วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563

จิตเมื่อเริ่มสงบแล้วจะเจออาการสงบที่ต่างไปจากปกติในชีวิตประจำวัน ถึงตอนนั้นแล้วอยากทราบเทคนิคนไปตามธรรมชาติใหม่ที่เกิดขึ้นเอง กับจิตส่งออกนอกที่เกิดจากการปรุงแต่งไปตามอาการใหม่


ดังตฤณ :  ง่ายๆเลยนะครับ จิตที่ส่งออกนอกเนี่ย คือจิตที่มีจิตนาการ ไปนึกถึงหน้าคนโน้นคนนี้ หรือว่าไปนึกถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ฌานหรือว่ามรรคผลนะครับ อันนี้เรียกว่าส่งออกนอก

แต่ว่าตัวที่มันอยู่ข้างใน แล้วก็ทำให้สติเจริญขึ้น มันจะเห็นสภาวะของตัวเอง อย่างเช่น สมาธิจิตคืออะไร คือจิตที่มันมีความโล่ง ความว่าง ความใหญ่ ความนิ่ง ตรงนี้ถ้าหากเห็นสภาวะนั้น จนกระทั้งเห็นนานพอจนเกิดการเปลี่ยน อย่างเช่นที่สว่างอยู่ สว่างอยู่แล้วเนี่ย สว่างยิ่งขึ้นไปอีกหรือว่าที่สว่างอยู่มันหรี่ลงมา หรือว่าที่มันว่างๆ มันเกิดความคิดฟุ้งๆๆ ยุ่งๆๆ ขึ้นมาเนี่ย ถ้าเราเห็นอย่างนี้เรียกว่าไม่ใช่การส่งจิตออกนอก เพราะเราเห็นสภาวะที่มันเกิดขึ้นจริงๆไม่ได้จินตนาการขึ้นมา

ถึงแม้ว่าจะเห็นราวกับตาเห็นรูป เห็นความนิ่งเป็นสมาธิเนี่ย เหมือนแผ่นน้ำหรือว่าดวงไฟใหญ่หรือว่าเหมือนพระอาทิตย์ที่สว่างนวลแล้วก็เย็น จะเห็นอะไรก็แล้วแต่ แต่มันต้องมาจากฐานความจริงที่ปรากฏอยู่ภายในกายนี้ใจนี้

แต่ถ้าเราไปนึกถึง เอ้เราจะมีอภิญญากับเขาได้ไหม เนี่ยมองทะลุออกไปเดี๋ยวจะเห็นสวรรค์ได้ไหม นี่คือส่งออกนอกแล้วนะครับ

มันไม่มีเทคนิคนะ มันมีแต่ข้อสังเกตง่ายๆนะครับ ถ้าอะไรก็แล้วแต่ทำให้เราอยากออกไปข้างนอกเกินกว่ากายใจนี้ นั่นแหละส่งออกนอกหมดเลย

--------------------------------------------------------------------------------

ผู้ถอดคำ                      แพร์รีส แพร์รีส
วันที่ไลฟ์                  ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม                         จิตเมื่อเริ่มสงบแล้วจะเจออาการสงบที่ต่างไปจากปกติในชีวิตประจำวัน 
                              ถึงตอนนั้นแล้วอยากทราบเทคนิคที่จะทำให้เรารู้ความแตกต่าง
                              ระหว่างจิตที่จะเปลี่ยนไปตามธรรมชาติใหม่ที่เกิดขึ้น
                             เอง กับจิตส่งออกนอกที่เกิดจากการปรุงแต่งไปตามอาการใหม่
ระยะเวลาคลิป           ๒.๑๑ นาที
รับชมทางยูทูบ          https://www.youtube.com/watch?v=xIfSg-VCO6Y&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น