ถาม -- สิ่งใดเป็นเหตุให้เพียรเจริญสติอย่างต่อเนื่อง?
ดังตฤณ :
คือ ‘ฉันทะ’ ครับ จริงๆแล้ว
ถ้าหากจะเอาคำตอบให้ครบเลยนะครับ ก็ต้องบอกว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ถ้าหากว่าใครมี
‘อิทธิบาท’ ทั้ง ๔ ประการนี้นะครับ เจริญให้มากแล้ว แน่นอนครับ การเจริญสติย่อมต่อเนื่องไปได้แน่นอน
แต่ปัญหาก็คือการเจริญสติแบบฆราวาสจะให้มีฉันทะ
วิริยะ จิตตะ วิมังสา แบบพระ ก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะว่าเราจะต้องมีฉันทะ
เราจะต้องมีความเพียรในการทำมาหากินกันมากกว่านะครับ
ฉันทะ นี้คือความพอใจ ความพอใจเนี่ย
คนถามกันมากที่สุดเลยว่าจะทำให้มันเกิดขึ้นได้ยังไง?
วิธีที่จะทำให้ความพอใจเกิดขึ้นได้
มีทางเดียว มีประตูเดียว คือ
ต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำ
แล้วความสุขจากสิ่งที่ทำเนี่ย มันมาจากไหน?
ต้องปฏิบัติให้ถูก ปฏิบัติให้ตรง
จนเกิดความอิ่มใจ หรือเห็นว่า
มีความสำเร็จ มีความคืบหน้าเสียก่อนนะครับ
อันนี้เนี่ย มันเหมือนงูกินหางนะ
ไม่รู้ว่าอันไหนเกิดก่อนอันไหนเกิดหลัง
แต่ก็สรุปได้ง่ายๆนะว่า
ถ้าหากเป็นฆราวาสแล้วมาสนใจการเจริญสติเนี่ยนะ ผมให้ถือว่าคุณมีบุญเก่ามา
มีทุนเก่ามามากพอสมควรเลยนะครับ ถ้าหากว่าทำทางถูก ทำทางตรงในเรื่องของการดู
การรู้กายใจ ก็เชื่อได้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ หรือว่าอย่างน้อยที่สุดเห็นความคืบหน้าวันต่อวัน
ความคืบหน้าวันต่อวันเนี่ยนะครับ
มาจากตรงไหน ข้อสังเกตอยู่ที่ตรงไหน?
เอาง่ายๆเลยคือ มีความทุกข์น้อยลง
จิตใจมีความรู้สึกชื่นบาน สบาย เบิกบานมากขึ้น
แล้วก็เห็นอะไรเนี่ย ไม่ยึดมั่นจริงจัง
ไม่หมกมุ่นครุ่นคิด
หรือว่าเคร่งเครียดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
อะไรต่างๆก็แล้วแต่ที่ทำให้สามารถสะท้อนภาพของจิตที่มันถอน
ที่มันถอยออกมาจากอาการยึดมั่นถือมั่นได้ นั่นแหละ คือ ผลลัพธ์ของการเจริญสติที่ได้ผล
และถ้าหากว่าคนๆนึงที่เคยมีความทุกข์
ที่เคยงงกับชีวิตมาว่าจะเอายังไงดี? จะยึดหรือไม่ยึดดี? ทำยังไงถึงจะเรียกว่าพอดีที่สุด ดีที่สุดเท่าที่จะใช้ชีวิต? สำหรับคนๆนึงเนี่ยนะ
พอหายงงว่า ‘เออ! อย่ายึดสิ ถ้ายึดมันก็ทุกข์เปล่า’ ทำหน้าที่ของตัวเองไป แล้วก็ให้จิตให้ใจเนี่ย
มันดำเนินไปตามเส้นทางของการเจริญสติแบบพระพุทธเจ้านะ ที่ให้เห็นกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่ใช่ตัวตน
นี่แหละตัวนี้แหละ ตัวการได้ผล
ที่ใจมัน ‘ถอนออกมาจากอาการยึดมั่นถือมั่น’
ถอยออกมาทีละนิดๆวันต่อวันเนี่ย
มันทำให้เกิด ‘กำลังใจ’
กำลังใจ นี่แหละ ตัวฉันทะ
กำลังใจ นี่แหละ ความสุข
ที่จะค้ำจุนให้เกิด
ความพึงพอใจที่จะปฏิบัติต่อให้ยิ่งๆขึ้นไป
ความพึงพอใจที่จะปฏิบัติต่อให้ยิ่งๆขึ้นไป
ตัวนี้แหละ ตัวส่งเสริมความเพียร คือ ‘วิริยะ’
ให้มีความต่อเนื่อง มีความตื่นตัว
มีความกระตือรือร้น
แล้วก็มีความแน่วแน่ มีความต่อเนื่อง
ที่จะดำเนินไปตามเส้นทางของการเจริญสติ
ปัญหาก็คือ
พอมีฉันทะในการปฏิบัติในการเจริญสติ
เห็นจิตมันถอยมันถอนออกมาจากอาการยึดมั่นถือมั่นแล้วเนี่ย คนส่วนใหญ่จะประมาท ตัวนี้คือคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุดเลย คือเกิดความชะล่าใจว่า เราไม่เป็นไรแล้ว
ก็ไปเล่นเลยนะ เคยทำอะไรมา เคยสนุกกับอะไรมากลับไปหามันใหม่ ย้อนกลับไปหามันใหม่นะ
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ฆราวาสจะต่างกับพระ เพราะพระเนี่ยเล่นไม่ได้ ถ้ารักษาพระวินัยกันจริงๆจังๆนะครับ พระพุทธเจ้าตราพระวินัยขึ้นมา ก็เพื่อให้พระได้อยู่บนเส้นทางของความขยันจริงๆ
สรุปว่าเป็นฆราวาสเนี่ยนะครับ บอกตรงๆคือ อย่าไปหวัง อย่าไปคาดหวังกับตัวเองมากว่าจะเจริญสติได้ต่อเนื่องด้วยฉันทะ ด้วยวิริยะเต็มกำลัง แต่ขอให้ ‘อย่าทิ้ง’ ตัวเนี้ยที่สำคัญที่สุดสำหรับฆราวาส เมื่อไหร่ที่มีแก่ใจ เมื่อไหร่ที่นึกขึ้นมาได้ ก็ดูเข้ามาที่กายใจให้มันต่อเนื่องไปเรื่อยๆแล้วมันก็เกิดฉันทะขึ้นมาเรื่อยๆเอง
ตรงนี้เป็นสิ่งที่ฆราวาสจะต่างกับพระ เพราะพระเนี่ยเล่นไม่ได้ ถ้ารักษาพระวินัยกันจริงๆจังๆนะครับ พระพุทธเจ้าตราพระวินัยขึ้นมา ก็เพื่อให้พระได้อยู่บนเส้นทางของความขยันจริงๆ
สรุปว่าเป็นฆราวาสเนี่ยนะครับ บอกตรงๆคือ อย่าไปหวัง อย่าไปคาดหวังกับตัวเองมากว่าจะเจริญสติได้ต่อเนื่องด้วยฉันทะ ด้วยวิริยะเต็มกำลัง แต่ขอให้ ‘อย่าทิ้ง’ ตัวเนี้ยที่สำคัญที่สุดสำหรับฆราวาส เมื่อไหร่ที่มีแก่ใจ เมื่อไหร่ที่นึกขึ้นมาได้ ก็ดูเข้ามาที่กายใจให้มันต่อเนื่องไปเรื่อยๆแล้วมันก็เกิดฉันทะขึ้นมาเรื่อยๆเอง
คุณจะไปเล่นสนุกยังไง
หรือว่าจำเป็นต้องทำหน้าที่การงานจนเกิดความเครียด
หรือว่าเกิดความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับหน้าที่การงานอะไรแค่ไหนเนี่ย
ก็ให้เป็นไปตามเส้นทางของฆราวาสเถอะ อย่ามามัวแต่คาดคั้นตัวเอง
มุ่งหวังว่าจะให้ก้าวไปตามลำดับวันละขั้นสองขั้น ไม่มีการถอยหลังเลย
เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยของฆราวาส
ไม่ใช่ธรรมดาของคนที่ต้องทำมาหากินอยู่เลี้ยงชีพแบบนี้นะครับ
ก็หวังว่าคงเป็นคำตอบนะครับ
สรุปก็คือ ‘สิ่งใดเป็นเหตุให้เจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง?’
ตัวหลักเลยคือ ‘ฉันทะ’
แล้วฆราวาสเนี่ย พึงมีฉันทะตามมีตามได้
อย่าเอาแบบเกินตัวนะครับ
แต่ละคนก็จะมีงานแตกต่างกันด้วยนะ
ประเภทของงานเนี่ย ก็จะทำให้เรามีโอกาสที่จะปลีกตัว หรือว่าปลีกจิตมาเจริญสติ
รู้ภาวะอารมณ์ของตัวเอง แล้วถ้าหากว่าฝึกดูลมหายใจไปเล่นๆดูความสุขความทุกข์ไปเล่นๆดูสภาพจิตใจเดี๋ยวฟุ้งซ่านเดี๋ยวสงบไป
ทำเหมือนเล่นๆแต่ทำจริงจังให้ต่อเนื่องเนี่ย
มันจะเกิดฉันทะขึ้นมาเองได้
หลังจากที่มันผ่านเดือนผ่านปีไป
เพราะว่าเห็นชัดเลย ถึงแม้ทำเล่นๆแต่มันได้ผลจริงๆนะครับ เอาอย่างนั้นก็แล้วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น