วิปัสสนานุบาล EP92 | เสาร์ 12 มีนาคม 2565
เกริ่นนำ – โทษของการติเตียนพระอริยเจ้า
พี่ตุลย์ : สวัสดีครับทุกท่าน
ก่อนอื่น
มาทำความเข้าใจ เพราะวันก่อนพูดถึงไป
ก็มีคุยกันกว้างขวาง
เรื่องเกี่ยวกับว่า
ทำไมการปรามาสพระอริยบุคคล
หรือว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นอริยมรรค
อริยผล
จึงได้เป็นบาปอย่างใหญ่
ก่อนอื่น
ขอนำเอาพระพุทธพจน์มาแสดง ให้เห็นเป็นอันดับแรก
พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้ว่า
[๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุใดด่าบริภาษ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า
ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้น
จะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๑ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความฉิบหาย ๑๑ อย่างเป็นไฉน
คือ ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑
เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
เป็นผู้เข้าใจว่าได้บรรลุในสัทธรรม ๑
เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อหินภาพ ๑
ถูกต้องโรคอย่างหนัก ย่อมถึงความเป็นบ้า คือ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑
เป็นผู้หลงใหลทำกาละ ๑
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า
ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๑ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ฯ ---
คำว่า บรรลุ
ขอให้ทำความเข้าใจว่า ท่านเหมารวมหมด
ทั้งการเข้าถึงฌานสมาบัติ
การเข้าถึงอภิญญา และการเข้าถึงมรรคผล
เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
ตรงนี้ก็เห็นได้ชัดนะว่า
ถ้าบรรลุมรรคผลแล้ว เสื่อมไม่ได้
แต่ที่เสื่อมได้คือ
ฌานสมาบัติ และอภิญญา 5
อย่างเช่นพระเทวทัต
ได้ถึงอภิญญา 5
แต่มาทำร้ายพระพุทธเจ้า
แค่คิดประทุษร้ายจริงจัง
และไปตามพระเจ้าอชาติศัตรูมาเป็นพวกได้
ด้วยการแสดงอภิญญา 5
แค่นี้ เสื่อมแล้ว
เสื่อมจากความเป็นฌาน ความเป็นอภิญญา
ทั้งที่พระเทวทัต บวชตอนแรกก็ตั้งใจดี
แต่ทำไปทำมา
อิจฉาพระพุทธเจ้า อันเนื่องจากเคยได้เบียดเบียนกันมา
เป็นผู้ทรมานในสังสารวัฏกันมาอย่างยืดยาว
ทำให้อดรนทนไม่ได้
อยากตั้งต้นเป็นใหญ่แทน
มีความรู้สึกว่าตัวเอง
มีอำนาจบารมีเสมอพระพุทธเจ้า
คือพออยู่ด้วยกันในสังสารวัฏ
ในแบบที่เป็นศัตรูกันมานานๆ
ทำให้รู้สึกว่ามีดีพอๆ
กัน มีความเสมอกัน มีความใหญ่
ท่านเป็นศาสดาได้
เราก็น่าจะเป็นศาสดาได้ อะไรแบบนี้
พอเกิดการประทุษร้ายขึ้นมา
เลยเสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
เช่นฌานสมาบัติ
และอภิญญา 5
พระเทวทัตนี่ ยังไม่ถึงมรรค
ยังไม่ถึงผลนะ
ส่วนข้อต่อมาบอกว่า
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
จะเห็นได้เลย
แม้ว่าจะไปปรามาสแบบอ่อนๆ เกิดความรู้สึกมัวหมองขึ้นมา
เกิดความรู้สึกว่า
แม้ศึกษาธรรมโดยดี
แม้มีความตั้งใจอันบริสุทธิ์
ในการพยายามที่จะศึกษาธรรม
ปฏิบัติธรรม
เจริญสติก็ตาม
จะมีความรู้สึกเหมือนอะไรมาห่อหุ้ม
มาสกัดกั้น
ไม่ให้ได้ถึงความผ่องแผ้วบริสุทธิ์
ทั้งในขั้นของสมาธิ
ทั้งในขั้นของปัญญา
หรืออีกข้อคือหลงสำคัญผิด
เข้าใจว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พวกที่ไปปรามาสของจริงมา
จะมีปรากฏการณ์อะไรแปลกๆ
ทำให้ไปนึกว่าตัวเองนี่บรรลุแล้ว
ส่วนคนอื่นยังไม่บรรลุ
เหมือนลูกศิษย์ครูบาอาจารย์บางท่าน
ไปพลาด
เกิดสมาธิ
เกิดสมถะอะไรบางอย่าง
แล้วสำคัญว่าตัวเองเหนือกว่าอาจารย์
ไปปรามาสท่าน
ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางจิต
พิสดารหลากหลายต่อเนื่อง
ถึงขั้นที่ทำให้รู้สึกว่า
ตัวเองน่าจะได้มรรคได้ผลแล้ว
ก็เป็นอีกเรื่อง ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นความฉิบหายชนิดหนึ่ง
แล้วก็เป็นผู้ไม่ยินดีในการประพฤติพรมจรรย์
นี่พูดถึงพระ
คือรู้สึกผ้าเหลืองร้อนด้วยเหตุอะไรบางอย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้องบอกลาสิกขา หรือว่าไม่ก็เป็นโรคอย่างหนัก
ถ้าหากไปปรามาสในขั้นรุนแรง
ก็ถึงขั้นที่สมมติว่า..
มองโดยไม่ได้มีวิบากเก่า ที่จะต้องทำให้เจ็บป่วย
แล้วก็ไม่ได้มีเหตุที่เป็นทางกายภาพ
เช่น ไปติดเชื้อโรค โดนลมหนาว โดนฝน ไม่มีเลย
แต่อยู่ๆ เป็นไข้ ตัวร้อน
ธาตุไฟกำเริบ
ก็เป็นส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
เป็นโรคอันเกิดจากกรรม
และเป็นกรรมปัจจุบัน
เพราะไปปรามาสอริยเจ้า
หรือถึงความเป็นบ้า
ประเภทนี้ก็ต้องด่ารุนแรง ด่าทุกวัน
แต่บางทีก็น่าสงสาร
..
อาจมีเหตุบางอย่าง
อย่างในสมัยพุทธกาลมีเรื่องเล่าว่า
มีพระอรหันต์บางองค์
ที่ท่านติดนิสัยพูดคำหยาบ
พูดแบบเหมือนเคยชินในการพูด
แบบที่ชาวบ้านฟังแล้วแสลงหูอะไรแบบนี้
ก็อาจเป็นความซวยชนิดหนึ่ง
พอไปปรามาสท่าน
แล้วมีอาการโต้ตอบรุนแรง
ก็มีโรคหรือมีความฟุ้งซ่านจัดจนเป็นบ้าได้
แล้วพวกนี้ถ้าตายไป
ก็เป็นผู้ที่มักจะคิดอะไรไม่ออก
คิดแต่เรื่องไม่ดี
ก็ไปอบายภูมิได้
นี่ก็เป็น 11
ข้อที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้
จะบอกว่า ไม่ใช่คนรุ่นเรา
รุ่นหลังๆ มาคิดเอง
ว่าการปรามาสอริยเจ้าเป็นบาปเป็นกรรม
แต่นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้จริง
ถามว่า แล้วทำไมเป็นอริยบุคคลแล้ว
น่าจะมีความเมตตา
น่าจะมีลักษณะของความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
ทำไมถึงส่งผลรุนแรงกับผู้ที่ปรามาส
ผู้ที่ด่าทอติเตียน
เรามาดูกันก่อน
คือ จริงๆ แล้ว
ถ้าเห็นภาพรวม
ที่เราเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่กัน
ว่าทำอะไรไปแล้วจะได้รับผลอะไรแบบนี้
แล้วมองว่าจักรวาลทั้งจักรวาล
เกิดขึ้นจากการที่มีแรงดึงดูด
ให้สัตว์กระทำกรรม
แล้วก็ต้องมาเสวยกรรม
สิ่งที่ทำลงไป
จะไม่หายไปไหน ในที่สุดจะย้อนมาเข้าตัว
นี่เป็นกฏแห่งแรงดึงดูดของสังสารวัฏ
เป็นขั้นพื้นฐานเลย
เกิดก่อนศาสนาใดๆ
ใครจะมาคิดค้น
ตั้งต้นเป็นศาสดา
บอกว่าชีวิตเป็นอย่างไรก็แล้วแต่
อันนั้นศาสนาเกิดทีหลัง
แต่จักรวาลเกิดก่อน
และแรงดึงดูดเกิดก่อนจักรวาล
เพราะฉะนั้น
แรงดึงดูดนี่เป็นอะไรที่มีพลังกระทำสูงสุด
ถ้าพูดถึงแรงดึงดูดของสังสารวัฏ
เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆ
เป็นต้นกำเนิดของจักรวาล
ทีนี้ เรามองว่า พระพุทธเจ้า
พออุบัติแล้ว เปรียบเหมือนประตูทางออก
เป็นทางเดียว
เป็นทางรอด ที่จะออกจากแรงดึงดูดของสังสารวัฏได้
ถ้ามองว่า
เป็นหลุมดำที่สามารถเอาชนะได้แม้กระทั่งแสง
แสงไม่สามารถเล็ดลอดออกจากหลุมดำได้
แต่ถ้าหากมีอะไรสักอย่าง
สามารถที่จะหนีแรงดึงดูดของหลุมดำได้
สิ่งนั้น
ได้ชื่อว่าเป็นประตูทางออกอันยิ่งใหญ่
แล้วพระพุทธเจ้าก็เปรียบเหมือนอย่างนั้นแหละ
เปรียบเหมือนประตูทางออกจากถ้ำ
ถ้าติเตียนพระองค์
ก็จะเหมือนกับหันหลังให้ประตูทางออกนั่นเอง
ประตูทางออกจากถ้ำนี้
เสร็จแล้ว ถ้ากฎธรรมชาติ
เราหันหลังให้สิ่งใด
หรือมีแรงกระทำต่อสิ่งใด
ก็จะได้รับปฏิกิริยา
แรงเท่านั้น
ถ้าหากหันหลัง
หรือมาพยายามที่จะปิดประตูถ้ำ
โดยแรงกระทำของสังสารวัฏก็คือจะถูกเหวี่ยงไปก้นถ้ำ
นี่คือที่สุดเลย
สำหรับถ้าเปรียบเทียบเป็นพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นเหมือนประตูทางออกจากถ้ำ
ส่วนพระอรหันต์
เปรียบเหมือนผ้าขาวไร้มลทิน
ถ้าทำให้แปดเปื้อน
จิตผู้กระทำให้แปดเปื้อนนั้น ย่อมได้รับผล
คือย้อนมาทำให้จิตตัวเองแปดเปื้อนมาก
หรืออย่างมองพระอนาคามี
ท่านไม่มีความฟุ้งซ่าน ..
จริงๆ
พระอนาคายังมีฟุ้งๆ อยู่ แต่ไม่ได้ฟุ้งหยาบๆ
ไม่ได้ฟุ้งไปในทางราคะ
ทางโทสะ แต่ยังฟุ้งไปในธรรมได้
แต่ถ้าเทียบกับเราๆ
ท่านๆ จิตท่านเงียบใส บริสุทธิ์
เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลาแล้ว
ถ้าจะฟุ้ง ฟุ้งแค่เรื่องธรรมะที่ละเอียดอ่อน
แต่ที่จะฟุ้งแบบราคะ
โทสะ ไม่มีแล้ว
ฉะนั้น
ถ้าไปฟุ้งจัดใส่ท่าน ก็ต้องย่อมย้อนกลับมา
เป็นความฟุ้งจัดแบบวนลูปไม่เลิก
ในตัวผู้ที่ฟุ้งจัดใส่ท่าน
คือแม้คิดไม่ดี
ก็จะย้อนกลับมาเป็นบูมเมอแรง
ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านได้แรงๆ
แล้ว
หรืออย่างขั้นต่ำที่สุด
ทำกับพระโสดาบัน ก็เหมือนกับเป็น ..
ถ้าเรามอง
อย่างบอกว่าพระโสดาบันก็ยังมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ
แล้วทำไม ทำกับท่านถึงได้บาป
เรามองว่าพระโสดาบัน
ท่านเห็นนิพพานแล้ว รู้จักนิพพานแล้ว
ก้าวข้ามจากการเป็นผู้จักต้องไปสู่อบายภูมิแล้ว
มีศีลที่สะอาดออกมาจากใจ
ที่ไม่อยากเบียดเบียน ไม่อยากเอาบาป
พูดง่ายๆ ไม่มีหลุมดำตั้งแต่อยู่กลางใจ
ฉะนั้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีศีล
มีธรรมเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไป
ไปกระทำกับท่าน ..
คือพระโสดาบัน เที่ยงที่จะได้บรรลุอรหัตผลแน่ๆ
ก็เป็นผู้ที่ยืนอยู่ในทั้งสองโลก
คือทั้งฝั่งโลกและฝั่งธรรม
ไปทำอะไรกับท่านก็เหมือนไปตัดทาง
หรือบั่นทอน ให้กำลัง
ความสามารถในการข้ามทาง หรือข้ามอบายภูมิ
ของผู้ไปทำร้าย ให้ลดน้อยถอยลง
คือมีสิทธิ์ที่จะไปอบายได้ง่าย
หรือจะมีความฟุ้งซ่านอะไรต่อมิอะไร
ส่วนว่า
ลงมาถึงอีกจุดหนึ่ง ที่บอกยังไม่ใช่อริยบุคคล
แต่ว่าเป็นผู้ถางทาง
ให้ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้
อย่างนี้ก็ถือว่าบาปแบบน่าห่วงแล้วเหมือนกัน
เหตุผลเพราะ อย่างพระอภิธรรมปิฎกท่านจะกล่าวไว้ว่า
ด้วยเหตุคือทำอะไรไว้กับใครระดับไหน
จะมีตัวต่อ
เป็นเหตุผลักดัน
ให้ได้ไปทำกับบุคคลที่มีความเหนือกว่า
สูงกว่า โดยสภาพธรรม
เช่น
ถ้ามีการทำร้ายประทุษร้ายกับพระโสดาบัน
แบบนี้ก็เป็นสะพานเชื่อมต่อ
ให้ได้ไปทำร้ายพระสกทาคามีต่อ
แล้วถ้ายังไม่สำนึกผิด
ยังไม่เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับพฤติกรรมตัวเอง
ก็จะเกิดความติดใจ
หรือเกิดเหตุการณ์บันดาล
ให้ได้ไปทำร้ายพระอนาคามีต่อ
แล้วก็เป็นเหตุปัจจัย
ให้ได้ไปทำร้ายพระอรหันต์ในที่สุด
ฉะนั้นในแง่ของบาปกรรมที่เรามองว่า
ผู้ถางทางไปสู่มรรคผล
เป็นผู้มีบุญ มีวาสนา
ถ้าไปทำร้าย ก็มีสิทธิ์ที่จะไปทำร้ายพระโสดาบันต่อ
ก็เป็นสะพานต่อยอด
ไปถึงพระอรหันต์ ไปถึงพระพุทธเจ้า ได้
นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า
เรามาตีความว่า
ทำไม สำหรับแค่คนที่แค่ถางทางไปสู่มรรคผลได้
ไปทำร้ายแล้วถึงเป็นบาป
ทีนี้เป็นบาปแค่ไหน
แล้วก็ทำไม .. เราจะเอาอะไรเป็นตัวตัดสินว่า
ผู้นั้นเป็นผู้ถางทางที่ถูกต้อง
ไปสู่ความเป็นพระโสดาบัน
สกทาคามี อนาคามี หรือพระอรหันต์
ก็ขอให้มาดูที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้
ท่านตรัสไว้โดยใจความก็คือ
ไม่ว่าผู้ใดก็ตาม
เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า
โดยความเป็นธาตุหก โดยความเป็น ..
มีอีกหลายอย่างที่แจกแจงไว้
แต่เราเอาแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ คือ
เห็นกายใจ โดยความเป็นรูปนามนั่นเอง
มีศรัทธาตั้งมั่น
แล้วก็มีความสามารถที่จะเห็นโดยสมาธิ
หรือว่าโดยจิตที่บริสุทธิ์
ถ้าใครก็ตาม
ที่เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้าได้เรื่อยๆ
หรือรู้สึกว่ากายนี้ใจนี้
สักว่าเป็นธาตุ
ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน
ไม่มีเราเขาได้เป็นปกติ
ทำทุกวัน
เห็นทุกวัน
หรืออยู่ระหว่างวันเกิดความรู้สึกขึ้นมาเองว่า
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่ใคร
เป็นแค่ธาตุ
เป็นแค่อะไรที่เคลื่อนไหวอยู่ และมีปฏิกิริยาทางใจ
แต่ไม่มีใครอยู่ในนี้
ตัวนี้ ท่านถือว่า
เห็นโดยความเป็นธาตุหก
หรือถ้าหากเห็นความคิด
เห็นการปรุงแต่งดีชั่วทั้งหลาย
ที่ปรากฏในกายในใจนี้
เกิดขึ้นแล้วหายไปๆ
ก็ถือว่าเห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ห้า
แบบนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
อย่างไรก็ไม่มีทางตายก่อนได้โสดา(บัน)
พวกนี้ ถึงจัดว่าเป็นผู้ที่กำลังทำทางสู่มรรคผลอย่างถูกต้อง
แล้วถ้าใครไปทำร้าย
ประทุษร้ายเข้าแล้ว
ก็จะเกิดบาป ในแบบที่ใกล้เคียงกับการทำร้ายอริยบุคคล
และมีผลให้เกิดสะพานเชื่อมต่อ
ไปทำร้ายอริยบุคคลต่อได้ ในที่สุด
ก็บอกไว้
เพราะบางคน ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ
แล้วบอกว่าตัวเองเป็นคนมีบุญ
ใครมาทำร้ายแล้วเป็นห่วง
เขากลัวเขาจะบาป
บางทีก็ไปเห็นเป็นแต้มต่อ
ตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด
แบบนั้นยังหลงปรุงแต่ง
คือไปหลงการปรุงแต่งของขันธ์ห้า
ไม่ใช่มองว่าขันธ์ห้าเป็นอนัตตา
ต้องดูดีๆ
นี่พูดให้ครอบคลุม เพราะเจอมาเยอะ
ประเภทที่นึกว่าคนอื่นมาทำร้ายตัวเอง
แล้วอาจต้องตกนรกอะไรแบบนี้
ทั้งๆ
ที่ตัวเองยังไม่ได้มีความใกล้จะพ้นจากสักกายทิฏฐินะ
อย่างไรก็ตาม
ที่เราอยู่กันในห้องวิปัสสนานุบาลนี้
ก็เห็นแววอยู่หลายท่าน
ที่รู้ว่าการมีกายใจนี้
ก็คือมีการปรุงแต่งโดยความเป็นธาตุ
โดยความเป็นขันธ์
เพราะฉะนั้น
ในขั้นต่อไป
พอเราเริ่มที่จะมีการพูดถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อนขึ้น
อาจต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการจำกัดการเข้าถึง
เช่นอาจเหลือแค่เฟส
ไม่ไป youtube
อะไรแบบนี้
เพราะในระยะต่อไป
เริ่มเห็นแวว
ที่เราจะได้มีแสงสว่างกันในห้องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
ก็ไว้ทีหลัง
ไว้ค่อยคุยกันในรายละเอียด
ซึ่งจะเห็นด้วยตาเปล่า
หรือด้วยใจสัมผัสก็ตาม
สำหรับผู้ได้ร่วมภาวนาในห้องนี้
___________
วิปัสสนานุบาล EP92 | เสาร์ 12 มีนาคม 2565
เกริ่นนำ – โทษของการติเตียนพระอริยเจ้า
ถอดคำ : เอ้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น