EP 94 | อังคาร 15 มีนาคม 2565
พี่ตุลย์ : เมื่อวานช่วงเช้า
ที่ได้พูดเกริ่นกันไปเกี่ยวกับว่า
การปฏิบัติแบบที่พระพุทธเจ้าท่านให้เราดูกายใจกันนั้น
ไม่ได้มีอะไรเป็นเชิงเดี่ยว
ถ้าเราเห็นอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียว
จะทำให้เกิดการยึด
ว่ามีสิ่งนั้นสิ่งเดียวเป็นตัวตั้ง
มีสิ่งนั้นสิ่งเดียว ที่เราจะต้องดำเนินจิตรู้ไป
เช่น
ถ้าใครไปนั่งจ้องลมหายใจอย่างเดียว มีแต่ลมหายใจๆ
ไม่แม้แต่จะพิจารณาว่า
เข้าแล้วต้องออก ออกแล้วต้องเข้า เป็นธรรมดา
อย่างนี้ก็จะมีอาการยึดว่า
ลมหายใจนี้
เป็นลมหายใจของเรา
มีความเป็นตัวเรา
จ้องดูลมหายใจของตัวเองอยู่ร่ำไป
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเห็นลมหายใจ
สักแต่เป็นธาตุลม
สักแต่เป็นภาวะแสดงความไม่เที่ยง
ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอยู่แล้ว
และคนเรา เกิดมาพร้อมการยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ภาวะที่อยู่ตรงหน้า
ที่เป็นสิ่งนั้นที่ชัดที่สุดว่า
เป็นตัวของเรา ของๆ เรา
ก่อให้เกิดความรู้สึกในตัวเราขึ้นมา
แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการปฏิบัติ
แบบที่พระพุทธเจ้าท่านให้รู้ภาวะตรงๆ
และเปรียบเทียบเป็นอย่างๆ
เราจะเริ่มมีความเข้าใจไปอีกแบบ
เช่น ที่เราทำๆ
กันในห้องวิปัสสนานุบาล
เป็นการรู้เบสิกเกี่ยวกับกายใจโดยความเป็นธาตุหก
คำว่าธาตุ
ไม่ได้มีแค่ธาตุหกอย่างเดียว แต่จำแนกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น ธาตุสิบแปด
๑ จักขุธาตุ
(ธาตุคือจักขุประสาท)
๒ รูปธาตุ
(ธาตุคือรูปารมณ์)
๓ จักขุวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
๔ โสตธาตุ
(ธาตุคือโสตประสาท)
๕ สัททธาตุ
(ธาตุคือสัททารมณ์)
๖ โสตวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือ โสตวิญญาณ)
๗ ฆานธาตุ
(ธาตุคือฆานประสาท)
๘ คันธธาตุ
(ธาตุคือคันธารมณ์)
๙ ฆานวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมานวิญญาณ)
๑๐ ชิวหาธาตุ
(ธาตุคือชิวหาประสาท)
๑๑ รสธาตุ
(ธาตุคือรสารมณ์)
๑๒
ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)
๑๓ กายธาตุ
(ธาตุคือกายปสาท)
๑๔ โผฏฐัพพธาตุ
(ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
๑๕ กายวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือกายวิญญาณ)
๑๖ มโนธาตุ
(ธาตุคือมโน)
๑๗ ธรรมธาตุ
(ธาตุคือธรรมารมณ์)
๑๘ มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ)
รู้ว่ามีตาเป็นของภายใน
รูปเป็นของภายนอก และมีการรู้รูป กลิ่นเสียงต่างๆ ก็จัดเป็นธาตุสิบแปด
ธาตุไม่ได้มีแค่ธาตุหก
อย่างต่อมาพระองค์ตรัสถึง
ธาตุหก
ตรงนี้ ถึงได้พูดว่ามีธาตุ
ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ช่องว่าง
และวิญญาณจิตที่รู้ธาตุทั้งปวงอยู่
อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง
จะบอกว่า พระองค์ให้เซ็ตของธาตุต่างๆ มา
อย่างที่เรากำลังรู้ธาตุหก
อยู่นี้
เป็นการรู้ความเชื่อมโยงสัมพันธ์
ระหว่างภาวะที่สามารถเห็นได้ว่า
นี่เป็นธาตุดิน
ประกอบประชุมพร้อมกันกับ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
ลมกับไฟ
อาจต้องรอจังหวะ เช่น ถ้าใครภาวนา ทำสมาธิแล้วตัวอุ่นขึ้นมา
หรือเป็นคนมีโทสะจริต
อาจรู้สึกเหมือน ร่างกายเร่งความร้อนขึ้นมา
เราก็สามารถเห็นได้เป็นเซ็ตความสัมพันธ์
ว่า
ตอนที่เรายืนเทียบกับผนัง
สามารถรู้สึกขึ้นมาได้ว่า
กายนี้ ถ้าเทียบกับวัตถุอื่น
เป็นธาตุดินดีๆ นี่เอง
อย่าง.. อยู่ในพระสูตรอื่นนะ
แต่จะอธิบายให้ฟังว่า
เราเห็นธาตุหก
โดยความเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับธาตุหรือภาวะอื่นๆ
เสมอ
ไม่ใช่อยู่ๆ
เราจะไปรู้ตัวใดตัวหนึ่ง
แล้วเกิดความเข้าใจ
เกิดความฉลาดในธาตุขึ้นมาได้
แต่ต้องมีความเชื่อมโยงกัน
เช่น ถ้าเราเริ่มรู้สึกถึงกายนี้
โดยความเป็นวัตถุ
วัตถุ ตั้งอยู่ตรงไหน
ก็ตั้งอยู่ท่ามกลางวัตถุอื่นๆ
ที่มีความเป็นวัตถุเสมอกัน
เป็นธาตุดินเสมอกัน
รู้โดยความเป็นของเปรียบเทียบ
แล้วธาตุดินนี้ ที่ถูกแยกออกจากธาตุดินอื่นๆ
วัตถุนี้เสมอกับวัตถุอื่นๆ
อันไหนที่เป็นตัวบอกว่า
นี่เป็นวัตถุนี้ นั่นคือวัตถุอื่น
ก็มีการแบ่งด้วยพื้นที่
ด้วยอาณาเขต
วัตถุ ต้องกินพื้นที่ว่างเสมอ
นี่เป็นนิยามทางอภิธรรม
ต้องมีรูปมีร่าง มีความคงรูปร่าง
และกินพื้นที่
แต่ละวัตถุ จะกินพื้นที่ว่างแตกต่างกัน
พูดง่ายๆ
อยู่คนละตำแหน่ง อยู่คนละพื้นที่
ซึ่งถ้าหากจิตเรา สามารถรับรู้ถึงความต่าง
ทั้งรูปร่างและตำแหน่งที่วางได้
อย่างนั้นถึงจะเรียกว่า
รู้โดยความเป็นของสัมพันธ์กันว่า
วัตถุ
เมื่อเทียบแล้ว วัตถุที่หนึ่ง กับวัตถุอื่นๆ อยู่ที่ไหน
อยู่ตรงไหน
ถึงได้เรียกว่าเป็นวัตถุหมายเลข หนึ่ง สอง สาม สี่
แล้วเกิดการรับรู้ขึ้นมาว่า
วัตถุนี้เสมอกันกับวัตถุอื่นๆ
นี่เรียกว่า เห็นธาตุโดยความเป็นสิ่งสัมพันธ์กัน
และถ้าเห็นธาตุทั้งปวง
แล้วมารู้ว่า
จิตที่มีลักษณะเบิกบาน
มีลักษณะตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จิตที่มี่ลักษณะปลอดโปร่ง
แตกต่างจากธาตุอื่นๆ ได้
อย่างนี้จึงเหมารวมเรียกว่าเป็นธาตุหก
นี่เป็นเหมือนสิ่งที่วันนี้จะมาตั้งเป็นประเด็นก็คือ
เราจะรู้..
อย่างสมมติ เราไปรู้เวทนาโดยความเป็นธาตุ
ก็จะเห็นความเชื่อมโยงว่า
มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ โสมนัส โทมนัส
รู้ว่ามีตัวอุเบกขา
ตัวอวิชชา
หมายความว่า
ถ้าเห็นเป็นอย่างๆ รู้ทั้งสุข รู้ทั้งทุกข์
จะภายในหรือภายนอกก็ตาม
จะของตัวเองหรือของคนอื่นก็ตาม
รู้ว่ามีโสมนัส
รู้ว่ามีโทมนัส
โสมนัส คือสุขที่มีดีกรีแรงขึ้น
เหมือนดีใจ
โทมนัส คือทุกข์ที่มีดีกรีกดดัน
มากขึ้น ใกล้เคียงกับน้ำตามากขึ้น
หรืออย่างอุเบกขา
ทำไมต้องเทียบกับอุเบกขา
เพราะ อุเบกขากับอวิชชา ใกล้เคียงกัน
คือถ้าจิตมีความรู้ตั้งมั่นวางเฉย
ก็จะใกล้ที่จะเห็นสิ่งที่เรียกว่าอวิชชา
แต่ถ้าอุเบกขาตั้งอยู่เฉยๆ
ก็จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ต้องทำ
ไม่มีอะไรที่ต้องรู้มากไปกว่านั้น
แต่ถ้ารู้อวิชชา
ต้องรู้ปัจจยาการ
พูดให้ฟังเฉยๆนะ
ว่า
ถ้าหากจะแทงอวิชชาให้ขาด
ต้องมีความรู้สึกถึงภาวะที่เป็นของอย่างนี้
ที่กำลังปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้เลย
จะภาวะของจิต
จะภาวะของกายอย่างไรก็แล้วแต่
แล้วจิตมีความตั้งมั่น
มีความเป็นอุเบกขามากพอที่จะเห็นว่า
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เช่น ถ้าผัสสะกระทบ
ให้เกิดความรู้สึกร้อนหนาว ชอบหรือชัง
จะมีจิตแบบนี้
จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล
จะเห็นเข้ามา ณ
จุดที่กำลังเกิดเหตุนี้เลยว่า
จิตจะเป็นกุศล หรืออกุศลขึ้นมาเองไม่ได้
ต้องมีเหตุ
ต้องมีปัจจัยกระทบ
ให้เกิดภาวะสว่างหรือมืด
ภาวะที่สดใสหรือหม่นหมอง
ตัวนี้ถ้าเห็นไปเรื่อยๆ
ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
อุเบกขา ก็จะเกิดความรับรู้ขึ้นมาว่า
ภาวะที่กำลังเป็นอยู่ ณ ขณะนี้
จะมีก็ได้
ไม่มีก็ได้
ถ้ามีก็เพราะมีเหตุ
ถ้าจะไม่มีก็คือไม่มีเหตุ
นี่คือมีความเข้าใจ
ประกอบพร้อมอยู่กับการเห็น การรู้
รู้ว่าสมาธิที่เดินปัญญาอยู่นั้น
อยู่ๆ รู้เฉยๆ อะไรอย่างหนึ่งอย่างเดียว
แล้วจะเกิดปัญญาหลุดพ้น
หรือเห็นปัจจยาการ
เห็นเหตุปัจจัย .. นี่ เป็นไปไม่ได้
จริงๆ
แล้วที่มาพูดทั้งหมด
ไม่ใช่จะยกระดับขึ้นไปพูดเรื่องปัจจยาการ
หรือ ปฏิจจสมุปบาท
แต่เป็นเรื่องยากนิดหนึ่ง
ที่ต้องชี้กันให้เห็นภาวะตรงๆ
แต่ที่พูดคือจะบอกว่า
ที่เราฝึกๆ กัน
เห็นกายใจ โดยความเป็นธาตุหก
เป็นแค่เซ็ตหนึ่ง
คือถ้ารู้กายใจโดยความเป็นเซ็ต
ดิน น้ำ ไฟ ลม
อากาศ และ วิญญาณ
เพียงพอแล้ว
ที่จะข้ามเส้นแรกได้
แต่ให้มีความเข้าใจว่า
ที่เราจะรู้ธาตุ
เซ็ตของธาตุหนึ่งๆ
จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ถ้าเราไปรู้เวทนา
ก็จัดเป็นธาตุได้เหมือนกัน
แต่ต้องมีความเข้าใจว่า
อย่างธาตุหกโดยความเป็นเวทนา
เห็นไปเพื่อที่จะรู้สึกถึงภาวะปัจจุบัน
โดยความเป็นปัจจยาการ
ส่วนธาตุหก
เรารู้ไป เพื่อจะให้เห็นด้วยจิตที่ใส เงียบ
ว่า กายนี้ใจนี้ สักแต่เป็นรูปนาม
มีการประกอบประชุมกัน
หลายๆ ส่วน หลายๆ อย่าง
ซึ่งเมื่อเราเห็นโดยความเป็นของสัมพันธ์กัน
เชื่อมโยงกันแล้ว
ก็จะเกิดความรู้สึกว่าไม่มีก้อนอัตตา
ไม่มีก้อนตัวก้อนตนก้อนเดียว
มีแต่ภาวะปรุงประกอบ
ประชุมกันขึ้นมา
ซึ่งนั่นแหละจะนำไปสู่การเห็นอนัตตา
เกิดความรู้สึกว่า
นี่ไม่มีตัวเรา นี่ไม่ใช่ตัวตน
เป็นแค่ของมาประชุมกันชั่วคราว
ตัวนี้แหละ ที่เรียกว่า อนัตตสัญญา
คือความรู้สึกว่า ไม่ใช่ตัวเรา
ไม่ใช่ตัวตน
มีสมาธิเห็นพร้อมแบบที่เป็นปัจจุบันเลยว่า
มันกำลังรวมร่างกัน
กำลังพยายามต้มตุ๋นเรา
ทำให้เกิดภาวะ เหมือนว่ามีตัวมีตนของเรา
เราคิดได้
ตั้งใจคิดอะไรก็ได้ หรือจะเคลื่อนซ้ายเคลื่อนขวาอย่างไรก็ได้
แต่พอเห็นเข้าไปเป็นอย่างๆ
ว่า ตั้งต้นขึ้นมา
ที่บอกว่าเป็นธาตุดิน
หรือเป็นร่างกาย เราก็ไม่ได้ออกแบบ
เห็นว่าเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง
ในท่ามกลางวัตถุอื่นๆ ที่รายรอบอยู่
หรือว่าอากาศว่าง
ที่แบ่งพื้นที่วัตถุ ว่าวัตถุนี้อยู่ตำแหน่งนี้
อีกวัตถุหนึ่งอยู่ตำแหน่งที่ห่างไป
เยื้องซ้ายเยื้องขวา
เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราไม่ได้ทำ
ถ้าหากว่า พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
สิ่งเหล่านี้ที่กำลังปรากฏอยู่
ณ ขณะนี้ เป็นของที่มาประชุมกัน
ไม่มีอะไรเลยที่เราสร้าง
แค่มาร้องว่าเป็นของเราๆ
อย่างนี้ในที่สุด จิตก็เข้าสู่ภาวะสงบอย่างรู้
สงบจากความยึดมั่นถือมั่น
สงบจากความทุกข์ จากความยึดมั่นถือมั่น
สงบจากการที่จะเอาอะไรๆ มาเข้าตัว เพราะมีความรู้เป็นพื้นฐานว่า
ทั้งหลายทั้งปวงเป็นแค่ภาวะหลอกตาลวงใจชั่วขณะ
ถ้าเราเห็น ชั่วขณะของการเกิดขึ้น
ชั่วขณะของการตั้งอยู่
ชั่วขณะของการดับไป
ใจ
ก็จะไปถึงจุดสรุป คืออยู่กับความว่างจากความรู้สึกในตัวตน
หรือมีอนัตตสัญญาพอกพูนขึ้นวันต่อวัน
ก็พูดเพื่อความเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรกันอยู่
..
เรามาสวดมนต์กันครับ
(ตั้งนะโม
สามจบ พร้อมสวดมนต์ บทอิติปิโสฯ ร่วมกัน)
อวิชชาธาตุ ที่เราจะเริ่มรู้ว่าเป็นอวิชชา
พระพุทธเจ้า ก็ตรัสเกี่ยวกับเรื่องของปัจจยาการ
คือถ้าเราเห็น ณ
ขณะภาวะของปัจจุบัน เป็นแค่ตัวต่อ ไม่ใช่ตัวตน
เป็นแค่เศษจิ๊กซอว์อะไรชิ้นหนึ่ง
ที่กำลังปรากฏหลอกใจ ให้เรายึด
แล้วสามารถเห็นได้ว่า
เพราะมีกระทบอะไร อย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงเกิดความรู้สึกปรุงแต่งขึ้นมาแบบนี้
ถ้าเห็นได้อย่างนั้นว่า
จะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ จะเริ่มเข้าใจว่า
เพราะไม่รู้ถึงเหตุปัจจัย
เพราะมีภาวะล่ออย่างหนึ่งให้ยึดทันที
แล้วมองไม่เห็นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
อวิชชาก็จะมีที่ตั้ง
แต่ถ้าเรารู้ปัจจยาการ
รู้เหตุปัจจัย อวิชชาก็จะไม่มีที่ตั้ง
ต่อไป
ถ้าเราได้ตัวอย่างที่มาสาธิตกัน
คือพวกเราคืบหน้ากันไปเรื่อยๆ
และเจริญไปด้วยกันแบบนี้
ก็ต้องไปถึงจุดหนึ่งที่จะรู้ได้พร้อมๆ
กันหลายๆ คน
ว่าปัจจยาการ
เขารู้ เขาดูกันอย่างไร
เกิดประสบการณ์อย่างไร
เห็นอวิชชาอย่างไร
หรือ รู้ว่าจะไม่มีอวิชชาได้อย่างไร
________________
วิปัสสนานุบาล EP 94 : เปิดรายการ
วันที่ 15 มีนาคม
2565
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=qeVaTrKbz9Q