ถาม : พอมาเริ่มดูกายดูใจ
และตั้งใจจะรักษาศีล ๕ ไม่ให้ด่างพร้อยโดยเฉพาะศีลวาจา ทำไมทำให้เวลาใครพูดอะไร
เราจะไม่พยายามร่วมวงอภิปรายด้วย เพราะกลัวผิดศีล
คนอื่นเค้าจะมองเราว่าแปลกหรือไม่?
ดังตฤณ:
แน่นอนครับ
มองเราว่าเป็นคนที่พยายามจะแปลกแยกแน่นอนนะ คือคนทางโลกเนี่ย
อย่างไรก็ไม่สามารถจะเข้าใจ และคนๆนึงเนี่ย ไม่สามารถที่จะเอาความในใจ
หรือว่ารายละเอียดในชีวิตของตัวเองเนี่ย ไปบอกไป กล่าวให้ใครต่อใครทั้งโลกให้เขามีความเข้าใจในตัวเราได้
ก็ไม่ต้องไปพยายามทำให้เกิดความเข้าใจ แต่ว่าในขณะเดียวกันถนอมน้ำใจนิดนึง
รักษาความรู้สึกของคนรอบข้างไว้ก็แล้วกันนะ คือถ้าเค้าชวนพูดด้วย เราก็พูดด้วย
แต่ถ้าเค้าชวนพูดเรื่องคนอื่น
เราก็อาจจะชวนพูดเรื่องที่มันมีสาระมากกว่านั้นนะครับ อันนี้ก็ง่ายๆเลย
หลักการง่ายๆเพื่อที่จะให้รู้สึกว่า
เราไม่เป็นที่แปลกแยกมากเกินไปในสังคมเนี่ย
ก็คือ เวลาที่ใครเค้าทักทายมา
เรามี ‘ไมตรีจิต’ ตั้งต้นก่อนเลยนะ
ด้วยไมตรีจิตนี้
เราจะตอบคำไหนไปก็แล้วแต่
เราจะเลี่ยงไม่ให้เป็นไปตามประเด็น
ที่เค้าตั้งป้อมมาจะนินทาใครนะ
หรือว่าจะเป็นการเหมือนกับการถามคำตอบคำ
ในเรื่องที่เค้ามาเปิดประเด็นไว้อะไรแบบนี้เนี่ย
ถ้าหากว่าจิตของเราตั้งไว้ว่า นี่เป็นไปเพื่อการปฏิสันถาร เป็นไปเพื่อความมีไมตรีจิต เค้าก็จะรู้สึกว่าเรายังมีไมตรีจิตกับเค้าอยู่ ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับเค้าอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่เข้ามาคลุกคลีสนิทด้วย อันนั้นก็เป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่าเค้าอยากพูดเรื่องไหน แล้วเราไม่ต้องการพูดเรื่องนั้นเนี่ย ส่วนใหญ่ก็จะเข้ากันไม่ได้ ไม่สามารถคุยกันได้ ซึ่งถ้ามองตามหลักที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้ให้ตัดสินนะ การไม่เสวนากับคนมีศีลต่ำกว่า หรือว่า ไม่เสวนากับคนที่มีธาตุนิสัยในทางที่จะดึงเราลงต่ำเนี่ย ถือว่าเป็นมงคล คือเราไม่ได้ไปเหยียดเค้าว่า เค้าเป็นคนไม่ดีเป็นคนเลว หรือว่าเป็นอะไรชั้นต่ำกว่าเรา อยู่ในวรรณะที่ไม่สมควร ไม่คู่ควรที่จะไปเจรจาด้วย แต่เราระลึกตามหลักของพระพุทธเจ้าว่า คุยกับใครนะ ใจก็เป็นแบบนั้น!
แล้วมันจริงๆนะสังเกตคือ ต่อให้เรามีจุดยืนอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเผลอเข้าไปเต็มใจคุยกับคนประเภทไหนนะ คลื่นความคิดของเราเนี่ยจะค่อยๆปรับ จะค่อยๆจูนให้ตรงกับคนประเภทนั้น และถ้าหากว่าคิดตรงกับเค้า พูดตรงกับเค้าไปนานๆ ในที่สุดก็เท่ากับว่า เรารับความเป็นตัวเค้า เข้ามาเป็นตัวเรามากขึ้นทุกที จนกระทั่งหลายครั้งเลยนะที่ผมเห็นเนี่ย พอใครอยู่บ้านนึง มีนิสัยแบบนึง พอไปอยู่อีกบ้านนึงนะ เปลี่ยนนิสัยเลย คือลักษณะวิธีที่มองโลก ลักษณะการใช้อารมณ์ ปฏิกิริยาทางใจที่ออกไปต่างๆเนี่ย มันผิดเป็นคนละคนได้ทีเดียว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คนที่ยังไม่มีจุดยืนที่แข็งพอเนี่ยนะจะเซนซิทีฟ
อยู่ใกล้ใครก็กลายเป็นคนแบบนั้น
ซึ่งอันนี้เสี่ยง ถือว่าเสี่ยงมากๆ
ในทางกรรมวิบากเนี่ยนะ
เท่ากับว่าเรายินยอมที่จะเป็นคนบาปได้ง่ายๆ
อาจจะเป็นนักบุญก็ได้ถ้าอยู่ใกล้นักบุญ
แต่มันเสี่ยงมากๆเลย
ถ้ายังเซนซิทีฟอยู่เนี่ย
เข้าใกล้หรือเฉียดใกล้คนธรรมดา บางทีเราอาจจะกลายเป็นไม่ใช่แค่คนธรรมดา
มันเลวกว่าคนธรรมดาก็ได้ หลายคนเป็นอย่างนั้นนะคือ พออยู่ใกล้คนดีเนี่ยก็จะดีตาม
แต่พอไปอยู่กับคนธรรมดา มันไม่รู้เป็นยังไงนะ กลายเป็นเหมือนกับอยากจะทำชั่ว
ทำเลวอะไรขึ้นมา จิตยังไม่เป็นตัวของตัวเอง ก็คือค่อนข้างจะเป็นความเสี่ยง
แต่ถ้าเรามีจุดยืนที่มั่นคงแล้ว เรายืนอยู่ในจุดที่มันสว่างนะ มันก็จะอาจกลับขั้วกันได้นะ คือความแข็งแรงของเรา หรือว่าจุดยืนที่มั่นคงของเรา อาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น เค้าเกิดความรู้สึกว่า เออ มีความนิ่ง มีความมั่นคง ในแบบสว่างอย่างเราเนี่ย ให้ความรู้สึกดีนะ พอให้ความรู้สึกดีมากๆเข้า เค้ารู้สึกเหมือนกับติดใจความสว่าง ความดีตรงนั้นเนี่ย เราเข้าไปพูดกับเค้าเนี่ย มันกลายเป็นดึงเค้าเข้ามาหาเรา หรือว่าอยู่ในเส้นทางแบบเรา
แต่ถ้าเรามีจุดยืนที่มั่นคงแล้ว เรายืนอยู่ในจุดที่มันสว่างนะ มันก็จะอาจกลับขั้วกันได้นะ คือความแข็งแรงของเรา หรือว่าจุดยืนที่มั่นคงของเรา อาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น เค้าเกิดความรู้สึกว่า เออ มีความนิ่ง มีความมั่นคง ในแบบสว่างอย่างเราเนี่ย ให้ความรู้สึกดีนะ พอให้ความรู้สึกดีมากๆเข้า เค้ารู้สึกเหมือนกับติดใจความสว่าง ความดีตรงนั้นเนี่ย เราเข้าไปพูดกับเค้าเนี่ย มันกลายเป็นดึงเค้าเข้ามาหาเรา หรือว่าอยู่ในเส้นทางแบบเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น