ถาม : อยากทราบว่าการได้ญาณต่างๆ เช่น ญาณ ๓ ญาณ ๑๖ รวมไปถึงอริยบุคคลต่างๆจะเป็นโสดาบันก็ดี สกทาคามีก็ดี อนาคามีก็ดีและพระอรหันต์ เราใช้สิ่งใดในการวัดและบ่งชี้? และเราสามารถรู้ได้หรือไม่ว่า พระรูปใดเป็นพระอรหันต์?
ดังตฤณ :
การที่เราจะทราบได้ว่าใครเป็นใครนี่ ดูได้จากภายนอกนะครับ เวลาที่เราเห็นพระอยู่ในสมณสารูปดี สงบสำรวมดี แล้วก็มีความผ่องใสอันนั้น ก็เป็นความประทับใจในเบื้องต้น ที่เราสามารถบอกได้คร่าวๆว่า พระรูปนี้น่าจะมีความสงบ พระรูปนี้น่าจะมีความผ่องใส คือความสงบกับความผ่องใสบางทีมันไม่ได้มาด้วยกันนะครับ เพราะถ้าสงบแล้วบางทีอึดอัดก็มี เคร่งเครียดก็มี หรือว่าฝืนทนห้ามใจ แบบเหมือนกับมีความรู้สึกจุกอกอยู่ก็มีนะครับ แต่ถ้าหากว่าสงบด้วยผ่องใสด้วยยิ้มแย้มแจ่มใส และเห็นกี่ทีกี่ทีกี่ปีผ่านไป ก็ยังมีความผ่องใสอยู่อย่างนั้น อันนั้นเราก็คงจะยังไม่ต้องไปรู้หรอกว่า ท่านได้ขั้นไหนแต่ว่า เราบอกได้อย่างหนึ่งว่า ท่านเป็นของจริง เพราะของจริงจะไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ ไม่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
แล้วก็อริยบุคคลในพุทธศาสนาก็จะมีความผ่องใสแบบหนึ่งที่เราจะจำได้ เราจะรู้สึกถึงความโปร่ง เราจะรู้สึกถึงความเบา เราจะรู้สึกถึงความสบายใจเมื่ออยู่ใกล้ แล้วก็จะมีเหตุการณ์จะมีสถานการณ์ยั่วยุแค่ไหน ท่านก็จะไม่แสดงออกถึง ความสูงบ้าง ต่ำบ้าง หน้าหมองบ้าง หน้าใสบ้างอะไรแบบนี้
ในพระคัมภีร์นะครับ ท่านจะระบุไว้ว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีขนตกอย่างยิ่งหมายความว่า คือไม่มีอะไรขนลุกขนชันขึ้นมาได้อีก ไม่มีการตื่นตระหนก ไม่มีอาการหวาดกลัว เพราะว่าจิตของท่านเป็นอิสระมีความพ้นไปจากอุปาทานแล้วว่ากายใจนี้เป็นตัวเป็นตน แล้วก็สิ่งที่เนื่องด้วยกายใจนี้ สภาวะแวดล้อมทั้งหลายที่เข้ามากระทบกระทั่งนะครับ ก็ไม่ใช่เป็นอะไรที่เกี่ยวเนื่องด้วยตัวตนเช่นกัน ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเหตุปัจจัย ประชุมรวมกันหลอกเป็นครั้งๆว่าเกิดอะไรขึ้น แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวตนเลยสักอย่าง ถ้าหากว่าเป็นพระอรหันต์จริง จิตท่านพ้นไป
ส่วนพระอนาคามีก็จะดูยากขึ้นนิดนึง เพราะบางทีท่านก็ยังมีตัวตนอยู่ คือถึงแม้ว่าจะไม่มีราคะแล้ว จะไม่มีโทสะ คือไม่มีการกระทบกระทั่งทางใจ ไม่มีอาการเป็นฟืนเป็นไฟทางจิตใจขึ้นมา แต่ท่านก็ยังมีความรู้สึกในตัวตน ยังมีทิฐิมานะ ยังมีความรู้สึกนั่นเขานี่เรา เทียบเคียงกัน เปรียบเทียบกันอยู่นะครับ อาจจะมีความห่วงเรื่องของตัวตนได้ ส่วนพระโสดาบันกับพระสกทาคามี จะดูยาก เพราะว่าท่านยังมีราคะโทสะโมหะครบ เหมือนกับคนธรรมดาทั้งหลายนะครับ
ถ้าหากว่าเราจะไปเปรียบเทียบดูว่าพระอริยบุคคลมีความแตกต่างกับปุถุชนอย่างไร มันมีวิธีเดียวที่จะเป็นไปได้ก็คือเราต้องเข้าใจว่าสภาวะจิตแบบพระโสดาบันหรือ พระสกทาคามีเป็นอย่างไรก่อนนะครับ แล้วกระแสแบบเดียวกันกับที่เราเข้าไปถึงนี่ เราถึงจะไปเทียบวัดเทียบเคียงว่าคนโน้นคนนี้น่าจะใช่ได้หรือเปล่า แต่ถ้าหากว่าเราสนใจแค่ภายในของตัวเราอย่างเดียวคือ มีการบรรลุโสดาหรือว่าบรรลุสกทาคาโดยไม่สนใจจิตของคนอื่น หรือว่าสภาวะของคนอื่นเลย ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
ดังนั้นสรุปก็คือ ถ้าจะเอาแค่เป็นบุคคลธรรมดา ต่อให้มีความรู้มีการศึกษาว่าญาณขั้นนั้นขั้นนี้ หมายความว่าอย่างไร เข้าถึงกันท่าไหนอะไรต่างๆไม่มีประโยชน์เลย คือมันไม่มีกระแสให้เกิดความหมายรู้หมายจำได้ว่ากระแสแบบนั้นๆ กระแสแบบหนึ่งๆนี่ เป็นกระแสแบบปุถุชนธรรมดาหรือกระแสของกัลยาณชนที่เริ่มปฏิบัติเจริญสติมา หรือเป็นกระแสของท่านผู้เข้าถึงพระนิพพานได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์แล้ว มันไม่มีทางทราบได้เลยนะครับ
แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ จะญาณ ๓ ญาณ ๑๖ อะไรต่างๆนี่นะครับ เป็นเรื่องที่มีการบัญญัติขึ้นในชั้นหลังนะครับ จริงๆแล้วต้นเขามาจากปฏิสัมภิทามรรค อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ ลองไปดูนะครับ ญาณมีเยอะกว่านั้นเยอะนะครับ ท่านลำดับชัดเจนว่าแม้แต่การที่เรามีปัญญาอันเกิดจากการฟัง หรือมีปัญญาอันเกิดจากการใช้จินตนาการ ครุ่นคิดหรือว่านึกถึงสิ่งที่พระท่านสอน อย่างนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นญาณชนิดหนึ่งได้
แล้วญาณที่ท่านบัญญัติไว้ในปฏิสัมภิทามรรคนี่ ไม่มีการเรียงลำดับนะครับ มีแต่ว่าจะบอกว่าญาณประเภทใดที่จะมีนิยามตามที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้แบบไหน หรือว่าญาณแบบไหนที่เป็นญาณเฉพาะสำหรับพระพุทธเจ้า ก็จะมีการแบ่งแยกไว้ชัดเจนนะครับ คือจะไม่มีการเรียงลำดับกัน
แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ เป็นเหมือนกับลำดับแบบคร่าวๆหลักๆนะครับว่า ถ้าหากว่ามีทุกข์แล้ว ตัวทุกข์นั้นมันจะนำไปสู่การเหมือนกับว่าหาทางออก แล้วที่นี้ถ้าหากว่าพบพระพุทธศาสนา ก็จะเกิดศรัทธามีการเพียรพยายามเพื่อให้พ้นทุกข์ แล้วถ้าหากว่าเกิดศรัทธาแล้วก็นำไปสู่การถือศีล การถือศีลนำไปสู่การที่มีสมาธิคือหมายความว่า ศีลเป็นเหตุให้มีความสามารถในการที่จะทำให้จิตตั้งมั่น แล้วความที่จิตตั้งมั่นนั้นก็จะเป็นความสามารถเห็นอะไรได้ตามจริง เพราะว่าเห็นตามจริงก็เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีนะครับ แล้วก็นำไปสู่การเข้าถึงวิมุตคือความหลุดพ้นในที่สุดนะครับ
ลักษณะการบอกตามลำดับอย่างนี้ คือมันชัดเจนและเข้าใจได้จริง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ถ้ามีสติถ้ามีสัมปชัญญะนะครับ รู้เห็นตามจริงว่ากายนี้ใจนี้มันไม่เที่ยง มันก็เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีขึ้นมา แหนงหน่ายอะไร? คลายความยินดีจากอะไร? ก็จากกายจากใจนี้แหละ แล้วท่านให้ปฏิบัติมาเรียงตามลำดับเลยจากหยาบถึงไปถึงประณีตนะครับ ก็เริ่มต้นนับตั้งแต่ลมหายใจที่ดูง่ายๆ อิริยาบถ แล้วก็มาถึงความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ อึดอัดสบายหรือว่าจิตมันสงบหรือว่าฟุ้งซ่านอยู่ ท่านบอกมาตามลำดับแล้วปฏิบัติตามได้จริง
อันนี้ถ้าเรามีการย้อนกลับไปศึกษานะครับ แล้วก็ไม่มาครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องญาณขั้นนั้นขั้นนี้ไปถึงขั้นไหนแล้ว เรียงลำดับกันอย่างไรนะครับ บางทีก็มานั่งเถียงกันอยู่นั้นแหละนะครับว่า ญาณชื่อนั้นชื่อนี้นี่จะต้องมีสภาพเป็นอย่างไร ประสบการณ์ตรงจะทำให้รู้สึกกันท่าไหน บางทีก็ถึงขั้นที่ไปโมเมสรุปเลยนะว่า ถ้าได้วิปัสสนาญาณจริงนี่จะต้องระลึกชาติได้ก่อน แค่ญาณขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ อะไรก็สามารถระลึกชาติได้แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสไว้อย่างนั้นเลยนะครับ วิปัสสนาญาณไม่เกี่ยวกับการระลึกชาติ แต่ถ้าหากว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนาไปนี่ มีความรู้ความเห็นลึกซึ้งเข้าไปรูป เรื่องของรูปเรื่องของนามจริงๆนะครับ แล้วก็มีสมาธิขั้นสูงสามารถจะต่อยอดเป็นอภิญญาระลึกชาติได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าได้ญาณขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วหมายความว่าจะระลึกชาติได้ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้นะครับ ถ้าหากว่าศึกษาย้อนกลับไปศึกษาในพระไตรปิฎกจริงๆจะพบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้เช่นนั้นเลยนะครับ
ก็อยากจะสรุปว่า ในการศึกษาเรื่องแม้แต่ขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธินี่ แต่ก่อนผมก็สนใจมากเลยนะว่าผมถึงขั้นไหนแล้ว แล้วก็ฟุ้งซ่าน วนเวียนอยู่แต่กับว่าเรื่องถึงขั้นไหน ถึงขั้นไหนนั่นแหละ จนกระทั่งจิตไม่เป็นอันจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ควรจะจดจ่อ ไปหมกมุ่นครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องของขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วก็เดี๋ยววางแผนเลยว่าพรุ่งนี้จะให้ได้ถึงขั้นไหนนะครับ มันกลายเป็นความฟุ้งซ่านไปในการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การที่เราจะมาจูนจิตให้ตรงกับความจริง สามารถยอมรับความจริง สามารถเห็นความจริง และเกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีไปได้ เอาล่ะก็พูดยาวนิดหนึ่ง
การที่เราจะทราบได้ว่าใครเป็นใครนี่ ดูได้จากภายนอกนะครับ เวลาที่เราเห็นพระอยู่ในสมณสารูปดี สงบสำรวมดี แล้วก็มีความผ่องใสอันนั้น ก็เป็นความประทับใจในเบื้องต้น ที่เราสามารถบอกได้คร่าวๆว่า พระรูปนี้น่าจะมีความสงบ พระรูปนี้น่าจะมีความผ่องใส คือความสงบกับความผ่องใสบางทีมันไม่ได้มาด้วยกันนะครับ เพราะถ้าสงบแล้วบางทีอึดอัดก็มี เคร่งเครียดก็มี หรือว่าฝืนทนห้ามใจ แบบเหมือนกับมีความรู้สึกจุกอกอยู่ก็มีนะครับ แต่ถ้าหากว่าสงบด้วยผ่องใสด้วยยิ้มแย้มแจ่มใส และเห็นกี่ทีกี่ทีกี่ปีผ่านไป ก็ยังมีความผ่องใสอยู่อย่างนั้น อันนั้นเราก็คงจะยังไม่ต้องไปรู้หรอกว่า ท่านได้ขั้นไหนแต่ว่า เราบอกได้อย่างหนึ่งว่า ท่านเป็นของจริง เพราะของจริงจะไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ ไม่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
แล้วก็อริยบุคคลในพุทธศาสนาก็จะมีความผ่องใสแบบหนึ่งที่เราจะจำได้ เราจะรู้สึกถึงความโปร่ง เราจะรู้สึกถึงความเบา เราจะรู้สึกถึงความสบายใจเมื่ออยู่ใกล้ แล้วก็จะมีเหตุการณ์จะมีสถานการณ์ยั่วยุแค่ไหน ท่านก็จะไม่แสดงออกถึง ความสูงบ้าง ต่ำบ้าง หน้าหมองบ้าง หน้าใสบ้างอะไรแบบนี้
ในพระคัมภีร์นะครับ ท่านจะระบุไว้ว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีขนตกอย่างยิ่งหมายความว่า คือไม่มีอะไรขนลุกขนชันขึ้นมาได้อีก ไม่มีการตื่นตระหนก ไม่มีอาการหวาดกลัว เพราะว่าจิตของท่านเป็นอิสระมีความพ้นไปจากอุปาทานแล้วว่ากายใจนี้เป็นตัวเป็นตน แล้วก็สิ่งที่เนื่องด้วยกายใจนี้ สภาวะแวดล้อมทั้งหลายที่เข้ามากระทบกระทั่งนะครับ ก็ไม่ใช่เป็นอะไรที่เกี่ยวเนื่องด้วยตัวตนเช่นกัน ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเหตุปัจจัย ประชุมรวมกันหลอกเป็นครั้งๆว่าเกิดอะไรขึ้น แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวตนเลยสักอย่าง ถ้าหากว่าเป็นพระอรหันต์จริง จิตท่านพ้นไป
ส่วนพระอนาคามีก็จะดูยากขึ้นนิดนึง เพราะบางทีท่านก็ยังมีตัวตนอยู่ คือถึงแม้ว่าจะไม่มีราคะแล้ว จะไม่มีโทสะ คือไม่มีการกระทบกระทั่งทางใจ ไม่มีอาการเป็นฟืนเป็นไฟทางจิตใจขึ้นมา แต่ท่านก็ยังมีความรู้สึกในตัวตน ยังมีทิฐิมานะ ยังมีความรู้สึกนั่นเขานี่เรา เทียบเคียงกัน เปรียบเทียบกันอยู่นะครับ อาจจะมีความห่วงเรื่องของตัวตนได้ ส่วนพระโสดาบันกับพระสกทาคามี จะดูยาก เพราะว่าท่านยังมีราคะโทสะโมหะครบ เหมือนกับคนธรรมดาทั้งหลายนะครับ
ถ้าหากว่าเราจะไปเปรียบเทียบดูว่าพระอริยบุคคลมีความแตกต่างกับปุถุชนอย่างไร มันมีวิธีเดียวที่จะเป็นไปได้ก็คือเราต้องเข้าใจว่าสภาวะจิตแบบพระโสดาบันหรือ พระสกทาคามีเป็นอย่างไรก่อนนะครับ แล้วกระแสแบบเดียวกันกับที่เราเข้าไปถึงนี่ เราถึงจะไปเทียบวัดเทียบเคียงว่าคนโน้นคนนี้น่าจะใช่ได้หรือเปล่า แต่ถ้าหากว่าเราสนใจแค่ภายในของตัวเราอย่างเดียวคือ มีการบรรลุโสดาหรือว่าบรรลุสกทาคาโดยไม่สนใจจิตของคนอื่น หรือว่าสภาวะของคนอื่นเลย ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
ดังนั้นสรุปก็คือ ถ้าจะเอาแค่เป็นบุคคลธรรมดา ต่อให้มีความรู้มีการศึกษาว่าญาณขั้นนั้นขั้นนี้ หมายความว่าอย่างไร เข้าถึงกันท่าไหนอะไรต่างๆไม่มีประโยชน์เลย คือมันไม่มีกระแสให้เกิดความหมายรู้หมายจำได้ว่ากระแสแบบนั้นๆ กระแสแบบหนึ่งๆนี่ เป็นกระแสแบบปุถุชนธรรมดาหรือกระแสของกัลยาณชนที่เริ่มปฏิบัติเจริญสติมา หรือเป็นกระแสของท่านผู้เข้าถึงพระนิพพานได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์แล้ว มันไม่มีทางทราบได้เลยนะครับ
แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ จะญาณ ๓ ญาณ ๑๖ อะไรต่างๆนี่นะครับ เป็นเรื่องที่มีการบัญญัติขึ้นในชั้นหลังนะครับ จริงๆแล้วต้นเขามาจากปฏิสัมภิทามรรค อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ ลองไปดูนะครับ ญาณมีเยอะกว่านั้นเยอะนะครับ ท่านลำดับชัดเจนว่าแม้แต่การที่เรามีปัญญาอันเกิดจากการฟัง หรือมีปัญญาอันเกิดจากการใช้จินตนาการ ครุ่นคิดหรือว่านึกถึงสิ่งที่พระท่านสอน อย่างนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นญาณชนิดหนึ่งได้
แล้วญาณที่ท่านบัญญัติไว้ในปฏิสัมภิทามรรคนี่ ไม่มีการเรียงลำดับนะครับ มีแต่ว่าจะบอกว่าญาณประเภทใดที่จะมีนิยามตามที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้แบบไหน หรือว่าญาณแบบไหนที่เป็นญาณเฉพาะสำหรับพระพุทธเจ้า ก็จะมีการแบ่งแยกไว้ชัดเจนนะครับ คือจะไม่มีการเรียงลำดับกัน
แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ เป็นเหมือนกับลำดับแบบคร่าวๆหลักๆนะครับว่า ถ้าหากว่ามีทุกข์แล้ว ตัวทุกข์นั้นมันจะนำไปสู่การเหมือนกับว่าหาทางออก แล้วที่นี้ถ้าหากว่าพบพระพุทธศาสนา ก็จะเกิดศรัทธามีการเพียรพยายามเพื่อให้พ้นทุกข์ แล้วถ้าหากว่าเกิดศรัทธาแล้วก็นำไปสู่การถือศีล การถือศีลนำไปสู่การที่มีสมาธิคือหมายความว่า ศีลเป็นเหตุให้มีความสามารถในการที่จะทำให้จิตตั้งมั่น แล้วความที่จิตตั้งมั่นนั้นก็จะเป็นความสามารถเห็นอะไรได้ตามจริง เพราะว่าเห็นตามจริงก็เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีนะครับ แล้วก็นำไปสู่การเข้าถึงวิมุตคือความหลุดพ้นในที่สุดนะครับ
ลักษณะการบอกตามลำดับอย่างนี้ คือมันชัดเจนและเข้าใจได้จริง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ถ้ามีสติถ้ามีสัมปชัญญะนะครับ รู้เห็นตามจริงว่ากายนี้ใจนี้มันไม่เที่ยง มันก็เกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีขึ้นมา แหนงหน่ายอะไร? คลายความยินดีจากอะไร? ก็จากกายจากใจนี้แหละ แล้วท่านให้ปฏิบัติมาเรียงตามลำดับเลยจากหยาบถึงไปถึงประณีตนะครับ ก็เริ่มต้นนับตั้งแต่ลมหายใจที่ดูง่ายๆ อิริยาบถ แล้วก็มาถึงความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ อึดอัดสบายหรือว่าจิตมันสงบหรือว่าฟุ้งซ่านอยู่ ท่านบอกมาตามลำดับแล้วปฏิบัติตามได้จริง
อันนี้ถ้าเรามีการย้อนกลับไปศึกษานะครับ แล้วก็ไม่มาครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องญาณขั้นนั้นขั้นนี้ไปถึงขั้นไหนแล้ว เรียงลำดับกันอย่างไรนะครับ บางทีก็มานั่งเถียงกันอยู่นั้นแหละนะครับว่า ญาณชื่อนั้นชื่อนี้นี่จะต้องมีสภาพเป็นอย่างไร ประสบการณ์ตรงจะทำให้รู้สึกกันท่าไหน บางทีก็ถึงขั้นที่ไปโมเมสรุปเลยนะว่า ถ้าได้วิปัสสนาญาณจริงนี่จะต้องระลึกชาติได้ก่อน แค่ญาณขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ อะไรก็สามารถระลึกชาติได้แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสไว้อย่างนั้นเลยนะครับ วิปัสสนาญาณไม่เกี่ยวกับการระลึกชาติ แต่ถ้าหากว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนาไปนี่ มีความรู้ความเห็นลึกซึ้งเข้าไปรูป เรื่องของรูปเรื่องของนามจริงๆนะครับ แล้วก็มีสมาธิขั้นสูงสามารถจะต่อยอดเป็นอภิญญาระลึกชาติได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าได้ญาณขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วหมายความว่าจะระลึกชาติได้ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้นะครับ ถ้าหากว่าศึกษาย้อนกลับไปศึกษาในพระไตรปิฎกจริงๆจะพบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้เช่นนั้นเลยนะครับ
ก็อยากจะสรุปว่า ในการศึกษาเรื่องแม้แต่ขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธินี่ แต่ก่อนผมก็สนใจมากเลยนะว่าผมถึงขั้นไหนแล้ว แล้วก็ฟุ้งซ่าน วนเวียนอยู่แต่กับว่าเรื่องถึงขั้นไหน ถึงขั้นไหนนั่นแหละ จนกระทั่งจิตไม่เป็นอันจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ควรจะจดจ่อ ไปหมกมุ่นครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องของขั้นโน้นขั้นนี้ แล้วก็เดี๋ยววางแผนเลยว่าพรุ่งนี้จะให้ได้ถึงขั้นไหนนะครับ มันกลายเป็นความฟุ้งซ่านไปในการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การที่เราจะมาจูนจิตให้ตรงกับความจริง สามารถยอมรับความจริง สามารถเห็นความจริง และเกิดความแหนงหน่ายคลายความยินดีไปได้ เอาล่ะก็พูดยาวนิดหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น