ถาม : ทำอย่างไรให้จิตตั้งมั่น?
รับฟังทางยูทูป : http://youtu.be/slcKnO0aYgc
ดังตฤณ: ง่ายๆเลยนะครับ
สำหรับผู้ที่ยังใช้ชีวิตทางโลกอยู่นะครับ
: พูดคำไหนคำนั้น อย่าเป๋ !
เพราะพูดคำไหนแล้วไม่ทำคำนั้น
ก็คือการที่จิตปรุงแต่งไปหลากหลาย
แล้วความตั้งมั่นไม่เกิดขึ้นในจิตที่หลากหลายหรอก
แต่ความตั้งมั่นจะเป็นเพื่อนเป็นพวกเดียวกันกับจิตที่มีใจเดียว
กับจิตที่มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว จิตที่มีลักษณะว่า
: พูดคำไหนคำนั้น อย่าเป๋ !
เพราะพูดคำไหนแล้วไม่ทำคำนั้น
ก็คือการที่จิตปรุงแต่งไปหลากหลาย
แล้วความตั้งมั่นไม่เกิดขึ้นในจิตที่หลากหลายหรอก
แต่ความตั้งมั่นจะเป็นเพื่อนเป็นพวกเดียวกันกับจิตที่มีใจเดียว
กับจิตที่มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว จิตที่มีลักษณะว่า
: ตั้งใจทำอะไรแล้วทำจริง
: ไม่โลเล ไม่เหลาะแหละ ไม่ล้มเลิกกลางคันนะครับ
: แล้วก็เป็นจิตที่ไม่ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แต่พยายามที่จะทำให้เรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
: คือจิตมีอะไรจดจ่ออย่างเดียว
: ไม่พยายามที่จะคิดอะไรซับซ้อน
: ไม่พยายามที่จะคิดอะไรที่ในลักษณะวกไปวนมา
: ไม่โลเล ไม่เหลาะแหละ ไม่ล้มเลิกกลางคันนะครับ
: แล้วก็เป็นจิตที่ไม่ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แต่พยายามที่จะทำให้เรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
: คือจิตมีอะไรจดจ่ออย่างเดียว
: ไม่พยายามที่จะคิดอะไรซับซ้อน
: ไม่พยายามที่จะคิดอะไรที่ในลักษณะวกไปวนมา
ถ้าหากว่าจิตของเรามีลักษณะความคิด
ที่เป็นพวกเดียวกันกับการเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
อันนี้ก็มีส่วนที่จะทำให้จิตตั้งมั่นได้เหมือนกันนะครับ
ที่เป็นพวกเดียวกันกับการเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
อันนี้ก็มีส่วนที่จะทำให้จิตตั้งมั่นได้เหมือนกันนะครับ
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เรื่องของความตั้งมั่นของจิต
นอกจากเราจะทำนิสัยในชีวิตประจำวั
นสอดคล้องกับจิตที่ตั้งมั่นแล้วนะครับ
ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้จิตใจมีความเยือกเย็น จิตใจมีความสว่างด้วย
วิธีที่ง่ายที่สุดและสั้นที่สุด
ที่พระพุทธศาสนาได้ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันมาก็คือ
สวดมนต์บทที่เย็น
บทที่มีความสามารถที่จะให้เราหลั่งรินเอาความเมตตาออกมาได้
นั่นก็คือ สวดสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เรียกสั้นๆว่าบทอิติปิโสนั่นเอง
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ถ้าหากว่าใครสวดบทนี้เป็นประจำถึงแม้ว่าจะไม่รู้คำแปลเลย
ก็จะมีความรู้สึกถึงสัมผัสถึงความศักดิ์สิทธิ์ สัมผัสถึงสิ่งที่อยู่สูง
และใจที่ผูกกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือใจที่สว่าง
ยิ่งถ้าหากว่าเราสามารถจะเปล่งเสียงเต็มปากเต็มคำ
‘อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา…’
ถ้าทำได้เปล่งเสียงเต็มปากเต็มคำได้
จิตก็จะมีความรู้สึกผูกพัน
จิตจะมีความรู้สึกว่าถูกปรุงแต่งด้วยแก้วเสียงที่เป็นกุศล
ยังจิตให้เป็นกุศลมากขึ้นมากขึ้น
แล้วถ้ายิ่งสวดหลายรอบ
แต่ละรอบดูไปด้วยว่าจิตมีความฟุ้งซ่านหรือไม่มีความฟุ้งซ่าน
ต่างกันกับรอบก่อนๆอย่างไร
เปรียบเทียบไปปัญญามันเกิดแล้ว
ก็กลายเป็นปัจจัยของความตั้งมั่นขึ้นมาได้มาก
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
จะสังเกตว่าคนที่สวดอิติปิโสบ่อยๆ
เวลาลงนั่งทำสมาธิ เวลาที่ดูลมหายใจ เข้าออก
จะรู้สึกว่าสามารถอยู่กับลมหายใจผูกพันกับลมหายใจได้ง่าย
นั่นเพราะอะไร ?
เพราะว่าจิตมีความพร้อมที่จะดู
คนที่ทำสมาธิไม่ค่อยได้ส่วนใหญ่ไม่ใช่อะไรหรอก
เพราะว่าจิตไม่มีความพร้อมที่จะดูนั่นเอง
: จิตไม่มีความเยือกเย็นพอ
: จิตยังมีความฟุ้งซ่านซัดส่าย
: หรือว่ามีความโลภอยากได้ความนิ่ง อยากกำจัดความฟุ้งซ่านมากเกินไป
จนกระทั่งมันเป็นต้นเหตุของความฟุ้งซ่านขึ้นมาซ้อนๆกันไปอีกนะครับ
นอกจากเราจะทำนิสัยในชีวิตประจำวั
นสอดคล้องกับจิตที่ตั้งมั่นแล้วนะครับ
ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้จิตใจมีความเยือกเย็น จิตใจมีความสว่างด้วย
วิธีที่ง่ายที่สุดและสั้นที่สุด
ที่พระพุทธศาสนาได้ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันมาก็คือ
สวดมนต์บทที่เย็น
บทที่มีความสามารถที่จะให้เราหลั่งรินเอาความเมตตาออกมาได้
นั่นก็คือ สวดสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เรียกสั้นๆว่าบทอิติปิโสนั่นเอง
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ถ้าหากว่าใครสวดบทนี้เป็นประจำถึงแม้ว่าจะไม่รู้คำแปลเลย
ก็จะมีความรู้สึกถึงสัมผัสถึงความศักดิ์สิทธิ์ สัมผัสถึงสิ่งที่อยู่สูง
และใจที่ผูกกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือใจที่สว่าง
ยิ่งถ้าหากว่าเราสามารถจะเปล่งเสียงเต็มปากเต็มคำ
‘อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา…’
ถ้าทำได้เปล่งเสียงเต็มปากเต็มคำได้
จิตก็จะมีความรู้สึกผูกพัน
จิตจะมีความรู้สึกว่าถูกปรุงแต่งด้วยแก้วเสียงที่เป็นกุศล
ยังจิตให้เป็นกุศลมากขึ้นมากขึ้น
แล้วถ้ายิ่งสวดหลายรอบ
แต่ละรอบดูไปด้วยว่าจิตมีความฟุ้งซ่านหรือไม่มีความฟุ้งซ่าน
ต่างกันกับรอบก่อนๆอย่างไร
เปรียบเทียบไปปัญญามันเกิดแล้ว
ก็กลายเป็นปัจจัยของความตั้งมั่นขึ้นมาได้มาก
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
จะสังเกตว่าคนที่สวดอิติปิโสบ่อยๆ
เวลาลงนั่งทำสมาธิ เวลาที่ดูลมหายใจ เข้าออก
จะรู้สึกว่าสามารถอยู่กับลมหายใจผูกพันกับลมหายใจได้ง่าย
นั่นเพราะอะไร ?
เพราะว่าจิตมีความพร้อมที่จะดู
คนที่ทำสมาธิไม่ค่อยได้ส่วนใหญ่ไม่ใช่อะไรหรอก
เพราะว่าจิตไม่มีความพร้อมที่จะดูนั่นเอง
: จิตไม่มีความเยือกเย็นพอ
: จิตยังมีความฟุ้งซ่านซัดส่าย
: หรือว่ามีความโลภอยากได้ความนิ่ง อยากกำจัดความฟุ้งซ่านมากเกินไป
จนกระทั่งมันเป็นต้นเหตุของความฟุ้งซ่านขึ้นมาซ้อนๆกันไปอีกนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น