วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

จิตไม่จดจ่อกับงาน ส่งงานช้าเสมอจนเสียเครดิต

ถาม : ทั้งที่รู้ว่าต้องส่งงานหรือต้องทำงานให้สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่ทำไมจิตใจมันไม่ยอมจดจ่อกับงาน ต้องขยายเวลาส่งหรือเสียเครดิตเรื่องงานไปทุกครั้ง ควรจะแก้ไขอย่างไรดี ขอคำแนะนำด้วย

รับฟังทางยูทูบ
: https://youtu.be/jUj9rwq4MnM

(ดังตฤณวิสัชนา Live #ทางเฟสบุ๊ก ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙)


 ดังตฤณ: 

คุณไม่ได้เป็นคนเดียวนะ ตอนนี้คนเป็นกันเยอะเลย โรคนี้เนี่ยไม่รู้จะตั้งชื่อโรคนี้ว่ายังไง เออ..เอาเป็น "โรคไม่อยากเป็นคนดี" ไหม? เหมือนกับทำงานเสร็จทันกำหนด ส่งงานได้ตรงเวลา มันเป็นคนดีเกินไป ก็เลยพยศมันซะอย่างนั้นเอง

 คือจริงๆ แล้วจิตเนี่ยนะ บางทีถ้าคุณไปนึกว่าจิตเป็นตัวคุณเนี่ย จะพบว่ามันอธิบายอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้นะ อย่างเช่นรู้ทั้งรู้ว่าอะไรดีกับตัวเองแต่กลับไม่เอา รู้ทั้งรู้ว่าอะไรมันแย่ อะไรมันเป็นเรื่องเสียๆ หายๆ
 กลับเอาเข้าตัว มันเป็นอย่างนั้น จริงๆ แล้ว
จิตหรือว่าอาการทางใจของคนเรานะ มันไม่ใช่ตัวของเรานะ มันไม่ใช่สิ่งที่เราบังคับเอาได้ มันเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย

อย่างเช่นในกรณีนี้ มันเกิดขึ้นจาก
การสั่งสมความเคยชินว่า ถึงเวลาที่จะต้องทำงานสำคัญหรือว่าทำงานให้เสร็จ หรือว่าจะต้องส่งงานนะ ถ้าหากว่าคุณสั่งสมความเคยชินมาว่า ขอผลัดนิดนึง ขอผัดผ่อน หรือว่าจะให้โอกาสที่จะไปทำอะไรอย่างอื่นเล่น มีโรคแทรกซ้อน มีอาการอยากจะไปทำนู่นอยากจะไปทำนี่เกิดข้ออ้างว่าตรงนั้นสำคัญกว่า ทั้งๆ ที่ใจรู้อยู่นะว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเลย แต่ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างเฉยๆ หรือบางทีไม่ต้องอ้างอะไรทั้งสิ้นนะ นอนอย่างงั้นแหล่ะ นอนเฉยๆ แล้วก็บอกว่าฉันหมดอะไรตายอยาก ฉันยอมแพ้ ฉันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าอยากปล่อยให้มันเลยตามเลยไปอย่างนั้นแหละ

ความเคยชินชนิดนี้เนี่ยจริงๆ
 ถ้าพูดในเชิงจิตวิทยานะ ก็คือการขี้เกียจที่จะไปเผชิญหน้ากับความสำเร็จ เพราะว่าถ้ามันประสบความสำเร็จ หรือว่าชีวิตมันดีเกินไป อาจจะมีภาระหนักขึ้น อย่างในหนังสไปเดอร์แมนที่เค้าบอก อะไรนะ พลังพิเศษยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่อะไรประมาณนั้น (พลังที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง) คือบางทีความหวาดกลัว หรือว่าความระแวงที่จะไปเจอสิ่งแปลกใหม่ในชีวิตเนี่ย โดยเฉพาะชีวิตที่ประสบความสำเร็จเนี่ยนะ หลายคนไม่รู้ตัวนะ มันเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร คือคนเราเนี่ยพอมีความรับผิดชอบมากๆ มันกลัวว่าจะต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น คือพอประสบความสำเร็จ พอคนอื่นเห็นว่า เออ เรามีความรับผิดชอบดีเนี่ย มันกลัวจะต้องรับภาระหนักขึ้นกว่าเดิม

จริงๆแล้วถ้าเราเข้าใจจุดของตัวเองนะ  ธรรมชาติของมนุษย์คนนึงที่มันไม่อยากมีภาระ ที่มันไม่ชอบไปฝืนใจแบกภาระเนี่ยนะ เราจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ค่อนข้างดี คือเริ่มต้นขึ้นมานะ ดูสภาพจิตใจของตัวเองในตอนที่กำลังจะต้องทำงานให้เสร็จ หรือว่าส่งงานให้ทัน คุณจะมีความรู้สึกฝืนๆ มีความรู้สึกว่า เฮ้ย เดี๋ยวต้องเหนื่อยอีกละ เดี๋ยวต้องฝืนใจ ไม่เต็มใจ
คือคนเราไม่ชอบสภาพที่เราไม่เต็มใจทำนะ พอมีอะไรฝืนๆ ขึ้นมาปุ๊บเนี่ยมันตั้งท่าปฏิเสธ และถ้าทุกครั้งเรายอมตัวเอง ที่จะให้ปฏิเสธได้ ที่จะให้ขาดความรับผิดชอบ มันจะกลายเป็นเหมือนกับมีตัวตนอีกภาคนึงที่คอยปฏิเสธงาน คอยที่จะสั่งให้ตัวเองงอมืองอเท้า อยู่ในภาวะงอมืองอเท้า สั่งให้ตัวเองฟุ้งซ่านปั่นป่วนไปคิดถึงเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปคิดถึงเรื่องไม่สำคัญ ไปทำเรื่องไม่สำคัญก่อน จัดลำดับความสำคัญให้กับเรื่องไม่สำคัญก่อนงาน

พอเราเห็นนะว่าภาวะตรงนั้นมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่
มีทางเดียวคือบอกตัวเองว่า นี่ภาวะผีสิงมาอีกแล้วนะ ผีสิงเนี่ยในที่นี้มันไม่ใช่ผีอะไรอย่างอื่น ผีที่เป็นภาคหนึ่งของเรา ภาคทำร้ายตัวเองของเราเอง ที่มันคอยเสี้ยมหรือว่าคอยบงการให้ชีวิตของเรามันแย่ลง อยู่ในภาวะถดถอย หรือว่าอยู่ในภาวะจิตเสื่อม

ทุกครั้งที่เรารู้ตัวว่าเนี่ยไอ้ผีในตัวเราเนี่ย มันเริ่มที่จะปรากฏตัวขึ้นมานะ
ลองหายใจดูครั้งนึง หายใจยาวๆ สบายๆ ให้หัวมันโล่ง ให้ความรู้สึกเหมือนกะปฏิเสธงานเนี่ยมันหายไปชั่วคราว เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัว เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่ามีกำลังกลับขึ้นมาใหม่ มันมีโอกาสเล็กๆ แค่เสี้ยววินาทีที่คุณจะจัดการกับตัวเองได้ตรงนั้น ตอนที่รู้สึกหัวโล่ง รู้สึกว่าใจมันว่างๆ สบายๆ ขึ้นมา มีกำลังขึ้นมาใหม่นะ โปรแกรมตัวเองเลย สั่งตัวเองเดี๋ยวนั้นว่า เอาล่ะตรงนี้คือจุดที่เราจะพร้อมแล้วที่จะทำงาน ลงมือทำทันทีแบบไม่ต้องคิดอะไรมาก

คืออันนี้เป็นการสังเกตเข้ามาที่จิตของตัวเองง่ายๆ เลย แล้วถ้าความเคยชินที่จะสั่งให้ตัวเองลุยงานทันทีที่มีกำลังมากขึ้น หัวโล่ง หัวว่าง สบายขึ้นเนี่ยนะ พอมันเกิดความเป็นไปเองอัตโนมัติ ภาคที่เป็นผีในตัวเองที่มันจะคอยยื้อแย่ง คอยรังควาน หรือว่าคอยทำชีวิตของเราให้มันตกต่ำลงเนี่ย มันจะค่อยๆอ่อนกำลังลงภายในไม่กี่ครั้งนะครับ

อย่าคิดว่านี่เป็นเรื่องเล็กนะ นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก แล้วก็กำลังเกิดขึ้นกับหลายๆ คนนะ อย่าเข้าใจว่าคุณโดดเดี่ยวนะ เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว อาจจะเป็นเรื่องระดับโลกไปแล้วก็ได้ เพราะว่าไอ้โรคแกล้งตัวเองเนี่ยมันมีไปทั่วทุกหัวระแหง อะไรไม่ดีที่จะทำให้ชีวิตตัวเองรู้นะ..แต่ก็ทำ อะไรที่มันดี..รู้..แต่ไม่ทำ

ถ้าหากว่าเราสร้างความเคยชินใหม่โดยการสังเกตเข้ามาที่ตัวเองใช้วิธีง่ายๆ หายใจยาวๆ ให้เกิดความโล่ง ให้เกิดความสบาย ให้เกิดกำลังวังชา แล้วใช้จังหวะสั้นๆ นั้นแหละ ตอนที่เกิดกำลังวังชานั้นน่ะ
โปรแกรมตัวเองใหม่เลย ลุยทันที ไม่คิดอะไรมาก ไม่นึกถึงอะไรอื่นทั้งสิ้น ตั้งหน้าตั้งตาทำให้จบ ม้วนเดียวจบได้ยิ่งดี พอเกิดความเคยชินแล้วประสบความสำเร็จเพียงแค่ครั้งสองครั้ง ชีวิตที่เหลือนี่ต่างไปเลยนะ คุณจะเข้าใจอะไรไปอีกแบบนึงเลย จะไม่มองด้วยว่าจิตเนี่ยเป็นตัวของคุณที่คุณบงการมันได้ แต่จะเห็นว่าจิตเป็นสิ่งที่รอการปรุงแต่ง ขึ้นอยู่กับคุณไปปรุงแต่งอะไรกับมัน ให้มันเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากว่าปรุงแต่งในแบบที่มันจะมีความสว่าง มีความเป็นกุศล มันก็เจริญงอกงาม แต่ถ้าไปสร้างความเคยชิน ไปยอมมัน ให้มันตกต่ำ พระพุทธเจ้าบอกนะ ธรรมชาติของจิตมันไหลลงต่ำเหมือนกับน้ำ ถ้าเรายอมมันครั้งสองครั้ง มันมีครั้งที่สิบ ครั้งที่ยี่สิบแน่นอน

อันนี้สรุปก็คือ สวนกระแสซะ สร้างความเคยชินใหม่นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น