ถาม : หนูไม่เคยเก็บเอาอดีตร้ายๆมาคิดให้ฟุ้งซ่านเลย
แต่ทำไมบางครั้งพอไปเห็น ไปรับรู้อดีต หรือแม้กระทั่งดูละคร
อ่านนวนิยายที่มันคล้ายๆปมอดีตที่เจ็บปวด
มันกลับทำให้รู้สึกอ่อนไหวง่ายดายเหลือเกิน รู้สึกเสียใจหดหู่ไปสักพักหนึ่ง
ทั้งๆที่ลึกๆไม่ได้คิดแค้นอะไรใครเลย ซึ่งอาการที่คิดมากหดหู่
หรือยึดติดกับอดีตแบบนี้ อยากถามว่า มันเป็นกิเลสชนิดที่ทำให้อ่อนแอ
ไม่ก้าวหน้าในการฝึกจิตฝึกใจให้สูง หรือไม่ก้าวหน้าทางธรรมหรือเปล่าคะ?
ดังตฤณ:
เอาคำถามนี้ก่อนนะ ตรงที่ว่าเราไปเจออะไร
แล้วมันไปหวนคิดถึงอดีต นั่นคือธรรมชาติของจิตนะ
ถ้าอธิบายตามคำศัพท์ของธรรมก็คือว่า ตามธรรมะนะ ท่านก็บอกไว้ว่า
เวลาที่เราถูกอะไรกระทบเนี่ย มันจะทำให้เกิดความสำคัญมั่นหมายขึ้นมา
หรือจำได้หมายรู้ขึ้นมาว่า อะไรเป็นอะไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นรูปวงกลม
เราก็จะไปเทียบเคียงกับวงกลมที่เราเคยรับรู้ไว้ และสามารถที่จะบอกได้เลยว่า
อย่างนี้เรียกว่ากลม
ไม่ว่าจะเป็นกลมแบบดวงอาทิตย์ กลมแบบลูกบอล
ลูกโบว์ลิ่ง ลูกสนุกเกอร์ หรือว่า ที่มีคนเอาสีมาระบายไว้เป็นจุดๆอย่างนี้
เราก็จะเกิดความจำได้หมายรู้ไว้ว่าอย่างนี้ เค้าเรียกวงกลม
แล้วก็จะจัดเข้าเป็นพวกเดียวกันหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ หรือว่าพระจันทร์
หรือว่าลูกบอล เพราะว่ามันกลมเหมือนกันหมด
เพราะฉะนั้น
ถ้าหากว่าเราเห็นอะไรอย่างหนึ่งแล้ว ก็มีสิทธิ์เตือนให้นึกถึงอีกอย่างหนึ่งได้
ยกตัวอย่างเช่น คนมักจะพูดว่า คืนนี้พระจันทร์กลมอย่างกับลูกบอล คือ
พอเล่นบอลบ่อยๆ แทงบอลบ่อยเนี่ย จิตใจมันฝักใฝ่ พอเห็นอะไรที่กลมๆ
มันก็คิดถึงลูกบอลได้ อันนี้คือตัวอย่างที่จะยกมาง่ายๆว่า การจำได้หมายรู้ ในอดีต
มีผลให้เกิดความระลึกถึงขึ้นมาได้อย่างไร ยิ่งถ้าหากว่า เราเคยมีเรื่องกับใคร
มีเหตุการณ์อันเป็นปมฝังใจไว้กับใครนะครับ พอไปเห็นข้าวของ หรือว่าแม้กระทั่งได้ยินชื่อ
สมมุติว่าชื่อ ‘อั้ม’ อย่างนี้ คนของเราชื่อ ‘อั้ม’ แล้วเราไปได้ยินดาราชื่อ ‘อั้ม’ หรือไปได้ยินเพื่อนของเพื่อนชื่อ ‘อั้ม’ เราก็อาจจะมีใจหวนประหวัดไปนึกถึงคนชื่อ ‘อั้ม’ ที่เคยมีเรื่องมีราวกับเราก็ได้
นี่คือตัวอย่างว่าความจำได้หมายรู้ มันปรุงแต่งจิตของเราได้อย่างไร เพราะฉะนั้น
ไม่แปลก ถ้าหากว่าเราไปเจอะเจอ อะไรที่เตือนให้นึกถึงคนของเราแล้ว จะ
เกิดความหวั่นไหว เกิดความรู้สึกนึกคิด
ในแบบที่มันเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายตอนที่อยู่กับเค้า หรือเจอเค้า
ที่นี้ถามว่า อารมณ์แบบนี้ มันทำให้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการเจริญสติหรือเปล่า?
ในการฝึกจิตที่จะต้องการความเข้มแข็ง
ไม่ควรจะอ่อนไหวอะไรต่างๆ มันไม่เกี่ยวหรอกนะ ว่าเรามีปมฝังใจแค่ไหน
เราไม่ได้มองกันตรงที่ว่า เวลาไปกระทบกับอะไร แล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร
นั้นเป็นเครื่องขวางหรือเปล่า ไม่ใช่นะ ยิ่งบางคนมีอดีตเยอะๆ มีปมฝังใจแน่นๆ
หรือว่ากระทั่งมีอะไรที่โหดๆอยู่ในใจอยู่ เหมือนมีความฟุ้งซ่าน
เหมือนมีความกระวนกระวายอยู่ ตัวนี้ถ้าหากว่ามองเป็น
ก็เอามาใช้เป็นอุปกรณ์เจริญสติยังได้เลยนะ
ประเด็นอยู่ตรงที่ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เรามีท่าทีที่จะรู้มันแค่ไหน ถ้าหากว่าเรามีความเคยชินอยู่อย่างหนึ่งที่จะรู้มัน
สมมุติว่าเจ้าของคำถาม
มีความเคยชินที่จะรับรู้มันในแบบที่เศร้าสร้อย และก็ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรถูก
กี่ครั้งกี่หนที่มันเกิดขึ้น
มันก็จะเคยชินกับความรู้สึกเศร้าสร้อยแบบนั้นไปเรื่อยๆ
เกิดกระทบอะไรให้ระลึกถึงเค้าเมื่อไหร่ มันก็มีอาการเศร้าสร้อย
เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาทันที นี่คือท่าทีที่เรามีกับอารมณ์กระทบชนิดนี้ แต่ถ้าหากว่าเราปลูกฝังความเคยชินอย่างใหม่
เมื่อมีอะไรเข้ามากระทบแล้วเกิดความหวั่นไหว มันรู้สึกเซนซิทีฟขึ้นมา
มันรู้สึกว่าจิตโดนขุดคุ้ยเอาอดีตตั้งแต่กาลไหน พ.ศ.ใดมาก็ไม่ทราบโถมเข้ามา
แล้วเรามีสติที่จะระลึกว่า สิ่งนั้นเป็นเพียงเครื่องกระทบใจ
แล้วเกิดปฏิกิริยาขึ้นมาเป็นความเศร้า และเห็นว่าความเศร้านี้มันไม่ได้มีตัวตน
มันไม่ได้มีความเป็นตัวเราที่ยั่งยืนอยู่ในนี้ ในกายนี้ในใจนี้
แต่มันเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีอะไรมากระทบ
ถ้าเรามีสติระลึกได้แค่นี้นะ ตัวสติที่สร้างขึ้นมาเนี่ยนะ มันจะค่อยๆสั่งสมเป็นความเคยชินใหม่ เออ นี่มันเกิดขึ้นได้เพราะมีกระทบ ไม่ใช่ว่ามันเป็นตัวเรา ไม่ใช่ว่ามีความทรงจำชนิดนี้ฝังตายอยู่เลยนะ ตายตัวอยู่เลยนะ ไม่ใช่ มันเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรกระทบให้เกิดความระลึกได้ ระลึกถึง หวนระลึกถึงขึ้นมา แล้วก็จะสามารถเห็น ว่าความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา นี่เป็นของชั่วคราวเดี๋ยวเดียวก็หายไป ถ้าหากว่าเราไม่ไปพยายามที่จะขุดคุ้ยด้วยตัวเองตามหลังมา คือ กระทบปุ๊บ เกิดปฏิกิริยาเป็นความเศร้าปั๊บ อันนั้นเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ แต่สิ่งที่เราจะจัดการได้คือ อย่าไปคิดต่อ อย่าไปพยายามที่จะใส่ใจเข้าไป และก็หมกมุ่นกับอาการที่เคยชินแบบเดิมๆ ว่า เออ ทำไมอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ทำไมเขาอย่างนู้น ต่างๆนานา ก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยา ลูกโซ่ทางอารมณ์แบบนั้น ให้ตัดตอนเสียด้วยสติ เห็นว่ามันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ก่อตัวขึ้นมา ชั่วขณะที่เกิดอะไรมากระทบหู กระทบตาให้ระลึกถึง และถ้าเรามีสติรู้มันเฉยๆ มันก็หายไปเองนะ นี่แหละ ความเคยชินแบบนี้แหละ ที่จะทำให้เราเจริญก้าวหน้านะ
ถ้าเรามีสติระลึกได้แค่นี้นะ ตัวสติที่สร้างขึ้นมาเนี่ยนะ มันจะค่อยๆสั่งสมเป็นความเคยชินใหม่ เออ นี่มันเกิดขึ้นได้เพราะมีกระทบ ไม่ใช่ว่ามันเป็นตัวเรา ไม่ใช่ว่ามีความทรงจำชนิดนี้ฝังตายอยู่เลยนะ ตายตัวอยู่เลยนะ ไม่ใช่ มันเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรกระทบให้เกิดความระลึกได้ ระลึกถึง หวนระลึกถึงขึ้นมา แล้วก็จะสามารถเห็น ว่าความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา นี่เป็นของชั่วคราวเดี๋ยวเดียวก็หายไป ถ้าหากว่าเราไม่ไปพยายามที่จะขุดคุ้ยด้วยตัวเองตามหลังมา คือ กระทบปุ๊บ เกิดปฏิกิริยาเป็นความเศร้าปั๊บ อันนั้นเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ แต่สิ่งที่เราจะจัดการได้คือ อย่าไปคิดต่อ อย่าไปพยายามที่จะใส่ใจเข้าไป และก็หมกมุ่นกับอาการที่เคยชินแบบเดิมๆ ว่า เออ ทำไมอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ ทำไมเขาอย่างนู้น ต่างๆนานา ก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยา ลูกโซ่ทางอารมณ์แบบนั้น ให้ตัดตอนเสียด้วยสติ เห็นว่ามันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ก่อตัวขึ้นมา ชั่วขณะที่เกิดอะไรมากระทบหู กระทบตาให้ระลึกถึง และถ้าเรามีสติรู้มันเฉยๆ มันก็หายไปเองนะ นี่แหละ ความเคยชินแบบนี้แหละ ที่จะทำให้เราเจริญก้าวหน้านะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น