ตามดู ตามรู้จนเคร่งเครียด
รู้แต่ก็ยังเพ่งอยู่ รู้สึกว่าบังคับไม่ได้ แต่พอหลงโลกขึ้นมาก็รู้
แต่ก็ยังหลงอยู่ แล้วพักนึงก็กลับไปเพ่งไว้อีก รู้สึกว่าบังคับไม่ได้อีก
แสดงว่าอนุสัยเป็นคนชอบเพ่ง เคร่งเครียดหรือเปล่า?
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/8XpbLobrs9I
รับฟังทางยูทูบ :
โดยหลักการนะครับ
ถ้าหากว่าเราจะมีความรับรู้เข้ามาในอาการของใจ ถ้าหากว่าไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
ว่าจะรู้อะไรเนี่ยนะ บางทีมันก็ทำให้เคร่งเครียดได้นะ
หรือว่าถ้าเราสร้างความเคยชิน ที่จะตั้งใจรับรู้มากเกินเหตุ
ไอ้ความเคยชินที่จะตั้งใจมากเกินไปนั้น ก็จะติดเป็นนิสัย
ขอให้มองอย่างนี้ก็แล้วกันนะ คือมันไม่เกี่ยว คำว่า ‘อนุสัย’ เนี่ย
มันเป็นกิเลสที่ฝังอยู่ในกมลสันดานของสัตว์โลกนะครับ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เป็นเรื่องที่มันลึกซึ้งมากๆ แต่อันนี้ลักษณะของการตามรู้ใจ ตามรู้แบบนี้
เรียกว่าเป็นนิสัยทางใจ เป็นนิสัยทางจิต ที่เราพึ่งเริ่มสะสมมานะครับ
จากการที่ฝึกเจริญสติ ในแบบที่เรามีความถนัดนะ ความถนัดของแต่ละคนเนี่ยนะ
บอกว่าจะดูลมหายใจ หรือว่าดูจิต ดูส่วนใดส่วนหนึ่งของความเป็นเราก็ตามนะครับ
มันไม่ใช่สิ่งที่จะบอกว่า เราเป็นคนชอบเพ่ง เคร่งเครียดหรือเปล่า แต่ว่าเป็นเหมือนกับ
สิ่งที่หลายๆคนมักจะต้องผ่านนะ มักจะต้องพบกับอุปสรรคแบบนี้นะครับ
อุปสรรคทางใจที่มันไม่พอดี น้อยเกินไปหรือมากเกินไปเนี่ย
พระพุทธเจ้าท่านก็เคยตรัสไว้ อย่างเวลาที่ท่านพูดถึงเรื่องฉันทะสมาธิ
หรือว่าวิริยะสมาธิ ท่านก็บอกว่า ถ้าหากว่าเราจะดูนะว่า สมาธิของเราเนี่ยไม่ย่อหย่อนเกินไป
แล้วก็ไม่เพ่ง เคร่งเครียดเกินไปนะครับ คือไม่ตึงเกินไป ในสำนวนของท่านคือ
ไม่ตึงเกินไป คำว่าไม่ย่อหย่อนก็หมายถึงว่า เหม่อลอยนะ แล้วก็ปล่อยให้ใจเนี่ย
มันเตลิดเปิดเปิง แต่ถ้าหากว่าพูดถึงเรื่องของการเพ่งเคร่งเครียดนะครับ
ท่านก็จะมุ่งเอาเรื่องความฟุ้งซ่าน ความอยากมากเกินไป อาการเร่งร้อนมากเกินไป
อยากจะภาวนาให้ได้ดีมากเกินไป เนี่ยระหว่างสุดโต่งสองขั้วนี้ ท่านให้สังเกตว่า
เป็นเหตุรบกวน ไม่ให้เกิดสมาธิที่มันถูกต้อง ทั้งสิ้นนะครับ
เราต้องอยู่ระหว่างกลาง เราต้องมีศิลปะ ท่านไม่ได้ตรัสเลยว่า การทำสมาธิหรือการเจริญสติเป็นเรื่องง่าย
ตรงข้ามนะ นี่ตรงนี้ท่านเคยตรัสไว้อยู่ก่อนแล้วนะ ในเรื่องของอิทธิบาท ๔
การเจริญอิทธิบาทนะ ถ้าหากว่า เราเห็นว่าตอนนี้ มันมีความเหม่อมากเกินไป
เราก็พิจารณาว่า อย่างนี้มันย่อหย่อนนะครับ แต่ถ้าหากว่ามันมีอาการเพ่งนัก มันมีอาการพิจารณา
มันมีอาการเคร่งเครียดนัก เราก็ให้รู้ตัวว่า อย่างนี้มันเกินไปแล้ว ตึงไปแล้ว
พิจารณาบ่อยๆว่า ในขณะหนึ่งๆ ที่เรากำลังพยายามเจริญสตินั้น
เป็นไปด้วยความย่อหย่อน หรือว่าเป็นไปด้วยอาการตึงมากเกิน แล้วในที่สุด
เมื่อสามารถรู้ได้ว่า อาการย่อหย่อนมันมีอาการเหม่อลอย มันมีอาการที่จิตไม่โฟกัส
แล้วก็ไม่สามารถรับรู้อะไรมากเกินไปนะ คือไปข้างนอกมากเกินไป
ลอยเป็นลูกโป่งมากเกินไป กับอีกทางหนึ่งคือ มันมีความเคร่งเครียดมากเกิน
มันมีอาการเพ่งพิจารณา มันมีอาการรู้สึกเหมือนกับเราจะเร่งๆ
หรือมีอาการกระวนกระวายอยู่ในหัวหรืออยู่ในใจ แบบนี้นะในที่สุดมันจะมาที่ตรงกลาง
มันจะมีครับ มันจะมีอยู่ ตรงที่เรารู้สึกขึ้นมาเอง
อยู่ในระหว่างของการย่อหย่อนกับการตึงเกิน ตึงเครียดเกินเนี่ยนะ
มันจะมีความรู้สึกสบายๆ ในอาการสบายนั้นมีความรับรู้อยู่
ไม่ได้เผลอไม่ได้เหม่อไปไหน ไม่ได้ล่องลอยไปไหน ไม่ได้เป็นลูกโป่งที่มันจะไปไกล
แต่มันจะอยู่กับเนื้อกับตัว แต่ในขณะเดียวกันไม่รู้สึกอึดอัด มีความรู้สึกสบายๆ
แล้วก็รับทราบอยู่ว่า ในขณะนี้ภาวะของกาย ภาวะของใจมันเป็นอย่างไรอยู่
พร้อมที่จะให้เห็นว่า ภาวะนั้นๆแสดงความไม่เที่ยงได้
สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านยกเป็นอุปกรณ์เครื่องฝึกมากที่สุด
มากครั้งที่สุดเลยก็คือ ลมหายใจ ถ้าหากเราเอาไว้เป็นตัวตั้งนะ ดูว่าในขณะนี้
ขณะที่เรารู้สึกถึงลมหายใจ มีอาการแน่นหน้าอกขึ้นมาหรือเปล่า มีอาการเกร็ง
มีอาการฝืนหรือเปล่า นั่นแสดงว่า จิตมีอาการยึดมั่นถือมั่นมากเกินไป
มีอาการฟุ้งซ่านเข้ามา
ในอารมณ์ที่เป็นสมาธิมากเกินไปแล้ว แต่ถ้าหากว่า เราตั้งไว้ในใจ ตั้งเกณฑ์ไว้ว่า
เราจะระลึกรู้ลมหายใจ แล้วเราไม่เกิดความรับรู้ถึงลมหายใจขึ้นเลย
นั่นแปลว่าใจกำลังเหม่อลอยเกิน นี่ตรงนี้นะ มันมีเกณฑ์ มันมีมาตรวัดที่ชัดเจนว่า
เรากำลังจะพยายามรู้อะไร ให้มันพอดี ให้มันไม่เหม่อ ให้มันไม่ตึงเครียด
ไม่เพ่งบังคับนะครับ
การที่เราจะอาศัยเทคนิครู้ลมหายใจ
โดยไม่เหม่อ แล้วก็ไม่เพ่งได้เนี่ย เริ่มๆเนี่ยนะ
ผมอยากจะแนะนำอย่างนี้ มันใช้เวลาแค่วัน หรือสองวัน หรือไม่กี่วันหรอก
ไม่ต้องนั่งทำสมาธิแบบหลับตาก็ได้ แต่ว่าอาศัยการที่เราสามารถระลึกขึ้นมา
อยู่ระหว่างวันธรรมดานี่แหละ เมื่อไหร่นึกขึ้นมาได้ว่า เราน่าจะรู้ลมหายใจ
ให้ลากลมหายใจเข้ามายาวๆ แล้วก็ระบายลมหายใจออกไปสบายๆนะ รู้แค่ครั้งเดียว
อย่ารู้ให้ต่อเนื่อง เราไม่ได้จะฝึกทำสมาธิ แต่เราเอาเบสิกก่อน
เอาความเคยชินที่จะระลึกรู้ลมหายใจอย่างไม่เพ่งเกินไป แล้วก็ไม่เหม่อ
ทุกคนจะมีความสามารถที่จะรู้ลมหายใจเข้าแล้วก็ออกได้กันทั้งนั้น ถ้าครั้งเดียวนะ เอาแค่ครั้งเดียว ไม่เคร่งไม่เครียด แล้วก็ไม่เหม่อลอยไปซะก่อน คุณจะพบว่าถ้าระลึกหลายครั้งเข้านะ สมมุติว่าครั้งนึงเห็นแล้วเนี่ย เข้ายาวแล้วก็ออก เว้นไปอีกเป็นสิบนาทีเลยนะครับ แต่ช่วงสิบนาทีนั้น คุณไม่มีอาการเพ่ง ไม่มีอาการเคร่งเครียด ไม่มีอาการกระวนกระวายถึงลมหายใจ แล้วก็อาจจะไปคิดเรื่องงาน ไปทำเรื่องเล่นอะไรต่างๆ แล้วอีกสิบนาทีค่อยระลึกได้ว่า เออ น่าจะนึกถึงลมหายใจอีกสักครั้งหนึ่ง แล้วลากใหม่ ลากเข้ามาแล้วปล่อยออกไป อย่างนี้จะสลัดไอ้นิสัยความเคยชิน แบบที่เราสั่งสมมาเป็นเพ่งมากเกินไป หรือเหม่อมากเกินไป แต่เปลี่ยนเป็นความเคยชินที่จะระลึกรู้เป็นช่วงๆ โดยไม่มีอาการตั้งใจมากเกินไป
และถ้าสร้างความเคยชินนี้ได้ สมมุติว่าวันหนึ่งได้สัก ๑๐ ครั้ง วันต่อมาคุณจะพบว่า ตัวเองทำได้ ๒๐ ครั้ง โดยไม่บังคับไม่ฝืน แล้วก็เป็นไปเองตามธรรมชาติ หนึ่งอาทิตย์คุณจะพบว่า คุณเหมือนกับมีความผูกพัน กับลมหายใจเองแล้วนะครับ จิตไม่ได้ทำอะไรเลยนะ แต่มีความระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกได้เรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องมาฝืน ไม่ต้องมีความบังคับ ควบคุมใดๆทั้งสิ้นนะ
ก็อันนี้เป็นเทคนิควิธีที่ผมใช้เอง แล้วก็ได้ผลนะครับ ในช่วงเริ่มๆเนี่ย ผมก็มีอาการแบบทุกคนนั่นแหละ เวลาที่จะทำสมาธิ เวลาที่จะเจริญสตินี่มันตั้งใจมากเกินไป หรือไม่ก็หลุดหายไปเลย แต่พอเอามาทำแบบประมาณว่า ระลึกขึ้นมาได้เมื่อไหร่ค่อยเอาตามนั้น ไม่ได้หลับตา ไม่ได้ทำอะไรให้มันเกิดขึ้นเป็นพิเศษ เอาลมหายใจที่มันธรรมดาๆอย่างเนี่ยเดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็ออกเนี่ยนะ พอมันมีความคุ้นเคยแล้ว มันดีจริงๆนะ สามารถที่จะลงนั่งสมาธิได้ยาว เนื่องจากกำจัดนิสัยเสียๆทางใจ ที่จะเพ่งมากเกินไป หรือที่จะเหม่อลอยมากเกินไปออกไปนะครับ
ทุกคนจะมีความสามารถที่จะรู้ลมหายใจเข้าแล้วก็ออกได้กันทั้งนั้น ถ้าครั้งเดียวนะ เอาแค่ครั้งเดียว ไม่เคร่งไม่เครียด แล้วก็ไม่เหม่อลอยไปซะก่อน คุณจะพบว่าถ้าระลึกหลายครั้งเข้านะ สมมุติว่าครั้งนึงเห็นแล้วเนี่ย เข้ายาวแล้วก็ออก เว้นไปอีกเป็นสิบนาทีเลยนะครับ แต่ช่วงสิบนาทีนั้น คุณไม่มีอาการเพ่ง ไม่มีอาการเคร่งเครียด ไม่มีอาการกระวนกระวายถึงลมหายใจ แล้วก็อาจจะไปคิดเรื่องงาน ไปทำเรื่องเล่นอะไรต่างๆ แล้วอีกสิบนาทีค่อยระลึกได้ว่า เออ น่าจะนึกถึงลมหายใจอีกสักครั้งหนึ่ง แล้วลากใหม่ ลากเข้ามาแล้วปล่อยออกไป อย่างนี้จะสลัดไอ้นิสัยความเคยชิน แบบที่เราสั่งสมมาเป็นเพ่งมากเกินไป หรือเหม่อมากเกินไป แต่เปลี่ยนเป็นความเคยชินที่จะระลึกรู้เป็นช่วงๆ โดยไม่มีอาการตั้งใจมากเกินไป
และถ้าสร้างความเคยชินนี้ได้ สมมุติว่าวันหนึ่งได้สัก ๑๐ ครั้ง วันต่อมาคุณจะพบว่า ตัวเองทำได้ ๒๐ ครั้ง โดยไม่บังคับไม่ฝืน แล้วก็เป็นไปเองตามธรรมชาติ หนึ่งอาทิตย์คุณจะพบว่า คุณเหมือนกับมีความผูกพัน กับลมหายใจเองแล้วนะครับ จิตไม่ได้ทำอะไรเลยนะ แต่มีความระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกได้เรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องมาฝืน ไม่ต้องมีความบังคับ ควบคุมใดๆทั้งสิ้นนะ
ก็อันนี้เป็นเทคนิควิธีที่ผมใช้เอง แล้วก็ได้ผลนะครับ ในช่วงเริ่มๆเนี่ย ผมก็มีอาการแบบทุกคนนั่นแหละ เวลาที่จะทำสมาธิ เวลาที่จะเจริญสตินี่มันตั้งใจมากเกินไป หรือไม่ก็หลุดหายไปเลย แต่พอเอามาทำแบบประมาณว่า ระลึกขึ้นมาได้เมื่อไหร่ค่อยเอาตามนั้น ไม่ได้หลับตา ไม่ได้ทำอะไรให้มันเกิดขึ้นเป็นพิเศษ เอาลมหายใจที่มันธรรมดาๆอย่างเนี่ยเดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็ออกเนี่ยนะ พอมันมีความคุ้นเคยแล้ว มันดีจริงๆนะ สามารถที่จะลงนั่งสมาธิได้ยาว เนื่องจากกำจัดนิสัยเสียๆทางใจ ที่จะเพ่งมากเกินไป หรือที่จะเหม่อลอยมากเกินไปออกไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น