ถาม : เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์จะเกร็งและระวังสติมาก
หรือเวลาอยู่สถานที่สัปปายะก็เช่นกัน
คำถามคือไม่มีอุบายเทคนิคใดที่จะเพิ่มกำลังสติในขณะอยู่บ้านหรือที่คุ้นชิน
นอกเสียจากการทำใช่มั้ย?
รับฟังทางยูทูป : http://youtu.be/nrraupXNino
ดังตฤณ:
► จัดบ้านให้มีความใกล้เคียงกับ ‘เรือนว่าง’
•
การที่จะอยู่บ้านแล้วให้มี ความสังวรระวัง
ได้เท่ากับแหล่งปฏิบัติที่ เอาไว้ให้ประพฤติพรหมจรรย์
ยังไงก็ไม่เหมือนกัน
เพราะว่าอยู่บ้าน
เดี๋ยวก็ได้ยินเสียงข้างบ้านแล้ ว
เดี๋ยวก็ได้ยินเสียงทีวีแล้ว
เดี๋ยวก็ได้ยินเสียงคนที่คุ้ นเคย
•
ที่จะทำให้ ‘สถานที่ของเรา’ ให้เป็นสถานที่ที่
:
มี ‘ความวิเวก’ พอสมควร
:
มี ‘ความสัปปายะ’ พอสมควรเท่าที่จะเป็นไปได้
ก็คือจัดสถานที่ให้มันมี ความใกล้เคียงกับ
‘เรือนว่าง’
•
พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสนะ
ว่าเพื่อที่จะให้เกิดการเริ่มต้ นได้อย่างมีความวิเวก
ท่านแนะนำให้เข้าไปสู่โคนไม้
เข้าไปสู่เรือนว่าง
เข้าไปสู่ช่องเขาที่ไม่มีผู้คน
ก็จะได้เป็นที่สำราญแก่การนั่ งสมาธิ
การเจริญอานาปานสติอะไรแบบนี้
•
ถ้าเราจะเลียนแบบก็คือ
:
ทำให้ห้องของเรามันไม่มีอะไร
:
ห้องของเรามันไม่มีเครื่องเตื อน
:
ไม่มีสัญลักษณ์ของสิ่งที่จะล่ อใจ
ให้เข้าไปติดกับกับความบันเทิง
หรือว่าความหมกหมุ่นแบบโลกๆมาก
นี่เป็นอุบายที่ง่ายที่สุด
!
แล้วก็ชัดเจนที่สุด
!
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
► มีวินัยภาวนาต่อเนื่องให้ได้สั กประมาณ
๒ เดือน
•
จากนั้นก็คือ ..สำคัญนะ
เราจัดการภายนอกแล้วต้องจั ดการกับภายใน
คือต้องมี
‘วินัย’ ที่ชัดเจน ว่าเวลาช่วงนั้นช่วงนี้
เราจะดิ่งตรงมาปฏิบัติภาวนา
เดินจงกรม นั่งสมาธิทันที
•
อันนี้ร่างกายกับจิ ตใจของเรานะมันคล้ายๆกับหุ่ นยนต์
คือถ้าหากว่ามีโปรแกรมป้ อนการทำงานที่สม่ำเสมอให้มันแล้ ว
มันจะเกิดการเรียนรู้นะครับ
คือเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถจั ดโปรแกรมได้
ว่าเวลาเท่านั้นเท่านี้
ปฏิกิริยาทางกายมันจะพร้อมที่ จะทำงาน
พร้อมที่จะเข้าสู่ โหมดของการภาวนา
โหมดของการเจริญสตินะ
มันจะรู้สึกขึ้นมาเลยว่าเวลาช่ วงนี้เนี่ยต้องมาแล้ว
ไม่สามารถที่จะไปทำอย่างอื่นได้
!
•
ถ้าหากว่าเรามีวินัยต่อเนื่ องไปสักประมาณ ๒ เดือน
ที่บ้านมันจะมีความใกล้เคียงกั นกับที่สถานที่ภาวนา
ไม่ใช่เหมือนนะ
แต่ใกล้เคียง
คือเราจะรู้สึกเหมือนกับว่า
จิตของเราเลิกคิดเรื่องอื่น
แล้วก็มีความรู้สึกถึงความสุ ขแบบวิเวก
ความสุขแบบเย็น
ความสุขแบบที่จะมีความสว่างรู้ เข้ามาในกายในใจ
•
แล้วก็ถ้าหากว่า เราสามารถเจริญสติได้อย่างถู กทาง
บางทีนะมันจะเตือนเลย
เหมือนกับยืนๆอยู่เฉยๆ
หรือว่ากำลังเดินอยู่ในที่อื่ นนอกห้อง
มันจะไปนึกถึงสภาวะอะไรบางอย่าง
ที่กำลังปรากฏเด่นอยู่ในขณะนั้ น
:
ไม่ว่าจะเป็น ลมหายใจ
:
ไม่ว่าจะเป็น เท้ากระทบ
:
ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกภายใน
อึดอัดอยู่
หรือ สบายอยู่ หรือ มีความคิดฟุ้งซ่านอยู่
มันจะมองเหมือนกับเห็นตั วเองออกมาจากสายตาของคนอื่น
แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า
นี่ถึงเวลาที่เราน่าจะเอาเวลาช่ วงนี้
:
มาเจริญสติให้เข้มข้น
:
มาทำสมาธิให้จริงจัง
:
มาเดินจงกรมให้นานๆ อะไรแบบนี้
•
ถ้าเรามีวินัยจริงต่อเนื่องกั นสัก ๒ เดือน
มันจะเกิดภาวะแบบนี้
เกิดอาการแบบนี้
นี่แหละ
แล้วคุณจะเกิดความรู้สึกเป็ นผลตามมาว่า
บ้านมีกระแส
มีบรรยากาศคล้ายกับสถานที่ปฏิบั ติเข้าไปทุกที
!
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
► กระแสของผู้ปฏิบัติ
•
จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของ ‘กระแส’ ด้วยนะ
เวลาที่เราเข้ากุฏิครูบาอาจารย์
ที่ท่านปฏิบัติมานานหลาย
๑๐ ปี แล้วก็ท่านทรงฌานมากๆ
บางทีแค่เข้ากุฏิเท่านั้น
มีความรู้สึกราวกับว่าเข้ าไปในวิมานใหญ่ของพระพรหมนะ
หรือว่าอย่างน้อยที่สุดก็สวรรค์ ชั้นฟ้าอะไรแบบนั้น
มีความเหมือนกับข้างในมั นปลอดโปร่ง
แล้วก็มีความกว้างใหญ่เกินจริง
รู้สึกได้เลย
:
อันนั้นก็เป็น ‘กระแสของผู้ปฏิบัติ’
นั่นเอง
ไม่ใช่ว่าอิฐปูนมันสามารถขยายตั วเองออกไปได้
หรือว่าก่อกระแสหลอกความรู้สึ กของเราขึ้นมาได้เอง
แต่ว่าต้องมีกระแสอันเป็นของจริ งของนักปฏิบัติหรือผู้ทรงฌาน
ทำให้เกิดความรู้สึกไปอย่างนั้ น
•
ถ้าเราเคยมีประสบการณ์ทำนองนี้ มา
เราก็จะค่อยๆมองออก
เออ
ถ้าเป็นสถานที่ปฏิบัติภาวนาที่ มีคนมาขยันกันมากๆ
มาพยายามเอาดีทางการเจริญสติ
ทางการทำสมาธิมากๆ
ก็มีกระแสคล้ายๆแบบนั้นเหมือนกั น
เพียงแต่จะเบาบางกว่า
..
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
► บ้านแสนสุขแบบโลกๆ VS กระแสความรู้สึกวิเวก
•
เปรียบเทียบกับกระแสในห้ องนอนของเรา หรือว่าที่บ้าน
ที่เต็มไปด้วยการบันเทิงนะ
จะรู้สึกเหมือนกับมีกระแสปั่นป่ วน
มีความรู้สึกเหมือนกับไม่วิ เวกเท่าไหร่
อาจจะมีความสุข
อาจจะมีความเบาในแบบโลกๆ
คือมีความสุขในแบบที่ว่าบ้ านแสนสุข
แต่ไม่ใช่ในแบบที่ในสถานที่ปฏิ บัติธรรม
:
พอเดินเข้ามาแล้วแทนที่จะเกิด ‘ความรู้สึกวิเวก’
มันกลายเป็น
‘ความรู้สึกอยากเสพความบันเทิง’
นี่ก็เป็น
‘กระแส’ ที่สร้างเอาไว้
•
ถ้าหากเรามีวินัยมากพอ
ที่จะทำให้ในห้องนอน
หรือว่ารอบๆบ้าน
อาจจะเป็นสนามหญ้าหรือว่าชิงช้า
ติดกระแสวิเวกของผู้ที่เจริญสติ
ผู้ที่เจริญสมาธิ
ในที่สุดแล้ว
ก็จะเข้มข้นพอ
กลับจากที่ทำงานเนี่ยเดินมาใกล้ ๆกับที่ที่ปฏิบัติบ่อยๆ
มันเกิดความรู้สึกสงบวูบลงไป
หรือว่าเกิดความเยือกเย็น
นึกอยากปฏิบัติขึ้นมา
•
อันนี้ก็เป็นกระแสนะ
เป็นเรื่องของคลื่นที่จะจูนจิ ตของเราให้เข้าสู่ภาวะใดๆ
อันนี้เป็นอิทธิพลของสถานที่
ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มาจากผู้ อยู่ผู้อาศัยนั่นแหละ
ว่าจะสร้างกระแสแบบไหนเอาไว้
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
► กระแสทะเลาะเบาะแว้ง
• อย่างอันนี้พูดนอกประเด็นไปนิดนึง
อย่างบ้านที่มีการทะเลาะกันบ่อยๆนะ
สังเกตเดินเข้าไปนี่ยังไม่ทันไรเลยนะจะเกิดความรู้สึกวุ่นวายใจ
จะเกิดความรู้สึกเหมือนร้อนๆขึ้นมา
จะเกิดความรู้สึกว่าไม่สบาย
ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว
• ผมเจอบ่อยเลยนะ
ประเภทถ้าเข้าไปในสถานที่แปลกๆ
หรือว่าเข้าไปในบ้านของคนที่ทะเลาะกันบ่อยๆ
มันจะรู้สึกตะครั่นตะครอขึ้นมา
เหมือนกับไม่ค่อยจะสบายเนื้อสบายตัว
สืบไปแล้วก็จริงๆ
มีคนมันก็บ๊งเบ๊งกันทุกวัน สาปแช่งกันทุกวัน
• อย่างอันนี้พูดนอกประเด็นไปนิดนึง
อย่างบ้านที่มีการทะเลาะกันบ่อยๆนะ
สังเกตเดินเข้าไปนี่ยังไม่ทันไรเลยนะจะเกิดความรู้สึกวุ่นวายใจ
จะเกิดความรู้สึกเหมือนร้อนๆขึ้นมา
จะเกิดความรู้สึกว่าไม่สบาย
ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว
• ผมเจอบ่อยเลยนะ
ประเภทถ้าเข้าไปในสถานที่แปลกๆ
หรือว่าเข้าไปในบ้านของคนที่ทะเลาะกันบ่อยๆ
มันจะรู้สึกตะครั่นตะครอขึ้นมา
เหมือนกับไม่ค่อยจะสบายเนื้อสบายตัว
สืบไปแล้วก็จริงๆ
มีคนมันก็บ๊งเบ๊งกันทุกวัน สาปแช่งกันทุกวัน
• กระแสการสาปแช่งอย่านึกว่ามันไปไหนนะ
มันลอยอยู่แถวๆนั้น เกาะติดอยู่แถวๆนั้นนั่นแหละ
คนที่อยู่คนที่อาศัยเป็นประจำแล้วด่าทอกันทุกวัน
ก็เหมือนกับพอกลับเข้าบ้านมีกระแสกระตุ้นให้ยิงกันทุกวันนะ
ยิงกันด้วยคำพูด จามกันด้วยขวานด้วยปากทุกวัน
• ตรงข้าม บ้านไหนที่มีความสงบสุข
มีแต่การพูดจ๊ะจ๋า มีแต่พูดดีต่อกันเนี่ย
เข้าบ้านปุ๊บ มันมีความรู้สึกอยากพูดดีขึ้นมา
เข้าบ้านปุ๊บ มันมีความรู้สึกว่า เออ มองโลกในแง่ดีขึ้นมา
นี่มันเป็นเรื่องกระแสที่อยากฝากไว้ด้วย !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น