วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิปัสสนานุบาล EP 86 : 4 มีนาคม 2565

** เนื่องจากเป็นการถอดเสียงขณะไลฟ์ ดังนั้นอาจเก็บไม่ได้ครบทุกคำนะคะ **


EP 86 | 4 มีนาคม 3565

 

พี่ตุลย์ : สวัสดีทุกท่านครับ

 

จุดเริ่มต้นของการสร้างห้องวิปัสสนานุบาล

เดิมทีเราปฏิบัติไม่ได้เห็นหน้าเห็นตา ไม่ได้โค้ชกันแบบนี้

แต่จะมาในรูปการให้ฟังเสียงสติ เพื่อให้สมองทำงานแบบได้ดุลขึ้น

 

หรือช่วงเริ่มใช้มือไกด์ ก็เป็นแนวทาง ที่บอกชัดเจน

ว่าเป็นอุบายเพื่อเข้าถึงอานาปานสติได้ง่ายๆ

เพราะคนส่วนใหญ่จะทำกันไม่ได้ ถ้านั่งเฉยๆ หายใจไม่ลึกพอ

หายใจไปแล้วอึดอัด มีแต่ทุกข์ ไม่มีความสุข

 

แต่พอเราเริ่มใช้มือไกด์ มีความสุขระดับที่

พอทำโพล หลายคนบอกทำได้ดี

ซึ่งตรงที่บอกว่าทำได้ดี ผมก็ไม่ได้ปักใจเชื่อทีเดียว

แต่จะมี.. อย่างน้อยความแน่ใจว่า คนกลุ่มหนึ่ง

ได้มาสนใจกับแนวทางแบบนี้ แล้วก็ทำกันต่อเนื่องจริงๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลโพลบอกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์

บอกว่าทำได้ดีขึ้น พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

 

ผมก็อยากรู้แนวโน้มนี้ว่าจริงหรือไม่จริง เลยทำกลุ่มนี้ขึ้นมา

ก็ไม่ได้คาดหวังอะไร นอกจากเจอหน้าเจอตา ดูว่าในโพลนี้ตรงจริงไหม

 

ซึ่งก็ถือว่าเกินคาด เราอยู่ร่วมกันมา สี่เดือนเศษ เกือบห้าเดือนแล้ว

ก็มาถึงจุดที่ ตรงนี้ยังไม่ถึงครึ่งปี

ถ้าเอาเป็นเรื่องของประสบการณ์ภายใน ถึงจุดที่บรรยายให้คนอื่นฟัง

ก็อาจหาว่าบ้า หรือไม่ตรงกับขั้นตอน วิธีที่เขาจดจำไว้

ก็อาจเห็นด้วยไม่เห็นด้วยต่างๆ นานา

ซึ่งเป็นเรื่องเปลือกนอก ไม่ใช่จุดประสงค์ภายใน

 

พวกเราก็ได้แต่เป็นพยานให้กันและกัน ว่า

ทำๆ กันมา เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า ไหม

รู้สึกกายใจโดยความเป็นธาตุหกไหม

 

ก็อย่างที่ได้รับรู้กันมาเรื่อยๆ ว่าเราไม่ได้มาเชียร์กันอย่างเดียว

แต่มาเป็นเพื่อนร่วมรับรู้ประสบการณ์ที่ช่วยกันยืนยันว่า

ไม่ใช่เธอคนเดียวที่เห็นอย่างนั้น

 

แล้วเมื่อคืนวันที่ ๓ มีนาคม ประมาณสี่ทุ่มครึ่ง

เราก็ได้พยานคนสำคัญคนแรกมาว่า

พวกเราปฏิบัติตรงทางกับที่พระพุทธเจ้าสอนจริงๆ

 

ตอนแรกผมก็วางแผนไว้อย่างหนึ่ง

แต่พอได้พยานคนสำคัญขึ้นมาจริง ก็กลับรู้สึกและคิดไปอีกอย่าง

 

การข้ามเส้นแรก ยังเหมือนคนธรรมดา

และผมก็ไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไร นี่ก็มาพูดเฉยๆ

ไม่ได้มาเฉลิมฉลอง มาประกาศแจ้งอะไรที่เป็นเรื่องพิเศษโครมคราม

 

เพราะถึงข้ามเส้นแรกแล้ว ก็ยังมีกิเลสแบบคนธรรมดา

สู้รอให้กิเลสน้อยลง แล้วค่อยมาทำประโยชน์ให้เต็มที่

 

พูดง่ายๆ ว่าเราอยู่ห้องนี้ด้วยกัน คาดหวังไปด้วยกันว่า

จะเอาตัวรอดไปได้ก่อน แล้วพร้อมที่จะช่วยคนอื่นให้รอดตาม

ที่ประกาศไว้เพื่อเป็นกำลังใจว่ามาถูกทางแล้ว ปีนี้คงมีตามมาอีกหลายคน

 

ที่พูดไปเพื่อปลดล็อคหลายท่านด้วยว่า อยากดูซิว่าได้จริงไหม

หรือบางคนอาจรู้สึกว่า มาได้ใกล้เคียง เรามีสิทธิ์จะเป็นคนแรกไหม

จะได้เลิกคิดกันได้

 

เอาแบบพอดีๆ ไม่รีบเกิน ไม่เฉื่อยเกิน

ให้วันนี้เป็นวันธรรมดาอีกวันหนึ่ง

และพรุ่งนี้ก็ทำอย่างที่ทำๆ กันนี่แหละ

 

และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เมื่อได้พยานคนสำคัญมากพอ

ผมจะทำให้ห้องนี้ต่างไป เดี๋ยวค่อยมาว่ากัน

แต่ตอนนี้ที่วางแผนไว้แต่แรก .. เปลี่ยนใจ

 

คิดว่า ถ้าเป็นไปตามสมควรจริงๆ

เราอาจได้เห็นอะไรมากกว่าที่คาดหวังจะได้เห็น

หรือได้อะไรมากกว่าที่คิดจะได้

 

มาเริ่มต้นด้วยการสวดมนต์ด้วยกันนะครับ

 

(ตั้งนะโมสามจบ สวดบท อิติปิโสฯ ร่วมกัน

-------------------

 

จิ๋ว

 

พี่ตุลย์ : ด้วยจิตที่มีความคงเส้นคงวา สิ่งที่เราจะเห็นได้

แม้ว่ามีความคิด ความฟุ้งซ่านโผล่ในหัว ก็เป็นแค่ส่วนเกิน

 

แต่ถ้าจิตเรามีความวอกแวกตามการฟุ้งซ่าน

หรือมีลักษณะของการที่ จะโยกโยน โคลงเคลงแบบนั้น

โอกาสที่จะรู้สึกถึงความเป็นธาตุ หรือรู้สึกถึงความคิดในหัว

โดยความเป็นสภาวะ จะน้อยลงๆ หรือไม่มีเลย

 

แค่เปรียบเทียบแล้วเกิดความเข้าใจได้ว่าการจะเห็น

เริ่มต้นจากการที่เรามีวิตักกะ วิจาระ จากการเดินจงกรม เท้ากระทบ

 

เรารู้เท้ากระทบไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินไปเฉยๆ

แต่รู้เท้ากระทบ เพื่อให้จิตเรามีที่ตั้ง มีจุดโฟกัส

มีจุดสังเกตว่าใจเราไปถึงไหนแล้ว ใจเราอยู่กับอะไร

 

ถ้าหากว่าเราเริ่มต้นได้จนกระทั่งจิตใสใจเบา

แล้วมีความรู้สึกที่มั่นคงอยู่กับตัว

ตัวที่ปรากฏนี้ ก็จะเห็นง่ายว่า เทียบกับผนังเทียบกับประตู

เทียบกับอะไรรอบด้าน เป็นวัตถุชิ้นหนึ่งที่ตั้งห่างจากกัน

มีช่องว่างคั่นอยู่ระหว่างกัน

 

และถ้าหากเรารู้สบายๆ ได้ว่า

ธาตุดินหนึ่ง ธาตุดินสองพร้อมอากาศว่าง หายใจออก

ธาตุดินหนึ่ง ธาตุดินสองพร้อมอากาศว่าง หายใจเข้า

ความรู้สึกเป็นสมาธิ ที่เกิดขึ้น ก็เป็นสมาธิในแบบที่เห็นว่า

กายใจมีความเป็นธาตุ ไม่ใช่มีความเป็นตัวตนบุคคล

ไม่ใช่มีความเป็นหญิง เป็นชาย

 

ทีนี้ เมื่อไหร่ที่ความฟุ้งปลิวมากระทบใจ ก็เห็นว่าเป็นส่วนเกินของจิต

ที่เป็นของชั่วคราว ผ่านมาผ่านไป

 

ขวาหัน.. ดูว่าที่เป็นวัตถุ เป็นธาตุดินหมายเลขสอง ยังคงค้างกับที่ไหม

ขวาหันอีกที พอเรารู้สึกว่า เรารับรู้ได้

จังหวะที่เรารับรู้ได้ว่ามันยังอยู่ข้างหลัง

เราออกเดินเลย เพื่อเป็นตัววัดว่าตัวที่เดินมา

มันออกมาจากผนังที่อยู่ด้านหลัง ที่เป็นแผ่นเรียบ

คงที่อยู่กับที่เดิมหรือเปล่า ตำแหน่งเดิมหรือเปล่า

 

ถ้าหากว่าอยู่ตำแหน่งเดิม

หรือว่าอย่างน้อยที่สุด เรารู้สึกถึงอะไรที่อยู่ด้านหลังได้

นั่นแหละ เรียกว่าเป็นการที่จิตเกิดสัมผัส ถึงความเป็นวัตถุธาตุ

ที่มีร่างกายนี้ เป็นวัตถุธาตุหมายเลขหนึ่ง

มีผนังและตู้ที่อยู่รอบด้าน เป็นวัตถุหมายเลข สอง สาม สี่

 

พอจิตมีความใสเบา กายก็จะมีความปลอดโปร่งตามไปด้วย

ถ้าหากเราเห็นว่า กายที่มีความปลอดโปร่ง มีความสัมพันธ์กัน

วัตถุรอบข้างก็จะพลอยปลอดโปร่งตาม เป็นไปตามอาการของจิต

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน อะไรๆ ไหลมาจากใจ

 

ถ้าใจใส ก็จะรู้สึกถึงความใสของวัตถุต่างๆ ตามไปด้วย

และถ้าหากใจมีความรู้สึกจริงๆ ว่า ตัวยืนอยู่นี้ และวัตถุรอบข้าง

ไม่มีอะไรเป็นเรา ไม่มีอะไรที่แสดงความเป็นบุคคล

ความใสที่ตั้งมั่น ที่สามารถเห็นได้

ก็จะเป็นความใสตั้งมั่น ในแบบที่พร้อมมารู้สึก มารับรู้สิ่งที่เรียกว่า จิต

 

คือพอใสมากพอ เห็นเป็นชั้นๆ เป็น layer ว่า

ธาตุดินอย่างหนึ่ง อากาศธาตุอย่างหนึ่ง ธาตุลมอย่างหนึ่ง

สิ่งที่ปรากฏที่เหลือ คือสิ่งที่กำลังเป็นผู้สังเกตการณ์ธาตุอื่นๆ อยู่

 

ตอนที่หันมา ถ้าเราสังเกตว่าผนังยังอยู่กับที่หรือเปล่า

หรือว่าเราเหมือนกับรู้สึกว่า ผนังหายไปแวบหนึ่ง

หรือหายไปพักหนึ่งอะไรแบบนี้

ตัวนี้เป็นตัวที่เราสามารถใช้เป็นมาตรวัดได้ว่า

จิตเราสัมผัสถึงธาตุดินอยู่ไหม

 

ถ้าสัมผัสถึงธาตุดินอยู่ จะมีความรู้ที่คงที่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากศูนย์กลางสติอยู่กับตัวได้คงที่

เวลาเดิน รู้สึกถึงเท้ากระทบ

เท้ากระทบจะเกิดขึ้น พร้อมกับที่ผนังด้านหลังห่างออกมาเรื่อยๆ

 

ทีนี้อย่างบางทีพอเบลอๆ หายๆ ไป

จิ๋วแค่มารับรู้ว่าตอนนี้มีอะไรให้รู้ได้ชัด

อย่างเช่น เท้ากระทบ เราก็อยู่กับเท้ากระทบไปเลย

ไม่ใช่ไปส่งความรู้สึกในขณะที่จิตยังไม่เสถียร ยังไม่คงเส้นคงวามากพอ

 

จิ๋ว : ช่วงที่ผ่านมา สวิงไปหลายรอบ down มาก

กระทบกับการทำงาน รู้สึกผิดรุนแรง เวลาพลาดไปนานๆ

อยากเริ่มใหม่แต่หลุดออกมาไม่ได้ อยากหลุดจากนิสัยเดิมต้องทำอย่างไร

 

พี่ตุลย์ : เราหลุดจากนิสัยเดิมเร็วๆ ไม่ได้หรอก

มีแค่ทำให้นิสัยเดิมค่อยๆ ปรับ

ค่อยๆ แปรให้เป็นประโยชน์กับการเจริญสติอย่างไร

หรือทำอย่างไร ให้สติเราอยู่กับปัจจุบันได้

 

ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันได้จริง จะไม่ได้แก้นิสัย

หรือขุดโคตรเหง้านิสัยออกมาทั้งยวง

แต่จะทำให้ทุกนิสัยที่เป็นด้านลบ

หรืออะไรที่มีความรู้สึกว่าเรายังติดอยู่กับตรงนั้น

สามารถแสดงตัว โดยความเป็นสภาวะปรุงแต่งของจิตได้

 

ตอนที่เรายอมรับว่าเกิดขึ้น ในแง่ของการเจริญสติอย่างเดียว

แต่ใครจะใช้วิธีไหน ในการเปลี่ยนนิสัยตัวเองนั้น เป็นเรื่องทางโลก

แต่เรื่องทางธรรมคือ ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบัน

และเห็นจริงว่าเกิดการปรุงแต่งจิตแบบไหน

เช่นเกิดความรู้สึกว่าเราไม่ดี มีนิสัยทางความคิดที่ยังไม่สมควรอะไรแบบนี้

 

ตอนนั้น ถ้ามีความรู้สึกว่าความปรุงแต่งจิตเป็นตัวเรา

เราก็จะรู้สึก fail รู้สึกแย่กับมันทันที

 

แต่ถ้าหากจิ๋วเดินจนจิตใสใจเบาได้ นิ่งได้

เห็นกายโดยความเทียบเคียงกับธาตุ กับวัตถุสิ่งอื่น รอบห้อง

ก็กลายเป็นจุดตั้งต้น ที่จะทำให้เราสังเกต เกิดมุมมองใหม่

 

ถ้าเดินมากพอ หรือนั่งมากพอ จนเกิดความรู้สึกว่า

กายใจนี้เป็นธาตุเป็นขันธ์ ติดตัวไปจริงๆ

เราจะรู้สึกว่าความปรุงแต่งจิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเกิดเฉพาะเวลานั้น

ไม่ได้เกิดมาแบบมีตัวจิ๋ว ที่มีความเป็นจิ๋วมาแต่อ้อนแต่ออก

ไม่ได้อยู่ตรงนั้นมา ตอนสิบขวบไม่ได้อยู่ตรงนั้น

แต่อยู่ชั่ววินาที ที่เราปล่อยให้มันเกิดขึ้น การปรุงแต่งตรงนั้น

 

ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันนั้นได้จริง จะแก้ได้ครอบจักรวาล

ไม่ใช่แก้แบบถอนรากถอนโคนนิสัยแบบหนึ่งๆ

แต่จะทำให้นิสัยทางความคิดแบบนั้นๆ ปรากฏตามจริงว่า

เป็นสิ่งปรุงแต่งจิตชั่วคราว

 

ตรงนี้ สำคัญมาก ถ้าเราเข้าใจจุดนี้จริง จะไปอีกขั้น

ที่ผ่านมาเราเหมือนครึ่งๆ กลางๆ

ส่วนที่เราปฏิบัติในห้อง ก็บอกว่าอยู่ในห้องนี้

แต่ถ้าหากเราเอาสิ่งที่อยู่ในห้องนี้ไปอยู่ในระหว่างวันด้วย

เหมือนที่ในอดีต เราเคยทำได้บ้างไม่ได้บ้าง

 

ถ้าไปอยู่ในระหว่างวันจริงๆ แล้วเห็นว่า

แต่ละครั้ง ที่เรามีนิสัยทางความคิดอะไร โผล่หรือปูดขึ้นมา

เป็นแค่ความปรุงแต่งของจิต

 

เอาเรื่องทางธรรมจริงๆ นะ

แต่ในเรื่องทางโลก พี่ก็เข้าใจว่าบางทีต้องค่อยเป็นค่อยไป

เรื่องของการปรับความรู้สึกในการทำงานด้วย

เปลี่ยนวิธีมอง หรือคิดอะไรใหม่

ซึ่งทุกการทำงาน จะมีกระบวนการเปลี่ยน

หรือ shape ความคิดเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานไหนๆ

 

ทีนี้ ตรงที่เราย้อนกลับไป มีเรื่อง fail หรือไม่ fail เอาง่ายๆ

อยู่ที่เราเหมาะกับงานตรงนั้นแค่ไหน หรือ fit กับงานตรงนั้นแค่ไหน

หรือว่าตัดสินใจที่จะเอาอะไร เป็นเป้าหมายกับงานตรงนั้นตั้งแต่จุดเริ่ม

 

คือไม่ใช่แค่อยู่กับวันทำงานวันใดวันหนึ่ง

แต่อยู่ที่จุดตั้งต้นเลย ที่เราเอาชีวิตไปอยู่กับมัน ด้วยเป้าหมายแบบไหน

ตรงนี้ ที่บางทีจะสำคัญกว่าการพยายามปรับตัว หรือปรับทัศนคติ

 

เป้าหมายคือ เราอยู่ตรงนั้นเพื่ออะไร

 

อย่างจิ๋วบอกว่า ถ้าเราอยู่ตรงนั้นในแง่ของการเป็นมนุษย์ทำงานคนหนึ่ง

fit ไหม? อย่างจิ๋วทำงานวิจัย

ไม่ใช่แค่เป้าหมายว่าเราทำงานเอาเงินเดือน แต่เราจะเอาผลงาน

 

งานวิจัย ไม่มีหรอกที่รับเงินเดือนไปวันๆ

แต่คือในชีวิตเรา จะทำอะไรที่โลกยังไม่มีขึ้นมาให้ได้

 

ตรงนี้ เราพอเห็นว่าเรามีเป้าหมายตรงนั้นจริง และใจเราอยู่ตรงนั้นจริง

ถึงจะ fit กับงานที่ทำอยู่ แต่ถ้าใจไปไม่ถึงตรงนั้น

จะมีปัญหาเกิดขึ้นร่ำไป เช่นเทียบเขาเทียบเรา fail หรือไม่ fail อะไรต่างๆ

 

คนที่มีเป้าตรงนั้นชัดเจนว่าจะเอาอะไร จะไม่มีเรื่อง fail

มีแต่ยังไปไม่ถึง แล้วก็เดินต่อ เข้าใจพอยต์นะ

 

จิ๋ว : แล้วระหว่างวัน ต้องทำอย่างไรต่อคะ ไม่ได้อยากไม่ปฏิบัติ

แต่เวลา depress มากก็ทำไม่ได้เลย

 

พี่ตุลย์ : ระหว่างวันถ้ารู้สึกอ่อนปวกเปียกอยู่

จะรู้สึกเหมือนไม่ได้เจริญสติ ไม่ได้ทำอะไรเลย

 

แต่ถ้าเอาความเข้มแข็งติดออกไปบ้าง

จากการนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม

จะมีความรู้สึกว่า อย่างเดินจากห้องไปออฟฟิศ ก็ได้เท้ากระทบ

หรือถ้าอยู่ที่ทำงานนั่งอยู่คิดงานไม่ออก กำลัง depress

ก็นั่งดูลมหายใจไปสักพักก็ได้

 

มีช่องว่างเสมอ มีเวลาเสมอ นาทีสองนาทีเสมอ ในระหว่างวัน

ที่เราจะตั้งหลักมาเข้าจุด เอาแบบที่เราเคยทำได้ในห้องมาใช้ตรงนั้น

 

ส่วนตอนนอน ก่อนนอน ถ้าเป็นช่วง fail อาจใช้วิธีสวดมนต์เอา

หลายๆ รอบก็ได้ สวดอิติปิโส ไป ถ้าทำสมาธิไม่ไหว

 

จริงๆ ถ้าอยากได้กำลังใจ มีสิ่งที่ช่วยง่ายสุดคือนึกถึงพระพุทธเจ้า

ว่าเราไปอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบพระองค์จริงๆ

พระองค์ที่มีเลือดเนื้อ มีตัวตน แล้วสวดสรรเสริญท่าน

เหมือนเราได้ถวายพรท่านจริง ด้วยความรู้สึกทั้งหมดที่เรามีอยู่

ถวายให้ท่านจริง ตรงนั้นจะทำให้เราหลับได้

รู้สึกเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่กับเรา

 

ย้อนกลับมาดูไลฟ์อีกที ถ้าตอนไหนนิ่งได้

จะรู้สึกถึงความปลอดโปร่งของกาย เป็นหลักฐานของความใสของจิต

แต่ถ้ายุ่งๆ ขึ้นมา ก็ดูไปว่า สิ่งที่เป็นความฟุ้ง ยุ่ง

โผล่มาแป๊บหนึ่งแล้วเดี๋ยวก็หายไป

 

เดินจงกรม ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่อยู่ตรงที่เราจับจุดอะไรได้

แล้วย้ำตรงนั้นแล้วก็ทำเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆนะ

 

จิ๋ว : แล้วการเดิน ต้องเดินช้า เดินเร็ว หรือดูความเป็นธาตุไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : ยังไม่ต้อง เดินเอาเท้ากระทบก่อน อย่าหยุดนานไป

ถ้ารู้สึกว่ามีความฟุ้ง เวลาหันให้รู้สึกถึงเท้ากระทบให้ได้ก่อน

 

จิ๋ว : ก่อนนี้ก็รู้สึก แต่พอฟุ้งมากเลยมาเดินให้เร็วขึ้นเลยกลายเป็นเหมือนไม่รู้ไป แต่เมื่อก่อนก็พอรู้ เลยไม่แน่ใจว่าต้องกลับไปเดินให้ช้าลงไหม

 

พี่ตุลย์ : เวลาที่เรารู้สึกใจเฉื่อย ก็เดินเร็วขึ้น ให้รู้ต๊อกๆ เป็นวิตักกะ

แต่ถ้าใจฟุ้งไป ก็ผ่อนฝีเท้าให้ช้าลงได้

ดูว่าสปีดเร็วหรือช้า ทำให้ใจอยู่กับความรู้สึกอยู่กับจังหวะเท้ากระทบได้

 

------------------------------

น้าเพ็ญ

 

พี่ตุลย์ : เมื่อรู้สึกเท้ากระทบได้ต่อเนื่อง

จิตจะมีความตั้งมั่น รู้อยู่กับเท้ากระทบเป็นศูนย์กลาง

และถ้าหากจิตตั้งมั่นมากพอ อยู่กับก้าวกระทบ จังหวะกระทบ

จะมีความใส สว่างแบบหนึ่งขึ้นมา

แบบที่รู้ว่าตัวเองมีความเป็นต่างหากจากเท้ากระทบ

หรือกายที่กำลังเดินอยู่

 

ตอนที่จิตสว่าง ตั้งเป็นดวง แล้วรู้สึกถึง ..

คือถ้าประสบการณ์ภายในเป็นเหมือนอะไรที่แยกออกมา

สว่าง ว่างอยู่ โล่งอยู่ ให้รับรู้ว่า

อาการของจิตแบบนั้น ความสว่างของจิตแบบนั้นที่คงอยู่

จะคงอยู่ไปเรื่อยๆ หรือ มีช่วงที่จะแตกต่างไป

 

อาจเป็นอนิจจังขาขึ้น หรือ อนิจจังขาลง

 

อนิจจังขาขึ้น คือสว่างขึ้น เบาเฉียบคมมากขึ้น รับรู้ใส คมกระจ่างขึ้น

อนิจจังขาลง คือ ดรอปลง มีความรับรู้ที่พร่าเลือนลง

หรือมีความสว่างที่น้อยลง

 

ตัวนี้ จะเข้ามาเห็นภาวะความเป็นจิตที่แตกต่างไปเรื่อยๆ ชัดขึ้นๆ

จนเกิดข้อสรุปว่า ความเป็นจิตในรอบหนึ่งๆ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

 

พอจับจุดเดินได้แม่นยำแล้ว

สิ่งที่เราสามารถมองเป็นความไม่เที่ยงได้

แล้วก็ไปทำลายฐานที่มั่นของความรู้สึกในตัวตนได้ง่ายๆ ก็คือจิต

 

ตรงที่สว่างอยู่ รู้อยู่ ตรงที่ใสอยู่ ตื่นอยู่

ตรงนั้นเรามองว่าเป็นภาวะของจิต บอกว่าเป็นจิตก็ได้

 

เรารู้เท้ากระทบ แล้วก็รู้ที่จิต

รู้ที่จิตว่าตอนนี้มีความสว่างแค่ไหนในแต่ละรอบ

จะมีความคงที่ หรือความแตกต่าง จะเล็กจะใหญ่ก็ตาม

เอามามองให้หมดว่า นั่นคือความไม่เหมือนเดิมของจิต

 

พี่เพ็ญหยุดที่จุดยืนนะครับ ลืมตาแวบหนึ่งแล้วหลับตา

ตอนนี้แทนที่จะกำหนด เหมือนกับผนังอยู่เบื้องหน้า

ผมอยากให้มองเลยไปเลย เหมือนทอดตามองขอบฟ้า

เหมือนพี่กำลังมองขอบฟ้าชายทะเล ผ่านกระจกใสที่อยู่เบื้องหน้า

 

จะเห็นใช่ไหมว่าตอนนี้ เหมือนมีชั้นบางๆ ใสๆ ที่อยู่ตรงหน้า

แต่ขณะเดียวกันก็รับรู้ถึงขอบฟ้าไกลๆ

ที่ไม่มีอะไร ว่างๆ ที่หายๆ ออกไปด้วย

 

พอเราสามารถรับรู้ว่าที่อยู่ตรงหน้าเรา มีทั้งช่องว่างและมีทั้งวัตถุคั่น

จิตจะสามารถรับรู้อะไรได้เป็น layer ได้ชัดขึ้น

เช่น .. พี่ขวาหันนะครับ ดูนะ

ใช้หูซ้าย ฟังไปในทิศที่หูซ้ายตั้งอยู่เป็นแนวขวาง

จะรู้สึกถึง เมื่อกี้รู้สึกถึงขอบฟ้าด้านตรง

ตอนนี้จะรู้สึกถึงขอบฟ้าด้านข้าง

 

ขวาหันอีกทีนะครับ ใช้ทั้งหูซ้ายขวาในการรับรู้พื้นที่ว่างด้านหลัง

รับรู้ที่ไกลไปสุดลูกหูลูกตา

 

เสร็จแล้วเดินมาครับ แล้วหยุด ..

 

เอาจากที่รับรู้เมื่อกี้ ตอนที่ให้มองออกไป ทอดสายตามองไปขอบฟ้า

พี่รู้สึกไหม ตอนที่ให้ลืมตาแวบหนึ่งแล้วหลับตา

จะเหมือนเห็นตัวผนังกั้นอยู่ แต่พอให้พี่มองออกไปไกลๆ สุดสายตา

รู้สึกไหม เหมือนผนังเป็นแก้วใสๆ คั่นอยู่ พอจะรู้สึกได้ไหมครับ

 

น้าเพ็ญ : มองไกลๆ เห็นได้ แต่เห็นแก้วใสๆ ยังไม่ค่อยเห็นค่ะ

 

พี่ตุลย์ : พอจะสัมผัส พอจะรู้สึกได้ใช่ไหมครับ (ค่ะ)

ตอนที่ขวาหันมาครั้งหนึ่ง และผนังไปอยู่ด้านซ้ายแล้ว

พี่ยังรู้สึกความลึกไปได้ไกล แล้วตอนที่หันหลังกลับมายังเท่าเดิมนะ (ค่ะ)

 

ถ้าอย่างนั้นบอกหน่อยว่าวินาทีนี้รู้สึกอะไรบ้าง

 

น้าเพ็ญ : ข้างหลังมีระยะ ข้างหน้าก็มี ข้างๆ ก็มี

 

พี่ตุลย์ : ตรงที่จิตเปิดรอบ แล้วแค่พี่นึกถึงว่าร่างกายอยู่ในท่านั่ง

ราวแขวนเสื้ออยู่ด้านหลัง พี่รู้สึกได้ถึงตำแหน่งได้ชัดไหมว่า

ตัวพี่นั่งตรงนี้ และราวแขวนเสื้ออยู่ด้านหลัง

 

น้าเพ็ญ : รู้สึกค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะจำได้หรือเปล่า

 

พี่ตุลย์ : มันประกอบด้วยความจำได้ขึ้นมาก่อน

ที่รู้สึกจะด้วยความจำ หรือด้วยสัมผัสที่เกิดจริงก็ตาม

อย่าเพิ่งไปให้ความสำคัญ

 

แต่จุดสำคัญคือ รู้สึกไหมว่า

ตัวพี่ที่เป็นกายนั่ง กับราวแขวนเสื้อด้านหลัง

มีความเป็นวัตถุเสมอกัน เอาความรู้สึกตอนนี้ ตรงๆ เลยนะ

 

น้าเพ็ญ : ไม่ทราบว่าเสมอกันไหม แต่รู้สึกว่าตัวเป็นอะไรสักอย่าง

 

พี่ตุลย์ : ที่ตั้งเฉยๆ ไม่มีความเป็นเราในนั้น

ตรงนี้บอกได้ว่า จิตเรามีความสามารถสัมผัส

ถึงความเป็น วัตถุธาตุ ในกายนี้และสิ่งอื่นรอบตัว

 

แล้วเมื่อกี้ที่เดิน แล้วรู้สึกเท้ากระทบที่คงเส้นคงวา

พี่รู้สึกถึงดวงจิตที่ตั้งขึ้นมา ซึ่งพอจะเทียบได้ไหมว่า

แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

 

น้าเพ็ญ : ค่ะ หัดดูอยู่ค่ะ ตั้งแต่คราวก่อนที่อจ.ให้หัดสังเกต

 

พี่ตุลย์ : อย่างคราวที่แล้วกับคราวนี้ เทียบสเกลใหญ่ก่อนนะ พี่เห็นความแตกต่างไหม

 

น้าเพ็ญ : คราวนี้ไปฝึกมาด้วย เลยรู้จักดูมากขึ้น

 

พี่ตุลย์ : รู้สึกแตกต่างใช่ไหม อธิบายเปรียบเทียบวาดเป็นภาพว่า

จิตวันก่อน กับวันนี้ อันไหนขาวกว่ากัน เอาความรู้สึกนะ อย่าคิด

 

น้าเพ็ญ : วันนี้ คือจะหัดดูได้ละเอียดขึ้น

ว่าตอนนี้เสื่อมไปแล้ว หรือดีขึ้นแล้ว แต่คราวที่แล้ว..

 

พี่ตุลย์ : จะอยู่กับความสว่างเฉยๆ อยู่กับความว่างเฉยๆ

 

ทีนี้ผมจะบอกว่า คราวที่แล้ว จิตแยกออกมาจากกายมากกว่าคราวนี้

พี่ฟังดีๆ นะ .. คราวที่แล้วอยู่ห่างมากกว่านี้

ตอนที่ผมยังไม่ได้ทัก ให้ดูภาวะของจิตที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

แต่คราวนี้ เหมือนจ้องสังเกตความเป็นจิตมากขึ้น

เลยเหมือน จิตอยู่กับความตั้งใจดูมากขึ้นกว่าเดิม

 

คราวก่อน เหมือนจิตเป็นอิสระมากกว่านี้

คราวก่อนพี่ไม่ได้ตั้งใจดูความเป็นจิต

พี่แค่รู้สึกว่าจิตเด่นดวงแล้วลอยขึ้นมา

เป็นเหมือนภาวะอะไรอย่างหนึ่ง ที่พี่ใช้คำว่า ขาวโพลน ว่าง

ตรงนั้น จะเหมือนจิตเป็นอิสระมากกว่านี้

 

แต่ตอนนี้ เหมือนเราชินกับการอยู่กับความสว่าง ว่างเฉยๆ

มีข้อเปรียบเทียบนะ

 

ตอนนี้ จิตติดตัวมากกว่า ไม่ได้แยกออกมาเหมือนคราวที่แล้ว

แต่คราวนี้ถ้าถามว่ามีความเข้าใจมากขึ้นไหม มีความเข้าใจมากขึ้น

รู้สึกว่าเรากำลังดูจิตอยู่ เห็นภาวะจิตแบบหนึ่ง ที่ตั้งมั่น คงที่ สว่าง

และสังเกตว่าจะต่างไปเมื่อไหร่

 

ตรงนี้ผมจะบอกว่า มันสังเกตมากไป

คราวก่อนไม่ได้สังเกตอะไรเลย คราวนี้ สังเกตมากไป

 

และอีกอย่าง จิตที่รู้อยู่เฉยๆ คราวที่แล้ว ดีแล้ว

กับจิตคราวนี้ ที่สังเกตด้วยก็ดีเหมือนกัน

แต่ถ้าเจอกันครึ่งทาง จะดีที่สุด

คือจิตอยู่ส่วนจิต และเท้ากระทบอยู่ส่วนเท้ากระทบ

อยู่คนละส่วนกันโดยที่ไม่มีการพิจารณาอะไรทั้งสิ้น

 

แต่ตอนนี้ มีการจ้องสังเกตการเปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง

ซึ่งมีแง่ดี ว่าเราไม่ได้เฉย ไม่ได้เพลินกับมันเฉยๆ

แต่เรามีการพิจารณา ว่าจะต่างไปไหม

 

แต่ตรงที่พี่ทำอยู่รอบนี้ พิจารณาจนกระทั่ง

กลายเป็นการจ้องดูอย่างใกล้ชิด และมีตัวเราเป็นผู้ดูอยู่

 

ถ้าเจอกันครึ่งทาง ระหว่างรอบที่แล้วกับรอบนี้

คือมีอาการที่จิตเด่นดวง รับรู้อย่างเดียว ไม่คิด ไม่พิจารณาอะไรทั้งสิ้น

แต่ขณะเดียวกันเมื่อเกิดความต่าง ก็มีความเท่าทัน

มีสติรู้ขึ้นมาเองว่าเปลี่ยนไปแล้ว

 

พูดง่ายๆ เดินเหมือนคราวก่อนเป๊ะ แต่บวกเข้ามานิดเดียวว่า

สมมติเดินไปชั่วโมงหนึ่ง แล้วมีการเปลี่ยน

ก็มีสติรู้ทันว่าเปลี่ยนแล้ว และสิ่งที่เปลี่ยนคือจิต

 

ตรงนี้สำคัญมาก เพราะเนื่องจากเรามาไลฟ์กันแบบนี้

เวลาไม่ได้สเกล กับที่พี่เดินจริงๆ

 

พี่เดินได้นานกว่านี้ และจิตมีความคงเส้นคงวาได้นานกว่านี้เยอะ

ฉะนั้นมาชี้ในไลฟ์ จะยาก ว่าตอนนี้จิตพี่เปลี่ยนแล้ว

ตอนนี้จิตเป็นอย่างนี้ จะยาก

ฉะนั้นพี่ต้องจำไปสังเกตเองเวลาเดิน

 

สมมติว่าสว่างโพลง แล้วรู้สึกว่างแบบเดียวกับคราวก่อนเป๊ะ

ก็เดินอยู่แบบนั้นเลย ไม่ต้องพิจารณาอะไรทั้งสิ้น

 

แต่เมื่อไหร่เปลี่ยนนิดเดียว และสามารถรับรู้ได้ว่า นี่ต่างไปแล้ว

ที่สว่างโพลง กลายเป็นแคบๆ หม่นๆ ลง

ก็เห็นว่า จิตแสดงความเปลี่ยนแปลงให้ดู ตรงนี้แหละที่ผมจะสื่อ

 

ขอแค่รู้อย่างเดียว ไม่ต้องจ้องพิจารณาอะไรทั้งสิ้น

บวกกับคราวนี้ สังเกตเมื่อมีการเปลี่ยนให้เห็น

 

แต่รอบนี้พี่สังเกตตลอด เลยกลายเป็นว่าจิตไม่แยก ไม่ตั้งมั่นเด่นดวง

 

น้าเพ็ญ : เข้าใจค่ะ พอดีปฏิบัติเพิ่งผ่านไปไม่นาน แล้วจำได้

 

พี่ตุลย์ : ช่วงระหว่างวัน เหมือนบางทีรู้สึกว่าใจเป็นอิสระขึ้นมาเองไหม

เป็นอิสระเหมือนเบิกบาน และรู้สึกว่าไม่มีตัวเราขึ้นมาเอง

 

น้าเพ็ญ : ค่ะ แล้วเวลาเดิน ปกติก็รู้สึกแบบเดียวกันกับตอนเดินจงกรม

 

พี่ตุลย์ : ทีนี้ตอนที่พี่รู้สึกเป็นอิสระ จำได้ไหมว่า

จิตเงียบใส ไร้ความคิดได้นานแค่ไหน พอจะประมาณถูกไหม

 

น้าเพ็ญ : พอดีเดินหลายที่ เดินในสวนด้วย ก็เป็นได้นาน

แล้วพอไปหยุดตรงต้นไม้ ก็รู้สึกเป็นธาตุดินเสมอกัน ดูว่ามีสมาธิดี

ก่อนหน้าที่จะเข้าห้องวิปัสสนานุบาล นั่งสมาธิไม่ได้

ยังแปลกใจว่าแค่เดินสองสามรอบแล้วไปยืนกับต้นไม้แล้วเป็นสมาธิได้

 

พี่ตุลย์ : ก็เอาแบบนี้ไปเลยเพราะแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน

แต่ตอนนั่ง .. พี่หมายถึงนั่งสมาธิช่วงนี้ไม่ได้?

 

น้าเพ็ญ : หมายถึงก่อนเข้าห้องวิปัสสนาฯ ค่ะ สี่เดือนที่แล้ว

 

พี่ตุลย์ : นั่นสิ เพราะผมแน่ใจว่าพี่นั่งได้ และนั่งได้ดีด้วย

 

นั่ง เป็นการที่ทำให้จิตใสใจเบา มีความสงบพัก

มีประโยชน์ตรงที่ เราจะได้หลักตั้งไปเดิน

พอเดิน เราเกิดการรับรู้ที่แจ่มชัดขึ้น

 

ตรงที่พี่รู้สึกว่า

กายเรามีความเสมอกับธาตุดินขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องกำหนด

ตรงนั้นดีมาก แสดงให้เห็นว่าจิตสัมผัสได้จริง ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น

 

อย่างตอนที่ใจแผ่ว่างออกไป ประมาณได้ถูกไหมว่าแผ่ไปกว้างขนาดไหน

 

น้าเพ็ญ : กว้างมากค่ะ เพราะเป็นสวนป่า ไปทั้งซ้ายขวา ข้างหน้าข้างหลัง

นั่งสมาธิช่วงนี้นั่งได้ จากการที่ยกมือ

แล้วพอทำท่าสอง ย้อนไปท่าหนึ่งนี่ง่ายเลย

เวลาเดิน พอเดินหลับตา แล้วมาเดินลืมตาก็ง่าย มานั่งสมาธิก็สบายขึ้น

 

พี่ตุลย์ : ความคิดระหว่างวัน ในหัว เงียบไหม หรือยังฟุ้ง

แล้วพอฟุ้งรู้ได้ไหมว่า ผุดมาแล้วหายไป หรือยังฟุ้งไปตามความคิด

 

น้าเพ็ญ : ฟุ้งเรื่อยๆค่ะ แต่ก็หายได้เร็ว

 

พี่ตุลย์: เห็นว่าหายไป แล้วกลับมาว่างใช่ไหม

 

น้าเพ็ญ : กลับมาเฉยๆ ค่ะ

 

พี่ตุลย์ : กลับมาเฉยๆ.. ตรงเฉยๆ มีความรู้สึกไหมว่า

ตรงความคิดที่เพิ่งหายไปให้เห็น เหมือนเป็นเศษภาวะอะไรอย่างหนึ่ง

ที่ไม่เกี่ยวกับเรา ไม่ใช่ตัวเรา

 

หรือยังมีความรู้สึกในตัวเราอยู่ ตอนที่มันเฉยๆ ตอนที่มันว่าง

 

น้าเพ็ญ : ยังต้องหัดนึกอยู่ว่ามันเป็นสภาวะ ความปรุงแต่งของจิต

 

พี่ตุลย์ : เท่าที่ผมเห็น ตอนที่เดินแล้ว เห็นความเงียบได้

ตอนนั้นเป็นจังหวะ เป็นโอกาสที่จะรับรู้

ถ้าความคิดผุดมา หรือเห็นความฟุ้งซ่าน คิดไปถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้

โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องงานที่อยู่ตรงหน้า

พี่เพ็ญจะรู้สึกได้ ถ้าหากพี่เพ็ญเข้ามาอยู่ตรงความรู้สึกตรงกลาง

ว่าว่างหรือไม่ว่าง วุ่นหรือไม่วุ่น

 

ถ้าสัมผัสถึงความว่างที่ตรงกลาง แล้วเห็นไปพร้อมกันกับความคิดในหัว

จะเห็นว่า ความคิดที่ผุดในหัว ผุดมาแป๊บหนึ่งแล้วหายไป

แล้วกลับมาอยู่ที่ความรู้สึกตรงนี้

 

ที่บอกว่ารู้สึกว่างๆ เฉยๆ

ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นความคิดที่หายไป ไม่ใช่ตัวตนอะไร

ต้องใส่การพิจารณาว่าเป็นความคิดชั่วคราว

นั่นเป็นเพราะพี่ไม่มีที่ตั้งของสติ

 

ที่ตั้งของสติพี่ ไม่ใช่เข้าไปนะ แต่เป็นความว่างออกมาจากตรงกลาง

ถ้ารู้อยู่ตรงนี้ แล้วความคิดหายไป จะหายไปจากหัว แล้วมาอยู่กับใจ

 

เคยเกิดขึ้นแหละ แต่พี่ไม่ได้สังเกตว่าตรงนี้ใช้เป็นวิหารธรรมได้

ออกมาจากความรู้สึกของจิตที่เงียบว่าง สงบภายใน

และเมื่อความคิดเกิดขึ้น เรารู้ตรงนี้ไปพร้อมกัน จนความคิดหายไป

แล้วกลับมาอยู่ตรงนี้ เห็นว่าความคิดที่หายไปไม่ใช่ตัวเรา

 

แต่ถ้าสติอยู่ในหัว ความคิดเกิดขึ้นแล้วหายไปจากหัว

พี่จะรู้สึกเหมือนที่บอก คือรู้สึกเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกว่าความคิดไม่ใช่ตัวเรา

หรือความคิดเป็นอนัตตา แต่จะรู้สึกเฉยๆ

 

แต่ถ้าพี่มาอยู่ตรงนี้ (บริเวณอก) จะรู้สึกว่าความคิดไม่ใช่ตัวเรา ลองสังเกตดูว่าทำได้หรือไม่ได้ แล้วคราวหน้าจะดูว่าโอเคไหม

 

-----------------------

ตง

 

พี่ตุลย์ : การเป็นฆราวาส หมายถึงเรามีงานที่ต้องหาอยู่หากิน

และแต่ละวันก็หนักเบาไม่เท่ากัน กะเกณฑ์ไม่ได้

ว่าวันนี้จะเอาภาระหนัก วันนี้จะเอาภาระน้อย

จะเอาเรื่องคิดน้อยเพื่อจะได้ภาวนาดี กะเกณฑ์ไม่ได้

 

แต่เราตั้งเป้าไว้ได้ ล็อคเป้าไว้ได้ว่า

ความไม่เหมือนเดิมในแต่ละวันนี่แหละ ที่เราจะรับตามจริง

ถ้าจิตป้อแป้ จิตคิดฟุ้ง ก็จะรับรู้ตามสภาพว่าป้อแป้ คิดฟุ้ง

 

แต่ถ้าวันไหน มีกำลัง เข้มแข็ง สงัดเงียบ ก็รับรู้ว่าจิตสงัดเงียบ

 

พอเราเดินหลับตาได้ สิ่งที่จะเกิดเป็นธรรมดาคือ

ความฟุ้งหรืออาการที่ยังตกค้างมาจากการทำงาน

จะถูกรับรู้ได้ชัดเจน ว่ากำลังเป็นอย่างไรอยู่

 

ทีนี้ หน้าที่เราแค่ว่า ไม่หลงไปกับตัวความฟุ้ง แต่เป็นฝ่ายดูความฟุ้ง

 

สังเกตง่ายๆ ถ้ามีความพร้อมจะรู้ว่า กายนี้มีความเป็นธาตุ

เสมอกันกับผนังหรือประตูหรือวัตถุ รอบด้าน จิตจะใสใจจะเงียบ

 

แต่ถ้าฟุ้งแล้วไม่พร้อมรู้ เราก็แค่มองกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า

มีตัวสภาวะ เศษซากความคิดโผล่มา

แล้วทำให้จิตไม่พร้อมเทียบเคียงความเป็นธาตุกับสิ่งรอบด้าน

 

ทีนี้ อย่างพอรู้เข้าที่เข้าทางว่า

ไม่แคร์ว่าจะเกิดความฟุ้งอะไรอย่างไร

แล้วยังสามารถเทียบได้ว่า

กายนี้ เทียบประตูแล้วเป็นธาตุ เป็นวัตถุเสมอกัน

มีช่องว่าง มีความรู้สึกถึงอะไรคลุ้งๆ อยู่บนส่วนบนสุดธาตุดิน

 

ถ้ารู้แค่นี้ หายใจออก ถ้ารู้แค่นี้ หายใจเข้า

จะมีความรู้สึกขึ้นมา จะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะ

ที่สามารถรู้กายใจโดยทั่ว

ประกอบพร้อมกันด้วยธาตุดินนี้ ถูกคั่นด้วยอากาศว่าง

 

ใจที่เปิดใสขึ้นมา ไม่ได้เปิดใสด้วยการบังคับให้เป็นสมาธิ

แต่เปิดเพราะเห็น และไม่แคร์ว่า

ความคิดปรุงแต่งจะเกิดขึ้นมาอย่างไร

 

เห็นทั่วพร้อมว่ากายนี้ตั้งอยู่ในท่าเดิน กายนี้ตั้งอยู่ในท่ายืน

แล้วมีอะไรคลุ้งๆ ขึ้นมาในหัว

และที่ถูกคลุ้งๆ ขึ้นมา แล้วไม่แคร์ ก็หายไปจากหัว

 

ตอนที่จิตเริ่มกลับมาใส กลับมามีกำลัง

ไม่ใช่เพราะเราสามารถสั่ง เอามันเข้าที่ได้

แต่มาจากการที่ใจเรา สามารถรับรู้แบบไม่แคร์ว่า

มีภาวะอะไรกำลังปรากฏตามจริง

 

พอใจอยู่กับที่แล้ว รับรู้เอง โดยที่ไม่ต้องไปกำหนดอะไรมาก

เพราะอยู่ในทิศทางอยู่แล้วที่จะได้สัมผัส สามารถสัมผัส

 

ตรงที่ใจเราเข้าที่เข้าทาง

บางทีไม่ใช่ความสามารถ แต่มาจากความเข้าใจ

เข้าใจว่าจะดูอะไร ณ ขณะนั้น

 

บางคนกำลังฟุ้งหนักๆ อยู่ หรือมีอาการป้อแป้หมดแรง

เสร็จแล้วก็ดูอาการทั้งหมด ตามที่กำลังปรากฏให้ดู

เสร็จแล้วตัวจิตที่เข้าล็อคมีสติรู้

สักว่าเป็นการเห็นขันธ์ห้า สักว่าเป็นการเห็นภาวะอะไรอย่างหนึ่ง

มันแปรปรวน แสดงความแปรปรวนให้ดู

ด้วยสติที่เห็นกายใจโดยความเป็นสภาวะ ไร้บุคคลได้

 

จิตแบบนั้นตื่นเอง จิตแบบนั้น จะพลิกจากที่กำลังป้อแป้อยู่

กลายเป็นมีกำลังวังชา มีความตื่น สว่างแจ้ง

 

ขอให้สังเกตโดยความเป็นธรรมชาติของจิต ของผู้เจริญสติมา

จะมีความสามารถในการเข้าล็อค ของการมีสติรู้แล้วตื่นขึ้น

ขอแค่เราเข้าใจเท่านั้นว่า ณ เวลาหนึ่งๆ มีอะไรให้เห็น

 

เมื่อกี้มีความเข้าใจเกิดขึ้นชัดเจนนะ

เดี๋ยวช่วยแชร์หน่อยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

 

ตง : สัปดาห์นี้มีอะไรเข้ามากระทบเยอะ

เมื่อกี้ บางช่วงดี บางช่วงไม่ดี ก็รู้ครับ

จังหวะเท้ากระทบ รู้ ความรู้สึกที่อยู่กับวัตถุรอบๆ ข้างก็รู้

บางช่วงที่รู้สึกถึงข้างในจิต บางช่วงดี บางช่วงไม่ดี

 

ถ้าเป็นเมื่อก่อน จะรู้สึกมีปฏิกิริยากับมัน

แต่ตอนนี้รู้สึกว่า วางได้ มันเกิดแล้วก็ไป

ในขณะเดียวกัน ระหว่างที่เดิน ก็จะรู้สึกว่า

บางทีเหมือนเราไม่ได้เดิน แต่บางคราวเหมือนเรา ..

มีตัวอะไรไม่รู้ ท่อนๆ เดินไปมา

 

พี่ตุลย์ : ท่อนๆ คือธาตุดิน

 

ทีนี้ ผมมองจากมุมมองผมครั้งนี้

บางทีช่วงที่คุณตงเหนื่อย หรือมีอะไรเต็มหัว

แล้วรู้สึกว่าไม่รู้จะดูอย่างไร จะลืม

 

อันนี้เป็นทุกคน แม้กระทั่งผม เวลาเหนื่อยจะลืมว่าจะดูอย่างไร

 

แต่รอบนี้ ผมบอกว่า คุณตงน่าจะเข้าใจมากขึ้น

จากจุดที่ผมบอกว่า มีธรรมชาติของจิตอย่างหนึ่ง

แม้จะมีลักษณะป้อแป้ ฟุ้งแค่ไหน

แต่ถ้าเข้าจุดที่ จิตจะมีสติรู้ได้ว่า กำลังป้อแป้

แต่ไม่ใช่ไปสังเกตที่ความป้อแป้หรือความฟุ้งอย่างเดียวนะ

ต้องมีจุดยืนของจิตจุดหนึ่ง ซึ่งเหมาะที่จะเกิดขึ้นจากการเดินจงกรม

 

การเดินจงกรม เป็นการรู้ทั้งตัว

ถ้าเราอยู่ในจุดที่รู้ทั้งตัวได้ เห็นอาการป้อแป้ ฟุ้งได้

จะตื่นเอง จะเข้าล็อค อย่างเมื่อกี้จะพลิกได้

 

ทีนี้ เวลาไปเดินเอง แล้วรู้ไม่เข้าจุด ก็จะรู้ไปเฉื่อยๆ

รู้แบบพยายามรู้ ไม่ได้รู้จริงๆ

แต่รอบนี้ จะเป็นตัวอย่างเลยนะ จะเห็นได้ว่า

ทั้งๆที่อาการทรงๆ ทรุดๆ เกิดอยู่

แต่พอเราเอาเข้าจุดได้ มีสติรู้ได้

จิตจะตื่น ตั้ง มีความรับรู้ สว่าง

และเห็นได้ด้วยว่า กายนี้สักเป็นธาตุดินท่อนๆ เดินไป

 

อยากบอกทุกคน

ข้อดีของเดินจงกรมที่มีมากกว่าการนั่งสมาธิ

และมากกว่าการเจริญสติในระหว่างวัน ก็คือ

การเดิน สติต้องเลี้ยงตัวในท่าเดิน

ฉะนั้น เกือบอยู่ในจุดสมดุล ที่จะต้องมีสติพร้อมรู้ทั้งตัวอยู่แล้ว

 

ทีนี้เราแค่มาตั้งข้อสังเกตว่า ตอนนี้ความรู้สึก เหมือนเป๋ข้างใน

มีอาการทรงๆ ทรุดๆ อยู่ ถ้าเราเห็นแบบ รู้สึกถึงอาการเดินไปด้วย

พูดง่ายๆ ว่า เอาตัวเดิน หรือตัวยืนนิ่งมาเป็นหลักตั้ง

แล้วเห็นว่ามีอาการแกว่งๆ มีอาการป้อแป้อยู่ข้างใน

จะกลายเป็นจิตตื่น เห็นอาการป้อแป้หรือฟุ้งๆ นั้น

โดยความเป็นสภาวะที่ถูกรู้ แล้วก็หลุด

 

ถ้าเราจับจุดถูกว่า จะรู้อย่างไร

ให้อาการเฉื่อย อาการป้อแป้ อาการฟุ้ง เป็นสิ่งถูกรู้ตามจริงได้

จะกลับเข้าที่อย่างนี้เสมอ

 

แล้วอย่างตอนนี้ความรู้สึกจะเหมือน ในระหว่างวัน

บางจังหวะจะรู้สึกกล้ำกลืนสุดทนขึ้นมา กับชีวิตที่เป็นอยู่

อยากพลิกมาอีกข้าง แต่ยังทำไม่ได้ ชีวิตมีเงื่อนไขเยอะ

และตรงนี้เนื่องจากเรามีสำนึกรับผิดชอบ ก็เป็นธรรมดา

ที่จะรู้สึกอิหลักอิเหลื่อเกิดขึ้น

อึดอัดที่จะต้องอยู่กับอาการแบบที่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจบสิ้น

 

จริงๆ แล้วอาการทำนองนี้ ว่าไป

ก็ผลักดันให้เราเกิดความอยากจะพ้นไปได้

ถ้ามาพอดีจังหวะเวลา กับจิตที่เราจะใสเบา

รับรู้ด้วยความมีอุเบกขาได้

จะกลายเป็นเครื่องส่งนะ ไม่ใช่เครื่องขวาง

ไม่ใช่เป็นกรอบ เหมือนคุกที่เรารู้สึกอยู่เสมอไป

ขึ้นกับการพลิกมุมมอง

 

ไม่ได้บอกว่าที่เจออยู่ มันง่าย ผมเข้าใจนะ

แต่จะบอกว่า มีอยู่จริงครับที่ในสมัยพุทธกาล ตอนท่านทุกข์อยู่

แล้วท่านพิจารณาว่า ความทุกข์นี้ ให้ความรู้สึกอย่างไร

ให้ความรู้สึกใคร่พ้นไป ซึ่งถ้าใคร่พ้นไปก็ดีสิ

จะได้เข้าฝักฝ่ายที่จะทิ้งขันธ์

 

แต่ที่ขาดไปคืออะไร ถ้าสำรวจตามโพชฌงค์เจ็ด

มีสติอยู่ไหม?

ถ้าอย่างเมื่อกี้ เอาสติเข้าจุดได้ ก็จะรู้สึกเป็นอิสระ มีสมาธิทันที

และถ้าพิจารณาธรรม อย่างมีความเพียร วิริยะ

จนเกิดความสงบใจขึ้นมา มีความสงบกายสงบใจ

ท่ามกลางความกดดันที่หนักหนาสาหัสได้นี่แหละ

จะเกิดสมาธิอีกแบบ คือ สมาธิแบบอยากวางจริงๆ

ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีความคิดซ้ำสองว่า เอาดีไม่เอาดี

 

สมาธิจะเป็นอุเบกขาแบบที่อยากปล่อยจริง

เหมือนเราถืออะไรอยู่ในมือมานาน นึกว่าเป็นของรักของหวง

อ้าว.. วันหนึ่งพบว่าเป็นก้อนกรวดหนักๆ

ใจที่พบว่า เป็นก้อนกรวดที่ไม่มีค่าไม่มีราคาอะไรเลย

ก็จะปล่อยออก แบบไม่เสียดาย

 

ฉะนั้น ช่วงจุกอกจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฆราวาส เกิดบ่อย

อย่าไปมองว่าเป็นอะไรที่เป็นโทษอย่างเดียว

สำหรับคนที่เข้าใจธรรมะ สำหรับคนที่เจริญสติเป็น

สำหรับคนที่เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า ธาตุหกเป็น

ความทุกข์เหล่านั้นอาจกลับขั้วเป็นคุณ

หลังจากเป็นโทษมานานแสนนาน อาจเป็นคุณอย่างใหญ่หลวงก็ได้

 

แล้วจริงๆ อาจเพิ่งมีตัวอย่างไปก็ได้

ถ้าเราอยู่ในแบบฆราวาสแบบนี้ พอปฏิบัติด้วยกันมา

จะให้ความรู้สึกขึ้นมาอย่างว่า ชีวิตแบบฆราวาส เหมือนผ่านดงระเบิด

เหยียบกับระเบิดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ระวังแค่ไหนก็บึ้ม

แขนขาดขาขาด จิตเสียหายแตกพัง

 

แต่บางทีกับระเบิด ทุ่นระเบิด ก็ทำให้เราพบเพชรพลอย

ได้ง่ายกว่าการที่จะหนีไปทางอื่น

เพราะตอนที่เรารู้สึกถึงความกดดันจริงๆ

ถึงจุดหนึ่ง รู้สึกว่าหนีไปไหนไม่ได้

อยู่กับความกดดันจนเกิดอุเบกขา

เห็นว่าความกดดัน เป็นสภาวะต่างหากได้

 

และเห็นว่าภาวะกดดันแบบนั้น เราไม่อยากหันหน้าไปหามันอีก

ไม่อยากอยู่กับมันอีก

นี่ มันเจอเพชร และเจอช่องที่จะออก

 

แต่ใจต้องไม่มีลักษณะหม่นหมอง ไม่ป้อแป้

แต่ต้องมีลักษณะตั้งลำได้ อยู่กับความตรง แน่วไป

อยู่กับใจที่ใสสบาย ปลอดโปร่งได้

 

พูดมาทั้งหมด ให้จับจุดแบบเมื่อกี้ที่ผมว่า

ถ้ารู้สึกถึงอาการตามจริงได้ ไม่ว่าจะแย่แค่ไหน

ขอให้จับจุดได้ ว่าสติตั้งอยู่อย่างไร แล้วหลุดเผละออกไปได้

นั่นแหละ เจอเพชรในดงระเบิดแล้ว

 

ตง : เท่าที่ดูย้อนหลังของแต่ละคน

ผมไม่แน่ใจว่าต้องเป็นทุกคนไหม หรือเป็นเฉพาะคน

อย่าง น้ำอบ เห็นเท้าเป็นโครงกระดูก แต่เราไม่เจอแบบนี้

เราต้องดูจิต หรือดูการเปลี่ยนแปลงสภาวะจิต

แต่ละคนไม่เหมือนกันใช่ไหมครับ

 

พี่ตุลย์ : คุณตงเหมาะรู้เข้ามาที่จิต

เพราะจะเห็นจิตมีความเปลี่ยนแปลง

พร้อมหรือไม่พร้อมที่จะทิ้งในแต่ละขณะ ตัวนี้ที่ใกล้ประตูมากสุด

 

ที่บางคนเจอโน่นนี่บ้าง บางทีเขาอาจไม่ได้สนใจก็ได้

เห็นเป็นของแถม หรือบางทีอาจทำให้หลง ทำให้เขวอะไรต่างๆ

แต่ละคนจะมีข้อสังเกต ที่เป็นผลพลอยได้ จากการเจริญสติที่ต่างกัน

แต่มีจุดหมายเดียวกัน คือมาสังเกตปฏิกิริยาของจิต

ว่าเอาหรือไม่เอา ติดใจหรือเฉยๆ

 

ถ้าติดใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องดู ต้องสังเกต

แต่ถ้าเฉยๆ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้เพิ่ม

 

เฉยนี่ไม่ใช่เฉยชา ชินอะไรนะ แต่เฉยอย่างรู้ว่ามันเกิดขึ้น

และรู้สึกว่าเป็นสภาวะธรรมดาปกติแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

 

คำว่าเป็นเรื่องปกติ

คือไม่ใช่ว่าไม่มีภาวะพิเศษ มีแต่ภาวะธรรมดาไปหมด

 

มีครับ ภาวะพิเศษ แต่เกิดจากเหตุปัจจัยที่พิเศษ ก็เลยพิเศษ

นั่นถึงเรียกว่าเป็นเรื่องธรรมดา

 

อย่างดวงอาทิตย์จะใหญ่หรือเล็กกว่ากัน ในที่สุดก็ดับเหมือนกันหมด

ที่เคยใหญ่ ก็ใหญ่แบบสูญเปล่า ที่เล็กก็เล็กแบบสูญเปล่า

ในระยะยาวของจริง ไม่มีค่าไม่มีความหมาย

ว่าจะเล็กหรือใหญ่ไปทำไม พิเศษหรือธรรมดาไปทำไม

ในเมื่อทุกอย่าง วิ่งเข้าสู่จุดจบเหมือนกันหมด

 

ถ้าแม่นยำในภาพรวม และมองเห็นว่า

การเจริญสติเรากำลังวิ่งเข้าสู่จุดจบ ในแบบที่ไม่ต้องไปเริ่มอีก

แบบนี้ทุกคนในห้องจะเสมอกันหมด

 

แต่ที่เราต้องคุยกันในเรื่องรายละเอียด

เพราะถ้าไม่คุย บางทีไปเจอเองคิดเองส่วนใหญ่จะติดข้อง

ไปต่อไม่ได้ หรือสงสัยว่าเอาอย่างไรดี

 

พอเรามาเห็นกัน รวมๆ กันแบบนี้

แล้วสังเกตถึงความแตกต่างที่มีค่าเท่ากัน

นั่นคือเกิดจากเหตุปัจจัย และดับลงเป็นธรรมดา

แบบนี้ใจทุกคนจะเสมอกัน

 

อย่างที่ผมย้ำ ตอนนี้หลายคน

จะข้ามเส้นหรือไม่ มีค่าพอๆ กันแหละ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน ไม่มีอะไรต่างไปกว่ากันมาก

 

ฉะนั้นให้ค่า ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำอยู่

แล้วเกิดผลในเรา กับเฉพาะตัวเรานี่แหละ

 

ของคุณตง เป็นจังหวะที่มีเรื่องกระทบ

และใจสามารถคิดย้อนหรือคิดไปข้างหน้า

เป็นภาวะที่เอื้อให้จิตห่วงไปข้างหลัง หรือหวังไปข้างหน้า

หรือไม่ก็เกิดความรู้สึก เกี่ยวกับตัวตน

 

ถามว่าเป็นจุดที่บอกว่าเราเสื่อมลงหรือยัง ยังไม่ใช่ พิสูจน์ได้จากเมื่อกี้

ผมชี้นิดเดียวให้ดูตามจริง ภาวะที่กำลังปรากฏทั้งหมด

แล้วคุณตงนึกได้ว่าจะดูอย่างไร แค่นี้กลับเข้าที่เลย

 

เวลาที่เราตั้งข้อสังเกตถึงข้อดีตัวเอง เราจะเห็นว่า

จิตเรามีความพร้อมแบบหนึ่ง มีความพร้อมที่จะเข้าใจธรรมะ

แล้วก็เข้าถึงธรรมะในระดับต่างๆ

ซึ่งจะพาตัวเราไกลออกมาจากทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ

 

จุดนี้ ดีกว่ามีฤทธิ์เดชแบบฤาษีแน่นอน

ความสามารถตรงนี้พอบอกได้ว่า มันพิเศษอย่างยิ่งอยู่แล้ว

เทียบตัวเราวันนี้ กับวันก่อน ซึ่งพอเรามองจากจุดนี้

แล้วจะเห็น จะได้ยินอะไรแบบคนธรรมดาแค่ไหน

ก็จะรู้สึกว่านั่นแหละ เป็นหลักฐานว่าเรากำลังเคลื่อนที่

ก้าวไปข้างหน้า โดยไม่จำเป็นต้องมีของเล่น

หรืออะไรที่พิเศษมาเป็นผลพวง

 

เนื่องจากคุณตงยังต้องทำงานแบบคิดเยอะ อึดอัดใจเยอะ

จะมาบั่นทอนสภาพดีๆ ของจิต

ที่ควรจะเห็นก็ไม่เห็น ที่ควรได้ยินก็ไม่ได้ยิน

 

แต่อย่างน้อย มีความเข้าใจเป็นตัวตั้งว่า

จะรู้อย่างไรให้เห็นว่าเป็นอนัตตา

รู้อย่างไรให้เกิดความเห็นว่า นั่นสักแต่เป็นสภาวะ นั่นสำคัญที่สุด

 

------------

หนุ่ม

 

พี่ตุลย์ : จิตแตกต่างไป มีกำลัง และในระหว่างวันเริ่มปล่อยได้มากขึ้น

ยังมีเป้าหมายอยู่ แต่ปล่อยวางสิ่งที่ไม่ได้อย่างใจได้มากขึ้น

 

มีผลกับตอนที่เรามาเดิน มีเป้าหมายทางธรรมที่ชัดขึ้นเรื่อยๆ

 

อย่างเมื่อกี้ มีจังหวะก้าวเดินสม่ำเสมอ ดี

ทำให้ใจอยู่กับเท้ากระทบชัด

อาจเว้นวรรคบ้าง มีฟุ้งบ้าง แต่น้อยกว่าเมื่อก่อนมาก

 

เมื่อก่อนเราเดินจงกรม โดยไม่รู้ว่าได้อะไรจากการเดิน

แต่ตอนนี้เห็นชัด อย่างน้อยคือสติ อยู่กับร่องกับรอยแล้ว

ตอนหยุดยืนเทียบ บางรอบเหมือนเราสัมผัสได้

ระหว่างธาตุดินฝั่งนี้กับอีกฝั่ง

แต่บางรอบ ยังเป็นการทำตามความเคยชิน ไม่ใช่รู้ชัด

 

รอบที่ทำตามความเคยชิน ยืนทื่อๆ ไปอย่างนั้นเอง

ไม่มีหลักยึดว่าจะอยู่กับอะไร

ต้องเตือนตัวเองว่า สิ่งที่เราต้องการคือ

การเทียบธาตุดินฝั่งนี้กับฝั่งโน้น แล้วรู้สึกถึงอากาศว่าง

 

ถ้ายังรู้สึกไม่ได้ กลับมารู้สึกที่เท้าที่ balance กันก่อน

แล้วรู้สึกถึงหัว ตัว แขน ขา ที่เค้นหนักลงมาที่เท้า

พอรู้สึกถึงหัวตัวแขนขา ที่เป็นท่ายืนได้ ลืมตาแวบหนึ่ง

แล้วเทียบธาตุดินนี้กับอีกฝั่ง

 

พอเห็นว่าอยู่คนละตำแหน่งกัน ธาตุดินนี้กับอีกฝั่ง

จะรู้สึกถึงช่องว่าง ระหว่างธาตุหนึ่งกับสองขึ้นมาเอง

ต้องเตือนตัวเองจะได้มีสติต่อเนื่องทุกรอบ ไม่อย่างนั้นจะยืนทื่อๆ เฉยๆ

 

จำง่ายๆ เอะอะอะไร ถ้างงๆ ขึ้นมา กลับมาที่เท้าให้ได้

พอกลับมาที่เท้าได้ ทุกอย่างจะไหลตามมาเอง

 

หนุ่ม : ตอนยืนเทียบจะโน้มไปดูว่าช่องว่างแคบกว้างแค่ไหนได้ไหมครับ

 

พี่ตุลย์ : ได้ หลับตาใช่ไหม นั่นแหละใช้สัมผัส

พี่ถึงบอกว่าแต่ละคนมีทริคที่ค้นพบด้วยตัวเอง

แต่เข้าใจเป้าหมายหลักๆ ก็พอว่า เราต้องการเห็น

ว่ากายนี้เป็นวัตถุชิ้นหนึ่งในบรรดาวัตถุหลายๆ ชิ้นรอบตัว

มีอากาศว่างคั่นอยู่ และมีค่ามีราคาเสมอกัน

 

ถ้าเราจับเป้านี้ถูกและอยู่ในเส้นทางที่ทำให้เห็นชัดขึ้นๆ

และไม่สงสัย ว่าที่ทำๆ ไปเห็นจริงหรือไม่จริง หรือเห็นไปทำไม

ขอให้ชัดเถอะว่า เป้าเราจะเอาความเป็นธาตุดินนี้

เพื่อให้เกิด อนัตตา

 

อนัตตสัญญา จะเป็นตัวปล่อยจิต ให้เป็นอิสระ

ว่ามีอัตตา มีความหลงในกายนี้ใจนี้

 

หนุ่ม : ผมต้องสังเกตตรงไหนเป็นพิเศษไหมครับ

 

พี่ตุลย์ : แค่ที่พี่บอกไป ตรงที่จะเข้าสู่ภาวะทื่อๆ เฉยๆ

เราจับน้ำหนักเข้ามาที่เท้าก่อนเลย ไล่จากเท้าขึ้นมา

ขอให้มีเท้าที่ยืนเสมอกัน balance มีน้ำหนักเทลงมา

จับจากตรงนี้ก่อน แล้วค่อยไปเทียบท่ายืนกับผนังอีกฝั่งหนึ่ง

ตรงนี้จะเข้าที่เสมอ ขอแค่จับจุดถูก

 

------------

 

คำถามคุณเอก : มีท่านที่ได้โสดาปัตติผลแล้ว ถึงไม่ทราบว่าเป็นท่านใด ขอน้อมโมทนาสาธุด้วยนะครับ

 

พี่ตุลย์ : อย่างที่บอกแต่ไหนแต่ไร ว่าจะพูดกันตรงๆ ในห้องนี้

แล้วก็ไหนๆ ก็เกริ่นมาในช่วงต้นรายการ

แล้วก็มีคนสงสัยแล้วว่าใคร ถ้าหากจะไม่พูดออกไปบ้าง

บางทีก็เกิดความอึดอัด หรือกระวนกระวายค้นหากัน

 

ผมเรียนให้ทราบแบบนี้ ตอนแรกตั้งใจว่าจะให้มาช่วยๆ กันดูห้อง

เพราะธรรมชาติของห้อง อย่างที่บอกแต่แรก

ว่าจะเอาพวกเราเจริญไปด้วยกัน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งเจริญคนเดียว

หรือโดดเด่นตามลำพัง

 

ในระยะยาว อยากให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้โดดเด่นขึ้นมา

และพวกเราร่วมๆ กันทำให้ศาสนาพุทธ

อย่างน้อยที่สุดในกลุ่มพวกเราเจริญขึ้น

 

ทีนี้บอกไปแล้ว ครั้นจะมาบอกว่า ขอเก็บไว้ก่อน เม้มไว้ก่อน

ก็จะกลายเป็นที่กังขา หรืออึดอัดในหมู่พวกเราขึ้นมา

 

ก็จะบอกว่า ถ้าพูดไปตอนนี้

คนที่ถึงเส้นแรกกับเส้นที่สอง ก็ยังมีความเป็นคนธรรมดา

ยังอาจมีความเห่อ หรือมีความชื่นชมที่เอิกเกริก พูดคุยกันเป็นพิเศษ

มีความเคารพในอะไรที่ดูเหมือนไม่ใช่คนธรรมดา

ก็ จะเป็นการเสียโอกาส

 

อย่างที่เล่า ช่วงต้นรายการ เกิดการเปลี่ยนใจ ในช่วงขณะที่รู้ว่าใช่แน่ๆ

เพราะตอนนี้กำลังเขาดีอยู่ เลยอยากให้ทำไปก่อนอีกเดือน

 

อยู่ในพวกเรานี่แหละ และเดี๋ยวมาช่วยกันแน่นอน

ไม่ใช่จะเก็บเงียบ เป็นบุรุษลึกลับ หรือสตรีซ่อนเร้นอะไร

แต่ผมมองเห็นมุมมองที่ไม่เคยเห็นก่อนนี้ก็คือ

ถ้าเวลายังเหลือ กำลังยังมี

ข้ามเส้นยังเป็นคนธรรมดาที่ยังหลงตัวได้ ซึ่งไม่อยากให้เกิดขึ้น

 

คน ถ้ามีใครไปชื่นชมกันมากๆ จะหลงตัว

แล้วก็จะไม่ไปต่อ จะหยุดอยู่แค่ขั้นนั้น

 

แต่ถ้าหากให้พยายามต่อไปอีกพัก อีกสักเดือน

กำลังยังดีๆ ยังเปี่ยมล้นอยู่ ไม่มีอะไรมาทำให้สะดุด

ดูสิว่าจะไปได้ไกลกว่าความเป็นคนธรรมดาแค่ไหน

 

ไม่ใช่จะเก็บเม้มทำให้เป็นบุคคลลึกลับนะ ไม่ได้ด้วยเจตนานั้น

 

ผมทำห้องนี้ขึ้นมา พวกเราเปิดเผยอยู่แล้ว

และเราเห็นกันมา เจริญกันมา รู้ว่าอยู่ในทิศทางแบบไหน

การที่ใครได้ดีขึ้นมาข้ามเส้นแรก ก็น่าจะอย่างน้อย รู้แหละ

พวกเราที่ดูไลฟ์อยู่ ต้องรู้แหละว่าเป็นไปได้

ไม่ใช่อยู่ๆ พูดมาจากไหนไม่รู้ว่ามีคนได้แล้ว

แล้วก็เฮขึ้นมา แบบสูญเปล่า ไม่ได้อะไรจากการเฮนั้น

 

แต่ถ้าหากเราทำมาด้วยกัน มีความคืบหน้ามาด้วยกัน

อย่างน้อยบอกกล่าวว่ามีแล้วนะ แล้วก็ให้เกิดกำลังใจว่า

ที่ทำๆ กันอยู่ ไม่ได้แป้กนะ ข้ามได้จริงๆ

 

พอถึงจุดที่สมควรจะได้มาให้ประโยชน์กับพวกเรา

ไม่ใช่ให้แค่ความน่าชื่นชม หรือได้รับเสียงเชียร์

แต่มาทีเดียว มาให้ประโยชน์เลย

ผมว่าจะดีกว่าที่มาพูดกันแบบเร็วๆ ด่วนๆ นะ

 

------------------

ก้อ

 

พี่ตุลย์ : สำหรับก้อ ตอนที่เกิดความรู้สึกถึงตัวที่เดินได้

ยังมีความรู้สึกฟุ้งๆ แกว่งๆ

แต่จะเห็นชัดจากการที่เราหลับตา

เดี๋ยวพอหยุดกับประตูจะชี้ให้ดู

 

รอบนี้ เห็นไหม รอบนี้ยังมีความฟุ้งๆ แกว่งๆ ในหัว

แต่เห็นชัด เพราะมีการเทียบธาตุดินที่เป็นสิ่งคงรูป

ระหว่างร่างกายเราที่เป็นร่างยืน กับประตู

และรู้สึกว่าธาตุดินทั้งสองเสมอกัน และเห็นว่าอะไรที่คลุ้งๆ ในหัว

เป็นแค่ส่วนเกินของความเป็นธาตุดิน หนึ่ง สอง

 

การเห็นแบบนี้เรียกว่า เห็นโดยความเป็นขันธ์ห้า

 

ถ้าเห็นโดยไม่อินไปกับความคิด

และไม่แคร์ว่าความคิดจะมารบกวนหรือไม่รบกวน

เห็นเป็นสภาวะในหัวจริงๆ ที่ไม่มีค่าไม่มีราคา ไม่มีความหมาย

ตัวนี้แหละที่จะทำให้ความคิดมาแบบไม่สูญเปล่า

 

โดยที่พอจิตเราใสใจเปิด จะรู้สึกได้ง่ายๆ เลยว่า

ตัวที่เดินไป เคลื่อนไปเฉยๆ

เหมือนกับมีวัตถุอะไรชิ้นหนึ่งที่เคลื่อนไปๆ

ไม่ใช่ใครที่กำลังเดิน ไม่ใช่ใครที่มีชื่อนามสกุล

หน้าตาผิวพรรณ จะหายไปหมด จากความจำได้หมายรู้

จากความทรงจำ ว่ามีตัวใครตัวหนึ่งที่กำลังเดินด้วยความตั้งใจเดิน

 

จะมีแต่วัตถุ จะมีแต่ธาตุดิน ที่มีหัว มีตัว มีแขน มีขาแบบนี้ ก้าวไป

แล้วก็มีตัวของจิต ที่รับรู้ว่าที่ก้าวฉับๆ ไป

ไปถึงไหนแล้ว ควรหยุดหรือยัง ควรหมุนหรือยัง

 

เห็นไหม จะคล้ายกับผู้รับรู้ .. จิต .. แยกเป็นต่างหาก เป็นผู้ดู

 

บางรอบที่ใสนิ่ง ปราศจากความคิดได้ จะเห็นชัด

บางรอบที่มีอะไรคลุ้งๆมา เราก็ดูโดยความเป็นขันธ์ห้าไป

 

จับทิศจับทาง จับจุดได้ถูกจากตรงนี้

จะได้ประโยชน์ทุกรอบ จะได้อะไรทุกรอบ

 

พอใจว่างจากความคิด จิตจะเริ่มเข้าโหมดสัมผัสรู้

และมีความพอใจอยู่ตรงนั้น จะรู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ นี่คือธรรมชาติของจิต

 

ก้อ : ตอนยืน รู้สึกรอบด้านกว้างขึ้น รู้สึกเท้ากระทบตลอด

 

พี่ตุลย์ : ที่พี่ชี้ บางรอบที่มีอะไรคลุ้งในหัว แล้วไปยืนเผชิญกับประตู

นึกออกใช่ไหม ถ้าเห็นว่ามีอะไรคลุ้งๆ แล้วไม่อิน หรือขับไสไล่ส่งมัน

มันจะปรากฏโดยความเป็นสภาวะ

ที่ปรากฏขึ้นมาส่วนบนสุดของธาตุดินแล้วหายไป

 

ตัวนี้สำคัญมาก เพราะพอเราหันมาอีกทีจิตใสแล้ว

 

ที่ใส ไม่ใช่เราสั่งให้มันใส

แต่ใสเพราะมาจากการที่จิตเข้าโหมดรู้ ไม่ใช่โหมดคิด

 

อย่างตอนที่เราฟังพี่พูดเรื่องคนอื่นไปด้วยก็ฟุ้งไป

พี่ก็ชี้ให้ดูว่าเข้าไปอินกับความคิดที่ฟุ้งมา

แต่พอเห็นว่าเป็นสภาวะและหายไปจากหัว

ตัวนี้ถ้าจับจุดถูกและแม่นยำ

จะเกิดทุกครั้งที่เกิดความคลุ้งขึ้นมาระหว่างเดินจงกรม

 

ส่วนตอนที่จิตใส คือเริ่มโอเคแล้ว

 

-------------

 

ตาล

 

พี่ตุลย์ : ปีนี้ จะเป็นปีที่พวกเราจะได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กัน

วันนี้รู้กันอยู่แล้ว ว่าดีขึ้นหรือแย่ลง กว่าทุกช่วงที่ผ่านมาในชีวิต

 

รู้เท้ากระทบได้ต่อเนื่องดี

ตอนหยุด ถ้าสังเกตว่าถ้ารอบไหนตั้งใจมากไป

จะมีแต่ความตั้งใจที่ปรากฏ อย่างอื่นจะเลือนๆ หายไป

 

แต่ถ้ารอบไหนจิตใสใจเบา ปราศจากความตั้งใจ

บางทีไม่ต้องกำหนดอะไร แต่จะรู้เอง

 

เริ่มต้นจากรู้เท้าที่วางกับพื้น รู้สึก หัว ตัว แขน ขา เทน้ำหนักลงมา

รู้สึกถึงตัวยืนได้ ก็จะรู้สึกถึงการเผชิญกับประตู

มีธาตุดินหมายเลขหนึ่ง ธาตุดินหมายเลขสอง ปรากฏ

ซึ่งเราเคยรับรู้อยู่แล้ว

 

สังเกตแค่ว่าถ้ารอบไหนลืม มีแต่อาการไปจดจ่อเฉยๆ ตั้งใจเฉยๆ

ก็จะเห็นแค่ความตั้งใจปรากฏอยู่

 

ทีนี้ อย่างความรู้สึกว่า สักว่าเป็นตัวอะไรตัวหนึ่งเบาๆ

ที่ไปยืนเผชิญกับประตูที่เหมือนไม่มีน้ำหนัก เพราะจิตเบา ใส

แล้วถ้าเราสามารถรับรู้ได้ต่อเนื่อง

อย่างตอนนี้ไปอยู่ด้านขวา .. ตอนนี้ไปอยู่ด้านหลัง

เห็นวัตถุหมายเลขหนึ่ง เคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ

แต่ข้างหลังยังคงที่ .. จะทำให้จิตเปิดรอบได้ง่ายที่สุด

 

พอจิตเปิดรอบ สัมผัสถึงอะไรๆ โดยความเป็นวัตถุธาตุ

ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

พอรู้สึกว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นตัวเรา

ก็จะรู้สึกว่าวัตถุธาตุปรากฏโดยความเป็นสิ่งถูกรู้ว่าเป็นอนัตตา

 

ตาล : เมื่อกี้เพิ่งเข้าบ้าน ก็พยายามทำสมาธิเดินจงกรมต่อ

ตอนเริ่มแรกคือ ใจเต้นตุ้บๆ เหมือนพยายามบังคับตัวเองให้สงบเร็วๆ

และพอฟังพี่ตุลย์ไกด์คนอื่นว่าฟุ้งก็ฟุ้ง ไม่ใสก็คือไม่ใส ให้รู้

ตัวเองก็พยายาม แล้วลงไปนั่งสมาธิแป๊บหนึ่ง

แล้วรู้สึกว่าเริ่มสงบแต่ไม่สงบลงทั้งหมด

 

การที่เริ่มดูที่เท้ามาอย่างที่พี่ตุลย์บอก

ทำให้ความพยายามที่จะรู้สึกถึงประตูน้อยลง

และทำให้การบังคับตัวเองน้อยลง จิตก็เริ่มรู้สึกเบาขึ้น สบายตัวขึ้น

รู้สึกถึงประตูได้ชัดขึ้น ตอนที่ไม่ได้ตั้งใจบังคับตัวเองให้ดู

มากกว่าที่มาย้อนถามตัวเองว่า เมื่อกี้ประตูอยู่ตรงไหน

ต้องจำอย่างไร ภาพเป็นอย่างไร

คือปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึกเรามากกว่าค่ะ

 

พี่ตุลย์ : ที่อยากให้เป็นจุดสังเกตคือ

ตอนที่ตั้งใจ จะไม่เห็นอะไรเลย

แต่ถ้าสังเกตจากสัมผัสกระทบตามจริง

ไม่ว่าจะปฏิบัติไปนานแค่ไหน บางทีก็วนกลับมาที่เดิม

เหมือนจิตงงๆ จับทิศทางไม่ได้

 

แต่ถ้าแม่นยำขึ้นใจว่า จะเริ่มจากฝ่าเท้าเสมอ

และเห็นว่าตัวที่กำลังยืนอยู่

มีความเสมอกันกับวัตถุข้างหน้าอย่างไร

จะกลับเข้าที่ได้ทุกครั้ง

ขอแค่มีความเข้าใจ หนึ่ง สอง สาม

 

เป็นบทเรียนเลยนะ ถ้าเราเข้ามาพึ่บพั่บๆ

เสร็จแล้วจะมาตั้งให้จิตเป็นสมาธิ แบบที่ทำได้เนียนๆ

จะเหมือนคนธรรมดา ที่อยากแปลงร่างเป็นอะไรที่ใหญ่กว่าเดิม

แต่ก็ทำไม่ได้ ยังตัวเล็กเท่าเดิม ยังกระสับกระส่ายเท่าเดิม

 

เหมือนเดินขึ้นเขาน่ะ ถ้าจำทางขึ้นเขาได้ เดินขึ้นเขาไป มองย้อนลงมา

จะเห็นโลกออกมาในมุมที่สูงขึ้น

แค่จำทางขึ้นได้ว่าอยู่ตรงไหนและก้าวอย่างไร

จะได้มองโลกในอีกมุมมองเสมอ

 

ตาล : สัปดาห์หน้ามีสอบ มีคำแนะนำให้ความรู้ที่ฝึกมา

ไปช่วยอะไรในเรื่องการสอบได้บ้างคะ ตอนนี้วุ่นวายใจมากค่ะ

 

พี่ตุลย์ : เวลาที่มองว่าเรากำลังไปทำอะไรแบบโลกๆ

แล้วจะเชื่อมโยงเข้ามากับการปฏิบัติ

ถามตัวเองว่า พื้นจิตใจเราเป็นคนแบบไหนในสถานการณ์นั้นๆ

 

เช่นกรณีไปสอบ พื้นจิตพื้นใจของตาล จะคาดหวัง

แล้วสับสน ไม่แน่ใจในผลลัพธ์

บอกตัวเองว่าเตรียมดีแล้ว แต่ก็วุ่นวายใจไม่ได้ เพราะคาดหวังสูง

แต่กลัวผิดหวัง เป็นคนกลัวความผิดหวังอย่างมากคนหนึ่ง

และจะรู้สึกทนไม่ได้ ที่จะไม่รู้ล่วงหน้าว่าผลจะออกมาอย่างไร

 

เหมือนอยากกระโดดไปเป็นตัวตนในอนาคต

แล้วบอกตัวเองกลับมาว่า ผ่าน

แต่ถ้าตัวในอนาคตบอกมาว่า ไม่ผ่าน

เราก็จะรู้สึกเหมือนดิ้นปัดๆ ทั้งเป็น

 

ที่พี่พูดมาทั้งหมด อาการทางใจล้วนๆ

ที่สุดแล้วเราจะได้ข้อสังเกตแรกว่า

ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นความทุกข์

เกิดจากความกระวนกระวายใจ

ซึ่งมีต้นเหตุจากความคาดหวังว่าจะได้ดี

แต่ลังเลว่าอาจไม่ดีก็ได้

 

ถ้าเห็นภาพรวมความปรุงแต่งทางจิต ในสถานการณ์แบบนี้ได้

เวลาจะตั้งข้อสังเกตได้ง่ายขึ้น เช่น บอกว่า

จะเดินจงกรมเพื่อเจริญสติ แล้วจะเอาสตินี้

ไปดูการปรุงแต่งจิตในภายหลังว่าเกิดอะไรขึ้น

 

ถ้าหากตาลสามารถรู้สึกถึงเท้ากระทบ

รู้สึกถึงความนิ่งว่างสบายของจิตได้

แล้วอยู่ๆ ผุดขึ้นมา ว่าเอาสติแบบนี้ไปสอบได้ไหม

เกิดความกระวนกระวายใจทันทีว่า ได้หรือไม่ได้ พอหรือยัง

 

ตัวนี้เราเห็นทันทีว่า นี่แหละต้นเหตุความทุกข์ในสไตล์ชีวิตเรา

กระวนกระวายไปล่วงหน้า

ทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถตัดสินจากตรงนี้ว่าได้หรือไม่ได้

มีความกระวนกระวายส่งไปด้วยความคาดหวัง

ด้วยแรงเค้นของความคาดหวัง ทำให้ทุกข์เดี๋ยวนี้

ไม่ว่าอนาคตเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ทุกข์ขึ้นมาแน่นอน

 

ทีนี้ พอเราเห็นซ้ำๆ สิ่งที่เกิด อาจไม่ใช่สอบได้หรือสอบไม่ได้

แต่อยู่ตรงที่ปัจจุบันเราทุกข์น้อยลง

หรือไม่ก็เลิกทุกข์ได้ จากความกระวนกระวายล่วงหน้า

เพราะจุดเริ่มต้นชนวนมาจากความคาดหวัง

 

พอเริ่มหัดอ่านใจตัวเอง อ่านเกมออก

แล้วพบว่าการสอบเป็นไปแบบที่ รู้สึกใจมีความราบรื่น

เหมือนเห็นอนาคตจากตรงนี้แล้วว่า

ข้างหน้าผ่านหรือไม่ผ่าน ใจก็สามารถสงบได้ เพราะไม่ถวิลถึงอนาคต

 

พอไปถึงอนาคตจริงๆ จิตจะรู้สึกว่าที่เต็มที่แล้ว

คาดหวังอะไรไปไม่ได้มากกว่าความเต็มที่เราแล้ว

 

สมมติว่าไม่ผ่าน ก็จะรู้สึกว่านั่นเป็นไปตามเหตุปัจจัย

จะรู้ด้วยสติ ไม่ใช่ความรู้สึกว่าความคาดหวังเป็นพิษ

 

แต่ถ้าผ่าน ก็จะเห็นความสมเหตุสมผล ด้วยใจที่เป็นอุเบกขา มากขึ้น

อาจกระโดดโลดเต้นในห้าวินาทีแรก

เสร็จแล้วก็กลายเป็นความตระหนักว่า

นี่แหละเป็นผลลัพธ์จากเหตุปัจจัยที่สมเหตุสมผล

 

ถ้าทำความเข้าใจเริ่มต้น จากการอ่านเกมของเราออก

ว่าคาแรคเตอร์ของจิตเราเป็นอย่างไร ในสถานการณ์หนึ่งๆ

ทุกอย่างจะง่ายขึ้น

 

ตาล : สภาพจิตใจทุกวันนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มขึ้นใช่ไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : ในแง่การที่จิตเรามีความเป็นกุศลมากขึ้น

เป็น progress ที่เป็นเส้นตรง

แต่ในแง่ว่าเราจะเจริญสติวัดกันเป็นก้าวๆ ลมหายใจต่อลมหายใจ

บางทีมีขึ้นมีลง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดานะ

 

---------------------

 

ซันนี่

 

พี่ตุลย์ : เงยหน้านิดหนึ่ง

เวลาใช้มืออย่าใช้ช่วงอกในการยกลมหายใจ

ให้ไหล่อยู่นิ่งๆ ตอนยก อย่าให้ไหล่ยกตาม ให้มือกับแขนยกเท่านั้น

ให้ฝ่ามือหงายช่วยดันลมเข้า ฝ่ามือคว่ำลากลมออก

 

ฝ่ามือดันขึ้นสุด หายใจสุดพอดี

และเวลาหายใจออกก็จบพอดีกับที่เราวางมือบนหน้าตัก

 

พอจับจังหวะถูก ว่าฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับลมหายใจ

ฝ่ามือไปถึงไหน ลมหายใจไปถึงนั่น

สิ่งที่สังเกตได้ว่าเราทำถูก คือจะผ่อนคลาย ไม่อึดอัด

ไม่เกร็งที่จุดใดจุดหนึ่ง

 

ถ้าทำไป กายสบาย ผ่อนคลาย

บอกตัวเองได้ว่า มาถูกทาง

 

ถ้าฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับการหายใจจริงๆ

ฝ่ามือหงายดันลมเข้า ฝ่ามือคว่ำลากลมออก

สิ่งที่เกิดคือ จะรู้สึกหายใจสบายขึ้น จิตใจนุ่มนวลลง

 

ถ้าอึดอัด ไม่สบาย ให้สังเกตจังหวะ

หายใจสุด หยุดนิดหนึ่ง เก็บลมในปอดแป๊บหนึ่งก่อนลากลมออก

นับในใจ หนึ่ง สอง สาม ลากลมออก

พอวางมือลงหน้าตัก นับ หนึ่ง สอง สาม แล้วหายใจเข้า

 

ใจจะรู้สึกถึงความเย็นลง นุ่มนวลมากขึ้น

เข้าใจในจังหวะการหายใจมากกว่าเดิม

หายใจอย่างไรให้ใจสงบและนุ่มนวล ที่สำคัญมีความตื่น มีความรู้

 

องศาของคางก็สำคัญ เงยหน้านิดหนึ่ง

 

หายใจเข้า หยุด หนึ่ง สอง สาม หายใจออก

อย่าช้าเกินไป และอย่าเร็วเกินไป

 

สังเกตง่ายๆ จังหวะที่พอดี เราจะรู้สึกสบายทุกรอบ

บางรอบจริงๆ อาจต้องสปีดเร็วขึ้น บางรอบช้าลง

ขอให้สังเกตความเป็นร่างกายว่า สบายด้วยสปีดแบบไหน

 

ตอนดึงลมขึ้นสุด พนมครึ่งซีกค้างไว้

นับในใจอย่าลืม หนึ่ง สอง สาม

ลากลมออกโดยไม่เกร็ง ไม่อึดอัด

 

ใบหน้าต้องอยู่ขนานพื้น หรือเชิดนิดหนึ่ง จิตจะเปิด

 

จะเห็นได้ว่า จังหวะช้าเร็ว หรือหยุด สำคัญมาก

จะเปลี่ยนจากที่อึดอัด เหม่อๆ เผลอๆ กลายเป็นมีสติขึ้นมา

รู้สึกสงบ จิตมีความนุ่มนวล ที่สำคัญสุดคือสามารถรู้สึกถึงลมหายใจได้

 

ถ้าเราใช้มือไกด์แล้วรู้ว่าลมหายใจไปถึงไหนแล้ว แป๊บเดียวจะนิ่งเลย

และตอนวางมือก็เป็นจุดสำคัญอีกจุด แล้วจะพบว่าจิตเต็มดวงมากขึ้นๆ

 

ซันนี่ : ยังนึกไม่ออกเรื่องจิตเต็มดวงครับ

 

พี่ตุลย์ : ขึ้นต้นมาจะไม่ได้เป็นดวงวงกลมแบบนี้

แต่จะมีความรู้สึกว่าจิตมีความนิ่ง ใช้คำว่านิ่ง ก็แล้วกัน

จากเดิมที่วอกแวกหวั่นไหว หรือฟุ้งอยู่ตลอด

พอเราขึ้นต้นมา หายใจเข้า หยุด นับหนึ่ง สอง สาม ลากลมออก

เสร็จแล้วนับต่อ จะนิ่งต่อเนื่องทั้งสี่จังหวะ

 

แต่ถ้ามีจังหวะหรือขั้นใดขั้นหนึ่ง เกิดรั่ว เช่น

ขั้นแรก หายใจเข้า โอเคแล้ว

พอหยุด ยังโอเคอยู่

ลากลมออกโอเคอยู่ รู้สึกถึงลมหายใจที่ถูกลากออกมา

แต่พอวางมือคิดฟุ้ง แบบนี้เสียความนิ่ง

 

จุดที่รั่ว เสียความนิ่ง ทำให้จิตเสียความเป็นดวงไป

ตอนนี้จะยังไม่เห็นเป็นดวง แต่จะเห็นว่านิ่งได้ทุกขั้นตอนไหม

หรือมีขั้นไหนที่เป๋ไป ตอนนี้จะเห็นได้แค่นี้

 

แต่ต่อๆ ไป พอความนิ่ง ไม่ใช่นิ่งอย่างเดียว ไม่ใช่นิ่งแบบทึบๆ

แต่นิ่งแบบใส แบบเบา จนมีความรู้สึกว่าจิตแผ่ออก

ซึ่งตรงนี้ พูดล่วงหน้านะ ไม่ใช่พูดตอนนี้

 

ตอนที่เรารู้สึกว่าจิตแผ่ออก มีรัศมีแน่นอน คงเส้นคงวา

ตรงนี้แหละที่จะรู้สึกว่าจิตเป็นดวง

เดี๋ยวจะมีรายละเอียดอีกว่า จิตเป็นดวงมีขอบหรือไม่มีขอบ

จิตเป็นดวงเปลี่ยนจากใสเป็นขุ่น เปลี่ยนจากขุ่นเป็นใสได้ อะไรแบบนี้

เราเอาตรงนี้ให้ได้ก่อนว่า ถ้าอาศัยมือไกด์เป็นตัวนำ

ให้สติเกิดความรับรู้ว่า ตอนนี้ลมหายใจไปถึงไหนแล้ว

 

ถ้าทั้งสี่ขั้น ไม่มีความวอกแวก ไม่มีการปล่อยให้จิตฟุ้งไปเหม่อไป

จะรู้สึกว่านิ่งครบวงจร

 

ความนิ่งครบวงจรนี่แหละ พอมีความสม่ำเสมอ

จิตจะใสเบา และจะรู้สึกถึงความเป็นดวงชัดขึ้นๆ

 

ซันนี่ : ตอนหายใจออก มีความรู้สึกว่ามือกับลมหายใจไม่สัมพันธ์กัน

บางทีลมล้น หรือลมดันแต่มือไม่ไป

 

พี่ตุลย์ : เป็นเพราะที่เมื่อกี้ผมบอกคุณซันนี่

ถ้าลากช้าเกินไป บางทีมันไม่สัมพันธ์

ผมถึงบอกว่าพอลากออก ให้สังเกต ลมหายใจเป็นหลัก

อย่าสังเกตสปีดของมือเป็นหลัก ไม่อย่างนั้นจะพาออกอ่าวได้

 

แต่ถ้าเริ่มต้นจากการตั้งสติ รู้มาที่ลมหายใจก่อน ว่าสปีดเร็วหรือช้า

จากนั้นให้ฝ่ามือตามมันไป ช่วงแรกๆ ให้ลมหายใจเป็นตัวนำ

ในที่สุดจะ sync กันได้ เกิดสติอีกแบบหนึ่ง

รู้ลมหายใจควบคู่ไปกับฝ่ามือ

และต่อไป ฝ่ามือจะกลายมาเป็นพลิกกลับข้างมาเป็นตัว control

 

นั่นคือ ถ้าเราเคลื่อนฝ่ามือช้า ลมหายใจจะช้าตามมือ

เวลาที่ลากลมช้า ลมหายใจจะช้าไปตามมือด้วย

ซึ่งถามว่าตรงนี้มาจากไหน สปีดของมือ

 

มาจากสติที่รู้แล้ว เข้าใจแล้วว่า

ลมหายใจที่ไปพร้อมมือ ควรเป็นจังหวะแบบไหน ช้าหรือเร็ว

 

ขึ้นต้นมาเอาง่ายๆ ให้ลมหายใจเป็นตัวนำว่าฝ่ามือไปถึงไหน เอาแค่นี้

 

ซันนี่ : มีปัญหากับตอนหายใจออก รู้สึกลมหายใจออกมาน้อยๆ แผ่วๆ

บางทีลมหมด มือยังไปไม่สุด

 

พี่ตุลย์ : ถ้าเรายกมือขึ้นแล้วค้างไว้นาน

แล้วรู้สึกเหลือลมหายใจ ออกแค่นิดเดียว     

ให้ลดมือลงแบบเร็วๆ เลย ไม่ต้องช้า

เพราะมีความเข้าใจว่าลมหายใจเหลือนิดเดียว

 

เหลือนิดเดียว พ่นออกมาวินาทีเดียวก็หมด

มือก็ต้องวินาทีเดียวถึงหน้าตักเช่นกัน

 

ประเด็นคืออย่างนี้ ถ้าเราใช้ลมหายใจเป็นตัวนำได้และ sync กับมือได้

รอบต่อๆ ไป สติในการหายใจเข้าองเราจะเพิ่มขึ้นๆ

ในแบบที่ไม่รีบร้อนกดดัน ลากเข้าแบบกระชากมากเกินไป

และไม่ผ่อนออกในแบบที่พ่นออก

แต่ค่อยๆ ผ่อนออกอย่างสบายหน้าท้อง สบายช่วงอก

สติจะรู้เองด้วยสัญชาติญาณของคนที่หายใจเป็น

 

ตอนนี้ ซันนี่อาจมีความสับสนหรือมีมองไม่เห็นภาพรวม

หรือลังเลไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด มีอะไรซ้อนมาในความคิด

ทำให้การหายใจถูกดึงไว้ เหมือนถูกรั้งไว้

ให้ติดอยู่กับความรู้สึกอึดอัดจากความไม่แน่ใจ

ความคิดมีอิทธิพลเหนือลมหายใจ

 

แต่ถ้าต่อไป เรามีความเข้าใจในเรื่องของจังหวะ

ดันลมเข้า ลากลมออก sync กันจริงกับลมหายใจ

สติจะมีมากขึ้น เพราะสุขมากขึ้น

ตรงนั้นบทบาทของความคิด จะมีอิทธิพลกับจิตน้อยลง

 

และพอความคิดหายไป เหลือแต่สัญชาติญาณในการหายใจได้สบายๆ

จะรู้สึกว่ามือกับลม sync กันจริง ในแบบที่ทุกอย่างเป็นไปเอง

ไม่มีการบังคับ ไม่มีการฝืน ไม่มีการขัดแย้งข้างใน

 

ต้องซ้อมบ่อยหน่อย แล้วย้อนมาฟังที่พี่พูด

รวมทั้งเห็นตัวเองด้วย ที่ปรากฏในการโค้ชนี้

จะได้ทั้งความเข้าใจในแบบมุมมองจากบุรุษที่สอง มองบุรุษที่หนึ่ง

และเข้าใจในระดับที่ ทำตามที่พี่พูดไปด้วยแล้วหลับตา

ทำตามไปด้วย จะเข้าใจมากขึ้นว่า ที่อึดอัด

เพราะเรายังไม่เข้าใจเรื่องสปีดลมอย่างไร

หรือที่ไม่ sync กันเพราะมือไม่ไปตามลมหายใจ

มันพยายาม ... ขึ้นต้นมามือพยายามเป็นผู้นำ

ทั้งๆที่จริงๆ ควรใช้ลมหายใจเป็นผู้นำ

 

--------------

 

บัว

 

พี่ตุลย์ : ได้เป้าว่าอย่างน้อยเราจะรู้ว่า

กายนี้ เป็นธาตุดินเทียบเคียงกับวัตถุอื่นๆ

จะเดินตรงหรือไม่ตรง ไม่สำคัญ อย่างน้อยได้เป้า

 

บัว : วันนี้เดินดี เตะของที่ข้างๆ น้อยกว่าวันอื่นๆ

อาจเพราะได้ยินเสียงพี่ตุลย์เป็นโฟกัส แต่ที่ประสบมาคือ

เดินแล้วเห็นความไม่เท่ากันของธาตุแต่ละรอบ

บางรอบเห็นธาตุดิน บางรอบเห็นธาตุลม หรือไม่เห็นอะไรเลย

เหมือนธาตุไม่เสมอกันในแต่ละรอบ ก็ดูไปเรื่อยๆ

ยิ่งดูยิ่งเห็นความไม่เสมอกัน เลยไม่รู้ว่าหลุดโฟกัสไหม

 

พี่ตุลย์ : เอาเฉพาะอย่างเมื่อกี้ เราได้เป้าหมาย

พอไปหยุดยืนกับประตู จิตมีการเทียบเคียง เอาแค่นั้นแหละ

มีการเทียบว่า อันนี้ฝั่งเรา อันนั้นฝั่งประตู เป็นวัตถุเสมอกัน

มีจิตไปจับอยู่ได้ก็โอเค จะชัดหรือไม่ชัด

เป็นเรื่องธรรมดา ที่จิตมีคุณภาพต่างไปเรื่อยๆ

แต่เป้าหมายเรายังอยู่ไหม ถ้ายังอยู่ก็โอเค แล้วก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆ

 

อย่างตอนที่ไปยืนกับประตู เรายังมีความนึกถึงว่า

กายยืน อยู่ฝั่งนี้ ประตูอยู่อีกฝั่ง มีการเทียบเคียงอยู่

ตัวที่เห็นว่าเป็นวัตถุเสมอกันได้ ก็ถือว่าจับเป้าถูก

 

ตรงที่บางทีหายไปบ้างหรือพร่าเลือน หรือกลับคมชัด

เป็นธรรมดาของคุณภาพจิต

แต่อย่างน้อยยังอยู่ในเป้าหมายว่าหลับตาไป

เพื่อเห็นว่าธาตุดินนี้เสมอ ธาตุดินอื่นในห้อง

และเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง และธาตุดินอื่นก็เป็นแค่วัตถุในห้อง อะไรแบบนี้

 

บัว : อาทิตย์แรกๆ ที่เดินเหมือนกะระยะได้ชัดกว่าตอนนี้

แต่ตอนนี้เหมือนรู้สึกความแตกต่างมากขึ้น

เป็นเพราะจิตละเอียดขึ้นไหม รู้สึกสิ่งที่เกิดและดับไป

เช่นเสียงมาแล้วก็หายไป

 

พี่ตุลย์ : ขึ้นต้นมารู้เท้ากระทบให้ชัวร์ก่อน อาจเดินลืมตาก็ได้

รู้เท้ากระทบต๊อกๆ ไป จนเท้ากระทบอยู่ในใจจริง จะได้ไม่ลืมเบสิก

จากนั้น พอรู้สึกใจใสก็มายืนเทียบเคียงกับประตู

รู้สึกว่าเป็นวัตถุเสมอกัน มีช่องว่าง ระยะห่างที่แน่นอน

ตรงที่รู้สึกวัตถุหมายเลขหนึ่ง กับวัตถุหมายเลขสอง ได้ชัวร์ทุกครั้ง

ถึงเป็นจุดเริ่มต้นของเดินจงกรมแบบหลับตา

 

พอมีความรู้สึกว่าตัวนี้เกิดแน่ในใจ จากนั้นจะได้ยินเสียงหรืออะไร

ก็ให้เป็นแค่ระหว่างการเห็นกายนี้เป็นธาตุดิน เสมอกับวัตถุอื่นๆ

 

พวกเสียง อะไรนี้ถ้าเสริมเข้ามา ไม่เป็นไร

แต่ถ้าไม่มีตัวตั้งคือกายนี้เราก็กลับไปนับหนึ่งใหม่เลย

รู้เท้ากระทบไป แล้วมายืนเทียบกับประตูใหม่

 

บัว : ที่บ้านมีเสียงรบกวนเยอะ เหมือนต้องมานับหนึ่งใหม่ทุกรอบ

ตั้งสติทุกรอบ เป็นการฝึกจิตใช่ไหม

 

พี่ตุลย์ : เรามองว่าการฟังเสียงมีสองอย่าง

ฟังออกมาจากความรู้สึกในตัวเรา ว่า เรากำลังได้ยินเสียง

และมีตัวเราเป็นผู้ตัดสินว่าเสียงนั้นน่ารำคาญ

หรือเสียงนั้นแค่ทำให้เกิดกระทบ และรู้ว่ามีปฏิกิริยาแป๊บหนึ่งแล้วหายไป

 

ตัวที่เราสามารถรู้ได้ว่ามีตัวตน เป็นปฏิกิริยาต่อเสียงแค่ไหน

อันนั้นเรียกสติธรรมดา

แต่ถ้าหากเราอยู่กับการเดินจงกรม รู้เท้ากระทบต่อเนื่อง

รู้สึกความเป็นธาตุดินที่เคลื่อนไป แล้วพอได้ยินเสียงกระทบมา

เหมือนเสียงมากระทบธาตุดิน แบบที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ถ้าเรามีจิตเสมอกับธาตุดินแล้ว

เวลาอะไรมากระทบหรือถมลงบนดิน เราก็จะไม่รู้สึกสะเทือน

การทิ้งอะไรใส่ธาตุดิน เป็นการทิ้งที่สูญเปล่า

ไม่ได้ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจอะไรขึ้นมา

 

บัว : คือดูแค่ธาตุดินกับธาตุลม

ถ้ามีอะไรกระทบก็กลับมาที่สองธาตุนี้ใช่ไหมคะ

 

พี่ตุลย์ : ดูเป็นตัวตั้ง ตัวตั้งขึ้นมา รู้เท้ากระทบให้ได้ก่อนชัวร์ๆ

ลืมตาก็ได้ แล้วพอเท้ากระทบอยู่ในใจ

ค่อยมาเทียบตัวเรากับประตูให้เห็นเป็นธาตุ

จะชัวร์ว่าเราไม่เสียเบสิก

ไม่อย่างนั้น จะเตลิดไปเรื่อยๆ

พอเสียงมากระทบก็จะไปพิจารณาเสียง

 

ยังไม่ต้องไปสนใจถึงตาทิพย์ เอาแค่จุดที่เรารู้สึกได้

ตั้งต้น ลืมตารู้เท้ากระทบให้ชัวร์ว่ามีวิตักกะ

และมีใจสงบลงบ้างมีวิจาระ ข้างบนว่างข้างล่างชัด

จากนั้นถึงค่อยไปเทียบเป็นธาตุดิน

 

อย่าไปขึ้นต้นว่าต้องเป็นเป็นธาตุดินใช่ไหม

ขึ้นต้นแบบนี้คือรีบร้อนกระโจน

เสร็จแล้วพอจิตยังไม่ตั้งมั่นอยู่กับความรู้สึกในการเดิน

ยังไม่เห็นโดยความเป็นธาตุ เราก็ไปพิจารณาสิ่งอื่นแล้ว

เกิดเสียงเกิดอะไร เราก็แวบไป แล้วก็เป๋ไป

 

----------------

 

นิด

 

พี่ตุลย์ : ตัวตั้งใช้ได้ รู้เท้ากระทบได้ดี มีความชัด

ตอนหยุดยืนเผชิญกับประตู ถ้าห่างเกินไป

จะไม่รับรู้ถึงความเป็นธาตุนี้ธาตุหนึ่ง ธาตุนั้นธาตุสอง

จะเหมือนหยุดจับทิศทางเฉยๆ

 

ถ้าเราใส่ใจนิดหนึ่ง หัวตัวแขนขา ที่เทน้ำหนักลงบนเท้าทั้งสองข้าง

รู้สึกถึงช่องว่างระหว่างร่างนี้กับประตูได้

 

คราวนี้ขวาหัน รู้สึกถึงประตูที่ยังคงค้าง

ขวาหันอีกที รู้สึกถึงประตูที่อยู่ด้านหลัง

 

รู้สึกถึงไหม แม้จะไม่เห็นชัดว่ามันคงรูปคงร่างอย่างไร

แต่เรารู้สึกว่าประตูถูกทิ้งอยู่ข้างหลัง

 

หยุด แล้วรับรู้ถึงความเทียบเคียงระหว่างตัวยืนกับประตู

ให้จิตสัมผัสแบบนี้ได้ทุกครั้ง

 

ถือว่าเฉพาะการเดินใช้ได้ รู้เท้ากระทบดี มีสติตรงทาง

แต่เป้าหมายเราไม่ใช่แค่ตรงนี้

แต่เป็นการจับรู้ธาตุดินวันละนิดวันละหน่อย

จนในที่สุดรู้ว่ากายนี้เป็นธาตุดินเสมอกันกับวัตถุอื่นรอบห้อง

 

ตัวนี้ที่พี่ให้นิดจับสัมผัสตอนหยุดยืน เสร็จแล้วตอนเดินมาอีกรอบหนึ่ง

มีความรู้สึกถึงตัวเดินชัดขึ้น

จะเหมือนไม่ใช่แค่รู้สึกเท้ากระทบชัดอย่างเดียว

แต่รู้สึกว่า ตัวนี้เป็นหุ่นกระบอกทื่อๆ ที่เคลื่อนไหวไปด้วย

 

นิด : คำถามคือตรงนี้เลยค่ะ เพราะเดินแล้วไม่รู้สึกถึงประตู และตัวเอง

 

พี่ตุลย์ : แต่เรารู้สึกทิศทาง และเบสิกสำคัญคือเท้ากระทบ

อันนี้ถือว่าใช้ได้ ค่อยๆ เพิ่มเบสิกไปทีละนิดละหน่อย

จับธาตุดินให้ได้ก่อน หรือจับทิศทาง รู้สึกเท้ากระทบไป

ก็สามารถเอามาบวกกันภายหลังได้ทั้งนั้น

 

----------------

อุบล

 

ถาม : สังเกตจิตที่เบาและเบิกบาน แต่ไม่เสถียร การทำแบบนี้ถูกไหม

 

พี่ตุลย์ : ตอนเบา บอกตัวเองว่าเกิดจากการที่กายกับใจสมดุล

กายผ่อนพัก ผ่อนคลาย มีความยืดหยุ่นสูง

ใจมีความเปิดเบิกบาน ไม่ตั้งใจ ไม่เอาอะไร

 

การที่สภาวะทางกายทางใจได้สมดุลแบบนี้ จะเกิดเป็นความเบาขึ้นมา

ซึ่งถ้าเราไม่สนใจว่าทำอย่างไรจะเบาอย่างนี้ได้ตลอด

จะได้ข้อสังเกตว่าที่เบาเพราะมีเหตุปัจจัย

คือกายผ่อนพัก ไม่เกร็งเนื้อเกร็งตัว และสภาพของใจไม่คาดหวัง

 

ถ้าใจเข้าโหมดรับรู้ตามจริง เกิดอะไรขึ้น

สมมติรู้สึกฟุ้งขึ้นมาก็รู้ไปว่าฟุ้ง หรือพอหายไปกลายเป็นใสๆ โล่งๆ

ตัวที่ไม่มีความคาดหวังว่าจะให้ใส ให้โล่ง และรับรู้ไปตามจริง

สำคัญกว่าที่เราจะไปคาดหมายว่าจะให้เบาได้ตลอด

 

เวลาที่เกิดภาวะดีๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดินแล้วเบา

เดินแล้ว กระจ่างสว่าง เราย่อมคิดเป็นธรรมดาว่า

ตรงนั้นเป็นจุดที่เราสตาร์ทเครื่องติด หรือไปถึงจุดที่ดีแล้ว

ควรแอดวานซ์ไปเรื่อยๆ เป็นธรรมดาของทุกคน

 

แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แบบนั้น มีเบาบ้าง มีหนักบ้าง

และถ้าหากความคาดหวังเราจะสังเกตเห็นว่า ที่หนักบ้างเบาบ้าง

มีเหตุปัจจัยอะไรเข้ามา อย่างเรื่องความคาดหวัง

ขอให้สังเกตดีๆ เลย ถ้ามีความคาดหวัง จะหนักๆ

แต่ถ้าความคาดหวังหายไป มีแต่การรับรู้ไปใสๆ เดี๋ยวก็จะเบาแบบเดิม

 

หรือถ้าหากหายไป เราก็จะไม่คาดหวังจะเอาคืน

แต่จะยอมรับตามจริงว่าตอนนี้หนักด้วยเหตุแบบนี้

 

ตัวนี้จะกลายเป็นสังเกตเรื่องเหตุปัจจัย

ไม่ใช่คาดหวังเรื่องความเบาอย่างเดียว

--------------------

 

(ส่งท้าย) ย้ำว่าที่เราปฏิบัติกันมา ไม่ใช่เพื่อทำมือทำไม้กันเล่นๆ

หรือเดินหลับตาเอาทิศทาง เราต้องการที่จะได้ อนัตตสัญญา

 

ตัวนี้ตัวหลักเลย อนัตตสัญญา ได้มาอย่างไร

ได้มาจากการเห็นว่า สภาวะของใจเป็นอย่างไรอยู่ หายใจออก

สภาวะของใจเป็นอย่างไรอยู่ หายใจเข้า

อาศัยลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ

ดูว่าความปรุงแต่งทางใจ ฟุ้ง หรือสงบ เบา หรือ หนัก ใสหรือขุ่น

 

ตัวตั้งแรกสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ดูก็คือ

มีความสุขหายใจออก มีความสุขหายใจเข้า

ถ้าดูภาวะนี้ได้ ก็จะสามารถดูภาวะขั้วตรงข้ามได้

มีความทุกข์หายใจออก มีความทุกข์หายใจเข้า

แล้วจะเหมารวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง

ความฟุ้งซ่าน เสียใจ ผิดหวัง จะซึมๆ เศร้าๆ อะไรขึ้นมา

เหมารวมหมดว่าสุขหรือทุกข์

 

ส่วนการเดินจงกรมได้อนัตตสัญญามาอย่างไร

มาจากการที่เห็นกายนี้เป็นธาตุดิน

เห็นว่ากายนี้เป็นวัตถุที่เสมอกับวัตถุอื่นๆ

ถ้าเราอยู่ในทิศทางนี้ได้

เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า

เห็นกายใจโดยความเป็นธาตุหกได้

อนัตตสัญญาเกิดแน่นอน

 

และเมื่ออนัตตสัญญาเกิดขึ้นแล้ว

มีความรู้สึกว่ามีชีวิตประจำวันรู้สึกอยู่เองว่า อะไรๆ เป็นอนัตตา

ตัวนี้แหละที่เราต้องการกันจริงๆ

 

ส่วนว่าจะไปถึงไหน มรรคผลเป็นอย่างไร จริงๆ ไม่ต้องสนใจก็ได้

เพราะแค่ทำเหตุปัจจัยถูก รู้ว่าจิตคลายจากอาการยึดมั่นถือมั่น

คลายจากการหลงยึดอุปาทานสำคัญผิด สำคัญมั่นหมายโน่นนี่นั่น

ในที่สุดต้องเข้าถึงจุดที่พระพุทธเจ้าชี้ว่ามีอยู่จริง

แล้วตรงนั้น ไม่ต้องคาดเดาล่วงหน้า ถึงเวลาจะมาเอง

______________

วิปัสสนานุบาล EP 86

วันที่ 4 มีนาคม 2565

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=สอง8v08sV0myY

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น