วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สนทนาธรรม รอบกองไฟ ครั้งที่ 2 | เสาร์ 14 พฤษภาคม 2565

สนทนาธรรม รอบกองไฟ ครั้งที่ 2 | เสาร์ 14 พฤษภาคม 2565

 

พี่ฮิม : ผมขอบอกจุดประสงค์ก่อน ก็คือเรามีสายสัมพันธ์

จริง ๆ ต้องบอกว่าหลังจากที่ดูไลฟ์ที่พี่ตุลย์ไลฟ์ แล้วก็คุยกันในห้องแชท

แม้จะไม่เคยเจอหน้า เจอตากันเลย

แต่สายสัมพันธ์แบบดิจิตอล ที่เรากําลังก่อขึ้นมาเป็นสายสัมพันธ์ที่

ผมว่า ผมหาในคอมมูนิตี้ (community) อื่นไม่เจอนะ

 

จะมีความรู้สึกเชื่อมกันค่อนข้างแนบแน่น

เกิดขึ้นบ่อยๆ แบบที่ไม่ใช่เหตุบังเอิญแน่ๆ  ก็คือ

หลายๆ ครั้ง เกือบทุกครั้งที่ มีคนมาไลฟ์ แล้วคนนั่งดู

แล้วก็ทุกๆ สัปดาห์ที่เกิดขึ้นนี่ สภาวะจิตของห้องดีขึ้นแบบยกแผง

 

แล้วก็มีหลายครั้งที่ทุกคนบอกตรงกัน โดยที่ไม่ได้นัดหมายว่า

เวลาดูสภาวะของคนที่ปฏิบัติดีๆ แบบเห็นชัดๆ

คนที่ดู ก็จะได้รับการเหนี่ยวนําไปด้วยนะครับ

 

ดังนั้น ด้วยเหตุผลนี้ผมจึง .. ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วนะครับ นั่งพร้อมกันไปเลย

โดยผมก็จะนั่งด้วย ไม่ได้บรรยายนะ ผมก็จะนั่งไปด้วยนะครับ

คนที่นั่งร่วมกันในห้องนี้ มีสองทางเลือก เลือกได้เลยนะครับ

อันแรก นั่งไปพร้อมน

อันที่สอง ส่อง .. ส่องแบบที่ส่องในไลฟ์นั่นแหละครับ

จะเลือกส่องผม จะเลือกส่องใครก็ได้นะ ใครที่เปิดวิดีโอนะครับ

 

แล้วลองดูว่าแบบไหนได้ผลดีกว่ากัน

โดยผมจะใช้เวลาในการทําสมาธิสิบห้านาที

ไม่มาก ไม่น้อยเกินไปนะครับ

 

ก่อนเริ่ม ผมขอสวดมนต์ก่อนนะครับ สวดมนต์พร้อมๆ กัน

 

(ตั้งนะโม ๓ จบ สวดบทอิติปิโสฯ ร่วมกัน)

 

คนที่เพิ่งเข้ามา ตอนนี้เรากําลังเริ่มทําสมาธินะครับ

เดี๋ยวเราจะทําสมาธิรูปแบบไหนก็ได้ สิบห้านาที

ใครจะเดินจงกรม ใครจะยืนทําท่าสอง

ใครจะนั่งทําท่าหนึ่ง ท่าสอง ฟรีสไตล์

หรือใครจะส่องดูเพื่อเหนี่ยวนําจิตก็ได้นะครับ

 

(ทำสมาธิร่วมกัน ๑๕ นาที)

 

อนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ

 

สิ่งที่ผมกําลังจะพูดต่อไปนี้ ก็คือ เป็นสิ่งที่ผมอยากพูดมานานแล้ว

เพียงแต่ว่าเหมาะกับการที่ผมจะพูดในจังหวะที่ทุกคนอยู่พร้อมกัน

ที่ไม่ได้มาไลฟ์แบบเดี่ยวต่อเดี่ยวนะครับ

 

คือผมให้ความสําคัญกับเรื่องของพื้นฐานค่อนข้างมากนะ

เรื่องของพื้นฐาน จริง ๆ แล้ว พาทุกคนรวมถึงตัวผม ไปได้ไกลที่สุดเลยนะครับ

 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ความพิสดาร จิตระดับสูง จิตที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่พาผมหลงทาง

แต่สิ่งที่พาผมข้ามเส้นสองคือพื้นฐาน

 

พื้นฐานคืออะไร?

ถ้าเป็นท่านั่งนะครับ พื้นฐานองค์ประกอบที่เราควรจะทําให้เกิดขึ้น

และควรจะทําให้เกิดได้ดีขึ้นๆ เรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราฝึก มีอยู่สี่อย่าง

 

วิตักกะ คือการที่รู้ สิ่งที่เรากําลังมีเจตนาดูอยู่

เช่น ถ้าเรานั่งกวาดมือ ท่าหนึ่ง ท่าสอง

สิ่งที่เราจะต้องรู้เพื่อให้เกิดวิตักกะในแบบที่ควรจะไม่หลุดเลย

ก็คือ ลมหายใจ และมือที่กวาดเป็นจังหวะเดียวกัน

 

หายใจเข้า ก็เอากวาดขึ้น สุดก็ให้มือขึ้นสุด

หายใจออก ก็ให้มือลดลง สุดในจังหวะที่มืออยู่ที่หน้าตัก

และเหลือไว้นิดหน่อยหนึ่งถึงสองวินาที

เพื่อให้นิ่ง เพื่อให้ทุกครั้งที่กลับตัว

เอาหายใจเข้าแล้วยกมือขึ้น หายใจออกแล้วกวาดมือลง

เป็นจังหวะที่สอดคล้องกันไม่อึดอัด กําลังดี

แต่ก็ไม่ปล่อยจนเผลอเรอ นะครับ

 

ในการเดิน

การเดินนั้น จะเป็นเทคนิคขั้นสูงกว่า

แต่พี่ตุลย์ก็ให้วิธีการในการที่ทําให้การเดินนั้น

เข้าใกล้หรือเฉียดใกล้การเกิดวิตักกะ ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้

นั่นคือ หลับตาเดินจงกรม

 

เพราะไร? เพราะว่าในบรรดาอายตนะทั้งหกของเรา

อายตนะตัวหนึ่งที่ sensitive และทําให้จิตของเราเป๋ได้มากที่สุด

ก็คือดวงตา และการเห็น

 

เราปิดดวงตาของเรา เสร็จแล้วในการเดิน

จิตของเราก็จะมีโอกาสส่ายน้อยลงนะครับ

 

จุดมุ่งหมายในการปิดตา จุดมุ่งหมายแรกเลยก็คือ

ทําให้จิตตื่น แบบเดียวกับตอนนั่ง

แต่มีข้อได้เปรียบตรงที่ ร่างกายเคลื่อนไหว สติ มีความหยาบลง

พอสติหยาบลง ไม่ใช่ไม่ดี แต่ทําให้เรามีจิตตื่น

สามารถรับรู้ทุกอย่างได้ตามความเป็นจริง อย่างรวดเร็วขึ้น

 

ดังนั้นเมื่อเราปิดตา เราจะไม่มีอะไรดึงสายตาไป

เท้า ที่ก้าวย่างไปบนพื้นทุกก้าว ยิ่งเรารับรู้การกระทบต๊อกๆๆ ในแบบที่

หนึ่ง ไม่หลุดเลย สอง ไม่เพ่งจ้อง

 

ได้แค่สองอันนี้ วิตักกะ ก็เต็มนะครับ

 

เมื่อวิตักกะเต็มแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาโดยไม่ต้องเจตนา

จะเป็นผลของวิตักกะเต็ม นั่นคือ วิจาระ

 

การเกิด วิจาระ นั้น ก็คือการที่จิตของเรา

แทบจะกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เราดูอยู่

 

ถ้าเราดูลมหายใจอยู่

จิตเราก็จะแนบรวมไปกับลมหายใจ และมือที่กวาดนั้น

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นจังหวะเดียวกัน

 

เหมือนกับวงมโหรี ที่ซ้อมกันมานาน

เหมือนกับวงออร์เคสตรา ที่ซ้อมกันมานาน

ดนตรีสามชิ้นนี้ ลมหายใจ มือ แล้วก็ จิต ไปด้วยกัน

เหมือนมีวาทยกร ชั้นครู ดูแลอยู่

 

เช่นเดียวกัน ตอนเดินจงกรม

จิตเรากับเท้า ต๊อก ต๊อก ต๊อก ก็จะแนบกันไป

จนสามารถเกิดนิมิตบางอย่าง ที่เวลาเดินปกติไม่สามารถเกิดได้

เช่น เดินไปแล้วตัวหาย เหลือแต่ขาขยับ

เดินไปแล้ว เดินอยู่บนเมฆเบาๆ

เดินไปแล้ว เกิดปีติตัวซู่ซ่ามีความสุข

 

นั่นแหละครับ เป็นสัญญาณของการที่วิจาระเกิดแล้ว

และเมื่อวิจาระเกิด สิ่งที่จะเกิดต่อไปก็จะมีเรื่องของ ปีติ และ สุข นะครับ

 

ผมพูดเรื่องนี้ทําไม? เพราะว่าธรรมะที่พี่ตุลย์สอนอยู่ในไลฟ์นั้น

เป็นธรรมะที่ แล้วแต่ไลฟ์ ที่ใครจะมาไลฟ์

บางคนจ่อเส้น กําลังจะข้ามเส้นแล้ว

บางคนมาได้ตรงกลางแล้ว

 

และภาพรวมของคนที่ไปไลฟ์ ประมาณเก้าถึงสิบคนนี่

ส่วนใหญ่จะเป็นระดับกลางขึ้นไป

 

ผมทราบดีนะครับว่า ทําให้คนที่ยังไม่เคยฝึก หรือว่ายังไม่เคยออกไลฟ์

เกิดความรู้สึก แบบไม่กล้าส่งบ้างล่ะ หรือมีความรู้สึก เอ๊ะเราสู้เขาไม่ได้

ซึ่งจริงๆ ไม่จําเป็นนะครับ สามารถส่งได้

ยิ่งมือใหม่เท่าไร ยิ่งส่งไลฟ์ยิ่งดีนะครับ

 

แต่สิ่งที่ผมจะมาพูดวันนี้ก็คือ

ไม่ว่ามือเก๋าแค่ไหนก็ตาม รวมถึงผมด้วยนะ..

ไม่ว่ามือใหม่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าเบสิกสําคัญที่สุด

 

การปฏิบัติของเรา ร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ

ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ มาจากเบสิก

อีกสี่สิบเปอร์เซ็นต์ มาจากความเข้าใจ

สิบเปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องหน้างานนะครับ

 

ก่อนจะจบการบรรยายวันนี้ ผมขอฝากคําของบรูส ลีไว้นะครับ

คํานี้ใช้กับเราได้ดีมาก เคยกล่าวไว้ว่า

ผมไม่กลัวคนที่รู้ท่าเตะพันท่า แต่ผมกลัวคนที่ฝึกเตะท่าเดียวพันครั้ง

 

ใช้ได้กับเรื่องนี้เป๊ะนะครับ เรื่องลมหายใจกับมือสัมพันธ์กันนี่แหละ

 

เชื่อไหม ปัจจุบันนี้ผมยังทําได้ดีขึ้นทุกวัน

นั่นแปลว่า ที่ผ่านมาผมก็ยังทําดีไม่พอ

ผมก็ยังต้องซ้อมๆ ซ้อมลมหายใจแล้วกวาดมือ

ผมก็ยังต้องซ้อม ดูเท้ากระทบ แล้วรับรู้เท้ากระทบ

ผมก็ยังต้องซ้อม ยืนแล้วกวาดมือ ให้ลมหายใจกับมือ และจิตซิงค์ไปด้วยกัน

 

และถ้าเราคล่องเรื่องนี้ เรื่องอื่นๆ ที่เราสงสัย ไม่ว่าจะเป็น..

ทําไม มองไม่เห็นกระดูก

ทําไม สัมผัสธาตุดินไม่ได้

ทําไม อุเบกขาไม่เกิด

ทําไม เหมือนไม่ก้าวหน้า

 

และสภาวะต่างๆ ที่เป็นสภาวะซับซ้อนทั้งหลาย

ที่ถามว่าเราควรจะทําอย่างไรดี อันนี้คืออะไร เราจะผ่านไปได้อย่างไร

ประมาณเจ็ดสิบถึงแปดสิบเปอร์เซ็นต์ จะผ่านได้ด้วยเรื่องเบสิก

 

แต่เวลาตอบด้วยเรื่องเบสิกจะดูน่าเบื่อนะ

อ๋อ.. ก็รู้ควบลมหายใจไปไง

อ๋อ.. ก็รู้ควบมือไปไง

น่าเบื่อ .. แต่จริงๆ เป็นเช่นนั้น

 

แล้วถ้าเราสามารถทําได้อย่างนั้น จริงๆ

เราจะสามารถก้าวหน้าได้ ไปพร้อมกับฐานที่แน่นขึ้น

ฐานที่แน่นขึ้น ก็จะพาเราส่งขึ้นไปสูงขึ้น ได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

 

ผมอยากจะให้การพูดคุยของเรา

เริ่มต้นด้วยการที่เน้นย้ำเบสิก ให้มากๆ นะครับ

เพราะว่าสําคัญจริงๆ

 

จะถาม คุยหรืออะไรก็ได้นะ

ผม ก็จะวางตัวเป็นตอบทุกคําถามเหมือนเดิม

ตอบได้ผมตอบ ตอบไม่ได้ คือตอบไม่ได้

คือไม่มีความรู้ ก็จะบอกว่าตอบไม่ได้ จะไม่ได้กั๊กไรนะครับ

จะถามเรื่องสภาวะเส้นหนึ่งเส้นสองก็ถามได้นะครับ

---------------

- ก้อ –

 

ก้อ : ทำท่าสอง ก็ยังอึดอัดอยู่เลยค่ะ

ตอนเดินเอง จะมีบางทีเท่านั้นที่รู้สึกว่าสบาย

แต่ว่าทําอย่างไร ก็ไม่ได้รู้สึกว่า.. หรือว่าเรากําหนดเยอะไปใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : แม่ก้อทําให้ผมดูเลยดีกว่า ทําจนถึงจุดที่อึดอัด

 

ก้อ : อึดอัดตั้งแต่ตอนแรกเลยค่ะ (เริ่มทำท่ามือไกด์)

 

พี่ฮิม : เอามือลงเร็วกว่านั้นครับ

 

ก้อ : อ๋อ  นานไปใช่ไหมคะ (พี่ฮิม : นานไปครับ)

 

ตอนเงย พอเรารู้สึกถึงกล้ามเนื้อ ก้อนเนื้อตรงหลังท้ายทอย

กับพอเราจะบังคับให้สายตาลงไปมองฟ้าข้างบน จะแน่นมากค่ะ

 

พี่ฮิม : เราต้อง ลองปรับท่าลงก่อน เอาทีละขั้น ยังไม่ต้องเงยหน้ามากครับ

เร็วกว่านั้นอีกครับ ลงเร็วครับ

 

ก้อ : ลงเร็วๆได้เลยใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ใช่เร็วได้ เดี๋ยวผมบอกหน่อย คือที่เห็นผมช้า (ยกมือในท่ามือไกด์)

ไม่ต้องมาเลียนแบบผม

 

การทําช้าเป็นเป้าประสงค์ที่ดีจริงนะครับ

แต่ว่าเวลาทําไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจะลมหายใจยาวเอง

 

เริ่มต้นอึดอัดนิดหน่อยไม่เป็นไร แต่อย่าอึดอัดมาก

การอึดอัดนิดหน่อย จําเป็น

เพราะว่าการฝึกอานาปานสติที่ดี ลมหายใจควรจะยาว

 

เพราะถ้ามาถึงนี่ แล้วเราแบบใช้ชีวิตประจําวันมา

มีอารมณ์หยาบ ๆ ลมหายใจจะสั้น กระชั้น

เรามาบังคับให้ลมหายใจยาวขึ้นอีกนิดหนึ่ง จะช่วยให้จิตเราเข้าที่เร็ว

 

ลมหายใจเป็นตัวเหนี่ยวนํา ที่ทําให้จิตเราเข้าที่

แล้วมือ ก็จะเป็นตัวเหนี่ยวนําให้ลมหายใจยาว

 

ขอดูตอนขึ้นครับผม ตอนลงดีขึ้นแล้วครับ

(ก้อ ทำท่ามือไกด์ยกมือขึ้น แหงนหน้าไปจนสุด)

ตอนขึ้นเงยน้อยหน่อย เงยน้อยลงหน่อยครับ

ตรงนี้ แล้วแต่คนนะครับ แต่แม่ก้อ ต้องประมาณนี้

 

ขอดูจนสบาย ทั้งขึ้นและลงครับ

เริ่ม ๆ มีลมหายใจเป็นตัวของตัวเองแล้ว เท่าที่ผมดูนะ

ตอนนี้ให้เน้นมือตามลมหายใจ ลมหายใจยาวแค่ไหน

กะจังหวะให้มือลงได้สุด เท่าที่ลมหายใจสุด

 

ตอนแรก อาจจะต้องใช้ความคิดนิดหนึ่ง

แต่เดี๋ยวจะชิน ดูว่าลมหายใจเราสุดแค่ไหน ให้มือเราแค่นั้น

ให้ลมหายใจนํานะครับ .. นี่ผมรู้สึกว่าดีขึ้นแล้ว ใช่ไหม

 

ก้อ : ค่ะ เอาลมหายใจนําแบบนี้ไปเลยได้ใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ได้ๆ แล้วเรื่องยาวนี่ ให้เป็นพัฒนาการ เดี๋ยวจะดีขึ้นเอง

 

ก้อ : คําถามที่สอง ตอนเดิน รู้สึกถึงเท้ากระทบพอได้บ้าง

แต่ว่ากําแพงนี่ค่ะ ทำไม่ได้ คือแค่รู้สึกเหมือนว่าจะชน กลัว

แต่ว่าไม่ได้รู้สึกว่าเป็นแผ่นๆ อะไรอย่างนี้เลยค่ะ

 

พี่ฮิม : ไม่เป็นไร ทําไปเรื่อย ๆ อย่างนี้ ทําไปเรื่อย ๆก่อน

แล้วเดี๋ยวจะมาเป็นธรรมชาติเองครับ

 

ก้อ : อย่าใจร้อน

 

พี่ฮิม : ใช่ ใช่คีย์เวิร์ดผม จะมาไม่เร็วดังใจ แต่มาแน่

---------------

- แหม่ม -

 

แหม่ม : เพิ่งชวนแม่ให้มาปฏิบัติค่ะ

อยากขอให้ช่วยแนะนําแม่ให้หน่อย

คือแค่เริ่มต้น คุณแม่ก็ยังเหมือนหายใจแล้วเพ่ง

 

พี่ฮิม : โอเคเดี๋ยวคุณแม่ทําเลยนะครับ ตอนนี้คุณแม่นั่งอยู่ใช่ไหมครับ

ทําท่ามือไกด์เป็นไหม ท่าท่าขยับมือพร้อมลมหายใจครับ

 

คุณแม่แหม่ม : แหม่มเขาสอน แต่ว่าพอเริ่มทํา

จะเริ่มชาตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า แล้วก็ที่ปากนะคะ

แล้วแหม่มเขาบอกว่าสงสัยเพ่งมากเกินไป ไม่ทราบว่าจะต้องแก้อย่างไร

 

พี่ฮิม : ขอดูตอนที่แม่ทําแล้วชาครับ ไม่ต้องเกร็งนะ

เสมือนว่านั่งอยู่ในห้องเหมือนผมไม่ได้ดูอยู่

คงทํายากครับ แต่ก็ลองทําดูครับผม

 

หลับตาครับ ค่อยๆ ขยับมือขวาช้าๆ

หลับตานะ แล้วทําตามผม ขยับมือขวาขึ้นช้าๆ พร้อมลมหายใจ

แล้วสุดแค่นั้นครับ เอาแค่ปลายจมูกพอ ไม่ต้องขึ้นหัว

ไม่ต้องยกไหล่ สบายๆ แค่นั้น แล้วก็เอาลง พร้อมลมหายใจออก

สบายๆ ให้ช้ากว่านี้นิดหนึ่งนะครับ

 

แล้วก็ลองปรับลมหายใจให้ยาวขึ้นกว่านี้ อีกนิดหนึ่ง

ขยับมือให้ช้ากว่านี้อีกนิดหนึ่งครับ ค่อย ๆ ลง หายใจออก

หายใจเข้าครับ พร้อมกับเอามือขึ้น

.. หายใจออก

 

ทําแบบนิ่มนวลนะครับ หายใจออก หายใจเข้า ทําไปเรื่อยๆ ครับ

ไม่ต้องลืมตามาดูผมนะ ช้ากว่านี้นิดหนึ่งครับ 

 

ดูลมหายใจพร้อมกับมือที่ขยับขึ้นลง

ให้เสมือนว่า มือซ้ายที่กําลังเอาขึ้นนี้ ผลักลมหายใจเข้ามาในจมูก

ตอนที่มือซ้าย กําลังจะเอาลง เหมือนเอามือรูดลมหายใจออกจากจมูก

 

มือขวาที่กําลังจะเอาขึ้น หงายมือขึ้นนะครับ ผลักลมหายใจเข้าไปในจมูก

คว่ำมือลง ปัดลมหายใจออกจากจมูก

มือซ้ายหงายมือ ผลักลมหายใจเข้าไปในจมูก

ทําจังหวะนี้ไปเรื่อยๆ

 

ลองคุยกันก่อนอาการเป็นอย่างไรบ้างครับ

 

คุณแม่แหม่ม : ก็ยังชาอยู่ค่ะ แล้วก็อีกอย่างที่เป็นปัญหาคือ

เวลาหายใจเข้า แทนที่ท้องจะป่อง บางครั้งกลายเป็นว่าไปแขม่วท้อง

 

พี่ฮิม : พวกนั้นจะค่อยๆ หายไปครับ

เพราะเริ่มต้น เวลาหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง เวลาหายใจออกแล้วท้องป่อง

เป็นอาการที่ติดมา ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง ในการปรับความเคยชิน

ให้ลมหายใจเข้า ท้องป่อง ลมหายใจออก ท้องยุบ

 

คุณแม่แหม่ม : ถ้าเวลา ปกติหายใจเข้า ท้องก็จะป่อง หายใจออก ท้องก็จะแฟบค่ะ แต่พอเริ่มปฏิบัตินี่จะเริ่ม...

 

พี่ฮิม : เกร็งครับ จะมีอาการเกร็ง

เพราะว่า จะมีความรู้สึกแบบล็อคจิตเอาไว้ว่า นี่คือเริ่มต้นปฏิบัติ

แล้วจิตจะพลิกเข้ามาสู่ฟอร์มเดิม ในการที่เคยปฏิบัติมาหรือเคยทํามาครับ

 

วิธีแก้นะ แม่.. นั่งมองหน้าผม มองเหมือนนั่งคุยกัน

แล้วก็ระหว่างคุยกับผมนี่ เดี๋ยวผมชวนแม่คุยไปเรื่อยๆ นะ

แม่เอามือขึ้นเอามือลงตามลมหายใจนะครับ

แม่ปฏิบัติแนวไหน มาบ้างครับ

ยกมือ แล้วยกมือลงตามลมหายใจระหว่างที่พูดไปนะครับ

 

ปฏิบัติมานานหรือยังครับ

 

คุณแม่แหม่ม : ถ้าสวดมนต์ ก็นานแล้วค่ะ ตั้งแต่เด็กๆ เลย

แล้วก็มาหยุดช่วงหนึ่ง ตอนมีครอบครัว แล้วก็มีลูก

เหมือนตอนนั้นจะหยุดไปช่วงหนึ่ง

แล้วก็มาเริ่มปฏิบัติใหม่ ตอนที่แหม่มเขาโต เขาก็ชวน

 

เคยไปที่...(สถานที่) เหมือนไปฝึกไปปฏิบัติ อะไรอย่างนี้

สองครั้งหรือสามครั้งค่ะ  ส่วนอยู่บ้านก็จะสวดมนต์ค่ะ

 

พี่ฮิม : คุณแม่เป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า (แม่: ไม่เป็นค่ะ)

ไม่เป็นนะ ตอนที่คุยกับผมแล้วขยับมืออย่างนี้ .. ชาไหม

 

คุณแม่แหม่ม : ชาค่ะ ชาปลายนิ้ว

 

พี่ฮิม : ถ้าอย่างนั้น ในชีวิตปกติ ขยับมือแล้วชาปลายนิ้วไหม

 

คุณแม่แหม่ม : ไม่ค่ะ ถ้าปกตินี่ไม่ชา แต่จะปฏิบัตินี่ก็จะเริ่มแล้วค่ะ

ถ้ามากๆ ก็คือชา ถึงปากเลยค่ะ

 

พี่ฮิม : แม่วางมือก่อนนะครับ ลองหลับตาซ้อม

หายใจเข้า แล้วให้ท้องป่อง หายใจออก แล้วให้ท้องยุบ

เอาตามลมหายใจธรรมดานะ เหมือนหายใจธรรมดาเลย

 

แม่ยังค่อนข้างเพ่งนะครับ อย่าหายใจลึกเกินไป ไม่ต้องตั้งใจหายใจ

ปล่อยลมหายใจเป็นธรรมชาติ ลมหายใจเข้ามาถึงจุดที่รู้สึกว่าอึดอัด

อย่าให้ถึงจุดอึดอัด เปลี่ยนลมหายใจก่อนนะครับ

ดีขึ้นไหม (แม่ : รู้สึกจะยิ่งชาค่ะ)

 

แม่เอาจิตออกจากจมูกครับ ปล่อยความรู้สึกทั้งตัว

รู้สึกเหมือนตัวนั่งอยู่ ปล่อยลมหายใจให้เป็นปกติ เหมือนคนกําลังจะหลับเมื่อรู้ว่าจิตไปรวมที่จมูก คลายกลับมาใหม่ครับ ให้รู้สึกทั้งตัว

 

คุณแม่แหม่ม : ยังไม่ได้เลยค่ะ รู้สึกว่าสงสัยเพ่งมากเกิน

 

พี่ฮิม : อย่างนั้นแม่มาคุยกับผมก่อนครับ

ผมอยาก.. ถือเป็นการทดลองชั่วคราวนะครับ

เพื่อเปรียบเทียบว่าตอนก่อนหน้านี้ที่แม่ทํามา จนถึงตอนนี้นี่

อยากให้แม่กลับไปสังเกตก่อน เป็นการบ้านง่ายๆ นะครับว่า

ตอนที่อยู่ในชีวิตประจําวัน จิตแม่เวลาหายใจนี่ ทําอย่างไร

 

นี่อย่างนี้ ตอนคุยกับผม มองหน้าผมเลย ไม่ต้องนึกปฏิบัตินะครับ

คุยกับผม ฟังผมนะ ไม่ต้องคุย คุยกับผมตอนนี้ไม่ต้องตั้งใจนะครับ

ตอนนี้แม่รู้สึกลมหายใจเป็นอย่างไร

ดูไปนะครับ ดูในแบบที่ตอนนี้ ถ้าสมมติไม่ชานะ

ตอนนี้ มีอาการเกร็งๆ อยู่นิดๆ

ก็นั่ง ๆ ไปเรื่อย ๆ คุยไปเรื่อยๆ นะครับ

 

แล้วก็ลองดูว่าคุยกับลูกสาว หรือคุยกับคนในบ้าน

พยายามสังเกตเอา ในตอนชีวิตประจําวันหายใจอย่างไร

 

แล้วตอนนั่ง อย่านั่งนาน นั่งดูแป๊บเดียว

แล้วก็ดูว่าตอนที่จิตรวมอยู่ที่จมูกนี้

ไปเพ่งที่ลม เพื่อให้จับลมหายใจได้นี้ เป็นอย่างไร

ดูสลับไปสลับมาอย่างนี้บ่อยๆ ดูสลับก่อน

 

เพราะว่าถ้าติดมานาน ให้คลายเลยใน session เดียว

อาจจะเป็นไปไม่ได้ นะครับ

 

แล้วก็ตอนนอนนี่ จุดที่สําคัญที่สุด

อันนี้ผมให้ลองนะ คือตอนก่อนนอนสังเกตเบาๆ

เน้นคําว่า เบาๆ .. เพิ่มอีกนิดหนึ่งก่อนจะนอน ดูว่าเราหายใจอย่างไร

 

ดูสามจังหวะ ..

ในชีวิตประจําวัน ตอนที่แม่ตั้งใจทําสมาธิ แล้วตอนก่อนนอน นะครับ

 

ให้จิตเรียนรู้สามอย่างนี้ไปก่อน ประมาณสามสี่วัน

แล้วเดี๋ยวเรามาคุยกันใหม่ เอาแค่สังเกต

 

คุณแม่แหม่ม : แต่ถ้าพูดถึงตอนนอน ตอนแรกที่ฝึกจะยังหายใจไม่ถูก

คือตอนแรกนี่หายใจเข้า จะกลายเป็นว่าแขม่วท้อง หายใจออกท้องป่อง

แต่ว่าพอนอนนี่จะทําได้เลย เวลานอนหายใจเข้าท้องจะป่อง

หายใจออกนี่ ท้องจะแฟบ ตอนนอนนี่จะสบายที่สุดค่ะ

 

พี่ฮิม : ถ้าอย่างนั้น ไม่ต้องไปฝืน

ในคลิปของพี่ตุลย์ จะมีคลิปทําท่ามือไกด์ตอนนอน ฝึกอันนั้นไปเลย

ถ้านอนแล้วทําได้จนคล่อง แล้วค่อยมานั่งก็ได้นะ

 

แต่ผมว่าไม่นานหรอก เพราะดูแล้วแม่ไม่ได้เพ่งเยอะเท่าไหร่

ไม่ได้เพ่งจนแบบ พุ่งมาอย่างนี้ ถ้าคนเพ่งเยอะจะพุ่งมาแรงมากนะครับ

 

---------------

- เพี้ยะ –

 

เพี้ยะ : อยากให้คุณฮิมแนะนําการปฏิบัติ ว่าต้องแก้ไขตรงไหนบ้างค่ะ

 

พี่ฮิม : ผมรบกวนคุณเพี้ยะปฏิบัติให้ผมดูหน่อย

ตอนนี้ตื่นเต้นอยู่ก็ไม่เป็นไรนะครับ รู้ความตื่นเต้นไปเลยนะ เป็นปกติมาก ๆ

 

คุณเพี้ยะลองหยุดยืนท่าสองให้ผมดูหน่อยได้ไหมครับ

พอท่าสองแล้ว ตอนนี้จิตเริ่มแยกจากความคิดได้ดีขึ้นนะครับ

ทําท่าสองไปอีกสักพักครับ อย่าเพิ่งเดิน.. ดีขึ้นเยอะเลยครับ

 

โอเคครับ จริง ๆโอเคเลยนะ

เพียงแต่ว่าผมอยากจะให้เน้นยืนท่าสอง นานนิดหนึ่งนะครับ แค่นั้นเอง

เพราะว่าจิตของคุณเพี้ยะ.. ผมว่าเป็นธรรมดาของคนเมือง

คือตอนเริ่มต้น ก็จะมีคิดยุกยิกๆ หน่อย

แต่จิตไม่ได้ไปขลุกรวมกับตัวยุกยิกนั้นมาก

 

ดังนั้น วิธีการที่จะทําให้จิตแยกตัว เท่าที่ผมดูนะ

ตอนที่ทําท่าสอง จิตจะเริ่มเบาเริ่มมีกําลัง

แล้วจะเริ่มแยกชั้นออกจากความคิดได้ดีขึ้น

 

พอเริ่มแยกชั้น เริ่มเบา ความคิดร้อนๆ เริ่มเย็นลง ๆ

ตอนนั้นให้เดิน แล้วเดินสักพักหนึ่ง มาทําท่าสองอย่างนี้นะครับ

อย่าทําท่าสองสั้นไป เพิ่มเวลาท่าสองนิดหนึ่งแค่นั้นเอง

 

นอกนั้นผมดูแล้ว โอเคนะ พร้อมพัฒนาไปต่อ

เพราะดูแล้วก็พร้อมพัฒนาจนจิตเบาได้ใน session เดียวได้ครับ 

 

เพี้ยะ : คือ แบบบางทีก็รู้สึกว่าเบา แต่ว่าบางทีเบาแบบไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า

คือเหมือนกับว่าไม่ได้รู้สึกชัด แต่รู้สึกเบา อย่างนี้คือถูกไหมคะ

 

พี่ฮิม : ถูกครับไม่มีปัญหาเลย จริงๆ แค่รู้สึกเบานั้น

แล้วก็รู้ควบ ถ้าเดินอยู่ก็รู้สึกเบา แล้วก็รู้ควบเท้ากระทบไป

ถ้ายืนทําท่าสองอยู่ เอาความรู้สึกนั้น

 

ชัด ไม่ชัดนี่ คือถ้าบอกได้ แปลว่าชัดระดับหนึ่งแล้วนะครับ

ความรู้สึกจะมีผสมกัน ระหว่างแบบจางๆ แล้วก็มีเบาๆ อยู่ด้วย

แล้วแบบเป็นความรู้สึก เหมือนกําลังเห็นความเบา ผ่านหมอกเล็กๆ อย่างนั้นใช่ไหม

 

เพี้ยะ : รู้สึกเหมือนหลับอยู่คะ เหมือนหลับแล้ว

แต่ว่าก็เดินได้ไม่ชน รู้สึกเหมือนเบาๆ เบลอๆ อย่างไรก็ไม่รู้

 

พี่ฮิม : เมื่อกี้เป็นไหม

 

เพี้ยะ : เมื่อกี้ยังไม่เป็น เมื่อกี้ตื่นเต้นค่ะ

 

พี่ฮิม : เพราะเมื่อกี้ส่วนใหญ่ตื่นเต้น แล้วหายตอนยืนท่าสองรอบสอง

ถ้าเป็นอย่างนั้น จังหวะที่เป็นนี่ เดินเร็วหรือเดินช้าครับ

 

เพี้ยะ : ถ้าเดินเร็วจะรู้สึกตัวมากขึ้นค่ะ

 

พี่ฮิม : นั่นแหละประเด็น

 

เพี้ยะ : ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้เดินเร็วใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : เดินเร็ว เพราะว่า ถ้ามีอาการแบบจะหลับๆ

มีอาการเคลิ้มลอยๆ แบบนั้นไม่ค่อยดีเท่าไร เดินเร็วให้ตื่นดีกว่า

 

เพี้ยะ : หลักการก็คือต้องรู้สึกตัวให้ชัดๆ ใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ในตอนเดิน ควรจะมีความตื่น

จุดสังเกตเวลาเดินหลับตา ควรจะมีความตื่น

แต่ถ้าจะมีสมาธิ ก็ควรจะเป็นสมาธิที่มีความตื่นผสมนะครับ

 

ทําไมเราถึงต้องมาทําสมาธิตอนเดิน

เพราะว่า เพื่อกลบข้อเสียของตอนนั่ง

 

พอนั่งนี่ เคลิ้มง่าย แต่เดิน จะตัดความเคลิ้มไป

ยิ่งหลับตา จะยิ่งทําให้เกิดอาการ ระแวงกลัว ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นข้อลบ

แต่จริงๆแล้ว พอเอามาเทียบกับอาการตื่นที่ได้

อาการกลัวถือว่าไม่เสียหายอะไรมาก คุ้มที่จะได้นะครับ

เดินเร็วขึ้นนิดหนึ่ง

 

แต่เมื่อกี้ผมไม่เห็น

ผมก็เลยพูดได้แค่แบบตามข้อคิดเห็นที่เคยประสบมานะครับ

เพราะเมื่อกี้ ผมเห็นแค่ตอนเดินนี่ตื่นเต้น แล้วก็ค่อยๆ ดีขึ้นๆ

แล้วก็มาเบา แยกชั้นตอนทําท่าสอง

ผมเลยสรุปว่า ไม่น่ามีอะไรที่เสียหาย ทําๆไปได้

ถ้ามีปัญหาตรงนั้นก็เดินเร็วขึ้นครับ

---------------

- เฟี้ยต –

 

เฟี้ยต : ร้างการภาวนามาแบบเป็นปีเลยครับ

แล้วก็พยายามทําท่ายกมือ การซิงค์ลมหายใจกับมือนี่ ผมทําไม่ได้ครับ

 

พี่ฮิม : ทําให้ผมดูหน่อย ขอเริ่มจากท่าหนึ่งก่อนดีกว่า

ถ้ายังไม่ห่างมานานนะ ควรเริ่มจากท่าหนึ่งมาเลย

 

ใช้สองมือนะครับ สลับมาใช้มือซ้ายด้วย

มือขวาก่อน เหมือนผลักลมหายใจเข้าจมูก

หายใจออก ค่อยๆ ลดมือลงเหมือนรูดลมหายใจออก

สลับไปมือซ้าย ผลักลมหายใจเข้าจมูก ไม่ต้อง(ยกมือ)ขึ้นสูง

หายใจสุดเอาลง ทําท่าหนึ่งไปเรื่อย ๆ อย่าเพิ่งขึ้นท่าสอง

 

ตอนนี้จิตเริ่มจับลมหายใจได้ดีขึ้นนะครับ

อาการแข็งๆ เป็นปื้นๆ ตรงบริเวณใบหน้าและสมอง

ตอนนี้คลายไปเยอะ เริ่มสบายขึ้นแล้ว

 

เริ่มท่าสองครับ ยกมาถึงอกครับ แล้วกวาดมือออกไปรอบนอกเลยครับผม

ลดมือลง เอาตามลมหายใจปกตินะครับ ไม่ต้องไปเกร็งจนยาวมาก

เอาให้พอดีที่มือจะวางค้างที่หน้าตักได้ แล้วก็หายใจเข้าครับ

ตามจังหวะ ให้มือกับลมซิงค์กัน ค้างไว้ ปล่อยความรู้สึกขึ้นฟ้า  

 

ทําอีกสักสองสามรอบครับ ตอนนี้จิตเปลี่ยนไปเยอะแล้วครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ

 

เฟี้ยต : รู้สึกกว้าง จากปกติที่ต้องมีการทํา

อันนี้คือไม่มีการทํา แต่เป็นเหมือนกับว่า เราดูในการทํา

 

ที่ทําไม่ได้ ตอนแรกก็คือ ผมจะตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

คือตรงนี้ ไม่ต้องทำอะไรน่ะครับผม

 

แล้วทีนี้อาจารย์ดังตฤณ ให้เอามือไปซิงค์กับลมหายใจ 

การเอามือไปซิงค์กับลมหายใจนี่ ก็ต้องมีการทํา

พอมีการทําปุ๊บ ผมก็ไม่รู้จะทําอย่างไร

เพราะว่าพอทํา ก็จะหลุดจากดํารงสติเฉพาะหน้า

 

พี่ฮิม : มา.. เรามาทําความเข้าใจกันนิดหนึ่ง

 

ในพระสูตรของอานาปานสตินะครับ พระพุทธเจ้าท่าน..

เดี๋ยวผมขอแบ่งเป็นสองโซนนะ

 

โซนแรก คือคุณสมบัติของการที่จะได้สมาธิในแบบพุทธนะครับ

จะต้องประกอบด้วย องค์ประกอบ อย่างน้อยสองตัว

คือวิตักกะ กับวิจาระก่อนนะครับ

 

วิตักกะ นี่เกิดจากเจตนานะครับ

อย่างไรก็ต้องมีเจตนา

 

เราไม่สามารถ และพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้บอกนะครับว่า

เมื่อเริ่มนั่งอานาปานสติแล้ว ให้นั่งดู โดยมิต้องมีเจตนาทําอะไร

ไม่มีนะครับ ไม่มี

 

สิ่งที่พุทธองค์ท่านบอกก็คือ

สำเหนียกรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า

สำเหนียกรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก

หรือถ้าเป็นอันแรกเลยก็คือ

รู้ว่าลมหายใจยาว หายใจเข้า

รู้ว่าลมหายใจยาว หายใจออก

พวกนี้ตอนจังหวะรู้เป็นวิตักกะ ใช้เจตนาหมดครับ

 

สิ่งที่ผมอยากจะบอกในทางอภิธรรมเพิ่มอีกนิดหนึ่งก็คือ

จิตทุกดวง นะครับ จิตทุกดวงเลยนะร้อยเปอร์เซ็นต์

มีเจตนาที่เป็นเจตสิกประกอบอยู่

เราไม่สามารถทําสิ่งที่เรียกว่า อกิริยา ในฐานะปุถุชนได้ครับ

 

ดังนั้น เริ่มต้นมาจากปรุงแต่ง จะมีเจตนาหรือจะทํา ก็ไม่เสียหาย

เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นไปเพื่อเข้าสู่ทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

ก็คือ ให้เกิดสมาธิแบบพุทธ

 

ถ้าเป็นบรรพชิต ไม่มีเสียง ไม่มีเครื่องรบกวน

ก็จะสามารถเข้ารูปฌานหนึ่งถึงสี่ได้

อย่างของเรา ก็จะทําให้เกิดจิตใสใจเบาได้

 

แน่นอน อาจจะมีแบบตัวเครื่องรบกวน

แล้วจิตไม่ได้รวม สงบนิ่ง ตัดทุกอย่างได้แบบนั้นบ่อยๆ

แต่ว่า นั่นก็พอแล้วที่จะดําเนินจิตต่อ

เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายคือการข้ามเส้นได้นะครับ

 

แต่ว่า ถ้าเริ่มต้นมา โดยเราจะทําแบบอกิริยา ไม่กระทําอะไรเลย

สิ่งเดียวที่จะเกิดกับจิตเราก็คือ .. ลอย

 

เพราะจิตมีธรรมชาติลอยไปหานิวรณ์ห้า ลอยไปหากิเลสอยู่แล้ว

 

ฉะนั้น เมื่อเราไม่ทําอะไร ไม่ทวนน้ำ

จิตจะไหลลงสู่ความเคยชินความฟุ้ง ความเหม่อ โมหะ ง่วงซึม

ถีนมิทธะ กามฉันทะ พยาบาท วิจิกิจฉา พวกนี้มาแน่นอน

 

ดังนั้น การกระทําเป็นเรื่องจําเป็นครับ

เพียงแต่ว่าเรากําลังกระทํา หรือปรุงแต่งจิต

ในแบบที่พระพุทธเจ้าท่านให้ปรุง

 

เราปรุงอะไร?

เราปรุง ให้เกิดวิตักกะขึ้นประกอบจิต

เราปรุง .. เมื่อวิตักกะเต็มแล้ว .. ให้เกิดวิจาระขึ้นประกอบจิต

แล้วให้เกิดปีติ สุข ขึ้นประกอบจิต

ทําไป จนถึงที่สุดเรามีสัมโพชฌงค์ทั้งเจ็ดองค์ ขึ้นประกอบจิต

 

ทุกอย่างที่ผมพูดมานี้

ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการทํา อกิริยา หรือไม่ทำอะไรเลย

 

ที่ต้องทําเดินไปในสายดับทุกข์ ...

คือจิตจะกระทําอยู่สองอย่าง

มีเจตนาทํา เพื่อเข้าสู่เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไปยึดติดกับเวทนา

ไปยึดติดกับปัญหา ไปสร้างเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลาย

 

กับอีกแบบหนึ่งก็คือ สร้างเหตุแห่งการดับทุกข์ คือทําสมาธิแบบพุทธ

เริ่มต้นด้วยมีศรัทธา เริ่มต้นด้วยดูอานาปานสติ

เริ่มต้นด้วยการมีปีติ วิจาระ

จากวิจาระ มีสุข มีปัสสัทธิ แล้วก็มีสมาธิ

 

พวกนี้ทําหมดครับ พวกนี้ปรุงแต่งหมด

แต่เป็นของปรุงแต่ง ที่ตรงตามพระดํารัสของพุทธองค์นะครับ

ดังนั้นการทํา ไม่เสียหายครับ

 

ทําไมต้องใช้มือ?

ปุถุชนโดยเฉพาะฆราวาสแบบเรา จิตอ่อนมาก

 

พี่ตุลย์พิสูจน์มาสามสิบปีแล้วว่า ท่านสอนมาหลายคน

แล้วใช้ลมหายใจอย่างเดียว เอาไม่อยู่

 

แต่ในช่วงประมาณเจ็ดเดือนที่ผ่านมา พิสูจน์แล้ว

จากตัวผมด้วย เป็นพยาน

การใช้ท่ามือไกด์ พาคนไปถึงได้จุดที่สูงกว่าที่คนคิดไว้

 

ตามที่ผมออกมาโพสต์นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง

ก็คือ ผมก็เป็นหลักฐานพิสูจน์ว่า ผมก็ทําแบบที่กําลังพูดอยู่นี่

ทําแบบที่ก่อนหน้านี้ สิบห้านาทีผมก็ทําอยู่แค่นั้น

 

ใช้มือไกด์ เดินหลับตา ยืนมือไกด์ ทําเบสิกพวกนี้

ท่าพวกนี้ ปรุงแต่ง

สร้างจิตแบบพุทธ ปัญญาแบบพุทธ สมาธิแบบพุทธ ขึ้นมาเรื่อย ๆ ๆ

จนพาเราสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นทีละขั้น ทีละขั้น นะครับ

---------------

- น้องผักบุ้ง -

 

เอ๋ : จะรบกวนให้ลุงฮิมช่วยสอนเบสิกให้น้องผักบุ้งค่ะ

 

พี่ฮิม : น้องผักบุ้งเคยนั่งมาไหมเอ่ย

 

น้องผักบุ้ง : เคยฝึกอยู่กับคุณพ่อค่ะ

 

พี่ฮิม : แล้วท่ามือไกด์แบบลุงตุลย์เคยทําไหมครับ

ถ้าเคย ทําให้ลุงดูหน่อยได้ไหมครับ ไม่ต้องตื่นเต้นนะครับ

ไม่ต้องหายใจเกร็ง หายใจธรรมดา ไม่ต้องให้ยาวก็ได้

ลมหายใจกับมือ ให้เท่ากัน อึดอัดแล้วหยุดนะครับ

อย่าหายใจยาวเกินไป เอาพอดี ๆ เอาแบบเน้นสบายก่อน 

 

เวลาวาดมือขึ้นนะครับ เอาแค่เสมอจมูกก็พอ

หงายมือ ผลักมือขึ้นมานะครับ เสมอจมูกพอ

ถ้าหายใจสุดแล้ว ค่อยๆ เอาลง เอาตามที่สบายนะครับ

แล้วก็เอาลงสบายกว่านี้อีก เหมือนลมหายใจสบายๆ เลย

ถ้าอย่างนี้ สบายขึ้น ลุงฮิมรู้สึกสบายไปกับน้องผักบุ้งด้วยครับ

 

ต่อท่าสองเลยครับ น้องผักบุ้งเน้นหลักสบายนะ  

หายใจเข้า วาดมือขึ้น

จังหวะวาดมือขึ้นจนสุด เงยหน้านิดหนึ่งด้วยครับ

หายใจเข้า.. เงยหน้าแล้วก็เอาลง

 

เวลาเอาขึ้นไปสุด แหงนหน้าให้สุดเลย

เหมือนไปยืนอยู่บนหน้าผากว้างๆ รับลมเต็มที่

เหมือนรับลม ยืนอยู่บนดาดฟ้า ยืนมองนกบิน

 

ท่าสอง ให้มีความรู้สึกสดชื่นเหมือนอยู่ในทะเลไรอย่างนี้

ไม่ต้องเงยหน้าตลอดก็ได้นะครับ เงยหน้าเฉพาะตอนที่ขึ้นมือสุดนะ

เป็นอย่างไรมั่ง

 

ผักบุ้ง : ก็รู้สึกโล่ง ปกติดีกว่าเดิมค่ะ

 

พี่ฮิม : เวลาเวลาเราทําท่านี้ เราเน้นสบาย

 

น้องผักบุ้งเน้นสบายๆ นะอย่าไปเกร็งลมหายใจนะครับ

แล้วก็เวลาขึ้นท่าสองนี้ เปิดขึ้นไปเลย แล้วก็ลงมา

ให้มีความรู้สึก เหมือนกําลังยืนอยู่บนชานบ้าน กําลังยืนอยู่บนดาดฟ้า

สูดหายใจเต็มที่ มองฟ้าโล่งอย่างนี้

แบบที่น้องผักบุ้งทําเมื่อกี้ดีมากเลยนะครับ

--------------

- แก้ว -

 

แก้ว : จะให้พี่ฮิมดูช่วงนี้ให้หน่อยค่ะว่า สภาพจิตใจเป็นอย่างไร

หนูติดอยู่เรื่องหนึ่งคือโมหะค่ะ

 

พี่ฮิม : โดยปกติก่อนที่จะไลฟ์ครั้งแรกนี้

ผมทําได้แค่ดูคนปฏิบัติตรงหน้า

 

แล้วต่อมา ผมเพิ่มความสามารถอีกหนึ่งอย่างก็คือ

คุยกับพี่ตง แล้วบังเอิญพี่ตงพูดถึงว่าตอนปฏิบัติเขาเป็นอย่างไร

แล้วผมก็บังเอิญจังหวะนั้น จิตเปิดไปเห็นพอดี

ก็เลยได้อีกทักษะหนึ่งมา ก็คือต้องคุยไปเรื่อยๆ แล้วผมถึงจะสัมผัสได้

 

ดังนั้น ถ้าถึงขนาดแบบ ถามแล้วเป็นอย่างไรบ้าง.. (แก้ว : ทําให้ดูไหมคะ)
ได้ๆ ทําให้ดู แล้วลองคุยกันครับ

ถ้าคิดว่าปฏิบัติจนถึงจุดที่คิดว่าจะให้ผมเห็นพอแล้ว

ก็มาคุยกันได้นะครับ ตอนนี้ติดปัญหาอะไรฮะ

 

แก้ว : ติดปัญหาเรื่องโมหะค่ะ

 

พี่ฮิม : โมหะใช่ไหม เมื่อกี้ที่ผมเห็น

เดี๋ยวผมพูดที่ผมเห็นก่อน  เพื่อได้ว่าผมเห็นถูกไหม

 

ตอนที่ผมเห็นแก้ว เมื่อกี้ปฏิบัติ

ผมเห็นลักษณะของจิต ที่มีอาการตื่นไม่เต็มนะครับ

มีอุเบกขาอยู่ยืนพื้น แต่ตื่นไม่เต็ม

 

แล้วก็มี .. ถ้าเปรียบจิตเป็นมือนี่ จิตจะมีความรู้สึกเหมือนไม่คลาย

แต่อยู่ในท่านี้  จะอยู่อย่างนี้ (ทำท่างอนิ้ว)

กึ่งๆ จะแบบนี้ก็ไม่ใช่ (กำมือ) จะอย่างนี้เลย (แบมือเต็มที่) ก็ไม่ใช่

ที่ผมเห็นนะ ผมกําลังนั่งนึกอยู่ว่าถ้าเป็นผม ผมจะทําอย่างไร

 

แล้วตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง อาการพวกนี้ก่อให้เกิดอะไรบ้างนี้

นั่งคุยไปเรื่อยๆ ดีกว่า

 

แก้ว : อาการพวกนี้จะมา เวลามีเรื่องระหว่างวัน

แต่ว่าอันนี้ตื่นเช้ามา แล้วมีความไม่พอใจนิดหนึ่ง เมื่อกี้นี้

เอามาสดๆ ให้พี่ฮิมดูเลยค่ะ นิดหนึ่ง แต่ปกติจะเปิดกว่านี้

 

พี่ฮิม : อ๋อ พอรู้เหตุก็ชัดขึ้น

 

แก้ว : เมื่อกี้นิดหนึ่ง มีความไม่พอใจ มีกระทบ แล้วไม่ชอบรูปกระทบนั้นค่ะ

 

พี่ฮิม : ถ้าให้ผมตอบแบบฟันธง ก็ดีแล้วนี่ครับ ที่เห็นแล้ว

แถมเห็นเหตุ เห็นอาการ ณ ปัจจุบันด้วยเห็นสะสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็วางเอง 

 

แก้ว : ถามว่าระหว่างวัน จะมีการก่อตัวก่อนที่จะเกิดโทสะ

คือหนูจะรู้ รู้แล้วไปปรุงต่อ แล้วพอทีนี้มีอาการดิ้น ดิ้น

วันนั้นหนูนั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ แล้วหนูก็ดูจนมัน ดับขณะที่ตักก๋วยเตี๋ยวเข้าปาก

 

ทีนี้ก็ดูไปอย่างนี้เรื่อยๆ  หรือว่าอย่างไรคะ

 

พี่ฮิม : จุดที่ผมอยากให้ระวังมีจุดเดียว

 

ตอนเห็นดิ้น ผมไม่รู้สึกอะไรเลย

แต่ที่ผมให้อยากให้ระวังคือ ตอนที่ดูจนดับ

 

ประโยคที่พูดมาเมื่อกี้ ผมจับได้ถึงที่ว่า มีความควบคุมได้นิดหนึ่ง

จุดนี้ให้ระวังทัศนคติตรงนี้ไว้นิดหนึ่ง

 

การเห็นว่าดิ้น การเห็นว่าเป็นไม่ได้ดั่งใจพวกนี้

เวลาใครถามอะไรผมนะ ผมจะให้คําตอบไม่ออก

ผมก็จะแค่ว่า ก็ดีแล้วนี่นา เพราะเห็นแล้วไง

แล้วธรรมชาติของจิตเรา

จะให้เห็น แล้วเกิดปัญญาคลายตัวทุกครั้งน่ะ เป็นไปไม่ได้

 

แก้ว : แต่ก็รู้ว่าเกิดแล้วก็ดับไปทุกครั้ง ที่เห็นตอนนี้ ที่สั่งสมมานะคะ

เป็นแบบเกิด ตั้งอยู่ ดับไป ไม่อย่างนั้น ก็กระทบปุ๊บหนึ่งแล้วก็ดับ

 

พี่ฮิม : จริงๆแล้ว สิ่งที่พี่ตุลย์เคยสอนไว้เรื่องอธิโมกข์ มีผลตรงนี้ด้วย

คือต้องเห็นให้มากพอ จนจิต...

จิตนะ ไม่ใช่สมองนะ

 

จนจิตรู้ด้วยตัวเองว่าเดี๋ยวก็ดับ

ถ้า ดิ้น แปลว่าเห็นไม่มากพอ ก็ดูต่อไปเรื่อยๆ

 

แต่จริงๆ แล้ว ทางลัดพี่ตุลย์สอนแล้ว ก็คือเราก็บ่มสัมโพชฌงค์ไปเรื่อยๆ

บ่ม สติสัมโพชฌงค์ บ่มสมถะตามแนวเดินหลับตา

ยืนวาดมือ นั่งวาดมือนี่แหละ พวกนี้จะไปบ่มพวกสติสัมโพชฌงค์

วิริยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ทําไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์

 

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เกิดเมื่อไหร่ พวกนี้ ไม่ค่อยมีปัญหา  

 

แก้ว : ปกติที่หนูใช้กําลังของสมถะมาดูระหว่างวัน

ทีนี้ตอนยกมือ จะยกได้แค่ประมาณถึงสุข

แล้วพอเข้าจิตปุ๊บ ก็เข้าไปเลย หรือว่า แล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นอะไรอย่างไรเพราะปกติก็จะพิจารณาธาตุหกก่อนเข้าคะ

 

พี่ฮิม : เข้าไปแล้วเป็นอย่างไรครับ

 

แก้ว : เข้าไป ลึกบ้าง ไม่ลึกบ้าง แล้วแต่ค่ะ ก็มีความสว่าง

 

พี่ฮิม : แล้วมีอาการที่เข้าแล้ว ถอนออกมาบ้างไหมล่ะ

 

แก้ว : ก็ถอน ถ้าถอนออกมา หนูก็เห็นว่าธรรมดา ก็มาเติมปีติใหม่ค่ะ

ปีติสุข แล้วก็เข้าไปใหม่ บางครั้งก็จะถึงชั้นพลังงาน

แต่ช่วงนี้ไม่ถึง เพราะว่าด้วยกระทบเยอะอะไรอย่างนี้ค่ะ

 

พี่ฮิม : ไม่ใช่เรื่องสําคัญ การจะเข้าหรือไม่เข้าสําหรับผม ไม่สําคัญเท่าไร

 

เดี๋ยวผมเล่าเรื่องผมแล้วกัน เมื่อประมาณ ..ก่อนข้ามเส้นสอง

มีอยู่ช่วงหนึ่งคือผม ตอนนั้นเห็นพิสดารเลยแหละ

 

นั่งไปนี่ เห็นเข้าไปจนถึงแบบ จิตแตกเป็นเสี้ยว แล้วก็ดูทีละเสี้ยวๆ

จนไม่เห็นไรเลย ไปเห็นโมหะ ลึกๆๆ เสร็จปุ๊บ จิตรวม

ไม่ดูโมหะแล้ว ดูทุก..แบบอนันตจักรวาล

ทุก ๆ จิต ทุก ๆ เสี้ยว ทุกเจตสิกที่มีในจักรวาล

 

พอส่งการบ้านพี่ตุลย์ พี่ตุลย์ก็บอกว่า

ที่ดูอย่างนั้นน่ะ ปัญญาไม่ได้ขยับเลย เป็นปัญญาเท่าเดิม

สําหรับผม ผมต้องออกมารู้อิริยาบถปัจจุบัน

แล้วก็รู้แรงกระทบปัจจุบัน อุปาทานถึงสะเทือน

 

คีย์เวิร์ด การรู้อะไร แล้วอุปาทานสะเทือน อันนั้นแหละ

แล้วอุปาทานสะเทือน แสดงออกด้วยอาการอะไร

แสดงออกด้วยอาการ ดิ้น

แสดงออกด้วยอาการที่มาฟ้องผมนี่ .. ทําไมเป็นอย่างนี้

 

อุปาทานสะเทือน นั่นแหละ อาการไม่พอใจนี้แหละ คือ คืออะไร

ทําไมเราถึงดิ้น ทําไมถึงต้องมาหาคนคุยด้วย

เพราะเป็นจุดที่ปัญญาเราไม่ถึง เป็นจุดที่ท้าทายสภาวะจิตเรา

เป็นจุดที่ .. นี่แหละคือจุดที่บอกเราว่า จิตเราต้องไปต่อ

นี้แหละคือการสะเทือน โอเค เข้าใจเนาะ

 

แก้ว : เข้าใจค่ะ เดี๋ยวจะพาตัวออกไปเจอสถานการณ์ต่างๆ

 

พี่ฮิม : ความก้าวหน้าทางพุทธนี่ วิธีก้าวหน้านะ ไม่เคยสนุกหรอก

 

แก้ว : ก็จริงๆ หนูกําลังสมถะนําปัญญา

คือหนูก็พูดหลายครั้งแล้วว่า หนูรู้สึกว่าหนูโง่มากเลย

ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาค่ะ

 

พี่ฮิม : ไม่เป็นไร ผมก็เป็นอย่างนั้น ผมเดินปัญญานิดเดียว

เทียบกับสมถะ โอ้โหสมถะผมทําขนาดนี้ (กางมือออก)

ปัญญาผมทําแค่นี้ (ชูนิ้วโป้งนิ้วชี้ จรดกัน)

ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายอะไรนะ ไม่ได้เสียหายอะไร

 

แก้ว : เดี๋ยวจะไปดูค่ะ ถ้าหายดิ้นเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ถ้าดิ้นก็ไม่เป็นไร หายดิ้นก็ไม่เป็นไร ดูไปเรื่อยๆ  

 

พี่ตุลย์เคยบอกกับคุณตู้ไว้ ซึ่งอันนี้ ก็เอามาใช้ได้ก็คือ

 

ให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองกับใจเรา เหมือนปลาช่อน

เวลาเกิดอาการดิ้น ก็เหมือนปลาช่อนโดนทุบ

 

ปลาช่อนโดนทุบ ไม่ดิ้นได้ไหม .. ไม่ได้ อย่างไรก็ดิ้น

แล้วจะหยุดได้ เมื่อไหร่ .. เมื่อตาย

แล้วแต่ละตัวนี่ เวลาดิ้นนี่ ระยะเวลาในการดิ้นเท่ากันไหม .. ไม่เท่า

 

และที่สําคัญก็คือ จิตเรา ไม่เหมือนปลาช่อนอยู่อย่างหนึ่ง

ปลาช่อน ตายแล้วตายเลย แต่จิตเราพร้อมจะกลับมาดิ้นใหม่

พูดอย่างนี้ก็คือ ให้ทําใจไว้ว่า ปลาช่อนตัวนี้ไม่ตายหรอก

---------------

- บิว -

 

บิว : รบกวนดูสภาวะจิตให้หน่อยได้ไหมคะ

 

พี่ฮิม : จิตสว่างดีนะครับ มีความเบา

สิ่งที่ต้องเติมนะครับก็เรื่องปีติ กับสุข 

วิธีการเติมปีติกับสุข ก็ซ่อนอยู่ในท่านี้แหละครับ

 

ค้างมือไว้ครับ ค้างไว้ ปล่อยอารมณ์

ปล่อยความรู้สึกว่างตรงนี้  ค่อย ๆ ลงมา

เทคนิคนะครับ เวลาขึ้นท่าสอง แล้วค้างไว้

เวลาเอามือลง ถ้าเข้าที่ จะล็อคความว่างตอนที่เอามืออยู่ข้างบนได้

 

เลื่อนขึ้นไปใหม่ครับ หายใจเข้าลึกๆ นึกถึงท้องฟ้าว่างนะครับ

เวลาที่มือเคลื่อน กับลมหายใจเข้าออก ให้สัมพันธ์กัน

อันนี้เป็นเบสิกที่ห้ามลืมเลยครับ

 

เริ่มเข้าที่แล้ว ความสุขเริ่มปรากฏขึ้นโปรยปรายแล้วนะครับ

หายใจเข้ารู้ความสุขบางๆ นั้น แล้วเดี๋ยวความสุขก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ

เอาลงแล้วยังล็อกความว่างข้างบนได้ เยี่ยมเลยครับ

 

ผมว่าบิวจับเคล็ดได้หมดแล้วล่ะนะ ไม่มีอะไรนะ ดีมากเลย

ตอนทําท่าแรกก็เข้าที่

แล้วตอนทําท่าสองก็คือ แป๊บเดียวก็เริ่มมีความสว่างมีความสุข

แล้วก็ล็อกความว่างตอนขึ้นท่าสองได้ ตอนเอามือลง

 

คุยกับผมเลยดีกว่าว่ามีปัญหาอะไร

 

บิว : เหมือนปกติจะติดตรงท่าสอง นี่แหละค่ะ ทั้งตอนนั่งแล้วก็ตอนเดิน

เหมือนท่าหนึ่ง หนูจะรู้สึกว่าสบายกว่า ก็เลยไม่ค่อยได้ทําท่าสอง

 

แต่เมื่อกี้ตอนคุยกับพี่ฮิม พี่ฮิมไกด์ให้ ก็รู้สึกแบบที่พี่ฮิมพูดจริง ๆ ค่ะ

คือมีเริ่มมีปีติอ่อน ๆ แล้วก็คิดว่าน่าจะถ้าทําไปเรื่อย ๆก็จะดีขึ้น

แต่พอทําคนเดียวไม่ได้แบบนี้

 

พี่ฮิม : ธรรมดา เพราะว่าทําไมถึงต้องคุยกันเซสชั่นอะไรอย่างนี้

คือเพื่อ ๆ สปาร์ค เพื่อให้ .. เขาเรียกเกิดการเหนี่ยวนํากัน

แล้วจนถึงที่สุด พอไปทําคนเดียว สามารถทําได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งเจอกันอย่างนี้ นะครับ

แล้วสุดท้ายเราจะกลายเป็นเป็นคนที่จะไปสปาร์คให้คนอื่นบ้าง

 

บิว : อีกคําถามหนึ่ง จิตประมาณหนูพอจะระลึกถึงกระดูกได้หรือยังคะ

 

จริงๆพอได้แล้ว วิธีการพี่ตุลย์แนะนําไปแล้ว

เริ่มต้นโดยง่ายที่สุดก็คือ ไปหารูปทางอินเตอร์เน็ตมาดูให้ติดตา นะครับ

เป็นเป็นนิมิต แบบภาพสองมิติไปก่อน  อยากกําหนดนิมิตตรงไหน

ถ้าสมมุตินั่งมือไกด์ ก็กระดูกตรงแถวโดยฝ่ามือนี้นะ ตรงฝ่ามือนี้

ตรงกระดูกนิ้วนะครับ แล้วเวลาเลื่อนก็เห็นมือ ..กระดูกมือผ่านไปนะครับ

 

เริ่มต้น จะเห็นรางๆ เป็นขาวๆ ไม่เป็นกระดูก ไม่เป็นไร

จุดสําคัญก่อนที่จะเห็นกระดูก

ถ้าเป็นท่านั่ง จะเกิดลมหายใจ เป็นแสงก่อน

ถ้านั่งไปอีกแป๊บหนึ่งเมื่อกี้ ที่เกิดปีติแล้ว เดี๋ยวจะเริ่มเกิดแสง

 

จะเริ่มจากมีปีติ แล้วมีความสุขก่อน เดี๋ยวแสงในลมจะตามมา

คือไม่ต้องไปหวังว่า จะสว่างเหมือนหลอดนีออนอะไรอย่างนี้

แต่จะเริ่มมีความสว่างเรืองๆ เหมือนเป็น ฟอสฟอรัส

เหมือนเป็นหิ่งห้อยที่มีแสงในตัวเอง เรืองรองนิดๆ หน่อยๆ นะครับ

 

พอทําไปเรื่อยๆ นี่ น้อมความรู้สึก .. คือคิดนั่นแหละ

แล้วรวมกับจิต เอาแสงมาอยู่ที่มือ เอาขึ้นลง แค่นั้น .. แค่นั้น

อย่าทํามากกว่านั้นนะครับ แล้วเดี๋ยว กระดูกจะโผล่

 

ที่ต้องใช้แสงเพราะไร

เพราะแสง นี่จะเป็นตัวเหนี่ยวนําให้เกิดสมาธิ

แน่นขึ้น แน่นขึ้น ด้วยในขณะที่เราเห็นกระดูกด้วย

อันนี้เป็น trickที่ พี่ตุลย์สอนผมมา

 

ซึ่งบิวน่าจะเริ่มทําได้แล้ว ดูจากจุดเมื่อกี้

แต่อย่าไปเคี่ยวเข็ญเพราะว่าเพิ่งเริ่ม

เพิ่งเริ่มโอเคจากตอนที่เรามานั่งคุยกันเมื่อกี้

ดังนั้นถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องเคี่ยวเข็ญตัวเอง

 

ก็ทําต่อ นะครับ ไม่ได้ก็มาเหนี่ยวนํากันต่อ นั่งคุยกันในกลุ่มอะไรอย่างนี้

แล้วก็ลองทําไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวก็ได้ แต่ไม่ได้เร็วดั่งใจ

---------------

- จิ๋ว –

 

จิ๋ว : จะรบกวนถามพี่ฮิมเรื่องระหว่างวันค่ะ

ช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านั้น จิ๋วจะหนักตรงหัวข้างหน้า

เป็นลักษณะที่ค่อยๆ สะสมไป

ระหว่างวัน เหมือนกับเก็บอะไรมาทีละนิดๆ

พอถึงจุดหนึ่ง มีความรู้สึกว่าเริ่มไม่ไหวแล้ว

ตอนแรกคิดว่าเดี๋ยวก็คงจะคลายไป แต่ก็เหมือนค่อยๆ ทบๆ มาเรื่อยๆ

 

พี่ฮิมบอก ให้นั่งกวาดมือแล้วก็ซิงค์ลมหายใจกับมือ

ก็ค่อยๆ คลายไปทีละนิด ระหว่างวันก็ค่อยๆ ดีขึ้น

แต่ก็ไม่ได้โล่งไปทั้งหมด

 

พี่ฮิม : ผมแยกเป็นประเด็นอย่างนี้นะ

 

คือในเรื่องของการสะสมนี่ง่ายที่สุด แค่มานั่งคุยก็หายแล้ว

แค่ได้บอกใครสักคนอะไรอย่างนี้

 

ในส่วนของเรื่องเบสิก นี่ ผมอยากจะเล่านะว่า

ในยามที่ผมเจอภาวะอะไรที่ไม่ดี

หรือเจอภาวะไรที่แบบ ผมรับมือไม่ค่อยไหวนี่ ผมอยากให้มั่นใจนะ

 

ผมอยากให้มั่นใจว่า

วิธีที่พระพุทธเจ้าท่านประทานมา พาผ่านได้หมดเลย

 

ผมชอบใช้คํานี้ เป็นคําแบบนิยายจีนก็คือ

ใช้ความทื่อด้าน ปะทะความคม

ใช้ความเรียบง่าย ปะทะความซับซ้อน

ใช้พื้นฐาน ปะทะความพิสดาร

ใช้ความสบาย ปะทะความทุกข์ตรม

 

ก็คือท่าพื้นฐาน ลมหายใจซิงค์กับมือ นี่

ถ้าสมมุติเราทําเข้าจุดจริงๆ จนเกิดวิตักกะ วิจาระ นะครับ

 

สิ่งต่างๆ ที่เข้ามาปะทะในชีวิตเรานี่

เราจะมองเป็นแค่สภาวะ

 

คีย์เวิร์ดเลย ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้าเราสามารถมองเป็นสภาวะได้

แล้วเราจะมองเป็นสภาวะได้อย่างไร?

 

เราต้องมองผ่านสายตา หรือเลนส์ที่พระพุทธเจ้าท่านประทานให้

เลนส์คืออะไร เลนส์คือตัวนี้ (ทำท่ามือไกด์ซิงค์กับลมหายใจ)

 

ในตอนชีวิตประจําวัน

เราอาจจะใช้เลนส์ตัวนี้ไม่ได้ เพราะเราทําท่าไม่ได้

แต่พอถึงตอนเย็น เราก็จะมีเลนส์ตัวนี้เข้ามาดู

เพื่อให้เห็นสิ่งที่เราเจอมาทั้งวัน มันเป็นสภาวะ

 

พอเป็นสภาวะเสร็จปุ๊บ เราจะรู้สึกบันเทิง

จริงๆ นะ เราจะรู้สึกบันเทิงกับมัน

เหมือนที่ผมชอบพูดความทุกข์ของผม ที่เกิดในรอบรอบตัวผม

ที่ตอนนี้ก็ยังเจออยู่

 

ถ้าทุกคนสัมผัสได้นะ

จะสัมผัสได้ถึงความบันเทิง ในการที่ผมประสบกับสิ่งรอบรอบตัวผม

 

สิ่งที่ผมจะให้นะครับ ผมให้กําลังใจนะ มีกําลังที่จะฝึกต่อ

แล้วสามารถจนถึงจุดหนึ่ง ที่จะดูสิ่งเหล่านี้ เป็นภาวะได้มากขึ้นมากขึ้น

 

เมื่อไหร่ที่แบบทุกๆ อย่างที่เข้ามาในชีวิตเรา .. เรามองเป็นภาวะ

 

ภาวะคืออะไร

ภาวะคือเราเห็นเป็นเมาส์ตัวนี้

ภาวะคือเราเห็นเป็นขวดน้ำขวดนี้

.. น้ำหนักมันเท่านั้น

 

แล้วเราดูผ่านเลนส์ตัวนี้นะครับ

พวกนี้เป็นอุปกรณ์ชั้นดี ที่จะเข้ามาลองตีเรา

เพื่อผลักเรา ขึ้นไปขึ้นสู่อีกระดับหนึ่งทั้งนั้นเลยนะครับ

 

สําหรับจิ๋วผมให้กําลังใจดีกว่า เพราะว่าผมว่าเรื่องพวกนี้จิ๋วรู้อยู่แล้วนั้น

 

จิ๋ว : จิ๋วก็เข้าใจมากขึ้น แล้วจิ๋วจะทําภาวนาต่ออย่างที่พี่ฮิมบอกค่ะ

---------------

- หน่อย -

 

หน่อย : อยากให้คุณฮิมดูสภาวะแล้วก็ขอคําแนะนําค่ะ

ตอนเดินลองเอาเสื่อโยคะ มาเดินอย่างที่อาจารย์บอก

แล้วพอกลับตัวมา แล้วไม่ลืมตามองระยะทางข้างหน้า

จะเหมือนมึนๆ แบบว่าถ้าจะหลับตาเดินเลย อย่างนี้จะกลัว

กลัวชน แล้วก็เหมือนไม่มั่นใจ 

 

พี่ฮิม : ตอนเริ่มต้นจริงๆ ไม่จําเป็นต้องหลับตาตลอดนะ

จังหวะกลับตัวแล้วก่อนจะเดิน นี่

ลืมตาเพื่อกะระยะในการเดิน ไม่เสียหายครับ

ทําอย่างนั้นตลอดเลยก็ได้ จนกว่าจะคล่อง

 

ในช่วงเริ่มต้น แนะนําให้เดินในสถานที่ซ้ำๆ จะง่าย

เพราะว่าจะลดอาการรบกวน จากความกลัวความไม่ชินที่

ความกลัวชน พวกนี้จะลดลงไปเยอะ นะครับ

 

หน่อย : ปกติก็เดินสถานที่ซ้ำๆ แต่คือที่บ้านจะเหมือนไม่สะดวก

แบบว่า เราจะเหมือนเป็นตัวประหลาดในบ้านอะไรแบบนี้

 

พี่ฮิม : ไม่ต่างกัน ไม่ต่างกัน

ตัวผมเอง  แม้วันนี้ผมจะหามุมสักมุมหนึ่งปฏิบัติในบ้าน ก็ยังไม่ง่าย

 

หน่อย : มีคําพูดว่า แบบก็ให้พอดี เพราะว่าเรามีครอบครัวอะไรประมาณนี้

เขากลัวเรา ไปเยอะ

 

พี่ฮิม : เข้าใจ เข้าใจครับ ผมให้กําลังใจแล้วกันนะครับ

ถ้าจะให้ดีนะ .. อาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้นะ

ในช่วงเวลาที่คนอื่นหลับ ในช่วงเวลาที่ไม่อยู่ในสายตาคนอื่น

หาเวลาช่วงนั้นดู

 

หน่อย : ส่วนมากจะทําเวลาเขาหลับ

แต่ว่าบางทีเขาจะตื่นออกมา เขาก็จะมาเห็น

พอเขาเดินมา เราก็จะแบบ จิตกังวลแล้ว ไรอย่าง นี้

 

พี่ฮิม : วิธีสู้นะครับ ทําให้บ่อยกว่าที่เขาทัก แล้วเดี๋ยวเขาจะไม่ทัก

 

หน่อย : ทําให้เขาเห็นไปจนชินเลยใช่ไหมค่ะ

 

พี่ฮิม : ใช่ ใช้วิธีนั้น ผมก็ใช้วิธีนั้น

คือแบบอารมณ์เหมือนเขาทักก้อนหิน

เออ อารมณ์เหมือนเขาทักก้อนหิน แล้วไม่รู้จะทักต่อทําไม

เพราะดูแล้วไม่มีปฏิกิริยาเลย

 

เข้าใจอารมณ์ของคนที่ชอบแกล้งคนนะ

จะมีคนบุคลิกหนึ่งที่น่าแกล้ง บุคลิกของคนที่น่าแกล้งมีอย่างหนึ่ง

คือ ทัก ด่า หรือแกล้งอะไร แล้วมีปฏิกิริยา

แต่ถ้าเราไม่มีปฏิกิริยา เดี๋ยวจะเบื่อเอง แล้วสุดท้ายเดี๋ยวก็เลิกทักเอง

 

หน่อย : จะเป็นคนคิดเยอะด้วยค่ะ เวลาเขาพูดมาเราก็คิด

 

พี่ฮิม : ตัวนี้มองเป็นแบบฝึกหัดก็ได้นะครับ เขาเรียกอะไรนะ

มีโหมดหนึ่งในหนังสือของพี่ตุลย์ก็คือ อายตนบรรพ

คือว่าด้วยของเสียงกระทบ นะครับ

 

ความรู้สึกที่ไปรับรู้เสียงกระทบนั้น และความรู้สึก หรืออารมณ์เรา

ที่เกิดขึ้นต่อจากอารมณ์นั้น ต่อจากการกระทบนั้น

จะวิ่งอย่างนี้ๆ (ทำมือเลื่อนขึ้นลงเฉียงๆ)

ดูเป็นสายอย่างนี้ จะได้ปัญญายอดเยี่ยมเลย เพราะดูยากมาก

 

จะเห็นสังโยชน์ จะเห็นโทสะ จะเห็นราคะ จะเห็นโมหะ

ถือเป็นอุปกรณ์ที่จะดูธรรมะชั้นสูงต่อ คืออายตนบรรพ นะ

อายตนบรรพ ประกอบด้วยการดูอายตนะทั้งหก เพื่อให้เห็นสังโยชน์นะครับ

 

ดูอย่างไร?

เวลาเราเห็นภาพ จะมีอยู่สามอุปกรณ์

หนึ่ง ตา สอง ภาพที่เห็น เขาเรียกรูป และ (สาม) ความรับรู้รูปนั้น

 

เมื่อสามอย่าง ประจวบกัน

ปุถุชนอย่างเรา จะเกิดกิเลสที่เป็นกิเลสนอนเนื่องที่เรียกว่า สังโยชน์

เห็นรูปที่เราไม่ชอบ เกิดความไม่ชอบ

เห็นรูปที่ปลุกตัวตนของเราขึ้นมา ตัวตนของเราก็เกิด

ห้ามได้ไหม ไม่ได้

หายได้ไหม ไม่หาย

 

สิ่งพวกนี้ หายจากอริยมรรคทั้งนั้น เพราะเป็นสังโยชน์

แล้วก็หายได้ชั่วคราวจากสมถะ

 

แต่ประเด็นก็คือ

เมื่อตาประจวบรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นสัมผัสรส จมูกได้ดมกลิ่น

ผิวสัมผัส ใจกระทบธรรมารมณ์พวกนี้

จะเกิดแรงสปาร์ค สังโยชน์ ราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้นเสมอ

พวกนี้เป็นอุปกรณ์ได้หมดเลยครับ

 

ถ้าคุยกับผมนะ จะเหมือนกับผมไม่ตอบ

เพราะว่าทุก ๆ อันที่ผมตอบ คือบอกว่า เอาไปใช้ได้หมดเลย

 

แล้วจริง ๆ คือ ทุกอย่าง ที่พี่หน่อยประสบ ใช้เป็นเครื่องมือได้หมดเลย

อย่างอันนี้ ลองฟังดู แล้วลองดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเราเป็นอย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจเรา ที่ทําให้เกิดความคิดในหัวเป็นอย่างไร

 

เพราะว่าความคิดของเรา จะเกิดความรู้สึกก่อน

ความรู้สึกอับอาย ความรู้สึกทําตัวไม่ถูก ความรู้สึกประหม่า

ประหวั่น กลัวเขาคิดไม่ดีกับเรา

ความรู้สึกรักหน้า ความรู้สึกอยากดูเป็นคนปกติ

พวกนี้ จะผลิตความคิดหมดเลย .. เห็นไปทุกตัวเลยครับ

 

เพราะสุดท้าย ถึงเราไม่เห็นตอนนี้

อนาคตที่เราปฏิบัติก้าวหน้า ก็ต้องถูกบังคับให้เห็นอยู่ดี

ก็เห็นเสียวันนี้  แล้วนอกนั้น ผมก็แค่ให้กําลังใจ

ทําไมต้องให้กําลังใจ เพื่อจะได้ยืนอยู่ เพื่อจะได้เห็นพวกนี้ จนชินนะ

 

---------------

- ปุ๊กกี้ -

 

ปุ๊กกี้ : มีเรื่องอยากถาม เกี่ยวกับเรื่องของการเดินค่ะ

เพิ่งมาหัดทํา ตอนช่วงแรกๆ ช่วงที่เริ่ม ตอนที่ยืนจะโล่งรู้สึกเบา

แต่พอมาถึงตรงที่บอก ให้เทียบธาตุ ที่บอกว่าเอาหูสัมผัสอะไรแบบนี้

หลังจากนั้น คือกลายเป็นเพ่งและปวดหัว

แล้วไม่สามารถเลย จิตจะหนักมากค่ะ

 

พี่ฮิม : ผมพูดอย่างนี้แล้วกัน เกี่ยวกับเรื่องเทียบธาตุ

ถ้ายังทําไม่ได้ไม่ต้องฝืน พี่ตุลย์จะให้เป็นโรดแมพไว้นะครับ

เวลาสอนนี้ยาวๆ นะครับ

 

การเทียบธาตุ การเดินจงกรม นั่งสมาธิ การเดินจงกรมหลับตานี้

จริงๆ เป็นของที่สามารถฝึกกันได้ทั้งชีวิต

 

เพราะว่าอะไร?

เพราะว่าเป็นสมาธิที่ เกจิอาจารย์ที่มีคุณวิเศษ

ที่สามารถนั่งสมาธิ จนหลับตาหรือลืมตาเห็นได้หมด มีตาทิพย์ ท่านทํากัน

 

แต่พี่ตุลย์ท่านเมตตา

ก็คือ เอามารีเวิร์สเอ็นจิเนียริ่ง (reverse engineering)

คือเอามาเป็นสมาธิย้อนกลับ แล้วให้เรามาทํา

 

ดังนั้น การที่เราจะทําได้บางส่วน แล้วบางส่วนไม่ได้ ไม่ต้องกลุ้มครับ

ไม่ได้ ก็คือไม่ได้ แล้วเดี๋ยวจะได้ เมื่อเมื่อเราสะสมสมาธิไปเรื่อยๆ

 

ปุ๊กกี้ : ลักษณะนี้ ก็คือถ้าเกิดว่าไม่คิดอะไร คือเดินหลับตาไปเรื่อยๆ นี้

ก็จะโล่งๆ เราสามารถทําแบบนั้นไปได้เรื่อยๆ ก่อนได้ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ไปได้เรื่อยๆ ก่อน แล้วก็ถ้าจะแทรกเข้าไปบ้างนิดหนึ่งครับ

ให้สัมผัสถึงผนังด้านหน้า แค่นั้นพอ

 

ไม่ใช่เอามือไปสัมผัสนะ ความรู้สึกแบบ ถ้าสมมติจิตเราใสแล้ว

แล้วความรู้สึกของเราเหมือนเปิดไปข้างหน้าได้นิดหนึ่ง

ถ้าถึงขนาดนั้น แล้วเหมือนกับเอามือไปลูบวัตถุข้างหน้าได้นิดๆ แค่นั้นพอ

 

ปุ๊กกี้ : อย่างอื่นเราก็ปล่อยไปเลย แล้วไม่ต้องไปอะไรใช่ไหมค่ะ

 

พี่ฮิม : ใช่ ถ้าทําไม่ได้ไม่ต้องฝืน

แล้วถ้าอยากจะให้ง่ายนะครับ เดินให้ใกล้กําแพงที่สุด

ยิ่งใกล้ ยิ่งสัมผัสง่าย ห่างกันแค่นี้ (ยกมือมาเกือบชิดกัน) จะง่ายเลย

ก็แค่เอาเอาเสื่อโยคะ ไปตั้งใกล้ๆ แบบที่เวลาไปจอดแล้วอยู่ใกล้ๆ แค่นี้

จะรู้สึกได้ โดยที่ไม่ต้องใช้พลังอะไรเลย

 

ปุ๊กกี้ : แล้วเราก็ทําอัตโนมัติแบบนั้นไปเลยเรื่อยๆ

อยากให้ช่วยคุณอิมช่วยดูภาวะจิต ที่ควรจะทํา ที่มีอะไรที่จะพัฒนาได้ต่อไป

 

พี่ฮิม : ตอนนี้ติดปัญหาอะไรดีกว่า

 

ปุ๊กกี้ : ติดปัญหาว่า เป็นคนชอบฟุ้งซ่าน ท่าสองนี้เอาไม่อยู่คะ

 

พี่ฮิม : นั่งให้ผมดูเลย ยืนหรือนั่งก็ได้ ถ้าถนัดยืน ถ้าใช้ยืนเป็นปกติก็ยืนได้ครับ

ให้ดูลมหายใจ ควบกับมือไปนะครับ

วางจิตอยู่ที่ลมหายใจกับมือ นิดหนึ่ง เพิ่มอีกนิดเดียว

 

ถ้าสังเกตดีๆ ตอนนี้จะเริ่มเห็นความคิด แยกออกมาแล้ว

เห็นแค่นั้นพอ ไม่ต้องไปดับความคิด

รู้ความคิดควบไปกับลมหายใจที่เป็นจังหวะของมือไป แค่นั้น

 

ให้น้ำหนักกับลมหายใจมากขึ้นนิดหนึ่ง

ไม่ต้องเพ่งไปที่มือ ที่มือกับลมหายใจนะครับ

 

ก็จะเริ่มเบาขึ้น ทําไปเรื่อยๆ ให้รู้สึกถึงความเบา ความสุขก็จะเริ่มมา

คราวนี้ จิตจะถูกความสุขดึงไปนะครับ

หายใจเข้ารู้ความสุข หายใจออก รู้ความสุข

หายใจออก รู้ความเบา รู้ความสุขไปอีกรอบหนึ่งครับ

 

แค่นี้เลย เวลาแก้ความคิด เวลาแก้ฟุ้งซ่านใช้วิธีนี้

ทําจนเกิดความสุข จนเกิดปีติ

 แล้วเดี๋ยวพวกนี้ มีน้ำหนักมากกว่าความคิดเอง

แล้วความเบาความสุขนี่ จะทําให้จิต ไม่สนใจความคิดแล้ว

ตอนนั้น จะเบาไปโดยอัตโนมัติเมื่อกี้พี่ก็เห็นแล้ว แบบฉับพลันเลยใช่ไหม

---------------

- หมู –

 

หมู : จะรบกวนสอบถามพี่ฮิม เรื่องความเข้าใจของผมครับ

ว่าก่อนหน้านี้ เรื่องนิวรณ์ห้า ที่จะไหลไปเรื่อยเลยครับ

 

พี่ฮิม : นิวรณ์ตัวไหน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน?

 

หมู : ใช่เลยครับ ไม่รู้ว่าหมูจับจุดถูกไหมครับพี่

คือจริงๆ แล้ว เราขาดสติไป เราเพลินไปกับมันไปเรื่อยครับ

เหมือนเรารู้จริง แต่ว่า เราก็ไม่ได้ทำอะไร

แล้วก็แล้วก็เพลิน มีนันทิตามไปกับมัน อย่างนั้นถูกไหมครับ

ตอนนี้ ที่ผมปรับคือ พยายามจะให้เร็วขึ้น ให้สติอยู่ที่ขาเพิ่มขึ้น

 

พี่ฮิม : พอได้ๆ จริงๆ แล้ว วิธีจัดการกับนิวรณ์ห้า แบบขั้นเด็ดขาด

คือการทําให้เข้าถึงสมาธิแบบการทําให้เกิด วิจาระ

วิจาระ จะเป็นตัวเริ่มต้น

ถ้าได้วิจาระแบบแนบแน่นกับสิ่งที่เรากําลังทําอยู่ แบบยาวนาน

จะเกิดปีติขึ้นมา เมื่อนั้น จะไม่ต้องพูดถึงนิวรณ์แล้วครับ จะเบาลงไปเอง

 

พระพุทธเจ้า ท่านไม่เคยสอนให้เราไปจัดการกับปัญหาตรงๆ

ฟังดีๆ นะ .. ปัญหาทางสมาธิ

พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยให้เราแบบเอามือล้วงเข้าไป

เพื่อขยี้กิเลส เพื่อขยี้จิตที่เราไม่ชอบโดยตรง

 

สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนคือ ไปทําเหตุอีกทางหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวกับมัน

แล้วเอาเหตุนี้ ตัวเหตุจะไปจัดการตรงนี้เอง

เจตนาของเราไปอยู่ที่ตรงนี้ ดังนั้นที่เมื่อกี้บอกว่า

เป็นความเข้าใจว่าดูเท้ากระทบ ถูกแล้วครับ

เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการดูวิตักกะ

 

หมู : คือบางทีลืมเลยครับ คือ ลืมไปเลย ณ ตอนนั้นครับ

คือจะเพลินไปกับอารมณ์เรื่อยๆ  

 

พี่ฮิม : แน่นอน กามฉันทะ พวกนันทิในการคิด พวกนี้แรงอยู่แล้วครับ

แรงอยู่ ทางที่ดีก็คือลดเหตุที่จะทําให้เกิดนันทิพวกนี้ในตอนทําสมาธิบ้าง

 

เหตุพวกนี้มีอะไร ก็พวกมหรสพทั้งหลาย

พวกเรื่องราวเสียงต่าง ๆ ที่ดังอยู่ในโซเชียลพวกนั้น หรือพวกซีรี่ส์

การคุยกับคนพวกนี้ เป็นเหตุที่จะก่อตัว

แล้วจะส่งต่อ เป็นการคิดที่ต่อกัน ต่อกัน ต่อกัน แล้วไม่ตัดตอน

 

ยิ่งถ้าเราต่อเนื่องกับการทํากิจกรรม ที่เป็นผลต่อความฟุ้งซ่านมากเท่าไหร่

เราดูซีรีส์ยาวยี่สิบตอนไม่หยุด

เราคุยกับคนสามชั่วโมงไม่หยุด

เรานั่งเล่นเกมทั้งคืนไม่มีหยุด

 

แน่นอน จิตชินกับการที่ เวลามานั่งสมาธิแล้วก็จะต่อวี้ดด ไม่หยุดเหมือนกัน

 

พฤติกรรมของเราในชีวิตประจําวัน

จะมีผลต่อความเคยชินของจิตเรา ที่จะเบรกตัวเป็นพัก

 

ถ้าจิตเราสามารถเบรกตัวเป็นพัก

จากความคุ้นเคยของการคิดเป็นเรื่อง เป็นเรื่อง ไปเรื่อยๆ

นี่ก็จะส่งผลให้เราสามารถหลุดออกมาจากภาวะ นันทิราคะ

หรือว่าตัวความเพลินในการคิด

ความเพลินในการเห็นภาพ

ความเพลินในการสัมผัส ให้น้อยลงเรื่อยๆ เรื่อยๆ  

 

แต่ว่าจุดที่ผมเน้นก็คือ ถ้าสามารถหลุดจากตรงนั้นแล้ว

ดูพวกลม ดูวิตักกะ จนเกิดวิจาระ พวกนี้ก็จะจัดการได้เหมือนกัน

แล้วจะเป็นอีกทางหนึ่งนะ

 

คือทําให้จิตเราเกิดความคุ้นเคย เกิดนันทิ

แต่เป็นนันทิในทางสมาธิพุทธ

นันทิในความสุขที่เกิดจากวิจาระ นันทิในปีติ

 

เมื่อทําให้เกิดได้ นันทิตัว นี้

จะเหมือนน้ำใสที่เข้าไปไปล้างนันทิ เก่าๆ

เป็นนันทิเหมือนกัน แต่เป็นนันทิอีกด้านหนึ่ง ที่มาถ่วง

 

แล้วสุดท้ายถ้าเราทําสม่ำเสมอ

ปริมาณนันทิในกลุ่มของกาม จะลดน้อยลง

และนันทิในส่วนของกุศลธรรม และธรรมะจะเพิ่มมากขึ้น

จนสุดท้ายเราจะมีความรู้สึกว่า เราอยู่กับธรรมะ

เราอยู่กับสิ่งที่เป็นเหตุแห่งกุศลธรรม ด้วยความเพลิดเพลินได้ทั้งวัน

โดยที่ไม่ต้องเอาของที่เป็นเหตุแห่งนิวรณ์ห้า มาเสพมากนักก็ได้

 

แต่หยุดไม่ได้หรอกอย่างไรก็มี

แต่เราเล่นเกมแข่งกับมัน เป็นเกมนันทิ

 

หมู : แต่ว่า ผมก็ว่าผมก็ห่างออกมาเยอะครับ

ไม่ได้ยุ่งกับซีรีส์ ไม่ได้อะไรนานแล้ว

จริงๆ เหมือนเราไปติดกับเหมือนสุขในสมาธิหรือเปล่าครับ

เหมือนเวลาเราเดินไปสักพัก เราเทียบธาตุได้ ก็เหมือนเราก็เพลินๆ ไป

 

พี่ฮิม : แบบนั้นดีนะ ปล่อยให้ติดไปเลย

พวกเราฆราวาส รับรองไม่ได้ติดสุขในสมาธิในแบบที่ ที่เขากลัวกันหรอก

เพราะเดี๋ยวเราจะถูกดึงให้ออกจากสมาธิบ่อย

ดังนั้น ทําไปเถอะครับ ทําให้สุขไปเถอะ

ยิ่งสุขบ่อยๆ ทําทุกครั้งแล้วเกิดปีติแล้วเกิดสุข ทําไปเลยยิ่งดี

 

ฆราวาสเราทําพวกนี้ให้เกิดได้บ่อยๆ

แต่ผมขอพนัน ไม่เกิดทุกรอบหรอก จริงๆ พวกนี้ไม่ต้องกลัวเลยครับ

ยิ่งนั่งทีไร แล้วซาบซ่านมีความสุข โอ้โห นั่นดีเลย

ผมเห็นด้วยกับพี่ตุลย์เต็มร้อยไม่ต้องกลัวติด จัดเต็มครับ

เอาให้สุขให้ได้แล้วกัน ซึ่งส่วนใหญ่ทำไม่ได้

 

ผมนั่งดูคุณหมูปฏิบัติตอนไลฟ์กับพี่ตุลย์ ไม่มีอะไรนะ

ค่อนข้างโอเคเลย จิตก็โอเค

เพียงแต่คนโอเค ก็จะมีมาตรฐานสูงขึ้น อยากให้เนี้ยบกว่านี้อะไรอย่างนี้

 

ความเนี้ยบ ก็จะเกิดมาจากฉันทะที่มากขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นแหละครับ

แต่คุณหมูโอเคอยู่แล้ว

 

หมู : แต่เหมือนช่วงนี้ไม่ค่อยดีเลย เหมือนโดนความง่วงดึงไปตลอด

แต่ตอนนี้เพิ่มสปีดขึ้นนะครับ เริ่มเมื่อวาน วันสองวัน นี่ครับ

 

พี่ฮิม : ของผมก็เคย ตอนปฏิบัติกับพี่ตุลย์

เดินหลับ นั่งหลับ ยืนหลับ อย่างนั้นเลย หนึ่งเดือนเต็ม

 

แต่ว่าสภาพจิตของหมู ไม่สาหัสเท่าผมตอนนั้น

ผมตอนนั้นคือ แบบ .. โอ๊ย ผมดูแล้วอนาถใจ หลับ

 

หมู : เหมือนพอเดินก็ลอยมาแล้ว ความง่วงก็ลอยตัวมา

 

พี่ฮิม : เวลาดูนะครับ ผมให้ทริคไว้ .. แต่ไม่หาย (ง่วง) หรอก

แต่ดูไว้นะครับก็คือ เวลาเกิดโมหะ ให้ดูเหมือนหมวกกันน็อคมาครอบ

เห็นเหมือนเป็นหมวกกันน็อคไป

แต่อย่างไรง่วงไหม มึนไหม แน่นอนนะครับ

เพิ่มความเร็วเพิ่มความเร็วได้ แต่ถ้าจะเกิดนะ

เพิ่มความเร็วอย่างไร กระแทกให้เจ็บแค่ไหน ก็หลับ .. อันนั้นก็ทําใจ

 

หมู : เหมือนที่ คุยกับพี่ตุลย์นะครับที่บอกว่า

ลากลงไปเลยครับ ลากลงไปนอนได้ อย่างนั้นได้เลยครับ

 

พี่ฮิม : เข้าใจ เข้าใจ ปฏิบัติต่อไปแล้วเดี๋ยว พวกนี้จะหายไปเอง

แล้วถ้าหายจากอาการหนักๆ พวกนี้น่ะ หลังจากนั้นจะไม่โดนครอบอีก

แต่ทรมานผมเข้าใจ ของผมโดนไปหนึ่งเดือน ตอนนั้นโอ้โฮ

 

แต่ดูสภาพจิตของหมูตอนนี้ไม่มีปัญหานะ

แต่ว่าแค่ปฏิบัติแล้วอาจจะเจอตัวนั้น ไม่เป็นไรครับ เชื่อผม ผ่านได้

แล้วผ่านแล้ว จะได้ทักษะในแบบที่คนอื่นไม่มีด้วย

 

คือทักษะ .. ถ้าผ่านตรงนี้ได้นะ ทักษะของผมตอนนี้ก็คือ

ถ้าผมจะปฏิบัตินะ ง่วงแค่ไหนผมก็นั่งสู้ได้ แบบไม่ต้องตั้งใจสู้ด้วย

ง่วงแบบทํางานหนักๆ มานั่งนะ

ผมแบบนั่งดูความง่วงแบบห่างๆ ได้เลย เหตุเพราะตัวนี้แหละ

 

หมู : เหมือนเรานั่งรอเลยครับใช่ไหมครับ อารมณ์นั้น

 

พี่ฮิม : ไม่ต้อง ถ้ามาค่อยดู ถ้าไปนั่งรอเดี๋ยวจะไปปรุงให้เกิด

ของพวกนี้มันเกิดง่ายอยู่แล้ว ไม่ต้องไปรอ

โมหะนี่อย่าไปนึกถึงเลย มาเร็ว น่ากลัวกว่ามารกว่าอะไรทั้งหมด

 

---------------

- ก้อย -

 

ก้อย : ติดตามพี่ตุลย์มานานแล้วค่ะแต่ว่าไม่ค่อยได้เข้าร่วมกับเท่าไร

เป็นเด็กหลังห้องค่ะ

 

พี่ฮิม : ไม่เป็นไรครับที่มีผมมาตอนนี้ ก็เพื่อมาดันเด็กหลังห้องให้ปรากฎตัวสักทีนี้แหละครับ

 

ก้อย : ไม่ได้ลองใช้แบบมือไกด์กับพี่ตุลย์นะคะ จะลองทําให้ดูว่าถูกรึเปล่าเพราะว่าไม่ได้เรียนมาเลย

 

พี่ฮิม : เดี๋ยวทําตามผมนะครับ เริ่มต้นนะครับ

(มือไกด์ท่าที่หนึ่ง) มือวางที่หน้าตัก เวลาหายใจเข้า

จังหวะหายใจเข้า หงายมือจากหน้าตักนี่แหละ หงายมือขึ้น หายใจเข้า (ค่อยๆ ยกมือขึ้นดันลมเข้าจมูก)

เข้าจนสุด แล้วค้างไว้ท่านี้ (พนมมือครึ่งซีก)

ถ้ายังไม่สุดก็หายใจต่อค้างไว้ท่านี้

สุดแล้วคว่ำมือลง นิดเดียว .. หายใจออก

 

ให้เสมือนตัวนี้ (ฝ่ามือ) เป็นลมหายใจ

นี่ ลมหายใจเราตอนนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นๆ เหมือนมือ

ดังนั้นให้สัมพันธ์กันนะครับ

 

อีกด้านหนึ่งครับ มือขวาหงายมือขึ้น หายใจเข้า

ให้เสมือนว่ามือนี่ ผลักลมหายใจเข้ามา

ถ้าทําถูกนะครับ หายใจครั้งเดียวตัวซ่าเลยครับ

คว่ำมือลง หายใจออก

 

ของผมอาจทำช้า แต่ของก้อยก็เอาตามลมหายใจที่ตัวเองได้นี่

ท่าหนึ่งทําไปแค่นี้ ให้มือจากลมหายใจ เป็นหนึ่งเดียวกัน

วิธีเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็อย่างที่ผมบอก

หายใจเข้าหงายมือขึ้น ผลักลมหายใจเข้า ค้างไว้ในท่านี้

หายใจออก ให้เสมือนว่า มือ เป็นลมหายใจ

ที่กําลังทิ้งตัวลงไปอยู่ที่หน้าตัก

หงายมือขึ้น หายใจเข้า.. ค้างไว้ ถ้าลมหายใจยังไม่สุด

หายใจออก กะจังหวะ ให้มือที่หายใจออกเวลาไปสัมผัสต้นขา

ให้เหลือลมหายใจหน่อยหนึ่ง เพื่อจะได้ให้ค้างไว้

 

อย่าประเภท แตะแล้วขึ้นเลย

ให้มีการหยุดกึ๊ก หยุดกึ๊ก หยุดกึ๊ก หยุดกึ๊กนิดหนึ่ง

เพื่อให้มีจุดกลับตัวของลมหายใจ

สติของเรา ตอนที่หายใจเข้า หายใจออกจะได้ชัดนะครับ

 

หงายมือขึ้น หายใจเข้า ... จริงๆ แค่เบสิกแค่ท่านี้

เราสามารถทําให้เกิดปีติซาบซ่านความสุขได้

เพียงการกวักมือเพียงครั้งเดียว ถ้าเบสิกเราแน่นพอ

หายใจออกเอาลงเลยครับ

หงายมือขึ้น หายใจเข้าค้างแป๊บหนึ่ง

หายใจออกพร้อมเอามือลงแตะหน้าตัก

 

โอเคเรามาเริ่มท่าสองกันนะครับ

ท่าสองนะครับ เวลาอยู่ตรงหน้าตัก เอามือเข้ามาในท่าที่เกือบจะแตะกัน

(หงายฝ่ามือ ปลายนิ้วชนเข้าหากัน)

เริ่มจากตรงข้างล่าง แล้ววาดขึ้น

เอาอย่างง่ายนะครับ วิธีการก็คือ เวลาขึ้นมาถึงหน้าอก แล้วดันขึ้นเลย แหงนหน้าขึ้นให้สุดเท่าที่สุดได้

 

จังหวะที่ส่งมือขึ้น ให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่า

ความรู้สึกเรา ตามมือขึ้นไป แล้วทะลุเพดาน

ทะลุฝ้า ขึ้นไปถึงฟ้าด้านบน แล้วก็ลงมา ตามลมหายใจเช่นเดิม

เร็วหรือช้าตามจังหวะตัวเอง

 

ฝึกนานจะหายใจนานขึ้น เพิ่งฝึก ไม่ต้องยื่นนานขนาดนั้นนะครับ

แต่มือจะเป็นตัวบริหารลมหายใจอยู่แล้ว

หายใจเข้า ดันขึ้นไป แหงนหน้าขึ้น

ความรู้สึกส่งตามมือขึ้นไป ทะลุฝ้าเพดาน รู้สึกถึงฟ้ากว้างด้านบน

ค้างไว้ แล้วก็ลงมาครับ

ถ้ามีความรู้สึกว่า ความรู้สึกของเรา หรือจิตของเรา มือและลม

เริ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เริ่มมีความซิงค์กัน

เริ่มไปด้วยกันพร้อมๆ กัน ไม่มีตัวไหนฉีกออกมาจากตัวไหนนะครับ

จิตอยู่แต่กับลมพอประมาณแล้ว ให้ขึ้นท่าสองได้เลย

 

อย่าลืมแหงนหน้านะครับ เท่าที่ทําได้แบบไม่ปวดคอ

เวลาลงนะครับ เอามือลงมาตรงๆ ไม่ต้องวาดลง

ปรับลมหายใจนิดหนึ่ง เวลาขึ้นไม่ต้องขึ้นยาวขนาดนั้น

ขึ้นเอาตามจังหวะลมหายใจตัวเอง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะอึดอัด

ตอนลงไม่ต้องช้าตามผมนะครับ เอาตามลมหายใจตัวเอง

 

เอาแบบที่ขึ้นไป แล้วเหลือเผื่อลมหายใจ

ให้ค้างอยู่ในท่านั้นได้หนึ่งวินาทีนะ แล้วก็ลงตามลมหายใจตัวเอง

สังเกตในจังหวะที่ทั้งขึ้นและลง อย่าให้มีจังหวะอึดอัดเกินไป

 

อาจจะมีอึดอัดบ้างเป็นปกติ อันนั้นยอมรับได้

แต่อย่าให้อึดอัดเกินไปนะครับ

เผื่อลมไว้ให้สามารถค้างอยู่ข้างบนได้หนึ่งถึงสองวิ

เงยหน้า ปล่อยความรู้สึกทะลุเพดานขึ้นไป

 

จุดสําคัญคือตอนเงยหน้า ในตอนที่สุดข้างบนนะครับ แล้วก็ลงมา

และช่วงระหว่างทาง ก็อย่าลืมเรื่องลมกับมือที่ซิงค์กัน

 

พอจับจุดได้ไหม ลองไปซ้อมดูแล้วคราวหน้าเรามาคุยกันใหม่

ว่าถ้าไปทําเองแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

เพราะเวลาทํา ทําต่อหน้าเพื่อน ๆ หรือทําต่อหน้าผม

จะมีจิตวิทยาบางอย่างที่ จะตื่นเต้น

แต่จะทําให้จิตตื่น แล้วจะทําได้ดี แต่ว่าจะพิสูจน์กันตอนทําคนเดียว

แล้วก็พอทําคนเดียวแล้วเป็นอย่างไรเดี๋ยวลองมาทําให้ผมดูอีกครั้งหนึ่ง

 

ก้อย : ปกติอยู่บ้านก็จะดูลมหายใจอยู่แล้ว กับดูเท้ากระทบ

เวลาเราเดินอยู่ในบ้านทั่วๆ ไปอย่างนี้ค่ะ

แต่ว่าในรูปแบบก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติเท่าไหร่

 

พี่ฮิม : ลองปฏิบัติดู เพราะว่ามีผล

ต่อคุณภาพ ประสิทธิภาพ ในการเจริญสติในชีวิตประจําวัน แบบแปรตรงตัว

ยิ่งทําตรงนี้ดีเท่าไร จะได้จิตต้นแบบไปใช้ในชีวิตประจําวันดีเท่านั้น

 

จะทำกี่นาที แล้วแต่ความอยาก แล้วแต่ความชอบ

ถ้าทําแล้วมีความสุข ไม่ว่างก็จะหาให้ว่าง

เหมือนกับคนที่ติดซีรีส์ ใครจะมาชวนไปไหนก็ไม่ไป ก็จะดู

พวกนี้บอกไม่ได้

 

ถ้าชอบจริงๆ อย่างมีในกลุ่มเรา เดินจงกรมวันละสิบชั่วโมงก็มี

แต่ไม่ใช่เรื่องจะให้มาเปรียบเทียบกัน ไม่ใช่เรื่องสําคัญ

---------------

- ตง -

 

ตง : เป็นอย่างไรบ้างวันนี้

 

พี่ฮิม : วันนี้ดีครับ แล้วก็มีความสุขในตอนที่ทําสิบห้านาทีแรก

 

ตง : จริงๆ วันนี้ไม่มีอะไรครับ ก็เข้ามาให้กําลังใจฮิม

 

พี่ฮิม : ขอบคุณมากครับ พี่ตงเป็นอย่างไรบ้าง

เมื่อวานเป็นที่ร่ำลือว่าความสดใส ถึงความเปลี่ยนไปของจิตแบบเห็นได้ชัด

ผมเห็นพี่สดใสกว่าเดิมเยอะมาก

 

ตง : ก็อาจจะเป็นเพราะว่าเราทําใจกับมันได้มั้ง

 

พี่ฮิม : ครับผม รอยยิ้มพี่เปลี่ยนจริงๆ

 

ตง : ในส่วนตรงนั้น มีอะไรที่ต้องทํา ก็ทําตรงนั้นไปครับ

ก็อย่างที่ส่งการบ้านนะครับ สภาวะที่เกิดขึ้นเป็นแบบนั้น

แล้วก็อย่างเมื่อเช้า ที่นั่งที่ลองทํา ก็โอเค

ตามปกติที่เห็น แล้วก็จริงๆ วันนี้ไม่มีอะไรไม่รู้จะถามอะไร

เพราะว่าเมื่อวานถามอาจารย์ไปแล้ว

 

พี่ฮิม : คําตอบอาจารย์คือที่สุดแล้วล่ะครับ

 

ตง : วันนี้มาเป็นกําลังใจให้ เป็นอย่างไรเหนื่อยไหม

 

พี่ฮิม : วันนี้เป็นครั้งที่สอง เหมือนทุกคนช่วยสอนผม

ทํามาถึงตอนนี้ผมไม่เหนื่อยแล้ว

รอบแรก ยอมรับ พอผ่านมาถึงตอนนี้แล้วผมจะเริ่มมึนๆ

 

แต่ว่าตอนนี้ เหมือนซ้อมตามทริคของพี่ตุลย์แล้ว

เหมือนกับนาทีแรกที่ผมเพิ่งมานั่งคุยครับ

---------------

- บี -

 

บี : ปกติผมจะนั่งทําในรูปแบบนะครับ คืออยากจะให้ดูตอนที่นั่งทํารูปแบบ

 

พี่ฮิม : ที่ผมเห็นนะ คือ เวลาเริ่มนั่งเสร็จปุ๊บ

จิตพี่จะสงบลง แต่สิ่งที่แทรกเข้ามาเป็นของแถมเลย

เป็นแบบแพ็คเกจติดกันคือ มีโมหะคลุมด้วยครับ

 

ลองทําท่ามือไกด์ท่าที่หนึ่งดู ทําเป็นไหม ลองดูครับผม

(ทำมือไกด์ท่าแรก) ช้ากว่านั้นนิดหนึ่ง .. นี่ ตอนนี้พี่ไม่มีโมหะ

ชัดเจนคือ พอพี่ทําท่ามือหนึ่ง โมหะพี่หายเลย

เพราะการเคลื่อนร่างกาย ทําให้จิตพี่ตื่น

ถ้าให้ผมแนะนํา พี่เริ่มจากใช้มือไกด์ช่วย

 

เริ่มต้นมือซ้าย หรือมือขวาก็ได้ หงายมือขึ้น

ผลักลมหายใจขึ้นสุดแล้วค้างไว้แค่นี้ ไม่ต้องยกสูงครับ แค่ตรงจมูกแค่นี้แหละ

แล้วก็ตอนลง มือเป็นเสมือนลมหายใจที่ถูกปล่อยลง

เป็นลมหายใจที่จับได้ชัด ไปวางสุดที่หน้าตัก

คํานวณให้ลมหายใจนี่สุดที่หน้าตัก

แล้วเหลือนิดหนึ่งเพื่อจะได้ค้างไว้ได้ประมาณหนึ่งวิ

 

หงายมือขึ้นครับ ด้านที่หงายมือขึ้นผลักลม

เสมือนว่าผลักลมหายใจเข้าจมูก ให้เหลือลมหายใจประมาณหนึ่ง

เพื่อให้มาค้างอยู่ท่านี้ ประมาณหนึ่งถึงสองวิ

เปลี่ยนมาหายใจออก แล้วก็ดันลง

ให้มือที่เอาลงนี่ เปรียบเสมือนลมหายใจที่จับต้องได้ง่าย

ไหลลงมาที่หน้าตัก เหลือลมหายใจประมาณหนึ่งถึงสองวิ

ค่อยๆ ผลักลมตามลมที่ตัวเองมี

 

ดีกว่าเมื่อกี้ตอนที่พี่นั่งลมหายใจอย่างเดียวเยอะมาก

ไม่มีโมหะ มีความสว่างเรืองๆ นะครับจิตตื่น

 

มาดูท่าสองต่อนะครับ

ให้เริ่มต้นจากตรงหน้าตัก เอามือมาประกบกันอย่างนี้

ไม่ต้องเยอะครับ เหมือนกรอบทรายขึ้นมานะครับ

กอบพร้อมหายใจเข้า แล้วก็ดันขึ้นไป ยื่นให้สุด แล้วแหงนหน้าไปเลย

 

แหงนหน้า แล้วให้ส่งความรู้สึกผ่านมือและใบหน้าขึ้นไป

เสมือนว่าเรามองทะลุฝ้าและเพดาน เหมือนฟ้ากว้างนะครับ

แล้วก็ลดมือลงมาตรงๆ เลยครับ ไม่ต้องวาด

ลดมือลงมาตรงๆ นะครับ ตอนลดมือมา ให้มือชิดกันนิดหนึ่ง

เหมือนเอาลมหายใจออก

 

หายใจเข้าชูมือขึ้น แหงนหน้าไปเลยครับ

ถ้าไม่ได้มีปัญหาคอ แหงนไปเลยฮะ

มอง ความรู้สึกทะลุเพดานขึ้นไป เสมือนว่าเราไม่ได้อยู่ในห้องนี้

เอาลง ... จุดที่ดีที่สุดคือ พี่ล็อกความว่างตอนเอาแขนลงได้

 

ผมแนะนําให้พี่ใช้ท่ามือไกด์

คือมีความเปลี่ยนแปลงจากตอนที่นั่งลมหายใจเฉยๆ ชัดเจนนี่

ตอนนี้พี่มีความสว่างเรืองๆ ออกมานะ ไม่ได้มีความคิด

ไม่ได้มีโมหะครอบ

 

บี : รู้สึก ใช้ท่ามือไกด์ จะรู้สึกจะรู้สึกกว้างกว่าครับ โล่งกว่า

แต่ถ้าเกิดนั่งในรูปแบบนี้ ผมจะรู้สึกแบบทั้งตัว

แล้วก็คือรู้สึกตัว หมายถึงว่ารู้สึกตัว ทั้งตัวครับ

แล้วก็ ความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ผมก็จับตรงนั้น

หมายถึงจับตรงที่ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ  

 

พี่ฮิม : จริงๆ แล้วมีทริคนิดหนึ่ง

คือผมไม่ได้หมายความว่าไม่ให้พี่นั่งดูลมหายใจ แบบไม่ขยับมือนะ

 

แต่ว่าพอพี่นั่ง ท่าหนึ่ง ท่าสอง จนเข้าที่ คือเกิดปีติแล้วสุข

ซึ่งผมเชื่อว่าเดี๋ยวพี่อีกแป๊บเดียวก็เกิด

เพราะว่าเมื่อกี้ผมดูก็ตกใจเหมือนกัน พี่ทําครั้งแรกแล้ว จิตตื่นได้เลย

 

พอเกิดปีติ แล้วมีความสุขแล้ว ให้เสถียรอยู่แบบนั้นมากเข้า

เดี๋ยวจะมีความรู้สึกหนึ่งที่พี่ไม่อยากขยับมือ

เพราะรู้สึกว่าการขยับมือเป็นภาระเกิน

 

ตรงนั้นแหละครับ แล้วพี่หยุด แล้วพี่ดูลมหายใจ

ตอนนั้นพี่จะได้กําไร หรือว่าคุณสมบัติของทั้งตอนขยับมือ คือจิตตื่นสว่างเบา

แล้วพี่จะได้จุดอีกอันหนึ่งของตอนนั่งๆ ที่ไม่ได้ขยับเลย

ก็คือจิตมีความเสถียรและนิ่ง และรวมตัว

 

ตอนนั้น พี่จะเกิดจิตตั้งมั่น ที่มีความตื่น

แล้วจิตตัวนั้น พี่จะเอาไปใช้งานในชีวิตประจําวัน ในการเจริญสติได้เลย

 

สองตัวนี้ ผสมกันได้ แต่ว่าควรจะเป็นลําดับที่เป็นอย่างนี้

คือ เริ่มมือไกด์ก่อน จนเข้าที่ แล้วค่อยดูลมหายใจนิ่งๆ

แล้วถ้าเริ่มมีโมหะ เริ่มซึมๆ หรือเริ่มมีความฟุ้งซ่าน ทํากวาดมือใหม่

แล้วพี่จะทําได้ไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ  โดยที่ไม่เพลีย

ไม่ถูกโมหะครอบ ไม่มึน ไม่ซึม เอามาเสริมกันไปกันมา  

 

บี :ลักษณะจิตที่เอามานั่งนิ่งๆ ได้ ควรจะ โล่งๆ กว้างๆ ด้วยใช่ไหมครับ

แล้วรู้สึกตัวด้วย ลักษณะนี้

 

พี่ฮิม : ใช่ เพราะฆราวาสอย่างเรา

หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ไปใช้ชีวิตประจําวันมา

แล้วมาถึง จิตไม่โล่งพร้อม ที่จะมานั่งเฉยๆ ดูลมหรอก

มีตัวบัง จิตถูกบัง ให้ไม่สามารถเห็นลมที่เป็นของละเอียดได้เต็มที่

 

มือ เป็นความมหัศจรรย์ที่มีอะไรอยู่ก็ไม่รู้.. ผมก็ยังไม่รู้เลย

แต่แค่ใช้ มือ นี้ แล้วพี่เอาจิตตามมือ พร้อมผสมกับลมนี้

พี่จะดูลมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในแบบที่ตัวบางตัวนั้น ถูกสลายไปด้วย

---------------

- ต้า -

 

ต้า : แม่ให้ฟังเสียงสติ แล้วผมรู้สึกว่าร่างแยกออกมาเยอะ

ตอนที่นั่ง ก็เห็นมีกระดูกตัวหนึ่งนั่ง บางตัวก็นั่งทําท่าสอง

บางตัวก็ยืนทําท่าสอง บางตัวเดินจงกรม บางทีก็นั่งทําท่าหนึ่ง

คืออะไรครับ

 

พี่ฮิม : คือการแยกในแบบที่... ลุงพูดอย่างนี้นะ

เหมือนกับจิตของน้องต้า เป็นเหมือนนารุโตะ

แต่เป็นนารุโตะที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้แยกออกมาให้คนอื่นๆ เห็น

มันทําให้ต้า เห็นอิริยาบถต่างๆ พร้อมๆ กัน นะครับ

 

ซึ่งดีแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรเลย

จะดีกว่าที่น้องต้าขึ้นสวรรค์ลงนรกด้วย ดีกว่าเยอะ

เพราะว่าทําให้น้องต้า ได้เห็นความเป็นจริง เห็นต้าจริงๆ ว่ามีกระดูก

 

แล้วมีกระดูกทำอะไรได้บ้าง

คือไม่ใช่แค่.. น้องต้าเห็นเป็นอะไรนะ แต่ก่อนเป็นหุ่นกระบอกใช่ไหม

แต่คราวนี้อัพเกรดขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่แค่หุ่นกระบอก

 

การเห็นกระดูกนี่ เป็นการเห็นที่อัพเกรดขึ้นมาจากหุ่นกระบอก

และที่สําคัญคือ อัพเกรดในการเห็นอิริยาบถหลายๆ อัน พร้อมกันด้วย

อันนี้ลุง ลุงฮิมเชียร์ ดีมากๆ ไม่มีปัญหาครับดูต่อไปเลย

 

นุ้ย : เขาควรจะฟังเสียงสติอีกไหมคะ

 

พี่ฮิม : ได้เพราะว่าทําอย่างนี้ ก็แปลว่าเขาสามารถเห็น จนกึ่งๆวิปัสสนาขึ้นมาในทันใดที่ฟังเลยฮะ

 

นุ้ย : เหมือนกับที่อธิบายไว้ว่า เสียงสติคือ

เหมือนทําให้สมองส่วนหลังเราทํางานได้เยอะขึ้นมาก

 

พี่ฮิม : ใช่ แล้ว ต้ามีจิตที่ไวกับเรื่องพวกนี้อยู่แล้วนะครับ

แปลว่าเสียงสตินี่ ดีกว่าการที่ต้าไปสัมผัสกับเรื่องอื่น

 

เพราะเรื่องอื่น จะทําให้ต้าไปเที่ยวไกลๆ

ไปนั่งดูอดีตของสถานที่ ไปนั่งดูในสิ่งที่ทําให้ปวดหัว

แต่ว่าอันนี้ทําให้ต้าอยู่กับตัวเอง ไม่ต้องไปปวดหัว

ไม่ต้องไปเห็นภาพที่ไม่อยากเห็น เพราะนี่คือเป็นกระดูกของต้าเองนะ

แล้วทําให้ต้าพัฒนาไปต่อด้วย ดีกว่าเยอะฮะ ดีกว่าเยอะ

ให้ต้าดู ฟังเสียงสติไป ดีกว่าไปสัมผัสของพวกนั้นแน่นอน

 

นุ้ย : เวลาที่นุ้ยยืนทำท่าสอง เหมือนเวลาเราชูขึ้นสุด

ตอนหลังก็คือสามารถทำได้นานขึ้นเยอะ

แล้วจะรู้สึกว่า เหมือนเราสูดลมหายใจอยู่เรื่อยๆ  

 

พี่ฮิม : เป็นเรื่องที่ดี สัญญาณหนึ่งที่ว่า สมาธิเราเข้าจุดในระดับหนึ่ง

คือเราสามารถหายใจได้เหมือนไม่สุด

 

อย่างนั้นเป็นสัญญาณที่ดีครับ เป็นสัญญาณที่ดี

พอลมหายใจเข้าได้เหมือนไม่สุดนี้ จะมีประโยชน์สองอย่าง

 

หนึ่ง คือระบบเลือดลม ในร่างกายจะถูกปรับนะครับ

สอง สมาธิเราจะดีขึ้นโดยธรรมชาติ

 

เพราะเมื่อไหร่ที่เราอยู่กับลมที่ยาว จิตเราจะแนบ

เกิดวิจาระแบบละเอียดกับลมยาวๆ ได้เป็นอัตโนมัติอยู่แล้ว

 

แล้วก็พอเราหายใจได้ยาว พอออกมาจะเหมือนกับเราตื่นตัว

เพราะว่าเรามีเลือดลมที่สูบฉีด ในแบบที่ไม่ได้ออกกําลังกาย

แต่จะสูบฉีดแบบสบายๆ นั่นแหละครับ อันนั้นดีอยู่แล้ว

 

ยิ่งหายใจเหมือนไม่สุดเท่าไรยิ่งดี

ดีๆ ในทุกแง่ฮะในแง่สมาธิ ในแง่สุขภาพ

 

นุ้ย : เพราะมีบางทีที่เรารู้สึก .. เหมือนทําเสร็จสักพัก

จะรู้สึกว่าในท้องอยากจะผายลม หรืออยากเข้าห้องน้ำอะไรอย่างนี้ค่ะ

 

พี่ฮิม : เป็นเป็นธรรมดา ของการที่มีเขาเรียก .. เรื่องลมปราณเข้ามาแทรก

 

คือ ลมปราณเป็นวิชาของจีนกับอินเดียนะ

สุดท้าย ลมปราณจะไปกักตัวที่ท้อง

แต่อย่าเอาไปโฟกัสตรงนั้น เพราะว่าการฝึกลมปราณ

ไม่ได้ช่วยอะไรเกี่ยวกับเรื่องการหลุดพ้น ไม่ได้การข้ามเส้น

 

แต่ว่าถ้าบังเอิญได้ จะช่วยในเรื่องของการหายใจได้ยาวเป็นสมาธิ

ซึ่งเรื่องนี้ดี ยิ่งหายใจยาวแบบไม่สุด .. แต่จะมีสุด จะมีจุดสุดอยู่

 

อย่างทําไมผม ตอนทํานี่ ผมถึงทําได้นานขนาดนั้น สังเกตนะ

เพราะผมก็ผ่านจุดของนุ้ยมานี่แหละ

 

ภาวะหายใจแบบ เหมือนไม่สุด

แล้วพอกลับมาเป็นปกติจะหายใจได้ยาวมาก

แล้วถ้าผม สมมุติผมเข้าจุด เวลาผมกวาดมือนี่ แบบผมเหมือนนิ่ง

แล้วขยับทีละอย่างนี้ (ค่อยๆ ยกทีละนิดๆๆ)

เดี๋ยวแม่นุ้ยก็เป็น ถ้าเริ่มจากหายใจไม่สุดนี้นะครับ

แล้วสมาธิจะดีมาก แล้วถ้าสมมติว่าทําจนเข้าจุดนะ

 

แค่กวักมือรอบเดียว ทําไมเมื่อกี้ถึงบอกว่า กวักมือรอบเดียวแล้วปีติเกิด

ก็เพราะว่า ระยะเวลาในการกวักมือของเรา

เรากวักมือรอบเดียว คนอื่นกวักไปห้ารอบ

 

กวักมือรอบเดียวนี่ มือเราสัมผัสเป็นอณู อณู มีความละเอียด

สมาธิเกิดละเอียดมาก พอสมาธิเกิดละเอียด

เกิดวิจาระในการกวักมือเพียงรอบสองรอบนี่ ปีติสุขจะเกิดโดยอัตโนมัติ

---------------

- หลี -

 

หลี : ช่วงที่ผ่านมา มีภารกิจทางโลกเยอะ

ทําให้ไม่มีเวลาในการปฏิบัติในรูปแบบมากเท่าไหร่

แต่ระหว่างวัน ก็พยายามจะครองอานาปานสติให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ อย่างเมื่อเช้ามีเหตุกระทบใจขึ้นมาตอนช่วงไลฟ์

แต่ก็รู้สึกว่า ใจเราไม่เดือดร้อนเหมือนแต่ก่อน แต่ก็ไม่แน่ใจ

ด้วยความที่เราไม่ได้ปฏิบัติเชิงรูปแบบมากเท่าที่ควรจะเป็น

เพราะว่า ภารกิจหลาย ๆ อย่าง ณ ตอนนี้ สภาพภาวะจิตยังโอเคอยู่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : โอเค ผมตอบได้เลย ยังโอเค ไม่ได้เสียอะไรเลยครับ

ผมดูแล้วดีอยู่แล้วครับ แม้คุณหลีจะบอกว่าไม่ค่อยได้ปฏิบัติในรูปแบบ

 

ถ้าจากข้อมูลที่ว่าเพิ่งกระทบมาด้วย แล้วยังภาวะเป็นอย่างนี้

ผมว่าโอเคเลย

แต่ว่าถ้ามีเวลา หาทางทําท่ามือไกด์ก็ดี

ถ้าเป็นผมนะ ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ผมก็หลบเข้าห้องน้ำ ห้านาที

 

หลี : แล้วก็อย่างเวลาตอนเช้า ถ้าตื่นมาแล้วง่วง แต่พยายามฝืนเดิน ได้ไหม

 

พี่ฮิม : ทําไปเลยครับ เดินเร็วๆ ไป คือเดินไปพร้อมกับความง่วงนี้

เดี๋ยวจะได้ทักษะหนึ่งที่เมื่อกี้ผมบอกแล้วก็คือ

ถ้าเราทําจนชิน เราจะสู้กับความง่วงสบาย

ไม่ใช่ ผมไม่ใช้คำว่า สู้

เราจะอยู่กับความง่วงได้แบบ เราจิตตื่น

 

ถ้าง่วงก็คือควรเดินเร็ว เป็นการเป็นการปรับสมดุล

เพื่อให้เราสามารถอยู่กับความง่วงได้ โดยใช้ความเร็ว

ความอยากของกายในการสู้

 

แต่ถ้าสมมุติว่าเป็นปกติ ผมก็แนะนําให้นอนให้พอน่ะ

แต่ถ้าไม่พอ เวลาไม่มี ง่วงก็ต้องลุย

 

หลี : จะนั่งให้ดูฝากรบกวนดูได้ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ช้ากว่านี้นิดหนึ่งครับ เอาความรู้สึกไปอยู่ที่มือกับลมนะ

ตอนแหงนหน้า เอาให้เต็มที่เลย แหงนหน้า อย่ายกไหล่

 

ค่อย ๆ หายใจ ปีติ รู้ว่ามีปีติ

มีความสุขสว่าง มีความสุข หายใจเข้า รู้ว่ามีความสุขนะครับ

จิตมีความสุข หายใจเข้า รู้ว่ามีความสุข จิตจะรวมกับความสุขไปก็ปล่อยรวมไปเลยครับ รวมไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวจิตก็จะแยกเอง

 

ความสุขตัวนี้ก็จะไปเป็นกําลังให้คุณหลี

ใช้ชีวิตประจําวันได้มีสติดีขึ้น มีกําลังขึ้น

 

หลี : ล่าสุดที่ส่งการบ้านพี่ตุลย์ พี่ตุลย์แนะนําว่า

ถ้าเกิดเหมือนเทียบอะไรไม่ได้ หรือว่ามีอะไรทึบๆ ที่หัว

ให้เปิดตาแป๊บหนึ่ง แล้วก็ปิดตา เพื่อที่ให้ความคิดข้างหน้าไป

ก็เลยประยุกต์ว่า อย่างเวลาที่หลี ยกเงยหน้าขึ้น แล้วรู้สึกทึบๆ

ก็จะลืมตาแป๊บหนึ่ง แล้วก็ปิด แบบนี้ได้ไหมคะ

 

พี่ฮิม : เท่าที่ผมดูเมื่อกี้ได้ผลนะ

ได้ผลถึงขนาดที่ว่า คุณหลีกวักมือไม่กี่รอบ

ก็เปลี่ยนจากที่แบบตึงอยู่ตรงความคิด กลายเป็นลมมาอยู่ที่ความรู้สึก

แล้วอยู่ในโหมดรู้ เปิดรับมีความสุข สว่างทันทีก็แปลว่าได้ผลแล้ว

 

หลี : ตาที่กระพริบๆ เพราะอะไร

 

พี่ฮิม : ธรรมดาครับ อยากจะรู้ว่าเกิดอะไร

ลองไปยืนหันเข้าหาพระอาทิตย์ แล้วหลับตา

พระอาทิตย์ ที่เข้ามาที่ตาตอนเราหลับตา ก็ทําตาเรากระพริบเหมือนกัน

คือแสงอะไรที่มากเกินไป ทําตากระพริบครับ

 

เช่นกันสมมติ เรามาแบบติดความคิดอยู่เลยแล้วทึบๆ อยู่

แล้วอยู่ๆ เกิดแบบเมื่อกี้ฉับพลัน ปึ้ง เปลี่ยนเป็นสว่าง

เหมือนกับความสว่างดันออกมาจากข้างใน

แสงสว่างก็ทําให้ตากระพริบได้เหมือนกัน

 

แต่ถ้าสมมุติมาค่อยๆ มานวล นวล นวล จนสว่างจ้า จะไม่กระพริบ

แต่ถ้ามากระแทกแรงแรง ส่วนใหญ่กระพริบ

 

หลี : เริ่มเข้าใจว่า ระหว่างความคิดกับจิต อยู่คนละส่วนกัน

เหมือนพี่ตุลย์จะชอบพูดว่า เป็นการแยกชั้น

เห็นไหมว่าแยกชั้นอยู่ ระหว่างจิตกับความคิด

แต่ก่อนไม่เคยเข้าใจ แต่มีอยู่วันหนึ่งตอนที่นั่งอยู่ ก่อนนอน

แล้วรู้สึกว่าใจ เหมือนเปิดนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่าอุปาทานไปเองหรือเปล่า

แล้วก็ระหว่างวันนี้ เหมือนสมมุติขับรถ ก็จะรู้สึกว่า

ตรงนี้ก็อยู่ตรงนี้ ตรงนั้นก็อยู่ของมัน ไม่ได้แบบรวมกันเป็นอันเดียวกัน

 

พี่ฮิม : นั่นแหละครับ คือการที่เรียกว่าแยกชั้น และแยกชัดด้วย

แยกออกมาเป็นผู้รู้แบบชัด ไม่ใช่แค่เป็นชั้น

 

เป็นชั้น คือจะเป็นแค่แบบเห็นว่ายังรวมกันอยู่ แต่เหมือนเป็นน้ำกับน้ำมัน

แต่อย่างนี้คือเป็นญาณที่แบบ รูปกับนามแยกกันให้เห็นชัดเจน

อันนี้ก็จะเป็นแบบเกรดที่สูงขึ้น

 

แต่ก็ยังอยู่ในรูปแบบของการแยก ความคิด จากจิตผู้รู้ออกจากกัน

 

หลี : แต่ถ้าเมื่อไหร่เรารู้สึกว่า เครียดๆ หรือตึงๆ แสดงว่ารวมกันแล้วใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : โดยธรรมชาติจริง ๆ จะไม่รวมอยู่แล้ว เป็นของใครของมันอยู่แล้ว

 

แต่ว่า เราไม่สว่างพอ เราไม่ใสพอที่จะไปเห็นตามความเป็นจริง

เราจะถูก ความคิดคุม ความรู้สึกเราจะอยู่ที่ความคิดอย่างเดียว

 

สังเกตว่าพอเราไม่ได้นั่งสมาธิ แล้วก็มีความทึบๆ ง่วงๆ

ทำงานมาหนักๆ ความรู้สึกเราจะอยู่แค่กับหน้า กับสมอง

ตอนนั้น เราไม่ได้อยู่ในโหมดรู้ .. เราอยู่ในโหมดคิด

จนกว่าเราจะแบบ ตรงนี้เบาลง แบบที่เมื่อกี้

แล้วเกิดความสว่างเกิดความเบา เราจะอยู่ในโหมดรู้

 

พออยู่ในโหมดรู้นี้ ความรู้ ตัวรู้จะแยกกับตัวสมอง

ตัวนั้น เราจะเห็นแต่ความเป็นจริงว่า

อ๋อ จิตผู้รู้กับสมอง คนละตัวกันครับ

แต่ว่าตอนที่จิตทึบ เราจะไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง

อันนี้ก็เป็นข้อพิสูจน์อันหนึ่ง

 

หลี : อย่างนี้ถ้าเวลาจิตทึบก็คือให้แนะนําแบบทําท่า

 

พี่ฮิม : ใช่ เพราะว่าจิตทึบไม่มีทางเห็นอะไรได้

เห็นกระดูกก็ไม่ได้ เทียบธาตุก็ไม่ได้

ดูจิตผู้รู้กับความคิดแยกกันก็ไม่ได้ ไปเห็นก็แปลว่าคิด ไปคิดเอา

ยิ่งจะเพิ่มนิสัยเสีย แล้วไปใช้สมองส่วนหน้าด้วย

 

หลี : แล้วก็อย่างเมื่อวานที่พี่ตุลย์สอนเอาโครงกระดูกโครงเท้าขึ้นมาให้

อย่างวันนี้พอเราเดิน เราก็จะจินตนาการ

 

พี่ฮิม : ใช้ได้ เพราะว่าจิตของคุณหลีตอนนี้ก็ทําอย่างนั้นได้

ไม่ต้องใช้ความพยายาม

สังเกตว่า ถ้าเอาไปทํา

แล้วเพิ่มความพยายามนิดเดียว หรือไม่ต้องเพิ่มเลย

แปลว่าอันนั้นใช้ได้

 

แต่ถ้าเมื่อไหร่ต้องมานั่งจินตนาการ

เหมือนนั่งคิดพล็อตเรื่อง หรือนั่งคิดนิยาย หรือนั่งใส่ความเจตนา

เพื่อให้เห็นกระดูกไรอย่างนี้ อันนั้นไม่ได้ละ กําลังไม่ถึง

 

แต่ถ้าสมมติว่าแค่น้อม แล้วเอาตัวรูปที่เราเห็นนั่นในอินเทอร์เน็ต

มาทาบกับขาพอดี แล้วหลังจากนั้นเราทิ้งรูปนั้นไป

จากสองมิติ กลายเป็นสามมิติที่ขา แล้วเห็นเดินได้ตลอด

แปลว่าอันนั้นใช้ได้

 

ดีอยู่แล้ว พี่ตุลย์ก็แนะนําให้ดีอยู่แล้ว เอาตามนั้นเลย

---------------

- ปอย -

 

พี่ฮิม : พัฒนาขึ้นจากครั้งก่อนแล้วนะ

 

ปอย : ได้การบ้านจากพี่ตุลย์ไป

 

พี่ฮิม : ผมเห็นเลย ชัดเจน แค่ดูเดินสองรอบผมก็เห็นแล้ว

ต่างไปจาก live

ครั้งก่อนชัดเจนครับ

 

ปอย : เรารับรู้ถึงรูปกับนามไปพร้อมๆ กันโดยไม่มีใครอยู่ในนั้น

ได้แล้วใช่ไหมค่ะ คือแล้วใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : ยังเป็นในแง่ของยังไม่ได้ชัดขนาดนั้น

แต่เริ่มแล้วครับ

 

แต่ว่าสิ่งที่อันหนึ่งก็คือ มีการแยกรู้เท้ากระทบ ชัดเจน

มีความตั้งมั่นขึ้น นะครับอันนี้ชัดเจน

แล้วเดี๋ยวตรงนี้จะพัฒนาไปสู่จุดที่พี่ตุลย์พูด

 

ปอย : อยากจะถามพี่ฮิมคําถามหนึ่งค่ะ

พี่ฮิมบอกว่า บรรลุธรรมจากความทุกข์ที่มีความทุกข์หนักๆ

อยากจะขอ how to ในการปฏิบัติ เวลาที่เราประสบปัญหาชีวิตอะไรอย่าง

นี้

แบบพอเจอแล้วหนักมาก เคลียร์ยากมาก อยากจะขอ how to ค่ะ

 

พี่ฮิม : วิธีเผชิญทุกข์ไม่มี how to มีแค่ mind set

มีแค่ทัศนคติในการไปเผชิญนะครับ

 

เพราะว่า ผมตีความอย่างนี้นะ

เมื่อไหร่ ที่มีการถามว่า how to จะเป็นการตีความไปโดยนัยๆ ว่า

ทําอย่างไร ที่จะไปเผชิญกับเหตุแห่งทุกข์นั้น โดยไม่ทุกข์

เป็นไปไม่ได้

 

การที่เผชิญเหตุแห่งทุกข์ ชื่อว่าเหตุแห่งทุกข์ อย่างไรก็ต้องทุกข์

 

สิ่งที่เราจะต้องเอามาใช้ก็คือ

เราจะดูทุกข์นั้น ด้วยความรู้สึก หรือทัศนคติแบบไหน

ความทุกข์เกิดขึ้นที่จิตเราแล้ว อย่างไรก็ต้องเกิดครับ

และเหตุนั้น เราเป็นจุดอ่อนอย่างไรก็ต้องเกิด หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ไม่ต้องไปหา แล้วก็อย่าพยายามหา how to ที่ว่า

เอาอะไรก็ได้มาเป็นคล้าย ๆ กับเป็นพนังกั้นน้ำ เป็นเครื่องกรองน้ำ

แล้วถ้าผ่านเข้ามา จะปะทะเรานี่ให้เบา ๆ หน่อย .. ไม่มี

 

อย่างมากก็แค่ วิธีคิด ที่ก็แค่หลอก ๆ ไป

แต่สิ่งที่ปะทะเข้ากับจิตเรายังเท่าเดิม

อย่างมาก ก็อาจจะมีแค่กําลังจิตใช้สมถะ ถ้าสมถะมากพอนะครับ

สมถะตัวนั้น จะเป็นตัวกรอง ตัวซับตัวกันได้อีกครั้งหนึ่งนะ

แล้วจะทําให้เบาลงบ้าง

 

แต่ว่า นั่นก็เป็นแค่การจัดการ เป็นครั้ง ๆ ไปนะครับ

 

ส่วนที่ถาวรจริง ๆ ก็คือทัศนคติในการเผชิญทุกข์

คือรู้ว่า โลกนี้เป็นทุกข์แล้วก็ยอมรับไป

แล้วก็ใช้สิ่งที่พี่ตุลย์เคยบอกนั่นแหละฮะว่า

เราเกิดมานี่ เป็นช้างศึก ที่จะต้องแบบโดนอาวุธของข้าศึกคอยทําร้าย

 

ให้ตรงนี้ เป็นแรงบันดาลใจ

เพื่อให้สุดท้าย เราจะได้เอาความทุกข์ตัวนี้

เป็นเหตุแห่งการเกิดเป็นชาติสุดท้ายให้ได้

 

ดูตัวอย่างผมก็ได้ ผมก็ใช้วิธีนี้ ผมก็เดินมาถึงตรงนี้

 

ปอย : เหมือนกับเราภาวนาทุกครั้งที่เจอความทุกข์

แล้วเหมือนอัพเกรดขึ้นก็จริง แต่ช่วงเวลาที่เราเจอแล้วเราภาวนา

จะทึบ มืด ค่อนข้างที่จะยอมรับยาก แต่อย่างไรเราก็ต้องยอมรับให้ได้

แต่ว่า ช่วงเวลาที่เราภาวนาคือหนักค่ะ

เราก็ดูความทึบนั้นไปเรื่อยๆ (พี่ฮิม : ถูก)

โดยที่ว่าเราก็จะได้รู้ว่า จิตที่มีความทุกข์เป็นแบบนี้ ใช่ไหมคะ

 

พี่ฮิม : แล้วจิตที่อยากให้หายทึบ เป็นอย่างไร

 

ปอย : โอ้ย ทรมานมากกว่าอีกค่ะ (พี่ฮิม : ใช่) ปรุงแต่งไปหนักกว่าเดิมอีก

 

พี่ฮิม : ใช่ๆ  ดูสองตัวนี้แหละครับ

ถ้าดูทึบไปเรื่อยๆ ยิ่งทึบเท่าไหร่ เรายิ่งเห็นอาการอยากหายทึบแรง

นั่นแหละครับ ของดี

 

มาปรึกษาเรื่องวิธีแก้ทุกข์กับผมนี่

ปรึกษาจะเรียกว่าถูกคนหรือผิดคนก็ได้นะ

ผมไม่ค่อยให้วิธีแก้ทุกข์เท่าไหร่

---------------

- มณี -

 

มณี : อยากถามพี่ฮิมค่ะ

ถ้าเราดูอานาปานสติ แบบให้เห็นลมหายใจเกิดดับ

เวลาหายใจเข้า แสดงว่า เกิด เข้าไปในภายในของเราแล้วใช่ไหมคะ

แล้วหายใจออกนี่คือ ดับ การของลมหายใจ

 

พี่ฮิม : เรื่องของการเห็นเป็นอนิจจัง

ใช้วิธีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการเหนี่ยวนําได้

เป็นจุดเริ่มต้นนะครับ แต่อย่าใช้ตลอด

 

ใช้ให้รู้ว่า อ๋อ แท้ที่จริงแล้ว ลมหายใจนั้นมีความไม่เที่ยงของมันอยู่

เมื่อเข้า เข้าตลอดไม่ได้ .. ต้องออก

ออก ออกตลอดไม่ได้ .. ต้องเข้า

และทุกครั้งที่เราหายใจเข้าและหายใจออก ไม่เคยเป็นลมเดียวกัน

 

นี่เป็นการพิจารณาโดยใช้จินตามยปัญญา เป็นสิ่งที่ควรทํา

แต่เป็นจุดเริ่มต้น spark ให้จิตเข้าใจว่า อ๋อ โลกนี้มีสิ่งนี้ด้วย

พอเหนี่ยวนําไปเสร็จปุ๊บ เดี๋ยวถึงจุดหนึ่ง มันจะมา

แต่อาจจะไม่ได้มาเร็วนัก ก็คือ จะเริ่มเห็น

 

สิ่งแรกที่ต้องเห็น และวิธีการของพี่ตุลย์จะทําให้เห็นสิ่งนี้ง่ายมาก

นั่นคือ การเห็นลมหายใจเป็นธาตุลม

 

การเห็นลมหายใจเป็นธาตุลม จะเกิดขึ้น

เมื่อเราแยกจิตผู้รู้ออกมา แล้วเห็นลมวิ่งผ่าน

แล้วรู้สึกว่าลมนี้เป็นลมที่ไม่มีเจ้าของ ลมนี้วิ่งผ่านจมูกเฉยๆ

จุดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น

จะเป็นความรู้สึกเดียวกับตอนที่เราเดิน แล้วเทียบธาตุ

 

ตอนที่เราเดินแล้วเทียบ และเห็นร่างกายเป็นก้อนอะไรสักก้อนหนึ่ง

ความรู้สึกเดียวกันเลย เพียงแต่ว่าเปลี่ยนความรู้สึกที่เห็นจากกาย

ไปเห็นแต่ลมเท่านั้นเอง

 

มณี : เวลาที่เราเดินอยู่ข้างนอก จะมีลมพัดกระทบเราใช่ไหมคะ

คล้ายๆ เรารู้สึกว่าลมกระทบเรา เราก็เห็นลมหายใจ

แต่เป็นการที่แบบเห็นเหมือนพลิ้วไหว เหมือนซิงค์กัน กับลมข้างนอกค่ะ

 

พี่ฮิม : นั่นแหละครับดูธาตุลม ดูธาตุลม ลมภายใน ลมภายนอก

แล้วถ้าสมมุติ ดูจนแบบจิตไม่รวม

แล้วแยกออกมาเป็นต่างหาก เป็นผู้รู้ผู้ดู

นั่นแหละ เราจะเห็นธาตุลมโดยบริบูรณ์

ถือเป็นหนึ่งในไตรลักษณ์ .. เป็นอนัตตา

จะเห็นเป็น อนิจจัง หรือ อนัตตา ก็ได้

แต่ถ้ามาทางการฝึกเทียบธาตุ ส่วนใหญ่จะเห็นอนัตตาก่อน

 

มณี : ต้องขอขอบพระคุณพี่ฮิมค่ะ

ครั้งก่อนที่พี่ฮิมแนะนําตอนที่เจอแสงอะไรหนักๆ ก็หายไปเลย

แล้วตอนนี้ก็เป็นสภาพที่แบบปกติมาก เห็นอะไรก็ไปตามนั้นค่ะ

คือ ถ้าๆ เห็นเวลาทึบมากก็ดูไป ก็ๆ ยอมรับว่าทึบ

แล้วก็เดิน เดิน เดินไปเดี๋ยวก็สว่างไรอย่างนี้ค่ะ

______________

สนทนาธรรม รอบกองไฟ ครั้งที่ 2

วันเสาร์ 14 พฤษภาคม 2565

ถอดคำ : เอ้