วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นั่งสมาธิแล้วอึดอัดหายใจไม่ออก

ถาม : สวัสดีค่ะ เพิ่งมาครั้งแรกเหมือนกันนะคะ  เออ...แต่ก่อนนะคะ เวลาที่นั่งสมาธิก็จะนั่งแบบดูลมหายใจตัวเองคะ  แล้วก็จะรู้สึกสงบ แล้วก็นั่งได้อย่างสบายค่ะ  แต่ว่ามาพักหลังๆ จะรู้สึกอึดอัดมากเลย ทั้งอยากนั่งในสงบ และอยากที่จะดูลมหายใจให้เห็นนะคะ  ยิ่งนั่งก็จะยิ่งอึดอัด ก็หายใจไม่ออก จนต้องมาเปิดธรรมะฟังควบคู่กับการนั่งสมาธิไปด้วยค่ะ  ต้องแก้ยังไงบ้างคะ 

รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/LYX9k499cIA
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๗
๙ กันยายน๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก 

ดังตฤณ: 
คือไม่ใช่เริ่มต้นด้วยคำถามว่าจะแก้ยังไงถึงจะกลับไปนั่งสมาธิได้ดีเหมือนแต่ก่อนนะครับ  น้องต้องเข้าใจอารมณ์ตัวเองนิดหนึ่ง คือมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาง่ายอยู่แล้ว  มันพลิกจากสุขเป็นทุกข์  พลิกจากสบายใจอยู่ดีๆ ไปคิดมาก เรื่องไม่เป็นเรื่อง อะไรอย่างนี้ เพราะว่าคนรอบตัวเรา มันชวนคุยเรื่องแบบ ทำให้กังวลไปล่วงหน้าอะไรอย่างนี้ หรือไม่ก็ไปคิดเรื่องคนอื่น 

บางทีใจเรามันมี 2 แบบ  บางทีเราก็เต็มใจคิดตามเขา พูดไหลไปตามเขา  แต่บางทีมันก็รู้สึก มันไม่อยากไปเรื่องเล็กเรื่องน้อยอะไรอย่างนั้นอะไรอย่างนี้อะนะ    คือมันมี 2 อารมณ์  2 อารมณ์นี้มันขัดแย้งกันได้ แล้วสะสมเป็นความรู้สึกอึดอัดมากขึ้นได้  เข้าใจคำว่าเรื่องไม่เป็นเรื่องไหม บางที บางที เรารู้สึกเหมือนกับว่า ไอ้นี่ไม่เห็นต้องคิด รู้สึกอยู่ในใจลึกๆ นะ ไม่เห็นต้องคิดก็ได้ แต่มันก็เก็บมาคิด นี่แค่นี่เป็นความขัดแย่งที่ก่อให้เกิดความอึดอัดได้ก่อนนั่งสมาธิแล้ว  พูดง่ายๆ ก่อนนั่งสมาธิมันมีความอึดอัด มันมีความเป๋ไปเป๋มาตามคลื่นรบกวนในสมองอยู่แล้วก่อนหน้า  พอนั่งสมาธิเนี่ยเราก็ไปเห็นมัน  ถึงไอ้ความขัดแย้ง ถึงไอ้ลักษณะที่มันปั่นป่วนอยู่ข้างใน  มันไม่ใช่ว่าเรานั่งสมาธิถูกหรือผิด ที่นี่เราต้องดูจิตที่มันดำเนินไประหว่างวันเนี่ย 

เวลาเราใช้ชีวิตระหว่างวันเนี่ยนะ มันประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน คนทั่วไป ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิแค่ครึ่งชั่วโมง แปลว่ามีเวลา 15 ชั่วโมงครึ่ง ที่เราไปทำอย่างอื่น หรือไปสะสมพฤติกรรมทางจิตในแบบอื่นที่ไม่ใช่นั่งสมาธิ นี่ถ้าเราสำรวจ  คืออย่างที่พี่เห็นเนี่ย คือ คนรอบตัวเรา คุยกันแบบผู้หญิงนะ

ผู้ถาม : ใช่ค่ะ

ดังตฤณ: 
มันผู้หญิ้งผู้หญิงนะ แล้วก็จะไม่นินทาคนโน้นคนนี้ก็นะ จะแบบเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาใส่หัว

ผู้ถาม : เม้าท์กันตลอดเวลาค่ะ

ดังตฤณ: 
บางทีเราก็สนุกไปกะเขา บางทีเราก็รู้สึก เอ๊ะมันพูดไปทำไมเนี่ย อะไรแบบนี้ วนไปวนมาอยู่นั่นแหละนะ แล้วก็ แต่เนื่องจากรู้สึกเซฟ (SAVE) ตรงนั้นไง เรารู้สึกว่ามันเป็นเพื่อนนะ  นี่คบคนฉันท์ใดก็กลายเป็นคนฉันท์นั้นแหละ คือ

ผู้ถาม : บางทีอาชีพมันพาไปค่ะ

ดังตฤณ: 
เข้าใจ เข้าใจ โอเค ก็เห็นอยู่ว่าเนี่ยคนเพี่อนในอาชีพนั่นแหละ ประเด็นคือพอเราทำความเข้าใจเป็นภาพรวมอย่างนี้ มันก็จะเกิดมุมมองอีกมุมมองหนึ่งนะ จำได้ไหม เมื่อกี้ตั้งต้นขึ้นมาเราถามพี่ว่าจะทำยังไงให้กลับมาสงบในการนั่งสมาธิ

ตอนหลังๆนั่งแล้วอึดอัด ตอนหลังๆ นั่งแล้วรู้สึกปั่นป่วน ที่จริงที่พี่พูดก็คือว่า มันไม่ได้ตอนหลังๆ มันหนัก  ตอนหลังๆ มันปั่นป่วน มันปั่นปวนอยู่แล้ว คือมารับคลื่นความปั่นป่วนมา 15 ชั่วโมงครึ่ง แล้วเสร็จแล้วเราจะมาใช้ครึ่งชั่วโมงเนี่ยเป็นตัวฟอกนะครับ เป็นตัวทำความสะอาดชำระล้างอะไรให้เสร็จสิ้น แล้วก็คาดหวังว่าทุกอย่างจะดีภายในครึ่งชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เห็นไหมมันไม่สมเหตุสมผล น้ำหนักมันไม่ได้ เราเห็นภาพตรงนี้ชัดเจนแล้วเนี่ย  ท่าทีต่อไปในระหว่างชีวิตประจำวันเนี่ย เออ...มันจะปรับไปนิดหนึ่ง โอเคเราไม่สามารถที่จะเลิกคบคนที่เป็นนกกระจิกนกกระจอกรอบตัวนะครับ แต่เรามีวิธีใหม่ที่จะรับมือกับนกกระจิกนกกระจอกเหล่านั้น เราคือเราไม่ต้องไป ปริบ ปริบ ปริบ ตามเขาก็ได้  คือบางทีเราให้สติเขาบ้าง

เรารู้สึกไหมบางทีเนี่ย เราเห็นนะเนี่ยว่าเรื่องนี้ไม่ต้องพูดซ้ำก็ได้ แต่ที่ผ่านมาเราตามใจ เราปล่อยตาม หรือไม่ก็เออออ อย่างมากก็ฉีกยิ้มรับนะว่า โอเคเข้าใจว่าเพื่อนเราเขาเป็นอย่างนั้น ก็ต้องพูดอย่างนั้น

ที่ถ้าเราเปลี่ยนท่าทีใหม่  คือแค่คิดว่าเราจะให้สติเขาบ้าง เออ...ไอ้ตรงนี้พูดซ้ำแล้ว เราฉีกไปเรื่องอื่นบ้างก็ได้ หรือพูดเรื่องที่เขาคาดไม่ถึงว่าเราจะพูดนะครับ พูดเรื่องสติ พูดเรื่องนะ มันดูเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม

ผู้ถาม : บ้างทีหนูก็คล้อยตามเขาค่ะ 

ดังตฤณ: 
คือพูดเรื่องว่า  “เฮ้ย พูดอย่างเนี่ยฟุ้งซ่านวะ” อะไรแบบนี้ คือแกล้งพูดขึ้นมา ไม่ต้องพูดเรื่องสมาธิก็ได้  เฮ้ย..ตอนนี้ไม่ไหวแล้ววะ มันมันปั่นปวนเหลือเกินอะไรอย่างนี้  เออ..อย่างน้อยมีการเบรค ด้วยท่าทีที่ เราเบรคคนอื่นด้วยท่าทีที่มันเฟรนด์ลี่ (Friendly) นะ ไม่ใช่ท่าทีที่แบบ เฮ้ย...อย่าไปสอนเขา หรือว่าจะไป เออ..นี่นี่ฉันไปนั่งสมาธิมาอย่ามารบกวนจิตใจฉันอะไรอย่างนี้ อย่าให้เขารู้สึกเป็นลบ นะ คือคือก็แค่ประมาณว่า ตอนนี้มันเปลี่ยนเรื่องดีกว่า เออ...อย่างนี้ คือ มันมันเป็นไปได้ แล้วมันตรงกับใจเราลึกๆด้วย

บางคนที่เคยนั่งสมาธิเนี่ยนะ มันไม่ชอบหรอก อะไรที่มันแบบหยุกหยิกหยุกหยิก อยู่แบบเหมือนกับนกกระจิกนกกระจอกมาพูดอยู่ในหัวเราเนี่ย  เราจะเป็น พอมาเริ่มต้นเนี่ย โอเค เราเราอย่างน้อยเรากล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนะ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแบบหักหักดิบ แต่ว่าค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป  ทีละนิดทีละหน่อย แล้วก็ชวนคุย คือเตรียมท็อปปิค (Topic) ไว้เลย  เนี่ยว่าถ้าเอาละนะเข้าเข้าขั้นนั้นขึ้นมาเนี่ยเราจะงัดท็อปปิค (Topic) นี้มาใช้ เออ...นี่ถ้าเป็นได้อย่างนี้ สติมันจะเริ่มเริ่มได้จุดเริ่มต้น

แล้วก็ เออ...เวลาสวดมนต์ คืออย่าเป็นพวกอธิษฐานขอหรือว่าอย่าเป็นพวกคาดหวังอะไรจากการสวดมนต์ นะครับให้  ถ้าจะคาดหวังถ้าจะขอ ขอเดี๋ยวนั้นเลยคือว่าสวดมนต์แล้วเนี่ยให้ใจของเรามีความสุขกับการสวด  เปล่งเสียงไปแค่ไหนเราจะใช้แก้วเสียงนี่บูชาพระ เราจะมีความสุขกับการใช้แก้วเสียงนี้บูชาพระ เอาแค่ความสุขตรงนั้น

ก็บางที มันเหมือนกับเหมือนกับในขณะสวดนะ เรายังคิดๆ เรื่องอื่นอยู่ มันมันไม่มีความสุขอยู่กับการสวดจริงๆ คือคล้ายๆ อยู่กับคลื่นความฟุ้งซ่านนะครับ  ในการสวดเราสวดเต็มๆเสียงไปเลย “อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ”  แล้วก็รู้สึกถึงความสุขที่ได้เปล่งเสียง แล้วก็รู้ หยั่งรู้ว่าเนี่ยที่เราเปล่งเสียงเนี่ยเป็นการเปล่งเสียงบูชาพระรัตนตรัย แล้วก็มีความสุข  พยายามมีความสุขกับมัน พยายามมีความสุขกับการเปล่งเสียง ไม่งั้นเนี่ยคลื่นความคิดจะพาเราไปเรื่อยนะครับ สวดเสร็จบ้างทีก็อาจไม่ได้อธิษฐานอะไรทุกครั้ง หรือว่าตั้งความคาดหมายอะไร แต่มัน เออ...ความคิดมันจะไม่อยู่กับบทสวดนะครับ    ก็อาจจะบางทีเนี่ย ประมาณว่าเรายังหวังโน้นหวังนี้จากการปฎิบัตินะ แทนที่จะหวังที่จะได้ความสุขเดี๋ยวนั้นเลย หวังที่จะได้ เออ...เห็นความไม่เที่ยงของภาวะอย่างพี่สั่งสอนมาตั้งแต่ต้นเนี่ยตั้งแต่การไกด์เรื่องสมาธินะครับ  ตรงนี้พอเราเข้าใจภาพรวม  แล้วก็เอาไปลองทำดูใหม่ ทีละสเต็ป (Step) ทีละขั้นทีละตอนนะครับ จากเรื่องพูดระหว่างวันนะครับ จนเรื่องการสวดมนต์เอาความสุขในการเปล่งเสียง ตอนนี้เวลากลับมาทำสมาธิอีกครั้งหนึ่งเราจะรู้สึกว่า  เออ....เป็นภาวะที่มันเป็นอุปสรรคมันหายไป มันเหมือนกับมีความพร้อมที่จะนิ่งกลับมาใหม่นะครับ

ผู้ถาม :
แล้วปกติเวลาที่หนูนั่งสมาธิอะค่ะ   หรือว่าแบบนั่งกับเพื่อนๆ ก็จะเปิดธรรมะฟังกันไปด้วยอะคะ  แล้วเวลาที่นั่งสมาธิแล้วเสียงของพระเทศน์ก็จะเข้ามา แล้วหนูก็จะคิดตาม พอคิดตามแล้วก็จะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าบางทีพยักหน้าหรือว่าอมยิ้มไปกับเสียงที่พระเทศน์อะไรอย่างนี้ จนมารู้ตัวอีกทีก็คือพยักหน้าไปแล้วอะค่ะ อันนั้นคือการฟังธรรมเฉยๆ รึเปล่าคะ

ดังตฤณ: 
เออ....ไม่จำเป็นต้องไปคาดคั้นตัวเองรู้ทุกกระดิ่งนะครับ เอาแค่ว่าเราพยักหน้าไปแล้ว ก็รู้ว่าพยักหน้าแค่นั้นก็เรียกว่าสติแล้ว  หรือถ้าหากว่าเราจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับอิริยาบทปัจจุบัน แต่ว่ายังติดตามเนื้อหาธรรมะได้ต่อเนื่อง นี่ก็เรียกว่าสติเช่นกัน

แล้วก็เวลาที่เราจะ เออ..นั่งสมาธิไปด้วยหรือว่าฟังเทศน์ไปด้วยเนี่ยนะ สิ่งที่มันควรเกิดขึ้น คือสำรวจใจของตัวเองว่ามันมีอาการที่ไม่วอกแวกไม่ซัดส่ายรึเปล่า ถ้าวอกแวกถ้าซัดส่ายเรายอมรับตามจริงไป แต่ถ้ามันมีความนิ่งมีความตั้งมั่นดี เราก็รู้อยู่เห็นอยู่ว่าที่มันนิ่งมันตั้งมั่น เพราะว่ามันโฟกัสอยู่กับบทเทศน์หรือว่าโฟกัสอยู่กับลมหายใจนะครับ อันนั้นแหละถึงเรียกว่าเป็นการรู้ แล้วก็ถ้าให้ดี คือเราสังเกตไปด้วยนะครับว่าไอ้อาการทางใจนะเดี๋ยวมันก็สงบเดี๋ยวมันก็ฟุ้งซ่าน เดี๋ยวมันก็ตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะ เดี๋ยวมันวอกแวก เออ..เป๋ไปมันต่างกันยังไง อาศัยลมหายใจในแต่ละครั้งๆ เป็นเครื่องวัดเป็นเครื่องสังเกตนะครับ

ผู้ถาม :
ขอบคุณค่ะ หนูอยากจะบอกพี่ว่าพี่เป็นไอดอลของหนูมากเลยค่ะ เพราะพี่เป็นคนที่พาหนูเข้าสู่ประตูธรรมะเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ดังตฤณ: 
ยินดีครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น