ถาม : คราวนี้ก็มาถามเรื่องการปฏิบัติค่ะ คือพยายามจะนั่งสมาธิสม่ำเสมอ แต่ว่าเหมือนยังติดเพ่งอยู่
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/36QyzYeCRZY ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๗ การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
มันเป็นแค่ระลอกๆ มันไม่ได้ต่อเนื่อง เราเริ่มรู้ตัวไง..ว่าตอนที่มันหนักเกินไปมันจะมีอาการทางกายขึ้นมา
พอเราเริ่มรู้สึกหนักเราก็ถอน ถอนเป็นห้วงๆนะ อย่างเมื่อกี้ก็สบายกว่าทุกครั้งใช่ไหม
ถาม : ใช่ค่ะ
ดังตฤณ:
มันเป็นเพราะว่าเราฟังพี่ไกด์ไปด้วย ก็เอาไฟล์เสียงที่พี่ไกด์เนี่ย..ฟังไปก่อน ฟังไปซักระยะหนึ่ง จนกระทั่งมันรู้สึกเหมือนอยู่กับปัจจุบันได้จริงๆ ค่อยทิ้งไฟล์เสียงไป อย่างระหว่างวัน..บางทีมันก็รู้สึกเหมือนกับโล่งขึ้นมาได้เป็นพักๆ อยู่แล้ว แต่ก่อนมันจะหนักๆ อยู่เรื่อยๆ มันมีความรู้สึกเหมือนเราเป็นคนหมกมุ่น ครุ่นคิด คิดถึงปัญหา คิดถึงสิ่งที่มันน่าหนักใจ คิดนู่นคิดนี่ และจะบอกตัวเองว่าไม่คิดไม่ได้ มันต้องคิดอยู่ตลอด ด้วยนิสัยทางจิตแบบนี้ นิสัยทางความคิดแบบนี้นี่แหละ ที่ทำให้เป็นคนเพ่ง แล้วก็เป็นคนเหมือนกับพร้อมที่จะเข้าสู่ภาวะหนักๆ ข้นๆ บางทีเนี่ย..เราไม่ได้คิดอะไรแต่มันคิดให้เอง มันกลับมาหนักให้เอง ก็เพราะเราสร้างนิสัยความเคยชินมา
ทีนี้ถ้าเริ่มจากสมาธิ มันก็จะเป็นตัวทำให้รู้จักจังหวะของอาการที่จิตมันเริ่มจะเพ่งหนัก หรือว่ามีอาการคิดในเรื่องที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด มันจะทำให้เราเกิดข้อสังเกตในขณะหลับตา ในขณะนั่งพยายามดูอานาปานสติ ตัวนิสัยความเคยชินแบบนี้มันจะติดตัวไปในระหว่างวันด้วย อย่างที่เราเกิดความรู้สึกบางทีมันก็โล่งขึ้นมาเฉยๆ หรืออย่างตอนนี้ที่ยังอาจจะไม่คุ้น ไม่เต็มที่ ก็คือเวลาเราอยู่กับงานที่ไม่เต็มใจทำ ของเราจะมีความไม่เต็มใจบ่อย ตัวความไม่เต็มใจอ่ะ ลองสังเกตนะ พอไม่เต็มใจปุ๊บมันเข้มข้นขึ้นมาทันที มันมีอาการหนักๆ หน่วงๆ ขึ้นมาทันที มีอาการเหมือนคนคิดมากขึ้นมาทันที ลักษณะความไม่เต็มใจมันเป็นคลื่นรบกวนที่รุนแรงชนิดหนึ่ง พอเราเห็นความไม่เต็มใจปุ๊บเนี่ย แค่ถามตัวเองว่าหายใจเข้าหายใจออกครั้งนี้ บางทีที่น้องบอกว่ามีอาการเหมือนเสียวๆ เหมือนมีอะไร เนี่ย..แค่ความไม่เต็มใจมันขึ้น บางทีไมเกรนถามหาแล้ว หรือมีอาการเหมือนกับเสียวๆ แปล๊บๆ ขึ้นมาหรือมีอาการหนักๆ อึดอัดอะไรขึ้นมา พอลักษณะของความไม่เต็มใจเกิดขึ้นมาอย่าไปรังเกียจมัน แต่ให้ถามตัวเองว่า ตอนที่มันเกิดขึ้นเนี่ย..หายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่ในครั้งนี้ แล้วลมหายใจต่อมา มันเบาขึ้นหรือว่ายังหนักอยู่ ส่วนใหญ่มันจะหนักไปหลายลมหายใจ..ของน้องนะ แต่ว่าเราอย่าไปเร่ง ยิ่งเร่งมันจะยิ่งไม่พอใจ ยิ่งเร่งมันจะยิ่งอึดอัด แต่ถ้าเราใจเย็นคือตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าเราจะดูอาการอึดอัดไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ลมหายใจเราก็จะดูไปเรื่อยๆ มันจะคลายลง มันจะเบาลงด้วยอาการแบบนี้ เห็นไหม ที่ผ่านมามันพยายามเร่งรัดโดยไม่รู้ตัวเพราะนิสัยความเคยชินทางจิต พอมันมีอาการหนักๆ มันไปเร่งว่าจงหายหนัก อยากจะให้มันเบา เนี่ย..ตัวนี้แหละที่มันเลยไม่หายซักที แต่เนื่องจากเราทำสมาธิบ้าง อะไรบ้าง มันไปสร้างความเคยชินทางจิตอีกแบบหนึ่ง คือสักแต่มารู้ สักแต่มาดู ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าอย่างที่น้องว่า ว่าระหว่างบางทีมันเบาขึ้นมาเฉยๆ นั่นคือเครื่องสะท้อนว่าพฤติกรรมทางจิตของเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป คือไม่ได้จะยึดเอาๆ อย่างเดียว มันมีอาการปล่อย มันมีอาการเห็น สักแต่ว่าเห็นเป็นครั้งๆ ไปด้วยนะ
ถาม : เป็นคนคิดมาก ขี้น้อยใจไม่ชอบให้คนมาสั่ง จะมีความไม่พอใจขึ้นมา อย่างนี้เป็นพวกโทสะ มันมาจากความโกรธ ก็คือค่อยๆตามรู้มันไปใช่ไหมคะ
ดังตฤณ:
พี่ให้สังเกตตรงตัวความไม่พอใจ ตัวความรู้สึกว่า..เหมือนถูกสั่งหรือเหมือนถูกกดดันอะไรก็แล้วแต่ มันจะกระทบบ่อย แล้วก็แต่ละครั้งเราไม่ต้องฝืน เราไม่ต้องเค้น มันชัดเจนอยู่ในตัวเองว่าลักษณะความหนักที่มันตรงขึ้นมาในหน้าผาก ในหัว หรือว่าบางทีอึดอัดอกอะไรก็แล้วแต่ เวลาที่มันเกิดขึ้นมันก็เป็นเหมือนกับภาวะคุ้นเคยที่เกิดบ่อย ถ้าเราจองตัวมันไว้ บุ๊ค(Book)ไว้เลยว่าขอใช้เป็นเครื่องฝึกสติ เครื่องเจริญสติ เราจะรู้สึกไม่รังเกียจมัน คือที่ผ่านมามันไม่ชอบ ความหนักนี่ใครๆ ก็ไม่ชอบ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นจนกระทั่งเราสามารถที่จะเอามาใช้เจริญสติได้ เราจะมีความมันพอใจขึ้นมาลึกๆ คืออันนี้มันเกิดบ่อยใช่ไหม..ก็เอามาใช้งานซะเลย ถ้าน้องเห็นว่ามันเกิดขึ้นบ่อย แล้วทุกครั้งเห็นปุ๊บแล้วมันค่อยๆ คลายตัว หรือว่า ๒-๓ ลมหายใจคลายตัวจริงๆ ด้วย มันจะเกิดความรู้สึกดีใจ เออเฮ้ย..เราเห็นจริงๆ เราสามารถทำได้ ตัวสามารถทำได้จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจหรือว่ากำลังใจที่จะทำต่อ มันไม่ใช่เฉพาะจุดนี้ จุดอื่นๆ ด้วย นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือว่าพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆ อย่างที่ผ่านมาเท่าที่พี่เห็นคือว่าเราพยายามเปลี่ยนนิสัยบางอย่างด้วย คล้ายๆตั้งใจเลยอย่างวิธีการพูดใช่ไหม เดี๋ยว..มีอะไรบ้างที่เราตั้งใจว่าจะเปลี่ยน
ถาม : ตั้งใจค่ะ ก็เรื่องคิดมาก
ดังตฤณ:
เกี่ยวกับการพูด เกี่ยวกับวิธีพูดด้วยหรือเปล่า เพราะว่าวิธีพูดเราเปลี่ยนไปพอจะสังเกตเห็นไหม สมมติว่าเราฮึดฮัดๆ เนี่ยแต่ก่อนเราจะเก็บกด แต่ตอนนี้มันจะต่างไป มันจะอยากจะพูดดีมากขึ้น มันอยากจะโต้ตอบออกไปแบบเลือกคำพูดมากขึ้น
ถาม : ใช่ค่ะๆ ตั้งใจไว้ค่ะ
ดังตฤณ:
ตัวนี้ที่มันมีส่วน คือการปฏิบัติ การเจริญสติไม่ใช่ว่าเราเอาเรื่องทางจิตอย่างเดียว เราเอาเรื่องวิธีการพูดด้วย เราเอาเรื่องวิธีการปฏิบัติตัวด้วย ซึ่งถ้าหากว่าเราตั้งใจไว้ว่าจะเลือกคำพูดให้มันดีขึ้น ของเรานี่ถ้าพูด พูดแรง ถ้าไม่พูดก็เก็บอัดไว้อะไรอย่างนี้ เก็บดอ่ะนะ อันนี้เหมือนเราตั้งใจว่าจะพูดดีๆ พูดให้มันเป็นที่เข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น