ถาม : ไม่อยากยึดติดกับคน ๆ หนึ่งมากเกินไป
ไม่อยากรักมากเกินไป ควรทำอย่างไร?
พิจารณาอสุภะจะช่วยได้ไหม? ประโยชน์ของอสุภะคืออะไร?
จะพิจารณาอสุภะอย่างไร?
รับฟังทางยูทูป http://youtu.be/fphdGVKE4lI
ดังตฤณตอบ:
การพิจารณาอสุภกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนที่ต้องการจะตัดความรู้สึกทางกามทิ้งจริงๆ ไม่เหมาะกับคนที่ยังอยากมีแฟนแล้วก็จะอยู่เป็นฆราวาสแบบนี้นะ
อสุภกรรมฐานเหมาะกับคนที่ใจถึงจริง ๆ
คือคุณไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกับทางโลกอีกแล้ว แต่ว่ามีภาระมีความจำเป็นจะต้องหาอยู่หากินยังบวชไม่ได้
ก็ต้องปฏิบัติตามกำลังไปก่อน ซึ่งมีอยู่เยอะที่ทำอสุภกรรมฐานได้ขณะที่เป็นชาวบ้านอยู่นี่แหละ
ทำถึงขั้นที่เห็นกายตัวเองมันขึ้นมาเป็นนิมิตในห้วงมโนทวารอยู่ตลอดเวลาว่า :
กายนี้เป็นซากศพเหม็นเน่า
แออัดไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูล
แออัดไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูล
ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่
ไม่น่าเอ็นดูเลยสักนิดเดียว
เห็นผู้หญิง หรือว่าถ้าตัวเองเป็นผู้หญิงเห็นผู้ชายแล้ว
เห็นผู้หญิง หรือว่าถ้าตัวเองเป็นผู้หญิงเห็นผู้ชายแล้ว
เกิดความรู้สึกสะอิดสะเอียนเหมือนเห็นซากศพแบบนั้น
มีทำได้จริง มีอยู่เยอะด้วยนะ !
มีทำได้จริง มีอยู่เยอะด้วยนะ !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
แต่ว่าสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะตัดใจจากกามคุณ
ยังอยากมีคู่อยู่ ไม่เหมาะที่จะไปพิจารณาอสุภะเป็นนิมิตติดจิตติดใจ
เพราะมันจะทรมานใจไปเปล่า
แล้วก็รู้สึกขัดแย้งกับตัวเองว่ามันไม่ใช่นะ เราไม่ได้ต้องการที่จะตัดถึงขั้นนั้น
เราแค่ต้องการไม่ยึดมั่นถือมั่นกับคน ๆ หนึ่งมากเกินเหตุเท่านั้นเอง
ซึ่งถ้าหากว่าจะเลิกยึดมั่นถือมั่นในคนๆหนึ่ง ไม่จำเป็นถึงขนาดต้องไปพิจารณาอสุภะหรอก แต่พิจารณาตัวอาการยึดมั่นถือมั่นอย่างที่ผมพูดไปเมื่อครู่นี้ เอามาใช้ด้วยกันเป๊ะเลย ...
เราเห็นว่าความยึดมั่นถือมั่นหน้าตาเป็นยังไง
มันเหมือนมีอาการกอด มีอาการรัด มีอาการยึดติด
มันมีความเป็นยางเหนียว
ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไร
เรารู้สึกเมื่อนั้น เรารู้ไปเมื่อนั้น
เพื่อที่จะให้เห็นว่า
ลักษณะอย่างนั้น มันไม่ได้อยู่กับใจของเราตลอดไป มันอยู่แป๊บหนึ่งตราบเท่าที่เรายังตรึกนึกถึงเขาอยู่แต่อาการตรึกนึกหรือว่าจะเป็นอาการยึดมั่นถือมั่น
มันปรากฏอยู่ครู่หนึ่งเดี๋ยวมันก็หายไป
มันลดระดับลงได้ ไม่อยู่ยั้งค้ำฟ้าหรอก
ขอแค่เราดูแค่นั้นเอง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เมื่อครู่นี้เป็นคำถามแรกนะ ตรงที่จะเป็นคำถามสืบเนื่องมาก็บอกว่า พอพิจารณาแล้วก็ไม่รู้สึกรังเกียจอันนี้ก็เป็นตัวอย่างนะ
คำว่าอสุภกรรมฐานไม่ใช่ไปแค่คิดพิจารณาว่า
เขามีขี้มูกติดอยู่ปลายจมูกหรือเปล่า
หรือว่าตื่นเช้ามาเขามีขี้ตาไหม
ตอนเขาเล่นกีฬามาเห็นเม็ดเหงื่อเหงื่อไหลไคลย้อย
หรือว่าไปนึกถึงจินตนาการเอาว่าเขานั่งอึนั่งฉี่อยู่
มันจะทุเรศทุรังขนาดไหน มันไม่ใช่แค่นั้น !
ซึ่งถ้าหากว่าจะเลิกยึดมั่นถือมั่นในคนๆหนึ่ง ไม่จำเป็นถึงขนาดต้องไปพิจารณาอสุภะหรอก แต่พิจารณาตัวอาการยึดมั่นถือมั่นอย่างที่ผมพูดไปเมื่อครู่นี้ เอามาใช้ด้วยกันเป๊ะเลย ...
เราเห็นว่าความยึดมั่นถือมั่นหน้าตาเป็นยังไง
มันเหมือนมีอาการกอด มีอาการรัด มีอาการยึดติด
มันมีความเป็นยางเหนียว
ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อไร
เรารู้สึกเมื่อนั้น เรารู้ไปเมื่อนั้น
เพื่อที่จะให้เห็นว่า
ลักษณะอย่างนั้น มันไม่ได้อยู่กับใจของเราตลอดไป มันอยู่แป๊บหนึ่งตราบเท่าที่เรายังตรึกนึกถึงเขาอยู่แต่อาการตรึกนึกหรือว่าจะเป็นอาการยึดมั่นถือมั่น
มันปรากฏอยู่ครู่หนึ่งเดี๋ยวมันก็หายไป
มันลดระดับลงได้ ไม่อยู่ยั้งค้ำฟ้าหรอก
ขอแค่เราดูแค่นั้นเอง !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
เมื่อครู่นี้เป็นคำถามแรกนะ ตรงที่จะเป็นคำถามสืบเนื่องมาก็บอกว่า พอพิจารณาแล้วก็ไม่รู้สึกรังเกียจอันนี้ก็เป็นตัวอย่างนะ
คำว่าอสุภกรรมฐานไม่ใช่ไปแค่คิดพิจารณาว่า
เขามีขี้มูกติดอยู่ปลายจมูกหรือเปล่า
หรือว่าตื่นเช้ามาเขามีขี้ตาไหม
ตอนเขาเล่นกีฬามาเห็นเม็ดเหงื่อเหงื่อไหลไคลย้อย
หรือว่าไปนึกถึงจินตนาการเอาว่าเขานั่งอึนั่งฉี่อยู่
มันจะทุเรศทุรังขนาดไหน มันไม่ใช่แค่นั้น !
คำว่าอสุภกรรมฐานของเต็ม
ๆ เลยคือ
พระพุทธเจ้าท่านให้เจริญอานาปานสติ
จนกระทั่งจิตมีความตั้งมั่นมีความสว่าง
สามารถเห็นกายครอบไปทั้งตัว
คือจิตที่ใหญ่แล้วมันจะรู้สึกถึงกายที่เล็กลง
แล้วถ้าหากว่าพิจารณาออกมาจากจิตที่มีความใหญ่
เห็นกายที่มันเล็กกว่าจิต มันไม่มีค่า มันเป็นของกลวง
พระพุทธเจ้าท่านให้เจริญอานาปานสติ
จนกระทั่งจิตมีความตั้งมั่นมีความสว่าง
สามารถเห็นกายครอบไปทั้งตัว
คือจิตที่ใหญ่แล้วมันจะรู้สึกถึงกายที่เล็กลง
แล้วถ้าหากว่าพิจารณาออกมาจากจิตที่มีความใหญ่
เห็นกายที่มันเล็กกว่าจิต มันไม่มีค่า มันเป็นของกลวง
รู้สึกถึงอิริยาบถปัจจุบัน
นั่งอยู่รู้ว่านั่งอยู่ ยืนอยู่รู้ว่ายืนอยู่
เห็นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งความเป็นกายมันมีความแจ่มชัด
แล้วเป็นของน้อย เป็นของเล็กน้อย
แล้วก็รู้สึกถึงความสกปรกของมัน
ใจก็จะถอยห่างออกมา !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ใจที่ถอยห่างออกมาเพื่ออะไร? พระพุทธเจ้าระบุไว้เลยว่า การที่เราสามารถเห็นกายโดยความเป็นอสุภะได้ รังเกียจร่างกายได้ ไม่รู้สึกยึดติดว่ามันเป็นของน่ายินดีได้ จิตจะเป็นอิสระมีความตั้งมั่นเป็นฌานได้ง่าย
หลายคนเลยที่เจริญอสุภกรรมฐานมาแล้ว ยี้...รังเกียจ จิตใจมีแต่ความรู้สึกอึดอัดทรมาน นั่นแสดงว่า "ไม่ได้" มาทางอสุภกรรมฐานเต็มสูตร
"อสุภกรรมฐานเต็มสูตร" จำไว้เลยต้องขึ้นด้วย "สมาธิ" !
เห็นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งความเป็นกายมันมีความแจ่มชัด
แล้วเป็นของน้อย เป็นของเล็กน้อย
แล้วก็รู้สึกถึงความสกปรกของมัน
ใจก็จะถอยห่างออกมา !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ใจที่ถอยห่างออกมาเพื่ออะไร? พระพุทธเจ้าระบุไว้เลยว่า การที่เราสามารถเห็นกายโดยความเป็นอสุภะได้ รังเกียจร่างกายได้ ไม่รู้สึกยึดติดว่ามันเป็นของน่ายินดีได้ จิตจะเป็นอิสระมีความตั้งมั่นเป็นฌานได้ง่าย
หลายคนเลยที่เจริญอสุภกรรมฐานมาแล้ว ยี้...รังเกียจ จิตใจมีแต่ความรู้สึกอึดอัดทรมาน นั่นแสดงว่า "ไม่ได้" มาทางอสุภกรรมฐานเต็มสูตร
"อสุภกรรมฐานเต็มสูตร" จำไว้เลยต้องขึ้นด้วย "สมาธิ" !
: ต้องมีสมาธิมากพอ
: ต้องมีสติติดตัวมากพอ
: สามารถเห็นกายโดยความเป็นอิริยาบถปัจจุบัน
"ได้อย่างต่อเนื่อง"
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ถ้าคำว่า "ต่อเนื่อง" มันแค่ไหนไม่เข้าใจ
จะบอกว่าไม่ใช่ ๒๔ ชั่วโมง แต่หมายความว่ามันขึ้นมาเรื่อย ๆ มันขึ้นมาในจิต มันจำได้ เหมือนกับปกติของเรา
ถ้าคนธรรมดาใจจะอยู่กับงาน หรือไม่ก็ใจจะอยู่กับเรื่องเล่น หรือไม่ก็ใจจะอยู่กับแฟนเป็นหลัก คิดถึงบ่อยๆ แล้วก็รู้สึกถึงสิ่งที่เราผูกยึดโดยมาก
แทนที่จะเป็นแบบชาวบ้าน
คนที่เจริญสติเขาก็จะสามารถมีใจผูกยึด
อยู่กับลักษณะความเป็นกายในปัจจุบันได้
: หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้
: หายใจยาวรู้ หายใจสั้นรู้
: แล้วก็จะนั่งจะนอนจะเคลื่อนไหวไปในท่าไหนก็ตาม
จะกระดิกแม้แต่นิดเดียวรู้สึกได้
รู้สึกออกมาจากตรงกลาง
ไม่ใช่รู้สึกเพ่งเข้าไป
แล้วจากตรงกลางตรงนั้นแหละ กลางที่รู้สึกรับรู้ออกมา
ถ้าจิตมันใหญ่พอ
มันสามารถรู้สึกถึงความเป็นกายได้อย่างชัดเจน
ว่านี่มันเป็นของน่ารังเกียจ รู้สึกทั้งตัว
เสร็จแล้วพอดูว่า ‘กายของเรา’ มันเป็นอสุภะ
ถ้าคำว่า "ต่อเนื่อง" มันแค่ไหนไม่เข้าใจ
จะบอกว่าไม่ใช่ ๒๔ ชั่วโมง แต่หมายความว่ามันขึ้นมาเรื่อย ๆ มันขึ้นมาในจิต มันจำได้ เหมือนกับปกติของเรา
ถ้าคนธรรมดาใจจะอยู่กับงาน หรือไม่ก็ใจจะอยู่กับเรื่องเล่น หรือไม่ก็ใจจะอยู่กับแฟนเป็นหลัก คิดถึงบ่อยๆ แล้วก็รู้สึกถึงสิ่งที่เราผูกยึดโดยมาก
แทนที่จะเป็นแบบชาวบ้าน
คนที่เจริญสติเขาก็จะสามารถมีใจผูกยึด
อยู่กับลักษณะความเป็นกายในปัจจุบันได้
: หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้
: หายใจยาวรู้ หายใจสั้นรู้
: แล้วก็จะนั่งจะนอนจะเคลื่อนไหวไปในท่าไหนก็ตาม
จะกระดิกแม้แต่นิดเดียวรู้สึกได้
รู้สึกออกมาจากตรงกลาง
ไม่ใช่รู้สึกเพ่งเข้าไป
แล้วจากตรงกลางตรงนั้นแหละ กลางที่รู้สึกรับรู้ออกมา
ถ้าจิตมันใหญ่พอ
มันสามารถรู้สึกถึงความเป็นกายได้อย่างชัดเจน
ว่านี่มันเป็นของน่ารังเกียจ รู้สึกทั้งตัว
เสร็จแล้วพอดูว่า ‘กายของเรา’ มันเป็นอสุภะ
ก็เห็นว่า ‘กายของคนอื่น’ เป็นอสุภะเหมือนกัน !
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ความรังเกียจที่เกิดขึ้น "ไม่ใช่" รังเกียจแบบชั่วคราว ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แบบขยะแขยงหรือสะอิดสะเอียนตอนเราเจอซากหมาเน่า หรือว่าเจอกองอึกองฉี่ ไม่ใช่แบบนั้นนะ มันจะเป็นความรู้สึกถอยห่างออกมา ถอนความยึดติดยินดีว่านี่เป็นสิ่งที่น่าหลง น่ายินดี อาการของใจที่ตั้งมั่นมันจะสว่าง แล้วก็มีความสุขมีความปลอดโปร่ง มีความเป็นเอกเทศจากลักษณะความผูกยึดแบบที่ชาวโลกเขายึดกันว่าดี ชาวโลกเขายึดกันว่าชอบ
ของเรายังไม่จำเป็นต้องไปถึงขั้นนั้นนะครับ !
ความรังเกียจที่เกิดขึ้น "ไม่ใช่" รังเกียจแบบชั่วคราว ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แบบขยะแขยงหรือสะอิดสะเอียนตอนเราเจอซากหมาเน่า หรือว่าเจอกองอึกองฉี่ ไม่ใช่แบบนั้นนะ มันจะเป็นความรู้สึกถอยห่างออกมา ถอนความยึดติดยินดีว่านี่เป็นสิ่งที่น่าหลง น่ายินดี อาการของใจที่ตั้งมั่นมันจะสว่าง แล้วก็มีความสุขมีความปลอดโปร่ง มีความเป็นเอกเทศจากลักษณะความผูกยึดแบบที่ชาวโลกเขายึดกันว่าดี ชาวโลกเขายึดกันว่าชอบ
ของเรายังไม่จำเป็นต้องไปถึงขั้นนั้นนะครับ !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น