ผู้ถาม: หากดูความบันเทิงจะฟุ้งมาก ถ้าไม่ดู จิตก็ใสดี
เลยรู้สึกว่าหากดูจะทำให้พัฒนาของเราช้าไปไหม
พี่ตุลย์ : ขึ้นกับความสมัครใจ
ถ้าไปดูมรรคมีองค์แปด
จะมีองค์ประกอบอยู่ข้อหนึ่ง
คือเลือกที่จะไม่ดำริที่จะเสพความบันเทิง
แล้วก็เลือกที่จะไม่เอาความพยาบาทเข้ามาอยู่ในจิตใจ
เพราะกามคุณห้า
ความบันเทิงอะไรทั้งหลาย
หรือตัวพยาบาทวิตกกับกามฉันทะ
เป็นเครื่องทำจิตให้เปียก
จิตจะไม่แห้ง ไม่สบาย
ไม่สะอาด
เมื่อกี้ที่พูดมาทั้งหมด
ก็คือบรรยายภาวะของจิต
ที่แห้งสะอาด สบายจากน้ำ
คือกามฉันทะและพยาบาท
การบันเทิงสมัยนี้
ไม่ได้มีกามฉันทะอย่างเดียว
แต่มีพยาบาทแถมพกมาให้ด้วย
เพราะอะไรที่เป็นดรามา
ทำให้คนโกรธได้ แค้นได้
แทนดารา
แทนตัวละคร หรือแทนบุคคลในข่าว
เขาก็ไม่มีทางเลือก
.. ผู้ผลิตนี่นะ
ก็ต้องใส่ความเป็นบ้าเข้ามาให้หนักๆ
ยิ่งหนักขึ้นเท่าไหร่
เรตติ้งสูงขึ้นเท่านั้น
ตัวนี้
พอเรารู้ทันว่า จิตแห้งสบายเป็นสิ่งที่ดีกว่า
เป็นตัวเลือกที่เกื้อกูลกับเส้นทางสุดท้ายกับที่เราต้องการ
ก็จะค่อยๆ
ฉลาดขึ้น
แต่ทีนี้ ถ้าเผลอไป
หรือว่าอด(ที่จะ) อยากไม่ได้
ทั้งๆ
ที่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับจิต
เราก็ดูไปว่า เกิดโทษแค่ไหน
เปรียบเทียบเป็นครั้งๆ
ว่า ทำให้จิตขุ่น
ทำให้จิตมีฝ้าหมอก ทำให้จิตมีสติรู้ได้ยากอะไรต่างๆ
ค่อยๆ
เห็นโทษของมัน
ผู้ถาม : ระหว่างที่ดู จะขุ่น
เรารู้สึกได้เลยว่าขุ่นตลอด แต่ก็สนุกจัง
พี่ตุลย์ : นั่นแหละ คือในสังสารวัฏนี่นะ
ถ้าเขาให้ความขุ่นมาพร้อมกับความทุกข์
คนก็คงหลุดออกจากสังสารวัฏกันหมด
เพราะจะไม่อยากขุ่นกันเลย
แต่เพราะสังสารวัฏ
มีธรรมชาติที่เหมือนคนฉลาด
เขาให้ความขุ่นของจิตมาพร้อมกับความสนุก
ให้ความขุ่นมาพร้อมกับความอยากจะกลับไปขุ่นอีก
อยากกลับไปสู่ความเป็นเช่นนั้นอีกเรื่อยๆ
ตัวนี้แหละ
ที่ทำให้สังสารสัตว์ทั้งหลายติดอยู่
อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ถ้าในสังสารวัฏนี้ไม่มีสุขอยู่บ้าง
สัตว์ทั้งหลายก็คงไม่ติดอยู่
อยากออกจากสังสารวัฏกันหมด
และถ้าหากไม่มีความทุกข์อยู่บ้าง
สัตว์ในสังสารวัฏทั้งหลายก็คงขออยู่อย่างนี้แหละ
จะมีใครอยากออก
แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง
ท่านก็บอกว่า
ท่านคงไม่ออกไป ถ้าหากมีแต่ความสุข
ตัวนี้เราก็พิจารณาเห็น
อย่างที่เราเห็นนั่นแหละ
เมื่อกี้ คีย์เวิร์ดคือ
เรารู้สึกว่าใจสบาย ใจรู้สึกแห้ง ตอนไม่ได้เสพ
แต่เมื่อเสพแล้ว ใจมีความกระวนกระวาย
แต่ในที่สุด
เดี๋ยวกิเลสก็จะลากให้เราไปเสพอีกนั่นแหละ
คือเป็นธรรมดาของฆราวาสที่ไม่มีข้อห้าม
แล้วเราก็เคยชินกับการตามใจตัวเอง
ทีนี้
วิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ
เราดูโทษที่เกิดจากการเสพในแต่ละครั้งว่า
มีผลยับยั้งให้การเจริญสติของเรา
ช้าลง ถูกถ่วงให้ช้าลงแค่ไหน
หรือกระทั่งถูกผลักให้ถอยไปข้างหลัง
กี่ก้าว
เราดูอย่างนี้ซ้ำๆ
ไม่ต้องไปห้ามใจ
ผู้ถาม : จริงๆ แล้ว มัน
(การเสพความบันเทิง) ถ่วงใช่มั้ยคะ
มีผลใช่ไหมคะ
พี่ตุลย์ : เอาเป็นว่า
มันเป็นองค์มรรคเลย มีผลหรือไม่มีผลล่ะ
สำคัญขนาดนั้นว่า
มรรคมีองค์แปด .. องค์ข้อสองเลยคือ
เรายังมีกามฉันทะ
มีความพยาบาท อยู่หนาแน่นแค่ไหน
ถ้ามีกามฉันทะ มีพยาบาทอยู่หนาแน่น
โอกาสที่จะบรรลุมรรคผล
เป็นศูนย์เลยนะ
แต่ถ้าหากช่วงไหน เอาสักแค่
7 วัน 15 วัน
จิตเราใสใจปลอดโปร่งจากกามฉันทะ
และพยาบาทวิตกได้
แบบที่เรารู้สึกได้ว่า
เหมือนที่เราพูดว่าจิตใสใจแห้ง สะอาด สบาย
ไม่มีอะไรมาทำให้รู้สึกเปียก
ตรงนี้แหละ ช่วงนั้นแหละ
จังหวะนั้นแหละที่มีสิทธิ์
ผู้ถาม : คือตอนแรกเข้าใจว่า
ถึงเวลาเดี๋ยวก็จะพัฒนา เลิกไปเองเมื่อถึงขั้น
แต่จริงๆ
คือถ้าเรางดเว้นไปเองก็จะก้าวหน้าได้ไวขึ้น แบบนี้เข้าใจถูกไหมคะ
พี่ตุลย์ : ถูกต้อง
และพี่จะขยายความให้ว่า
นี่แหละเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบ
ระหว่าง บรรพชิต
กับคฤหัสถ์ หรือฆราวาส
บรรพชิต
มีข้อห้ามชัดเจนว่าห้ามเสพ
ถ้าหากว่าเป็นบรรพชิตที่ดี
มีความเข้าใจอย่างนี้เป็นตัวตั้งต้น
ท่านก็จะเว้นขาด
ไม่เสพความบันเทิง
ไม่มีมาตามใจตัวเองในเชิงกามฉันทะหรือพยาบาทวิตก
นี่เป็นข้อได้เปรียบอย่างใหญ่หลวง
แล้วของท่านเท่ากับเป็น full time ที่จะอยู่กับสิทธิ
ที่จะอยู่กับพื้นที่
ที่จะได้มรรคได้ผล
แต่ของเราฆราวาสต้องยอมรับตามจริงว่า
โดยความเป็นคฤหัสถ์
โดยความเป็นผู้ที่ยังหาเช้ากินค่ำ
ยังทำงานไปเพื่อที่จะมาอยู่กับครอบครัว
มีความสุขแบบโลกๆ ตรงนี้
ย้อมใจ ให้มีความโน้มเอียงไปทาง
อยากจะมีการเสพบันเทิง
ซึ่งเราก็จะพบความจริงแล้วๆ
เล่าๆ ว่า
สมาธิ
ทำไปแล้วคืบหน้าแล้วก็ถอยลง
เจริญสติ
มองเห็นความจริงว่ากายใจเป็นรูปนาม เสร็จแล้วก็เสื่อมลง
กลายมาเป็นยึดว่า
ตัวนี้กายเรา ใจนี้ของเรา
ความคิดนี้เราคิด
มีความติดใจ
ความติดใจนี่แหละ
ทำให้เราไม่สามารถ ..
จิตไม่สามารถพิพากษาตัวเองให้หลุดออกไปได้
จิตไม่มีกำลังมากพอ
เอาเป็นสรุปง่ายๆ
ว่า ที่เราเข้าใจนี่คือถูกต้องแล้ว
_____________
วิธีก้าวหน้าต่อ...แม้ยังคงเสพติดบันเทิง
วันที่ 15 มีนาคม
2565
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=hSIiM0qYHY8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น