ดังตฤณ : อันนี้ไม่ถูกนะครับ คือถ้ามาสะกดตัวเองไว้ด้วยลมหายใจนี่ไม่ใช่อานาปานสตินะครับ
อานาปานสติเนี่ย
ก่อนอื่นหายใจยาวให้เป็นก่อนนะครับ เริ่มหายใจจากท้องเดี๋ยวลองไปดูในคลิปที่ เสียงสติ.com นะครับ
ลองไปดูนะ
ถ้าหายใจยาวเป็นนะครับ
เวลาที่โกรธเนี่ยคุณจะเห็นเลยว่า ลมของคุณเนี่ยกำลังสั้นอยู่ เพราะอะไรเพราะเกร็ง
พอเกร็งเนี่ยมันก็หายใจไม่ถนัด เกิดความรู้สึกอึดอัด
เกิดความรู้สึกว่าเราหายใจได้แค่สั้นๆตื้นๆ เสร็จแล้วจากการที่เราเคยฝึกไว้ก่อน
รู้ว่าเราจะหายใจยาวขั้นยังไง ความสุขที่มันเกิดจากลมหายใจยาวเนี่ย
มันจะมาแทนที่ความรู้สึกเป็นทุกข์ ความรู้สึกกระวนกระวาย ความรู้สึกพยาบาทอาฆาต
ความรู้สึกเหมือนกับไอ้ทื่มืดดำเนี่ยจะถูกขับไล่ไปด้วยแสงสว่างอันเกิดความสุขในการหายใจยาว
ถ้าเราเห็นนะครับ
เห็นว่าความสุขอันเกิดจากการหายใจยาวมาทำให้โทสะเบาบางลงได้ หมายความว่า เราจะมีสติในการเห็นโทสะของจริง
แต่ถ้าหากว่าเรายังหายใจสั้นอยู่ เรายังมีความรู้สึกว้าวุ่นกระวนกระวาย เกิดความรู้สึกเหมือนกับจะเป็นบ้าเป็นหลัง แล้วไปบอกว่าเราจะตั้งสติดูโทสะ แบบนี้มันเป็นการหลอกตัวเอง มันเป็นการที่เอาความคิดที่กำลังเป็นบ้าเป็นหลังเป็นพายุบุแคมอยู่เนี่ย ไปพยายามดับไฟ หารู้ไม่ว่ามันเป็นการดุนไฟให้มันเป็นกองใหญ่ขึ้นไปอีก
นึกดูสิเวลาที่คุณอยากจะดับความโกรธให้ได้เดี๋ยวนั้น แล้วมันดับไม่ได้ ไอ้ความไม่ได้อย่างใจมันให้ผลเป็นอะไร เป็นความปิติหรือว่าเป็นการเพิ่มโทสะ พลังโทสะมันทวีตัวขึ้นไปอีก
แต่ถ้าหากว่าเรายังหายใจสั้นอยู่ เรายังมีความรู้สึกว้าวุ่นกระวนกระวาย เกิดความรู้สึกเหมือนกับจะเป็นบ้าเป็นหลัง แล้วไปบอกว่าเราจะตั้งสติดูโทสะ แบบนี้มันเป็นการหลอกตัวเอง มันเป็นการที่เอาความคิดที่กำลังเป็นบ้าเป็นหลังเป็นพายุบุแคมอยู่เนี่ย ไปพยายามดับไฟ หารู้ไม่ว่ามันเป็นการดุนไฟให้มันเป็นกองใหญ่ขึ้นไปอีก
นึกดูสิเวลาที่คุณอยากจะดับความโกรธให้ได้เดี๋ยวนั้น แล้วมันดับไม่ได้ ไอ้ความไม่ได้อย่างใจมันให้ผลเป็นอะไร เป็นความปิติหรือว่าเป็นการเพิ่มโทสะ พลังโทสะมันทวีตัวขึ้นไปอีก
แต่ถ้าหากว่าหายใจยาวเป็น
จะใช้อานาปานสติมาเล่นกับโทสะเนี่ย พอหายใจเป็นแล้วหายใจยาวให้เป็นก่อน แล้วเห็นชัดๆหายใจยาวปุ๊บเนี่ย
โทสะมันหรี่ลง ตอนที่โทสะหรี่ลง มีพื้นที่ความสุขมากกว่าความทุกข์ มีพื้นที่ความเมตตามากกว่าพยาบาท
ตรงนั้นแหละที่สติมันสามารถที่จะเจอของจริงนะว่า อ๋อโทสะหน้าตาเป็นอย่างนี้นี่เอง
มันกรุ่นๆ มันมีอาการเหมือนกับเป็นหนามแหลมคอยทิ่มตำจิตใจของเรา
หรือว่ามีความมืดที่มันพร้อมจะครอบงำจิตใจของเรา
แล้วเราขับไล่ออกไปได้ด้วยแสงสว่างแห่งความสุข มันจะเห็น
อันนี้ต้องมีสัมมาทิฏฐิหรือว่ามีมุมมองมีทิศทางที่ถูกต้องด้วย คือเห็นว่า ตัวโทสะเมื่ออาศัยอยู่ในจิต
มันเกิดความลุ่มร้อนทุรนทุรายยังไง
ถ้าเป็นหงุดหงิดเล็กๆ มันเหมือนคันๆ ถ้าเป็นหงุดหงิดใหญ่ๆ มันเหมือนแสบร้อน นี่ตัวอานาปานสติที่เป็นแบคกราวด์อยู่ มันช่วยพยุงช่วยค้ำอยู่เนี่ย มันจะทำให้เราเห็นจริง
แล้วพอเห็นจริงเนี่ยว่ามันเกิดขึ้นตั้งอยู่เมื่อไหร่ที่ลมหายใจไหน มันก็พร้อมที่จะรู้ว่า โทสะพยาบาทอาฆาตตรงนั้นเนี่ย มันดับไปหายไปจากจิตที่ลมหายใจใดไปด้วย นื่คือแก่นเลยนะครับว่า ทำไมพระพุทธเจ้าท่านถึงคะยั้นคะยอให้ทำอานาปานสติกัน เพราะมันเป็นศูนย์กลางสติ เพราะมันช่วยให้เรามีความสุขมากพอจะเห็นโทสะ แล้วก็ภาวะทางอารมณ์ต่างๆนาๆได้โดยไม่ลำบากนะครับ เห็นมันเป็นแค่ของอะไรที่ของแปลกปลอมที่เข้ามาในจิตใจของเราแล้วลื่นปรื้ด จิตของเราเนี่ยมันลื่นไม่เป็นที่เกาะของไอ้สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น มันก็เห็นว่าผ่านมาแล้วผ่านไปไม่เที่ยงโดยง่าย
ถ้าเป็นหงุดหงิดเล็กๆ มันเหมือนคันๆ ถ้าเป็นหงุดหงิดใหญ่ๆ มันเหมือนแสบร้อน นี่ตัวอานาปานสติที่เป็นแบคกราวด์อยู่ มันช่วยพยุงช่วยค้ำอยู่เนี่ย มันจะทำให้เราเห็นจริง
แล้วพอเห็นจริงเนี่ยว่ามันเกิดขึ้นตั้งอยู่เมื่อไหร่ที่ลมหายใจไหน มันก็พร้อมที่จะรู้ว่า โทสะพยาบาทอาฆาตตรงนั้นเนี่ย มันดับไปหายไปจากจิตที่ลมหายใจใดไปด้วย นื่คือแก่นเลยนะครับว่า ทำไมพระพุทธเจ้าท่านถึงคะยั้นคะยอให้ทำอานาปานสติกัน เพราะมันเป็นศูนย์กลางสติ เพราะมันช่วยให้เรามีความสุขมากพอจะเห็นโทสะ แล้วก็ภาวะทางอารมณ์ต่างๆนาๆได้โดยไม่ลำบากนะครับ เห็นมันเป็นแค่ของอะไรที่ของแปลกปลอมที่เข้ามาในจิตใจของเราแล้วลื่นปรื้ด จิตของเราเนี่ยมันลื่นไม่เป็นที่เกาะของไอ้สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น มันก็เห็นว่าผ่านมาแล้วผ่านไปไม่เที่ยงโดยง่าย
---------------------------------------------------------------------------------
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
วันที่ไลฟ์ ๒๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม เราเห็นอารมณ์โกรธ
อารมณ์ไม่พอใจ สะกดตัวเองไว้
ด้วยลมหายใจเข้าออก จากนี้จะไปต่ออย่างไรคะ?
ระยะเวลาคลิป ๕.๐๓ นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=zjtFXHG5wSE&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=18** IG **
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น