จะไล่ไปตามลำดับว่าที่กำลังตั้งอยู่นี้ คือลมหายใจเข้าบ้าง ลมหายใจออกบ้าง พอมีความรู้สึกถึงลมยาว ก็เกิดความสดชื่น สดชื่นนานๆ เข้าก็เกิดสมาธิ พอเกิดสมาธิ ตอนนั้นก็จะรู้เลยว่า สภาวะอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากลมหายใจ ก็มีค่าเท่ากับลมหายใจนั่นแหละ คือกำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่
พอเห็นความคิด ความรู้สึกในตัวในตน ที่ผุดขึ้นมาในหัว ที่เคยสำคัญว่า เป็นความคิดของเราแน่ๆ เราเป็นผู้คิดแน่ๆ เนี่ย จะเปลี่ยนไป เป็นแค่สภาวะลมเพลมพัดอยู่ในหัว แล้วไม่รู้สึกขึ้นมาเลยว่า ที่คิดอยู่นี่เป็นตัวของเราเป็นผู้คิด แค่เห็นว่า (ความคิด) ผ่านมาแล้วผ่านไปอยู่ในหัว จิตผู้มีสติอยู่ ตั้งเป็นศูนย์กลางการรับรู้ ด้วยความรู้สึกว่า ไม่มีอะไรต้องเสียใจ ไม่มีอะไรที่ต้องไปเกิดความตระหนกหรือว่าเกิดความแปลกใจในเมื่อเราเห็นมาตั้งแต่ต้นว่า ลมหายใจที่เข้าที่ออกอยู่ เข้ามาแป๊บหนึ่ง แล้วก็คาย ก็คืนออกไป
ตรงที่มีความรับรู้อยู่ว่า ทั้งกายทั้งใจนี้ นับเริ่มแต่ลมหายใจ กำลังแสดงความไม่เที่ยง กำลังแสดงความไม่ใช่ตัวเดิม จะทำให้เกิดการยอมรับอย่างมีความสุข มีความพอใจที่ได้เห็น แตกต่างจากคนที่เหมือนกับอยู่ในสภาวะแห้งแล้ง แล้วอยู่ๆ กระโดดขึ้นไปเห็นว่า เอ๊ะ กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เดี๋ยวต้องตายดับ เดี๋ยวก็จะต้องแสดงความเน่าเปื่อยผุพัง หรืออย่างน้อยที่สุด เห็นเข้าไปว่า มีตับไตไส้พุง หรือสภาวะความรู้สึกนึกคิด มันผ่านมาแล้วหวงไว้ไม่ได้ เดี๋ยวก็ต้องหายไป ดับไป แปรสภาพไป บางทีวันหนึ่งคิดอย่างหนึ่ง แต่พอข้ามคืนเท่านั้นกลายเป็นความคิดอีกอย่างไม่ใช่ตัวเดิม พอเห็นแบบนี้แล้วเกิดความรู้สึกหดหู่ ห่อเหี่ยว ตายแล้วไม่มีตัวตนจริงๆ แล้วตัวเราเป็นใคร เกิดความสงสัย เกิดความรู้สึกปั่นป่วนหนักเข้าก็เลยเลิกปฏิบัติไป แบบนี้เยอะเลยนะ
แต่ถ้ามีความสุขเป็นพื้นรองรับอยู่ก่อน ตรงนี้จะไม่มีปัญหาเลย ความสุขความพอใจตรงนี้ไม่ใช่ความสุขแบบโลกๆ นะ แต่เป็นความสุขความพอใจที่ได้เห็นว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เดี๋ยวยาวบ้าง เดี๋ยวสั้นบ้าง แล้วพอมีความเคยชินที่จะรับรู้ ยอมรับไปตามจริงว่า ไม่มีความสามารถใดๆ ของใครเลยที่จะไปหวงลมหายใจยาวไว้อย่างเดียว ไม่มีใครในโลกเลยที่จะเก็บเอาความสุขติดตัวไว้ได้ตลอดเวลาชั่วชีวิต มีเข้ามีออก มีเปลี่ยน เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ ตามลมสั้นลมยาว นี่แหละ ที่จะพาไปสู่การยอมรับในขั้นต่อๆ ไปนะครับ
บอกไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังๆ เริ่มเดินจงกรมกันได้ เริ่มชอบนั่งสมาธิกันขึ้นมาถี่ๆ จะไปเจอความรู้สึกนี้เวลาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของกายใจ ความไม่ใช่ตัวเดิมของกายใจไปเรื่อยๆ ก็บอกไว้ว่า มีเยอะ ที่เกิดความรู้สึกตกใจขึ้นมาพอเห็นครั้งแรกๆ แล้วก็ไม่น่าแปลกใจนะถ้าหากว่าเราจะเกิดอาการช็อคขึ้นมา
เรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่อย่างที่เราคิดนะ ไม่ใช่แค่หาความสุขเล่นๆ ไม่ใช่แค่แก้เครียดไปพลางๆ การปฏิบัติธรรมแบบพุทธเป็นอะไรที่ พลิกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยคิด ที่เราเคยเชื่อที่เราเคยหลงยึด ว่าเป็นตัวเราแน่ๆ แล้วพอไปเจอภาวะนั้นครั้งแรกๆ ก็อาจช็อคได้!
++ ++ ++ ++
https://www.youtube.com/watch?v=W8sEPTcGEWA
แต่ว่าเกิดปัญหาขึ้นมาคือ บางคนเกิดความรู้สึกว่า จิตไม่ยอมเชื่อ ไม่อยากเชื่อ แล้วก็ไม่อยากที่จะปล่อย เกิดความรู้สึก ... บางคนอธิบายว่ามันรวดร้าวอยู่ข้างใน ... ช็อค เกิดความรู้สึกตกใจ เกิดความรู้สึกว่านี่อะไรกัน ที่เชื่อมาตลอดชีวิต ผิดหมดเลย พังพินาศหมดเลย ระบบความเชื่อแบบเดิมๆ
หลายคนเกิดความรู้สึกไม่อยากจะเชื่อ ไม่อยากจะทิ้ง หรือเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้นมา ทั้งๆที่ปฏิบัติธรรม เจริญสติมาตลอด ก็เพื่อที่จะได้เห็นว่า กายใจไม่ใช่ตัวตน แต่พอเห็นขึ้นมาจริงๆ แล้วเกิดความกลัว เกิดความตระหนก หรือเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากจะเชื่ออย่างที่เห็น นี่มีสาเหตุมาจากไหน มาจากสองสาเหตุหลักๆ เท่าที่เจอมานะครับ แล้วก็เคยประสบมากับตัวเองด้วยคือ
ข้อที่หนึ่ง อาจเคยมีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นในตัวตนสูงมาก พูดง่ายๆ ว่ามีอัตตาใหญ่ มีอีโก้ (ego) เยอะ แล้วก็มีดี โน่น นี่ นั่น ที่ทำให้หวงความเป็นตัวเป็นตน
คิดง่ายๆเลยคือ ลองนึกดูว่า คนมีหน้ามีตา ใครจะอยากเสียหน้าเสียตาใช่ไหม หรือมีข้าวของทรัพย์สมบัติ ใครบ้างที่อยากสละ หรือ มีความคุมแค้น มีความรู้สึกว่าพยาบาทใครอยู่ มีสักกี่คนที่อยากจะเสียสละความแค้น หรือว่าความพยาบาทนั้นให้อภัยเป็นทาน ไม่ค่อยมีกัน ทีนี้ถึงขั้นที่จะสละความรู้สึกว่ามีตัวตน อันนี้ เป็นโคตรเหง้าของความรู้สึกหวงแหนทั้งปวงเลยทีเดียว ฉะนั้นก็ไม่น่าแปลกใจถ้าหากว่า เริ่มเห็นขึ้นมาว่า ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ กายนี้ใจนี้ เหมือนเป็นของอื่น เป็นของที่คล้ายเป็นเหยื่อล่อเฉยๆ ให้จิตไปตะครุบ ไปงับเอา ไปยึดเอาอย่างแบบที่เรียกว่าสำคัญผิด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อยึดมั่นสำคัญผิด ตัวนั้นแหละที่เรียกว่า อุปาทาน
อุปาทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็มีที่ตั้งเป็นขันธ์ทั้งห้า หรือว่ากายใจนี้ ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นอุปาทานขันธ์ หรือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน
ถ้าหากว่า เริ่มเจอเป็นครั้งแรกๆ ก็อย่าแปลกใจ เวลาเกิดความรู้สึก ช็อค ไม่อยากเชื่อ หรือเกิดความรู้สึกหวง คล้ายๆ คนที่ตอนแรกตั้งใจจะไปบริจาคเงินหนึ่งหมื่นบาท ด้วยความรู้สึกว่าปรารถนาอย่างแรงกล้า จะต้องเอาเงินจำนวนนี้ไปช่วยผู้ประสบภัย หรือว่าไปทำบุญ ทำกุศล ที่เราเกิดความรู้สึกศรัทธาขึ้นมา แต่พอถึงเวลาเข้าจริงๆ เกิดความรู้สึก โอ้โห ตั้งหนึ่งหมื่นแน่ะ แล้วก็คิดว่า ลดลงสักนิดดีไหม เหลือแค่ห้าพัน หรือ แค่พันเดียวก็น่าจะโอเคแล้ว ถือว่าเราได้มีส่วนช่วยร่วมกับอีกหลายๆ คนอะไรต่างๆ นานา
เหมือนกัน ตอนแรกตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญสติมาก็เพื่อที่จะสละตัวตน ความรู้สึกผิดๆ ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเป็นตน แต่พอเอาเข้าจริงๆ เห็นขึ้นมารำไรว่าลมหายใจก็ไม่เที่ยง ความรู้สึกสุข ทุกข์ก็ไม่เที่ยง กายที่กำลังเดินเป็นหุ่นคล้ายๆ เป็นนายแบบนางแบบ บนแคทวอล์ค คือ เวทีโลก เห็นเป็นหุ่น เห็นเป็นเหมือนกับของหลอก ของล่อ แล้วเกิดความรู้สึกตระหนกขึ้นมา ไม่ต้องแปลกใจ บางที บางคนไม่กล้าปฏิบัติธรรมเลยก็มี ด้วยความรู้สึกตกใจนั้น
เรื่องนี้ก็ขอให้มองว่า เราน่าจะยึดมั่นถือมั่น มีความรู้สึก มีอีโก้สูง
ข้อสอง ที่เคยเจอมาก็คือว่า ไม่ได้ปฏิบัติธรรมมาตามลำดับ แต่ว่าปฏิบัติธรรมในแบบที่ใจแห้งๆ ไม่มีความสุข ไม่มีความรู้สึกชุ่มชื่นรองรับอยู่ พอเกิดความเห็นขึ้นมาคร่าวๆ เกิดความเห็นขึ้นมารางๆ ว่า นี่น่าจะไม่ใช่ตัวเราจริงๆด้วย เป็นแค่หุ่นที่เราไม่เคยออกแบบ เป็นแค่สภาวะทางธรรมชาติที่ไม่มีใครสร้าง และไม่มีใครสามารถยึดครองไว้ได้ แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมา จากพื้นความแห้งแล้ง ไม่ชุ่มชื่นอยู่ พอเห็นอย่างนั้นก็เกิดความกลัวขึ้นมา หรือเกิดความเจ็บปวดขึ้นมา
ทีนี้ถ้าหากเราได้เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านให้แนวทางการปฏิบัติมาไว้อย่างไร เราก็จะพอเห็นทิศทางที่ถูกต้อง คือ จริงๆแล้วพระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้กระโดดไปพิจารณาธรรมอย่างต่อเนื่องทันที เหมือนที่ผมยกตัวอย่างบ่อยๆ นะครับ ที่มีเหล่าภิกษุจำนวนมากทีเดียว ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์สรรเสริญอสุภกรรมฐาน แล้วก็พากันทำอสุภกรรมฐาน เห็นกายของตัวเองเหมือนศพ เหมือนของที่น่ารังเกียจ ของโสโครก เหมือนแบกส้วมไปมา ก็เลยวานกันฆ่า ไปจ้างคนมาฆ่าก่อน แล้วก็วานฆ่ากันเอง แล้วก็ฆ่าตัวตายอะไรแบบนี้จนแทบไม่เหลือ พระพุทธเจ้ารู้เข้าก็เลยตรัสเรียกประชุมสงฆ์บอกว่า ให้ทำอานาปานสติ ให้เกิดความสุขก่อนเป็นพื้น แล้วค่อยไปพิจารณาอสุภกรรมฐาน
นี้คือตัวอย่างนะ ว่า เราสามารถที่จะเห็นเข้ามาในกายใจแล้วเกิดความอึดอัดระอา หรือว่ารังเกียจ หรือตระหนกในความไม่มีตัวตน แล้วถ้าไม่มีพื้นฐานความสุขรองรับอยู่ก่อนก็อาจเกิดความเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมานในแบบที่ทำให้ทนไม่ไหวได้
ทีนี้ถ้าหากว่าเราทำความเข้าใจ อย่างคนที่มาตามลำดับ พอพูดง่ายๆว่า มีสมาธิก่อนแล้วก็มีความสุข มีความเบา จนกระทั่งสามารถที่จะไล่ไปตามลำดับว่าที่กำลังตั้งอยู่นี้ คือลมหายใจเข้าบ้าง ลมหายใจออกบ้าง พอมีความรู้สึกถึงลมยาว ก็เกิดความสดชื่น สดชื่นนานๆ เข้าก็เกิดสมาธิ พอเกิดสมาธิ ตอนนั้นก็จะรู้เลยว่า สภาวะอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากลมหายใจ ก็มีค่าเท่ากับลมหายใจนั่นแหละ คือกำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่
พอเห็นความคิด ความรู้สึกในตัวในตน ที่ผุดขึ้นมาในหัว ที่เคยสำคัญว่า เป็นความคิดของเราแน่ๆ เราเป็นผู้คิดแน่ๆ เนี่ย จะเปลี่ยนไป เป็นแค่สภาวะลมเพลมพัดอยู่ในหัว แล้วไม่รู้สึกขึ้นมาเลยว่า ที่คิดอยู่นี่เป็นตัวของเราเป็นผู้คิด แค่เห็นว่า (ความคิด) ผ่านมาแล้วผ่านไปอยู่ในหัว จิตผู้มีสติอยู่ ตั้งเป็นศูนย์กลางการรับรู้ ด้วยความรู้สึกว่า ไม่มีอะไรต้องเสียใจ ไม่มีอะไรที่ต้องไปเกิดความตระหนกหรือว่าเกิดความแปลกใจในเมื่อเราเห็นมาตั้งแต่ต้นว่า ลมหายใจที่เข้าที่ออกอยู่ เข้ามาแป๊บหนึ่ง แล้วก็คาย ก็คืนออกไป
ตรงที่มีความรับรู้อยู่ว่า ทั้งกายทั้งใจนี้ นับเริ่มแต่ลมหายใจ กำลังแสดงความไม่เที่ยง กำลังแสดงความไม่ใช่ตัวเดิม จะทำให้เกิดการยอมรับอย่างมีความสุข มีความพอใจที่ได้เห็น แตกต่างจากคนที่เหมือนกับอยู่ในสภาวะแห้งแล้ง แล้วอยู่ๆ กระโดดขึ้นไปเห็นว่า เอ๊ะ กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เดี๋ยวต้องตายดับ เดี๋ยวก็จะต้องแสดงความเน่าเปื่อยผุพัง หรืออย่างน้อยที่สุด เห็นเข้าไปว่า มีตับไตไส้พุง หรือสภาวะความรู้สึกนึกคิด มันผ่านมาแล้วหวงไว้ไม่ได้ เดี๋ยวก็ต้องหายไป ดับไป แปรสภาพไป บางทีวันหนึ่งคิดอย่างหนึ่ง แต่พอข้ามคืนเท่านั้นกลายเป็นความคิดอีกอย่างไม่ใช่ตัวเดิม พอเห็นแบบนี้แล้วเกิดความรู้สึกหดหู่ ห่อเหี่ยว ตายแล้วไม่มีตัวตนจริงๆ แล้วตัวเราเป็นใคร เกิดความสงสัย เกิดความรู้สึกปั่นป่วนหนักเข้าก็เลยเลิกปฏิบัติไป แบบนี้เยอะเลยนะ
แต่ถ้ามีความสุขเป็นพื้นรองรับอยู่ก่อน ตรงนี้จะไม่มีปัญหาเลย ความสุขความพอใจตรงนี้ไม่ใช่ความสุขแบบโลกๆ นะ แต่เป็นความสุขความพอใจที่ได้เห็นว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เดี๋ยวยาวบ้าง เดี๋ยวสั้นบ้าง แล้วพอมีความเคยชินที่จะรับรู้ ยอมรับไปตามจริงว่า ไม่มีความสามารถใดๆ ของใครเลยที่จะไปหวงลมหายใจยาวไว้อย่างเดียว ไม่มีใครในโลกเลยที่จะเก็บเอาความสุขติดตัวไว้ได้ตลอดเวลาชั่วชีวิต มีเข้ามีออก มีเปลี่ยน เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ ตามลมสั้นลมยาว นี่แหละ ที่จะพาไปสู่การยอมรับในขั้นต่อๆ ไปนะครับ
บอกไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังๆ เริ่มเดินจงกรมกันได้ เริ่มชอบนั่งสมาธิกันขึ้นมาถี่ๆ จะไปเจอความรู้สึกนี้เวลาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของกายใจ ความไม่ใช่ตัวเดิมของกายใจไปเรื่อยๆ ก็บอกไว้ว่า มีเยอะ ที่เกิดความรู้สึกตกใจขึ้นมาพอเห็นครั้งแรกๆ แล้วก็ไม่น่าแปลกใจนะถ้าหากว่าเราจะเกิดอาการช็อคขึ้นมา
เรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่อย่างที่เราคิดนะ ไม่ใช่แค่หาความสุขเล่นๆ ไม่ใช่แค่แก้เครียดไปพลางๆ การปฏิบัติธรรมแบบพุทธเป็นอะไรที่ พลิกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยคิด ที่เราเคยเชื่อที่เราเคยหลงยึด ว่าเป็นตัวเราแน่ๆ แล้วพอไปเจอภาวะนั้นครั้งแรกๆ ก็อาจช็อคได้!
++ ++ ++ ++
https://www.youtube.com/watch?v=W8sEPTcGEWA