ถาม : นั่งสมาธิแล้วรู้สึกพอใจกับสภาวะที่เห็น
แต่มีความรู้สึกตัวที่บางเบาเหมือนจะหลง แต่ก็รู้สึกตัวขึ้นมาได้เป็นระยะ
สภาวะตรงนี้เป็นเพราะเรายังขาดอะไรไปหรือเปล่า? และควรจะปฏิบัติอย่างไร?
ดังตฤณ:
• ความพอใจในสภาวะที่เห็นเรียกว่าเรามี ‘ฉันทะ’
เรามีความพึงพอใจที่จะปฏิบัติ
ที่จะเจริญสติ
นี่เป็นเรื่องดีนะครับ
• แต่บางครั้งที่บอกว่ารู้สึกตัวบางเบา เหมือนจะหลง
ตัวความหลงนี้
ก็คงหมายถึงการที่เราเพลิดเพลิน
ไปในความรู้สึกเบาที่น่าหลง
แต่น้องบอกว่ามีความรู้สึกตัวขึ้นมาได้เป็นระยะ
อันนี้ก็แสดงว่าไม่ต้องห่วงนะครับว่าเราจะหลงไปจริงๆ
เพราะว่าตัวการระลึกได้
ตัวสติที่เกิดขึ้นมา
ว่าตอนนี้
เรากำลังหลงไปในความเบา
เรากำลังเพลิดเพลินไปในความสบายแล้วเนี่ย
มันชี้ให้เห็นว่าจิตประกอบด้วย
‘สัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น’
คือ
: ไม่เข้าไปจดจ่อ
: ไม่เข้าไปเพลิดเพลิน
: ไม่เข้าไปหลงอยู่กับความสุข
ความมีสภาพเบาของใจของกายที่มันเกิดขึ้นนานนัก
• ตัวสติที่เกิดขึ้นที่สะท้อนถึงสัมมาทิฏฐินี้
จะค่อยๆ
‘ตะล่อมจิต’ ให้เข้าสู่การปรุงแต่ง
ในแบบการมีสติรู้สึกตัวอยู่เรื่อยๆนะครับ
การที่รู้สึกตัวอยู่เรื่อยๆจนกระทั่ง
‘จิตมีความตั้งมั่น’ นี่
ตรงนี้มันก็จะเกิดสมาธิในแบบที่พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้เกิดนะครับ
ให้พวกเราฝึกแล้วเกิดสมาธิแบบนั้น
!
.. .. .. .. ..
.. .. .. .. ..
• สมาธิแบบนั้นเป็นอย่างไร?
: เป็นสมาธิที่มีความเบา แต่รู้
: ไม่ใช่เบา แต่หลงนะครับ
การที่เราเบาอย่างรู้เนี่ย
เป็นสติในแบบที่พร้อมจะยกขึ้นสู่มรรคผลนะครับ
!
• ถ้าหากว่าดูจากโพชฌงค์
องค์ธรรมที่ประกอบขึ้นเพื่อความตรัสรู้มรรคผล
ก็จะต้องมีความเบานะครับ
ก็คือ
มีปีติ
มีปัสสัทธิ มีความสงบกายสงบใจ
ตัว
‘ปัสสัทธิ’ นี่คือ ‘ตัวความเบา’
นะครับ
ถ้าหากว่าสงบกายสงบใจจริง
ต้องมีความเบา
ให้เกิดความรู้สึกถึงอารมณ์ที่มันไม่ไปข้องเกี่ยว
อารมณ์ที่ไม่ไปพัวพันอยู่กับสิ่งหนัก
• สิ่งหนักคืออะไร?
ก็คืออุปาทานทั้งปวง
อุปาทานในสิ่งที่เรานึกว่าเป็นของเรา
นึกว่าเกี่ยวข้องกับเรา
นึกว่าเป็นตัวของเรา
นี่ตัวนี้หนักทั้งสิ้น
!
แต่ถ้าหากว่าไม่มีความรู้สึกยึดอยู่
ความเบามันก็จะปรากฏขึ้นแทนความหนัก
แล้วความเบาที่..
: มีสติ
: ประกอบด้วยสมาธิ
: ประกอบด้วยความเป็นกลาง
อุเบกขานะครับ
ตัวนี้แหละที่มันจะถอนออกจาก
‘ความยึดมั่นถือมั่น’ จริงๆ
.. .. .. .. ..
.. .. .. .. ..
• ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิไปแล้ว
มีความรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เรื่อยๆว่าขณะนี้มีความเบา
ขณะนี้กำลังเผลอไปในความรู้สึกเป็นสุข
ความรู้สึกว่าเบา
เห็นความเพลิดเพลินนั้น
ก็เรียกว่าเป็น
‘ตัวสติ’ ที่จะนำไปสู่ ‘สมาธิ’ นะครับ
สมาธิที่เป็นกลาง
ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นความเพลิดเพลิน
• ถ้าเราดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ลองวัดผลเป็นภาพรวมในระยะยาวนะครับ
ว่าสติที่มันเกิดขึ้นแล้วสามารถเตือนตัวเองได้แบบนี้
: มันเกิดขึ้นถี่แค่ไหน ?
: เกิดขึ้นบ่อยๆได้หรือเปล่า ?
--> ถ้าหากว่าเกิดขึ้นเป็นประจำนี่
ตัวนี้ก็วัดได้ว่า
ตัวสติตัวสมาธิของเราเริ่มเข้าเค้าแล้วนะครับ
เริ่มที่จะมีความแน่นอน
เริ่มที่จะมีความสม่ำเสมอ
--> แต่ถ้าหากว่าความเพลิดเพลินนี้เกิดขึ้น
แล้วบางครั้งเราก็หลงไปยาวกว่าที่จะรู้สึกตัวได้
อันนี้ก็ต้องบอกตัวเองว่า
องค์ธรรมที่จะประกอบให้พร้อมที่จะบรรลุธรรมได้
ยังย่อหย่อนไปในเรื่องของสตินะครับ
.. .. .. .. ..
.. .. .. .. ..
• ก็ดูเป็นอย่างนี้ก็แล้วกัน
อย่าไปมองว่า
เอ้… เราทำอะไรขาดไปหรือเปล่า
ทุกคนน่ะทำขาดไปหมดแหละนะครับ
มันมีความขาดที่จะทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์
เราเจริญสติกันก็เพื่อทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์นั่นเองนะครับ
เราทำไปเรื่อยๆ
ความต่อเนื่องนั่นแหละคือความก้าวหน้า
ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นก็คือ
: การสั่งสมกำลัง
: สั่งสมความพร้อมที่จะให้จิตมีความบริบูรณ์มากพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น