ดังตฤณ : คำว่า ปล่อยวาง เนี่ยนะครับ
มันก็ต้องพูดอีกหัวข้อนึงเลย
คำว่า ปล่อยวาง มันมีทั้งปล่อยวางแบบปุถุชน แล้วก็ปล่อยวางแบบพระอรหันต์
ปล่อยวางแบบปุถุชน ก็คือ “เนี่ยช่างมัน” แล้วใจก็ทิ้งเรื่องนั้นไป เสร็จแล้วด้วยความเป็นปุถุชนเดี๋ยวเรื่องนั้นที่อุตส่าห์ทิ้งไปแล้วใจก็โค้งลงไปวักเอาเข้ามาใส่ใจตัวเองใหม่ เนี่ยอย่างนี้ปล่อยวางแบบปุถุชน ปล่อยๆแล้วก็ยึดๆนะครับ
ส่วนปล่อยวางแบบพระอรหันต์ ก็คือ จิตปล่อยแล้วปล่อยเลยในลักษณะที่พรากจากขันธ์ทั้ง ๕ ลักษณะของจิตที่พรากจากขันธ์ทั้ง ๕ คือไม่เอาอีกแล้วตลอดชีวิต เหมือนกับตาลยอดด้วนที่มันจะไม่กลับงอกขึ้นมาอีกนะครับ
เพราะฉะนั้นจิตว่าง
มันก็มีทั้งจิตว่างแบบปุถุชน แล้วก็จิตว่างแบบพระอรหันต์เช่นกัน
มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมุมไหน บอกแล้วว่าพวกนี้เป็นศัพท์ที่ไม่ใช่ศัพท์ตามหลักวิชาการ
หรือว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้ แต่ว่าครูบาอาจารย์ในยุคเราเอามาพูดกันตามประสบการณ์ทางความรู้สึก
ซึ่งถ้าเราพิจารณาในแง่ที่ จิตว่างไปทำไม สำคัญยังไง แล้วยังไงถึงเรียกว่าจิตว่าง
อย่างนี้มันก็มีประโยชน์ในเชิงการปฏิบัตินะครับ
------------------------------------------------
๒๓
มกราคม ๒๕๖๔
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน ‘จิตว่าง’ สำคัญอย่างไร?
คำถาม : จิตว่างเหมือนการปล่อยวางไหม?
ระยะเวลาคลิป ๑.๓๙
นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=qCgXAh1IEP4&list=PLmDLNhxScsWO7ZAuqr-FC25dor6ETZhM-&index=1
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น