วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สร้างสุขด้วยการหายใจเป็น (คุณดังตฤณบรรยายให้บุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

สร้างสุขด้วยการหายใจเป็น

รับฟังทางยูทูบ https://youtu.be/0YI3JlDQL4I

ไลฟ์นี้จะช่วยให้ทุกคนที่กำลังหิวความสุข
ได้เข้าใจว่า
ความสุขเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แค่หายใจเป็น
เนื้อหามุ่งเน้นการใช้เทคนิคมือไกด์
พิสูจน์จากประสบการณ์ตรงว่า
สามารถทำได้จริงในเวลาอันสั้น
ตลอดจนแสดงอานาปานสติสูตร
เพื่อความเข้าใจว่าจะนำไป
ประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

เวลา ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
วันพุธที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕
 

จัดโดย สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

นาทีที่ 0.00

ครับ สวัสดีทุกท่านนะครับ ขอบคุณอาจารย์สุภาพรด้วยนะครับ ที่ระลึกถึงกันนะครับ วันนี้ผมรู้สึกดีนะครับ ที่เราจะได้มาแชร์เรื่องดีๆกัน ในช่วงต้นปีใหม่ ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าความรู้สึกดีๆ เพราะ ข้าวของ เงินทอง หรือว่าอะไรต่างๆทั้งหลายเนี่ย บางทีอาจจะไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีได้ แต่วันนี้ผมอยากจะให้ความรู้สึกดีๆ มันเกิดขึ้นจริงกับทุกท่านที่ได้รับชมรับฟังนะครับ

 

นาที่ 0.00.35

อันดับแรกเลย ที่จะต้องกล่าว ก็คือว่า ตามหัวข้อนะครับ เรื่องของพลังและความสุข พลังอยากให้มองเป็นภาพรวมนะ จะได้จูนตรงกันตั้งแต่ต้นอย่างนี้นะครับ ว่าพลังนี่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่เติมง่าย และความสุขมันก็เป็นสิ่งที่เกิดง่าย ถ้าหายใจเป็น คือเราจะใช้คำ ใช้ถ้อยคำ ใช้คำปลอบโยน ใช้คำอวยพรอะไรก็แล้วแต่ มันจะไม่มีความหมายเลย มันจะไม่มีความสุข มันจะไม่มีพลังเพิ่มขึ้นเลย ถ้าหากว่ามันเข้าไม่ถึงใจ  แต่ลมหายใจเนี่ยนะ ขอแค่คุณหายใจเป็น แค่คุณทำให้ลมหายใจมันเป็นลมหายใจแห่งความสุขได้ แค่นั้นแหละไม่ต้องใช้คำ ไม่ต้องใช้อุบาย ไม่ต้องใช้อะไรเลย คุณก็มีความสุขเพิ่มขึ้นแล้ว   มีพลังเพิ่มขึ้นแล้ว  แล้วก็วันนี้เราจะมาเข้าจุดกันแบบเนื้อเน้นๆนะครับ โดยเอาจิตคนที่มีความสุขจริงๆ คนจริงๆตัวเป็นๆนะครับ ที่มีความสุขแบบต่างๆเนี่ย มาสาธิตมาแสดงให้ดูเพื่อช่วยให้คุณเกิดการซึมซับรับรู้ แล้วก็พลอยมีจิตแบบนั้นๆตามไปด้วย   โดยอาศัยสื่อแบบเดียวกันเป็นตัวเหนี่ยวนำ 

 

นาที 0.02.00

อันดับแรก  ถ้านั่งนิ่งนะ คุณไม่มีทางที่จะหายใจอย่างมีความสุขได้นานสักเท่าไหร่  เพราะว่าคนเรานะ เวลาที่หายใจเองตามใจชอบ มันจะหายใจแบบรวยริน  มันไม่มีทางพิสูจน์ เพราะว่าการหายใจแบบรวยรินของคุณเนี่ย ลองดูตอนนี้ก็ได้ ถ้าเรามานั่งนึกถึงลมหายใจ นึกว่าเรากำลังทำสมาธิอยู่ นึกว่าเรากำลังรู้ลมหายใจอยู่เนี่ย ลมหายใจของคุณจะยาวได้อย่างมากที่สุดสองสามครั้ง  ถัดจากนั้นมันจะสั้นลงสั้นลง แล้วจิตของคุณนะ ที่รู้สึกถึงลมหายใจตอนแรกๆอาจจะนิ่งได้ อาจจะมีสติได้ แต่พอทำไปๆ มันจะดรอป จิตมันจะเหมือนกับ ตอนแรกที่เบ่งบานออกได้ มันจะหุบเข้า อาการที่มีความเบ่งบานแล้วหุบเข้า เป็นอาการที่คนทั่วไป 99.99% คอนโทรลไม่ได้ เพราะว่าลมหายใจเนี่ยมันดรอปลงมา สั้นลงมา แล้วก็เอาคืนไม่ได้ มันจะมีความอึดอัด  มันจะมีความเกร็ง มันจะมีความแน่น มันจะมีความรู้สึกไม่สบาย 

 

นาที 0.03.23

ดังนั้นถ้าอาศัยเครื่องทุ่นแรงเสริมเข้ามา อย่างนี้ถึงจะมีสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น  นี้ถ้าเอาตามแบบโลกๆเนี่ยนะ เวลาเราพูดถึงเครื่องทุ่นแรงในการช่วยให้รู้สึกถึงลมหายใจยาวๆได้ต่อเนื่องเนี่ย  คุณจะนึกถึงอะไร  สิ่งง่ายๆที่ซื้อหากันได้ทั่วไป แต่เป็นโทษก็คือบุหรี่ ผมอยากให้ลองดูคลิปต่อไปนี้นะ  อันนี้ผมจะแสดงให้ดู เพื่อเป็นการเปรียบเทียบในขั้นต่อไปนะครับว่า ความสุขแบบที่ได้กัน ง่ายๆในทางโลกนะครับ

 

นาที 0.04.07

เวลาที่เราสูบบุหรี่เข้าไป เห็นไหมเวลาที่พ่นออกมา มันจะมีควันเป็นตัวที่ยืนยันว่าเราหายใจสั้น หรือหายใจยาว  บางคนอาศัยควันบุหรี่ เป็นตัวทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าลมหายใจของตัวเองเนี่ยยาวแล้วก็ดูก็โก้เก๋ หลักฐานที่มันเป็นรูปธรรมแบบนี้เนี่ย ช่วยให้เราเกิดความรับรู้ว่า ณ ขนาดนั้น ลมหายใจของเรายาวอยู่ หรือว่าสั้นอยู่  นอกจากลมหายใจดังกล่าวแล้วนะครับ ยังมีนิโคตินที่มีส่วนนะ คือพอควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายของคุณเนี่ย นิโคตินจะเข้าถึงสมองคุณภายใน 10 วินาที และสมองคุณจะหลั่งสารอะดรีนาลีน ออกมา ตัวนี้เนี่ย มันจะทำให้เกิดพลังความสุขแบบเราหลอกๆขึ้นมาชั่วคราว  ทุกครั้งที่คุณสูบบุหรี่ คือทุกครั้งที่พูดง่ายๆว่า จะมีพลังความสุขแบบหลอกๆเกิดขึ้น แต่ประเด็นคือพลังความสุขแบบหลอก ๆนั้น มันจะตั้งอยู่ไม่นาน พอเลิกสูบบุหรี่ บุหรี่หมดมวน คุณจะมีความรู้สึกว่าโหยหา หรือว่าขาด หรือว่าแม้กระทั่งเกิดอาการซึม เพราะว่าพลังแบบเดียวกันมันไม่ได้มีอยู่ในตัวคุณตอนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ เลยเป็นเหตุให้หลายๆคน โหยหา แล้วก็ย้อนกลับไปสูบบุหรี่อีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  นี่แหละคือเหตุผลที่ทำไมคนเราถึงติดบุหรี่ นี่คือพอดูความสุขแบบหลอก ๆที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่นี้นะ เดี๋ยวจะเอาไปเทียบกับความสุขแบบอื่นที่จะตามมานะครับ

   

นาที 0.06.06

ตอนที่ความสุขแบบหลอกๆเกิดขึ้นเนี่ยนะ นิโคตินเข้าถึงสมองคุณ มันจะเกิดความรู้สึกว่าตัวเองมีพลัง มีความสดชื่นขึ้นมา แล้วก็ต้องมาบิ้วกันใหม่นะ แต่ถ้าพิจารณาแล้วว่า ความสุขแบบหลอก ๆนั้น มันนำมาซึ่งมะเร็งปอด มีโอกาสนะ เพราะวิจัยกันออกมาเรียบร้อยแล้วว่า สิบคนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดถึงเกือบ 20% พูดง่ายๆ สองในสิบ  แล้วก็พวกที่เป็นมะเร็งปอดเนี่ย ตายจากการสูบบุหรี่เนี่ยนะ สูบบุหรี่แล้วเป็นมะเร็งปอดเนี่ย แปดในสิบ หรือ เก้าในสิบ มันสูงขนาดนั้น  พูดง่ายๆว่า ความสุขแบบที่ได้จากการหายใจด้วยควันบุหรี่ด้วยสารพิษแบบนี้นะมันเป็นความสุขที่น่ารังเกียจ  จะดีกว่าไหม ถ้าเราได้เครื่องทุ่นแรง เป็นแค่ฝ่ามือของตัวเองบวกกับความเข้าใจ  ความเข้าใจที่จะอาศัยฝ่ามือของคุณ ช่วยให้ลมหายใจ มันมีความยืดยาว มันมีจังหวะจะโคน แล้วก็ที่สำคัญที่สุด มีความนิ่มนวล สร้างความรู้สึกเป็นสุข แล้วก็สร้างพลังขึ้นมา คงเส้นคงวาไม่ต้องอาศัยอะไรอย่างอื่นที่เป็นของภายนอกตัวเข้ามาเสริม

 

อันดับแรกนะครับ ที่ทุกท่านสามารถทดลองกันได้ตอนนี้เลยก็คือ  ถ้าคุณหงายมือ จากระดับท้องขึ้นไปหาอก  นี่อย่างนี้นะ   ลองดูเดี๋ยวนี้ได้เลยนะครับ ทั้งลืมตาเนี่ย คุณจะไม่รู้สึกอะไรเลย รู้สึกว่าฝ่ามือก็คือฝ่ามือ การเคลื่อนไหวฝ่ามือ ก็คือการเคลื่อนไหวฝ่ามือ  

แต่ถ้าหากว่าคุณปิดตาลง อาศัยจินตภาพผูกโยง ฝ่ามือเข้ากับลมหายใจ  ทำความรู้สึกว่ามือหงายนะ มันดันลมเข้า แล้วก็มือคว่ำเป็นตัวหน้าลากลมออก อย่างนี้นะครับ

 

(เปิดคลิป เวลา 0.08.22)

 

เนี่ยคุณสามารถทดลองได้เลยนะ เมื่อเกิดการรับรู้เนี่ยอย่างนี้นะ มือหงายดันลมเข้า  แล้วมือคว่ำ ลากลมออก  มือไปถึงไหนลมไปถึงนั่น  จะด้วยอัตราเร็วของฝ่ามือที่พอดีนะครับ คุณจะมีความรู้สึกนิ่มนวล แล้วก็เป็นสุขขึ้นมาทันที  ทิศทางนี้นะ สลับ มือซ้ายมือขวาเพื่อไม่ให้เมื่อยเนี่ยนะ  ทิศทางนี้มันจะทำให้คุณเกิดความรู้สึกว่า คุณอยู่กับตัวเองได้  และความจริงนะครับ ข้อเท็จจริงก็คือ ความสุขที่นิ่มนวลและผ่อนคลายทั่วตลอด ถ้ามากพอนะ มันจะเกิดการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินขึ้นมา  เอ็นดอร์ฟินเนี่ย เขามีการวิจัยกันแล้วนะ ถ้าหากว่าคุณจะให้มันหลั่งออกมาด้วยวิธีปกติ อาจจะกินช็อกโกแลต อาจจะทำกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายอะไรก็แล้วแต่ แต่มันไม่ใช่ง่ายๆแบบนั้น  ถ้าหากว่าคุณต้องการให้เอ็นดอร์ฟินหลั่งออกมา คิดง่ายๆเลย คุณต้องออกกำลังกายนะ Exercise ต่อเนื่องกัน 30 นาที  ถ้าร่างกาย คุณไหวนะ แล้วก็กิจกรรม Exercise นั้นจะต้องไม่ชวนให้คุณเกิดความรู้สึกหงุดหงิด ที่ได้แพ้หรือว่าดีใจมากเกินไปที่ได้ชนะ

 

นาที 0.09.50 

พูดง่ายๆนะ คุณจะต้องวิ่งบนลู่ วิ่งเหยาะ วิ่งมาราธอน หรือว่า  ยกเวทอะไรก็แล้วแต่ ที่มันไม่ชวนให้เกิดความรู้สึกแพ้ชนะ  ถ้าเกิดความรู้สึกเอาแพ้เอาชนะ ในการออกกำลัง สิ่งที่มันจะเป็นผลลัพธ์ บางทีไม่ใช่ความสุขบางที่ไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี  แต่มันจะเป็นอาการที่หงุดหงิด งุ่นง่าน ฟุ้งซ่านแล้วก็ ตีโพยตีพาย   

เพราะฉะนั้น คำว่าเอ็นดอร์ฟินเนี่ย ถ้าหากว่าจะเอากันแบบโลกๆ มันไม่แน่ไม่นอน  แต่ถ้าหากว่าคุณทำสมาธิเป็น คุณหายใจเป็นอย่างที่ เมื่อกี้เห็นนั่นนะ ผูกโยงระหว่างฝ่ามือกับลมหายใจได้ 

 

 

 

 

นาที 0.10.46 (เปิดคลิปคนทำสมาธิ)

 

คุณดูนะ   อันนี้คือสิ่งที่เราจะได้เห็นนะว่า ถ้าหากทำเป็น นี่อย่าไปดูรอยยิ้มนะ รอยยิ้มเนี่ย มันหลอกตากันได้นะ  แต่ให้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจคุณเอง เวลาที่เห็นคลิปนี้นะครับ  เห็นกิริยาอาการของผู้สาธิต  แล้วคุณเกิดความรู้สึกยังไงตามเขา   ถ้าหากว่า อันนี้อาศัยความรู้สึกของคุณเองนะครับ  ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นะ  แต่ถ้าหากว่าคุณมองนี้ มองคลิปนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ  แล้วเกิดความรู้สึกที่ดี ที่มีความสุขหรือกระทั่งเกิดปีติตาม  อันนี้แหละคือหลักฐานว่า ถ้าหายใจเป็น คุณมีความสุข หรือว่า เพิ่มพลังขึ้นมาได้ในไม่กี่วินาที  อย่างน้อยภายใน 1 นาทีนี่แหละ  เดี๋ยววันนี้จะมี workshop นะครับ  เราจะมาทำความเข้าใจกันก่อน  เพราะความเข้าใจเนี่ยมันสำคัญกว่าสมาธินะ  

 

นาที 0.11.53

ถ้ามองกันตามนิยามแบบพุทธนะครับ  คำว่าสมาธิ  สมาธิแบบพุทธเนี่ย มีคำกำกับว่า สัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ถูกที่ชอบ  อันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้นะครับ  ในธรรมมิกสูตร บอกว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตักกะ มีวิจาระ มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่  

 

คำว่าวิเวก  ในที่นี้ก็ หมายความว่า เรามีจิตที่ไม่ดิ้นรน  มีจิตที่มีความพอใจที่จะอยู่กับลมหายใจ เพราะว่า เวลาพระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงสมาธิแบบพุทธเนี่ย  ท่านเน้นย้ำเสมอนะว่า ท่านพูดถึงอานาปานสติ  และการที่เรามี

ปีตินะครับ มันมีความหมายอย่างไร  ท่านตรัสนะครับว่า เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก  คือการมีจิตไม่ดิ้นรน ไม่มีส่วนใดๆเลยในกายของเธอทั่วทั้งตัวนะครับ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง  ตัวนี้นะเพราะฉะนั้นถ้าหากว่าพูดถึงสมาธิแบบพุทธ เราพูดถึงสมาธิแบบที่มีพลัง  ที่มีความสุขที่มีลักษณะของปีติ เอิบอาบ ซาบซ่าน เป็นตัวตั้งนะครับ  

 

นาที 0.13.33

ที่เราจะมาอาศัย มือไกด์ประกอบกับความเข้าใจในวันนี้นะครับ ท่าแรกนะครับ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดวิตักกะ คำว่า วิตักกะคือ เอาง่ายๆเลย นึกถึงลมหายใจโดยไม่พะวงถึงสิ่งอื่น  พูดง่ายๆมีลมหายใจอยู่ในใจของคุณ อย่างชัดเจนนะ ถ้าหากว่าคุณนึกถึงลมหายใจของตัวเองตอนนี้ แล้วเกิดความรู้สึกพะวงถึงนั่น พะวงถึงนี่ พะวงถึงสิ่งแวดล้อม พะวงถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมนี้ หรือว่า พะวงถึงเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับลมหายใจ  อย่างนั้นยังไม่ถือว่าเกิดวิตักกะ วิตักกะจะเกิดขึ้น เมื่อคุณรู้สึกถึงลมหายใจ ซึ่งอย่างที่ผมบอก อาศัยมือไกด์เนี่ย มันจะช่วยให้เกิดวิตักกะได้เร็วขึ้น  กล่าวคือ ถ้าฝ่ามือของคุณมีความช้า  สติของคุณมีความชัด คุณจะมีความรู้สึกว่า การยกมือของคุณจากระดับท้องขึ้นมาหาอก มันให้ความรู้สึกว่า มีลมหายใจถูกดันเข้า

 

แล้วเวลาที่มาถึงใบหน้านะครับ  แล้วคุณคว่ำมือ ลากลมออก จะมีความรู้สึกว่า ฝ่ามือของคุณมีส่วนในการลาก ลมออก อันนี้เป็นการอาศัยจิตนะครับ อาศัยจินตภาพที่เกิดขึ้น ด้วยความตั้งใจ มาผูกโยง มาทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือ กับลมหายใจ 

และ มันจะมีอาการนี้ขึ้นมานะ คือนึกถึงลมหายใจอย่างเดียว  โดยไม่พะวงถึงสิ่งอื่น ลมหายใจที่ปรากฏในใจเนี่ยพร้อมกับท่านั่งคอตั้งหลังตรงนี้นะ  มันจะเกิดขึ้นง่าย  แต่สําหรับมือใหม่นะครับ เพื่อที่จะให้เกิดวิจาระ ปีติ และ สุข จำเป็นต้องอาศัยท่า 2 ก็คือ ท่า 2 เนี่ยนะ เดี๋ยวดูให้เข้าใจก่อนก็แล้วกันนะ เดี๋ยวเราไปทำ workshop ด้วยกันภายหลังนะครับ 

 

นาที 0.15.59  เปิดคลิปท่าสอง 

ท่าสองนี้ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดวิจาระ  คำว่าวิจาระ ก็คือ มีจิตเป็นหนึ่ง มีจิตเป็นดวง ไม่แยกเป็นเสี่ยงๆ แล้วก็รู้สึกถึงลมหายใจอย่างเดียว  ปกติเนี่ย ถึงแม้ว่า เราจะรู้สึกถึงลมหายใจได้ แต่ความฟุ้งซ่าน เวลามันเข้ามากระทบใจ เราก็ยังไปตามความฟุ้งซ่านได้อยู่ ถูกซัดไปตามความฟุ้งซ่านได้อยู่  แต่ถ้าหากมีวิจาระ คุณจะรู้สึกถึงจิตที่ตั้งเด่นเป็นดวง แล้วก็รู้สึกถึงลมหายใจอย่างเดียว นี่คือความหมายของวิจาระนะ 

 

นาที 0.16.34 

การที่เรามาอาศัยท่าสองมีความหมายอย่างไร ยกมือขึ้นตรงๆเลยแล้ว ชูขึ้นสุด ชูแขนขึ้นสุด เป็นการที่เราจะหายใจได้เต็มปอดนะครับ  ส่วนการแหงนหน้า แหงนหน้าขึ้นเหมือนกับมองฟ้ามองเพดานเนี่ย อันนี้จะเป็นการกำจัดจุดอ่อนของการที่เรามีความฟุ้งซ่านอยู่เรื่อยๆไม่ขาด เวลาที่คุณแหงนหน้า ลองสังเกตดูได้เลย ทดลองดูได้เลยนะ พอคุณแหงนหน้าสุดนี่ ความคิดเหมือนจะหายไป มโนภาพเกี่ยวกับตัวเองเหมือนจะเว้นวรรคขาดตอนไป ซึ่งเป็นประโยชน์มาก กับการที่เวลาที่คุณเอามือลง แล้วหายใจออกมาพร้อมกัน มันจะมีลมหายใจปรากฎต่อความว่างอย่างแจ่มชัด  ตัวนี้ มันเป็นการสร้างวิจาระขึ้นมาแบบอ่อนๆ ในทันทีที่คุณแหงนหน้าสุด พักไว้แป๊บนึง อาจจะนับในใจ 1 2 แล้วเอามือลงมานะครับ  ลดฝ่ามือลงมา พร้อมกับลดใบหน้าลงมาด้วย  และพร้อมกันนั้น หายใจออกมาพร้อมกัน เป๊ะเลยนะ ให้มันซิงค์กันนะ ให้มันพร้อมกัน คุณจะเกิดความรู้สึกว่า ลมหายใจเนี่ย ปรากฏชัดอยู่ข้างหน้า โดยมีความว่างของใจอยู่ข้างหลัง นี่ตัวนี้นะคือพ้อยท์ ของการที่เรามาใช้ท่า 2 นะครับ 

 

 

 

นาที 0.18.09  

พอมีวิจาระ ใจไม่ดิ้นรน ใจไม่มีความกระโดด อยากจะไปทางอื่นนะ ในที่สุดปีติและสุขจะเกิดขึ้นเอง ตามกลไกธรรมชาติของจิต   เรามาดูตัวอย่างกันนะ ความเป็นวิจาระ คือความรู้สึกเป็นหนึ่งกับลมหายใจ อันนี้นะ ลองดูแล้วใช้ความรู้สึกของคุณเองนะ คอยดูผู้สาธิตนะครับ เห็นไหมเขาหายใจแล้วไม่มีอะไรอย่างอื่น ในความรู้สึก  ถ้าหากดูด้วยตาเปล่าเนี่ย บางทีเราอาจจะเห็นแต่ท่าทาง  แต่ถ้าคุณใช้ใจตัวเอง ใช้ความรู้สึกตัวเองนะว่า ถามตัวเองง่ายๆเลยว่าดูแล้วเห็นอะไร ดูแล้วเกิดความรู้สึกยังไงขึ้นมาในใจของคุณเองนะ มันจะรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างใจนะครับ กับลมหายใจที่กำลังปรากฏอยู่  แล้วข้อดีของการหายใจโดยการใช้มือไกด์เนี่ย  มันสามารถเอาไปสอนต่อได้ให้ลูกหลานได้ง่ายนะ คือถ้าหากว่าทำเป็นแล้วเนี่ย ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหน วัยใด นะครับ ก็ทำได้หมดและก็ได้ผลเหมือนกัน คือมีจิตที่ง่ายจะเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจ อันนี้คือพ้อยต์ของท่าไกด์ ท่าการใช้ท่ามือไกด์นะ 

 

นาที0.19.41

ที่นี้ ความสุขเนี่ยเป็นของที่เกิดง่าย แต่ความดับทุกข์ อันนี้เกิดยาก คือเวลาที่เรานั่งสมาธิอยู่ เวลาที่เราเดินจงกรม เวลาที่เราปลีกวิเวกไปในสถานที่ที่มันมีความสงบเงียบ ไม่มีอะไรวุ่นวายนี่นะ ดูเหมือนง่ายที่เราจะเกิดความสุข เพราะไม่มีอะไรที่ร้อนๆมากระทบ ไม่มีอะไรแข็งๆ มาทำให้จิตของคุณบอบช้ำ แต่ในโลกความเป็นจริงในชีวิตความเป็นจริง ระหว่างวัน ระหว่างใช้ชีวิตไปตามปกติ ตัวนี้แหละที่เป็นโจทย์ ตัวนี้แหละที่เราทำโลกทั้งใบเนี่ยให้เป็นที่นั่งสมาธิ หรือเป็นที่เดินจงกรมไม่ได้อยู่ตลอดเวลา  ในโลกความเป็นจริง เต็มไปด้วยความกระทบกระทั่ง  ในโลกความเป็นจริง เต็มไปด้วยสิ่งที่คุณไม่อยากได้ ไม่ชอบใจ และไม่ตามใจคุณ  

 

นาที0.20.39

โจทย์ที่เราจะคุยกันวันนี้  นอกจากจะเติมพลัง หรือว่าสร้างความสุขขึ้นมา  เราควรจะถามตัวเองด้วยว่า หากต้องการที่จะอยู่ในระหว่างวัน มีชีวิตแบบคนปกติธรรมดา พวกเราชาวบ้านนี่นะ โดยที่ไม่ต้องมีความทุกข์มากนัก ลดให้ความทุกข์ที่มันหนาหนัก มันเบาบางลง หรือกระทั่งทำความทุกข์ให้หายไป  เราจะมีวิธีทำให้มันเกิดขึ้นได้ เป็นไปได้ไหมมันเป็นไปได้ครับ  คำตอบก็คือ คุณต้องมีลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ ซึ่งก็คือรู้อารมณ์ต่างๆโดยไม่ลืมลมหายใจ ถ้าหากว่า อย่างที่คุณเห็นนะครับ เกิดวิตักกะ เกิดวิจาระ เกิดปีติ เกิดสุข ในขณะที่นั่งสมาธิ แต่ลืมตาขึ้นมาลืมหมด เอาไปใช้จริงไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เท่ากับว่าการนั่งสมาธิของคุณเนี่ย   ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับชีวิตจริง มันเป็นประโยชน์เฉพาะชีวิตช่วงที่เราสร้างมันขึ้นมา บิ้วมันขึ้นมา กะเวลาให้ตัวเองอยู่กับมันสั้นๆ ในเวลาช่วงสั้นๆนั้น แทบจะไม่มีความหมายอะไรกับชีวิตจริงๆของคุณทั้งชีวิต ที่มีเวลามากกว่านั้น ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า แต่ถ้าหากว่าคุณสามารถเอาจิต เอาสติหรือว่า เอาความสุขที่เกิดขึ้นในระหว่างทำสมาธิ มาเป็นจิตต้นแบบให้ใช้ในระหว่างวันได้ อันนี้แหละคือ เราประสบความสำเร็จที่แท้จริง แล้วที่เราจะคุยกันในวันนี้เนี่ย ถือว่าประสบความสำเร็จจริง  คำตอบนะครับ ที่จะทำให้เราได้ต้นแบบจิต ว่าที่มีลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ เราเรียกกันว่าอานาปานสติครับ 

 

นาที0.23.02

ถ้าหากว่า คุณทำอานาปานสติได้  เจริญอานาปานสติถูก แบบที่พระพุทธเจ้าสอน คุณจะไม่ทุกข์กับอะไรนาน คุณจะมีลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ การฝึกใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำกับสติ เราเรียกอันนี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้นะครับ ไม่ใช่ผมคิดเองนะ ที่เรียกว่าอานาปานสติ โดยสรุปง่ายๆ แบบให้จบภายใน 2 บรรทัดก็คือ  การเห็นกายใจนี้ โดยความเป็นกาย เวทนา จิต และธรรม  

 

นาที0.23.40

อานาปานสติไม่ใช่การจ้องลมหายใจ ไม่ใช่การทำสมาธิ โดยอาศัยลมหายใจเข้าออก เพ่งเข้าเพ่งออกอย่างเดียว แต่เป็นการอาศัยลมหายใจเนี่ย มาเป็นเครื่องตั้งให้เกิดสติ เห็นว่ากายนี้ใจนี้ สักแต่ว่าเป็นรูปนาม แยกจากกัน ไม่ใช่บุคคล ถ้าพูดง่ายๆนะ ถ้าคุณมีสติ มีความสามารถที่จะเห็นว่ากายใจนี้ มันแยกกันเป็นรูปเป็นนามได้ คุณจะไม่รู้สึกว่ามีความเป็นบุคคลอยู่ที่กายใจนี้ 

 

นาที 0.24.18

ครับ เริ่มจาก basic ที่สุดนะ ก็คือ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า อย่างตอนนี้ ถ้าหากว่าคุณจะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม  รู้สึกได้ว่า ณ วินาทีปัจจุบัน ร่างกายนี้กำลังต้องการ ลมหายใจออกอยู่ หรือว่าต้องการลมหายใจเข้าอยู่  นี่แหละเรียกว่ามีสติอยู่กับลมหายใจอันเป็นปัจจุบัน นี่คือ basic ที่สุด แต่ basic นี้ ที่รู้ว่าหายใจเข้า ที่รู้ว่าหายใจออก ถ้าหากว่าตั้งอยู่ไม่นานพอมันจะหายไป  เหมือนกับ คล้ายๆความรู้สึกแบบเดียวกันกับ คลื่นซัดฝั่ง มันมีความรู้สึกตูมหนึ่งขึ้นมา มันมีความรู้สึกชัดเจนขึ้นมาปังนึง เสร็จแล้วก็หายไปสลายตัวไป   

 

แต่ถ้าคุณใช้มือไกด์ช่วยให้เกิดความรู้สึกอย่างนี้แหละ มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า นานๆไปมันจะเกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้นมา คือความสงบกาย ความสงบกาย ไม่ได้หมายความว่า กายไม่ได้ขยับนะ เพราะ หายใจเนี่ยมันก็ต้องมีอาการที่ท้องมันเพยิบๆออกไปนะ แล้วมันก็พะยาบเข้ามา แต่ความสงบระงับทางกาย ในความหมายนี้ ก็คือว่า มีความไม่เกร็ง มีความผ่อนคลายไปทั้งตัว มีความสบายพอ ที่จะเกิดความรู้สึกว่า กายนี้มีความสงบระงับ มีความนิ่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกดี ทำให้เกิดความรู้สึกโล่ง ทำให้เกิดความรู้สึกเบา ความโล่งเบาทางกายนั่นแหละ มันจะมีผลให้เกิดปีติขึ้นมา 

 

นาที 0.26.14

อันนี้คือตัวอย่างนะ เดี๋ยวตรงนี้ เราจะมาพูดถึงอานาปานสติ ในขั้นที่สามารถจะรู้ปีติแล้วหายใจออก รู้ปีติแล้วหายใจเข้า นี่คือตัวอย่างนะครับ

 

(เปิดคลิป) 

 

คุณลองดูนะ ลักษณะที่ปีติเด่นชัดเนี่ย สังเกตความรู้สึกของคุณเองนะ ในเวลาที่มองไปที่ผู้สาธิตนะครับ  เวลาที่คุณทอดตามองไปสบายๆนะ ไม่จ้องไปที่จุดใดจุดเดิม แต่เอาความรู้สึกที่ใจของคุณเองในขณะที่มองคลิปนี้แล้วรู้สึกยังไง  ลักษณะของจิตที่มีปีตินะครับ คือเป็นอิสระจากความฟุ้งซ่าน  ถ้ามองไปเนี่ยแล้วเกิดความฟุ้งซ่านนั่นแปลว่า ผู้สาธิตอาจจะกำลังฟุ้งซ่านอยู่ก็ได้ เหมือนกับที่คุณมองคนปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน แล้วอยู่ใกล้กับใครบางคนมีความรู้สึกอึดอัด มีความรู้สึกฟุ้งซ่าน ทั้งๆที่ก่อนหน้าที่คุณจะไปอยู่ใกล้คนๆนั้นเนี่ย ใจของคุณกำลังสบายๆกำลังรู้สึกดีๆอยู่  แต่พอไปใกล้คนคนนั้นปั๊บ เกิดความรู้สึกฟุ้งซ่านหรืออึดอัดขึ้นมา นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าคุณไปรับแรงดันนะ  จากกระแสทางใจ จากกระแสทางกายของเขามาก็ได้  นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจริงๆ แต่คนไม่ค่อยสังเกต แล้วพอไม่สังเกตมันก็เลยไม่รู้ว่า สิ่งนี้เนี่ยมันเป็นเรื่องปกติ 

 

นาที 0.27.47

ทีนี้ถ้าเรามาดูคนที่เป็นอิสระจากความฟุ้งซ่าน มีความวิเวกนะ คือไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรน มีความโล่งเบาแล้วก็ใสสะอาด อันนี้ขอให้ลองนึกตามดูนะ แค่นึกตามดูเฉยๆ ไม่ต้องขยับท่าทางแบบนี้ก็ได้  ดูว่ารู้ว่ามีปีติหายใจออก ตอนนี้รู้ว่ามีปีติหายใจออก รู้ว่ามีปีตินะหายใจออก อันนี้ตามอานาปานสติสูตรเป๊ะเลยนะ  แล้วก็รู้ว่ามีปีติหายใจเข้า   พุทธพจน์ในอานาปานสติไม่ต้องตีความเลย แต่ว่าเวลาที่เราอ่านอานาปานสติกันเนี่ย บางทีเราไปตีความ แต่จริงๆแล้วเป็นแนวทาง เป็นไกด์ไลน์นะ ที่จะให้คุณมองตามนั้นเป๊ะๆเลย ตามคำเลยนะครับ คือหมายถึงว่า เวลาที่เราจะมาถึงขั้นของเวทนา ในอานาปานสติเนี่ย ท่านให้โฟกัสที่ความสุขก่อน ที่ปีติก่อน ถ้าหากว่าเราหายใจมาจนถึงจุดที่มีปีติมีความสุขได้แล้ว เราดูอยู่ที่ปีติ ดูอยู่ที่ความสุขนั้นแล้วหายใจออก หรือพร้อมกับหายใจเข้า  คุณจะมีความรู้สึกหนึ่งขึ้นมา อย่างตอนนี้พอคุณตามรู้ตามดูไปผู้สาธิตอย่างนี้เนี่ยนะ พอรู้ว่า มีปีติหายใจออกคุณจะเกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้นมาคือ ปีติอยู่ส่วนปีติ  ลมหายใจอยู่ส่วนลมหายใจ แยกเป็นต่างหากจากกัน อันนี้แหละเป็นจุดตั้งต้นนะที่จะเกิดการแยกรูปแยกนามขึ้นมา นามคือความสุข รูปคือลมหายใจ เมื่อสองอย่างนี้แยกจากกันได้ มันจะมีผลตามมาครับคือ ในที่สุดแล้วเนี่ย ความคิดมันจะสงบระงับไป ความฟุ้งซ่านพูดง่ายๆว่า ตามมาเกาะกุมจิตใจของคุณไม่ได้ ซึ่งถึงตรงนั้นแหละ คุณจะมีความสามารถนึงขึ้นมาคือ  

คือรู้จิต แล้วก็หายใจออก รู้จิตหายใจเข้า คือพูดง่ายๆว่า จิตมันจะปรากฏความเด่นดวงขึ้นมา   แล้วคุณสามารถที่จะมีสติรู้จิตได้  เมื่อรู้จิต พระพุทธเจ้าท่านให้ไกด์ไลน์ไว้คือ  รู้จิตหายใจออก รู้จิตหายใจเข้า  

 

(เปิดคลิป นาที 0.30.33) 

 

เรามาดูกันนะ อันนี้ผู้สาธิตนะครับ  ผ่านจากอีกขั้นของการมีความสุขมาแล้ว รู้ปีติ รู้สุขมาแล้ว ทีนี้พอมาถึงที่จิตเนี่ยนะ  รู้ที่จิตแล้วหายใจเข้า มันจะมีความตั้งมั่นที่เด่นชัดขึ้นมา  ลักษณะของจิตที่มีความตั้งมั่นนะครับคือ โดนกระแสความคิดกระทบแล้วไม่เซ ไม่เป๋ เหมือนจิตมีฐานที่มั่นคงให้ตั้งอยู่  เหมือนสมมุติว่า มือขวาเป็นจิตนะครับ มือซ้ายเป็นฐานที่ตั้ง เวลาที่เราวางมือลงมา เราจะรู้สึกคล้ายๆอย่างนั้นน่ะ จิตมันจะมีที่ฐาน มีที่ตั้ง แล้วก็ไม่เซไม่เป๋ง่าย ความรู้สึกที่เกิดขึ้น มันจะเป็นความรู้สึกรวมศูนย์ออกมาจากตรงกลาง  ตรงกลางที่ว่างนะ  ไม่ใช่ตรงกลางที่ทึบนะ แล้วก็สังเกตความรู้สึกของคุณเองตอนนี้นะ เวลาที่ลองทอดตามองดูที่ผู้สาธิตนะครับ  เห็นแล้วรู้สึกยังไง ลองนึกตามดูนะ  นี้จิตตั้งมั่นหายใจเข้า จิตตั้งมั่นหายใจออก ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของคุณนี้แหละ บอกได้นะว่าเรามองเขาแล้วเนี่ย ความรู้สึกของเขาน่าจะประมาณไหน ถ้าความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของคุณ มันเป็นอย่างไรอยู่ ของเขาก็คงไม่ต่างจากอย่างนั้น หรือ ของเขาก็คงจะมีอะไรมากไปกว่านั้น  

 

นาที 0.32.18

พอถึงความมีจิตตั้งมั่นได้ มันจะเกิดความสามารถขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง  คือสามารถพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออกพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้านี่มาตามอานาปานสติสูตรอยู่นะ ความหมายตรงนี้หมายความว่ายังไง  หมายความว่า จิตของคุณนั้น มันจะมีความเกลี้ยง มันจะมีความโล่งว่าง มันจะมีความโปร่งเบา และพร้อมที่จะไม่ยึด เพราะว่าจิตในลักษณะที่มีความโล่งว่างโปร่งเบา เป็นจิตที่พร้อม ที่จะถอน เป็นจิตที่พร้อมจะปล่อย เป็นจิตที่มีความพร้อมจะเกิดปัญญาแบบพุทธ  ปัญญาแบบพุทธเป็นยังไง  คือมีสัมมาทิฏฐิประกอบอยู่เป็นตัวตั้งคือ สัมมาทิฏฐิก็คือ อะไรอะไรนะ มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่  ถ้าอะไรอะไรที่มันไม่เที่ยง เราควรเห็นว่ามันเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ก็จะพิจารณาได้ทันทีว่า อะไรที่มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และอะไรที่มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวเดิม มันไม่ใช่ของของเรา  เมื่อล่วงลับดับหายไป แล้วเกิดความอาลัย นั่นแสดงว่ายังไม่มีปัญญาแบบพุทธ แต่ถ้าหากว่าอะไรก็ตามแม้เป็นที่ปรารถนา  ถ้าหากว่ามันจะล่วงลับดับหาย แล้วเกิดความรู้สึกว่ามันจะหายก็หายไป อันนี่แหละคือจิตที่มีปัญญาแบบพุทธ  

 

นาที 0.33.53

ลักษณะของจิตที่มีปัญญาเหมือนพุทธนะ อันนี้ขอให้ทอดตามองสบายสบายนะ แล้วถามตัวเองง่ายๆว่า คุณรู้สึกยังไงแล้ว ลักษณะของจิตที่ปลดปล่อยหรือ ชาวบ้านเรียกกันว่าปล่อยวางเนี่ย มันจะมีอาการที่เป็นธาตุรู้เผยออกมาอย่างชัดเจน  ลักษณะจิตที่มันมีความว่างอย่างรู้แล้วก็พร้อมทิ้ง อันนี้เนี่ยนะ มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยที่มันมีอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่เราต้องอาศัยความเพียร อาศัยความเข้าใจในการสร้างมันขึ้นมา 

 

ตัวนี้แหละนะคือ จะมีความรู้สึกนึกคิด จะใหญ่ก็ตาม จะน้อยก็ตาม จะแย่ตาม หรือว่าจะดีก็ตาม ถ้ามากระทบใจที่ มันมีอาการพร้อมปล่อย   ใจนั้นจะมีอาการไม่ยึด ใจนั้นจะมีความรู้สึกเป็นอิสระ แล้วก็เกิดความว่างอย่างรู้ เป็นความว่างอย่างรู้ ไม่ใช่ว่างอยู่เฉยๆ ไม่ใช่ว่างแบบไม่มีอะไรเลยแบบคนที่กำลังเบลออยู่  แต่เป็นความว่างอย่างมีสติรู้พร้อม  มีพุทธิปัญญาประกอบ สังเกตความรู้สึกของคุณเอง ตอนมองไปที่ผู้สาธิตนะครับ  เห็นแล้วรู้สึกยังไง  เห็นแล้วลองนึกตามดู จิตว่างหายใจเข้า ตามดูเฉยๆนะ จิตว่างหายใจออก  ลักษณะจิตแบบนี้แหละที่เป็นจิตที่พร้อมจะพิจารณาความไม่เที่ยง  หมายความว่าเวลาคุณรู้คุณเห็นอะไรก็ตาม เวลาที่มีความคิดแบบไหนก็ตามมากระทบ เวลาที่มีผัสสะ มีอารมณ์กระทบนะในระหว่างวัน เข้ามากระทบจิตแบบนี้ มันจะมีความพร้อมปล่อยพร้อมวาง  ซึ่งก็ต้องมาสร้างฐานของสติอันจากอานาปานสติ  ไม่ใช่อยู่ดีๆมันจะเกิดขึ้นมาโดยปราศจากเหตุปัจจัย  

 

นาที 0.36.22

ทีนี้ การฝึกอานาปานสติ ฝึกอยู่อย่างนี้นะครับ เรียกว่า ฝึกเพื่อที่จะเอาต้นแบบของจิต ไปใช้จริงในระหว่างวัน คืออานาปานสติที่เรามาหลับตา ทำความรู้สึกถึงลมหายใจกันเนี่ยนะ พอถึงตรงนี้คุณจะเข้าใจจริงๆแล้วว่า มันไม่ใช่การจ้องลมหายใจ มันไม่ใช่การที่แค่มาพยายามจะทำให้ความฟุ้งซ่านมันระงับดับหาย ด้วยการเพ่งลมหายใจอย่างเดียว  แต่ขึ้นต้นมา มันต้องมีความพร้อม มีความพร้อมรู้ พร้อมรู้นะ ไม่ใช่พร้อมที่จะบังคับให้มันนิ่ง  ไม่ใช่ความพร้อมที่จะอยากเอา เอานั่นเอานี่ เอาสมาธิ เอาความสงบจากความฟุ้งซ่าน เอาความสงบจากกิเลส แต่เป็นความพร้อมรู้ตามจริง  อานาปานสติเนี่ย พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น คือถ้าถ้าพูดกันง่ายๆคือ เป็นศูนย์กลางกรรมฐานทั้งปวง อย่างที่พระองค์ตรัสไว้ในทีปสูตรนะครับว่า จะเจริญสติแบบไหนที่พระองค์สอนก็ตาม จะเจริญกรรมฐานกองไหนก็ตามให้มนสิการ อานาปานสตินี้ไว้ให้ดี  

 

 

 

นาที 0.37.53 

ถามว่าอานาปานสติเป็นยังไง?  

ตอนนี้นะ ก่อนที่จะไปทำ workshop กันเนี่ย ขอแค่ความเข้าใจอย่างนี้ว่า  เกิดอะไรขึ้นภายในกายภายในใจนี้ก็ตาม  ขอให้เราระลึกถึงลมหายใจออก ลมหายใจเข้า พร้อมกันไปด้วย  อย่างถ้าอยู่ๆ คุณไปนึกถึงความฟุ้งซ่าน แล้วก็หายใจออกหายใจเข้าไปด้วยเนี่ย คุณอาจจะรู้สึกว่า มันไม่มีแรง ไม่มีกำลัง แต่ถ้าหากเจริญอานาปานสติ นั่งสมาธิแบบอานาปานสติไว้ก่อนเป็นทุน คุณจะมีความรู้สึกว่าโอเค เรามีทุนแล้วเป็นความสุขหรือมีความตั้งมั่นของจิต หรือมีกระทั่งนะความปล่อยวางของใจที่พร้อมจะเอาไปดูว่าระหว่างวันเกิดอะไรขึ้นกับใจนี้บ้าง  แล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นนะ ถ้าหากว่าสมมตินะว่ามีความสุขเป็นฐานที่ตั้ง  แล้วความสุขนี้มันเสียไปมันเป๋ไป เมื่อได้ยินเรื่องกระทบ หรือเมื่อรับรู้อะไรที่ไม่พึงประสงค์ ความสุขตรงนี้เนี่ย มันยังเป็นตัวตั้งอยู่เป็นต้นทุนอยู่ ตอนแรกๆคุณรู้สึกเหมือนกับว่าใจมันว่างๆ ใจมันมีความสบาย แล้วหายใจออก ใจมันมีความสบายแล้วหายใจเข้า   แต่พอฟังเรื่องกระทบอะไรบางอย่างในห้องประชุม หรือว่าในออฟฟิศที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งที่บ้านเองก็ตาม แล้วเกิดความรู้สึกยู่ยี่ขึ้นมา เกิดความรู้สึกว่าจิตใจหม่นหมอง หมดความสุขขึ้นมา มีความทุกข์ขึ้นมาแทน ตรงนี้ถามว่าถ้าเป็นใจคนปกติจะรับได้ไหม  มันก็คงไม่ได้หรอก แล้วก็โต้ตอบ มีปฏิกิริยาบางอย่างสวนออกไปในทันทีทันใด แต่ถ้าหากว่าต้นทุนของคุณมีความสุขมีความตั้งมั่น หรือกระทั่งมีความพร้อมจะปล่อยวางอยู่  เวลาที่เจอเรื่องกระทบเวลาที่จะรับอะไรไม่ดีเข้ามา  มันอาจจะเป๋ได้ มันอาจจะเสียศูนย์ได้  แต่ด้วยความเคยชิน ด้วยความชำนาญที่ฝึกมาแล้วจากอานาปานสติ  มันจะทำให้คุณนะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ใจเนี่ยเป๋ ใจนี้กำลังแย่ ใจนี้กำลังมืด แล้วหายใจออก หายใจเข้า คุณจะมีความรู้สึกว่าจิตของคุณมีความฟื้นฟู มีความสุข หรือกระทั่งเกิดปีติกลับมาในเวลาอันรวดเร็ว  อันนี้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงบิน ขึ้นอยู่กับว่าความสามารถในการระลึกได้ของคุณมีอยู่มากหรือน้อยแค่ไหน

 

นาที 0.40.59

เดี๋ยวเพื่อที่จะเอาเข้าของจริงกันเลยนะ  เรามาทำ workshop กัน 

(เปิดคลิป)  

 

อันนี้เป็นขั้น basic นะ  คุณจะลืมตาก็ได้ หลับตาก็ได้ เวลาที่จะหายใจเข้า หงายฝ่ามือยกขึ้นมานะ แล้วตั้งความรู้สึกไว้ข้างในเนี่ย เหมือนกับว่ามันเป็นตัวดันลมเข้า แล้วมือคว่ำลากลมออก อาการอย่างนี้จะทำตามอนิเมชั่นประกอบพร้อมไปด้วยเลยก็ได้  ตรงนี้เรามาสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมือกับลมให้ได้ก่อน  ถ้าสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมือกับลมไม่ได้นะ  โอกาสที่เราจะมีสติตามลมหายใจได้ทันแทบเป็นศูนย์   แต่ถ้าหากว่าคุณสร้างความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือกับลมได้ มันจะกลับกันเลย ใจของคุณจะมีลมหายใจอยู่ตั้งแต่นาทีแรก แล้วก็อยู่ไปได้นานๆ  อัตราเร็วนะครับของฝ่ามือที่ช้าพอดี  คุณจะรู้สึกมีความนิ่มนวล แล้วก็เกิดสุขขึ้นทันที  ตัวนี้ที่สำคัญนะ ถ้าหากว่าสปีดของฝ่ามือของคุณเร็วเกินไป  คุณจะรู้สึกว่าใจคุณมันแข็งๆ แต่ถ้าหากช้าพอดี ในแบบที่จะทำให้เกิดความรู้สึกนิ่มนวลและมีความสุข  ใจคุณจะอ่อนโยนลงทันที  และความอ่อนโยนของจิต ความอ่อนโยนของใจนี่แหละ ที่จะปรุงแต่งให้เกิดความพร้อม จะมีสติและความพร้อมที่จะมีสมาธิ  คือพูดง่ายๆนะ จิตยิ่งแข็งเท่าไหร่ มันยิ่งล้มง่ายเท่านั้น แต่ถ้าจิตมีความนิ่มนวลอ่อนโยน  จิตมีความสว่างมีความเบา ตรงนั้นมันจะเป็นที่ตั้งของสมาธิ  มันจะเป็นที่เกิดของความสว่างเต็ม ของปัญญาของสติขึ้นมา  

 

นาที 0.43.15

อะเนี่ย เดี๋ยวคุณลองดูนะว่า  ถ้าหากว่าเรารู้สึกถึงความเชื่อมโยง ระหว่างฝ่ามือกับลมหายใจได้  คุณใช้เวลานานแค่ไหน ที่จะรู้จนถึงลมหายใจชัดๆขึ้นมาในใจ  และคุณมีความสามารถที่จะหน่วงเอาลมหายใจนั้นไว้ในใจได้นานเพียงใด  ก่อนที่ความฟุ้งซ่านมันจะเริ่มเข้ามารบกวน  อันนี้อาจเป็นการค้นพบ ด้วยตัวคุณเองในนาทีแรกว่า 

ฝ่ามือที่มีความสัมพันธ์กับลมหายใจอยู่เนี่ย หลายๆคนนะ แค่นึกออกว่าจะดันลมเข้าด้วยฝ่ามือหงายยังไง  ลากลมออกด้วยฝ่ามือคว่ำยังไง  มันเกิดความรู้สึกสงบมาทันที   ความรู้สึกสงบขึ้นมาทางใจเนี่ยนะ มันไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการที่อยู่ๆคุณไปสั่งให้ใจของคุณเนี่ยมีความสงบ แต่ขอให้สังเกตว่ามันเริ่มต้นมาจากการที่จิตของคุณมีที่ตั้ง มีเครื่องอยู่ มีเครื่องพยุงสติ มีเครื่องรับรู้นะว่า ณ ขณะนี้ วินาทีนี้ ปัจจุบันนี้เนี่ย สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของคุณอันได้แก่ลมหายใจ กำลังปรากฏโดยความเป็นเช่นไรอยู่ มันมีอยู่แค่ 3 ความจริงให้รับรู้ 

 

นาที 0.45.16

ความจริงแรก ถ้าไม่หายใจเข้า ก็ไปความจริงที่ 2 คือหายใจออก  ถ้าไม่มีความจริงทั้งสองนั้น ก็คือหยุดลมหายใจชั่วคราว  นี้ขอให้สังเกตตรงนี้ด้วย ใจของคุณนะ เวลาที่รู้สึกถึงมือหงายดันลมเข้า หยุดแป๊บนึง แล้วก็มือคว่ำลากลมออกนี่  ตอนนี้คุณจะรู้สึกว่าใจมันมีเครื่องผูกมีเครื่องอยู่  แต่พอวางมือลงบนหน้าตักปุ๊บ จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกอย่าง เหมือนกับไม่มีอะไรทำ เหมือนกับว่าใจเดิมที่มันมีเครื่องผูก ที่มันมีอดีต อะไรที่ฝึกทำให้มีความสุขจากการได้อยู่ตรงนั้นมันหายไป  ตอนวางมือจึงเป็นช่วงที่สำคัญ  อาจจะสำคัญยิ่งกว่าตอนที่คุณรับรู้ถึงลมเข้าและลมออกซะอีก   ตอนที่วางมือขอให้สังเกตอย่างนี้นะ  

 

เริ่มต้นนะครับ  หงายมือแล้วมาหยุดมือแป๊บนึง  ก่อนที่จะลากลมออก  จังหวะที่ลากลมออกเนี่ย ฝ่ามือของุคณปรากฏในใจแค่ไหน  แต่พอวางลงไปบนหน้าตัก มันเหมือนจะไม่อยู่ตรงนั้น มันเหมือนจะหายไปจากใจ ถูกไหมทีนี้ถ้าเราลองมาเติมเต็มจุดนี้ส่วนที่พร่อง ส่วนที่ขาดนะ เวลาที่เราลากมือลงมาแล้ววางตรงกับหน้าตักได้ ให้ลองนับ 1 2 3 ก่อนที่ร่างกายมันจะเรียกร้องลมหายใจเข้าครั้งต่อไป ตามธรรมชาติ  เนี่ยวางมือเสร็จนับ 1 2 3 เสร็จแล้วค่อยหายใจเข้า ตอนที่นับ 1 2 3 เนี่ยขอให้ฝ่ามือของคุณปรากฎอยู่ในใจตามจริงด้วย   

 

นาที 0.47.39

ถ้าหากว่าฝ่ามือหายไปจากใจ มันเหมือนกับใจเคว้งคว้าง เหมือนกับไม่มีที่เกาะแล้ว มันก็เลยตะเวนตามอำนาจความเคยชินของมัน  แต่ถ้าหากว่าคุณนับ 1 2 3 แล้วเกิดความรู้สึกว่าฝ่ามือของคุณยังปรากฏต่อใจ ราวกับว่าคุณสามารถเห็นด้วยตาเปล่า ทั้งๆที่ปิดตาอยู่นี่นะ   อันนี้มันเป็นเครื่องบอกเครื่องแสดงว่า จิตของคุณมีเครื่องอยู่ มีที่ตั้ง มีวิตักกะ อย่างน้อยมีวิตักกะ คือมีอะไรอยู่ในใจ มีโฟกัสอยู่ในใจ สามารถหน่วงอะไรบางอย่างไว้ในใจได้  จะมีวิจาระ หรือ ไม่มีวิจาระ อันนั้นเรายังไม่สนนะ  แต่ขอให้อย่างน้อยมีวิตักกะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ถ้าหากว่าคุณอาศัยมือไกด์ รู้นะว่า ขณะนี้กำลังวางมือบนหน้าตัก  ตอนนี้หงายมือเพื่อที่จะดันลมเข้า แล้วก็หยุดแป๊บนึง ก่อนที่จะลากมือ เพื่อที่จะลากลมออก ถ้าหากมันเป็นไปแบบ smooth แบบราบรื่น ไม่ติดขัด ไม่สะดุด  คุณจะมีความรู้สึกว่าจิตของคุณมีความเต็มรอบขึ้นมา  แต่ถ้ามันแหว่งวิ่นไป มันขาดหายไปในช่วงใดช่วงหนึ่งนะ  ไม่ว่าจะเป็นหายใจเข้าหยุดอยู่ หรือว่าลากลมออก หรือว่าวางมือบนหน้าตัก จิตของุคุณมันจะแหว่งวิ่น  มันจะมีอะไรที่เกิดความรู้สึกไหวๆ เกิดความรู้สึกโยกโยน เกิดความรู้สึกโคลงเคลงขึ้นมา  ที่เป็นธรรมชาติธรรมดาของจิตที่ไม่เต็มรอบ ลองสังเกตดูนะ จริงๆแล้วสมาธิเนี่ยมันไม่ได้ยากอะไรหรอก แค่คุณมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานที่จุดนี้  เวลาหายใจแต่ละรอบเนี่ย จิตของคุณเนี่ยมันขาดมันพร่องที่ขั้นไหนหรือเปล่า  ตอนใดหรือเปล่า  หากว่ามันมีความเต็ม มันมีความอิ่ม ตามลำดับนะ เบรคดาวน์ออกมาแล้ว 4 ขั้นเนี่ย มันไม่มีขั้นใดขั้นหนึ่งเลยที่แหว่งวิ่น หรือว่าขาดเว้นวรรคไป จิตของคุณจะมีความเต็มดวงขึ้นมาให้รู้สึกได้เดี๋ยวนี้เลย  เนี่ยนะ ลองมาดูไปกับของจริงที่เกิดขึ้นในตัวคุณนะ อะ วางมือนะครับบนหน้าตัก อันนี้ขั้น 1 นะครับ หงายมือมือดันลมเข้าแล้วมาหยุดอยู่ 1 2 ก่อนที่จะหายใจออก โดยการเอามือลาก ลม ออกมา เหมือนกับในจินตภาพของคุณที่ลากลมออกมา แล้วพอวางมือก็นับใหม่ 1 2 3 การที่ จิตของคุณ มีเครื่องอยู่ มีวิตักกะ เต็มบริบูรณ์ ทั้งสี่ขั้นตอนนี้  ไม่แหว่งวิ่น ไม่หายไปไหน  นั่นแหละที่มันจะเป็นเหตุให้เกิดวิจาระ อ่อนๆขึ้นมา 

 

นาที 0.51.03

คำว่าวิจาระ คือความรู้สึกว่าจิตของคุณมันเต็มดวง อันนี้แล้วแต่นะ เดี๋ยวจะบอกไว้นิดนึงก่อนล่วงหน้าว่า เราต้องมีท่า 2 ขึ้นมาเพราะว่า คนมือใหม่ทั่วไปมันจะเกิดวิจาระ ปีติและสุขได้ยากด้วยท่า 1 มันเลยต้องมีท่า 2 ขึ้นมา แต่ถ้าท่า 2 เนี่ยมันจะไม่ง่ายแบบนี้  มันอาจจะไปมีปัญหากับบางคนนะครับ  ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกคอ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสรีระของคอบ่าไหล่อะไรก็แล้วแต่  ถ้าหากท่า 2 ที่จะให้ทำต่อไปนี้ มันมีความขัดข้องกับร่างกายของคุณก็ไม่เป็นไร ดูไว้ก่อน หรือ ค่อยๆไปทำให้มันเกิดขึ้น เพราะว่าหลายๆคน  รายงานออกมานะครับว่าพอทำท่า 2 แล้วมันช่วยแก้ปัญหาเรื่องคอบ่าไหล่ได้  กลายเป็นงั้นน่ะ  คือตอนแรกมันเป็นอุปสรรค แต่ว่าพอทำไปอย่างถูกต้องค่อยเป็นค่อยไปนะ ไม่รีบร้อน  ค่อยๆทำวันละนิดวันละหน่อย  เนี่ยมันกลายเป็นว่าพอมีปีติสุขแล้ว  ร่างกายหรือว่าปัญหาเกี่ยวกับคอบ่าไหล่เนี่ยมันหายไปได้ ท่า 2 เป็นยังไง มาดูกันนะครับ

 

เอาง่ายที่สุด จริงๆเดิมมันใช้ยากกว่านี้นะมันจะยุ่งยากกว่านี้  นี่ผมตัดขั้นตอนที่มันยุ่งยากเอาไปนะ  คือยกมือขึ้นมาตรงๆเลยตอนหายใจเข้า แล้วก็วาดมือ ประคองมือลงมาลงมาแบบนี้ตอนหายใจออก  ยกมือขึ้นไปตรงๆเลยนะ คือเราเวลาที่จะหายใจเข้า เหมือนกับให้ลมหายใจเข้าเนี่ย ยกขึ้นไปด้วยฝ่ามือที่ชูขึ้น ชูขึ้นไปตรงๆจนสุดนะ แล้วจังหวะที่ชูมือขึ้นไปจนสุดเนี่ย ให้แหงนหน้าสุดด้วย แล้วตรงนี้สำคัญที่สุดนะ  เวลาที่คุณแหงนหน้าสุดนี่ให้พักคอ  เหมือนกับว่าแหงนคอตั้งบ่าเนี่ยให้มันไปสุดที่การที่คอของคุณมีความอ่อน  ถ้าหากว่าแหงนหน้าแล้วคอคุณเกร็ง โอกาสที่จะรู้สึกเมื่อยคอมีสูงมาก  แต่ถ้าหากว่าเราเอาแบบว่า ยกมือขึ้นไปจนสุดนะ  แล้วแหงนหน้าสุด เหมือนมองฟ้าด้วยอาการที่คอเนี่ยมีความผ่อนพักไม่เกร็ง คุณจะเกิดความรู้สึกว่างขึ้นมา ในช่วงจังหวะที่กำลังแหงนหน้าสุดแล้วก็ชูมือสุด  มันจะหายใจเต็มอิ่มด้วย เต็มปอดด้วย  แล้วจิตของคุณจะเว้นวรรคจากความคิด  ความฟุ้งซ่าน รวมทั้งมโนภาพในตัวตนไปชั่วขณะ  

 

นาที 0.54.10

ตอนที่จิตมีความว่างจากมโนภาพทั้งปวง มีความว่างจากความฟุ้งซ่านทั้งหลาย สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็คือ เมื่อคุณหายใจออก พร้อมกันซิ้งค์กันเป๊ะนะ คุณจะรู้สึกราวกับว่า ฝ่ามือทั้งสองของคุณประคองลมหายใจออกมาเป็นสาย  ลมหายใจจะปรากฏอยู่เบื้องหน้าชัดเจน เบื้องหลังจะเป็นความรู้สึกว่างๆ นี่ตัวนี้ที่มันจะเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมานะ เหมือนกับมีความเอิบอาบซาบซ่าน สำหรับบางคนนะ ที่ใจอยู่กับตรงนี้จริงๆนะ ไม่ฟุ้งไปทางอื่น ไม่พะวงไปเรื่องอื่นนะครับ มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ลมหายใจอยู่ข้างหน้า เบื้องหน้าความว่าง อันนี้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดวิจาระแล้วก็ ปีติ สุข 

 

นาที 0.55.16

ถามว่าวิจาระ เกิดขึ้นตอนไหน?  

 

ตอนนี้ครับ ตั้งแต่ตอนที่ใจว่าง ว่างจากเรื่องทั้งปวงในหัวนะ เว้นวรรคไป แล้วเสร็จแล้ว หายใจออกด้วยความรู้สึกว่าลมหายใจปรากฏชัดเบื้องหน้าความว่าง เนี่ยเป็นวิจาระอ่อนๆ 

 

 

นาที 0.55.42

แล้วปีติเกิดขึ้นตอนไหนครับ

 

เกิดขึ้นตอนที่ใจมันว่าง แล้วก็มีลมหายใจอย่างเดียวอยู่อย่างนี้ นานพอที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกว่า จิตนี้ไม่ดิ้นรน  จิตนี้มีความวิเวก จิตนี้มีความอยู่เย็น  ธรรมชาติทางกายนะ อย่างที่เราคุยกันตั้งแต่ช่วงแรกๆ มันจะค่อยๆหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา  เมื่อกายมีความสงบระงับ จิตมีความสงบระงับไม่ดิ้นรน คนที่มีชั่วโมงบินสูงๆเนี่ย ภาวะทางกาย ภาวะทางใจ มันจะตอบสนองทันที แบบที่ฝรั่งเขาเรียก Natural High คือมีความสุขแบบไม่ใช่ ต้องไปพี้ยา แต่มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เกิดขึ้นด้วยการที่เราพึ่งตัวเอง ไม่ได้พึ่งยา  แล้วมันดีกว่าพึ่งยาด้วย เพราะยาเนี่ยทำให้เมาทำให้มึน  เวลาที่ยาหมดฤทธิ์ เรากลายเป็นคนบ๊องๆ คนหนึ่ง กลายเป็นคนที่มีสติไม่เต็มสภาพคนหนึ่ง  แต่ถ้าหากว่ามีจิตที่วิเวก มีจิตที่เป็นหนึ่งกับลมหายใจ หรือสิ่งที่เรียกว่าวิจาระเนี่ย มีวิจาระเกิดขึ้นประกอบกับจิต มันจะมีความสุขขึ้นเดี๋ยวนี้เลย มีความสุขอย่างใหญ่หลวง ความสุขอย่างใหญ่หลวงเนี่ยที่เรียกว่าปีติ มันจะบันดาลให้ สภาพทางใจของเรามีกำลัง และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์คือมีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ณ ขณะที่คุณรู้สึกว่ามีปีติอย่างใหญ่หลวงนั่นน่ะ ตอนที่มีปีติฉีดออกมา ราวกับว่ามีน้ำพุ ผุดขึ้นมาจากตรงกลางชีวิตเนี่ยนะ ตรงนั้นแหละ ก็คือ จังหวะที่เอ็นดอร์ฟินมันหลั่งออกมา 

 

นาที 0.58.06

วันนี้นะครับ ที่เราจะมาดูกันเนี่ย เราไม่ใช่แค่คุยกันเฉยๆนะครับ แต่อย่างนี้แหละ ที่เรากำลังฝึกอยู่ด้วยกันเนี่ย ถือว่าเราเข้าสู่ช่วง workshop แต่มันจะเป็น workshop จริงๆเนี่ยนะ ก็คือเราจะต้องมีการพูดคุยกันด้วย  เราจะมีการมาเทรนกันและมีการมาโค้ชกันเป็นคนๆ คือคงไม่ได้ทุกคนแหละ แต่ว่าเอาคนที่มีความอยากจะให้ผมโค้ช  อันนี้ก็ยังไม่ได้คุยกับทางคุณคมสันต์กับน้องอายไว้ก่อนว่า เดี๋ยวเราจะเรียกกันยังไงดี เอาเป็นว่าถ้าผมปล่อยให้ทำไป 5 นาทีโดยที่ผมหยุดพูดแป๊บนึง 5 นาทีนะครับ แล้วเรามาดูกันว่า 5 นาทีที่เงียบจากเสียงของผม แล้วคุณทำอยู่เอง มันจะเกิดวิตักกะ วิจาระ ปีติ และสุข ขึ้นมาได้ไหม  ถ้าหากว่ามีองค์ประกอบของสมาธิมันเกิดขึ้นในใจของคุณนะ เดี๋ยวเราค่อยมาคุยแล้วก็มาโค้ชกันนะครับ ผมให้เวลา 5 นาทีนะครับ ถือว่าเป็นช่วงเว้นวรรคพักกันก็ได้        5 นาทีเดี๋ยวเรามาดูกันนะครับ ว่าจะมีใครอยากให้ผมโค้ชเป็นคนๆไหม  เดี๋ยวคุณคมสันต์ช่วยอ่านไลน์ด้วยนะครับ

 

นาที 1.00.01

คุณแตงโม – สวัสดีค่ะ มีท่านไหนมีข้อสงสัย หรือว่าอยากให้อาจารย์ดังตฤณ Coaching ให้ไหมคะ? สามารถเปิดไมค์เปิดกล้องถามมาได้เลยนะคะ 

 

ดังตฤณ - เดี๋ยวขอห้านาทีนะครับ ขอห้านาที ให้แต่ละท่านลองทำดูก่อนนะครับ แล้วก็ดีแล้ว ที่คุณศศิมุขใช่ไหมครับ เรียกชื่อถูกเปล่า?

 

คุณแตงโมง - ค่ะ ถูกต้องค่ะ เรียกแตงโมได้ค่ะ อาจารย์ 

 

ดังตฤณ - คุณแตงโม เดี๋ยวขอห้านาทีนะ แล้วช่วยถามแบบนี้นะ ว่ามีใครอยากให้โค้ชไหม แล้วก็เราจะมาคุยกับท่านนั้นโดยตรงเลยนะครับ อันนี้จะเปิดโอกาสให้ท่านลองทำดูก่อน เพื่อที่จะได้ลองผิดลองถูก หรือว่าได้มีประสบการณ์ตรง จากการที่เราได้ทำท่าสองกันนะครับ แล้วผมจะโค้ชให้ตรงๆนะครับ 


นาที 1.00.01 – นาที ถึง นาที 1.06.48

** หยุด 5 นาที ให้ลองทำ **

นาที 1.06.49

คุณแตงโม - ค่ะ สวัสดีค่ะ ครบ 5 นาทีแล้วนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้างนะคะ ก็สวัสดีนะคะ เมื่อกี๊ลืมสวัสดี ผู้ชมทาง Facebook นะคะของเพจคุณดังตฤณนะคะ  ค่ะแอบเห็นว่ามีบุคลากรของเรานะคะ มีท่านนึง เปิดกล้องแล้วก็ทำตามคุณดังตลอดเลยนะคะ ซึ่งเราก็จะขอพักเบรกด้วยการมอบรางวัลให้พี่คนนี้ก่อนนะคะ เป็นท่านไหนคะน้องอาย

 

น้องอาย - ค่ะ จะเป็นคุณพ้นพันธ์ ปิหลกศิริ นะคะ ของที่เราจะมอบให้นะคะ จะเป็นเหรียญนะคะ 84 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะคะ จะเป็นเหรียญ 3 รัชกาลนะคะ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 ค่ะ ขอมอบให้พี่พ้นพันธ์นะคะ เพราะว่าตั้งแต่แรกเลยพี่เขาเปิดกล้องแล้วทำตามคุณดังตฤณมาตลอดเลยค่ะ  

 

คุณแตงโม - ค่ะ แล้วมีท่านไหนนะคะที่จะให้คุณดังตฤณดูท่า ดูทาง ไหมคะ สามารถเปิดไมค์ถามได้เลยนะคะ

 

ดังตฤณ ใครมีคำถามหรือว่าจะให้ดูก็มาคุยกันโดยตรงได้เลยนะครับ ระหว่างนี้นะครับ เดี๋ยวอยากจะบอกไว้นะครับ จริงๆแล้วผมจะช่วยโพสต์อยู่ทุกวันนะ เกือบทุกวันนะครับ ที่ห้องวิปัสสนานุบาลนะ สามารถเข้าไปได้นะครับ จะได้มี ถ้าใครสนใจอ่ะนะครับ ที่จะทำให้ต่อเนื่อง อยู่ที่ https://www.facebook.com/groups/vipassana101 อันนี้ก็จะเป็นที่ๆเรากำลังใช้ฝึก โดยอาศัยมือไกด์เนี่ยนะ มา กรุยทางให้เกิดความเข้าใจ ให้เกิดประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับอานาปานสติ  เพราะว่าอานาปานสติยากตรง จุดแทบที่ว่า เราทำยังไงจะให้มีความรู้ลมหายใจได้ต่อเนื่อง  ถ้าหากว่ามือไกด์นี้พาคุณไปสู่จุดที่รู้สึกถึงลมหายใจได้ต่อเนื่อง อันนี้ตรงนี้ที่เหลือเนี่ยมันก็จะไม่ยาก  มันยากที่สุดตรงจุดแรกนี่แหละ ทำไงรู้ลมหายใจเข้า ทำไงรู้ลมหายใจออกนะ ทำไงที่จะเห็นว่าบางทีลมหายใจก็ยาว บางทีลมหายใจก็สั้น นี่ตรงนี้แหละ 

 

อะเดี๋ยว ขอเชิญคุณแตงโมครับ เดี๋ยวมีใครจะถาม หรือว่าอยากให้โค้ชในที่นี้นะ ก็ได้คุยกันเลยนะครับ  

 

นาที 1.09.363

คุณแตงโม - ได้ค่ะ ขอบอกก่อนเลยนะคะว่าใครที่เปิดกล้องเปิดไมค์ถามตอนนี้ได้เหรียญเลยนะคะ ไม่ต้องรอลุ้นหมุนวงล้อนะคะ  เหรียญนี้เนี่ย ไม่ใช่ว่าไปซื้อใครก็ไปซื้อได้นะคะ ต้องมีบันทึกข้อความถึงจะซื้อได้นะคะ ค่ะ เปิดไมค์ถามได้เลยนะคะ แต่ทีนี้แอบเห็นข้อความค่ะ

 

คุณยศวดี ค่ะ สวัสดีค่ะอาจารย์คะ ปกติก็จะเจอกันอยู่บน facebook อยู่แล้วค่ะ อาจารย์ 

 

ดังตฤณ – อ๋อครับๆ 

 

คุณยศวดีค่ะ พอดีว่า เมื่อสักครู่ได้ทำตามในท่าที่ 2 น่ะค่ะ อาจารย์ สังเกตว่า เวลาเรายกมือขึ้นไป 

 

ดังตฤณ – เดี๋ยวครับ พอดีผมไม่เห็นท่านๆไหนเอ่ย คุณอะไรนะครับ 

 

คุณยศวดียศวดีค่ะ

 

ดังตฤณ – อ๋อโอเคครับ เห็นแล้วครับ ครับสวัสดีครับ

 

คุณยศวดีอาจารย์ขา คือจังหวะ แสดงว่า ถ้าเป็นท่าเป็นท่าที่ 2 อะค่ะ มันเหมือนกับ เราจะมี 2 จังหวะ ใช่ไหมคะ มันเหมือนจะหยุดตรงนี้แป๊บนึงก่อนที่จะยกมือขึ้น อย่างนั้นไหมคะ

 

ดังตฤณ – เอ่อ จริงๆท่าที่ 2 เนี่ยนะ อันนี้ผมชี้แจงไว้นิดนึง คือเดิมอ่ะ ที่จะให้มีจังหวะจะโคนจริงๆ 

แล้วก็จะให้ลมหายใจลึกจริงๆเนี่ย ผมจะฝึกให้หายใจที่ท้องก่อนนะครับ แต่วันนี้เนื่องจากว่าเราจะทำ workshop กันแบบสั้นๆง่ายๆ ก็เลยจะให้ยกมือขึ้นตรงๆ คุณรู้สึกอย่างไรในการยกมือขึ้น ด้วยการหายใจแบบสบายๆได้เอาแค่นั้น  มันจะเว้นวรรคก็ตาม แต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะ จะเว้นวรรคก็ตาม หรือว่าจะขึ้นแบบสมูทต่อเนื่องเลยก็ตามเนี่ยนะ ถ้าหากว่าหายใจสบายได้ถือว่าโอหมด เพราะว่าการหายใจเข้าเนี่ยจริงๆแล้วไม่สำคัญมาก  ตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือช่วงที่เราชูมือสุด แหงนหน้าสุด ตรงจังหวะนั้นจะเป็นจังหวะที่พักคิด  จังหวะนั้นจะเป็นจังหวะที่มโนภาพในตัวตนหายไปชั่วคราว แล้วพอ มโนภาพในตัวตนมันหายไปชั่วคราวเกิดอะไรขึ้น 

 

นาที 1.11.47

เวลาที่เราลดฝ่ามือลงพร้อมกันกับหายใจออกนะ นิมิตของลมหายใจมันจะปรากฏต่อใจที่กำลังว่างนั้นอย่างแจ่มชัด  นี่คือ Point ของท่า 2 ถ้าหากว่าเราทำยังไงก็ได้ จะไม่ใช้วิธีนี้ก็ได้ ไม่ใช้มือใช้ไม่ใช้ท่าสองนี่ก็ได้ ถ้าหากว่าใจของเราเนี่ย มันหยุดผลิตความคิด เอ่อโทษ ความคิดไม่ได้ถูกผลิตจากใจนะ แต่ความคิดมันอยู่ของมัน  ถ้าความคิดเนี่ยมันเข้ามาห่อหุ้มใจไม่ได้  ถ้าความคิดมันมากระทบใจแล้วใจเนี่ยไม่มีปฏิกิริยาตามมัน  ถ้าหากว่าใจเราไม่มีมโนภาพใจของเราว่างๆจะด้วยวิธีไหนก็ตาม  ขอให้จำไว้ว่า ใจแบบนั้นเป็นใจที่พร้อมจะเห็นลมหายใจโดยความเป็นนิมิต นี่คือ Point ของท่า 2 เพราะฉะนั้นหายใจเข้าเนี่ย คุณจะยกมือขึ้นมาตรงๆยังไงนะ หรือว่าจะมีการหยุดพักแป๊บนึงหรือขึ้นมาแบบสมูธก็ตาม  ขอให้หายใจรู้สึกเต็มปอดเถอะ  ขอให้รู้สึกว่าหายใจสุดปอดเถอะ  ตรงนั้นมันจะไปถึงจุดเดียวกัน จุดตั้งต้นจริงๆเนี่ยอยู่ที่จุดสูงสุด รู้สึกถึงความว่างข้างบน รู้สึกว่าใจเนี่ยเว้นวรรคจากความคิด  แล้วพอเราปล่อยลมหายใจออกทิ้งกันกับฝ่ามือที่ลดลง คุณจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าฝ่ามือทั้งสองเนี่ยพยุงประคองลมหายใจออกมา ตรงนี้คือจุดสำคัญที่สุดของท่า

 

นี้พอได้จุดสำคัญที่สุดตรงนี้แล้วเนี่ย จากนั้นเราจะค่อยมีสติขึ้น  อย่างเช่น จะไปกำหนดดูว่าวางฝ่ามือลงกับหน้าตัก นับ 1 2 3 เอ่อ ฝ่ามือยังอยู่ในใจไหม ถ้ายังอยู่ในใจนะครับ ลมหายใจครั้งต่อไปของคุณจะสมูธขึ้นเอง เพราะว่าธรรมชาติของกาย ธรรมชาติของใจ มันเป็นไปพร้อมกัน หากว่าจิตมีความประณีต มีความเป็นสมาธิ มีความอ่อนควรพร้อมรู้สภาวะทางกายจะมีความยืดหยุ่นตามไปด้วย อย่างคุณยศวดีลองสังเกตดู เวลาที่เรามีจิตใจที่ผ่อนพักนะ แล้วก็วางมือบนหน้าตักนับ 1 2 3 เวลาหายใจเข้าเนี่ย จะรู้สึกสมูธขึ้นทันที ทั้งๆที่เราท่าจะผิดจะถูก หรือว่าจะเป็นไปตามสเต็ป จะดูตามแอนิเมชั่น หรือไม่ก็ตามเนี่ยนะ แต่คุณยศวดีจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจเข้าครั้งต่อไปเนี่ย มันเข้าสุดได้ด้วยความรู้สึกสบายขึ้นเรื่อยๆ  ตรงนี้คือจุดสำคัญที่สุดนะครับ ไม่ใช่ไม่ใช่ตัวท่า 

 

นาที 1.14.36

คุณยศวดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ รบกวนอีกคำถามเดียวค่ะ

 

ดังตฤณ – ครับ

 

คุณยศวดี แล้วพอดีเมื่อสักครู่ที่ลองฝึก พอเราชูมือขึ้นไปแล้ว อาจจะเพราะว่าเห็นภาพแอนิเมชั่นนะค่ะ มันเหมือนกับภาพ ภาพลมหายใจมันก็จะสบายอยู่ตรงอกพอดี มันไม่ได้อยู่ที่มืออย่างที่อาจารย์บอกว่ามันน่าจะอยู่ที่มือ มันไม่ผิดใช่ไหมคะ ? หมายถึงเวลาชูมือขึ้นไปสุด แต่ความสบาย มันดันมาอยู่แถวๆนี้น่ะค่ะ 

 

ดังตฤณ – ผมอาจจะพูดไม่เคลียร์นะ ที่เรารู้สึกว่าว่าง มันว่างที่ใจนะ อย่างเวลาคุณยศวดีมองท้องฟ้าเนี่ย ตาเราจะเปิดกว้างไกลเท่ากับท้องฟ้าถูกไหม แล้วความรู้สึกที่มันเปิดตาได้กว้างได้ไกลนั้นน่ะ มันมาเป็นความรู้สึกที่ใจมันว่าง มันกว้าง เข้าใจใช่ไหมคือไม่ใช่ว่าคำว่างเนี่ย มันเป็นสิ่งที่อยู่ข้างบนที่มือ แต่มันมาอยู่ที่ใจ  เมื่อกี้ผมอาจจะพูดไม่เคลียร์  ขอพูดให้เคลียร์นะครับ  ตอนที่เรายกฝ่ามือขึ้นสูงสุด แล้วเราแหงนหน้าไปเนี่ย ความรู้สึกมันจะเหมือนกับว่ามีความว่างอยู่ข้างบน  แล้วความว่างตรงนั้นมันมาปรากฏที่ใจของเรานี่แหละ  ใจของเรานี่แหละที่มันเปิดกว้าง ใจของเรานี่แหละที่มันเท่าท้องฟ้า ใจของเราเนี่ยอย่างน้อยที่สุดมันเท่ากับเพดานเบื้องบนที่มันกว้างๆ  ปกติเนี่ยมนุษย์นะ  มันจะมีลักษณะของการทำงานสมองเนี่ย มันจะเล็งไปข้างหน้า แล้วก็มีความรู้สึกมีตัวตนที่เล็งไป ตามสายตา แต่นี้พอเราปิดตา แล้วแหงนหน้าสุด สิ่งที่จะเกิดขึ้นมันจะไปขัดฟังก์ชั่นการทำงานเดิมของสมองที่มันจะรับรู้ทิศทางเบื้องหน้า คราวนี้มันรู้ทิศทางเบื้องบนนะครับ  และรู้ในแบบที่มโนภาพในตัวตนเดิมๆเนี่ย มันเว้นวรรค มันหายไปชั่วคราว    

 

นี่คือพอยต์ พอยต์คือว่าเมื่อจิตมันมีความว่างขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาก็คือว่า จิตที่ว่างๆนั้นมีความสามารถจะรับรู้อะไรก็ตามที่กำลังปรากฏอยู่ ณ ขณะนั้น  เช่นลมหายใจ ลมหายใจพอปรากฏตอนจิตที่ว่างๆ เรารู้ทันทีเลยว่าลมหายใจเนี่ยมันอยู่ข้างหน้าความว่าง ความว่างอยู่เบื้องหลัง ตรงนี้พอรู้ไปเรื่อยๆ มันก็จะเกิดความสุขขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ เพื่อให้เรามาพิจารณาแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอานาปานสติสูตรได้ว่า เกิดปีตินะ แล้วรู้ว่ามีปีติ หายใจออก รู้ว่ามีปีติหายใจเข้า  มันมีการรับรู้นี้พร้อมกันไปควบคู่กันนะ ปีติหายใจออก ปีติหายใจเข้า จะรู้ขึ้นมาทันทีด้วยตัวเองนะด้วยประสบการณ์ตรงนะครับว่า  จิตของเรามีสติขึ้นมาอีกแบบนึง สามารถที่จะรู้ภาวะที่กำลังปรากฏพร้อมกันไปควบคู่กันไปกับลมหายใจและมีสติเห็นว่า มันแยกออกจากกันเป็นต่างหากจากกัน เนี่ยอันนี้เป็นทิศทางของการแยกรูปแยกนามแบบอ่อนๆนะครับ

 

นาที 1.17.46

คุณยศวดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์  ขอบพระคุณค่ะ

 

ดังตฤณ มีอะไรถามได้เลยครับ คุณยศวดี ถ้ามีอะไรต่อเนื่องก็เชิญได้เลยนะครับ

 

คุณแตงโม - เห็นในแชทมีคำถามเยอะค่ะ อาจารย์คะ 

 

ดังตฤณ ตอนนี้ยังไม่มีใครยกมือขึ้นมาใช่ไหมครับ คุณแตงโม ยังไม่มีใครยกมือเนอะ

 

คุณแตงโม – ใช่ค่ะ

 

ดังตฤณ - เชิญ คุณยศวดีต่อได้เลยนะครับ

 

คุณยศวดีค่ะ เดี๋ยวหนูลองไปทำต่อค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 

ดังตฤณ โอเคครับ

 

คุณแตงโม – เดี๋ยวขออนุญาตอ่านคำถามในช่องแชทนะคะ

 

ดังตฤณ ครับ ได้ครับ

 

นาที 1.18.19

คุณแตงโม – ก็คือถ้าระหว่างทำอ่ะค่ะ จากคุณสายวรุณนะคะ เกิดอาการคล้ายจะหลับอ่ะค่ะ อาจารย์ มีวิธีแก้อย่างไรคะ

 

ดังตฤณ อันนี้คือจริงๆ ถ้าหากว่าทดลองดูนะครับ  เวลาที่เราแหงนหน้าสุดเนี่ย ตรงนี้สำคัญมากเลยนะ สันนิษฐานว่าคุณแหงนหน้าแล้วไม่ค้างไว้ ถ้าแหงนหน้าแล้วแล้วค้างไว้ อาจจะนับ 1 2 แล้วค่อยลดมือลง ตอนลดมือลงสำคัญมาก หายใจออกเนี่ยนะ ต้องทิ้งมาด้วยกัน  ถ้าคุณทำตามนี้เลย  มันจะเกิดความรู้สึกราวกับว่าได้ชาร์จพลัง  ชาร์จพลังจากความว่าง ไม่เชื่อลองดูเลยนะ  คุณถ้าไม่สะดวกที่จะเปิดกล้อง ลองลองดูง่ายๆเลย ชูขึ้นไปถึงจุดสูงสุด นับ 1 2 แล้วทำความรู้สึกถึงความว่างที่อยู่เบื้องบนด้วย ความว่างมันจะมาปรากฏที่ใจนะ ถ้าความว่างปรากฏที่ใจได้  คุณจะเกิดความรู้สึกสดชื่นขึ้นมา  แล้วเมื่อลดมือลงมานะครับ พร้อมกับหายใจออก ต้องให้ ๙ซิงค์กันนะ อันนี้สำคัญมากนะ ถ้าว่างแล้วลดฝ่ามือลงมาซิงค์กันกับลมหายใจออกเป๊ะ คุณจะรู้สึกถึงลมหายใจออกชัด ซึ่งถ้าว่างด้วย แล้วก็รู้สึกถึงลมหายใจออกชัดด้วย  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็คือ คุณจะเกิดความรู้สึกว่ามีกำลังเพิ่ม นี่เป็นจุดที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองนะครับ  แต่ถ้าหากว่าคุณทำแบบงงๆ ทำแบบว่ามีแต่ท่านะ โดยไม่อาศัยจินตภาพนะ นึกว่าฝ่ามือกำลังดันลมเข้า ฝ่ามือกำลังลากลมออกอย่างนี้มันง่วงได้  เดี๋ยวถ้าหากว่าทดลองดูแล้วไม่เวิร์คลอง ลองคุยกันต่อได้นะครับ   

 

คุณสายวรุณ - ขออนุญาตค่ะ สายวรุญค่ะ 

 

ดังตฤณครับ อาจารย์สายวรุณครับ

 

คุณสายวรุณ - ค่ะ สวัสดีค่ะ คือ มีปัญหาคอว่าไม่สามารถแหงนๆมากๆน่ะค่ะ พอแหงนมากๆจะรู้สึกเหมือนจะเป็นลมอะค่ะ 

 

ดังตฤณครับ ตอนนี้ครับอาจารย์ คือแค่ว่าเราเงย เชิดคางขึ้นไปนิดเดียวก็พอ  พอที่จะรู้สึกว่าไม่ไม่ไปติดที่คอนะ มันก็พอใช้ได้นะครับ คือๆอย่างนี้ ตรงนี้ต้องเรียนให้ทราบว่า จุดประสงค์ที่เราแหงนคอสุดเนี่ย เพื่อให้เกิดการเว้นวรรคทางความคิดฟุ้งซ่าน  แล้วก็เว้นวรรคมโนภาพในตัวตน ให้จิตมันว่างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อันนี้เป็น ทริคแต่ถ้าหากว่า เรามีเหตุสุดวิสัยทางกายภาพนะครับ  มันไม่สามารถไปสุดได้เนี่ย อย่างน้อยเอาแค่เงยหน้านิดเดียวก็พอ  เพราะการเงยหน้านิดนึง มันช่วยให้ยกระดับที่สมองมันจะจำทิศทางเดิม  

 

ลองสังเกตนะครับ อันนี้ทุกท่านนะครับ เวลาที่เรามองตรง หรือเรามองก้มก็ตาม มันจะอยู่ในความเคยชินแบบที่สมองเนี่ยมัน มันเหมือนกับจะคิดเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนก้มหน้านะ พวกคิดมากเนี่ย เวลาที่ก้มหน้าก้มตาเนี่ยความคิดมันจะพรั่งพรู มันจะแบบว่าโถมเข้ามาใส่เราเนี่ยแบบไม่ยั้ง  แต่ถ้าหากว่าเราเชิดหน้าขึ้นมา แค่เชิดหน้านิดเดียว เชิดขึ้นมากว่าปกติแค่นิดเดียว องศาของคางเนี่ยขอให้เงยขึ้นมาแค่ 20 องศาเนี่ยนะ มันเกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้วว่า ความคิดเนี่ยเบาบางลง ไม่เชื่อลองดู ตอนนี้เลยนะ  การที่เราเงยหน้าขึ้นได้แค่นิดเดียว แล้วความคิดเบาบางลงก็ยังดี อันนี้ก็เป็นเป็นเรื่องของความเข้าใจประกอบด้วยนะครับ 

 

คุณสายวรุณ ขออนุญาตอีกคำถามได้ไหมคะ

 

ดังตฤณได้เลยครับ กี่คำถามก็ได้ ตอนนี้ยังไม่มีใครถามนะ

 

คุณสายวรุณ ท่าที่ 1 อ่ะค่ะ ท่าที่ 1 ที่ยกขึ้นมาถึงแค่อก แล้วก็ตรงหน้าตรงนี้อ่ะค่ะ พอทำไปเรื่อยๆมันเหมือนกับสะกดจิตเราอ่ะค่ะ มันเคลิ้มอีกแล้วค่ะ ท่านี้จะไม่มีการเงยหน้า แต่ว่า

 

ดังตฤณอย่างท่า 1 ปกติผมจะบอกว่า  พอเรารู้สึกถึงฝ่ามือนะครับที่ดันลมเข้า รู้สึกถึงฝ่ามือที่ลากลมออก มือหงายดันลมเข้า มือคว่ำลากลมออก จนเกิดตัวลมหายใจขึ้นมาในจิตของเราชัดเจนแล้วเนี่ย ขึ้น ท่า 2 ได้เลย

 

คุณสายวรุณ อ๋อ โอเคค่ะ

 

ดังตฤณ เพราะว่าท่าหนึ่งโดยดีไซน์ของมันนะ จะให้มีแค่วิตักกะ คือให้ให้มีลมหายใจอยู่ในใจเท่านั้น แต่ท่า 2 นี่แหละ เป็นท่าที่เราจะเอากันจริงๆ มีองค์ประกอบของสมาธิครบพร้อม ทั้งวิตักกะ วิจาระ ปีติ และสุขครับ

 

คุณสายวรุณ ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณนะคะ

 

ดังตฤณ ครับ สวัสดีครับ เชิญท่านต่อไปได้เลยครับ

 

นาที 1.23.37  

คุณแตงโม – เดี๋ยวขอให้พี่พรประภา เห็นยกมือค้างไว้นานแล้วนะคะ เชิญเลยค่ะ พี่อ้อ

 

คุณพรประภา - สวัสดีค่ะอาจารย์  (เสียงไม่ชัดเจน ...........)

 

ดังตฤณครับ สวัสดีครับ เอ่อขอโทษครับ ผมได้ยินไม่ถนัด ช่วยเลื่อนปากเข้ามาใกล้ๆไมค์ได้ไหมครับ  

 

คุณพรประภา- ค่ะ คือตอนที่ทำครั้งแรกๆค่ะ มันจะมีความรู้สึกเหมือนจะมีลมมาอัดตรงหน้าอกและก็ตรงที่คอ แต่พอทำไปสักพักนึงอ่ะค่ะ เหมือนว่ามันๆเบาลงๆ แล้วก็พอสัมผัสได้ถึงว่า ตอนหายใจเข้ามันจะเหมือนมีความรู้สึกว่าเรามีลมค่อยๆ แล้วลมหายใจก็ยาวๆอุ่นๆแล้วก็ค่อยๆขึ้นๆๆไป แล้วก็หายใจออกเราจะหมือนความรู้สึก เราค่อยๆมีลมออกมาจนกระทั่งคว่ำมือลงอ่ะค่ะ อาจารย์ อันนี้ทำถูกต้องไหมคะ อาจารย์

 

ดังตฤณอันนี้พูดถึงท่า 1 หรือ ท่า 2 ครับ

 

คุณพรประภา ทำต่อเนื่องกันค่ะ ท่า 1 กับ ท่า 2 ค่ะ อาจารย์

 

ดังตฤณ –    เวลาที่.. เอาง่ายๆเลยนะที่ผมฟังมาเนี่ย มันใช่แล้วนะ แต่ๆขอให้ไว้เป็นคำจำกัดความนิยามที่มันเป็นแบบว่าชัดเจนนะ ก็คือว่า ถ้าหากทำไปแล้วเนี่ยเรารู้สึกสบาย เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นมากขึ้นนะ แล้วมีสติรู้ลมหายใจชัดขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือทิศทางที่ถูกต้องแน่นอน  อย่างเมื่อกี้ที่ผมฟังของคุณพรประภานะ ทิศทางมันใช่แล้วนะเพราะว่าตอนที่ลมหายใจชุดหลังๆเนี่ย มันมีความผ่อนคลาย มันมีความเบา แล้วก็อีกอย่างนึงที่คุณพรประภาจะสังเกตตัวเองได้ก็คือว่า เนี่ยเอาตอนนี้เลยนะวินาทีนี้เลยนะ ความรู้สึกทางร่างกายเนี่ย มันผ่อนคลายกว่าเดิม เหมือน รีแลคซ์ขึ้นกว่าเดิม แล้วก็อาการรีแลคซ์นี้เป็นไปในทิศทางที่สติของเราเนี่ยจะถูกเสริมให้สามารถรู้อะไรรอบตัวนะ  ได้กระจ่างขึ้น

  

นาที 1.25.56  

ดังตฤณ –    เวลาที่เราทำสมาธิก็ตาม หรือเจริญสติตามแนวพุทธก็ตามเนี่ย ดูง่ายๆเลยว่าเรามาถูกทางหรือเปล่านะ คือสตินี่แหละ คือภาวะทางกาย ภาวะทางใจนี่แหละที่มันปรุงประกอบกันขึ้นมา แล้วเกิดสติอยู่กับภาวะตรงหน้า ไม่หวนไปอาลัยข้างหลัง ไม่หวังโลภมากไปข้างหน้า แต่เอาเฉพาะความสุข ความพอใจเฉพาะที่อยู่ตรงนี้ นี่แหละทางของสติแบบพุทธ มาถูกทางแล้วนะ พูดง่ายๆนะ คุณพรประภานะครับ

 

คุณพรประภา อาจารย์ขา พอตอนที่เรารู้สึกสาบายที่สุดคือ ตอนที่เราหายใจเข้าแล้วยกมือขึ้น แล้วแหงนคอไปตรงนี้อ่ะค่ะ เรารู้สึกแบบ มันจะเป็นแบบกว้าง แล้วพอวางลงมาปุ๊บ แล้วมันจะรู้สึกค่อยๆคลายลง มันจะรู้สึกแบบมันมีวางที่พอคลายลง มันจะรู้สึกวางมากขึ้นอ่ะค่ะ

 

ดังตฤณ –    อันนี้ มันก็เป็นสัญญาณบอกอย่างหนึ่งว่า ใจของเรานะ  มันมีความพร้อมที่จะรู้แบบวาง คือว่างถึงรู้นะครับ เอ่อ ผมขอให้คุณพรประภาเนี่ย ตั้งข้อสังเกตตรงนี้ด้วยว่า ถ้าเวลาที่ว่างแล้วสบาย บอกตัวเองนะครับ บอกตัวเองไปว่า รู้ว่ามีความสุขหายใจออก รู้ว่ามีความสุขหายใจเข้า ความว่างความเบานั่นแหละคือความสุข ถ้าหากว่าคุณพรประภาคิดอยู่ในใจนะ โฟกัสอยู่ในใจ รู้ว่ามีความสุขหายใจออก มันจะมีความรู้สึกว่า ความสุขเด่นชัดเป็นที่ตั้งมันเข้ามาที่ใจนะ เข้ามาที่ฐานคือใจนี้ แล้วก็ลมหายใจที่ออกมาประกอบพร้อมไปด้วยเนี่ยนะ มันจะมีความชัดเจนเหมือนกับเป็นสาย เมื่อมีความสุขหายใจออก รู้ว่ามีความสุขหายใจเข้า พอมากเข้ามากเข้า คุณพรประภาจะพบกับความสุขที่เราโฟกัสอยู่ที่จุดเริ่มต้นเนี่ยนะ มันมีความแผ่ขยาย มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น มีขนาดความสุขที่กว้างขึ้นเรื่อยๆตรงนี้นะ มันจะเป็นทิศทางที่เราบอกตัวเองได้เลยว่า เรากำลังมาตามทางของอานาปานสติสูตร ที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้ให้แล้วนะ 

 

คุณพรประภา - ค่ะ กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

 

นาที 1.28.07

ดังตฤณครับ คุณแตงโม

 

คุณแตงโม – ทีนี้ระหว่างเราได้ภาพแล้วใช่ไหมคะ อาจารย์ แล้วเราจะทำเวลาไหนอ่ะคะ ดีที่สุดก่อนนอน หรือว่า ตอนเช้าดีคะอาจารย์

 

ดังตฤณ ตรงจุดนี้นะ หลังจากที่ผมโค้ชมาเยอะๆนี่ ผมพบความจริงอย่างนึง คือคนเนี่ย เอ่อ จะไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติของตัวเอง ภาวะทางกาย ภาวะทางใจ ว่าตอนไหนพร้อม ตอนไหนไม่พร้อม แล้วก็ไปยึดเอาตามว่า เออคนโน้นคนนี้เขาบอกว่า ต้องตื่นนอนเท่านั้น หรือว่าต้องก่อนนอนถึงจะดี หรือว่าช่วงทำงานไป ทำงานไปทำงานมาเนี่ย ตอนเย็นๆตอนบ่ายๆถึงจะเหมาะ  จริงๆแล้วขอให้สังเกตเถอะ เวลาที่เราฟิคซ์เวลา เวลาที่เราไปเจาะจงนะว่า มีเวลานั้นเวลานี้เท่านั้น  ในระหว่างวันที่เหมาะกับการทำสมาธิเนี่ย  เราจะใช้เวลานั้นเป็นการตัดสินว่าวันนั้นเนี่ยเราทำสมาธิได้ผลหรือไม่ได้ผล  โดยไม่สำรวจว่าแต่ละเช้าเนี่ย ร่างกายของเราก็ไม่เหมือนกัน บางเช้าตื่นขึ้นมาแล้วเฟรช  บางเช้าตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าซึม  รู้สึกว่ายังง่วงเหงาหาวนอนอยู่ ยังเพลียอยู่   ตรงข้ามบางวันเนี่ยนะ ช่วงบ่ายตกบ่าย ส่วนใหญ่นะ พอหนังท้องตึงหนังตาหย่อน ไปกินข้าวมาแล้วอิ่มแล้วรู้สึกว่าไม่พร้อมทำสมาธิ แต่บางวันมันเป็นตรงกันข้าม คือช่วงบ่ายนี้แหละคือช่วงที่รู้สึกว่ากินข้าวมื้อนั้นเนี่ยมีกำลังวังชา  ผมอยากให้สังเกตอย่างนี้  ความพร้อมของร่างกายเนี่ยจะบอกเราได้มากที่สุด บอกเราได้มากกว่าใคร  

 

แล้วก็ถ้าหากเปรียบเทียบนะ เราทำแค่ครั้งเดียวต่อวัน คุณจะเกิดการตัดสินเกิดเกิดอารมณ์ขึ้นมา ว่าวันนี้ทำสมาธิไม่ได้เรื่อง หรือไม่ก็ไปเกิดความเริงร่าดีใจว่าวันนี้ทำสมาธิแล้วเวิร์คมีความนิ่งดี มีความสงบดี เนี่ยคนเราไปตัดสินกันแค่นี้นะ  แต่ถ้าหากว่าเรามาทำเล่นๆเรื่อยๆ ทุกจังหวะที่เราว่าง เราปลอดคน ไม่มีงานอะไรที่เป็นภาระเนี่ย คุณจะพบความจริงว่า แต่ละช่วงของวันเนี่ย คุณทำได้ดีหรือไม่ดี แตกต่างกันไปเรื่อยๆ ตามความพร้อมตามสภาวะทางกายและทางใจของตัวเอง เนี่ย 1 วันเนี่ยคุณจะได้ข้อสรุปว่าอ้อ ช่วงเช้าเนี่ยทำได้ดี เพราะว่าเพิ่งตื่นนอนมายังไม่มีเรื่องรกหัว ตอนตกบ่ายกินข้าวแล้วมันรู้สึกว่าง่วงๆเพลียๆนะ อยากนอนทำแป๊บเดียวแล้วหลับ หรือตอนก่อนนอนอะไรรกหัวเต็มไปหมดเลยเนี่ย ทำทำไปได้แค่ครึ่งนาทีหลับป๊อกเลย คุณจะตัดสินใหม่ เออแต่ละช่วงวันเนี่ยมันมีความพร้อมทั้งกายทั้งใจไม่เท่าเดิม  แต่พอทำไปเรื่อยๆ ทำไปเล่นๆ ทำไปเหมือนกับว่ามีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็ทำ ด้วยความรู้สึกมีฉันทะ ด้วยความรู้สึกชอบใจว่า เออทำแล้วเนี่ยมันมีสติดีขึ้นเรื่อยๆ  สติที่ดีขึ้นเรื่อยๆแล้วก็ภาวะทางกายที่มีความพร้อม จะเป็นฐานที่ตั้งของสมาธิและสติมากขึ้นเรื่อยๆนั่นแหละ  จะทำให้คุณเกิดมุมมองใหม่ขึ้นมาว่า ยิ่งทำไปเนี่ย มันยิ่งเกิดความก้าวหน้า  ความต่อเนื่องเนี่ยคือความก้าวหน้าบนเส้นทาง บนทิศทางที่มันถูกต้อง  ถ้าคุณเดินขึ้นเหนือ จะกี่ก้าวก็ตาม 2 ก้าว 3 ก้าว มันก็คือขึ้นเหนือ จะกี่ร้อยกิโลเมตร จะกี่ 10 เมตรมันก็ขึ้นเหนือเหมือนกันหมด เหมือนกันอันนี้ถ้าหากว่าคุณพบความจริงว่า ทำไปเรื่อยๆแล้วเกิดความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ มีสติดีขึ้น มีสมาธิดีขึ้น ก็จะได้ข้อสรุปกับตัวเองใหม่นะว่าสมาธิ ทำเมื่อไหร่ ดีเมื่อนั้น ครับ คุณแตงโมครับ  

 

คุณแตงโม ค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะอาจารย์ ก็คือขอให้ได้ทำนะคะ จะมากจะน้อย แล้วก็ร่างกายของแต่ละคนนั้นก็คือไม่เหมือนกันด้วย ก็ต้องขึ้นกับร่างกายเรา ใช่ไหมคะ

 

นาที 1.33.00

ดังตฤณ แม้แต่ภาวะของตัวเอง ของเราเองคนเดียวเนี่ยก็ไม่เหมือนกันแล้วในแต่ละวัน  ในแต่ละช่วงวัน

 

คุณแตงโม – ค่ะ ทีนี้มีท่านนึงยกมือค้างไว้ คุณอรสาค่ะ เชิญเลยค่ะ 

 

ดังตฤณ ครับ คุณอรสา สวัสดีครับ

 

คุณอรสา - อาจารย์คะ สวัสดีค่ะ อาจารย์ขา มีเรื่องจะเรียนถามอาจารย์น่ะค่ะ สมมติว่าในฐานะที่เราทำงานอยู่ตอนนี้ค่ะ อาจารย์ แล้วก็ถ้าสมมุติว่าเราเกิดภาวะเครียด หรือว่ามันมีหลายงานที่ทำให้เราฟุ้งซ่านอย่างนี้ค่ะ อาจารย์ เราสามารถทำสมาธิของอาจารย์ แต่ว่าตัดครึ่ง โดยการที่เราจะเงยหน้า แล้วก็หลับตานิ่งๆแบบนี้ค่ะ อาจารย์ เราทำบ่อยๆอย่างนี้ แล้วเรารู้สึกว่ามันมันสงบ มันโปร่งแล้วก็คิดอะไรออก อย่างเงี้ยเราสามารถ มันจะถือว่ามันเป็นการสร้างสมาธิแบบง่าย ได้ไหมคะ อาจารย์ โดยที่ว่าเราอาจจะไม่สามารถยกมือขึ้นแบบนี้อะค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณค่ะ

 

ดังตฤณ ตอนคุณอยู่ในออฟฟิศเนี่ยมันไม่มีใครมาทำ ท่า 1 ท่า 2 กันได้หรอกนะ แต่ถ้าหากว่าเราซ้อมไว้ดีนะครับที่บ้าน หรือว่าในห้องห้องทำสมาธิห้องพระของเรานะ  เราจะมีความรู้สึกขึ้นมาอย่างหนึ่งคือว่า แม้อยู่ในระหว่างวันก็ตาม ถึงแม้จะไม่ได้อาศัย ท่า 1 ท่า 2 ประกอบช่วย  แต่มันจะมีความรู้สึกทางใจว่า  สุขยังอยู่ สติของเรายังอยู่  สติในที่นี้ต้องกำกับไว้ด้วยนะครับ ต้องกำกับไว้นิดนึงด้วยนะ ถ้าจะถ้าจะมาตามทิศทางของอานาปานสติเนี่ย มันควรจะมีลมหายใจประกอบอยู่ด้วย  

 

พูดง่ายๆคือพอเราไปสร้างความเคยชิน ไปสร้างจิตต้นแบบไว้ตอนนั่งสมาธิ เจริญอานาปานสติเนี่ยอาศัย ท่า 1 ท่า 2 เป็นตัวช่วยไกด์เนี่ยนะ  อยู่ระหว่างวันเราจะมีความรู้สึกว่า  ถึงแม้ไม่ได้ใช้ท่าช่วย แต่จิตมีความสามารถระลึกถึงลมหายใจขึ้นมา  อย่างตอนที่เรากำลังฟุ้ง เรากำลังเครียดแน่นอยู่เนี่ยนะ  ลองสังเกตดูวันไหนนะ  ถ้าหากว่าตอนออกจากบ้าน เราใช้มือไกด์ช่วยมาก่อนนะครับ เรามีสติ เรามีลมหายใจมี ความเปิดนะของจิต มีความเบิกบาน พูดง่ายๆว่าต้นทุนมาพอสมควร เพราะมาถึงออฟฟิศ แล้วเกิดความเครียด เกิดความง่วง เกิดความ เอ่อมีความรู้สึกว่า ต้องการรีเฟรชนะ แค่หายใจขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยมือประกอบเนี่ยนะ มันจะเหมือนกับไปทริกเกอร์ ไปลั่นไก ตัวความเคยชินแบบเดิมๆขึ้นมา รู้สึกว่าหายใจปุ๊บ จิดเปิดปั๊บ  ขอให้จำไว้เป็นคีย์นะคุณอรสา  ถ้าหากว่า เราหายใจปุ๊บ มีความรู้สึกว่าจิตเปิดปั๊ป ตรงนี้เนี่ยมันเกือบๆจะเป็นการชาร์จพลังขึ้นมาแล้ว มันไปเรียกเอาภาวะแบบเดิมๆที่เราเคยฝึกตอนอยู่ในห้องพระขึ้นมา  แล้วถ้าหากเรามีความเคยชินในแบบอานาปานสติจริงๆ กล่าวคือ ภาวะจิตภาวะใจนะตอนทำสมาธินะ ปีติรู้ว่าหายใจออก ปีติรู้ว่าหายใจเข้า จิตมันนิ่งๆว่างๆ ดูว่าจิตนิ่งๆว่างๆนี่ ในอาการที่จิตว่างๆนี้หายใจออก หายใจเข้าอยู่ จนกระทั่งมันมีความชำนาญ มีความชินไปเองนะ ที่จะรู้สึกถึงภาวะทางใจพร้อมกับลมหายใจไปด้วยเนี่ย  เวลาที่เรามาเครียด มาฟุ้งในออฟฟิศนะครับ  พอฟุ้งปุ๊บ แล้วเราสร้างความเคยชินขึ้นมา อ่าเนี่ยหายใจออกหรือ หายใจเข้าอยู่  ตรงนี้มันจะมาสู่ของจริง มาสู่โลกความจริง ไม่ใช่ตอนอยู่ในห้องสมาธิแล้ว  คือมันจะพอมีก้าวแรกปุ๊บ มันจะมีก้าวที่ 2 ต่อๆกัน มันจะเกิดการสังเกตแบบเดียวกัน เครียดแล้วหายใจออก เครียดแล้วหายใจเข้า เสร็จแล้ว มันจะมีข้อแตกต่างกับตอนที่เรานั่ง 

 

นาที 1.37.06 - นาที 1.37.17 – อาจาย์ดังตฤณเสียงหาย 

 

นาที 1.37.18 

คุณอรสา อาจารย์คะ ปิดเสียง

 

ดังตฤณอ้าวเมื่อกี้ผมพูดไปไม่ได้ยินหรอ

 

คุณแตงโม - หายไปสักแป๊บนึงค่ะ

 

ดังตฤณเอ๊ะ อยู่ๆมันหายไปเองหรอ เอ่อ โอเค เมื่อกี้ได้ยินถึงล่าสุดตรงไหนครับ

 

คุณอรสา หายไปนิดเดียวค่ะ อาจารย์ ถึงตรงที่อาจารย์บอกว่า เวลามันเครียดก็เครียดหายใจเข้า

 

ดังตฤณ อ่ะ คือ พ้อยต์เนี่ยนะ มันอยู่ตรงที่ว่า เมื่อเราสร้างต้นแบบของจิตไว้ที่ห้องพระแล้ว ในระหว่างวันที่เราอยู่ในออฟฟิต เราต้องมาตั้งโมเดลเฉพาะตอนอยู่ในออฟฟิตขึ้นมาด้วย ก็คือว่า เวลาเครียดรู้ว่าหายใจออก เวลาเครียดรู้ว่าหายใจเข้า มันจึงจะมีอาการเลียนแบบไปในทิศทางเดียวกันกับตอนอยู่ในห้องพระ เสร็จแล้วเนี่ย ขอแค่ครั้งแรกครั้งเดียวที่คุณอรสาทำได้นะ  มาอยู่ในออฟฟิตแล้วรู้สึกว่าวุ่นวายใจ มีความเครียด มีอะไรก็ตาม เนี่ย แล้วหายใจออก มีความเครียดแล้วหายใจเข้า แค่ครั้งแรกที่ทำได้ มันจะมีครั้งที่ 2 3 4 ตามมาเรื่อยๆ  และสิ่งที่เราจะค้นพบด้วยตัวเอง  ภายในไม่กี่วันก็คือ  เมื่อมีอานาปานสติติดตามตัวมาในออฟฟิศเนี่ยนะ ภายใน 2-3 วัน จะพบว่า อาการเครียด อาการกังวล อาการพะวงถึงสิ่งต่างๆที่มัน ระดมเข้ามาในระหว่างวันเนี่ย มันจะเบาบางลง เบาบางลง ถึงแม้ว่าปริมาณงานของคุณอรสาจะยังเท่าเดิมอยู่ก็ตาม  นี่เป็นสิ่งที่จะค้นพบได้ง่ายๆเลย อันนี้รับประกันว่ามันจะเกิดขึ้นนะครับ

 

นาที 1.39.02

คุณอรสา ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์คะ

 

คุณแตงโม - ทีนี้มีบางท่านสงสัยว่า ถ้าระหว่างเราทำฝึกจิตนี่ค่ะอาจารย์ แล้วมันมีช่วงที่จิดใจเราเกเรอย่างนี้น่ะค่ะหายไปแวบนึง เราจะดึงกลับมายังไงดีคะ  อาจารย์

 

ดังตฤณ - อ่า จะแยกพูดออกเป็น 2 ประเด็น เพราะว่าเข้าใจว่าที่ถามเนี่ย ไม่ได้ถามถึงท่ามือไกด์นะ ถ้าหากว่าใจของเราตระเวณไปที่อื่น  มันไม่มีทางออกใดๆทั้งสิ้นนะ ไม่มีอุบายใดๆทั้งสิ้น เราต้องฝึกที่จะเตือนตัวเอง ให้ดึงกลับมา สู่โฟกัสที่มันควรจะโฟกัส เช่นถ้าเรากำลังจะต้องโฟกัสเรื่องงาน แล้วรู้สึกว่ามันเป็นยาขม ขอให้สังเกตนะ อาการทางใจเนี่ย สิ่งใดก็ตามที่มันเป็นยาขม ใจเนี่ยมันจะเกิดอาการต่อต้าน ไม่อยากโฟกัส ความไม่อยากโฟกัสเนี่ยมันเป็นสัญญาณบอกว่า ใจเราไม่ชอบไม่อินไม่สนุก  วิธีที่ไม่มีทางเลี่ยงก็คือว่า เราต้องทำให้ตัวเองเนี่ยนะ เหมือนกับหุ่นยนต์ที่ถูกโปรแกรม จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ให้จำโฟกัสที่มันดีที่สุด กับสิ่งที่เราไม่ชอบที่สุด  ต้องจำให้ได้  ยกตัวอย่างเช่น  เราไม่อยากอ่านเอกสารแบบนี้ พอคุณได้เอกสารแบบนี้ขึ้นมาปุ๊บเนี่ย คุณจะมีความรู้สึกยังไงที่ใจเนี่ย เหมือนกับมันเป็นขยะเหม็นเน่า ที่คุณไม่อยากเอาหน้าไปมอง ไม่อยากเอาตาไปแล พอคุณผ่านตรงนั้นไปได้ อ่ะโอเคมันต้องอ่าน ยังไงก็ต้องอ่าน พออ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่าเออตัวหนังสือที่ปรากฏนี่ มันเข้าใจได้ เข้ามาสู่ใจได้ แล้วรู้สึกดีที่อ่านจบ ให้จำความรู้สึกตรงนั้นไว้ แล้วเวลาที่ใจมันจะตระเวณออกไปที่อื่นนี่ ให้นึกถึงความรู้สึกนี้ก่อน  ก่อนที่จะกลับไปหาหน้ากระดาษที่มันเหมือนกองอึนะ พอคุณนึกถึง พูดง่ายๆนะ นึกถึงฉันทะ เอาสัญญาเก่าในทางดีกลับมา ที่มันเป็นกุศลสัญญา ที่มันเป็นความชอบใจ  ใจคุณนี่จะลดอาการต่อต้านลง จะลดการ์ดลง  แล้วเปิดโอกาสให้คุณปรับโฟกัสใหม่ได้ นี่คือสิ่งเดียวที่เราจะสามารถจัดการกับการวอกแวกของตัวเอง หรือแม้กระทั่งทำสมาธิก็ตาม ถ้าคุณทำสมาธิแบบไหนอยู่  แล้วเกิดอาการวอกแวก ให้นึกถึงภาวะที่น่าชอบใจที่สุด  ในสมาธิแบบที่คุณทำ   

 

นาที 1.42.10

แต่สำหรับท่านที่ใช้มือไกด์ อันนี้ตอบมาอีกประเด็นหนึ่ง  ถ้าใช้มือไกด์เนี่ย ขอให้สังเกตว่า อย่างท่า 2 เนี่ยนะ พอแหงนหน้าสุด หรือใครแหงนเห็นหน้าไม่ได้สุดก็ตามเนี่ย แต่ชูมือสุด มันจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจที่อัดเข้ามาเต็มปอดแบบสบายๆ แล้วก็ใจที่มันผ่อนคลาย ไม่มีความคิด ไม่มีความฟุ้งซ่าน ไม่มีมโนภาพในตัวตน ไม่มีความรู้สึกหนักๆ แบบที่มีอัตตา คนมีอัตตาเขามีกัน  ตอนที่ใจเบาที่สุด ตอนที่ใจว่างที่สุด ตอนที่ใจเรารู้สึกดีที่สุด ให้จำความรู้สึกตรงนั้นไว้ แล้วเอามาเป็นตัวตั้ง เพื่อที่จะมาท่องคำนี้เป็นคาถาเลยนะ  คาถาตามอานาปานสติสูตรเลยนะ รู้ว่ามีความสุข คือรู้เข้ามาถึงความว่าง ความโล่ง ความเบา รู้ว่ามีความสุขหายใจออก รู้ว่ามีความสุขหายใจเข้า  ตัวนี้มันจะชาร์จพลังทั้งความสุข แล้วก็พลังความรู้สึกทางกาย ให้กลับมาอยู่เรื่อยๆ คือมันจะไม่หมด มันไปต่อเรื่อยๆไม่หมด เหมือนเติมน้ำมันทีละก๊อก ทีละก๊อก ทีละก๊อก แล้วคุณจะมีความรู้สึกว่าอาการวอกแวกเนี่ย มันลดลงอย่างเห็นได้ชัด  

 

พูดง่ายๆ เอาสรุปโดยใจความก็คือว่า เอาความสุขมาเป็นพลัง ที่จะทำให้ความวอกแวกนั้นหายไปนะครับ

เอาความสุขมาเป็นยางลบจิตที่มันเหม่อ จิตที่มันวอกแวก ครับ คุณแตงโมงครับ

 

คุณแตงโม - คือ เมื่อตะกี้ ที่อาจารย์บอกว่า ตอนฝึกพลังจิตอาจจะเอาไปอยู่ที่กายภาพเป็นมือของเราก็ได้ แต่ทีนี้มีท่านนึงสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้น เราใช้การเดินได้ไหมคะอาจารย์ เป็นนับก้าวไป หนึ่ง ถึง พัน แบบนี้ค่ะ อาจารย์

 

ดังตฤณการเดินจงกรมที่ดีที่สุด เอ่อ ไม่ต้องเดินจงกรมก็ได้ เดินตรงไปเรื่อยๆ ที่ดีที่สุดเนี่ยคือให้มันมี         วิตักกะและมีวิจาระ คำว่าวิตักกะก็คือ เรารู้สึกถึงจังหวะก้าวกระทบ ที่มันตึ๊กๆๆๆ ถ้าหากว่ามันมี ตึ๊กๆๆ อยู่ในใจ อย่างนั้นเรียกว่ามีวิตักกะ มีองค์แรกของสมาธิขึ้นมา แล้วถ้าหากว่าเราสังเกตใจควบคู่ไปด้วย ว่าที่มันตึ๊กๆๆๆ อยู่นั้นเนี่ย ใจของเราหนักหรือเบา  ถ้าใจหนักสันนิษฐานว่าฟุ้งซ่าน ถ้าใจเบาสันนิษฐานว่ามันเว้นวรรคจากความฟุ้งซ่าน การเดินแบบนี้แหละที่จะเป็นการเดินให้มีสติเข้ามาอยู่กับกายใจ  และเป็นการเดินจงกรมให้มีสมาธิขึ้นมาได้จริงๆ  การนับก้าวเนี่ย 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 คุณสังเกตดูนะว่า  ตัวเลข 1 2 3 4 ที่มันเปลี่ยนไปในใจของคุณเรื่อยๆ มันไม่ซ้ำอะ มันทำให้ใจของคุณวอกแวกง่ายกว่าตอนที่จะเกิดอะไรซ้ำๆขึ้นมา อย่างที่คุณจะมารู้สึกถึงก้าวกระทบแป๊ะๆๆๆไป โดยไม่มีคำอะไรอยู่ในใจเลยเนี่ย ตรงนั้นมันจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ มากกว่าตอนที่คุณใช้คำนับในหัว  การใช้คำนับในหัว 1 2 3 4 5 6 เนี่ย มันอาจจะได้ผลในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วมันจะมักปรุงแต่งจิตของคุณให้พล่านไป ให้เฟ้อไป หรือว่ามันไม่ซ้ำที่ อะไรก็แล้วแต่ที่เราทำไม่ซ้ำเนี่ย มันจะทำให้เกิดมีวิตักกะได้ยากนะ อันนี้ขอให้สังเกตใจตัวคุณเองด้วย ถ้าหากว่าทำได้ก็โอเค อันนี้เป็นเรื่องดีเฉพาะตัวนะครับ แต่ถ้าสำหรับคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าทำไม่ได้ก็ลองมาใช้แนวทางรู้สึกถึงจังหวะเท้ากระทบต๊อกๆๆไป ดูซิว่ามันจะเกิดวิตักกะได้ไหม ถ้าใจมันสงบมีความว่างอยู่กับป๊อกๆๆอย่างเดียว อันนั้นคือมีวิจาระ บอกตัวเองได้เลยว่าการเดินของคุณนะ ไม่ว่าจะกลับไปกลับมา หรือเดินเป็นเส้นทางตรงก็ตามเนี่ย มันจะเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วนะครับ 

 

นาที 1.46.41

คุณแตงโม – ก็คือไม่ต้องนับตัวเลขนะคะ อาจารย์

 

ดังตฤณ คืออย่างนี้ ไม่ใช่ผมตอบอย่างนี้นะ ว่าไม่ต้องนับตัวเลข ผมตอบว่า ถ้าจะทำอะไรก็ตามให้เกิดสมาธิ ดูองค์ประกอบของสมาธิเป็นหลัก คือมีวิตักกะไหม มีวิจาระไหม ถ้ามีวิตักกะ มีวิจาระ อันนั้นดีหมดจะนับตัวเลขหรือไม่นับตัวเลขก็ตาม

 

นาที 1.47.10

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ทีนี้บางท่านก็ถามว่า อย่างเราทำสมาธิแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยู่ดีๆแล้วรู้สึกน้ำตาไหลเนี่ยเป็นเกิดจากความรู้สึกภายใน หรือเกิดจากร่างกายคะอาจารย์ หรือว่าคิดไปเองคะอาจารย์ 

 

ดังตฤณ ขอให้สังเกตุนะ คืออาการน้ำตาไหลเนี่ยมันจะมีหลักๆคือว่าเรารู้สึกดี เรารู้สึกเบา เรารู้สึกเหมือนกับว่าภาวะทางกายเนี่ยมันเปลี่ยนไปในทางที่ปราณีตขึ้น พูดง่ายๆว่าถ้าโล่งเบาถ้าจิตแจ่มใสในแบบที่มีความสุขอย่างมโหฬารน้ำตามันออกมาเป็นเรื่องปกติมาก เขาเรียกว่า เกิดการหลั่งน้ำตาจากโสมนัสอย่างใหญ่ แต่บางคน ยังไม่มีโสมนัสแบบนั้นเลย ยังไม่ได้ปีติอย่างใหญ่หลวงแต่น้ำตาไหลเนี่ย มันเกิดจากอะไร? ตรงนี้เนี่ย กลไกลกันทำงานที่ซับซ้อนของจิตนะครับ แต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างบางคนเนี่ยเกิดความรู้สึกว่า พออยู่นิ่งๆปกติเนี่ยมันไม่นิ่ง นิ่งไม่ได้ มีความฟุ้งยุ่งๆๆ แล้วตอนที่ฟุ้งยุ่งๆๆ มักจะเป็นเรื่องไม่ดี ไปฟุ้งเรื่องที่คิดไม่ดี คิดโน่นคิดนี่ในทางที่จะรู้สึกทรมานใจ ในภายหลัง หรือรู้สึกผิดจากความผิดอะไรที่ทำมา  ทีนี้พอแค่มารู้สึกว่า เออมันหยุดได้ หยุดได้แค่จังหวะสั้นๆ เออเกิดความรู้สึกว่าไม่ต้องคิดอะไรแย่ๆเนี่ยมันดีนะ แค่นี้น้ำตาก็ไหลได้แล้วสำหรับบางคนนะ หรือสำหรับบางคนเนี่ย เกิดความว่า เฮ้อ!รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยมาทั้งชีวิต อยากจะหยุดแต่หยุดไม่ได้ แล้วเสร็จแล้วพอมาทำสมาธิเนี่ยมัน เออ!มันหยุดได้นิ ไม่ใช่หยุดที่ร่างกาย ไม่ใช่หยุดที่ทำงาน แต่ว่าหยุดที่จิต หยุดที่อารมณ์ที่มันแบบว่าเหนื่อย หยุดที่อารมณ์ที่มันอยากร้องให้ หยุดที่อารมณ์ที่มันอยากแบบว่า เออ! ไปให้พ้นๆโลกนี้สักที อะไรอย่างเนี่ย พอมันมันหยุดแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า จริงๆว่างอยู่เฉยๆก็ได้ ยังไม่ต้องหยุดยังไม่ต้องอะไรภายนอก มาหยุดอยู่ที่ใจ แค่นี้ก็น้ำตาไหลได้เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับว่าความปรุงแต่งของแต่ละคนนะครับ มีต้นเหตุ มีเหตุปัจจัยอะไรเป็นตัวบันดาลนะครับ มันไม่ได้แน่นอนมันไม่ได้ฟิคมันไม่ได้ตายตัวนะครับ

 

นาที 1.49.42

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ในช่องแชทมีคำถามนะคะว่า เวลาที่เรานั่งสมาธินะคะหรือว่าใช้มือไกด์ เนี่ย ระหว่างนั่งจะรู้สึกหนักๆบริเวณศีรษะด้านหน้าค่ะ ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องปกติหรือเปล่าคะอาจารย์

 

ดังตฤณ ที่นี้คำถามนี้ผมต้องดูของจริงด้วยว่าเวลาคุณทำคุณทำยังไง อันนี้พูดตามเนื้อผ้านะ สมมุติว่าคุณนั่งไปในแบบท่าหนึ่งเนี่ย คุณนั่งก้มหน้าหักคอ เสร็จแล้วเนี่ยทุกคนรู้อยู่แล้วว่าสมองที่ทำหน้าที่คิด มันอยู่ส่วนหน้าเป็นหลัก ที่มันคิดหนักๆทั้งหลาย คิดฟุ้งซ่านหรือว่ามีความตั้งใจอะไรที่จะโฟกัสเนี่ย มันอยู่กับการทำงานของสมองส่วนหน้า ถ้าหากว่ามันมีความรู้สึกหนักๆขึ้นมาแถวหน้าผาก ให้สัณนิษฐานเลยว่า คุณไม่ได้ทำสมาธิอยู่ คุณอยู่ในอาการคิด อยู่ในอาการคิดเยอะ จะเป็นเพราะว่าท่านั่งก้มหน้าก็ตาม จะเป็นเพราะว่ามันเกร็งตัวก็ตาม หรือว่าจะมีสาเหตุอื่นใดประการใดก็ตาม ที่ทำให้คุณไม่ยอมหยุดคิด แต่นึกว่าตัวเองกำลังทำสมาธิอยู่ ที่แท้เนี่ย สมองทำงานในโหมดคิด คิดเยอะ คิดหนัก คิดมาก ตรงนี้มันก็เป็นเหตุ ให้เกิดความหนักขึ้นมาเหมือนกันนะครับ ตรงนี้มันต้องเห็นตัวถึงจะบอกได้ ถึงจะชี้ได้

 

คุณแตงโม - ค่ะถ้าอย่างนั้น พี่วลัยพรสะดวกเปิดกล้องให้อาจารย์ดังตฤณดูท่าไหมค่ะ เราจะได้เห็นไปพร้อมๆกันเลยนะคะ ว่าเป็นยังไงนะคะ  

 

ดังตฤณไม่เป็นไร เพราะอันนี้เข้าใจนะ

 

คุณแตงโม - พี่วลัยพรเปิดกล้องเปิดเสียงแล้วนะคะอาจารย์ แต่เหมือนกล้องจะดำอยู่นะคะ 

 

นาที 1.52.10

คุณแตงโม - ค่ะเดี๋ยวระหว่างรอพี่วลัยพรนะคะ ก็มีคำถามว่าเวลามีผลต่อการนั่งสมาธิไหมคะอาจารย์

 

ดังตฤณมีครับ คือต้องทำความเข้าใจอย่างนี้ก่อนนะว่า คุณภาพกับปริมาณเนี่ย มันแยกเป็นต่างหากจากกันนะ 

 

คุณแตงโม เมื่อกี้เสียงมันไม่ชัดอ่ะค่ะ

 

ดังตฤณตอนนี้ชัดไหมครับ

 

คุณแตงโม - ดีขึ้นค่ะ อาจารย์

 

ดังตฤณ เอ่อต้องแยกอย่างนี้นะ คุณภาพกับปริมาณ ทำให้หลายๆคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการนั่งสมาธิแบบผิดพลาดใหญ่หลวงเลยนะครับ สิ่งที่เป็นเหมือนกับความเข้าใจผิดที่สำคัญที่สุดก็คือว่ายิ่งนั่งนานยิ่งเก่ง ผมมองย้อน อันนี้พูดถึงตัวเองนะ มองย้อนกลับไปเนี่ยจะรู้เลยนะว่า ยิ่งนั่งนานเนี่ยบางทีเนี่ย ของตัวเองนะนี่พูดถึงตัวเองนะ ยิ่งนั่งนานเท่าไหร่ยิ่งโง่มากขึ้นเท่านั้น คือไปนั่งโง่อยู่เป็นชั่วโมงๆไม่รู้อะไรเลย อย่างนั้นเนี่ยไม่ได้เรียกว่านั่งสมาธิ ไม่ได้เรียกว่าได้อะไรขึ้นมา ตรงกันข้าม บางครั้งถ้านั่งแบบฉลาด คือมันรู้ว่าจะรู้อะไร แล้วก็ทำให้จิตสามารถตื่น มีความพร้อมมีสติขึ้นมา บางทีแค่ 5 นาที 10 นาทีนะ มันดีกว่านั่งเป็นชั่วโมงๆ เพราะฉะนั้นคือสรุปว่า เรื่องของเวลามันไม่ได้สำคัญเท่าเรื่องของคุณภาพ การที่คุณมีคุณภาพ มีความเข้าใจว่าจะนั่งสมาธิเอาอะไร ทำยังไงให้จิตมันตื่น ทำยังไงให้มันมีสติ ทำยังไงให้มันพร้อมรู้เข้ามาในกายในใจนี้ สำคัญกว่าเรื่องเวลา แต่เวลาเนี่ยแน่นอนถ้าหากว่าคุณยิ่งนั่งถูก แล้วก็ยิ่งนั่งนาน มันแปลว่ายิ่งดีพอกพูนความดียิ่งๆขึ้นไป แต่ถ้าหากว่านั่งผิด นั่งผิดทิศ ผิดทาง แล้วไม่รู้อะไรเลย มีแต่โมหะครอบ มีแต่อะไรดำๆมืดๆครอบ ยิ่งนั่งนานมันยิ่งโง่ ตรงนี้พูดง่ายๆ ถ้าทำถูกยิ่งนั่งนานยิ่งฉลาด แต่ถ้าทำผิดยิ่งนั่งนานมันยิ่งโง่ ความโง่นี้ไม่ใช่โง่เรื่องไอคิวนะ แต่โง่เรื่องที่ว่าจิตของเราเนี่ยมันจะมืดมันหม่น มันจะหมอง มันจะขาดสติ นะครับ

 

นาที 1.54.44

ดังตฤณ  เห็นคุณวลัยพรเข้ามาแล้วนะครับ อันดับแรกเลย คืออันนี้ผมบอกคุณวลัยพรก่อนเลยนะครับ อันดับแรกเลยนะครับ สิ่งที่มันเป็นพื้นจิตพื้นใจของคุณวลัยพรเนี่ย มันคิดเยอะอยู่แล้ว เป็นคนคิดเยอะอยู่แล้ว อันนี้อันดับแรกนะ เราพูดกันเพื่อที่จะให้เข้าใจนะครับที่มาที่ไปนะครับ พอเราเป็นคนคิดเยอะเนี่ยหมายความว่าอะไร หมายความว่าบางทีเนี่ยนะสมองส่วนหน้าของคุณวลัยพรเนี่ยทำงานหนัก ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น บางครั้งเราอาจจะทำงานในลักษณะขี่ช้างจับตั๊กแตนโดยไม่รู้ตัว นี่ไม่ได้พูดเรื่องสมาธินะพูดเรื่องในระหว่างวันเลย บางทีเนี่ยคุณวลัยพรนะ รู้สึกเวลาที่คิดขึ้นมาเนี่ยมันจะอึดอัดที่ตรงนี้ คิดหนักๆแล้วมันอึดอัดที่ตรงนี้ขึ้นมา นั่นสะท้อนแสดงว่าบางทีความคิดของเรามีผลให้ร่างกายเนี่ยเกิดความเกร็งเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ขอแค่ว่าตรงนี้มันทำงานหนักพอ ร่างกายเนี่ยมันถูกกดดันแล้ว ทีนี้คาแรคเตอร์ในการคิดของเราเนี่ยมีผลสำคัญ Significant มีผลสำคัญกับการทำสมาธิ กล่าวคือขอเพียงคุณวลัยพร นั่งสมาธิแล้วก้มหน้าไม่เงยหน้าเนี่ยแค่นี้มีผลแล้ว ที่จะทำให้ในโหมดความคิดไม่ยอมหยุด อย่างพอเริ่มต้นขึ้นมานะแค่เราก้มหน้านิดเดียว ตอนที่คุณวลัยพรทำสมาธิแบบว่าจ้องลมหายใจ หรือบริกรรมอะไรก็แล้ว แต่ที่ไม่ใช้มือไกด์นะครับ จะสังเกตได้ว่าเมื่อไหร่ที่เราก้มหน้าไปเรื่อยๆนะ ถ้าไม่หลับมันก็มีอีกอย่างหนึ่งคือรู้สึกเกร็ง รู้สึกเครียด รู้สึกเหมือนมีอะไรเป็นก้อนๆขึ้นมา ตรงนี้มันเป็นสัณญาณบอก มันเป็นเครื่องฟ้องว่า สมองที่มันทำงานหนักเกินไปเนี่ย มีผล แม้กระทั่งนึกว่ากำลังทำสมาธิอยู่  แต่ที่แท้จิตไม่ได้พักเลย จิตมันทำงานอยู่ตลอด มันไม่ได้สงบ อันนี้เป็นข้อสังเกตแรก

 

นาที 1.57.08

ข้อที่สองนะครับ ความคาดหวัง ขอให้สังเกตว่า แม้ในชีวิตปกตินะการที่เราคิดเยอะๆเนี่ย ความคาดหวังของเราจะสูงเกินคนธรรมดา เวลาที่เวลาที่มีเรื่องอะไรแค่เล็กๆน้อยๆ มันไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เราอาจผิดหวังได้มากกว่าคนทั่วไปในเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่ามีใครยิ้มให้เราทุกวัน แล้ววันนึงเราไปเจอเขาไม่ยิ้มแค่นี้มันคิดมากแล้ว ความคาดหวังมันผิดไป แล้วเราจะรู้สึกเศร้าหรือว่าเสียใจขึ้นมา จากเรื่องไม่เป็นเรื่องเล็กๆตรงนั้น ทั้งๆที่ถ้าเป็นคนอื่นเนี่ยก็เห็น อ้าว!แกไม่ยิ้มเหรอ ไม่ยิ้มก็ไม่เป็นไร ไม่สนใจ แต่ของเราไม่ใช่ของเราจะไปอยู่กับตรงนั้น แล้วจิตที่ผูกอยู่กับความคาดหวัง แล้วก็เสียใจอย่างแรงเนี่ย มันมีผลให้ใจของเราเนี่ย มันตกง่าย ถามว่ามีผลกับสมาธิไหม? มีผลอย่างอย่างยิ่งเลยครับ คือสังเกตนะ เวลาที่เราทำสมาธิได้  วันไหนที่คุณวลัยพรมีความรู้สึกว่าใจมันว่างๆเบาๆ เกิดความรู้สึกดีๆขึ้นมา มันจะรู้สึกดีอกดีใจ มันจะรู้สึกร่าเริงร่างเริงมากๆ แต่ถ้าหากวันไหนกำลังเศร้าเรื่องอะไรมาก็ตาม แล้วมานั่งสมาธิ เสร็จแล้วไม่ได้ผล ไม่ว่างไม่โล่งขึ้นมา เราจะยิ่งรู้สึกเหมือนว่าโดนกระหน่ำซ้ำ คือโดนซ้ำเติมอ่ะ นี่คือเรื่องที่คุณวลัยพรต้องทำความเข้าใจนะครับ

 

นาที 1.58.44

อันดับแรก คิดเยอะคิดเยอะเกินเหตุขี่ช้างจับตั๊กแตน อันดับสอง คาดหวังสูง เป็นคนคาดหวังสูงมากๆนะ เวลาทำสมาธิเนี่ยต่อให้เราใช้มือไกด์ก็ตาม จังหวะไหนที่มันพูดง่ายๆว่ามันไม่แฮปปี้อ่ะ มันรู้สึกอึดอัดขึ้นมาเล็กๆน้อยๆเนี่ย ใจเราจะไปเกาะอยู่กับตรงนั้นแล้ว นี่ถ้าเราสังเกตตรงนี้ได้ สังเกตตรงนี้อ่านตัวเองออก เกมจะเปลี่ยนเลยนะเกมจะพลิกเลยนะ กล่าวคือ คุณวลัยพรสามารถอาศัยจังหวะที่นั่งทำสมาธินี่แหละ เปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจเปลี่ยนนิสัยทางความคิดเปลี่ยนนิสัยทางจิตของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราทำสมาธิแล้วเกิดความอึดอัดขึ้นมา ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนก็ตามจังหวะไหนก็ตาม เสร็จแล้วนะครับ ลองสังเกตว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีสติรู้ทัน แล้วเราสามารถเห็นว่าความรู้สึกหนักๆอึ้งๆ หรือไม่สบายนั้นเนี่ย แป๊บนึงเปลี่ยนท่ามันก็ผ่อนคลาย มันจะไม่เกิดอาการติดใจอยู่กับสิ่งที่เราไม่พอใจ มันจะเปลี่ยนไปหาสิ่งที่น่าชอบใจมากกว่าเดิม  ตรงนี้แหละที่พูดง่ายๆนะเราเปลี่ยนจากอาการจากที่คิดมากเป็นคิดน้อยลง เพราะเห็นว่าจริงๆแล้วสิ่งที่เราไม่ชอบใจเนี่ย สามารถที่จะเปลี่ยนไปได้ และความคาดหวังว่ามันจะต้องดีอยู่ตลอดเวลาเนี่ย มันจะเปลี่ยนไปเป็นว่า เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเนี่ยมันขึ้นลงๆเอาแน่เอานอนไม่ได้  พออาการคิดมากขี่ช้างจับตั๊กแตน การคาดหวังสูงเกินไปมันลดลง ถอยลงเรื่อยๆในระหว่างทำสมาธิ  สิ่งที่คุณวลัยพรจะพบในระหว่างวันก็คือ มีความรู้สึกว่าใจของเราเนี่ยเปิดมากขึ้น สบายมากขึ้น แล้วก็คิดน้อยลง  อะ ผมขอให้คุณวลัยพรลองนั่งให้ผมดูตอนนี้เลย แล้วเดี๋ยวผมจะชี้ว่าตรงไหนนะมันเป็นบ่อเกิดของความรู้สึกเครียดๆหนักๆขึ้นมานะครับ  

 

(คุณวลัยพรนั่งสมาธิ)

 

นาที 2.01.13

ดังตฤณ อะเนี่ยดูอันดับแรกเลยนะ คุณวลัยพรนั่งต่อไปเลย เดี๋ยวผมจะบอกให้นะ อันดับแรกเนี่ย พอขึ้นต้นมาปุ๊บเนี่ย ใจของคุณวลัยพรอยู่ในอาการควานหา เห็นไหม? มันมีความรู้สึกแน่นๆอยู่ บางๆอยู่ที่แถวๆหน้าอกเนี่ย เสร็จแล้วเนี่ย ในหัวมันมีอาการควานหา  เหมือนหาอะไรก็ไม่รู้ ทั้งๆที่เราพยายามกำหนดโดยความคิดของเราอะ พยายามกำหนดแต่จริงๆเนี่ย ใจอ่ะมันไม่ได้กำหนดตาม เห็นไหมมันหนักๆอึ้งอยู่  ที่นี้ทดลองง่ายๆ ลองเงยหน้าขึ้นมาเงยหน้าขึ้นมาเนี่ย เนี่ยตัวเนี้ยเห็นไหมอาการที่มันคาๆอยู่ในอกเนี่ยมันเบาบางลง รู้สึกใช่ไหม? พอมันเบาบางลงเห็นไหมอาการควานหามันลดลงตามไปด้วย แค่เงยหน้าขึ้นมาเนี่ยแก้ปัญหาไปได้ 70% แล้ว เห็นไหมขึ้นต้นมาเนี่ยถ้าอยู่ในอาการควานแบบเมื่อกี้เนี่ย ยิ่งควานมันจะยิ่งหนักขึ้นๆ แต่พอเราเงยหน้าขึ้นมาแบบนี้ปุ๊บเนี่ยมันเบาลงทันที แล้วถ้ายิ่งเรามีมือไกด์นะครับ มาเป็นตัวกำกับสติ มาช่วยให้เรารู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกได้ยาวขึ้น อาการควานหานี้จะหายไปเป็นปลิดทิ้ง มีแต่อาการรู้สึกว่าลมหายใจนะ มือไปถึงไหนลมหายใจไปถึงนั่น เดี๋ยวถ้าคุณวลัยพรสนใจเนี่ยลองกลับไปดูแอนิเมชั่นแล้วทำตามไปด้วย จะพบว่าตัวเองเนี่ยทำสมาธิได้ดีขึ้นมาก แล้วฝากไว้นิดนึงระหว่างวันของคุณวลัยพรมันจะมีอาการหนึ่ง อันนี้ขอพูดเพื่อให้ทุกอย่างมันดีขึ้นแบบทันตาภายในวันสองวันนะ อาการน้อยใจถ้ามันเกิดขึ้นขอให้สังเกตตัวเอง มันจะมีอาการก้มหน้าก้มตาเป็นหลัก เสร็จแล้วพอเนี่ยสังเกตออกมีสติรู้เท่าทันว่าเริ่มน้อยใจแล้วเริ่มเสียใจแล้ว จะน้อยใจวาสนาหรือน้อยใจผู้คนก็ตามเนี่ย เงยหน้าขึ้น แล้วคุณวลัยพรจะพบว่าทุกอย่างดีขึ้นทันที สถานการณ์ทางใจดีขึ้นทันที ณ เวลานั้น พอมันดีขึ้นเนี่ยเราก็แค่สังเกตว่ากำลังหายใจออกหรือว่าหายใจเข้าอยู่ แค่นั้นแหละ ตรงนี้พอมันมีก้าวแรกมันจะมีก้าวที่ สอง สาม สี่ ตามมา ทุกอย่างจะดีขึ้นภายใน 2-3 วันแล้วก็มันจะกลายเป็นความเคยชินแบบใหม่ แบบที่คุณวลัยพรจะมีความรู้สึกขึ้นมาเลยว่า เออ! เข้าใจละ ที่ผ่านมาเนี่ย มันไม่ได้แย่อย่างที่คิด คือบางอย่างเนี่ยมันไม่ดีจริงๆ แต่ว่ามันไม่ได้แย่อย่างที่คิด ที่คิดนั่นแหละมันทำให้แย่กว่าที่เป็น

 

คุณวลัยพร -        แล้วก็คือ ถ้าเผื่อว่าเอ่อ คือมีความรู้สึกว่าหาย หายไปแล้วเนี่ย เอาหน้าปกติใช่ไหมค่ะ หรือว่าเอาเงยไว้ก่อนตลอด

 

ดังตฤณ เอ่ออย่างนี้นะ คุณวลัยพรมองอย่างนี้ก็แล้วกันว่า ถ้าไม่ตั้งใจเงยเนี่ย ส่วนใหญ่นะมันจะสมยอมยินยอมที่จะก้มต่ำ ของคุณวลัยพรนะ อันนี้ลองไปสังเกตตัวเองว่าจริงหรือเปล่านะ ถ้าหากว่าเราไม่ตั้งใจเงยขึ้นมาเนี่ย มันจะยินยอมไปมีความเคยชินแบบเดิมๆ ตามอำนาจความเคยชินเดิมที่ครอบงำใจเรามานานเนี่ยนะให้ก้มลงต่ำ พอก้มต่ำปุ๊บ มันมีอาการหนึ่งนะครับ มันมีความรู้สึกว่าจ๋อยๆ สองมีอาการพร้อมจะจำนน สามคือมีอาการพร้อมจะคิดเยอะแบบขี่ช้างจับตั๊กแตน เนี่ยสามข้อนี้ที่มันจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการก้มหน้า แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเงยหน้า โหมดความเคยชินแบบเดิมๆเนี่ยจะเข้ามาครอบงำจิตใจเรายากขึ้น ตรงนี้ขอให้ตั้งข้อสังเกต พูดง่ายๆนะ ถ้าคุณวลัยพรฝึกเงยหน้าบ่อยๆชีวิตเปลี่ยนเลยนะ เปลี่ยนภายใน 2-3 วันให้เห็นเลย

 

คุณวลัยพร -       ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

 

นาที 2.05.35

ดังตฤณ  ครับคุณแตงโมครับ

 

คุณแตงโม - ค่ะ ขอบคุณมากนะคะอาจารย์ ทีนี้ก็มีหลังไมค์มาแต่อาจจะไม่เกี่ยวกับที่อาจารย์สอนนะคะ แต่ว่าอาจารย์ สามารถรู้ได้ไงคะว่าภายในจิตใจของท่านที่กำลังนั่งสมาธินี่เป็นอย่างไร จากการดูท่านั่งสมาธิค่ะ อาจารย์

 

ดังตฤณ รู้ได้ไง ว่าผมรู้ใจคนอื่น 

 

คุณแตงโม - ใช่ค่ะอาจารย์

 

ดังตฤณ แล้วคุณรู้ได้ยังไงว่าผมรู้ อันนี้เนี่ยจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นะ สอนไว้ในอานาปานสติสูตรเลย ลองไปอ่านดู อ่า ถ้ารู้ลมหายใจตัวเองเนี่ย มันก็จะสามารถรู้ลมหายใจคนอื่น เหมือนกับเนี่ย พอมาใช้ท่าไกด์นี่ยิ่งง่ายไปกันใหญ่เลยนะ ไปดู ดูได้ชัดเลย ย้อนกลับไปดูดิ ว่าใครหายใจยาว ใครหายใจสั้น ใครจะหายใจแล้วเนี่ยจิตใจสงบ ใครหายใจแล้วจิตใจฟุ้งซ่าน มันสามารถเห็นได้ แล้วถ้าหากขึ้นต้นมาสามารถสังเกตลมหายใจตัวเอง แล้วก็สังเกตลมหายใจคนอื่นได้ว่ามันเป็นต้นเหตุให้จิตใจเป็นยังไงอยู่ ตัวนี้มันก็จะรู้อยู่ในทิศทางที่รู้มากขึ้นๆ แต่ไม่ใช่เพื่อที่จะไปเอาเปรียบทางวิญญาณกับใครเขา ไปรู้วาระจิตคนอื่นเสร็จแล้วไปเอาเปรียบเขาหรือว่าไปโกงเขา หรือว่าไปล่อลวงเขาในทางที่มันจะเอาประโยชน์เข้าตัว อะไรอย่างนั้นละบาปหนัก แต่ถ้าหากว่าเป็นไปแบบที่พระพุทธเจ้าท่านสอน รู้ของตัวเองอย่างไรรู้ของคนอื่นอย่างนั้น รู้ลมหายใจตัวเองก็รู้ลมหายใจคนอื่น รู้ความสุขตัวเอง ก็รู้ความสุขคนอื่น รู้ความทุกข์ตัวเอง ก็รู้ความทุกข์ของคนอื่น สังเกตอย่างนี้ไปเรื่อยๆเพื่อที่จะให้เห็นว่าทั้งของเราทั้งของเขา ทั้งฝั่งนี้ทั้งฝั่งโน้นมีความเสมอกันคือไม่เที่ยง เป็นไปตามเหตุปัจจัย สักแต่เป็นรูปนามไม่มีบุคคล อย่างนี้จะได้ประโยชน์ ยิ่งเป็นบุญที่ยิ่งกว่าเหนือบุญทั้งปวงนะครับ มันไม่ใช่อันนี้ไม่ใช่คำแค่เล่นๆนะแต่เป็นบุญเหนือบุญทั้งปวงจริงๆ เพราะยิ่งเรามีจิตที่มารู้ความจริงเกี่ยวกับรูปนามตัวเองและคนอื่นโดยความเสมอกันมากขึ้นเท่าไหร่ ใจเราจะยิ่งเลิกแบ่งเขาแบ่งเรา เลิกที่จะคิดว่านี่ข้างนี้นั่นข้างโน้น และเอาเปรียบกันหรือว่ามีโทสะใส่กัน ตัวนี้แหละที่ในที่สุดแล้วมันจะไปถึงที่สุขทุกข์ ก็เอาเป็นตอบอย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ

 

นาที 2.08.13

คุณแตงโม - ค่ะ อาจารย์ ทีนี้ก็มีคำถามน่าสนใจนะคะถามว่า อย่างเช่นถ้ามีหลายอย่างเข้ามากระทบพร้อมๆกัน อย่างเช่นคือต้องการสมาธิที่ต้องการการทำสมาธิที่รวดเร็ว  อย่างเช่น หนูจะต้องพรีเซ็นท์งาน ในเวทีที่คนฟังเยอะๆอย่างนี้ หนูจะมีวิธี สมาธิยังไงในเวลาไม่ถึง 1นาทีด้วยซ้ำ แบบนี้เนี่ยนะคะอาจารย์

 

ดังตฤณอะเนี่ย เดี๋ยวผมจะขอเอามาเป็นตัวอย่างของจริงเลยก็แล้วกันนะ ที่เมื่อกี้ฉายให้ดูไปแล้วขอฉายซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  (เปิดคลิป) อย่างพอใช้มือไกด์ไปเนี่ย จนมีความชำนาญมีความเชี่ยวชาญ ขนาดที่ว่าแค่กำหนดรู้ขึ้นมาแล้วเกิดปีติทันที มีความสุขขึ้นมาทันที ตรงนี้ถามว่าเวลาที่เรามองคลิปที่กำลังปรากฏอยู่นี้ ถามตัวเอง ถามใจตัวเองแล้วเกิดความรู้สึกยังไงขึ้นมา ถ้าใจรู้สึกโล่ง ถ้าใจรู้สึกอยากยิ้มตาม ถ้าใจรู้สึกว่ามีปีติ ถ้าใจรู้สึกมีความสบาย นั่นแหละคือกำลัง นั่นแหละคือพลังชนิดหนึ่ง  คำตอบง่ายๆก็คือว่า ถ้าคุณใช้มือไกด์เป็น มาอยู่กับลมหายใจได้ ลมหายใจนี่นะถ้าหายใจเป็นนะ คุณสามารถที่จะมีพลังขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ สามารถมีความสงบขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ สามารถมีกำลังใจขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ สามารถพื้นฟูสภาพจิตขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้  แค่พรีเซ็นท์งานเนี่ยๆจิ๊บๆเลย ถ้าหายใจเป็นนะ แต่เวลาคนสอนหายใจกันเนี่ยเขาจะสอนกันแค่ว่าหายใจลึกๆ หายใจยาวๆ แต่ถ้าการหายใจลึกๆของคุณเนี่ยมันไปอัดให้อกเนี่ยเกิดความเครียดขึ้นมาแทนที่มันจะดีขึ้นมันกลับยิ่งแย่ลงไปอีก เพราะฉะนั้นต้องฝึกหายใจให้เป็น คำว่าหายใจเป็นไม่ใช่หายใจลึกๆอย่างเดียว ไม่ใช่หายใจลึกๆท่าเดียว แต่หายใจเป็น ซึ่งอันนี้พูดมาทั้งตอนนี้แล้วลองย้อนกลับไปดูได้นะครับ

นาที 2.10.25

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ทีนี้เนี่ย อยากลองพักนะคะ มีท่านให้อยากให้อาจารย์ดังตฤณดูท่าจะนั่งสมาธิไหมคะ เพราะว่าเป็นโอกาสที่ดีเลยนะคะที่จะมีอาจารย์มานั่งพูดคุยแล้วก็โค้ชชิ่งให้กันตัวต่อตัวเลยนะคะ ไม่ต้องเขินค่ะ ค่ะ คุณพี่ยศวดีนะคะ เปิดกล้องนะคะ 

 

คุณยศวดี -  อ่อ ไม่ได้จะให้อาจารย์ดูนะคะ ขออภัยค่ะ คือจะมีคำถามนิดเดียวค่ะอาจารย์คือย้อนกลับไปตรงที่มีคำถามที่ว่า อาจารย์แนะนำว่าให้นึกถึงความสบายหรือความสุขที่เกิดจากการทำสมาธินะค่ะ  แต่ในบางกรณีที่บางคนอาจจะยังไม่สัมผัสตรงนั้นนะคะอาจารย์ ก็เลยจะถามอาจารย์ว่า ถ้าเราไปนึกถึงความสุขอื่นเช่น การทำทานหรือการทำดีใดๆที่ตัวเองนึกแล้วมันมีความสุขนะค่ะอาจารย์ มันจะทำให้เราฟุ้งซ่านจากการทำอานาปานสติไหมคะ

 

ดังตฤณ เข้าใจคำถามนะครับ คืออย่างนี้นะคุณยศวดี คือเวลาที่เราพูดถึงความสุขในการทำสมาธิ เราพูดถึงปัญญาระดับภาวนา ไม่ใช่พูดถึงปัญญาระดับจินตามยปัญญา คำว่าจินตามยปัญญานั้นหมายถึงว่าต้องนึกเอา ความสุขที่เคยเกิดขึ้นแล้วเช่นการทำทาน ความชุ่มชื่นนะครับ ตรงนี้ถามว่าใช้ได้ไหม ถ้าหากว่าการทำทานครั้งนั้นของเรา มันเป็นเหตุให้ใจของเราในปัจจุบันเนี่ยเกิดโสมมนัส เกิความสุขขึ้นมาได้จริงๆกลับมาได้จริงๆ ตัวนี้เนี่ยใช้ได้ คือต้องมีความชุ่มชื่นขึ้นมาจริงๆนะ มีความชุ่มชื่นมีความสุข รู้ว่าเออเนี่ยที่เราเคยไปช่วยคนไว้ มันมีความรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจนึกถึงทีไรเนี่ยมันยังแช่มชื่นขึ้นมาอีก มันยังเกิดความรู้สึกปีติ มันยังเกิดความรู้สึกว่าใช่แล้วที่เราทำลงไปเนี่ยมันดีที่สุดแล้ว แบบนี้เรียกว่าเป็นสุขเวทนาเป็นความสุขหรือเป็นปีติที่มันเกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะอาศัยเหตุในอดีตก็ตาม ถ้าหากว่ามีความสุขแล้วรู้ว่าหายใจออกนะมีความสุขหายใจเข้าและความสุขนั้นอยู่นานอันนี้มันก็จะกลายเป็นบุญพบบุญ คือหมายความว่า เรามีความสุขจากการระลึกถึงคุณที่ทำไว้แล้ว แล้วมาเกิดขึ้นในวันนี้อีก แล้วก็เลี้ยงมีตัวหล่อเลี้ยงเป็นการตั้งสติหายใจออกตั้งสติหายใจเข้าพร้อมกันไป สิ่งที่เกิดขึ้น มันจะได้ทำบุญแล้วก็ได้ทั้งสติ ได้ทั้งจินตามยะปัญญาและภาวนามยปัญญาได้ทั้งบุญเก่าที่มันขยายขนาดขึ้นแล้วก็ได้ทั้งบุญใหม่ที่มีสติตั้งอยู่กับอานาปานสติได้ครับ

 

คุณยศวดี -        ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ 

 

 

 

 

นาที 2.13.42

คุณแตงโม - ขอบคุณมากเลยนะคะ เหมือนหลายท่านจะยังไม่กล้าเปิดกล้องนะคะอาจารย์ แต่ก็มีคำถามเรื่อยๆนะคะ ทีนี้มีท่านหนึ่งนะคะถามว่า เวลาฝึกสมาธิ เรารู้สึกว่าตัวเราขยาย แต่บางครั้งก็รู้สึกเหมือนเรากำลังตกจากที่สูงเป็นเรื่องปกติไหมคะ

 

ดังตฤณ - เวลาที่เรารู้สึกตัวขยายร่างกายเท่าเดิม แต่สิ่งที่ขยายจริงๆคือจิต ส่วนตกจากที่สูงนี่อันนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึง เดิมฐานที่ตั้งของจิตเนี่ยนะมันอยู่ที่นี่ความคิด แต่ถามว่าฐานของจิตจริงๆอยู่ที่ไหน มันอยู่ที่นี่ มันอยู่ที่นี่ มันอยู่แถวๆนี้ อย่าไปเจาะจงนะว่าอยู่ตรงหน้าอกร่องไหน หรือว่าหัวใจชิ้นใดนะครับ เนื้อหัวใจชิ้นใด แต่ให้ทำความรับรู้อย่างนี้ว่า เดิมเนี่ยจิต มันไปคลุก มันไปผสม มันไปรวมอยู่กับสมอง พอทำสมาธิแล้ว แล้วมันเริ่มตกกลับมาที่ฐานเดิมคือมันเลิกคิด มันจะมีความรู้สึกเหมือนตกวูบมา วูบมาที่ไหน จากหัวมาถึงอกนั่นแหละ แต่ว่าในประสบการณ์ภายในเนี่ย บางทีมันเหมือนตกเหวจากที่สูง สูงลิบเลย มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเกิดการปรุงแต่งทางใจของเราขึ้นมาอย่างไรให้เกิดความรู้สึกไปแบบนั้น  เอาง่ายๆคือ จากเดิมที่มีสำนึกคิดอ่านปกติ พอมันตกภวังค์ คำว่าภวังค์เนี่ยก็คือลงไปอยู่กับที่ฐานเดิมที่จิตมันพื้นจิตพื้นใจมันอยู่จริงๆ แต่ภวังค์นั้นยังแบ่งออกไปอีก เป็นภวังค์ขาว ภวังค์มืด เป็นภวังค์สมาธิ หรือว่าเป็นภวังค์หลับ ผมจะบอกคร่าวๆง่ายๆ เป็นคำตอบให้เข้าใจแล้วฟังง่ายที่สุดนะครับ  ภวังค์มีอยู่ 2 แบบ ภวังค์หลับ กับ ภวังค์สมาธิ

 

ภวังค์หลับ หมายความว่าคุณนั่งสมาธิไปแล้วจิตมันหาย สติมันหาย มันหลับไปเลย แล้วก็ฝัน มีนิมิตฝัน แล้วก็ตื่นขึ้นมาเหมือนคนที่หลับฝันทุกประการ

 

แต่ถ้าหากว่าเป็นภวังค์สมาธิ สิ่งที่แตกต่างไปก็คือว่า มันจะวูบแป๊บเดียว เดี๋ยวหงายกลับขึ้นมา คือมันจะวูบด้วยการคว่ำแล้วพลิกหงาย ด้วยอาการตื่น ด้วยการเปิด เหมือนเปิดกะลา เหมือนกับคนเคยคว่ำหน้าลงน้ำแล้วแหงนหน้าขึ้นมาพ้นน้ำเห็นท้องฟ้า เนี่ยตัวนี้เป็นภวังค์สมาธิ ภวังค์หลับหายไปเลย ภวังค์สมาธิจะกลับตื่นขึ้นมา

 

นาที 2.16.43

ถามว่าภวังค์สมาธิเนี่ยมันต้องเกิดไหม?  มันต้องเกิดครับ เป็นธรรมชาติธรรมดาของจิตนะ  อันนี้มีชี้แจงไว้ในระดับอภิธรรมนะครับ ก็คือว่าจิตเมื่อจะเข้าสมาธิ เมื่อจะเปลี่ยนโหมด เมื่อจะเปลี่ยนภาวะ จากเดิมที่มันคิดๆฟุ้งๆ มาเป็นภาวะสมาธิ เปลี่ยนจากภาวะตึงตัง มาเป็นภาวะสงบราบคาบ มันต้องมีช่วงขั้น คืออยู่ๆเนี่ยจิตที่มันถูกขยุ้มขยำอยู่ตลอดเนี่ย มันจะมาเป็นจิตดวงที่มันตั้งนิ่งแผ่ว่าง มันไม่ได้ มันต้องมีช่วงขั้น และช่วงขั้นนี้แหละที่เรียกว่าภวังค์ มันจะมีความรู้สึกเหมือนตกหลุมอากาศบ้าง มีความรู้สึกเหมือนตกเหวแล้วกลับขึ้นมาบ้าง หรือจะมีอาการอย่างไรก็ตาม  พูดง่ายๆก็คือว่ามันจะดับหาย ดับสวิซ์ไปแป๊บนึง ก่อนที่มันจะกลับตั้งขึ้นมา แต่ละคนมันไม่เหมือนกันนะครับ แม้แต่คนๆเดียวกันพอสมาธิพัฒนาไปแล้วเจริญขึ้นมาแล้วเนี่ย ภวังค์ก็จะปรากฏแตกต่างกันออกไป บางคนเริ่มต้นขึ้นมาแบบหยาบๆดิบๆ  เปลี่ยนจากฟุ้งเป็นสงบอ่อนๆ มันจะรู้สึกวูบ แล้วก็วูบเหมือนก็ก้มหน้าแล้วก็เงยหน้าขึ้นมา อันนี้เป็นปรากฎที่อยู่ทางร่างกายเลย แต่ถ้าชำนาญขึ้นไปมันจะเหมือนตกหลุมอากาศแค่นิดเดียว คือ ณ เวลาที่ตกเนี่ยมันแทบจะไม่คลาดสติเลยนะ มันคลาดสติไปแค่นิดเดียวแล้วกลับวูบขึ้นมาเนี่ยกลายเป็นจิตที่ตั้งมั่นเด่นดวงเนี่ย มันนิดเดียว แค่ชั่วไม่ถึงวินาที อันนี้ก็จะแตกต่างกันออกไป ตอนนี้แค่รับรู้ไว้ก็พอว่า ภวังค์แบบของเราเป็นภวังค์แบบไหน ภวังค์หลับ หรือว่า ภวังค์สมาธิ ถ้าภวังค์หลับไม่มีประโยชน์ มันจะไม่ได้เสริมกำลังไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่ถ้าเป็นภวังค์สมาธิเนี่ย ก็สังเกตต่อไปว่าภวังค์สมาธินั้น มีการเว้นวรรคจากสติไปนานหรือว่าสั้น  ถ้าเว้นวรรคจากสติไปนานอันนี้แสดงว่ากำลังยังอ่อน แต่ถ้าเว้นวรรคจากสติแค่นิดเดียวเนี่ย แสดงว่ากำลังสติของเราเริ่มแข็งขึ้นแข็งขึ้น ครับคุณแตงโมครับ

 

นาที 2.19.00

คุณแตงโม - ทีนี้เห็นอาจารย์กัญสรยกมือค่ะ เชิญเปิดไมค์ได้เลยค่ะอาจารย์   

 

ดังตฤณ ครับ อาจารย์กัญสรนะครับ

 

อาจารย์กัญสร - ค่ะขอบคุณค่ะ อาจารย์ดังตฤณ

 

อาจารย์ดังตฤณ - ชื่อกัญสรนะครับ ผมอ่านถูกนะ

 

คุณกัญสร -  ใช่ค่ะขอบคุณมากนะคะ เอ่อ สิ่งที่อาจารย์แนะนำช่วงเช้าวันนี้ค่ะ อยากสอบถามว่าในการทำงานปัจุบัน เราใช่ไลน์ในการสื่อสารกันเยอะมาก แล้วดิฉันก็เจอเองในห้องบางห้อง แบบบางครั้งมีการคือเหมือนกับใช้ไลน์เพื่อสื่อสารในการตอบโต้กัน อะไรอย่างนี้ อยากจะขอคำแนะนำอาจารย์ค่ะว่าในโลกปัจุบันที่พวกเราทุกคนต้องสื่อสารกันเยอะรับข้อมูลหลายทางอย่างนี้นะคะ การฝึกอานาปานสติที่เราได้ฝึกกัน จะมาช่วยในการที่เราจะรู้สติรู้ตามทันอารมณ์ของเราที่บางครั้งในไลน์อาจจะมีข้อความที่ทำให้เกิดอารมณ์อย่างนี้ทำอย่างไรได้บ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 

ดังตฤณ ก่อนอื่นนะคือมันไม่ใช่ไปดูที่อานาปานสติ แต่ต้องดูที่พื้นจิตพื้นใจของเราก่อน อย่างของอาจารย์นะ เอาอันนี้เพื่อให้พูดง่ายเพื่อให้เข้าใจง่ายนะ  อย่างของอาจารย์จะออกแนวที่ว่า คือมันมีความมันมีความไม่พอใจหรือว่ามีความเสียใจที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างจะง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเห็นข้อความหรือว่าเห็นพฤติกรรมของผู้คนเนี่ย ที่มันเปลี่ยนแปลง ที่มันไม่เป็นไปอย่างใจเรา หรือว่าที่มันทำให้เราเนี่ย เกิดอารมณ์แบบว่าผิดหวัง ผิดหวังหรือว่า ผิดหวังกับความเป็นมนุษย์น่ะ เอาใช้คำนี้ก็แล้วกัน คือของเราเนี่ยจะมีความคาดหวังต่อความเป็นมนุษย์ค่อนข้างจะระดับนึงเลย เนื่องจากว่าตัวของเราเนี่ย ยกระดับตัวเองขึ้นมาในหลายมิตินะครับ คือ คือเราเองเนี่ยเป็นคนที่บางทีพูดง่ายๆสำรวจตัวเอง แล้วก็แก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเอง หรือว่าจะทำตามคำสอนอะไรที่ดีๆอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นแสตนดาร์ดของเรา หรือว่ามาตรฐานของเรา พูดง่ายๆมันจะมีความคาดหวังแบบนั้น เพราะว่ามนุษย์คนอื่นเนี่ยก็ควรจะมีจิตสำนึกแบบนี้ พ้อยท์ของอาจารย์คือแบบนี้นะพื้นจิตพื้นใจอันนี้พูดเพื่อให้ง่ายนะ มันไม่เกี่ยวกับอานาปานสติ ไม่เกี่ยวกับสมาธิ ตรงที่เราเจริญอานาปานสติไป แล้วมามีสติรู้ทันเนี่ย มันเป็นอีกโหมดหนึ่งแล้วมันไม่ใช่โหมดของความเคยชิน มันเป็นโหมดของการรู้เท่าทัน

 

นาที 2.21.48

เวลารู้เท่าทันเนี่ย อาจารย์ต้องดูก่อนว่าเรารู้เท่าทันในระดับของโทสะ หรือรู้เท่าทันในระดับความเคยชินของจิตเราเอง นิสัยของเราเอง ถ้าหากว่าเรารู้เท่าทันโทสะเนี่ยมันจะเป็นการรู้ที่เปลือกนอก รู้ที่อะไรที่ผิวๆ ซึ่งรู้ไปแล้วเนี่ยบางทีมันก็เวิร์คบางทีมันก็ไม่เวิร์ค อันนี้พูดกันจริงๆ แต่ถ้าเรารู้เท่าทันเข้ามาที่ความความคาดหวังของเราบ่อยๆ รู้เข้ามาว่าพื้นจิตพื้นใจของเราแตกต่างจากคนอื่นๆ อย่างตอนนี้คนในโลกเขาเหลวไหล เขาไม่มีมาตรฐานในขณะที่เราเนี่ยพื้นจิตพื้นใจของเราเนี่ยเต็มไปได้มาตรฐาน เต็มไปด้วยความคาดหวัง เต็มไปด้วยแสตนด์ดาด ที่เราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเราสะสมอะไรดีๆไว้บ้าง ตรงนี้ถ้าหากว่าเรารู้เท่าทันเข้ามาระดับจิตบ่อยๆ มีสติเห็นว่า เออมันมีจิตสำนึกแบบหนึ่ง อาจารย์ลองดูตัวเองนะ คือเวลาที่อาจารย์ไม่พอใจ มันมีจิตสำนึกแบบหนึ่งของตัวเองเป็นตัวตั้ง เสร็จแล้วจิตสำนึกแบบนั้นเนี่ยที่เราแน่ใจว่าเป็นฝั่งขาว มีความสะอาดมีความถูกต้องเนี่ย มันทำงานแค่ไหนมันถูก activate ขึ้นมาแค่ไหน ถ้า activate ขึ้นมาแล้วมีขนาดใหญ่นะ อาจารย์จะผิดหวังมากแล้วก็ไม่พอใจมาก แต่ถ้าถูก activate ขึ้นมาอ่อนๆ เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เออเนี่ยตรงนี้เนี่ย มันแค่แบบเฉยๆ คือรู้สึกว่าเออฉันเป็นของฉันอย่างนี้เธอเป็นของเธออย่างนั้น มันจะมีขนาดที่เล็กแล้วก็ไม่รู้สึกอะไรมาก ไม่รู้สึกรู้สาอะไรมาก ตัวนี้ผมอยากให้รู้ว่าพอเราเจริญอานาปานสติไป  แล้วอาจารย์มีสติเท่าทันเข้ามาที่ระดับของจิตตรงนี้นะ จนกระทั่งเห็นเหตุปัจจัย คำนี้คือคีย์เวิร์ดนะ เห็นเหตุปัจจัยของความเสียใจในแต่ละครั้งของอาจารย์ว่า มันเริ่มมาจากจิตสำนึกแบบนี้ขนาดใหญ่ หรือจิตสำนึกแบบนี้ขนาดเล็ก เห็นไปเรื่อยๆ อาจารย์จะพบความจริง เนี่ยแบบตอนนี้ที่กำลังเกิดขึ้น ตอนนี้ใจเราสบายขึ้น เห็นไหมมันมีความรู้สึกโล่งขึ้น มันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าอะไรบางอย่างมันลดระดับลงมา ตรงนี้แหละขอให้อาจารย์จำไว้ว่า เขาเรียกว่าความคาดหวังมันถูกลดระดับลงมาด้วยความเข้าใจ เออมันมีเหตุปัจจัยบางอย่าง ที่เป็นพื้นอยู่ในชีวิตของเรา

แล้วเหตุปัจจัยนั้นเนี่ยมันทำให้หลายๆครั้ง เรารู้สึกว่าโลกมันเป็นอย่างใจเราไม่ได้ อันนี้ทุกคนรู้ ตอนนี้ทุกคนต้องยอมรับ ผมเอง ผมก็ต้องยอมรับว่า เห้ยโลกมันเป็นอย่างใจเราไม่ได้จริงๆมันย้อนกลับคืนเป็นแบบเก่าไม่ได้แล้วด้วย เรื่องที่ว่าความถูกความผิดอะไรคือมโนธรรม อะไรคือศีลธรรมอะไรต่างเนี่ย มันย้อนคืนกลับไปสู่จุดนั้นไม่ได้แล้วจริงๆสำหรับคนหมู่มาก ตอนนี้คนหมู่มากเนี่ย ชีวิตแปะติด ยึดเหนียวอยู่กับคำเดียว เงิน วัตถุ ชื่อเสียง หน้าตา แล้วก็ฐานะทางสังคม ที่จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่เป็นที่ยอมรับ เรื่องความถูกความผิดนั่นนะมันเป็นเรื่องของคนโบราณ มันเป็นเรื่องของคนยุคเราอาจารย์ มันหมดไปแล้ว ที่นี้คือถามว่าคนยุคเรายังเหลือมากน้อยแค่ไหน มันยังเหลือนะ เหลืออยู่ แต่ว่าอาจจะไม่มากพอที่ใจเราจะต้องการ เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างความพอใจของเราขึ้นมาจากตัวเอง ไม่ใช่จากข้างนอก ยิ่งเรากันตัวเองไว้ใน อานาปานสติได้มากขึ้นเท่าไหร่ หมายความว่า ใจของเรายิ่งมีโอกาสที่จะเป็นทุกข์ได้น้อยลงเท่านั้น ตอนนี้อย่าไปคาดหวังจากข้างนอกมาคาดหวังจากข้างในอย่างเดียว

 

คุณกัญสร -  ค่ะ เพราะว่าบางครั้งการเห็นข้อความ เราก็รู้สึกว่าเนี่ยคนนี้โดนกระทบแล้วเพราะว่าคนนี้พูดอย่างนี้ บางทีก็เข้าไปช่วยด้วยการไปบอกว่าไม่ต้องไปใส่ใจในคำพูดคนนั้นในไลน์อย่างนี้ๆ เพราะว่าเขาจะอาศัยความเป็นห้องไลน์ พูดจากระทบกระเทียบคนนั้นเหมือนกับต้องการให้คนนั้นรู้ว่าฉันไม่ชอบแล้วฉันต้องการเล่น เราเองเราก็ตามอารมณ์ค่ะ บางทีเราก็รู้สึกว่า บางทีมันก็น่าหงุดหงิดเราก็ใช้วิธีว่า โอเค ก็เหมือนปล่อยวางแล้วก็อโหสิให้คนนั้นไป เขาก็คงเปลี่ยนไม่ได้ แล้วก็เราก็คาดหวังน้อยลงอย่างที่อาจารย์บอกค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ 

 

ดังตฤณ - ครับอนุโมทนาครับอาจารย์  

 

คุณกัญสร -  ค่ะขอบคุณค่ะ 

 

นาที 2.26.50

คุณแตงโม - ค่ะ มีท่านหนึ่งนะคะยกมือถามค่ะอาจารย์ ขอเชิญคุณพรพิสุทธิ์ค่ะ

 

คุณพรพิสุทธิ์ - ค่ะ สวัสดีค่ะอาจารย์ ขออนุญาตสอบถามค่ะ พอดีจะทำท่าจะรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าท่าอย่างนี้ถูกต้องไหมคะ

 

ดังตฤณ ได้ครับ ดูเลยครับ

คุณพรพิสุทธิ์ - ขออนุญาตนะคะ

 

ดังตฤณ อย่างนี้ผิดแล้วนะ คือมันมีแต่ท่า ตัวนี้สำคัญเลย คือท่าแรกเนี่ยต้องเอาให้ได้ก่อน คือว่าพอเรายกมือขึ้นนะ ในใจของเราเนี่ย ต้องเหมือนมีมือที่หงายอยู่ในใจของเราเป็นอันดับแรก เหมือนอย่างตอนผมให้ดูตรงนี้

 

(เปิดคลิป)

 

คุณไอซ์ดูนะครับ ถ้าเราเริ่มต้นรู้อย่างถูกต้องนะครับ เราจะรู้สึกถึงความชัดของฝ่ามือ แล้วพอเรายกมือขึ้นมา เราจะรู้สึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือกับลมอย่างชัดเจน ฝ่ามือหงายดันลมเข้า หยุดแป๊บนึง ฝ่ามือคว่ำลากลมออก อย่างนี้นะ ถ้าเอาท่าหนึ่งให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาต่อท่าสองเนี่ย คุณไอซ์จะมีความรู้สึกเข้าใจมากขึ้น คือพอเรายกขึ้นเนี่ยนะเรามีความรู้สึกว่าฝ่ามือเนี่ยมันเป็นตัวดันลมขึ้น ลากลมขึ้น แล้วก็ฝ่ามือที่ลงเนี่ยมันเป็นตัวลากลมออก ความรู้สึกตรงนี้สำคัญมาก อย่างเมื่อกี้เนี่ยพอคุณไอซ์พยายามทำเนี่ย มันมีแต่ท่า มันไม่มีความสัมพันธ์ในใจระหว่างมือกับลม ตัวนี้สำคัญที่สุดนะครับ

 

คุณพรพิสุทธิ์ - ค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

นาที 2.28.59

คุณแตงโม -  ก็คือแต่ว่าที่หนูสังเกต ก็คืออาจารย์จะเน้นว่า ไม่ว่าจะใช้มือไกด์หรือว่าจะไม่ใช้มือไกด์นี่ สิ่งสำคัญคือ ต้องเงยหน้าขึ้นใช่ไหมคะอาจารย์

 

ดังตฤณ เป็นข้อสังเกตกับทุกท่านนะครับว่า ถ้าเราก้มหน้า อาการเนี่ยพร้อมจะหลับหรือไม่ก็พร้อมจะคิดมาก แต่ถ้าเงยหน้าระดับแค่ตั้งธรรมดาอันนี้พร้อมจะคิด พร้อมจะมีสติอยู่กับเรื่องตรงหน้า แต่ถ้าเงยขึ้นเป็นนิดเดียวเนี่ยใจมันจะเปิด มันเหมือนกับภาวะฟุ้งซ่านเนี่ยมันจะเบาบางลงทันที ขอให้สังเกต ขอให้สังเกตนะครับทุกท่านนะครับ

 

นาที 2.29.42

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ทีนี้นะคะ ก็มีท่านถามมาค่ะว่าคืออย่างอานาปานสติใช่ไหมคะ โดยใช้มือไกด์เนี่ย มันก็เหมือนการนั่งสมาธิ การนั่งวิปัสสนา หรือการนั่งสมถะหรือเปล่าคะ อาจารย์

 

ดังตฤณ อานาปานสติ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อใครเจริญมากแล้วย่อมทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ใครก็ตามที่ทำสติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ แล้วก็พูดง่ายๆพร้อมบรรลุมรรคผล อานาปานสติเองมีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในตัวเองรวมอยู่นะครับ อย่างตอนที่ผมยกมาแสดงนะครับ ตัวของอานาปานสติจริงๆ มันเริ่มต้นขึ้นตรงนี้  คำว่าอานาปานสติ เริ่มต้นจากการมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ตรงนี้ถ้าหากว่าเรารู้สึกถึงลมหายใจไปได้เรื่อยๆจนกระทั่งเกิดความสงบจากกิเลส มันก็เรียกว่าเป็นสมถะ รู้ปีติหายใจออก รู้ปีติหายใจเข้า ตรงนี้ถ้ามันพร้อมจะเลิกคิด มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ รู้สึกเบิกบาน ไม่มีกิเลสแบบโลกๆเข้ามาครอบงำจิตใจ นี่เขาเรียกว่าสมถะ รู้จิต หายใจออกรู้จิตหายใจเข้า ถ้ารู้เฉยๆนะว่าจิตเนี่ยมันกำลังเป็นอย่างนี้อยู่ ตั้งมั่นอยู่ โอ้!ดีจังจิตของเราตั้งมั่น นี่ก็เรียกว่าเป็นสมถะ

 

แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่จิตซึ่งตั้งมั่นแล้วนั้นมีความพร้อมปล่อยพร้อมวาง พร้อมเห็นว่าอะไรก็ตามที่เข้ามากระทบ อะไรนั้น มันพร้อมจะหายไปจากจิตในเวลาไม่นาน พูดง่ายๆว่าเราเห็นความไม่เที่ยงไงก็คือ เห็นด้วยจิตที่มีความพร้อมปล่อย พร้อมทิ้ง พร้อมวาง ไม่ใช่จิตที่มีอาการเอาแต่จะยึด เหมือนกับปถุชนธรรมดาทั่วๆไป ตัวนี้แหละตัวนี้เลยนะขั้นนี้ของอานาปานสตินี่แหละที่เรียกว่าเป็นวิปัสสนาจริงๆ ที่เรียกว่า เรามาตามขั้นตอนเรามาตามทิศตามทางที่ถูกต้องแล้วเนี่ย มันมีทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัวเองนะครับ คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในยุคเรา ผูกคำว่าวิปัสสนาอยู่กับความเชื่ออะไรบางอย่าง ว่าทำท่านั้นท่านี้แล้วมันแปลว่าเป็นวิปัสสนา หรือไปเข้าคอร์สนั้นคอร์สนี้ ปลีกวิเวกอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่าไปทำวิปัสสนานะ แต่จริงๆแล้วถ้าเราไปดูเอาที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้จริงๆ วิปัสสนาหรือสมถะเกิดขึ้นที่จิตของเรากำลังอยู่ในภาวะไหน ถ้ากำลังฟุ้งๆอยู่อย่างนี้ไม่เรียกแม้กระทั่งเป็นสมถะ อย่าว่าแต่จะเป็นวิปัสสนา

ถ้าหากสงบความฟุ้งลงมาได้ แล้วมีปีติ มีความเบิกบาน มีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาอย่างนี้เรียกว่าเป็นสมถะ แต่ถ้าเมื่อใหร่ใจของเราพร้อมปล่อย พร้อมวาง เห็นแม้แต่ความฟุ้งซ่านเนี่ยที่มันพยายามเข้ามาครอบงำหรือลอยเข้ามากระทบจิตเนี่ยนะ แล้วเราไม่ยึด ไม่ยึดแม้กระทั่งว่านั่นเป็นความคิดของเราแต่เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ตัวนี้แหละที่มันเป็นวิปัสสนาแล้ว เพราะตัวนี้แหละที่สะท้อนให้เห็นว่าจิตของเรามีความสามารถรู้ตามจริง ความสามารถในการรู้ตามจริงเนี่ย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากที่สุด ในบรรดาความยากทั้งปวงนะ สิ่งนี้เกิดขึ้นยากที่สุด ยากที่สุดในจักรวาล ยากที่สุดในสังสารวัฏ ยากที่สุดในชาตินี้ ยากที่สุดในชีวิตเรา ยากที่สุดในโลก จะเรียกว่ายากที่สุดในอะไรก็ตามเนี่ย มันคือความยากที่สุด แล้วคนเนี่ยไม่เข้าใจว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าท่านอุบัติมานะ ท่านตรัสสอนเรื่องสติปัฏฐาน
มรรคมีองค์ ขึ้นต้นมาเนี่ย ขึ้นต้นด้วยอานาปานสตินี่แหละ ถ้าหากว่าใครมีความสามารถที่จะพร้อมรู้ ในภาวะที่เกิดขึ้นในกายใจนี้ โดยมีลมหายใจประกอบเป็นเครื่องกำกับสติ ตรงนั้นแหละคุณมาถึงประโยชน์สูงสุดที่ได้เกิดมาในพุทธศาสนาแล้วนะครับ ครับคุณแตงโม

 

 

นาที 2.34.07

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ที่นี้เนี่ย เอ่อ อาจารย์ได้สอนวิธีการใช้มือไกด์ใช่ไหมค่ะ ที่นี้เนี่ยหนูกำลังสงสัยว่า ถ้าสมมุติว่า อย่างหนูที่ไม่เคยนั่งเลยค่ะอาจารย์ ควรนั่งท่าไหน คือหลังตรง หรือหลังพิงเก้าอี้ดีไหม หรือนั่งสมาธิ หรือนั่งยังไงดีค่ะอาจารย์ 

 

ดังตฤณ เริ่มต้นขึ้นมาผมอยากแนะนำ อันนี้จากประสบการณ์ที่เห็นคนมาเยอะมาก เริ่มต้นวันแรกนั่งเก้าอี้ที่ดีที่สุด เนี่ยนั่งแบบนี้ ผมนั่งสมาธิมันมีทุกอย่างนะ นั่งขัดสมาดกับพื้นก็มีนะ แต่ว่าถ้าอยู่ที่โต๊ะทำงานผมก็นั่งเก้าอี้ จนทุกวันนี้ก็ยังนั่งเก้าอี้ในการทำสมาธิอยู่ แปลว่าเก้าอี้ใช้ได้มันทำให้เราไม่ต้องไปเผชิญกับความทุกข์ กับท่าทาง กับภาวะทางกายที่มันเบียดเบียนด้วยเส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อที่มันเกร็งที่มันหด อะไรก็ตามที่จุดชนวนให้คุณมีสติรู้เข้ามาในกายใจได้ ด้วยท่าทางด้วยอิริยาบถใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ดีเสมอนะครับ

 

นาที 2.35.21

คุณแตงโม - ค่ะอาจารย์ ทีนี้ก็มีคำถาม นอกจากนั่งสมาธิแล้วเนี่ยมีนอนสมาธิไหมคะอาจารย์  เนื่องจากสภาพร่างกายไม่อำนวยค่ะอาจารย์

 

ดังตฤณมีนะครับจริงๆแล้วเนี่ย เดี๋ยวผมเอามาให้ดูเดี๋ยวนี้เลยก็ได้ คือผมมีมือไกด์ท่านอนอยู่ แล้วมันเวิร์คมากๆเลย แล้วบางคนเนี่ย พบว่า ค้นพบด้วยซ้ำว่า ทำสมาธิท่านอนเนี่ย กลายเป็นว่ามีสติ มีสมาธิเกิดขึ้นมากกว่า ตอนที่นั่งสมาธิเสียอีก เหตุผลก็เพราะว่า สมาธิท่านอนเนี่ยมันเป็นที่สบาย มันไม่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็ง แล้วก็ไม่ต้องมามีความรู้สึกเมื่อยขบอะไรมากมายเพราะว่าแผ่นหลังเนี่ยมันช่วยให้ แต่ข้อเสียก็คือว่าหลับง่ายเท่านั้นเองนะครับ ถ้าหากว่าอะไรที่ทำให้หลับง่าย อันนั้นเนี่ยดูเหมือนจะไม่ใช่สมาธิในอุดมคติสักเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่มีความไม่ถนัดนักกั บสรีระหรือว่าไฟ หรือสภาพเสื่อมไปของสังขารอะไรต่างๆเนี่ย ถ้าหากได้มือไกด์เป็นตัวช่วยนะ ให้ตั้งต้นทำสมาธิขึ้นมาได้ มันก็แน่นอนครับดีกว่าเราไม่ทำอะไรเลย เนี่ยผมจะให้ดูนะครับมันมีสมาธิมือไกด์แบบที่เราจะนอนไปด้วยแล้วก็เจริญสติไปด้วยนะครับ 

 

นาที 2.37.05 – 2.39.33 (เปิดคลิป)

 

ดังตฤณ สรุปง่ายๆ ที่จะนึกไว้นะเป็นตัวตั้งเลยก็คือว่า พองอมือขึ้นมา ให้ทำความรู้สึกเหมือนว่ามือผลักลมเข้ามา แล้วกั้นลมไว้แป๊บนึง อันนี้เป็นจังหวะที่สำคัญนะครับ เก็บลมไว้ในปอดแป๊บนึง 2 วิ แล้วก็หงายมือมา ดึงมือเหยียดแขนกลับมานะครับ ด้วยความรู้สึกว่าฝ่ามือเนี่ยเป็นตัวลากลมออก แค่นี้นะคุณจะนอนได้อย่างมีสมาธิ และหลายคนค้นพบว่าทำไปเรื่อยๆเนี่ยนอนใช้มือไกด์ได้เป็นชั่วโมงๆ จิตตื่นจิตว่างสว่างโพลง แล้วก็มีความเบาความใส เมื่อไหร่ที่จิตมีความใสเสมอกันกับอากาศเนี่ย เหมือนกับจิตของเราแผ่ว่างออกไปแบบไม่มีขอบเขตนะ แผ่ว่างออกไปเท่าฟ้าเลยนะ

ถ้าใจคุณว่าง ใจคุณใส ไร้ความฟุ้งซ่านได้ เสมอกับอากาศที่มันไม่มีฝุ่นไม่มีพายุนะ คุณจะมีความรู้สึกว่า ครั้งนั้นของคุณเนี่ยหลับได้สบายมาก ผ่อนคลายตื่นขึ้นมาหัวโล่ง แล้วก็มีกำลัง ที่จะมาผจญกับอะไรหนักๆในชีวิตต่อได้ บางคนเนี่ยคือมีนะอันนี้มีนะมีจริงๆนะ ก่อนนอน ใช้มือไกด์อย่างนี้ไป ปรากฏว่า ทำไป
2 ชั่วโมงมีความสุขมีความรู้สึกว่า ดีกว่านอนหลับซะอีก พักกว่าทั้งกายและใจเนี่ยอยู่ในสภาพพักยิ่งกว่าตอนหลับซะอีก ก็ทำไป 2 ชั่วโมง ไม่ได้มีความกังวลว่า เดี๋ยวมันจะหลับยาก หรือว่าเดี๋ยวมันจะตื่นขึ้นมาไม่ดีอะไรนะ ทำอยู่อย่างนี้หลายๆวันเข้า รู้สึกว่าตื่นขึ้นมาเนี่ย เป็นสมาธิขึ้นมาเอง คือยังไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้นนะ ตื่นขึ้นมาเนี่ย มันเกิดสมาธิขึ้นมาเอง มันจิตมันรวมแล้วแผ่ออกไป แผ่ออกไปแบบใสกริ๊บเลย แล้วก็สภาพทางกายเนี่ย เกิดความพรักพร้อมขึ้นมาเกิด เกิดความรู้สึกแจ่มใส เกิดความรู้สึกร่าเริงขึ้นมานะครับ บางคนเหมือนกับอย่างโรคปวดคออันเกิดจากการนอนไม่ดีเนี่ยก็หายไปด้วย อันนี้ก็ไปทดลองดูนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ไม่สะดวกเกี่ยวกับสรีระในการนั่ง ในการที่จะต้องมาฝืนทนกับทุขเวทนา ขอให้ลอง ทดลองดูก็แล้วกันครับ

 

นาที 2.42.20

คุณแตงโม - ค่ะ นี่มีคำถามนะคะว่าปกติถ้ายังไม่หลับจะสวดมนต์ไปเรื่อยๆจนกว่าจะหลับ ทำแบบนี้นะคือเป็นปกติไหมคะ แล้วก็เมื่อหลับแล้วนะคะ รู้สึกตัวเมื่อไรจิตก็จะเข้าไปในบทสวดมนต์นะค่ะอาจารย์ อย่างนี้ถือว่าเป็นจิตมีสมาธิด้วยไหมคะ นับไหมคะ

 

ดังตฤณอยากให้สังเกตเป็นคนๆ คืออันดับแรกนะที่เราต้องทำความเข้าใจ โลกของสมาธิหรือโลกของจิตวิญญาณเนี่ย มันเป็นอะไรที่พิสดารมาก แล้วเราไปกำหนดตายตัวไม่ได้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ จะใช้ได้ครอบจักรวาลไปประยุกต์ทำความเข้าใจได้กับคนอื่นๆทั้งหมด ยกตัวอย่างคำถามเนี่ยบอกว่า สวดมนต์ก่อนนอนถือว่าทำสมาธิไหม บางคนนับเอาตรงที่หลับไปแล้วยังมีเสียงสวดมนต์อยู่เป็นสมาธิ เนี่ยนี้อันดับแรกนะต้องทำความเข้าใจว่าไม่ใช่นะครับ เสียงสวดมนต์ที่อยู่ในฝันมันก็คือนิมิตชนิดหนึ่ง มันเป็นนิมิตฝันชนิดหนึ่ง ยังไม่ได้เป็นตัวชี้นะว่าเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ ตัวชี้ขาดว่า เราหลับอย่างเป็นสมาธิไหม มันจะมีแบบนึง คือใจของเราเนี่ยแผ่ออกไป มีสติ มันเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่ยังมีสติอยู่ด้วย มันคล้ายๆกับว่า ในอาการหลับสนิทเนี่ย มันไม่มีความมั่ว ไม่มีความฝัน ไม่มีอะไรที่มันเป็นสิ่งรบกวนจิตใจในขณะหลับ มันมีแต่ความโล่งมีแต่ความสบายมีแต่ความเปิดและที่สำคัญคาแรคเตอร์หนึ่งของจิตที่เป็นสมาธิตอนหลับคือ มีความสว่าง มีความสุขแผ่ออกมาเหมือนกับเราแผ่เมตตา ที่ตัวนี้นะครับที่จะเอาเป็นคาแรคเตอร์ของสติและก็สมาธิในตอนนอนจริงๆนะครับ ส่วนว่า สวดมนต์ไปแล้วก่อนนอนแล้วยังสวดอยู่มันดีไหม? ในแง่หนึ่งก็ดี ตรงที่ว่าประกันนะครับว่าจิตของเรากำลังเป็นกุศลอยู่ เพราะว่าบทสวดเนี่ยมันคือการระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกไหม ถ้าหากว่าการระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเรายังตามเข้าไปในฝันแปลว่าฝันครั้งนั้นของเราเป็นฝันดี ไม่ใช่ฝันร้ายอันนี้ชัวร์แล้ว แล้วก็ การที่เรามีบทสวดอยู่ในใจ แม้กระทั่ง ณ ขณะหลับ ณ ขณะที่ไม่มีสติตื่นคิดอ่านเนี่ย มันบอกอย่างหนึ่งว่าจิตของเรากำลังยึดดี ยึดขาว ยึดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ยึดอารมณ์ที่เป็นอกุศล หรืออารมณ์ที่มันจะพาไปสู่ภาวะมืดนะครับ ครับคุณแตงโม

 

นาที 2.45.25

คุณแตงโม - ค่ะขอบคุณค่ะ  นี้มีพี่ยศวดีนะคะ ยกมือถามค่ะ

 

ดังตฤณ  ครับ เชิญเลยครับ

 

คุณยศวดี – ค่ะพอดีเห็นที่อาจารย์กำลังสอนอยู่ พอดีหนูสงสัย เวลาหนูทำสมาธิอะค่ะ บางครั้งมันเหมือน มันเหมือนเรามีสองคนค่ะอาจารย์ หนูไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไรแต่ว่าเวลาทำสมาธิอยู่เหมือนเราเห็น เห็นสิ่งที่เข้ามาแล้วมันก็จะมีเราอีกคนนึงน่ะค่ะ ที่เห็น แล้วมันก็จะรำคาญบ้าง หนูไม่รู้ว่ามัน คือบางคนเขาบอกว่าทำสมาธิแล้วจะเพี้ยน หนูไม่รู้ว่าอย่างนี้มันเข้าใกล้ความเพี้ยนรึเปล่าค่ะ คือแต่ว่าหนูรู้ตัวนะคะ หมายถึงว่า หนูรู้ตัวในขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่ แล้วหนูก็รู้ด้วยว่าสิ่งนั้นที่เข้ามา มันเหมือนลอยเข้ามาค่ะอาจารย์ แล้วหนูก็ มีบางครั้งก็รำคาญค่ะ บางครั้งก็ดูเฉยๆค่ะอาจารย์ หมายถึงว่าก็แค่ดูไปแล้วก็มีเรื่องอื่นเข้ามาใหม่ หนูก็ไปเหมือนหนูอีกคนนึงก็ไปจับเรื่องใหม่ที่เข้ามา หนูไม่รู้ว่ามันคืออะไรคะ

 

ดังตฤณ โอเค อันนี้จะยกเอาที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้มานะครับ จะได้เล่นเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่าไม่ใช่ผมคิดเอาเองนะ สำหรับหลายๆท่านด้วยนะ ที่ฟังแล้วไม่เข้าใจนะ ก็ว่าจะได้เกิดความเข้าใจได้ว่านี่เป็นประสบการณ์ทางจิต เป็นประสบการณ์ทางการเจริญสติ หรือว่าเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับคนทำสมาธิ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นอะไรที่ผิด หรือว่าเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงนะครับ  อะ ดูนะครับ เดี๋ยวจะให้ดูอันนี้เป็นพุทธพจน์โดยตรงนะครับ

 

ท่านตรัสไว้นะครับ ชื่อสูตรคือ ปัญจังคิกสูตร นะครับ คือทำสมาธิหรือเจริญสติไปแล้ว เหมือนคนหนึ่งเห็นอีกคนหนึ่ง ราวกับว่าคนยืนเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งเห็นคนนอน เมื่อน้อมจิตอันเป็นสมาธิ เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ก็ย่อมประจักษ์ชัดในธรรมะนั้นๆ คือจิตมีสติแยกออกมา เป็นต่างหากจากภาวะทางกาย ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นกาย ที่อยู่ในอริยบทปัจจุบันนะครับ หรือเมื่อเห็นกาย หรืออาการปรุงแต่งทางใจของความเป็นของอื่นอยู่นะ พูดง่ายๆว่าเห็นกายเห็นใจเนี่ย โดยความเป็นของอื่น ตรงนี้เนี่ยแปลว่าภาวะแยก เป็นภาวะที่ทางพุทธเราเนี่ยยอมรับว่ามีอยู่จริงและเกิดขึ้นได้แล้วก็ดีด้วย เพราะตรงนี้แหละที่มันจะทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าไม่มีตัวใครอยู่ในกายใจนี้ มีแต่รูปมีแต่นาม สติหรือว่าจิตที่แยกออกมาดูเนี่ย เป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นนะครับ ทีนี้ถามว่าจะทำยังไงให้มันเกิดขึ้นเป็นปกติแล้วไม่รำคาญไม่อึดอัด ก็นี่แหละ  อย่างที่บอกไว้ อย่างตอนที่เริ่มตั้งแต่ตรงนี้เลย ที่บอกว่ามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ตัวนี้นะ ตัวสติเป็นผู้เห็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี่เรียกว่าแยกอ่อนๆแล้วนะ ทีนี้มันจะมาเริ่มแยกรูปแยกนามตรงจุดนี้แหละของอานาปานสติ ซึ่งคนไม่ค่อยตั้งข้อสังเกตกัน

 

แต่ว่าอย่างที่ผมเอามาแสดงให้ดูนะมันมีได้จริงๆนะ คือพอมีปีติแล้วรู้ว่ามีปีติอยู่ รู้ว่ามีปีติหายใจออก มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาเนี่ยลมหายใจอยู่ส่วนหนึ่ง ปีติอยู่ส่วนหนึ่ง แล้วพอทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผลนะครับก็คือจะทำให้เราเนี่ยรู้สึกเหมือนอีกคนหนึ่งมันเกิดขึ้นมา เป็นตัวดูอยู่ข้างหลังแหละที่มันจะไม่อึดอัดก็คือมีความเข้าใจประกอบอยู่ด้วยว่า นั่น เรียกว่าเป็นสติ นั่นเรียกว่าจิตมันแยกออกมาดู เป็นต่างหาก รู้สึกว่าจิตกับภาวะทางกาย จิตกับภาวะของลมหายใจ จิตกับภาวะของความสุขเนี่ย มันเป็นต่างหากจากกัน ตัวนี้แหละความเข้าใจนี่แหละที่จะทำให้เราไม่อึดอัด ตัวนี้แหละจะทำให้เราเนี่ยอาศัยจิตที่แยกออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย ได้เจริญพัฒนาไปในทางที่มีความตั้งมั่นเป็นปกติ จิตที่มันจะไม่อึดอัดในขณะที่เป็นผู้รู้ผู้ดู คือจิตที่รู้สึกว่างเป็นอิสระ มีความผ่องใสมีความปลอดโปร่งนะครับ แต่จิตที่ถึงแม้จะแยกออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดู แล้วมีความอึดอัดขึ้นมาได้ ก็คือจิตที่คับแคบ จิตที่กระจุก  ตรงนี้แหละถึงเป็นพ้อยท์ว่า ทำไมเราจึงควรฝึกอานาปานสติให้ถูกทางถูกทิศ แล้วก็ให้เกิดผลลัพธ์ที่มันมีความอิ่ม มีความเต็ม มีความตกผลึก เพราะว่าจิตที่เป็นต้นแบบออกมาจากอานาปานสติได้เนี่ย จะเป็นจิตที่มีความผ่องใส มีจิตที่เบิกบาน มีจิตที่มันเป็นอิสระ ตรงนั้นนะเวลาที่มันแยกออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มันจะไม่เกิดความรู้สึกรำคาญตัวเอง ไม่เกิดความลังเลสงสัย มีแต่ความรู้สึกเป็นธรรมชาติธรรมดา ว่าเออ ของมันต้องเป็นแบบนี้ มันแยกออกมาดู สิ่งที่ถูกดู ก็แสดงไป ผู้ดูมันก็ดูอยู่เป็นต่างหาก และผู้ดูจะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวใคร ไม่มีตัวใครอยู่ในนี้ ในจิตผู้รู้ ไม่มีตัวเราในจิตผู้รู้ จิตผู้รู้ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นธรรมชาติภาวะ ภาวะรู้ภาวะ เหมือนขันธ์5 รู้ตัวว่าเป็นขันธ์ 5 เท่านั้นเอง นะครับ 

 

นาที 2.51.39

คุณยศวดี - อาจารย์ขา แปลว่าสิ่งที่หนูควรทำ ก็คือฝึกให้จิตเขาเต็มอิ่มเบิกบาน และเป็นสุขก็คือไม่ต้องไปใส่อารมณ์

 

ดังตฤณ ตรงนี้แหละคือพอยต์ ที่ทำไมพระพุทธเจ้าถึงมาแยกแยะว่าสัมมาสมาธิ ประกอบด้วยองค์คือ

วิตักกะ วิจาระ ปีติและสุข คือบางคนเนี่ยมีแค่ วิตักกะ วิจาระ มันก็ยังมีความรู้สึกแห้งๆอยู่ได้ และจิตอาจจะแคบอาจจะเล็กก็ได้ หรืออาจจะกระจุกเป็นก้อนๆก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่จิตมีปีติและสุข ประกอบอยู่ด้วยอันเกิดจากการฝึกเจริญอานาปานสติไว้ดีแล้วเนี่ย จิตจะมีความขยาย จิตจะมีความผ่องใส มีความเบิกบาน มีความพร้อมรู้ มีความตื่นแล้วก็มีความเต็ม ไม่มีความรำคาญตัวเองแม้แต่นิดเดียว อันนี้คือพ้อยท์ อย่างของคุณยศวดีนะ คือจริงๆเนี่ยเราต้องดูอารมณ์ในระหว่างวันด้วย บางทีเวลาเราจดจ่ออยู่กับเรื่องไหนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เราสนใจ หรือเรื่องที่เราไม่พอใจเนี่ย มันจดจ่อลงไปในลักษณะจิตมันจี้ลงไปคับแคบ คือจะรู้สึกว่า พอเราจี้อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ เราจะรู้สึกอึดอัดเราจะรู้สึกเหนื่อย เหมือนกัน ในขณะที่เราทำสมาธิเนี่ย คุณยศวดีควรสังเกตตัวเองว่า ใจของเราเนี่ยรู้ไปในแบบที่มีความเปิดแผ่ หรือว่าตั้งใจจี้เข้าไป ถ้าหากตั้งใจจี้เข้าไป อันนั้นน่ะเป็นสัญญาณบอกว่า เดี๋ยวมันจะเหนื่อย เดี๋ยวมันจะแคบลงเรื่อยๆ และอันนั้นแหละที่มันจะมีการกระจุกตัว แล้วบางทีเวลาที่แยกออกมาดูมันจะรู้แบบรำคาญตัวเอง  แต่ถ้าหากครั้งไหนที่ทำสมาธิ เรามีความรู้สึกใจมันเปิดๆโล่งๆสบายๆ แล้วรู้ลมแบบชิวๆ รู้แบบที่มันไม่มีอาการออกแรง มีแต่รู้อย่างนั้นเองตามธรรมชาติธรรมดาของมัน ใจที่เปิด ใจที่โล่งใจที่สบายนััน เมื่อตั้งเป็นสมาธิได้ จะทำให้เราเกิดความรู้สึกว่า มันแยกออกมารู้แยกออกมาดู ด้วยความรู้สึกว่า เออ! มันไม่มีใคร แล้วก็ไม่มีความอึดอัดมีแต่ความเป็นอิสระจากกัน ระหว่างจิตผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ นะครับ

 

คุณยศวดี -        หนูจี้จริงๆค่ะ ก็พยายามจะไปมอง

 

ดังตฤณแต่ใจแบบนี้ของคุณยศวดีนะ จริงๆแล้วเนี่ยมันเปิดง่ายนะ เพียงแต่ว่าเรา ด้วยนิสัยทางแบบว่า อย่างเห็นพอไม่ชอบใจใครอะไรอย่างนี้เราจะจี้ อันนี้ยกตัวอย่างเฉยๆนะพฤติกรรมที่มันเห็นได้ชัดนะ เราอยากจะจี้ให้เขารับผิดให้ได้ หรือว่าเหมือนสมมุติว่าเราจะทำอะไรที่มันต้องอาศัยความถูกต้องเนี่ย เราจะพยายามแบบว่าเค้นคั้นเอาให้ถึงจุดที่เรารู้สึกพอใจ ตัวนี้ลักษณะของจิตพวกนี้ประเภทนี้ในระหว่างวันเนี่ย ถ้าเราตั้งข้อสังเกตไว้แล้วมองเห็นว่า เออ! จริงๆแล้วเนี่ยมันเป็นแค่อาการทางใจแบบหนึ่งที่มันจะทำให้จิตเนี่ยเสียคุณภาพ มันจะจี้มันจะแคบลง มันจะเปลี่ยนนิสัยใหม่ในระหว่างวัน แล้วจะมาค้นพบตัวเองของคุณยศวดีนะ คือจิตของเราเนี่ยสามารถเบิกบานได้ง่ายๆ เพราะทุนเก่าอ่ะดี แต่นิสัยทางความคิดหรืออะไรเนี่ยมันอาจจะทำให้เกิดการที่แล้วเกิดการจี้แล้วเกิดความคับแคบนิดนึงในเวลาที่ตั้งเป็นสมาธิ

 

นาที 2.55.32

คุณยศวดี -  อาจารย์คะ ขออนุญาตเป็นคำถามสุดท้ายค่ะ เดี๋ยวจะให้เพื่อนบ้าง แสดงว่า หนูเป็นลักษณะแบบนั้นค่ะ แสดงว่าถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่หนูรู้ตัวว่ากำลังต้อน ต้อนบางอย่างให้มันได้อีกละ บีบอีกละ เมื่อสติหนูดีขึ้นหนูก็จะปล่อยได้เร็วขึ้น หมายความว่าก็จะปล่อยมือ 

 

ดังตฤณ ทำความเข้าใจอย่างนี้นิดนึง คือของคุณยศวดีเนี่ยจริงๆแล้วเคยมีประสบการณ์ทั้งจิตที่มันเบิกบานในสมาธิที่มันเปิดกว้าง แล้วก็ทั้งจิตในระหว่างวันที่มันที่จี้ๆๆๆจะเอาจะต้อนใครเขาเนี่ย หรือว่าจะเอาอะไรที่ได้ให้ได้อย่างใจเนี่ย เราเคยมีมาแล้ว ทั้งจิตแบบเปิดกว้าง แล้วก็แบบที่จี้ลงคับแคบนะครับ ถ้าหากเรามีสติเห็นจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นนะ คำว่าสติ เรารู้ รู้โดยอาการเปรียบเทียบว่า จิตที่มันจี้ลงคับแคบเป็นอย่างหนึ่ง มันแตกต่างจากจิตที่เปิด อย่างนี้เรียกว่ามีสติจริงๆ แต่ถ้าเราบอกว่ามีสติ ว่าจี้ๆๆแล้ว มีสติอยู่แล้วยังจี้อยู่ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสติจริง เข้าใจพอยท์นะ คือถ้ามีสติแล้วมันยังจี้อยู่มันยังแคบอยู่ อันนั้นยังไม่มีสติจริง แต่ถ้าจี้อยู่แล้วเรารู้ว่า อ้อ! อาการทางใจของเราตั้งต้นขึ้นมาแบบนี้ มันถึงเล็ก มันถึงแคบมั นถึงมาเรียวลง มันถึงลู่ลงนะครับ เสร็จแล้วเราก็มีสติรู้ว่า ถ้าใจเปิดใจกว้างก็แผ่ใจสบายๆ เปิดใจสบายๆ อย่างนี้ถึงจะมีสติแบบที่มันครบวงจร เข้าใจพอยท์ใช่ไหม คือพูดง่ายๆ ย้ำอีกทีนะ ถ้ามีสติแล้วเรายังจี้อยู่ นั่นสติยังไม่เต็มนะยังไม่ครบรอบ แต่ถ้ามีสติแล้วเราเห็นด้วยว่าอาการที่มันเป็นตรงกันข้าม มันแตกต่างกันยังไง นั่นแหละถึงจะเรียกว่าเป็นสติในแบบที่ทำให้เกิดพัฒนาการขึ้นมา

 

คุณยศวดี -         แปลว่าถ้าหนูฝึกจนคุ้นชินกับความเปิดกว้าง หนูก็จะเอามาใช้ได้เร็วขึ้น

 

ดังตฤณ -      ถูกต้อง ถูกต้อง

 

คุณยศวดี -         ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ 

 

นาที 2.57.52

คุณแตงโม -  ขอบคุณมากนะคะ ค่ะอาจารย์ ตอนนี้มีคำถามสุดท้ายของวันนี้นะคะเนื่องจากเวลานี้ก็ใกล้จะหมดแล้วนะคะ ก็คือว่าในยุคปัจจุบันเนื่องจากโรคระบาดด้วย เศษฐกิจด้วยหลายอย่างนะคะตอนนี้น่ะเนี่ย ถ้าเรามองไปรอบๆตัวเนี่ยเราไม่สามารถมองหาความสุขหรือแสงสว่างได้เลยเนี่ยคือเราจะมีวิธีฝึกยังไงคะอาจารย์ 

 

ดังตฤณ จริงๆแล้วถ้ามองแบบพุทธนะ โลกทั้งใบชีวิตทั้งหมดเนี่ยเป็นแค่เปลือก เราเป็นจิตวิญญาณที่เริ่มต้นจากความโง่หลง เป็นจิตวิญญาณที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ด้วยกันทุกคน คือถ้าไม่มีความไม่รู้ ไม่มีอวิชาเนี่ยอะนะมันไม่มีการสั่งสมบุญสั่งสมบาป แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่อย่างที่เป็นอยู่  เมื่อไม่มีการสั่งสมบุญสั่งสมบาปแบบไม่รู้แบบรู้อิโหน่อิเหน่ มันก็ไม่มาเกิดในโลกแบบนี้หรอก ทีนี้ ถ้าเรามองนะว่าอะไรๆทั้งหลายในโลกนี้มันเป็นเปลือกมันเป็นเหยื่อล่อ ให้เรากระทำอะไรบางอย่างไป เป็นครั้งๆ อย่างเช่น โควิดมา แล้วใจของเรามีแต่ความเศร้าหมอง นี่เรียกว่าเป็นการโต้ตอบกับเปลือกของชีวิตด้วยแก่นที่ผิด แก่นของชีวิตเนี่ยอยู่ที่นี่เท่านั้น อยู่ที่จิตมันจะเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าเปลือกของชีวิตมามืด แล้วแก่นของชีวิตมืดตาม นี่เรียกว่าเราตกต่ำถึงที่สุด แต่ถ้าเปลือกชีวิตมามืด แล้วใจเราสู้ สู้ไปในทางที่จะทำให้มันเกิดความสว่างขึ้นมา นี่เรียกว่าเรายังตกต่ำไม่ถึงที่สุด ณ เวลานั้น และมีทิศทางที่จะขึ้นสูงที่จะสว่างทั้งภายในและภายนอกในเวลาต่อมา ในที่สุดนะ พูดง่ายๆนะทุกสถานการณ์ที่มันเลวร้าย คือเปลือกของชีวิตที่จะมากระตุ้นมากระแทกให้แก่นของชีวิตทำงาน ทีนี้มันจะทำงานแบบไหน ทำงานแบบมืดตามมัน ตามเปลือกชีวิต หรือว่าจะสว่างขึ้น เอาชนะเปลือกของชีวิตได้ นี่แหละคือแก่นสารแบบที่พุทธเราเป็นไป

 

โอเคบางคนเนี่ยอาจจะรู้สึกว่า ยังไม่มีกำลังหรอก ยังไม่มีแรงที่จะมาฝึกฉันทะทำสมาธิ แต่คุณควรจะเกิดฉันทะ เกิดความพึงพอใจ ที่จะมองแบบที่พุทธชี้ให้มอง คืออะไรๆในชีวิตเนี่ยมันเป็นเปลือก ข้างนอก แก่นจริงๆของชีวิตคือจิตที่มันอยู่ข้างใน ถ้าใจของคุณนะมันหาทางที่จะสว่าง แล้วก็เอาชนะเปลือกของชีวิตได้ อันนั้นแหละคือสิ่งที่พิสูจน์ว่าคุณกำลังอยู่ในทิศทางที่จะดีขึ้น ขอแค่เรามีความรู้สึกนะ ตรงนี้นะว่ามันอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แล้วก็อยู่ในทิศทางที่มันจะไม่มืดตามเปลือกของชีวิต นั่นแหละตัวนี้แหละไม่ต้องไปคิดทำอะไรขึ้นมา มันจะรู้สึกขึ้นมาที่ใจของตัวคุณเองว่าชีวิตนี้ยังดีอยู่นะ 

_______
ถอดคำโดย : 
Lee+ & Apple

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น