ถาม : เวลามีเรื่องที่ตั้งใจ
อย่างเช่นตั้งใจอ่านหนังสือ แต่ก็มีความฟุ้งซ่านอยู่ตลอด มีวิธีรับมืออย่างไร
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/eD-BOozIXFg
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/eD-BOozIXFg
(ดังตฤณวิสัชนา Live # ๔ ทางเฟสบุ๊ก ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙)
ดังตฤณ :
จะชี้ให้ดูเป็นประเด็นนะ คือบางทีเนี่ย
เราเอาผลลัพธ์ของสาเหตุบางอย่างที่เราทำไว้ มาเป็นโจทย์ มาเป็นคำถาม อย่างกรณีเนี้ยก็คือว่า
พอเราตั้งใจที่จะทำอะไรแล้วมันเหมือนกับเคลื่อนไป ความตั้งใจมันเคลื่อนนะ
มันเหมือนกับมันไม่สามารถล็อคอยู่กับความตั้งใจเดิมได้ อย่างเช่น จะอ่านหนังสือ
มันชอบมีอะไรมารบกวน มันชอบมีอะไรมาดึงให้เราเขว แล้วเราก็ไปตามมันนะครับ
ประเด็นคืออย่างงี้นะ เราถามเกี่ยวกับเรื่องตรงนี้เนี่ย
มันเหมือนกับว่าตรงนี้คือประเด็นปัญหา หรือว่าเป็นสิ่งที่เราจะต้องแก้ไขที่จุดนี้ แต่จริงๆ ไม่ใช่นะ ฟังดีๆ นะครับ
อาการที่ใจของเราวอกแวกเนี่ย มันเป็นแค่ผลลัพธ์ของการสะสมนิสัยหลายๆ อย่าง
ไม่ใช่แค่เรื่องของความตั้งใจในการอ่านหนังสืออย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น เอาง่ายๆ เลยนะ
เวลาที่เราเหมือนกับฟุ้งซ่านหรือว่าเหงา สิ่งที่เราต้องการก็คือเพื่อนคุย
นึกออกไหม แล้วเวลาที่มีใครสักคนหนึ่ง
โดยเฉพาะเพื่อนสนิทที่รู้ใจมาคุยด้วย มันจะมีลักษณะบ่นออกอ่าว คือเข้าใจไหมว่าเราจะออกแนวที่ว่า ไม่มีโฟกัส
ไม่มีจุดหมายในการคุย
สมมติว่าเราพูดไปเรื่อยเปื่อยเรื่องหนึ่ง
แล้วเพื่อนเนี่ยพูดเรื่อยเปื่อยมาอีกเรื่องหนึ่ง
เราสามารถไปตามเขาได้ ออกอ่าวตามเขาไป
คือฉุดกันไป ลากกันไป
เข้าใจประเด็นนี้ไหม
เนี่ยตัวของจิตแบบนี้เนี่ย น้องนึกออกไหม
มันเหมือนกับว่าเราสามารถที่จะกระโดดจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องไหนๆ ก็ได้
เข้าใจไหม มันมาจากวิธีที่เราพูดคุย พอเราไม่มีโฟกัสกับการพูดคุย
เราก็จะไม่โฟกัสกับเรื่องอื่นๆ เหมือนกัน
อันนี้เรื่องหนึ่งนะ เรื่องการพูดคุย
อีกเรื่องหนึ่งคือ อันนี้เป็นประเด็นของคนทั่วไปเลยนะ
ไม่ใช่ประเด็นเฉพาะของคนใดคนหนึ่งนะ
ซึ่งกำลังฟุ้งกันเยอะเลย เยอะทีเดียวนะครับ แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ
เวลาที่เรารู้สึกไม่พอใจในตัวเอง เราจะไปสนใจเรื่องไม่ดีของคนอื่น นึกออกไหมเวลาคุยกับเพื่อนน่ะ คือพูดง่ายๆ
ว่าชอบเม้าท์ เกี่ยวกับเรื่องของคนอื่น
อันนี้ไม่ต้องกลัว ไม่มีใครเห็นหน้า ไม่มีใครรู้จักชื่อนะ
พี่เห็นอยู่คนเดียวนะ
คือที่จำเป็นต้องพูดขึ้นมา มันไม่ใช่เป็นเรี่องของเราแค่คนเดียว
แต่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ในยุคนี้ทีเดียว คือเวลาพูดถึงเรื่องไม่ดี
หรือเรื่องที่มันน่าเม้าท์ของคนอื่นน่ะ มันสบายใจ มันออกจากเรื่องของเรา
มันออกจากชีวิตของเรา มันไปสนใจไอ้เรื่องที่สนุกปาก คุยแล้วสนุกน่ะ
ซึ่งมันเป็นเรื่องของคนอื่นนะ
ตรงนี้เราอาจจะยังเชื่อมโยงไม่ได้ว่ามันเกี่ยวอะไรกับเวลาอ่านหนังสือแล้วมันมีอะไรมาเบี่ยงเบนไป
ชอบมีอะไรมาทำให้วอกแวก แต่จริงๆ
แล้วเนี่ยมันเกี่ยวโดยตรงเลยนะ คือมันจะสะสมเป็นนิสัยที่ทำให้เราเนี่ย
ไม่สนใจเรื่องของตัวเองที่ควรทำ แต่ไปสนใจเรื่องไร้สาระของคนอื่น คืออารมณ์แบบเนี้ยเป็นอารมณ์ประเภทที่ พูดชัดๆ พูดตรงๆ นะ เป็นอารมณ์แบบเหลวไหล
มันไม่ต้องการโฟกัสกับเรื่องจริงจัง ไม่ต้องการโฟกัสกับอะไรที่เป็นภาระของเราเอง
เวลาที่โฟกัสกับเรื่องที่เป็นภาระของเราเองเนี่ย มันไม่สนุกไง มันรู้สึกว่าต้องฝืนใจ อย่างน้องจะสังเกตได้นะ น้องจะไม่ชอบฝืนใจ พอรู้สึกว่าจะต้องสู้กับตัวเองเนี่ย
มันลำบากมาก มันเหมือนกับเราทำอะไรที่ไม่เคยชิน ถูกบังคับ
หรือว่าบังคับใจตัวเองเนี่ยมันยาก มันเต็มกลืน
เข้าใจใช่ไหม นี่แหละ
คราวนี้พอน้องเข้าใจถึงนิสัยหลายๆ อย่างที่มันสั่งสมมา แล้วทำให้ใจวอกแวก
ไม่สามารถที่จะโฟกัสอยู่กับการอ่านหนังสือได้
คราวนี้เราลองเปลี่ยนใหม่ เวลาพูดกับเพื่อน
ไม่ใช่ให้เลิกคบกับเพื่อนไปเลยนะ แต่ว่าถ้าคุยกับเพื่อนเนี่ย
ลองเอาเรื่องที่เราคุยกันคืนนี้ไปคุยให้เพื่อนฟัง บอกว่า เฮ้ยเป็นไหม
เป็นเหมือนฉันไหม
เวลาที่ตั้งใจจะทำอะไรที่น่าจะทำน่ะ มันเหมือนกับต้องต่อสู้
มันลำบากเหลือเกิน มันฝืนเหลือเกิน
แต่พอจะต้องคุยอะไร จะต้องเม้าท์เรื่องคนอื่น พูดถึงเรื่องไม่ดีของคนอื่น
มันรู้สึกง่าย มันรู้สึกสนุก
เนี่ยไอ้ตรงลักษณะอย่างนี้นะ มันเป็นการสะสมอกุศลจิตแบบหนึ่งนะ
คือเราจะติดใจกับไอ้การไปสนใจเรื่องเหลวไหล
พอจิตเนี่ยมันถูกทำให้โฟกัสกับเรื่องที่มันมีสาระที่มันจริงจัง
มันเลยไม่เต็มใจ จิตไม่ใช่ตัวเรานะ
อันเนี้ยน้องพอมองออกไหม อ่านธรรมชาติตัวเองออกไหม เรานึกว่าจิตเป็นตัวเรา แต่เราฝืนมันไม่ได้
เพราะว่าเราสั่งสมเหตุปัจจัยที่เป็นลบที่เป็นอกุศลไว้ในจิตจนกระทั่งจิตเนี่ยมันพยายามลากให้เราเสื่อม คือเวลาที่เราจะทำเรื่องที่เจริญน่ะ อย่างเช่น
การอ่านหนังสือเนี่ยมันเป็นส่วนหนึ่งของความเจริญในชีวิตนะ
พอเราจะทำเรื่องเจริญปุ๊บมันจะลากมันจะดึงเรา
น้องเคยรู้สึกไหม มันเหมือนกับมีใครอยู่ข้างในคอยยื้อคอยดึง
นั่นแหละไม่ใช่ผีที่ไหนนะ แต่เป็นอกุศลธรรมที่เราสั่งสมไว้เอง พอสั่งสมไว้มากๆ
เนี่ยเหมือนกับว่าเราสู้กับมันไม่ได้
เพราะว่าไอ้ตัวเราที่พยายามจะอ่านหนังสือเนี่ย
มันเป็นแค่ความตั้งใจใฝ่ดีแค่แป๊บเดียว
แต่ไอ้ที่มันพูดเรื่องฟุ้งซ่านอะไรต่างๆ มามากมายเนี่ย มันมีกำลังมากกว่า
เราใช้เวลากับมันมากกว่า เราให้เวลากับมันมากกว่า เราทุ่มชีวิตกับมันมากกว่า
เข้าใจประเด็นนะ
ทีนี้พอเพื่อนที่สนิทด้วยเนี่ย ลองคุยให้เขาฟังแบบนี้นะ
แล้วชวนกันใหม่ คือไม่ใช่ไม่ให้คุยกัน
โทรมาเนี่ยได้ คุยกัน เม้าท์กัน แต่ว่าตั้งประเด็นให้ชัดเจนว่าจะเม้าท์เรื่องอะไร สมมติว่าตอนแรกๆ เนี่ย อดไม่ได้
อดพูดถึงคนโน้นคนนี้ไม่ได้ก็ให้พูดถึง
แต่พูดเพื่อเอาอะไรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนนะว่าจะพูดแค่ประเด็นนี้
ถ้าจบเรื่องนั้นแล้วเปลี่ยนเรื่อง คือไม่ใช่แบบพูดไปเรื่อยๆ
นึกออกไหมความเคยชินของเราเวลาเม้าท์กับเพื่อนเนี่ย มันจะพูดไปเรื่อยๆ
ไม่มีประเด็น
คือขอให้ได้คุยกันแก้เหงาแก้เซ็ง
ทีนี้ถ้าเมื่อไหร่เราตกลงกันกับเพื่อน เพื่อนเราสนิทอยู่แล้ว
มันง่ายอยู่แล้ว ต่างคนต่างอยากจะเจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อยู่แล้วนะ ตกลงกันแบบนี้ว่าพูดต้องมีเป้า
แล้วต้องมีขอบเขตเวลา ถ้าทำแค่นี้ได้แค่สองสามวันนะ
แล้วกลับมาอ่านหนังสือ น้องจะพบความเปลี่ยนแปลง
คือเวลาที่เราอ่านหนังสือจะรู้สึกง่ายขึ้น
แล้วโฟกัสที่อยู่กับตัวหนังสือเนี่ยมันจะไม่วอกแวกง่ายเหมือนอย่างที่เคยๆ มานะ
ตรงนี้พอเราเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองจากการพูด
เราลองสังเกตเข้ามาที่วิธีที่เราคิดด้วย
เวลาเราคิดเนี่ย
ปกติเราจะคิดวนพอโฟกัสอะไรแป๊บหนึ่งแล้วมันจะออกไปเรื่องอื่นนะ
แล้วก็วนเวียนอยู่กับเรื่องอื่น
ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจจะทำอะไรดีๆ สักอย่าง ยกตัวอย่างนะ อันนี้แค่ยกตัวอย่าง
ไม่จำเป็นต้องทำตามก็ได้นะ
สมมติว่าเราอยากจะร้อยดอกไม้ให้พระ
แล้วตั้งใจว่าจะร้อยให้เสร็จในรวดเดียวเลยนะ คือร้อยให้สวยที่สุด ประณีตที่สุด
ด้วยใจที่มันงดงามที่สุด ให้เสร็จภายในรวดเดียว ไม่ไปทำอะไรอย่างอื่น คืออาจจะเป็นดอกไม้เล็กๆ นะ
คือไม่ใช่ต้องประดิดประดอยอะไรที่มันต้องใช้เวลามากๆ แต่ก็ไม่สั้นเกินไป คือมีเวลายาวพอที่โฟกัสของเราจะจับอยู่กับสิ่งนั้นจริงจังนะ
แต่ไม่นานเกินกระทั่งว่าลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำก็ไม่ได้
หรือว่าไปทำอย่างอื่นกิจธุระประจำวันไม่ได้เลยนะ
ถ้าหากว่าเราทำได้ครั้งหนึ่งเราจะมีความรู้สึกภูมิใจและมีความชื่นใจ เนื่องจากว่ามาลัยถวายพระเนี่ยเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกุศล
น้องนึกออกไหมเวลาเราได้กลิ่นหอมของมะลิ
หรือว่าเรานึกถึงภาพตัวเองเวลาจะเอาไปถวาย จะเป็นพระปฏิมาก็ตาม
หรือว่าจะไปใส่บาตรพระก็ตามเนี่ย มันรู้สึกดี มันรู้สึกดีมากๆนะ ตรงนั้นแหละที่รู้สึกชื่นใจที่รู้สึกดีมากๆ
เนี่ย เขาเรียกว่ากุศลจิต ซึ่งถ้าหากว่าน้องสะสมนะครับ
สะสมกุศลจิตนี้ไปในทางที่โฟกัสให้เสร็จภายในรวดเดียวจบเดียวนะ เราจะรู้สึกว่าจิตมีพลัง
มีความสามารถที่จะทะลุทะลวงผ่านอุปสรรค อย่างเช่นความขี้เกียจ ความฟุ้งซ่าน
ความเหม่อลอย หรือว่าความอยากจะไปพูดฟุ้งพูดเพ้อเจ้อนะ การที่เราได้ตัวอย่างได้แบบอย่างของกุศลจิตด้วยวิธีนี้นะ
จะทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการโฟกัสชนิดอื่นๆ ที่เหลือในชีวิต คือไม่ว่าเราจะตั้งใจทำอะไร
ถ้ามองออกแล้วว่ามันตั้งใจทำจริงๆ ให้เสร็จไม่วอกแวก แล้วก็ทำด้วยจิตที่มันเบิกบาน ที่มันดี
ไม่ใช่ฝืน ไม่ใช่กดดันตัวเอง ไม่ใช่ด่าตัวเองว่าทำไมทำไม่ได้
อย่างนี้ทุกอย่างมันจะสำเร็จ
จิตของน้องมันพร้อมจะเป็นกุศลอยู่แล้ว
เนี่ยรู้สึกไหมว่าใจมันรู้สึกสว่างขึ้น มันรู้สึกดีขึ้นนะ
ถึงแม้ว่าบางครั้งมันจะยังงงๆ อยู่นะ คือมันไม่ใช่งงคำพูดพี่นะ แต่มันงงๆ
จากการปรุงแต่งในหัวของเราเอง เพราะว่าในหัวของเรามันเหมือนกับมีการปรุงแต่งเกี่ยวกับเรื่องการพูดคุยแบบฟุ้งซ่านไว้เยอะนะ ถ้าหากว่าเอาจิตแบบนี้ไปตั้งใจฟังอะไรยาวๆ
เนี่ย มันจะเหมือนกับเบลอๆ ขึ้นมาเป็นพักๆ นะ มันจะวอกแวกขึ้นมาเป็นพักๆ
แต่ถ้าเมื่อไหร่เราสะสมกุศลจิตมากๆ เข้า แล้วก็มีโฟกัสมากๆ ขึ้น จิตจะมีกำลัง
แล้วก็เวลาฟังอะไรมันจะเคลียร์ตลอด มันจะเคลียร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้นจนจบนะ
ลองเอาไปทำตามดูนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น