วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นั่งสมาธิแล้วอึดอัดหายใจไม่ออก

ถาม : สวัสดีค่ะ เพิ่งมาครั้งแรกเหมือนกันนะคะ  เออ...แต่ก่อนนะคะ เวลาที่นั่งสมาธิก็จะนั่งแบบดูลมหายใจตัวเองคะ  แล้วก็จะรู้สึกสงบ แล้วก็นั่งได้อย่างสบายค่ะ  แต่ว่ามาพักหลังๆ จะรู้สึกอึดอัดมากเลย ทั้งอยากนั่งในสงบ และอยากที่จะดูลมหายใจให้เห็นนะคะ  ยิ่งนั่งก็จะยิ่งอึดอัด ก็หายใจไม่ออก จนต้องมาเปิดธรรมะฟังควบคู่กับการนั่งสมาธิไปด้วยค่ะ  ต้องแก้ยังไงบ้างคะ 

รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/LYX9k499cIA
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๗
๙ กันยายน๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก 

ดังตฤณ: 
คือไม่ใช่เริ่มต้นด้วยคำถามว่าจะแก้ยังไงถึงจะกลับไปนั่งสมาธิได้ดีเหมือนแต่ก่อนนะครับ  น้องต้องเข้าใจอารมณ์ตัวเองนิดหนึ่ง คือมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาง่ายอยู่แล้ว  มันพลิกจากสุขเป็นทุกข์  พลิกจากสบายใจอยู่ดีๆ ไปคิดมาก เรื่องไม่เป็นเรื่อง อะไรอย่างนี้ เพราะว่าคนรอบตัวเรา มันชวนคุยเรื่องแบบ ทำให้กังวลไปล่วงหน้าอะไรอย่างนี้ หรือไม่ก็ไปคิดเรื่องคนอื่น 

บางทีใจเรามันมี 2 แบบ  บางทีเราก็เต็มใจคิดตามเขา พูดไหลไปตามเขา  แต่บางทีมันก็รู้สึก มันไม่อยากไปเรื่องเล็กเรื่องน้อยอะไรอย่างนั้นอะไรอย่างนี้อะนะ    คือมันมี 2 อารมณ์  2 อารมณ์นี้มันขัดแย้งกันได้ แล้วสะสมเป็นความรู้สึกอึดอัดมากขึ้นได้  เข้าใจคำว่าเรื่องไม่เป็นเรื่องไหม บางที บางที เรารู้สึกเหมือนกับว่า ไอ้นี่ไม่เห็นต้องคิด รู้สึกอยู่ในใจลึกๆ นะ ไม่เห็นต้องคิดก็ได้ แต่มันก็เก็บมาคิด นี่แค่นี่เป็นความขัดแย่งที่ก่อให้เกิดความอึดอัดได้ก่อนนั่งสมาธิแล้ว  พูดง่ายๆ ก่อนนั่งสมาธิมันมีความอึดอัด มันมีความเป๋ไปเป๋มาตามคลื่นรบกวนในสมองอยู่แล้วก่อนหน้า  พอนั่งสมาธิเนี่ยเราก็ไปเห็นมัน  ถึงไอ้ความขัดแย้ง ถึงไอ้ลักษณะที่มันปั่นป่วนอยู่ข้างใน  มันไม่ใช่ว่าเรานั่งสมาธิถูกหรือผิด ที่นี่เราต้องดูจิตที่มันดำเนินไประหว่างวันเนี่ย 

เวลาเราใช้ชีวิตระหว่างวันเนี่ยนะ มันประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน คนทั่วไป ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิแค่ครึ่งชั่วโมง แปลว่ามีเวลา 15 ชั่วโมงครึ่ง ที่เราไปทำอย่างอื่น หรือไปสะสมพฤติกรรมทางจิตในแบบอื่นที่ไม่ใช่นั่งสมาธิ นี่ถ้าเราสำรวจ  คืออย่างที่พี่เห็นเนี่ย คือ คนรอบตัวเรา คุยกันแบบผู้หญิงนะ

ผู้ถาม : ใช่ค่ะ

ดังตฤณ: 
มันผู้หญิ้งผู้หญิงนะ แล้วก็จะไม่นินทาคนโน้นคนนี้ก็นะ จะแบบเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาใส่หัว

ผู้ถาม : เม้าท์กันตลอดเวลาค่ะ

ดังตฤณ: 
บางทีเราก็สนุกไปกะเขา บางทีเราก็รู้สึก เอ๊ะมันพูดไปทำไมเนี่ย อะไรแบบนี้ วนไปวนมาอยู่นั่นแหละนะ แล้วก็ แต่เนื่องจากรู้สึกเซฟ (SAVE) ตรงนั้นไง เรารู้สึกว่ามันเป็นเพื่อนนะ  นี่คบคนฉันท์ใดก็กลายเป็นคนฉันท์นั้นแหละ คือ

ผู้ถาม : บางทีอาชีพมันพาไปค่ะ

ดังตฤณ: 
เข้าใจ เข้าใจ โอเค ก็เห็นอยู่ว่าเนี่ยคนเพี่อนในอาชีพนั่นแหละ ประเด็นคือพอเราทำความเข้าใจเป็นภาพรวมอย่างนี้ มันก็จะเกิดมุมมองอีกมุมมองหนึ่งนะ จำได้ไหม เมื่อกี้ตั้งต้นขึ้นมาเราถามพี่ว่าจะทำยังไงให้กลับมาสงบในการนั่งสมาธิ

ตอนหลังๆนั่งแล้วอึดอัด ตอนหลังๆ นั่งแล้วรู้สึกปั่นป่วน ที่จริงที่พี่พูดก็คือว่า มันไม่ได้ตอนหลังๆ มันหนัก  ตอนหลังๆ มันปั่นป่วน มันปั่นปวนอยู่แล้ว คือมารับคลื่นความปั่นป่วนมา 15 ชั่วโมงครึ่ง แล้วเสร็จแล้วเราจะมาใช้ครึ่งชั่วโมงเนี่ยเป็นตัวฟอกนะครับ เป็นตัวทำความสะอาดชำระล้างอะไรให้เสร็จสิ้น แล้วก็คาดหวังว่าทุกอย่างจะดีภายในครึ่งชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เห็นไหมมันไม่สมเหตุสมผล น้ำหนักมันไม่ได้ เราเห็นภาพตรงนี้ชัดเจนแล้วเนี่ย  ท่าทีต่อไปในระหว่างชีวิตประจำวันเนี่ย เออ...มันจะปรับไปนิดหนึ่ง โอเคเราไม่สามารถที่จะเลิกคบคนที่เป็นนกกระจิกนกกระจอกรอบตัวนะครับ แต่เรามีวิธีใหม่ที่จะรับมือกับนกกระจิกนกกระจอกเหล่านั้น เราคือเราไม่ต้องไป ปริบ ปริบ ปริบ ตามเขาก็ได้  คือบางทีเราให้สติเขาบ้าง

เรารู้สึกไหมบางทีเนี่ย เราเห็นนะเนี่ยว่าเรื่องนี้ไม่ต้องพูดซ้ำก็ได้ แต่ที่ผ่านมาเราตามใจ เราปล่อยตาม หรือไม่ก็เออออ อย่างมากก็ฉีกยิ้มรับนะว่า โอเคเข้าใจว่าเพื่อนเราเขาเป็นอย่างนั้น ก็ต้องพูดอย่างนั้น

ที่ถ้าเราเปลี่ยนท่าทีใหม่  คือแค่คิดว่าเราจะให้สติเขาบ้าง เออ...ไอ้ตรงนี้พูดซ้ำแล้ว เราฉีกไปเรื่องอื่นบ้างก็ได้ หรือพูดเรื่องที่เขาคาดไม่ถึงว่าเราจะพูดนะครับ พูดเรื่องสติ พูดเรื่องนะ มันดูเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม

ผู้ถาม : บ้างทีหนูก็คล้อยตามเขาค่ะ 

ดังตฤณ: 
คือพูดเรื่องว่า  “เฮ้ย พูดอย่างเนี่ยฟุ้งซ่านวะ” อะไรแบบนี้ คือแกล้งพูดขึ้นมา ไม่ต้องพูดเรื่องสมาธิก็ได้  เฮ้ย..ตอนนี้ไม่ไหวแล้ววะ มันมันปั่นปวนเหลือเกินอะไรอย่างนี้  เออ..อย่างน้อยมีการเบรค ด้วยท่าทีที่ เราเบรคคนอื่นด้วยท่าทีที่มันเฟรนด์ลี่ (Friendly) นะ ไม่ใช่ท่าทีที่แบบ เฮ้ย...อย่าไปสอนเขา หรือว่าจะไป เออ..นี่นี่ฉันไปนั่งสมาธิมาอย่ามารบกวนจิตใจฉันอะไรอย่างนี้ อย่าให้เขารู้สึกเป็นลบ นะ คือคือก็แค่ประมาณว่า ตอนนี้มันเปลี่ยนเรื่องดีกว่า เออ...อย่างนี้ คือ มันมันเป็นไปได้ แล้วมันตรงกับใจเราลึกๆด้วย

บางคนที่เคยนั่งสมาธิเนี่ยนะ มันไม่ชอบหรอก อะไรที่มันแบบหยุกหยิกหยุกหยิก อยู่แบบเหมือนกับนกกระจิกนกกระจอกมาพูดอยู่ในหัวเราเนี่ย  เราจะเป็น พอมาเริ่มต้นเนี่ย โอเค เราเราอย่างน้อยเรากล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนะ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแบบหักหักดิบ แต่ว่าค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป  ทีละนิดทีละหน่อย แล้วก็ชวนคุย คือเตรียมท็อปปิค (Topic) ไว้เลย  เนี่ยว่าถ้าเอาละนะเข้าเข้าขั้นนั้นขึ้นมาเนี่ยเราจะงัดท็อปปิค (Topic) นี้มาใช้ เออ...นี่ถ้าเป็นได้อย่างนี้ สติมันจะเริ่มเริ่มได้จุดเริ่มต้น

แล้วก็ เออ...เวลาสวดมนต์ คืออย่าเป็นพวกอธิษฐานขอหรือว่าอย่าเป็นพวกคาดหวังอะไรจากการสวดมนต์ นะครับให้  ถ้าจะคาดหวังถ้าจะขอ ขอเดี๋ยวนั้นเลยคือว่าสวดมนต์แล้วเนี่ยให้ใจของเรามีความสุขกับการสวด  เปล่งเสียงไปแค่ไหนเราจะใช้แก้วเสียงนี่บูชาพระ เราจะมีความสุขกับการใช้แก้วเสียงนี้บูชาพระ เอาแค่ความสุขตรงนั้น

ก็บางที มันเหมือนกับเหมือนกับในขณะสวดนะ เรายังคิดๆ เรื่องอื่นอยู่ มันมันไม่มีความสุขอยู่กับการสวดจริงๆ คือคล้ายๆ อยู่กับคลื่นความฟุ้งซ่านนะครับ  ในการสวดเราสวดเต็มๆเสียงไปเลย “อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ”  แล้วก็รู้สึกถึงความสุขที่ได้เปล่งเสียง แล้วก็รู้ หยั่งรู้ว่าเนี่ยที่เราเปล่งเสียงเนี่ยเป็นการเปล่งเสียงบูชาพระรัตนตรัย แล้วก็มีความสุข  พยายามมีความสุขกับมัน พยายามมีความสุขกับการเปล่งเสียง ไม่งั้นเนี่ยคลื่นความคิดจะพาเราไปเรื่อยนะครับ สวดเสร็จบ้างทีก็อาจไม่ได้อธิษฐานอะไรทุกครั้ง หรือว่าตั้งความคาดหมายอะไร แต่มัน เออ...ความคิดมันจะไม่อยู่กับบทสวดนะครับ    ก็อาจจะบางทีเนี่ย ประมาณว่าเรายังหวังโน้นหวังนี้จากการปฎิบัตินะ แทนที่จะหวังที่จะได้ความสุขเดี๋ยวนั้นเลย หวังที่จะได้ เออ...เห็นความไม่เที่ยงของภาวะอย่างพี่สั่งสอนมาตั้งแต่ต้นเนี่ยตั้งแต่การไกด์เรื่องสมาธินะครับ  ตรงนี้พอเราเข้าใจภาพรวม  แล้วก็เอาไปลองทำดูใหม่ ทีละสเต็ป (Step) ทีละขั้นทีละตอนนะครับ จากเรื่องพูดระหว่างวันนะครับ จนเรื่องการสวดมนต์เอาความสุขในการเปล่งเสียง ตอนนี้เวลากลับมาทำสมาธิอีกครั้งหนึ่งเราจะรู้สึกว่า  เออ....เป็นภาวะที่มันเป็นอุปสรรคมันหายไป มันเหมือนกับมีความพร้อมที่จะนิ่งกลับมาใหม่นะครับ

ผู้ถาม :
แล้วปกติเวลาที่หนูนั่งสมาธิอะค่ะ   หรือว่าแบบนั่งกับเพื่อนๆ ก็จะเปิดธรรมะฟังกันไปด้วยอะคะ  แล้วเวลาที่นั่งสมาธิแล้วเสียงของพระเทศน์ก็จะเข้ามา แล้วหนูก็จะคิดตาม พอคิดตามแล้วก็จะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าบางทีพยักหน้าหรือว่าอมยิ้มไปกับเสียงที่พระเทศน์อะไรอย่างนี้ จนมารู้ตัวอีกทีก็คือพยักหน้าไปแล้วอะค่ะ อันนั้นคือการฟังธรรมเฉยๆ รึเปล่าคะ

ดังตฤณ: 
เออ....ไม่จำเป็นต้องไปคาดคั้นตัวเองรู้ทุกกระดิ่งนะครับ เอาแค่ว่าเราพยักหน้าไปแล้ว ก็รู้ว่าพยักหน้าแค่นั้นก็เรียกว่าสติแล้ว  หรือถ้าหากว่าเราจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับอิริยาบทปัจจุบัน แต่ว่ายังติดตามเนื้อหาธรรมะได้ต่อเนื่อง นี่ก็เรียกว่าสติเช่นกัน

แล้วก็เวลาที่เราจะ เออ..นั่งสมาธิไปด้วยหรือว่าฟังเทศน์ไปด้วยเนี่ยนะ สิ่งที่มันควรเกิดขึ้น คือสำรวจใจของตัวเองว่ามันมีอาการที่ไม่วอกแวกไม่ซัดส่ายรึเปล่า ถ้าวอกแวกถ้าซัดส่ายเรายอมรับตามจริงไป แต่ถ้ามันมีความนิ่งมีความตั้งมั่นดี เราก็รู้อยู่เห็นอยู่ว่าที่มันนิ่งมันตั้งมั่น เพราะว่ามันโฟกัสอยู่กับบทเทศน์หรือว่าโฟกัสอยู่กับลมหายใจนะครับ อันนั้นแหละถึงเรียกว่าเป็นการรู้ แล้วก็ถ้าให้ดี คือเราสังเกตไปด้วยนะครับว่าไอ้อาการทางใจนะเดี๋ยวมันก็สงบเดี๋ยวมันก็ฟุ้งซ่าน เดี๋ยวมันก็ตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะ เดี๋ยวมันวอกแวก เออ..เป๋ไปมันต่างกันยังไง อาศัยลมหายใจในแต่ละครั้งๆ เป็นเครื่องวัดเป็นเครื่องสังเกตนะครับ

ผู้ถาม :
ขอบคุณค่ะ หนูอยากจะบอกพี่ว่าพี่เป็นไอดอลของหนูมากเลยค่ะ เพราะพี่เป็นคนที่พาหนูเข้าสู่ประตูธรรมะเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ดังตฤณ: 
ยินดีครับ




อยากมีสมาธิจดจ่อกับงานแบบที่เคยทำได้

ถาม : ปกติไม่ค่อยได้นั่งสมาธิเท่าไหร่ สมาธิจะเกิดขึ้นเวลาทำงานมากกว่า ช่วงที่มีสมาธิทำงาน หัวสมองมันโปร่ง ทำงานได้เร็ว มีประสิทธิภาพ รู้สึกเบา สบาย แล้วก็สามารถทำงานได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย แต่บางทีมันก็ไม่มีครับ  อยากทราบว่ามีวิธีที่จะฝึกให้เกิดสภาวะนั้นบ่อยๆไหม เพราะรู้สึกว่ามันมีประสิทธิภาพมาก

รับฟังทางยูทูบ:  https://youtu.be/VzujgXbr3e0 
ดังตฤณวิสัชนา๒๕๕๖ ครั้งที่ ๗ 
๙ กันยายน๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก 
 
ดังตฤณ:  
เอาที่เห็นนะ คือตอนที่เราทำได้เนี่ยเรารู้สึกมันสว่าง มันเหมือนกับฉลาด มันเหมือนกับไหลลื่น ความคิดมันไม่ติดขัดอะไรอย่างนี้ เพราะว่าขึ้นต้นมาก่อนทำงานเนี่ยมันมีความพร้อม มันเหมือนกับไม่มีเรื่องขัดแย้งในใจอยู่ 

อย่างเช่นนะครับว่า ไม่ได้ไปออกความเห็นถกเถียงกับใครมา ไม่ได้ เออ...มีความคิดว่า เฮ้ย..เออ...มีอะไรติดตามอยู่ในเฟlไหมอยู่ในเน็ตไหมอะไรต่างๆ นะครับ  มันมีแต่ใจที่พร้อมโฟกัส 

แล้วก็เรื่องร่างกายนะครับ มันรู้สึกตอนนั้นแข็งแรง   แต่พอรู้สึกเหมือนกับอะไรๆตีบตันไปหมดเนี่ย เริ่มขึ้นมาจากอารมณ์โทสะในทางใดทางหนึ่ง อย่างเช่นเพิ่งไปออกความเห็นขัดแย้งกับเขาไปมา หรือว่ามีความคิดติดวนอยู่ในหัวว่า  เอ๊ะ...ว่าเราถูกหรือเราผิด เคยรู้สึกไหมเวลาที่ตรงมานั่งสำรวจว่า เฮ้อ....ความคิดเราถูกหรือมันผิดเนี่ยมันจะติดไปหมดเลย   

ผู้ถาม :มีครับ บางทีมันคิดทั้งวันเลย 

ดังตฤณ:  
เออ...ตัวเนี่ยแหละนะครับ แล้วก็อีกอันหนึ่ง คือ อย่างกำลังคาใจอยู่กับ คือกำลังขัดแย้งอยู่ระหว่างอยากสนุกกับอยากทำงาน  บางทีมันมาด้วยกัน อยากบันเทิงด้วยนะครับ อยากจะกระจุ๋มกระจิ๋ม แต่ในขณะเดียวกันอยากจะซีเรียสกับงาน

บางทีความขัดแย้งที่ไม่รู้ตัว ความรู้สึกที่เหมือนติดขัดอยู่ข้างในที่เป็นจุดเริ่มต้นนั่นแหละ มันเป็นทั้งหมดที่ทำให้เราติดขัด  คือพอเริ่มต้นนั่งทำงานด้วยอาการที่ไม่รู้ตัวว่ามีอะไรขัดแย้งสะสมอยู่บ้างเนี่ย มันยิ่งคิดมันยิ่งจะรู้สึกเหมือนกับใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว นี้ถ้าก่อนทำงานเราสำรวจ แล้วก็เออ...เห็นเสียได้ว่า ตอนนี้ ด้วยภาวะอารมณ์แบบนี้ ถ้าไม่ด้วยติดใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่น่าติดใจนะครับ  ในเชิงแบบที่มันเป็นความยั่วยวนนะครับ  แล้วก็ไม่ก็เป็นเรื่องติดค้างอยู่กับข้อถกเถียงหรือว่าเอาถูกเอาผิด เราจะรู้สึกถึงภาวะทางใจที่มันป่วนๆ อยู่ ที่มันอึดอัดอยู่ หรือว่ามันมีความไม่ลงตัว มันมีความรู้สึกไม่ชอบเป็นตัวตั้งต้น เนี่ยตัวนี้เราก็สังเกตว่าพอทำงานเนี่ยตัวนี้มันจะเป็นเหมือนกำแพง หรือเหมือนเครื่องกีดขวางไม่ให้หัวแล่นไม่ให้ใจเราเปิดนะครับ 

สังเกตเป็นอาการทางใจไป อย่าไปอยากให้มันหายไป หรือว่าอยากจะให้หัวโล่งแล้วก็ฉลาดอย่างเดียว  เพราะอาการอยากนั่นเองบางทีมันเป็นตัวตั้งที่ทำให้ไม่เป็นอย่างนั้น มันกลายเป็นตัวตั้งที่ทำให้เราติดอยู่กับอาการวกไปวนมา 

เราจะเป็นคนที่รู้สึกดีถ้าไม่ฟุ้งซ่าน แต่พอฟุ้งซ่านขึ้นมาปุ๊ป มันจะรู้สึกแย่ทันที  เหมือนกับข้างในจะหาทางแก้อยู่ตลอดว่าจะทำอย่างไงให้หายฟุ้งซ่าน  เพียงแต่ว่ามันไม่มีความตอบที่เป็น ๑ ๒ ๓ นะครับ เราได้แต่แก้ความฟุ้งซ่านด้วยอาการตั้งอกตั้งใจทำงาน ซึ่งมันยิ่งฝืดขึ้นใหญ่  ตอนแรกมันฝีดอยู่แล้ว แล้วพอยิ่งฝืนทำงานมันก็ยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไป 

พอเข้าใจกลไกการทำงานของจิตอย่างนี้ มันก็จะได้รู้จักยอมรับบ้าง ถึงแม้จะฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะรู้สึกอึดอัดติดขัดยังไงก็แล้วแต่ ในอกมันจะตีกันอีรุงตุงนัง หรือว่าในหัวมันจะเอาถูกเอาผิดอะไรก็แล้วแต่  เรายอมรับสภาพว่านี้ มันกำลังปรากฎสภาวะอย่างนี้ แล้วเนี่ย..มันจะโล่ง คือเห็นไหมมันไม่ได้โล่งทั้งหมดทีเดียวนะ มันยังมีอะไรติดค้างอยู่นะ  แต่อย่างน้อยใจมันเริ่มเปิด ด้วยอาการที่ใจมันเริ่มเปิดแล้ว ก็ไม่เค้น ไม่คาดคั้นกับตัวเองมากจนกระทั่งมันเป็นคลื่นรบกวนซะเองนะครับ มันจะเริ่มงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือไม่ได้เริ่มทำงานด้วยโทสะ แต่เริ่มทำงานด้วยความรู้สึกที่ เออ...พร้อมจะยอมรับ   

สรุปง่ายๆ เป็นคำสั้นๆ ก็คือ ถ้าเริ่มต้นทำงานด้วยโทสะ มันก็จะไปตามเส้นทางของความตีบตัน แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยการทำงานแบบยอมรับสภาพนะครับ มันจะค่อยๆ โล่ง  มันอาจจะไม่โล่งทีเดียวตั้งแต่ต้น แต่มันจะค่อยๆโล่งขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาตามนาทีที่ผ่านไปนะครับ 

ผู้ถาม :ขอบคุณครับ 


นั่งสมาธิแล้วรู้สึกฟุ้งซ่านมาก

ถาม : เออ...เป็นคนที่นั่งสมาธิแล้วยอมรับว่าฟุ้งซ่านมาก อาจจะด้วยภาระหน้าที่การงานซึ่งจะต้องคิดอะไรเตลิดเปิดเปลิงอยู่ตลอดเวลานะครับ แล้วก็ชอบนั่งสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ ธรรมะปฏิบัติธรรม ทำครบทุกอย่าง ก็..ก็ดีใจอย่างหนึ่งว่า พอตั้งคำถามนั้น พอมาถึงพี่ตุลย์ เริ่มจากฝ่ามือ เออ..ฝ่าเท้า มือ หน้า เออ.. มันทำลายความฟุ้งซ่านของผมได้ มันทำลาย ทำให้ผมยังมีเวลาพอที่จะกลับมานึกถึงอานาปาณสติ นึกถึงลมหายใจของผม เออ...พี่ไกด์มาว่า มันยาวบ้าง สั้งบ้าง ไม่ต้องหายใจบ้าง เออ..มันได้  แต่พอมันมาถึงจุดหนึ่งมันเข้ามาถึงข้างในมันจะเกิดคือยอมรับว่า วันนี้ที่มามันก็จะมีภาวะทางจิตใจที่มันมีความรู้สึกผิด รู้สึกไม่ดี รู้สึกไม่อยากที่จะรับรู้อะไรหรือยอมรับอะไรมาติดตัวตั้งแต่มาถึง….  

รับฟังทางยูทูบ:  https://youtu.be/PrhDLjsHSp4 
ดังตฤณวิสัชนา๒๕๕๖ ครั้งที่ ๗ 
 กันยายน๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก 
 
ดังตฤณ:  
อืม..มันๆเหมือนจิตเราจะรู้สึกคล้ายๆมีอะไรเปื้อนๆ 

ถาม : ครับ 
ดังตฤณ:  
มีอะไรที่มันเหมือนกับไม่..ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่สะอาดเหมือนอย่างที่เรา เออ.. รู้สึกว่ามันน่าจะเป็นอะไรอย่างเนี่ย 

ถาม : อืม..มัน 
ดังตฤณ:  
คือไอ้ความรู้สึกผิดนี่นะหรือความรู้สึกแย่ๆอะไรก็แล้วแต่นี่นะ มันเหมือนปฏิกูล มันเหมือนของปนเปื้อน เออ..เพราะว่าใจเราถ้าอย่างจะรู้สึกดีกับตัวเองรู้สึกดีกับโลกเนี่ย มันต้องเป็นความรู้สึกที่สะอาดนะครับ. 

ถาม : ครับ..ก็เลยจะมา ก็เลยอยากถามพี่ว่า เอ..แล้วผมจะจัดการกับก้อนนี้ยังไง เพราะว่าตอนแรกมาถึง พอควบคุมตัวอยู่ เข้ามาลึกถึงในความคิด มันเหมือนอะไรสักอย่างที่แผ่อยู่เต็มหัว 

ดังตฤณ:  
ตรงนี่ไงที่..พี่ ที่พี่พูดเมื่อกี้เนี่ย ว่ามันรู้สึกเหมือนมีอะไรเปื้อนๆอยู่ คือพอเรามีภาพทางใจที่ชัดเจน ว่าตอนเนี่ย เราคล้ายๆเห็นอะไรที่มันไม่ค่อยสะอาดอยู่ คือไม่ใช่หมายความว่าสกปรก เออ..แบบอกุศลอะไรแบบนั้นอะนะ แต่หมายความว่ามันไม่สะอาด เหมือนอย่างที่เราคิดว่าที่มันน่าจะสะอาด ตัวนี้จะเป็นภาพทางใจที่ชัดเจนว่าเราจะดูตรงไหน คือถ้าไม่มีภาพทางใจที่ชัดเจนอยู่ข้างในเนี่ย บางทีเราไม่รู้ว่าจะดูด้วยความเป็นยังไง เพราะลักษณะของอารมณ์หรือลักษณะของความปรุงแต่งทางจิตเนี่ย มันค่อน..ค่อนข้างพิศดาร การที่เราแค่รู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่ แต่..เออ..ไอ้ความรู้สึกตรงนั้นพอมันเปลี่ยนแปลงไป เรา..เรามองไม่เห็นชัดเจนเนี่ย มันก็เหมือนกับไม่ได้ดูไม่ได้รู้ แต่ถ้าเราบอกกับตัวเองไว้เนี่ย มันคล้ายๆ กับขยะสกปรก อะไรที่แปดเปื้อนจิตเราอยู่ แล้วอะไรที่แปดเปื้อนนั้นมันหายไป เวลาที่มันหายไปเรารู้สึกสะอาดขึ้น มันจะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน เนี่ย..เหมือนอย่างตอนนี้ ทีพอมัน อ๋อ แล้วเออ..มันเคลียร์ ตัวนี้เคลียร์ออกไปเนี่ย มันก็คือลักษณะความแตกต่างของจิตที่มันแสดงตัวให้เราดู นี่คือ..อย่างเมื่อกี้นี้ ตอนอย่างก่อนเข้ามา เรื่องของเรื่องเนี่ย คือเราไม่ได้รู้ แต่เราใจร้อนว่าอยากจะเห็นมันหายไป 

ถาม : อยากรู้ว่ามันจะหายไปได้อย่างไรมากกว่า 
ดังตฤณ:  
นั่นแหละ..คืออยากจะให้มันหายไปดังใจ 

ถาม : อยากรู้..พอมาถึงปุ๊บมันจะช่วยผมได้ไหม 
ดังตฤณ:  
ลักษณะที่คือเราไม่ได้มีอาการยอมรับไว้ก่อนว่าเนี่ยอาการแบบนี้มันกำลังปรากฏอยู่ มันมีความอยากรู้ อย่าง..ใช้..ใช้คำของน้องก็ได้ อยากรู้ว่าจะทำยังไง ตัวอยากรู้ว่าจะทำยังไงมัน..มันไม่ยอมรับแล้ว มันไม่ยอมรับสภาวะตรงนั้นแล้ว เข้าใจไหมมันรอไปข้างหน้า มันเล็งไปข้างหน้า มันไม่ได้ดูไปตรงนั้น ณ จุดที่เกิดขึ้น ณ จุดเกิดเหตุ มัน..มันรอไปเอาคำตอบข้างหน้าแล้ว หรือว่ารอไปพยายามกำจัดในเวลาต่อมาไม่ใช่ในเวลานั้น แต่ถ้าอย่างเราคุยกันอยู่ตอนนี้ ไอ้เนี่ยคือน้องดูในขณะที่มันกำลังปรากฏอยู่ตอนนี้เลย เวลาที่เกิดการยอมรับ มันยอมรับเดี๋ยวนี้เลย ไม่ใช่รอไปที่อื่นอีก 

ถาม : ครับ 
ดังตฤณ:  
มันก็มีอยู่แค่นี่ตรงเนี่ยว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็นขณะปัจจุบัน บางทีเรารู้สึกแล้วว่าเนี่ยมันปรากฏอยู่ เราเห็นแต่ไม่ยอมรับ คืออาการทางใจมันต่างกันเห็นปะ คือมันเห็นก็จริงแต่ไม่ยอมรับ แล้วเราพยายามเออ...เนี่ยสักแต่รู้ แต่จิตจริงๆ คือคือคำสั่ง กับอาการของจิตจริงๆ มันแตกต่างกัน เราบอกตัวเองว่าเออเนี่ยเรารู้แล้วนะ แต่มันไม่เห็นหายหรือว่าพยายามทำลายด้วยวิธีนั่งนึกอะไรก็แล้ว แต่..มันก็ไม่สำเร็จ เนี่ยพี่ชี้แค่นั้นเองว่า ในอาการ ณ เวลานั้นนะ มันไม่มีอาการยอมรับ พอมีอาการยอมรับ มันเบาทันที คือลักษณะของการยอมรับเนี่ย ขอให้มองไว้เลยว่า เป็นเครื่องหมายของสติ เพราะคำว่าสติเนี่ยหมายถึงความสามารถที่จะระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจบัน ตัวเนี่ยเรียกว่าสติ แต่คนเนี่ยไม่มีสติมีแต่ความอยาก จะให้เป็นอย่างนั้นจะให้เป็นอย่างนี้ หรือไม่ให้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ให้เป็นอย่างนี้ เข้าใจพ้อยส์นะ 




























วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เวลาเกิดการกระทบ ใจฟูขึ้นเร็วและลงเร็ว

ถาม : เวลาเกิดการกระทบ ใจฟูขึ้นเร็วและลงเร็ว  

รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/-0AZg1pHjzA    

ดังตฤณวิสัชนา๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕ การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส  
๖ กันยายน๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก  

ดังตฤณ: 
ของน้องมันเหมือนกับ ภาวะที่เกิดบ่อยอ่ะ มันจะหดหู่ นะ มันจะค่อนข้างไปในทางหดหู เพราะฉะนั้นเวลาที่เจอเรื่องน่าดีใจ มันจะเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ คือมันมีอาการตะกรุมตะกราม มันรอคอยอยู่ไง รอคอยความสดชื่น รอคอยความ รู้สึกสมหวัง สมใจ นะ แต่ ส่วนใหญ่ เราจะจมอยู่กับการหดหู่ ฉะนั้นลักษณะของอาการหดหู่ที่มันพร้อมจะเกิดขึ้นเนี่ย มันก็เป็นพวกเดียวกันกับเครื่องกระทบที่จะทำให้เกิดความทุกข์ พอมันพร้อมจะหดหู่อยู่แล้ว พอมีอะไรกระทบให้ทุกข์มันก็ยิ่งจมเข้าไปใหญ่ เข้าใจพอยท์ไหม 

ถาม : เข้าใจค่ะ 
  
ดังตฤณ: 
ของเราไม่ใช่เซนซิทีฟ (sensitive) กับสุขมากแล้วก็ทุกข์มากนะ แต่มันจมอยู่กับอาการหดหู่เป็นปกติ จมอยู่เรื่อย ๆ ทางออกนึงคือ ลองสร้างทุนให้ตัวเอง ฝึกสมาธิตามที่พี่ไกด์อ่ะ แต่อย่างเมื่อกี้เนี้ย พอเราฝึก ๆ ไป มันเหมือนกับ มันโครงเครง ๆ อยู่ข้างใน มันไม่ค่อยเก็ทเท่าไหร่ มันเหมือนกับ ยังมีอะไร ครอบ ๆ เราอยู่ ปิด ๆ เราอยู่ อย่าพอรู้สึกเท้า รู้สึกมืออะไรสบายขึ้นมานิดนึงแต่ใจมันไม่ยอมสบายตาม มันจะไม่เก็ทคำพูดของพี่ที่ว่า คือพอร่างกายรีแลกซ์ (relax) แล้วนี่จิตใจมันก็สบายตามไปด้วย คล้าย ๆ มันยังมีอะไรโปะอยู่ เราจะรู้สึกเนี่ย พอดูลมหายใจมันก็เลยดูแบบฝืน ๆ  

ทีนี้ น้องลองกลับไปทำดูบ่อย ๆ ไปซาวคลาวด์ดอทคอม (soundcloud.com) แล้วก็สแลช
ังตฤณ (/dungtrin) เนี่ยนะ ที่นั่นน่ะมันจะมีอย่างที่พี่พูดไกด์อยู่เนี่ยแหล่ะ ลองบ่อย ๆ ด้วยมุมมองอีกแบบนึง คือไม่ใช่ฝืนทำตาม แต่เป็นอาการค่อย ๆ สำรวจ ไล่มาจริง ๆ เท้า มือ ใบหน้า แล้วก็ร่างกายมันพร้อมจะหายใจไหม มันจะค่อย ๆ รู้สึกถึงความสดชื่นทีละนิด เพราะของเราเนี่ย มันเหมือน ความหดหู่มันโปะ โปะจิตมาจนเหมือนยาชา มาครอบ เราจะรู้สึกบางทีมันชา ๆ ชีวิตเป็นสิ่งมึนชา นะ มันไปไหนมาไหนเนี่ย มันรู้สึก แกะไม่หลุดออกจากอาการแบบนั้น  

ทีนี้ถ้าหากว่า มีตัวการเจริญสติแบบที่จะทำให้เข้ามารู้สึกถึงภาวะในกายในใจ แล้วก็รู้สึกถึงความปลอดโปร่งตามจริงที่มันจะปรากฏเมื่อเจริญสติแล้ว ตรงนี้มันก็จะกลายเป็นช่วงเว้นวรรคของความหดหู่ ของอาการซึม แล้วเสร็จแล้วเวลาเราดีใจ มันจะรู้สึกว่าไม่ได้ดีใจแบบตะกรุมตะกราม ในขณะเดียวกันเวลาที่มีความทุกข์จะไม่รู้สึกโอ้โห เฮริทเหลือเกิน ของเราชอบมีความรู้สึกเฮริท เฮริทมาก มันคล้าย ๆ ว่า เราเป็นผู้ถูกกระทำ อยู่ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่เราก็แหม เราว่าเราดี๊ ดี กับคนอื่นนะ เราก็ไม่ได้ไปอะไรกับใครมากมาย แต่เนี่ย ตรงเนี้ย ทั้งหลายทั้งปวงนะ คนทั้งโลกจะกระทำกับเราแค่ไหน มันไม่เท่ากับที่ความหดหู่มันกระทำกับเราตลอดเวลา คือเราและเราเป็นฝ่ายสมยอมด้วย ให้ความหดหู่มันครอบงำจิตใจของเรา เข้าใจอาการยินยอมไหม ยอมให้มันครอบอยู่ แล้วก็นึกว่า ไม่รู้จะทำยังไงให้มันดีขึ้น  

คือ ของเราเนี่ย โดยความคิด เราเป็นคนที่เข้าใจนะ ว่าไม่มีใครมาทำให้เรามีความสุขได้ เราคิดของเราอย่างนี้นะ แล้วก็ไม่ได้หวังพึ่ง หวังจะให้ใครมาช่วย เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ช่วยตัวเองด้วย คือไม่รู้จะช่วยยังไง มันมองไม่ออกว่าจะต้องไปอ่านหนังสือเหรอ จะต้องไปดูหนังเหรอ จะต้องไปโน้นไปนี่ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะ เหล่านั้นเนี่ยมันเป็นแค่ การที่ เราไป หาเรื่องสนุก เพื่อก่อความทุกข์แบบใหม่ ๆ ในรูปแบบใหม่ ให้มันตามมา แล้วมีอยู่จุดนึงในชีวิตเรา คือเรารู้สึกว่าเราทำตัวไม่ถูก ปฏิบัติตัวไม่ถูก ไม่รู้จะเอายังไงให้ใครพอใจ หรือว่า ตรงไหนที่มันเรียกว่าถูกต้องแล้ว ดีที่สุดแล้ว คล้าย ๆ ว่าคนโน้นก็จะเอาอย่างนั้น คุณพ่อจะเอาอย่างงี้ คุณแม่จะเอาอย่างงี้ หรือว่าอะไรต่าง ๆ เนี่ยนะ บางทีมันสับสน มันสับสนมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วไม่รู้จะทำตัวยังไงถูก  

นี่พูดตรงไปตรงมา มันจะได้ง่าย ๆ เข้าใจง่ายๆ หน่อยนะ เอ่อ เสร็จแล้ว อย่างมาเจอเพื่อน บางทีเราก็รู้สึกกลมกลืน เหมือนเราเป็นเด็กธรรมดาคนนึง แต่บางทีมันก็รู้สึกว่า เราไม่เคยเข้ากับใครได้เลย คือข้างในจริง ๆ เนี่ย มันไม่ใช่แบบที่ว่า ใครจะมาเข้าใจเรา เราเองเราก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเค้าต้อง มีเงื่อนไขอย่งนั้น มีเงื่อนไขอย่างนี้ ทำไมเค้าไม่คิดอย่างนั้น ไม่คิดอย่างงี้ มันเหมือนกับสรุปแล้วชีวิตทั้งชีวิตมันสับสน ปฏิบัติตัวไม่ถูก ไม่รู้จะเอายังไงดี ตรงที่ไม่รู้ะเอายังไงดี มาเอาทางนี้แหละถูกแล้ว ดีแล้ว นะ เหมาะสมที่สุดกับเราแล้ว คือมารู้ ดูก่อนเลยสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือภาวะที่หดหู่ ซึม ๆ รู้สึกเหมือนพร้อมที่จะซึมลงไป เมื่อไหร่ที่รู้สึกซึม หายใจทีนึงแล้วบอกตัวเองว่าเนี่ยอาการซึม ที่ลมหายใจนี้มันมีเท่านี้ อีกลมหายใจต่อมา บอกตัวเอง ถามตัวเอง มันเท่าเดิมไหม ถ้าหากว่ามันเท่าเดิมก็ยอมรับว่าเท่าเดิม แต่ถ้าหากว่าไม่เท่าเดิม เราก็รู้ว่าเนี่ยภาวะเปลี่ยนแปลงมาให้ดูแล้ว มาปรากฏให้ดูแล้ว นะ