ถาม : ระหว่างนั่งสมาธิ เมื่อนึกถึงเรื่องไม่ถูกใจ จะรู้สึกอึดอัดคัดแน่นกลางอก แต่รู้สึกว่าความอึดอัดนั้น ครึ่งหนึ่งอยู่ในกายเนื้อ อีกครึ่งหนึ่งอยู่นอกตัว ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะสมาธิน้อยเกินไปหรือเปล่า?
ดังตฤณ: ตอนอยู่ในสมาธิสิ่งที่เราต้องการไม่ใช่รายละเอียด
ไม่ใช่ความถูกความผิด
ไม่ใช่ความรู้ว่าอะไรเป็นไรแบบที่อธิบายกันได้
อันนี้ข้างนอกอันนี้ข้างใน
อันนั้นเกิดขึ้นที่จิตอันนั้นเกิดขึ้นที่กายตรงจุดไหนอะไรต่างๆ
เราไม่ได้ต้องการความรู้โดยเฉพาะช่วงแรกๆ
แต่เราได้สมาธิเสียก่อน
: มีความนิ่งเสียก่อน
: มีความตั้งมั่นเสียก่อน
แล้วค่อยไปพัฒนาต่อยอดเป็นความรู้
ซึ่งเรียกว่า "วิปัสสนา" ในภายหลัง
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ช่วงแรกๆ ถ้าหากว่ายังมีความเป๋ออกจากโฟกัสของสมาธิ
อาการเป๋นั้นไม่ว่าจะเกิดจากคำถามแบบไหนก็แล้วแต่
ให้ตีค่าเป็น "วิจิกิจฉา" หรือ "ความลังเลสงสัย" เสียให้หมด
วิจิกิจฉาเป็นหนึ่งในนิวรณ์
นิวรณ์แปลว่าอุปสรรคเครื่องถ่วงความเจริญ
แทนที่เราจะเจริญสติรุดหน้าไปเรื่อยๆ
ถ้าหากว่ามีนิวรณ์แล้วก็จะถูกขวาง
ถูกกั้นไว้ถูกกางไว้ไม่ให้ไปไหนไม่ให้ก้าวต่อ
ถ้าเราเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมามีความอึดอัดขึ้นมา
แล้วเราไปสงสัยไปแยกแยะ มันข้างในหรือข้างนอก
ความรู้สึกมันจำแนกไม่ถูก
แทนที่เราจะเห็นภาวะที่ควรจะเห็น
กลับกลายไปเป็นสงสัยภาวะที่ไม่ควรสงสัย
คือจิตถ้ายังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิจริง
มันแยกแยะอะไรไม่ออกหรอก !
ตรงไหนอยู่ในกายตรงไหนอยู่ในจิต
ตรงไหนเป็นข้างนอกตรงไหนเป็นข้างใน
มิติของจิตยังคลุมเครืออยู่ มันยังครึ่งๆกลางๆ
ลูกผีลูกคนระหว่างจิตที่มันคิดๆนึกๆ กับจิตที่เริ่มรู้บ้างแล้ว
ทางที่ดีที่สุดคือเราตั้งไว้ล่วงหน้า
ตั้งไว้ในใจกำหนดรู้ว่า ทำไว้ในใจล่วงหน้า
มีโยนิโสมนสิการไว้ล่วงหน้า
ว่าระหว่างอยู่ในสมาธิระหว่างฝึกสมาธิ
สิ่งที่เราต้องการคือโฟกัสเดียว
ถ้าหากว่าเรามีหลายโฟกัส
จิตใจจะซัดส่ายมีความกระสับกระส่าย
มีความลังเลสงสัยไม่สิ้นสุด ทำไว้ในใจแบบนี้
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เวลาที่พระพุทธเจ้าท่านให้ดู
สภาวะง่ายๆที่จะปรากฏ
ให้นักทำสมาธิมือใหม่ได้ดูก่อนเป็นอันดับแรกๆ
ก็คือนิยามไปเลย ว่าในขณะนั้น
: เรากำลังเป็นสุข หรือว่า เป็นทุกข์
: กำลังอึดอัด หรือว่า กำลังสบาย
: กำลังปลอดโปร่ง หรือว่า กำลังทึบตัน นั่นเอง
ตัว "เวทนา" ก็คือความรู้สึกทั้งหมดที่กำลังปรากฏอยู่จังๆเลย !
ถ้านิยามไม่ถูกว่าตอนนี้กำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อยู่
ก็เอาลักษณะของความทุกข์ความสุขนั่นแหละ
ไม่ว่ามันจะมาในรูปของความกระสับกระส่ายกระวนกระวาย
ทึบตันหนักอกอึดอัดรุ่มร้อน
ลักษณะที่มันปรากฏชัดๆของความทุกข์ให้เราดู
และนิยามไปคำเดียวสั้นๆว่าเป็นทุกข์
ถ้ามันอยู่ข้างนอกหรือข้างใน
มันหลอกล่อด้วยอาการประหลาดพิสดารเป็นปรากฏการณ์ที่แปลก
แล้วมันเหมือนกับว่าถ้าเรามีความรู้ที่กระจ่าง
อธิบายได้ อธิบายถูก
ว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าอะไร
แล้วนึกว่ามันเป็นความฉลาด อันนั้นแหละผิดทาง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ขั้นแรกๆเราต้องมีความสามารถที่จะรู้ให้ได้จริงๆก่อนว่า
ลักษณะที่กำลังปรากฏ
เกิดขึ้นไม่นาน แล้วมันก็จะหายไปให้ดู
ตัวนี้สำคัญมาก !
ถ้าหากว่าเราไม่ถูกเทรน หรือไม่เทรนตัวเอง
ให้เห็นความสำคัญของอนิจจังเป็นอันดับแรก
ไปเซ็ตค่าไพรออริตี้ผิด
ความเจริญของสติจะเกิดยากมาก
โอกาสที่จะหลงเขวไปกลายเป็นคิดมากระหว่างทำสมาธิจะสูงเลย
แล้วคนทำสมาธิกันไม่สำเร็จก็เพราะเครื่องล่อแบบนี้แหละ !
พอมีเหยื่อล่อมา มีปรากฏการณ์ทางใจแปลกๆประหลาดๆ
ไม่เคยเจอมาก่อนในระหว่างวัน
ก็เกิดความลังเลสงสัยหรือไม่ก็เกิดความติดใจ
อยากค้นคว้าอยากหาข้อมูล
อยากบัญญัติเป็นศัพท์ออกมาให้ชัดๆว่า
อย่างนี้เขาเรียกอะไร เรามาถึงขั้นไหนแล้ว
มันจะถูกหรือผิดถ้าหากว่าเราไม่รู้ให้ชัดว่านี่มันข้างนอกหรือข้างใน
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
บางทีปรากฏการณ์ทางใจ
อธิบายให้ตายก็สื่อกันไม่รู้เรื่องถ้าไม่มีประสบการณ์ตรงกัน
แต่ว่าประสบการณ์ที่เราจะสามารถจูนกันติดได้
แล้วตรงกันกับแนวทางของพระพุทธเจ้าแน่ๆก็คือ
ปรากฏการณ์นั้นจะพิลึกพิลั่นพิสดารแค่ไหนก็ตาม
เราดูโดยความเป็นของไม่เที่ยงเอาไว้ก่อน !
ถ้าเกิดความอึดอัดขึ้นมาจะแปลกแค่ไหน
จะข้างนอกหรือข้างใน
จะให้ความรู้สึกว่ามันเป็นตัวเราหรือไม่เป็นตัวเราก็แล้วแต่
หากเราไปวิเคราะห์ไปค้นคว้าเข้าแล้ว
จิตมันเข้าไปยึดโดยไม่รู้ตัวเลย
แล้วเมื่อไรที่จิตเข้าไปยึด
กระโดดเข้าไปเกาะ กระโดดเข้าไปมีส่วนร่วม
มันจะเกิดอุปาทานขึ้นมาทันที
มันจะนึกว่านี่เป็นตัวเรา
มันจะนึกว่าอาการนั้นๆมีตัวตนขึ้นมาทันที !
น่าสงสัย น่าสนใจ หรือว่าน่าไขว่คว้าเอาโดยไม่รู้ตัว !
คือเราจะรังเกียจมันหรือว่าชอบมันก็แล้วแต่
อาการยึดของใจมันจะทำให้รู้สึกว่า
ความทุกข์แบบนั้นๆ ความอึดอัดแบบนั้นๆ
หรือว่าปรากฏการณ์ทางใจแบบนั้นๆ "เป็นตัวเรา"
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่เมื่อไรที่เราตั้งเป้าไว้ถูกล่วงหน้า
ทำโยนิโสมนสิการ คือมีการทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า
: ทุกข์สักแต่เป็นทุกข์
: ความอึดอัดสักแต่เป็นความอึดอัด
เราสนใจแค่ว่าเห็นความอึดอัดมันเกิดขึ้น
แล้วเมื่อเห็นด้วยใจที่มันสบายๆ ใจที่มันไม่ค้นคว้า
ใจที่มันไม่สงสัยอะไรมาก
--> มันก็จะเกิดการคลี่คลายหายไปให้ดู !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
จำไว้ว่าหลักการง่ายๆเลย โดยเฉพาะในขณะนั่งสมาธิ
เราเห็นอะไร เรารู้อะไรอย่างถูกต้อง มันจะหายไปให้ดู !
แต่ถ้าอะไรมันเกิดขึ้นแล้วเราเห็นมันไม่ถูก
มันจะกลายเป็นก้อนตัวก้อนตน
มันจะกลายเป็นก้อนอัตตาขึ้นมาให้ยึดทันที
เพราะความเคยชินของจิตที่มีมาชั่วกัปชั่วกัลป์ก็คือ
อะไรเกิดมันยึดทันทีเกิดปุ๊บยึดปั๊บ
ที่เรามาฝึกกันก็เพื่อที่จะให้เกิดปุ๊บเห็นปั๊บว่า
: มันไม่เที่ยง หรือ
: มันมาตามปัจจัย
: แล้วหายไปเมื่อปัจจัยหมด
ตรงนี้ขอให้แม่นนะ
ไม่ใช่ความถูกความผิด
ไม่ใช่ความรู้ว่าอะไรเป็นไรแบบที่อธิบายกันได้
อันนี้ข้างนอกอันนี้ข้างใน
อันนั้นเกิดขึ้นที่จิตอันนั้นเกิดขึ้นที่กายตรงจุดไหนอะไรต่างๆ
เราไม่ได้ต้องการความรู้โดยเฉพาะช่วงแรกๆ
แต่เราได้สมาธิเสียก่อน
: มีความนิ่งเสียก่อน
: มีความตั้งมั่นเสียก่อน
แล้วค่อยไปพัฒนาต่อยอดเป็นความรู้
ซึ่งเรียกว่า "วิปัสสนา" ในภายหลัง
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ช่วงแรกๆ ถ้าหากว่ายังมีความเป๋ออกจากโฟกัสของสมาธิ
อาการเป๋นั้นไม่ว่าจะเกิดจากคำถามแบบไหนก็แล้วแต่
ให้ตีค่าเป็น "วิจิกิจฉา" หรือ "ความลังเลสงสัย" เสียให้หมด
วิจิกิจฉาเป็นหนึ่งในนิวรณ์
นิวรณ์แปลว่าอุปสรรคเครื่องถ่วงความเจริญ
แทนที่เราจะเจริญสติรุดหน้าไปเรื่อยๆ
ถ้าหากว่ามีนิวรณ์แล้วก็จะถูกขวาง
ถูกกั้นไว้ถูกกางไว้ไม่ให้ไปไหนไม่ให้ก้าวต่อ
ถ้าเราเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมามีความอึดอัดขึ้นมา
แล้วเราไปสงสัยไปแยกแยะ มันข้างในหรือข้างนอก
ความรู้สึกมันจำแนกไม่ถูก
แทนที่เราจะเห็นภาวะที่ควรจะเห็น
กลับกลายไปเป็นสงสัยภาวะที่ไม่ควรสงสัย
คือจิตถ้ายังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิจริง
มันแยกแยะอะไรไม่ออกหรอก !
ตรงไหนอยู่ในกายตรงไหนอยู่ในจิต
ตรงไหนเป็นข้างนอกตรงไหนเป็นข้างใน
มิติของจิตยังคลุมเครืออยู่ มันยังครึ่งๆกลางๆ
ลูกผีลูกคนระหว่างจิตที่มันคิดๆนึกๆ กับจิตที่เริ่มรู้บ้างแล้ว
ทางที่ดีที่สุดคือเราตั้งไว้ล่วงหน้า
ตั้งไว้ในใจกำหนดรู้ว่า ทำไว้ในใจล่วงหน้า
มีโยนิโสมนสิการไว้ล่วงหน้า
ว่าระหว่างอยู่ในสมาธิระหว่างฝึกสมาธิ
สิ่งที่เราต้องการคือโฟกัสเดียว
ถ้าหากว่าเรามีหลายโฟกัส
จิตใจจะซัดส่ายมีความกระสับกระส่าย
มีความลังเลสงสัยไม่สิ้นสุด ทำไว้ในใจแบบนี้
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เวลาที่พระพุทธเจ้าท่านให้ดู
สภาวะง่ายๆที่จะปรากฏ
ให้นักทำสมาธิมือใหม่ได้ดูก่อนเป็นอันดับแรกๆ
ก็คือนิยามไปเลย ว่าในขณะนั้น
: เรากำลังเป็นสุข หรือว่า เป็นทุกข์
: กำลังอึดอัด หรือว่า กำลังสบาย
: กำลังปลอดโปร่ง หรือว่า กำลังทึบตัน นั่นเอง
ตัว "เวทนา" ก็คือความรู้สึกทั้งหมดที่กำลังปรากฏอยู่จังๆเลย !
ถ้านิยามไม่ถูกว่าตอนนี้กำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อยู่
ก็เอาลักษณะของความทุกข์ความสุขนั่นแหละ
ไม่ว่ามันจะมาในรูปของความกระสับกระส่ายกระวนกระวาย
ทึบตันหนักอกอึดอัดรุ่มร้อน
ลักษณะที่มันปรากฏชัดๆของความทุกข์ให้เราดู
และนิยามไปคำเดียวสั้นๆว่าเป็นทุกข์
ถ้ามันอยู่ข้างนอกหรือข้างใน
มันหลอกล่อด้วยอาการประหลาดพิสดารเป็นปรากฏการณ์ที่แปลก
แล้วมันเหมือนกับว่าถ้าเรามีความรู้ที่กระจ่าง
อธิบายได้ อธิบายถูก
ว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าอะไร
แล้วนึกว่ามันเป็นความฉลาด อันนั้นแหละผิดทาง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ขั้นแรกๆเราต้องมีความสามารถที่จะรู้ให้ได้จริงๆก่อนว่า
ลักษณะที่กำลังปรากฏ
เกิดขึ้นไม่นาน แล้วมันก็จะหายไปให้ดู
ตัวนี้สำคัญมาก !
ถ้าหากว่าเราไม่ถูกเทรน หรือไม่เทรนตัวเอง
ให้เห็นความสำคัญของอนิจจังเป็นอันดับแรก
ไปเซ็ตค่าไพรออริตี้ผิด
ความเจริญของสติจะเกิดยากมาก
โอกาสที่จะหลงเขวไปกลายเป็นคิดมากระหว่างทำสมาธิจะสูงเลย
แล้วคนทำสมาธิกันไม่สำเร็จก็เพราะเครื่องล่อแบบนี้แหละ !
พอมีเหยื่อล่อมา มีปรากฏการณ์ทางใจแปลกๆประหลาดๆ
ไม่เคยเจอมาก่อนในระหว่างวัน
ก็เกิดความลังเลสงสัยหรือไม่ก็เกิดความติดใจ
อยากค้นคว้าอยากหาข้อมูล
อยากบัญญัติเป็นศัพท์ออกมาให้ชัดๆว่า
อย่างนี้เขาเรียกอะไร เรามาถึงขั้นไหนแล้ว
มันจะถูกหรือผิดถ้าหากว่าเราไม่รู้ให้ชัดว่านี่มันข้างนอกหรือข้างใน
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
บางทีปรากฏการณ์ทางใจ
อธิบายให้ตายก็สื่อกันไม่รู้เรื่องถ้าไม่มีประสบการณ์ตรงกัน
แต่ว่าประสบการณ์ที่เราจะสามารถจูนกันติดได้
แล้วตรงกันกับแนวทางของพระพุทธเจ้าแน่ๆก็คือ
ปรากฏการณ์นั้นจะพิลึกพิลั่นพิสดารแค่ไหนก็ตาม
เราดูโดยความเป็นของไม่เที่ยงเอาไว้ก่อน !
ถ้าเกิดความอึดอัดขึ้นมาจะแปลกแค่ไหน
จะข้างนอกหรือข้างใน
จะให้ความรู้สึกว่ามันเป็นตัวเราหรือไม่เป็นตัวเราก็แล้วแต่
หากเราไปวิเคราะห์ไปค้นคว้าเข้าแล้ว
จิตมันเข้าไปยึดโดยไม่รู้ตัวเลย
แล้วเมื่อไรที่จิตเข้าไปยึด
กระโดดเข้าไปเกาะ กระโดดเข้าไปมีส่วนร่วม
มันจะเกิดอุปาทานขึ้นมาทันที
มันจะนึกว่านี่เป็นตัวเรา
มันจะนึกว่าอาการนั้นๆมีตัวตนขึ้นมาทันที !
น่าสงสัย น่าสนใจ หรือว่าน่าไขว่คว้าเอาโดยไม่รู้ตัว !
คือเราจะรังเกียจมันหรือว่าชอบมันก็แล้วแต่
อาการยึดของใจมันจะทำให้รู้สึกว่า
ความทุกข์แบบนั้นๆ ความอึดอัดแบบนั้นๆ
หรือว่าปรากฏการณ์ทางใจแบบนั้นๆ "เป็นตัวเรา"
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่เมื่อไรที่เราตั้งเป้าไว้ถูกล่วงหน้า
ทำโยนิโสมนสิการ คือมีการทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า
: ทุกข์สักแต่เป็นทุกข์
: ความอึดอัดสักแต่เป็นความอึดอัด
เราสนใจแค่ว่าเห็นความอึดอัดมันเกิดขึ้น
แล้วเมื่อเห็นด้วยใจที่มันสบายๆ ใจที่มันไม่ค้นคว้า
ใจที่มันไม่สงสัยอะไรมาก
--> มันก็จะเกิดการคลี่คลายหายไปให้ดู !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
จำไว้ว่าหลักการง่ายๆเลย โดยเฉพาะในขณะนั่งสมาธิ
เราเห็นอะไร เรารู้อะไรอย่างถูกต้อง มันจะหายไปให้ดู !
แต่ถ้าอะไรมันเกิดขึ้นแล้วเราเห็นมันไม่ถูก
มันจะกลายเป็นก้อนตัวก้อนตน
มันจะกลายเป็นก้อนอัตตาขึ้นมาให้ยึดทันที
เพราะความเคยชินของจิตที่มีมาชั่วกัปชั่วกัลป์ก็คือ
อะไรเกิดมันยึดทันทีเกิดปุ๊บยึดปั๊บ
ที่เรามาฝึกกันก็เพื่อที่จะให้เกิดปุ๊บเห็นปั๊บว่า
: มันไม่เที่ยง หรือ
: มันมาตามปัจจัย
: แล้วหายไปเมื่อปัจจัยหมด
ตรงนี้ขอให้แม่นนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น