ดังตฤณ:
อันนี้ค่อนข้างจะเป็นคำถามสามัญของคนที่เจริญสติมาระยะหนึ่งนะครับ
ถ้าหากว่านอนแล้วรู้สึกว่าตาแข็ง นอนแล้วรู้สึกว่าจิตมันตื่น มันนอนไม่หลับสนิท
ต้องถามตัวเองต่อด้วยว่า ที่รู้สึกว่ามันตื่น
ที่รู้สึกไม่หลับสนิทเหมือนแต่ก่อนเนี่ย มีความสุขหรือมีความทุกข์เป็นผลลัพธ์
เพราะตัวความสุขหรือความทุกข์มันเป็นเครื่องชี้ได้ชัดเจนนะครับว่าจิตของเรามีคุณภาพแค่ไหน
การนอนของเรายังคงใช้ได้อยู่ไหม เป็นการพักผ่อนที่โอเคไหม
หลายคนเนี่ยเกิดความรู้สึกกังวลวิตกว่า เอ๊ะ นอนไม่หลับหมายความว่าพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเปล่า อันนี้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการนอนทางการหลับเนี่ย คือ Sleep Expert เนี่ย เขาก็บอกว่า ไม่มีใครบอกได้ตายตัวหรอกว่าคนเราควรจะนอนกี่ชั่วโมง แล้วก็คนเราเนี่ยควรจะเริ่มพักผ่อนเวลาเท่าไหร่ ควรจะตื่นเวลาเท่าไหร่กันแน่ หลายคนจะจำไว้ตามหลักที่เรียนๆกันมานะ วิชาสุขศึกษาบอกไว้ว่าควรนอนสี่ทุ่มตื่นหกโมง ๘ ชั่วโมงควรจะเป็นเวลาที่พักผ่อนที่เหมาะกับคนทั่วไป แต่จริงๆ แล้วบางคนถ้านอนสี่ทุ่ม มันเหมือนกับว่านอนไม่หลับนะ กว่าจะหลับเนี่ยห้าทุ่ม หรือห้าทุ่มครึ่งหรือเที่ยงคืนอะไรแบบนั้น เพราะฉะนั้นเสียเวลาไปเปล่าๆบนที่นอนตอนพยายามจะหลับ หรือบางคนบอกว่าต้องตื่นตีสี่หรือตีห้าถึงจะดี มาสูดอากาศยามเช้า มันจะสดชื่น มันจะได้มีความรู้สึกเบิกบานแจ่มใส บางคนตื่นตีสี่ตีห้าก็ซึมเซาอยู่อย่างนั้นแหละ สิบปีพยายามก็ไม่มีอะไรดีขึ้น อันนี้เป็นเพราะว่านาฬิกาชีวะ หรือสิ่งที่ร่างกายมันรู้อยู่ของแต่ล่ะคนเนี่ยมันไม่เหมือนกัน มันไม่สามารถที่จะเอาอะไรมาวัดตายตัวได้
เช่นกันเวลาที่เราปฏิบัติธรรม เจริญสติแล้ว สามารถที่จะตื่นได้นานกว่าคนทั่วไป หรือว่านอนรู้สึกว่ามันไม่ได้หลับสนิทมันมีความรู้สึกอยู่ว่าตัวเองตื่นอยู่ข้างใน แต่ไม่ได้ขยับเคลื่นไหวนะ ไม่ได้ออกมาฟุ้งซ่าน ไม่ได้ออกมามีอาการที่จิตมันโฉ่งฉ่าง แต่จิตมันเงียบๆอยู่ มีความสบายมีความเบาอยู่ มีความสว่างอยู่ อันนั้นก็เป็นการหลับชนิดนึง เป็นการหลับเฉพาะตัวที่เกิดจากการเจริญสติ หรือฝึกจิตมาพักนึงจนกระทั่งจิตเขาเป็นแบบนั้น
มาตรวัดที่ดีว่าเรานอนหลับได้ดีหรือเปล่า ให้ดูตอนตื่นขึ้นมามันเต็มอิ่มไหม มันสามารถที่จะมาทำงานได้เหมือนปกติไหม แล้วที่จะบอกได้เลยว่าคุณเจริญสติมาได้อย่างดีเนี่ย ก็คือตื่นขึ้นมาแล้ว อยากจะนั่งสมาธิ อยากจะสวดมนต์ หรือไม่ต้องนั่งสมาธิสวดมนต์ก็ได้ แต่อยากจะคิดอะไรดีๆ จิตมันเป็นกุศล เนี่ยตัวนี้เป็นมาตรวัดที่สำคัญมากๆ เลย ร่างการมันพร้อมที่จะทำงาน ส่วนจิตก็พร้อมที่จะเป็นกุศล ถ้าหากว่าตื่นนอนขึ้นมา แล้วสภาพร่างกายกับสภาพของจิตเนี่ย มันเป็นไปในทางกุศล มันเป็นไปในทางบวกนะ ไม่ต้องกังวลเลย ต่อให้ไม่หลับทั้งคืน หลับไปแค่แปปเดียว หลับไปแค่ชั่วโมง สองชั่วโมง ก็ไม่ต้องกังวล
แต่ส่วนคนที่อาจจะนั่งสมาธิ แล้วรู้สึกว่าตาแข็งค้าง นอนไม่หลับในแบบที่ทรมาน ในแบบที่รู้สึกไม่ดี อันนี้มีวิธีแก้อยู่ง่ายๆ นะครับ อย่าเพิ่งนอน อย่าเพิ่งพยายามที่จะข่มตาให้หลับแต่ให้ลองทำหลายๆ อย่าง ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันนะ บางคนอาจจะเดินเล่นๆ กลับไปกลับมา อย่าตั้งใจว่าเราจะเดินจงกรม เราจะทำให้สติมันเกิดขึ้นเต็มตื่น หรือว่าจะทำให้สมาธิมันต่อเนื่องอะไรแบบนั้นนะ แค่ตั้งใจเดินเล่นๆ ดูเท้ากระทบไป แล้วดูว่าอาการทางกายเนี่ย มันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือว่าแย่ลง ถ้าหากว่ามันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น คือรู้สึกสบายๆ รู้สึกว่าไม่กังวล รู้สึกว่าไม่ตาแข็ง อันนั้นแสดงให้เห็นว่า คุณเหมาะกับการที่จะเจริญสติก่อนที่จะนอนได้นะครับ
ถ้าหากว่าพยายามเดินจงกรมแล้วรู้สึกว่ามันหงุดหงิด มันเครียด มันเกร็ง มันตึง มันไม่ชอบ ก็ไม่จำเป็นต้องฝืน อาจจะไปทำอย่างอื่น สำหรับมือใหม่เนี่ย ถ้ายังติดที่จะดูหนังดูทีวี อาจจะดูเล่นๆ ซักนิดนึง ดูคลิปวีดีโอสั้นๆ เพื่อให้มันเกิดความผ่อนคลายลงจากอาการเดิมที่นั่งสมาธิแล้วตาแข็ง ตาค้าง นะครับ จากนั้นอาจจะอ่านหนังสือ หรือสวดมนต์ หรือทำอะไรที่มันรู้สึกว่าหายกังวล หายจากสภาพที่มันแข็งทื่อ หรือว่ามีแต่อาการตึงๆอยู่นะฮะ พอมันคลายได้ทุกอย่างมันจะมีคำตอบของมัน
เวลาที่เราหลับ เราไม่ได้หลับลงด้วยอาการข่มให้หลับนะครับ เราหลับลงด้วยอาการที่ร่างกายมันเริ่มผ่อนคลาย จิตใจมันเริ่มสบาย แล้วก็ที่สำคัญที่สุด เราต้องไม่ไปพยายามที่จะกดตัวเองให้มันเกิดอะไรขึ้น คือถ้าเราไปพยายามสั่งให้ภาวะทางกาย หรือว่าภาวะทางจิตมันเป็นอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งนะ จำไว้เลยนะครับ นั่นคือศัตรูของการนอนหลับ ไม่ใช่มิตรของการนอนหลับนะครับ
หลายคนเนี่ยเกิดความรู้สึกกังวลวิตกว่า เอ๊ะ นอนไม่หลับหมายความว่าพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเปล่า อันนี้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการนอนทางการหลับเนี่ย คือ Sleep Expert เนี่ย เขาก็บอกว่า ไม่มีใครบอกได้ตายตัวหรอกว่าคนเราควรจะนอนกี่ชั่วโมง แล้วก็คนเราเนี่ยควรจะเริ่มพักผ่อนเวลาเท่าไหร่ ควรจะตื่นเวลาเท่าไหร่กันแน่ หลายคนจะจำไว้ตามหลักที่เรียนๆกันมานะ วิชาสุขศึกษาบอกไว้ว่าควรนอนสี่ทุ่มตื่นหกโมง ๘ ชั่วโมงควรจะเป็นเวลาที่พักผ่อนที่เหมาะกับคนทั่วไป แต่จริงๆ แล้วบางคนถ้านอนสี่ทุ่ม มันเหมือนกับว่านอนไม่หลับนะ กว่าจะหลับเนี่ยห้าทุ่ม หรือห้าทุ่มครึ่งหรือเที่ยงคืนอะไรแบบนั้น เพราะฉะนั้นเสียเวลาไปเปล่าๆบนที่นอนตอนพยายามจะหลับ หรือบางคนบอกว่าต้องตื่นตีสี่หรือตีห้าถึงจะดี มาสูดอากาศยามเช้า มันจะสดชื่น มันจะได้มีความรู้สึกเบิกบานแจ่มใส บางคนตื่นตีสี่ตีห้าก็ซึมเซาอยู่อย่างนั้นแหละ สิบปีพยายามก็ไม่มีอะไรดีขึ้น อันนี้เป็นเพราะว่านาฬิกาชีวะ หรือสิ่งที่ร่างกายมันรู้อยู่ของแต่ล่ะคนเนี่ยมันไม่เหมือนกัน มันไม่สามารถที่จะเอาอะไรมาวัดตายตัวได้
เช่นกันเวลาที่เราปฏิบัติธรรม เจริญสติแล้ว สามารถที่จะตื่นได้นานกว่าคนทั่วไป หรือว่านอนรู้สึกว่ามันไม่ได้หลับสนิทมันมีความรู้สึกอยู่ว่าตัวเองตื่นอยู่ข้างใน แต่ไม่ได้ขยับเคลื่นไหวนะ ไม่ได้ออกมาฟุ้งซ่าน ไม่ได้ออกมามีอาการที่จิตมันโฉ่งฉ่าง แต่จิตมันเงียบๆอยู่ มีความสบายมีความเบาอยู่ มีความสว่างอยู่ อันนั้นก็เป็นการหลับชนิดนึง เป็นการหลับเฉพาะตัวที่เกิดจากการเจริญสติ หรือฝึกจิตมาพักนึงจนกระทั่งจิตเขาเป็นแบบนั้น
มาตรวัดที่ดีว่าเรานอนหลับได้ดีหรือเปล่า ให้ดูตอนตื่นขึ้นมามันเต็มอิ่มไหม มันสามารถที่จะมาทำงานได้เหมือนปกติไหม แล้วที่จะบอกได้เลยว่าคุณเจริญสติมาได้อย่างดีเนี่ย ก็คือตื่นขึ้นมาแล้ว อยากจะนั่งสมาธิ อยากจะสวดมนต์ หรือไม่ต้องนั่งสมาธิสวดมนต์ก็ได้ แต่อยากจะคิดอะไรดีๆ จิตมันเป็นกุศล เนี่ยตัวนี้เป็นมาตรวัดที่สำคัญมากๆ เลย ร่างการมันพร้อมที่จะทำงาน ส่วนจิตก็พร้อมที่จะเป็นกุศล ถ้าหากว่าตื่นนอนขึ้นมา แล้วสภาพร่างกายกับสภาพของจิตเนี่ย มันเป็นไปในทางกุศล มันเป็นไปในทางบวกนะ ไม่ต้องกังวลเลย ต่อให้ไม่หลับทั้งคืน หลับไปแค่แปปเดียว หลับไปแค่ชั่วโมง สองชั่วโมง ก็ไม่ต้องกังวล
แต่ส่วนคนที่อาจจะนั่งสมาธิ แล้วรู้สึกว่าตาแข็งค้าง นอนไม่หลับในแบบที่ทรมาน ในแบบที่รู้สึกไม่ดี อันนี้มีวิธีแก้อยู่ง่ายๆ นะครับ อย่าเพิ่งนอน อย่าเพิ่งพยายามที่จะข่มตาให้หลับแต่ให้ลองทำหลายๆ อย่าง ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันนะ บางคนอาจจะเดินเล่นๆ กลับไปกลับมา อย่าตั้งใจว่าเราจะเดินจงกรม เราจะทำให้สติมันเกิดขึ้นเต็มตื่น หรือว่าจะทำให้สมาธิมันต่อเนื่องอะไรแบบนั้นนะ แค่ตั้งใจเดินเล่นๆ ดูเท้ากระทบไป แล้วดูว่าอาการทางกายเนี่ย มันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือว่าแย่ลง ถ้าหากว่ามันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น คือรู้สึกสบายๆ รู้สึกว่าไม่กังวล รู้สึกว่าไม่ตาแข็ง อันนั้นแสดงให้เห็นว่า คุณเหมาะกับการที่จะเจริญสติก่อนที่จะนอนได้นะครับ
ถ้าหากว่าพยายามเดินจงกรมแล้วรู้สึกว่ามันหงุดหงิด มันเครียด มันเกร็ง มันตึง มันไม่ชอบ ก็ไม่จำเป็นต้องฝืน อาจจะไปทำอย่างอื่น สำหรับมือใหม่เนี่ย ถ้ายังติดที่จะดูหนังดูทีวี อาจจะดูเล่นๆ ซักนิดนึง ดูคลิปวีดีโอสั้นๆ เพื่อให้มันเกิดความผ่อนคลายลงจากอาการเดิมที่นั่งสมาธิแล้วตาแข็ง ตาค้าง นะครับ จากนั้นอาจจะอ่านหนังสือ หรือสวดมนต์ หรือทำอะไรที่มันรู้สึกว่าหายกังวล หายจากสภาพที่มันแข็งทื่อ หรือว่ามีแต่อาการตึงๆอยู่นะฮะ พอมันคลายได้ทุกอย่างมันจะมีคำตอบของมัน
เวลาที่เราหลับ เราไม่ได้หลับลงด้วยอาการข่มให้หลับนะครับ เราหลับลงด้วยอาการที่ร่างกายมันเริ่มผ่อนคลาย จิตใจมันเริ่มสบาย แล้วก็ที่สำคัญที่สุด เราต้องไม่ไปพยายามที่จะกดตัวเองให้มันเกิดอะไรขึ้น คือถ้าเราไปพยายามสั่งให้ภาวะทางกาย หรือว่าภาวะทางจิตมันเป็นอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งนะ จำไว้เลยนะครับ นั่นคือศัตรูของการนอนหลับ ไม่ใช่มิตรของการนอนหลับนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น