วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

๑.๖๔ ทำไว้ในใจโดยแยบคาย คืออะไร?

ถาม :  ทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) เป็นอย่างไร?

รับฟังทางยูทูป
: http://youtu.be/uhbrVu04qEo


ดังตฤณ: 

ทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็คือ
การที่เรา มีความรู้มากพอ’ 
แล้วก็ พิจารณาไตร่ตรองดีแล้วนะครับ

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดความสงสัยอยู่ว่า
เอ๊ะ! นี่เรากำลังทำถูกหรือทำผิด?
เรากำลังเจริญสติถูกหรือผิดอยู่?
ถ้าปล่อยให้เกิดความสงสัยครอบงำจิตใจไปเรื่อยๆ
มันก็จะไม่หลุดออกจากความรู้สึกเป็นทุกข์

--> แต่ถ้าหากว่าเรา พิจารณาว่า
คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านประทานไว้คืออย่างไร

ขึ้นต้นมาเจริญสติปัฏฐาน ๔
ท่านให้ดูว่า หายใจเข้าให้รู้ หายใจออกให้รู้
หายใจยาวให้รู้ หายใจสั้นให้รู้
แล้วความรู้นั้น มันจะมาเป็นผู้ดูกองลมทั้งปวงไปเอง

ตรงนี้ ถ้าหากว่าเรา พิจารณาว่า
เออ! เรากำลังรู้อะไรอย่างหนึ่งชัดๆหรือเปล่า?
ว่าลมหายใจมันเข้า ลมหายใจมันออก
ลมหายใจมันยาว ลมหายใจมันสั้น
เดี๋ยวก็มีลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง
เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป เดี๋ยวก็คลี่คลายไป

ถ้า พิจารณาว่า
เออ! เรากำลังรู้อะไรอย่างหนึ่งว่าไม่เที่ยงจริงๆนี่
มันจะเกิดความรู้สึกมั่นใจขึ้นมา
มันจะเกิดความรู้สึกว่า
ออ! ที่เราเกิดความสงสัย แล้วไม่หายสงสัยนี่
ก็เพราะว่าเราเอาแต่สงสัย
แต่ไม่ได้ดูอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

นี่คือตัวอย่างง่ายๆที่จะยกให้ฟังว่า
การพิจารณาโดยแยบคายเป็นอย่างไรนะครับ

วันนี้เวลาอาจจะสั้นไปนิดหนึ่ง

ก็คงอธิบายได้เท่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น