ถาม : ช่วงนี้หัดแยกขันธ์อยู่
สามารถเห็นกายกับจิตแยกกันได้ แต่ไม่แน่ใจว่าแบบนี้เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ’ หรือเปล่า? ขอคำแนะนำด้วย?
ดังตฤณ: คำว่า ‘สัมมาสมาธิ’
หมายถึงสมาธิที่เกิดจากการที่เราเจริญสติมาถูกทาง
และที่จะเจริญสติได้ถูกทาง
ต้องมี ‘สัมมาทิฐิ’ เป็นตัวนำหน้า
พูดง่ายๆถ้าหากว่าเราตั้งมุมมองไว้ถูกต้อง
ว่ากายใจไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
อันนี้เรียกว่าเป็นอันดับแรก
ที่จะนำทางเข้ามาสู่การเห็นที่ถูกต้อง
แล้วถ้าหากว่าเราตั้งมุมมองในการเจริญสติถูก
คือสามารถที่จะรู้สึกถึงกาย รู้สึกถึงใจได้
โดยไม่ไปคาดหมายมากเกินไป ไม่ไปเพ่งมากเกินไป
ในขณะเดียวกันไม่ปล่อยให้จิตใจเหม่อลอยหรือฟุ้งซ่าน
ก็ในที่สุดก็จะได้เกิดการรับรู้ขึ้นมาว่ากายในขณะนี้มันไม่เที่ยง
เช่น ลมหายใจเดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็ออก
มันสักแต่เป็นลมพัดขึ้นพัดลง พัดเข้าพัดออกแบบนี้
จนไม่รู้สึกว่าลมหายใจเป็นเรา
จากนั้นอิริยาบถมันจะแสดงตัวเป็นอย่างไรอยู่
ก็รู้สึกได้ชัดเจนตามมา
แล้วจะสุขจะทุกข์อย่างไร จะฟุ้งซ่านหรือว่าจะสงบ
ภาวะภายในเป็นอย่างไร รู้จริงตามนั้น ตามที่มันกำลังปรากฏอยู่นี่
อย่างนี้ในที่สุดแล้ว พอใจมันไม่วอกแวกไปไหน
มันมีความสนใจ มันมีฉันทะ
ที่จะเข้ามารู้สึกถึงภาวะทางกายทางใจอยู่เรื่อยๆ
มันเกิดสมาธิขึ้นมา มันเกิดความตั้งมั่นของการรับรู้
ความตั้งมั่นของการรับรู้นั่นแหละคือสมาธิ
ไม่ใช่ว่าเราจะต้องแยกให้ได้อย่างนั้นอย่างนี้
หรือว่าเราจะต้องไปมีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นพิเศษเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
หมายถึงสมาธิที่เกิดจากการที่เราเจริญสติมาถูกทาง
และที่จะเจริญสติได้ถูกทาง
ต้องมี ‘สัมมาทิฐิ’ เป็นตัวนำหน้า
พูดง่ายๆถ้าหากว่าเราตั้งมุมมองไว้ถูกต้อง
ว่ากายใจไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
อันนี้เรียกว่าเป็นอันดับแรก
ที่จะนำทางเข้ามาสู่การเห็นที่ถูกต้อง
แล้วถ้าหากว่าเราตั้งมุมมองในการเจริญสติถูก
คือสามารถที่จะรู้สึกถึงกาย รู้สึกถึงใจได้
โดยไม่ไปคาดหมายมากเกินไป ไม่ไปเพ่งมากเกินไป
ในขณะเดียวกันไม่ปล่อยให้จิตใจเหม่อลอยหรือฟุ้งซ่าน
ก็ในที่สุดก็จะได้เกิดการรับรู้ขึ้นมาว่ากายในขณะนี้มันไม่เที่ยง
เช่น ลมหายใจเดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็ออก
มันสักแต่เป็นลมพัดขึ้นพัดลง พัดเข้าพัดออกแบบนี้
จนไม่รู้สึกว่าลมหายใจเป็นเรา
จากนั้นอิริยาบถมันจะแสดงตัวเป็นอย่างไรอยู่
ก็รู้สึกได้ชัดเจนตามมา
แล้วจะสุขจะทุกข์อย่างไร จะฟุ้งซ่านหรือว่าจะสงบ
ภาวะภายในเป็นอย่างไร รู้จริงตามนั้น ตามที่มันกำลังปรากฏอยู่นี่
อย่างนี้ในที่สุดแล้ว พอใจมันไม่วอกแวกไปไหน
มันมีความสนใจ มันมีฉันทะ
ที่จะเข้ามารู้สึกถึงภาวะทางกายทางใจอยู่เรื่อยๆ
มันเกิดสมาธิขึ้นมา มันเกิดความตั้งมั่นของการรับรู้
ความตั้งมั่นของการรับรู้นั่นแหละคือสมาธิ
ไม่ใช่ว่าเราจะต้องแยกให้ได้อย่างนั้นอย่างนี้
หรือว่าเราจะต้องไปมีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นพิเศษเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
บางคนรู้สึกว่ากายกับจิตแยกกันแล้ว
ไปพยายามก๊อปปี้
เข้าใจว่านั่นเป็นสภาพของสมาธิ เป็นสภาพของวิปัสสนาฌาน
แท้ๆแล้วนี่ จริงๆก็คือว่า เมื่อไหร่เราตั้งใจก๊อปปี้ของเดิมขึ้นมา
ไม่เอาภาวะตามจริง
ที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตามาเป็นตัวตั้งนะครับ
ตรงนั้นกลายเป็นการปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้ว
กลายเป็นการหลอกตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว
กลายเป็นการทำสมาธิชนิดหนึ่ง
ที่มันไม่ได้ให้ผลเป็นการปล่อยวางอย่างแท้จริง
แต่ให้ผลเป็นการปรุงแต่งแบบหนึ่ง
กลายเป็นสภาพหลอกอย่างหนึ่งไม่ใช่ของจริง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะรู้สึกถึง
ภาวะทางกาย ทางใจ ที่กำลังปรากฏได้ตามจริง
เราจะเห็นว่าความตั้งมั่นของการรับรู้
บางครั้งมันแช่นิ่งอยู่เฉยๆนะ มันไม่เคลื่อนไหวไปไหนเลย
ยกตัวอย่างเช่น
เห็นจิตมีความนิ่ง มีความสว่างโพลนอยู่
ไม่ได้มีความแยก ไม่ได้มีความล้ำเลื่อม
ไม่ได้มีการบอกเลยว่าตรงนี้รู้ ตรงนั้นเป็นสิ่งถูกรู้
มีแต่อาการรู้อยู่เฉย มีแต่อาการสว่างโพลนอยู่เฉยๆ
แต่ว่าก็มีปัญญาฌานเกิดขึ้นประกอบด้วย
คือเกิดความรู้สึกจิตที่สว่างโพลนอยู่เฉยๆ
แช่อยู่นิ่งๆนั้นนะ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อย่างนี้ก็มีได้
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เข้าใจว่านั่นเป็นสภาพของสมาธิ เป็นสภาพของวิปัสสนาฌาน
แท้ๆแล้วนี่ จริงๆก็คือว่า เมื่อไหร่เราตั้งใจก๊อปปี้ของเดิมขึ้นมา
ไม่เอาภาวะตามจริง
ที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตามาเป็นตัวตั้งนะครับ
ตรงนั้นกลายเป็นการปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้ว
กลายเป็นการหลอกตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว
กลายเป็นการทำสมาธิชนิดหนึ่ง
ที่มันไม่ได้ให้ผลเป็นการปล่อยวางอย่างแท้จริง
แต่ให้ผลเป็นการปรุงแต่งแบบหนึ่ง
กลายเป็นสภาพหลอกอย่างหนึ่งไม่ใช่ของจริง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะรู้สึกถึง
ภาวะทางกาย ทางใจ ที่กำลังปรากฏได้ตามจริง
เราจะเห็นว่าความตั้งมั่นของการรับรู้
บางครั้งมันแช่นิ่งอยู่เฉยๆนะ มันไม่เคลื่อนไหวไปไหนเลย
ยกตัวอย่างเช่น
เห็นจิตมีความนิ่ง มีความสว่างโพลนอยู่
ไม่ได้มีความแยก ไม่ได้มีความล้ำเลื่อม
ไม่ได้มีการบอกเลยว่าตรงนี้รู้ ตรงนั้นเป็นสิ่งถูกรู้
มีแต่อาการรู้อยู่เฉย มีแต่อาการสว่างโพลนอยู่เฉยๆ
แต่ว่าก็มีปัญญาฌานเกิดขึ้นประกอบด้วย
คือเกิดความรู้สึกจิตที่สว่างโพลนอยู่เฉยๆ
แช่อยู่นิ่งๆนั้นนะ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อย่างนี้ก็มีได้
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
คำว่าสัมมาสมาธิที่แท้แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาระดับฌาน
แต่ว่าระดับฌาน ก็ยังแยกเป็นระดับต่างๆ
เรียกว่า ‘อารัมมณูปนิชฌาน’
คือเพ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีปัญญาฌานประกอบ
คือว่ารู้ว่ามีอะไรปรากฏอยู่ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมันเป็นอนัตตา
อีกอย่างหนึ่งคือเป็นฌานในอีกแบบหนึ่ง (ลักขณูปนิชฌาน - แอดมิน)
คือเห็นความไม่เที่ยง และ เห็นความไม่ใช่ตัวตน
คือต่อให้มันมีความนิ่งอยู่เฉยๆ
มีอาการสว่างโพลนแต่มีปัญญาฌานประกอบอยู่ด้วย
ว่าลักษณะของจิตที่กำลังปรากฏนิ่งอยู่นั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
พูดง่ายๆถ้าจะเอาภาษาชาวบ้านก็คือ
ถ้ารู้สึกว่าที่อาการปรากฏของสภาวธรรมหนึ่งๆนี่
มันเป็น ‘ตัวเรา’ อยู่
อย่างนั้นเรียกว่าเป็น ‘ฌานแบบที่เพ่งเป็นอารมณ์เฉยๆ’
แต่ถ้าหากว่ามีความรู้สึกว่า
สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ต่อจิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาระดับฌาน
แต่ว่าระดับฌาน ก็ยังแยกเป็นระดับต่างๆ
เรียกว่า ‘อารัมมณูปนิชฌาน’
คือเพ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีปัญญาฌานประกอบ
คือว่ารู้ว่ามีอะไรปรากฏอยู่ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมันเป็นอนัตตา
อีกอย่างหนึ่งคือเป็นฌานในอีกแบบหนึ่ง (ลักขณูปนิชฌาน - แอดมิน)
คือเห็นความไม่เที่ยง และ เห็นความไม่ใช่ตัวตน
คือต่อให้มันมีความนิ่งอยู่เฉยๆ
มีอาการสว่างโพลนแต่มีปัญญาฌานประกอบอยู่ด้วย
ว่าลักษณะของจิตที่กำลังปรากฏนิ่งอยู่นั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
พูดง่ายๆถ้าจะเอาภาษาชาวบ้านก็คือ
ถ้ารู้สึกว่าที่อาการปรากฏของสภาวธรรมหนึ่งๆนี่
มันเป็น ‘ตัวเรา’ อยู่
อย่างนั้นเรียกว่าเป็น ‘ฌานแบบที่เพ่งเป็นอารมณ์เฉยๆ’
แต่ถ้าหากว่ามีความรู้สึกว่า
สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ต่อจิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เป็นเพียงของว่าง เป็นเพียงของกลวง
เป็นเพียงของเปล่า ประชุมประกอบกันชั่วคราว
จะด้วยสภาพการเห็นแบบแยกหรือไม่แยกอะไรอย่างไรก็แล้วแต่
ถือว่าเป็นวิปัสสนาจริงหมด
ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ใจถอนออกจากอุปาทานยึดมั่นถือมั่น
ว่านั่นเป็นเรา หรือว่าเรามีอยู่ในสิ่งนั้นนะครับ
เป็นเพียงของเปล่า ประชุมประกอบกันชั่วคราว
จะด้วยสภาพการเห็นแบบแยกหรือไม่แยกอะไรอย่างไรก็แล้วแต่
ถือว่าเป็นวิปัสสนาจริงหมด
ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ใจถอนออกจากอุปาทานยึดมั่นถือมั่น
ว่านั่นเป็นเรา หรือว่าเรามีอยู่ในสิ่งนั้นนะครับ
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
สัมมาสมาธิ
ถ้าพูดกันให้เอาตามพุทธพจน์เป๊ะๆเลย
ก็ตั้งต้นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป คือมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
คืออย่างน้อยที่สุดคือต้องมีความสบาย
แล้วก็มีความรับรู้อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แล้วก็มีความตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
‘เอกัคคตา’ ลักษณะจะเป็นจิตใหญ่จิตใหญ่
มันต้องเข้าถึงด้วยประสบการณ์ตรงถึงจะเข้าใจว่าเป็นอย่างไร
คือจิตปกติมันจะมีความฟุ้งซ่านกระจัดกระจายซัดส่าย
แต่ถ้าหากว่าความฟุ้งซ่านเงียบกริบลงแล้ว
ความคิดมันหายไปจากหัว
แล้วมีกระแสการรวมดวงทำให้เกิดเป็นดวงสว่างอย่างใหญ่ขึ้นมา
แล้วก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ไปไหน
ตรงนั้นเรียกว่าเป็นฌานนะครับ
ก็ตั้งต้นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป คือมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
คืออย่างน้อยที่สุดคือต้องมีความสบาย
แล้วก็มีความรับรู้อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แล้วก็มีความตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
‘เอกัคคตา’ ลักษณะจะเป็นจิตใหญ่จิตใหญ่
มันต้องเข้าถึงด้วยประสบการณ์ตรงถึงจะเข้าใจว่าเป็นอย่างไร
คือจิตปกติมันจะมีความฟุ้งซ่านกระจัดกระจายซัดส่าย
แต่ถ้าหากว่าความฟุ้งซ่านเงียบกริบลงแล้ว
ความคิดมันหายไปจากหัว
แล้วมีกระแสการรวมดวงทำให้เกิดเป็นดวงสว่างอย่างใหญ่ขึ้นมา
แล้วก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ไปไหน
ตรงนั้นเรียกว่าเป็นฌานนะครับ
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ขอสรุปนิดนึงว่าหัดแยกขันธ์
หัดที่จะแยกกาย แยกจิต
คือถ้าตามหลักแล้วก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ
แต่ถ้าจงใจแยกโดยก๊อปปี้จากของเดิมที่ทำได้มา
มันจะกลายเป็นการคิดนึก
มันมีการเอาจินตนาการเป็นตัวตั้ง
ไม่ได้เอาของจริงเป็นตัวตั้ง
ถ้าหากว่าเรารับรู้อยู่
ถึงสภาวะที่กำลังปรากฏตามจริงในปัจจุบันทุกครั้ง
เอาตัวปัจจุบันเป็นตัวตั้งทุกครั้ง
แล้วเกิดความรับรู้ได้ทุกครั้ง อันนั้นถูก
เกิดความรับรู้ว่าไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนได้ทุกครั้ง
ประกันได้เลยว่ามาถูกทาง
ถ้าหากว่าเราฝึกหัดแยกขันธ์ด้วยการจงใจทุกครั้ง
ว่าเอาแบบที่เราเคยเห็นมาเป็นตัวตั้ง
อันนั้นคือเป็นการเอาของเก่ามาปฏิบัติใหม่
เป็นการก๊อปปี้เอาของเดิมมาใช้ใหม่
นั่นก็คือซีร็อก ไม่ใช่ตัวจริงนะครับ !
หัดที่จะแยกกาย แยกจิต
คือถ้าตามหลักแล้วก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ
แต่ถ้าจงใจแยกโดยก๊อปปี้จากของเดิมที่ทำได้มา
มันจะกลายเป็นการคิดนึก
มันมีการเอาจินตนาการเป็นตัวตั้ง
ไม่ได้เอาของจริงเป็นตัวตั้ง
ถ้าหากว่าเรารับรู้อยู่
ถึงสภาวะที่กำลังปรากฏตามจริงในปัจจุบันทุกครั้ง
เอาตัวปัจจุบันเป็นตัวตั้งทุกครั้ง
แล้วเกิดความรับรู้ได้ทุกครั้ง อันนั้นถูก
เกิดความรับรู้ว่าไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนได้ทุกครั้ง
ประกันได้เลยว่ามาถูกทาง
ถ้าหากว่าเราฝึกหัดแยกขันธ์ด้วยการจงใจทุกครั้ง
ว่าเอาแบบที่เราเคยเห็นมาเป็นตัวตั้ง
อันนั้นคือเป็นการเอาของเก่ามาปฏิบัติใหม่
เป็นการก๊อปปี้เอาของเดิมมาใช้ใหม่
นั่นก็คือซีร็อก ไม่ใช่ตัวจริงนะครับ !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น