วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

คาดหวังสูง หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่สมหวัง

ถาม : เป็นคนมุ่งมั่นคาดหวังสูง หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่สมหวัง ควรปรับมุมมองอย่างไร?
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/gP7OFKcLaw8
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก 

ถาม : ยังทำในรูปแบบอยู่ทุกวันค่ะ แล้วก็ไปนั่งนานขึ้น ถ้ามีเวลาก็ครึ่งชั่วโมง สี่สิบห้านาที แล้วก็ใช้คีย์เวิร์ด ที่พี่บอกว่า เห็นตามจริง ยอมรับตามจริง ก็ นั่งเหมือนที่นั่งเมื่อกี้อ่ะค่ะ

ดังตฤณ:  
เมื่อกี้ ก็ดีนะ แต่ว่า มันตั้งใจมากไปนิดนึง คือตั้งใจจะเล็งผลเลิศอ่ะ ขึ้นต้นมาเนี่ย เราไม่ได้สังเกต สิ่งที่กำลังปรากฏตามจริง แต่มันตั้งต้นมาด้วยการเล็งผลเลิศก่อน เข้าใจความแตกต่างไหม อย่าง อย่างตอนเนี้ย ถ้า รู้สึกถึงความรู้สึกว่ามันพยายามทบทวนอยู่ เนี่ย อันนี้คือเรียกว่าของจริง แต่ถ้าตอนเราจะนั่งสมาธิขึ้นมาเนี่ย เราคิดถึงภาวะที่มันดีก่อน คือไม่ได้คิดถึงภาวะที่มันกำลังปรากฏอยู่ตามจริง มันมีเจตนาตั้งขึ้นมา เข้าใจที่พี่พูดหรือเปล่า
เดี๋ยว..เข้าใจจริงๆ หรือเปล่า มองเห็นไหมถึงเจตนา 

ผู้ถาม : คือ คือไม่เห็นถึงเจตนา ก็รู้สึกสบายดีอย่างเนี้ยค่ะ เวลานั่งก็รู้สึกสบาย คือ..

ดังตฤณ:  
เรารู้สึกไหมว่า ในความสบายนั้นน่ะ มันมีความตั้งใจอยู่

ผู้ถาม : ตั้งใจที่จะดูลม

ดังตฤณ:  
ไม่ใช่ คือตั้งใจที่จะทำให้มันนิ่ง ตั้งใจที่จะทำให้มันมีความสงบดีๆ โอเค ไม่เป็นไร

คือถ้ามองไม่เห็นเนี่ย ลองไปสังเกตนะ คือของเราตอนที่มันสบายมันโอเคนะ มันรู้แต่ว่าความรู้สึกเหมือนกับพยายามที่จะให้มันนิ่งอ่ะ มันยังมีอยู่นิดนึง ซึ่งตรงนั้นถ้าเห็นได้ มันจะเป็นธรรมชาติมากขึ้น จิตมันจะกว้าง กว้างขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ 

คือ มันสบายจริง ไม่ใช่ไม่สบายนะ แต่ว่าในอาการสบายนั้นน่ะ มันคล้ายๆ พยายาม พยายามทำให้มันดีด้วย มันนิดนึง คือเอางี้ นั่งตรงนี้ เดี๋ยวพี่จะชี้ให้ดู นั่งเลย โอเค ไม่เป็นไร  ดูอาการเกร็งไป เดี๋ยวพี่จะชี้ให้ดู อย่างเนี้ยโอเคนะ อันเนี้ยคือการยอมรับว่ากำลังเกิดอารมณ์ที่มันเกร็งๆ ..เห็นไหม มันผ่อนคลายแล้ว แค่ยอมรับนะ

เดี๋ยวน้องลองไปดูนะ กลับไปดูเอง คือในอารมณ์ที่มันเห็นว่าอะไรเกิดขึ้นเนี่ย มันทำได้ แต่ว่าพอเรารู้สึกถึง เอาง่ายๆ ที่น้องบอกว่ามันรู้สึกเกร็ง แล้วเราปฏิเสธ แล้วรู้สึกว่าเราไม่อยากมีอารมณ์นี้เนี่ย นี่ก็คือ เป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาจากความคาดหวังว่าจะทำให้มันดี คือของน้องเนี่ย มันจะมีอารมณ์ตรงนี้เคลือบอยู่นะ 

ทีนี้มันต้องสังเกต ต้องอาศัยการสังเกต แล้วสิ่งที่จะทำให้เราเกิดข้อสังเกตได้เป็นอันดับแรกๆ เลย ก็คือว่ามันจะปฏิเสธภาวะที่ไม่ค่อยดี มันจะไม่ชอบที่มีอาการเกร็งหรือมีอาการที่มันฟุ้งซ่าน หรือมีอาการที่มันเป็นลบ เป็นไปในทางเน็กกาทีฟ (negative) ทีนี้พอเรารู้สึกได้ว่าสามารถจะเห็นทั้งอะไรที่มันเป็นเน็กกาทีฟแล้วก็ที่มันเป็น โพสซิทีฟ (positive) ได้ทั้งคู่ ใจเราจะปลอดโปร่งขึ้น ตรงนี้แหล่ะที่เราจะเริ่มเห็นว่า ความคาดหวัง ความเล็งผลเลิศเนี่ย มันน้อยลง 

คือบางทีไปจับตัวอารมณ์เล็งผลเลิศเนี่ยมันจะยากนิดนึง คือมันไม่ได้มีเป็นก้อนๆ ให้ดูง่ายๆ แต่มันมีให้ดูผ่านปฏิกิริยาบางอย่างของใจ หรือว่า เนี่ยอาการชอบหรือไม่ชอบ อาการชอบหรือชัง บางอย่าง ..อย่างนี้เรียกว่าคลาย แล้วพอคลายเนี่ย เราจะยอมรับได้ง่ายเลย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีความรู้สึกฝืนๆ อยู่นิดๆ มันจะไม่ถูกรู้และ มันจะถูกมองข้ามไป นั่นเป็นเพราะว่า เราตั้งเป้าแรกเนี่ย เราจะเอาแต่ดีกับดี คือมันเล็งผลเลิศ 

เข้าใจพอยท์
 (point) พี่นะ แต่ทีนี้มันอาจจะต้องกลับไปดูนิดนึง กลับไปสังเกตดู คือ พอยท์ของพี่คือว่า เราดูได้สบายจริง เราดูได้ดี แต่ว่าเรายังมีอารมณ์แบบเล็งผลเลิศอยู่นะ แค่นั้นเอง

ผู้ถาม : อีกเรื่องนึงก็คือเรื่องในชีวิตประจำวัน ก็รู้สึกว่ามีความรู้สึกตัวมากขึ้น เห็นอารมณ์ตัวเองชัดขึ้น แล้วก็รู้ว่าตัวเองขี้หงุดหงิดจริงๆ ด้วย แล้วก็ตอนที่เห็นแล้วก็ยอมรับอยู่กับอาการหงุดหงิด มันยาก 

ดังตฤณ:  
นั่นไง ทีนี้พอเห็นตรงนี้ไปเรื่อยๆ เนี่ย น้องจะค่อยๆ มองออกมากขึ้นเป็นเปราะๆ คือจากตอนแรกที่มันเห็นแค่อาการหงุดหงิด อาการไม่พอใจนะ มันจะเริ่มปรากฎเป็นทุกขเวทนา ที่ผุดขึ้นมา แล้วก็หายไป แล้วเราก็จะยอมรับๆๆ พอยอมรับไปมากๆ เข้าในอารมณ์ไม่พอใจเหล่านี้นะ ในที่สุดมันจะขุดเข้าไปถึงราก รากเริ่มต้นขึ้นมามัน มันเล็งแต่ว่าจะเอาแต่ดีกับดี คือถ้าไม่มีตัวเล็งตรงนี้ไว้ตั้งแต่ตอนต้น มันจะไม่หงุดหงิดง่าย มันจะเป็นคนที่สามารถยอมรับความไม่เพอร์เฟ็คของโลกได้มากขึ้นๆ 

พอยท์
มันคือตรงนี้นะ พอเราเจอ พูดง่ายๆว่าเจอปมตรงนี้ปุ๊บเนี่ย มันจะรู้สึกเอ่อ เหมือนกับหลุด เหมือนกับผ่อนคลาย เหมือนกับอะไรที่มันล็อคเราไว้มานานเนี่ย มัน มันปลดล็อคออก แต่ปลดล็อคแล้ว มันไม่ใช่จะปลดเลยนะ คือเดี๋ยวมันก็กลับมาล็อคใหม่ได้ เดี๋ยวก็ล็อค เดี๋ยวก็ปลด เดี๋ยวก็ล็อค  เดี๋ยวก็ปลด เราดูแค่ตรงนี้แหละ เวลาที่เรารู้สึกสบายจริงๆ มันจะโล่ง แล้วก็ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ถ้าหงุดหงิดง่าย ไม่ใช่เราไปปฏิเสธมัน คือหน้าที่ของเราต้องเห็น ว่าที่หงุดหงิดเนี่ย มันมีหงุดหงิดขึ้นมาวูบนึง พอเห็นแล้วเนี่ยมันก็หายไปจางไป แล้วเวลาฝึก น้องก็ฝึกอย่างนี้แหละ ตอนนั่งสมาธิตอนอะไรเนี่ย มันเริ่มจากการเห็น แล้วยอมรับตามจริงนะ
ผู้ถาม : พี่คะ แต่ว่าเวลาหงุดหงิดมันไม่แค่เป็นวูบๆ อ่ะค่ะ มันหงุดหงิดนานมาก
ดังตฤณ:  
เป็นก้อนๆ เป็นหนักๆ 

ผู้ถาม : แล้วเราต้องชนเลยไหมคะ เลยต้องแบบ ต้อง ตั้งชน ต้องนั่งดูไหมคะ

ดังตฤณ:
คือถ้าใช้อานาปานสติ คือฝึกอานาปานสติไป มันจะเป็น ตัวตั้งของสติที่ดีได้ เข้าใจไหม คือถ้าเราไม่มีหลัก ถ้าเราไม่มีกำลังที่จะเห็นความจริง แล้วก็ยอมรับความจริงเนี่ย มันจะสู้ไม่ไหว แต่ถ้าเราฝึกอย่างนี้ มันจะเหมือนกับได้ที่ตั้ง ได้ตัวตั้ง ได้หลักที่ยืนนะ มันจะรู้สึกว่ามีกำลังที่จะยอมรับความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ 

ถามว่าความสามารถในการยอมรับความจริงเนี่ย แต่ละคนมีน้อยหรือมาก บอกได้เลยนะ คนส่วนใหญ่มีความสามารถที่จะยอมรับความจริงน้อย

อย่างพี่เอง คือ ตอนแรกๆ ก่อนที่จะมาฝึก ก่อนที่จะเข้าใจพอยท์
ของการเจริญสติจริงๆเนี่ยนะ มันเป็นคนไม่ยอมรับอะไรเลย เป็นคนมีความไม่พอใจในตัวเองสูงมาก โน้นนิดนี่หน่อยนะ ในตัวก็ดี นอกตัวก็ดี สิ่งที่เป็นสิ่งแวดล้อมของเราอยู่แล้ว ดีอยู่แล้วเนี่ย บางทีมันเกิดความไม่พอใจ แค่ความไม่พอใจตัวเดียวเนี่ย มันทำให้มองชีวิตทั้งชีวิตเหมือนกับไม่ดีพอ แล้วก็จะไปพยายามแก้ไข ให้มันดีตามที่เราคิด ตามที่เราเข้าใจ ว่ามันน่าจะโอเคนะ เนี่ยพอแก้ไขไม่ได้ มันก็เกิดความทุกข์สะสมมากขึ้นๆ แล้วมันก็มีผลทางใจ ทำให้เราเป็นคนหงุดหงิดง่าย เป็นคนที่รู้สึกว่าอะไรนิดอะไรหน่อยเนี่ย มันสามารถทำให้เราเป็นทุกข์ได้มากมายนะ นอนไม่หลับได้ 

นี้พอเริ่มฝึก ที่จะยอมรับความจริงที่ทุกคนสามารถยอมรับได้หมด นั่นคือ หายใจเข้า หรือกำลังหายใจออกอยู่ แล้วพัฒนาสติขึ้นมาจากตรงนั้น จากความสามารถที่จะยอมรับว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก ความสามารถที่จะรู้ ว่าหายใจยาวหรือหายใจสั้นนะ มันจะค่อยๆสะสมกำลังที่จะเห็น แล้วก็มอง มองสิ่งที่กำลังขึ้นตามที่มันกำลังเป็นจริง เพราะว่าการเห็นลมหายใจเนี่ย คือการยอมรับตามจริงอย่างที่สุดเลยนะ
 


ผู้ถาม : ขออนุญาตถามคำถามสุดท้ายนะคะ ตอนที่นั่งอ่ะค่ะ ช่วงที่มันนิ่งไปแล้ว บางทีมันวูบ ก็คือยอมรับความเป็นจริงว่ามันวูบอย่างนั้นเหรอคะ คือ มันไม่ได้ง่วงน่ะคะ

ดังตฤณ:  
ใช่ คือพอยอมรับว่าวูบเนี่ย มันจะทำให้เข้าใจถึงกลไกลธรรมชาติของจิต เห็นว่า เนี่ย ขั้นตอนมันเป็นอย่างนี้ คือ มันจะต้องมีวูบบ้าง มีวูบๆ วาบๆ บ้าง

เข้าใจ อันนั้นหน่ะมันเป็นภวังค์ มันเป็นภวังค์สั้น ภวังค์มีอยู่สองแบบ นะ ภวังค์สั้นๆ ที่ทำให้รู้สึกวูบ วูบวาบแล้วก็กลับมาตั้งใหม่ได้ กับ ภวังค์อีกแบบคือวูบแล้วหายไปช่วงนึงเลยนะ เนี่ยมันมีอยู่สองแบบ คือเราแค่สังเกต ว่า ภวังค์มีอยู่สองแบบ เราเจอภวังค์สั้น เราก็เห็นว่ามันเป็นภวังค์สั้น

ผู้ถาม : แล้วคือ ยอมรับตามจริงเท่านั้น

ดังตฤณ:  
แค่ยอมรับว่า นั่นน่ะคือภวังค์สั้น มันจะได้เห็นไง ว่าจิต อ๋อ ธรรมชาติของจิตเค้าเป็นแบบนี้ บางทีก็มีอาการของสติอยู่ บางทีก็มีอาการวูบๆ วาบๆ ตกหลุมอากาศนะ พอเห็นอย่างนี้เนี่ย มัน แทนที่จะอยู่กับความคาดหวัง ว่าจิตมันจะมีแต่ดีกับดี มีสติอย่างเดียว มันก็จะเกิดความเห็นตามจริงว่า จิตเนี่ยต่อให้ฝึกมาแค่ไหนก็แล้วแต่ มันต้องมี
สติที่ตื่นขึ้นบ้าง แล้วก็มีตกหลุมอากาศบ้าง เป็นครั้งเป็นคราวนะ

ผู้ถาม : วูบตลอดเลยอะค่ะ วูบแบบมันไม่ได้ต่อเนื่องนะคะที่วูบ ถ้านั่งนานเนี่ยจะรู้ได้เลย หลังๆ คือช่วงนั่งไปสักพักหนึ่ง

ดังตฤณ:  
ก็มองไปว่ากำลังของจิตเราเนี่ย มันแบ่งไปทำภาระหน้าที่ในระหว่างวันนะ ยิ่งเราต้องรักษาคนไข้ ต้องอะไรต่อมิอะไรแล้ว มันมีความรู้สึกเหมือนกับเหนื่อยอ่อนนะ มันก็คือเหตุปัจจัยให้เกิดหลุมอากาศทั้งนั้นแหละ 
ทีนี้ถ้าเราไม่ไปคาดหวังว่า ยิ่งนั่งสมาธิไป ยิ่งเนียน ยิ่งดียิ่งคงเส้นคงวา แต่ เอ่อ ยิ่งนั่งไปเรายิ่งเห็นว่า ความจริงของจิตมันเป็นอย่างนี้ ร่างกายอ่อนเพลีย หรือว่าจิตมันฟุ้งซ่านในระหว่างวันมากไปในเรื่องการงานภาระอะไรต่างๆ เนี่ย มันก็ก่อให้เกิดหลุมอากาศขึ้นเป็นจังหวะๆ 

อย่างนี้เนี่ย เค้าเรียกว่าเราสามารถอยู่กับชีวิตตัวเองได้ด้วยปัญญานะ เห็นความไม่เที่ยง เห็นปัจจัยของความไม่เที่ยง แล้วมันจะเห็นสั่งสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกว่า เอ่อ สมาธิเนี่ย มันก็ดีนะ แต่ไม่ได้จำเป็นมากเท่ากับการตั้งมุมมองไว้อย่างถูกต้อง ถ้าหากว่าเราสามารถตั้งมุมมองไว้อย่างถูกต้อง สังเกตเห็น ความไม่เที่ยงได้จริง ๆ เนี่ย จิตมันจะเป็นยังไง เราพอใจได้หมด พอใจตรงการเห็น ไม่ใช่พอใจตรงที่มันดีกับดีนะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น